นักล่าตัวแบน คอมเพรสสิเซ็ปส์ คาลวัส (ประกวด)
   ปลาหมอคอมเพรสสิเซ็ปส์ ( Altolamprologus compressiceps)
ปลาหน้าตาประหลาด มีพฤติกรรมน่าฉงน อาศัยอยู่ตามซอกหลืบของกองหินใต้ทะเลสาบทังกันยิกา คอยดักกินสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่หลงว่ายทะเล่อทะล่าเข้ามาด้วยจะงอยปาก ที่สามารถยืดหดได้ ดั่งงูฉก..

ผมได้เจอบทความนี้เมื่อประมาณ2 ปีก่อน ปลาอะไรหน้าตาหยั่งกะพวกพั้ง(พลาด) ได้มีโอกาสลองเลี้ยงเมื่อไม่นานมานี้ อืม..น่าสนใจเลยทีเดียว ทำเอาผมบ้าปลาหมอสายพันธุ์แท้ขึ้นมาช่วงใหญ่เลยล่ะ

โดย: ARm (Vet_Med ) [28 ส.ค. 52 1:27] ( IP A:124.157.184.149 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   อ่ะไหงรูปเล็กเงี้ย เอาเหอะ เดี๋ยวค่อยลงเพิ่มละกัน

อ่ะ ขั้นแรก ตามธรรมเนียม มาดูtaxonomyของเจ้าตัวแบนนี้กัน

Domain: Eukaryota () - Whittaker & Margulis,1978 - eukaryotes
Kingdom: Animalia () - Linnaeus, 1758 - animals
Subkingdom: Bilateria () - (Hatschek, 1888) Cavalier-Smith, 1983
Branch: Deuterostomia () - Grobben, 1908
Infrakingdom: Chordonia () - (Haeckel, 1874) Cavalier-Smith, 1998
Phylum: Chordata () - Bateson, 1885 - Chordates
Subphylum: Vertebrata () - Cuvier, 1812 - Vertebrates
Infraphylum: Gnathostomata () - Auct. - Jawed Vertebrates
Superclass: Osteichthyes () - Huxley, 1880 - Bony Fishes
Class: Actinopterygii () - Huxley, 1880 - Ray-Finned Fishes
Subclass: Actinopterygii () - Ray-Finned Fishes
Infraclass: Actinopteri ()
Cohort: Clupeocephala ()
Superorder: Acanthopterygii ()
Order: Perciformes () - �
Suborder: Labroidei ()
Family: Cichlidae () - Cichlids
Genus: Altolamprologus () - (Boulenger, 1898)
Specific name: compressiceps - (Boulenger, 1898)
Scientific name: - Altolamprologus compressiceps (Boulenger, 1898)
โดย: ARm (Vet_Med ) [28 ส.ค. 52 1:39] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ปลาหมอคอมเพรสสิเซ็ปส์ มีรูปร่างแบนข้างมาก จน หลายคนพูดติดตลกว่า โดนเตารีดรีดก่อนถูกส่งมาเกิด...
มองด้านข้างมีลักษณะช่วลำตัวกว้างสูงไว่เล็กลงมาจนถึงหาง ส่วนหน้าผากลาดลงมาหักชันดูประหลาด ดวงตากลมโตค่อนมาอยู่ข้างหน้าแทนที่จะอยุ่ด้านข้างเหมือนปลาทั่วๆไป ปากกว้าง มีฟันสำหรับจับเหยื่อ ปากมีกลไกพิเศษกว่าปลาอื่นๆคือ สามารถ ยิดหดได้รวดเร็วเพื่อฉกกินเหยื่อโดยไม่ต้องขยับตัว

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 1:46] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   นี้แค่ขู่นะ แง่งง

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 1:47] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   การที่ปาก สามารถยืดหดได้มันก็สบายอยู่หรอก แต่ในที่เลี้ยงก็มีข้อเสียได้ ที่เคยเจอพวกเล่น ฉกกินอาหารปุ๊บ อ้าว ปากดันไม่หดกลับเฉย (สงสัยกรามค้าง ห่ะๆ) ดูเผินๆก็ตลกดีคล้ายๆ ปลาหมอปากยาวชนิดใหม่ไปซะงั้น สามารถ แก้ได้โดยใช้ปลายนิ้ว กดปากให้คลายล๊อก แล้วปาก็จะเข้า ไปเป็นปกติเอง

คอมเพลสสิเซ็ปส์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ทะเลสาบทังกันยิกา มหาทะเลสายแห่งทวีปแอฟริกา

ปลาชนิดนี้ เป็นนักล่า กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นอาหาร อาหารที่ให้สามารถเป็นอาหารเม็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สลับกัน อาหารสดเช่นหนอนแดง กุ้งฝอย ฯลฯ

ปลาชนิดนี้ เมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่ ถึง 4-6 นิ้วได้ที่เคยเห็น5นิ้วก็ใหญ่มากล้ว

ปลาชนิดนี้ มีความอดทนค่อนข้างสูง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำ แต่ที่แนะนำคือ ph ประมาณ 7.0-8.0 อุณหภูมิ ที่เหมาะสมคือ 24-26 c
โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 12:10] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ถึงแม้ คอมเพรสสิเซ็ปส์จะเป็นปลาล่าเหยื่อ แต่ก็มีนิสัยไม่ก้าวร้าวกับเพื่อนร่วมตู้ เราสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในตู้ขนาดปานกลางรวมกับปลาหมออื่นๆได้ โดยเฉพาะ ปลาหมอจากทะเลสาบทังกนยิกาที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก หรือมีนิสัยสุภาพเรียบร้อยได้ เช่น ฟรอนโตซ่า จูลิโดโครมิส ฯลฯ ทำให้เราเห็น ผุ้คนนิยมมีปลาชนิดนี้อยุ่ในเลคแทง กันมากมาย

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 12:20] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ปลาหมออีกชนิดหนึ่งทีลักษณะรูปร่างคล้ายคลังกับปลาหมอคอมเพรสสิเซ็ปส์มากคือ ปลาหมอคาลวัส(Altolamprologs calvus)

แรกสุดนักมีนวิทยาคิดว่าเป็นปลาชนิดเดียวกัน ซึ่งอาจแตกต่างกันที่สีและลายตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติ แต่เมื่อนำปลาสองชนิดนี้มาเปรียบเทียบโดยละเอียดแล้ว พบว่า ปลาชนิดใหม่ที่พบมีรูปร่างเรียวกว่า ลำตัวแคบกว่า และมีจุดสีขาวกระจายไปตามลำตัวซึ่งไม่พบคอมเพรส เป็นอันแน่ใจว่า ปลาทั้งสองชนิดเป็นปลาคนละชนิดกัน ซึ่ง ที่แตกต่างกันมากคือ บริเวณหัวของปลาชนิดใหม่ไม่มีเกร็ดอยู่เลย ซึ่งในคอมเพรสสิเซ็ปส์มี นักมีนวิทยาจึงตั้งชื่อปลาชนิดใหม่นั้นว่า “calvus” ซึ่งมาจากภาษาละตินซึ่งแปลว่า “หัวล้าน”


แยกกันออกไหมเอ่ยย

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 12:57] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ระบบการป้องกันตัวของปลาอัลโตแลมโพรโลกัส ทั้งสองนี้ก็ดีเยี่ยม เมื่อพบว่าก้านครีบกระโดงและครีบทวารที่แข็งและยาว อีกทั้งเกล็ดที่หนาหยาบและแหลมคม เมื่อพบศัตรู ปลาทั้งสองชนิดนี้จะขดตัวเป็นวงกลมทำให้เกล็ดที่มีหนามแหลมตั้งขึ้นมา
อาจพบพฤติกรรมนี้ในตู้ได้บ้างกรณีที่เลี้ยงปลาหมออื่นที่มีขนาดใหญ่กว่ามากๆรวมอยู่ด้วย
โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:02] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ความหลากหลายของสีสันตามความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศ ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่างมาก

วาไรตี้ต่างๆที่พบ เช่น

compressiceps " Gold Face"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:06] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   compressiceps " red fin"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:08] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   compressiceps " Black"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:14] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   compressiceps "orange"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:17] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   compressiceps "Chaitika"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:24] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ความจริงยังมีอีก นะครับเช่น copper, red แต่อยากจะให้ดู คาลวัสกันบ้าง เดี๋ยวจะเบื่อกันไปก่อน




calvus "black"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:29] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   calvus "white"/calvus "pearl"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:32] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   ส่วนตัวผมชอบวาไรตี้นี้เป็นพิเศษ เลยแถมให้อีกรุป

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:33] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   calvus "yellow" / calvus"gold"

โดย: Vet_Med [28 ส.ค. 52 13:36] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ

หนังสือ โลกของปลาหมอสี โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์

เว็ป google , https://www.cliclidlovers.com ,www.genepoolaquarium.com อื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยนาม


และสุดท้ายท้ายสุด น่าขอบคุณทะเลสาบทังกันยิกา มารดาแห่งสิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่า ปลาหมอสี ที่สรรค์สร้างความอภิรมย์ให้แก่หมู่มวลมนุษย์ ด้วยความน่ารักน่าใคร่ เป็นงานอดิเรกแสนสวยที่คงอยู่ควบคู่กับสังคมมนุษย์อีกตราบนานเท่านาน


และขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมกระทู้นี้ หวังอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ สำหรับทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมนะครับ

" ขอบคุณ"




"จบ"
โดย: Arm (Vet_Med ) [28 ส.ค. 52 13:44] ( IP A:124.157.184.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ขอบคุณมากมากครับ ปลาสวยดีจัง
โดย: ฟ่อน [28 ส.ค. 52 20:08] ( IP A:117.47.95.191 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน