Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
แนะนำปลาจ๊าบบบบบ <<
กลับไปหน้าแรก
ปลากัดป่าอีสาน(บ้านเฮา)!!! อัญมณี ดื้อ สวย ดุ (ประกวด)
ปลากัดดดดดด.......
หากจะกล่าวถึง "ปลากัด" ก็คงไม่ต้องเล่าความยาวสาวความยืด เนื่องจากปลากัดคงเป็นปลาที่อยู่คู่กับนักเลี้ยงปลาชาวไทยมาอย่างยาวนาน และผมเชื่อว่าปลากัดเป็นปลาตัวแรกๆของใครหลายคนที่เริ่มเลี้ยงปลา... หลายคนยังจำความยุ่งยากในการไปช้อนปลากัด ที่ต้องผจญกับเหล่าปลิงน้อย ที่รอคอยเหยื่อ ดุกดิ้กดุกดิ้ก แล้วก็แหมะลงแล้วก็เริ่มดูด แล้วก็ดูดดดด.... รู้ตัวอีกทีก็ เอะ!! อะไรดำๆ เกาะขา แล้วก็ตามมาด้วยการกระโดดตัวลอยด้วยความตกใจ ใหนจะต้องมองซ้ายมองขวา มองหน้า มองหลัง ตามใต้ที่รองตู้กับข้าวเอย ยางล้อรถเอย กะลามะพร้าวบ้าง เพื่อหาลูกน้ำ มาเป็นอาหารให้เจ้าตัวน้อย ลำบากจัง(ลืมกันยังเอ่ย) หากจะให้กล่าวถึงปลากัดมีกี่ชนิด แต่ละชนิดเป็นเช่นไร แฮะๆๆ เนื่องด้วยมีความรู้เท่าหางอึ่งพิการ ประกอบ
กับสนใจปลาสายพันธุ์นี้เป็นพิเศษ วันนี้จึงขอนำเสนอแค่....
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 4:49] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ปลากัดป่าอีสาน(Betta smaragdina) : ปลาน้อยสีเขียวคราม น่าครั้นคร้ามกางตะบึง เสน่ห์ตัวน้อยๆให้หวนคำนึง นี่แหละที่หนึ่งปลาป่าไทยไทย
ลักษณะเด่นๆของปลากัดป่าอีสาน หรือปลากัดลูกทุ่งอีสาน(บ้านเฮา) ==>: เกล็ดตลอดทั้งลำตัวมีสีเขียวเงาๆ รวมทั้งบริเวณโคนและก้านครีบหาง ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ก็บ่งบอกลักษณะเด่นข้อนี้ได้ตรงตัวอยู่แล้ว(Smaragdina: สีเขียว(ละติน)) ลำตัวค่อนข้างยาว ปราดเปรียว การเคลื่อนไหววุบวับวุบวับ ต่างจากปลากัดสายพันธ์ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งลักษณะของลำตัวค่อนข้างจะอ้วนกลม ไม่ปลาดเปลียวเท่ากับปลากัดป่าอีสาน อาธิเช่น ปลากัดสายพันธุ์ที่พัฒนาแล้วที่มีชื่อว่า Half Moon Phakad(HMPK:เป็นการผสมปลากัด 2 สายพันธุ์ที่พัฒนาแล้วเข้าด้วยกัน ซึ่งก็คือ ปลากัดสายพันธุ์ที่ชื่อว่า Half Moon(HM) ผสมข้ามสายพันธ์กับปลากัดลูกหม้อของไทย (Pk)) ส่วนลักษณะเด่นๆอีกอย่างนึงที่ปลากัดลูกทุ่งสายพันธ์อีสานบ้านเฮามี คือ สีแก้ม จะเป็นเกล็ดสีเขียวเงาเรียงตัวกัน เหมือนแก้มของงูเห่า ซึ่งถ้าลองสังเกตุปลากัดป่าชนิดนี้ให้ดีๆจะเห็นว่ามีลักษณะหัวและหน้าคล้ายของงูเห่ายิ่งนัก...(ส่วนตัว)
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 5:06] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ถิ่นที่อยู่อาศัย : พบได้ทั่วๆไปในภูมิภาคอีสาน ตามที่นา ที่ลุ่มน้ำขัง ตามปลักควาย และน่าสังเกตุว่าปลิงมักจะเยอะไปด้วย จังหวัดที่พบก็เช่นหนองคาย นครราชสีมา ยโสธร บุรีรัมท์ เป็นต้น ซึ่งปลากัดลูกทุ่งอีสานแต่ละที่ที่พบ จะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ซึ่งขึ้นกับสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัย แต่โดยภาพรวมแล้วจะมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมา์
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 5:14] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
มาเลี้ยงปลากัดลูกทุ่งอีสานกัน....
อุปกรณ์ =>เหลี่ยมเลี้ยงปลากัด เป็นตู้ ขวด โหล อ่าง ก็ได้ครับแล้วแต่ความสะดวกแต่ที่นิยมนิยมกันก็ใช้เหลี่ยมปลากัดเลี้ยงครับ เนื่องจาก มองความสวยงามได้มากกว่า และให้อาหารได้ง่าย
=>ไม้น้ำ
=>ใจรักครับ สำคัญสุด
การจัดบรรยากาศในการเลี้ยง=>การเลี้ยงปลากัดลูกทุ่งอีสาน ควรจัดให้อิงธรรมชาติเข้าไว้ครับ ไส่ไม้น้ำ สาหร่าย จอก แหน เพื่อให้เป็นที่หลบของปลา ลดอาการเคลียดของปลาครับ เปรียบไปก็เหมือนกับคน นั่นแหละครับ ย่อมอยากอยู่บ้านในแบบที่ตัวเองชอบ
การเลี้ยงดู=>หลังจากที่บรรยากาศเป็นใจแล้วนั้นทีนี้ก็มาดูวิธีการเลี้ยงเค้ากัน
อาหาร:ให้เช้าเย็นครับ ปลาป่าในธรรมชาติจะกินอาหารสดบ้าง ตะไคร่ พืชน้ำบ้าง เรื่องอาหารปลากัดที่เคยเป็นเรื่องปวดหัวสำหรับผมเมื่อตอนเป็นเด็กนั้น ระบบอินเทอร์เนทก็ทำให้ผมรู้ว่าปลากัดมีอาหารให้กินหลายๆอย่างมากมาย มิไช่มีเพียงลูกน้ำของยุงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ไรแดง ไรทะเล หนอนจิ๋ว อาร์ทีเมีย ฯลฯ หรือว่าจะเป็นอาหารง่ายๆ เต้าหู้ไข่เอย ไข่ตุ๋นเอย ไม่เว้นแม้กระทั่งอาหารเม็ด ที่วันนี้มีมาในรูปแบบอาหารเม็ดของปลากัดโดยเฉพาะ ไม่ไช่แต่ลูกน้ำอบแห้งเหมือนแต่ก่อน ที่เป็นผงๆ ที่ให้เท่าไหร่ปลากัดก็ไม่ยอมกิน ฮ่าฮ่า (ใครเคยเลี้ยงปลากัดต้องเคยเจอแบบนี้) อาหารการกินค่อนข้างจะหลากหลาย มีรุ่นพี่ท่านนึง(ด้วยความเคารพ) เคยเล่าให้ผมฟังว่า ปู่ของท่านเคยเอาดินเหนียวคลุกขี้วัว ขี้ควาย เอาไว้ก้นอ่างเพาะเลี้ยงปลา เพื่อให้เกิดแพลงตอน เกิดพืชน้ำต่างๆ ซึ่งจะกลายเป็นอาหารตามธรรมชาติของปลากัดแต่การให้อาหารมากเกินไปก็อาจทำให้ปลาเป็นโรคเกี่ยวกับการย่อยได้นะครับ ระวังความสะอาดของอาหารสดด้วย และควรให้แต่พออิ่ม ถ้าเหลือให้ตักออก
การเปลี่ยนน้ำ : อัตราการเปลี่ยน้ำจะไม่บ่อยเท่ากับการเลี้ยงปลากัดประเภทสายพันธุ์สวยงามครับ กล่าวคือ การเปลี่ยนน้ำของเลี้ยงปลากัดประเภทสายพันธุ์สวยงาม เช่น HMPK ในกรณีการเลี้ยงในเหลี่ยมส่วนใหญ่แล้วจะเปลี่ยนน้ำแบบ 100% ทุกๆ 3 วัน ซึ่งไม่เป็นข้อตายตัวแล้วแต่ลักษณะการเลี้ยงของแต่ละคน แต่การเลี้ยงปลากัดลูกทุ่งอีสาน จะไม่นิยมเปลี่ยนน้ำบ่อยนักเนื่องจากปลาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพของน้ำที่ไม่ค่อยได้เปลี่ยนได้ โดยเฉพาะปลาช้อนจากธรรมชาติ ไม่นิยมเปลี่ยนน้ำเลยในระยะแรกๆ...
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 5:33] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
มามะมาหมักปลา...
การหมักปลามีวัตถุประสงค์หลายๆวัตถุประสงค์ บ้างก็เพื่อปลากัดจะได้หนังหนาๆ บ้างก็บอกว่าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ฯลฯ และสูตรการหมักปลาก็หลากหลายยิ่งนัก เท่าที่ผมอ่านเจอมา มีทั้งการหมักกับดินจอมปลวก ใบตองแห้ง สีเสียด เปลือกเงาะ ใบจาก ใบยาสูบ แต่ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเรียกได้ว่าเป็นสูตรอมตะสำหรับการทำน้ำหมัก คือ การใช้ใบหูกวาง
ใบหูกวาง :มาดูคุณสมบัติพิเศษๆ ของใบหูกวาง สารที่พบในใบหูกวางคือเทนนิน เป็นสารที่เป็นกรดอ่อนๆ ทำให้พืชมีรสฝาด
-ผลของใบหูกวางที่มีผลต่อผิวปลา :ดังที่ได้กล่าวมาเทนนินเป็นกรดอ่อนๆ จึงทำให้เกิดการกัดผิวปลาทำให้หนังปลาหนาขึ้น และเทนนินยังไปเคลือบที่เกล็ดของปลาทำให้เกล็ดเกิดความกระด้าง
-ผลของใบหูกวางที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม :ใบหูกวางมีสารพวก antiseptic และ Flavoniods จะต้านและยับยั้งแบคทีเรีย ทำให้การอักเสบของบาดแผลลดลง รวมถึงสมานแผลไปในตัวได้อีกด้วย แต่พืชน้ำ หรือไม้น้ำที่ไส่ลงไปร่วมกับการเลี้ยงปลากัดที่หมักด้วยใบหูกวางนี้ จะเกิดการเปลื่อยของใบเร็วกว่าปกติ และจะไม่งอกใบขึ้นมาใหม่ เนื่องจากพืชบางชนิดไม่สามารถทนกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ แต่ก็พอมีพืชที่สามารถทนรับสภาพดังกล่าวได้ อาธิเช่น กระเพราน้ำ ว่านใบพาย
ส่วนความเข้มของการหมักก็อยู่ที่สูตรของแต่ละท่านว่าหมักเข้มมากเข้มน้อย แต่ก็มีข้อควรระวังคือเมื่อหมักด้วยน้ำหมักใบหูกวางไปนานๆควรเปลี่ยนน้ำด้วยเนื่องจากสารที่เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนสภาพเมื่อผ่านไปนานๆ และควรใช้ใบหูกวางที่แก่จัดๆเท่านั้น สำหรับใช้ในการหมัก
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 5:45] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ยังมีปลาป่าอีสานอีกชนิดที่น่าสนใจคือปลากัดป่ากีต้า...
ปลากีต้านี้สามารถกระดิกตะเกียบ(Pelvic fins:ลักษณะแหลมเป็นคู่ใต้ตัวปลา)ไปมาคล้ายๆคนดีดกีต้าร์ขณะพอง จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อ และจุดสังเกตุอีกจุดก็คือหางของปลากัดป่ากีต้าร์จะแตกต่างกับปลากัดป่าอีสานทั่วๆไป
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 6:03] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
นอกจากจะมีการอนุรักษ์สายพันธุ์ปลากัดลูกทุ่งอีสานสายดั้งเดิมไว้แล้วนั้น ด้วยฝีมือคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดใหม่ๆขึ้นมา โดยนำเอาปลากัดลูกทุ่งอีสานไปผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาสายพันธุ์อื่น ซึ่งนับเป้นการพัฒนาวงการปลากัดไทยซึ่งได้ปลาที่มีลักษณะสวยงามมากๆ จากรูปเป็นปลาของคุณ Boy(ปลากีต้าร์ด้วย) เว็บ Thailand Betta Network นับถือครับ
โดย: มาวเรือ (มาวเรือ
) [29 ส.ค. 52 6:16] ( IP A:61.7.129.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ พี่ Rof และ
https://www.genepoolaquarium.com/
ที่มาของภาพที่1
ขอขอบคุณ คุณ electron และ
https://www.siamensis.org/
สำหรับความรู้และภาพ คห.2
ขอขอบคุณ คุณ tautao ภาพ reddragon HMPK คห.1
ขอขอบคุณ เวป eBetta.com ภาพ HM คห.1
ขอขอบคุณ คุณ Boy แห่งเว็บ Thailand Betta Network สำหรับ ปลากีต้าร์และปลากัดป่าลูกผสม ที่มาของภาพ คห.5-6
ขอขอบคุณ เวป
https://www.bettanetwork.com
สำหรับความรู้และภาพ
ขอขอบคุณ เวป
https://www.plakadthai.com
สำหรับความรู้และภาพ
และขอขอบคุณ รูปภาพสวยๆจาก
https://www.google.com
และเจ้าของภาพใบหูกวางและจอกแหน ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่าน อยากร่วมสนุกด้วยครับ ถูกผิดประการใดน้อมรับความติเตียนเพื่อเป็นวิทยาทานกับตัวผมและผู้ต้องการศึกษาครับ...
โดย: มาวเรือ
[29 ส.ค. 52 6:34] ( IP A:61.7.129.93 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน