หางนกยูง จุดเริ่มต้นของปลาตู้ ( ประกวด )
    สวัสดีครับ พี่ ป้า น้า อา เพื่อนพ้อง และน้อง ๆ ชาว Genepool ทุกท่าน ผมกลับมาอีกแล้วครับคราวนี้ไม่ได้กลับมาตัวเปล่า แต่ผมกลับมากับ เจ้านี้ ( ไม่ใช่เจ้าหนี้นะ ) ปลาสวยงามชนิดแรกสุด ของ หลายคนๆ คงไม่มีใครไม่รู้จักปลาชนิดนี้ผมว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายคน นั้นคือ หางนกยูง สุดยอดปลาที่เลี้ยงง่าย ถึง ง่ายมาก ถึง ง่ายที่สุด ชนิดหนึ่ง เลยทีเดียว มีคนกล่าวไว้ว่าการเลี้ยงไม้น้ำให้ไม่ตายนะไม่ยากแต่ที่เลี้ยงแล้วให้สวยงามนะซิยากกว่า ผมคิดดูแล้วปลาหางนกยูงก็ไม่ได้ต่างจากคำกล่าวถึงไม้น้ำแต่อย่างไร ที่ว่าเลี้ยงง่ายก็จริงอยู่แต่ที่สำคัญมันอยู่ที่เลี้ยงให้สวย เลี้ยงให้ดี นั้นแหละประเด็นของบทความนี้

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    ทุกท่าน คง รู้จัก ปลาหางนกยูงกันทุกท่านแล้วนะครับ น้อยคน หรือ ผมคิดว่าน่าจะไม่มีนะคนที่ไม่รู้จักปลาชนิดนี้แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าปลาหางนกยูงอะ เค้ามีหลายสายพันธุ์ แล้วถิ่นกำเนิดท่านทราบหรือไม่ว่ามันมาจากที่ใด ชอบอาหารแบบไหน ชอบความเป็นอยู่อย่างไร เป็นอันว่าไม่ให้เสียเวลา เราลองมาดูบทความเกี่ยวกับ ปลาหางนกยูงกันเลยดีกว่าครับ

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    หางนกยูง ชื่อ ในภาษาไทย ในภาษาอังกฤษ เค้าเรียกเจ้านี้ว่า GUPPY อยู่ในครอบครัว Poecidae เป็นปลาอออกลูกเป็นตัว บางท่านคิดว่ามันคงจะวาง ไข่ ละซิ ไงก็ผมคนนึงละเมื่อก่อนคิดว่ามันจะวางไข่แต่จริงๆ มันไม่ได้วางไข่นะ

การจำแนกทางทางอนุกรมวิธาน
Class : Osteichthyes
Order : Cyprinodontiformes (Tooth-carps)
Suborder : Cyprinodontoidei
Family : Poeciliidae (Livebearers)
Subfamily : Poeciliinae
Genus : Poecilia
Specie : reticulata

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    ปลาหางนกยูงมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน แม่น้ำสายนี้เป็นถิ่นกำเนิดของสัตว์น้ำนานา ชนิดจริงๆ โอ้ จอช์ร มันยอดมาก !!!!! smile
ปลาหางนกยูงเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ ทำให้สามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนน้อยๆได้ดี ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลากลุ่มนี้ในการนำไปช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายครับ o_O

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามขนาดเล็กครับ โตเต็มที่ปลาตัวผู้มีขนาด 3 - 5 เซนติเมตร ส่วนตัวเมียมีขนาด 5 - 7 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามหลายสีแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์
โดยเฉพาะที่ส่วนหางจะมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ และเฉพาะปลาเพศผู้จะมีครีบหางยาวและสีสันเด่นสะดุดตาครับ เหมือนอย่างบทความอะครับสีสวยสะดุดตา 5555 (สะดุดจนตาลาย) idea

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    อาหารการกินของปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง จะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวก ไรแดง หนอนแดง ลูกน้ำ ไรทะเล หรืออาหารสำเร็จรูปก็ได้ครับ แต่เค้าว่ากันว่าถ้ากินพวกอาหารสด สีจะแจ่มกว่าครับ

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
    ในธรรมชาติปลาหางนกยูงจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด และน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ และ แน่นอนอยู่แล้วครับว่าน้ำที่เลี้ยงต้อง ไม่มีคลอรีน ไม่ว่าปลาไหนๆ จะเลี้ยงง่ายเลี้ยงยากก็ไม่ชอบน้ำคลอรีนทั้งนั้น ส่วนอุณหภูมิ ก็อยู่ประมาณ 26-30 องศา ครับpleasecome

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    สายพันธุ์ปลาหางนกยูงแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเฉพาะ มีการเพาะพันธุ์และเป็นที่ยอมรับของผู้เลี้ยงมีมากกว่า 700 สายพันธุ์ เน้นนะมากกว่า 700 สายพันธ์ โดยที่การแยกจะแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ก็ คือ Wild guppies และ Fancy guppiesangel

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    Wild guppies หมายถึง ปลาหางนกยูงที่พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปลาที่มีผู้นำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยไม่ได้ผ่านการคัดพันธุ์ ปลาชนิดนี้มักจะมีสีคล้ำ สีไม่เด่นสะดุดตาครีบหลักและครีบหางจะไม่ยาวนัก ปลาเพศผู้และเพศเมียจะมีลักษณะคล้ายกันไม่แตกต่างกันมาก เอาง่ายๆ ก็ปลาป่านั้นแหละครับ

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    ส่วน Fancy guppies ก็คือปลาที่ได้จาการนำปลาหางนกยูงป่ามาคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีลักษณะดี สีสันสวยงาม และลวดลายเด่นสะดุดตา ปลาเพศผู้ในกลุ่มนี้จะมีลักษณะครีบใหญ่ยาว และสีสวยสะดุดตากว่าปลาเพศเมียมาก และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากครับblink

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    ก็อย่างที่บอกข้างต้นอะครับว่า ปลาหางนกยูงมีมากกว่า 700 สายพันธุ์ แล้วทุกท่านสงสัยกันบ้างรึป่าวครับว่า ปลาหางนกยูง ตัวติ๊ดเดียวทำไมมันถึงมีหลายสายพันธุ์ เค้าเอาอะไรมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อสายพันธุ์ ถ้าสงสัยและอยากรู้ก็ ตามมากันเลยครับ Let’GO

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
    1. ลักษณะของครีบหางครับ ครีบหางของปลาหากนกยูงเป็นส่วนที่เด่นที่สุด การคัดพันธุ์จึงเน้นที่รูปแบบของหางเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันมีรูปแบบของหางต่างๆ หลายแบบได้แก่

Rounditial ได้แก่หางที่มีลักษณะกลมมนขณะที่กางเต็มที่
ลงรูปผิดพลาดขอ อภัย cry

โดย: เอกST (เอกST ) [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
    2. Pintail เป็นหางที่มีลักษณะกลมเช่นเดียวกัน Roundtail แต่ก้านครีบบริเวณกึ่งกลางของ ครีบหางจะยื่นยาวออกไปเป็นเส้น

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
    3. Speartail หรือ Lacetail เป็นครีบหางที่แผ่กว้างออกเล็กน้อย จากบริเวณโคนหาง แล้ว ค่อยๆ เรียวแหลมไปทางด้านปลายหางลักษณะคล้ายใบโพธิ์

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
    4. Spadatail หรือ Cofer tail คล้าย Speartail แต่ปลายหางจะไม่เรียวแหลมเหมือน speartail ส่วนของปลายหางจะมีรูปร่างเหมือนครึ่งหนึ่งของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
    5. Upper swordtail ได้แก่ ครีบหางที่มีก้านครีบบริเวณขอบบนของครีบหางยื่นยาวมากกว่าก้านครีบอันอื่นๆ มีลักษณะเป็นเส้นยาว

6. Lower swordtail ได้แก่ หางที่มีก้านครีบที่อยู่ขอบล่างของครีบหางยื่นยาวออกมาเป็นเส้น

7. Dubble swordtail เป็นครีบหางที่มีก้านครีบที่อยู่บริเวณขอบบนและขอบล่างของครีบหางยืนยาวออกมาเป็นเส้น

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
    8. Flagtail ได้แก่ หางที่มีลักษณะยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายผืนธง

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
    9. Lyretail เป็นลักษณะหางที่มีรูปร่างคล้ายกับ Dubble tail กล่าวคือ มีก้านครีบหางยื่นยาวเป็นเส้นเช่นเดียวกับ Dubble tail แต่ต่างกันที่ก้านครีบส่วนที่ยื่นออกไปจะสั้นกว่าและแพนหางจะแผ่กว้างกว่า Dubble tail ซึ่งค่อนข้างยากที่จะจำแนกลักษณะหางทั้ง 2 แบบนี้ให้เห็นเด่นชัดและมักจะมีผู้ใช้ซ้ำซ้อนกันเสมอrose

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
    10. Fantail ครีบหางแบบนี้เมื่อ แผ่กว้างเต็มที่ความกว้างของแพนหางจะกว้างมากกว่าความขาวของหางมองดูลักษณะคล้ายพัด

11. Traingletail หรือ Del tatail หางแบบนี้จะมีลักษณะคล้าย Fantail แต่ความยาวของหางจะยาวมากกว่าความกว้างของหางเมื่อแผ่เต็มที่ มองดูคล้ายรูปสามเปลี่ยม

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
    12. Veiltail ได้แก่ หางที่มีลักษณะยาวเป็นพวง ปลายครีบหางจะแผ่กว้างกว่าบริการโคนครีบ แต่ไม่แผ่กว้างมากเท่า Fantail หรือ Triang letail

หมดแล้วครับการดูลักษณะของครีบหาง ต่อไปเรามาดูสีตามลำตัวต่อนะครับ ฟิ้วววววว smile

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
    2. ลักษณะสีบนลำตัวและครีบ
ปลาหางนกยูงมีสีต่าง ๆ มากมายหลายสี บางคนกล่าวว่าสีที่พบในปลาหางนกยูงมีมากกว่าสีที่พบในสัตว์ชนิดอื่นๆ แม้กระทั้งผีเสื้อซึ่งเป็นสัตว์ที่มีสีสันสดสวยก็ยังสู้ปลาหางนกยูงไม่ได้ แจ๋วจริงๆ เลยนะครับ Fancy guppies ที่พบเห็นทั่วไปมักจะไม่พบหรืออาจจะพบน้อย สำหรับ ปลาที่มีสีเดียวล้วนๆ ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีมากกว่า 1 สีขึ้นไปผสมอยู่ในปลาตัวเดียวกัน แต่อาจมีสีหนึ่งสีใดเด่นชัดมากว่ากว่าสีอื่นๆ ในการตั้งชื่อหากว่าปลามีหลายสี มักจะใช้สีที่เด่นที่สุด บนตัวปลาเป็นสีเรียกชื่อและสีที่พบมักจะเป็นสีพื้นส่วนใหญ่ได้แก่ สี ดำ ขาว เหลือง น้ำเงิน แดง เขียว และสีธรรมชาติ (Wild) ซึ่งมักจะเป็นสีคล้ำๆ มัวๆ หรือสีลวดลายเหมือนปลาที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ^_^

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
    3. ลักษณะของลายบนลำตัวและครีบครับ
จากการที่ปลาหางนกยูงมีสีต่างๆ มากมายหลายสีดังที่บอกมาแล้ว ประกอบกับการคัดพันธุ์ที่เน้นความสำคัญของสี จึงทำให้ได้ปลาที่มีลวดลายต่าง ๆ และมีการตั้งชื่อตามลวดลายที่ปรากฏ เช่น Snake skin, Mosaic, Tuxedo เป็นต้น

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
    ในการตั้งชื่อปลาของแต่ละสายพันธุ์ที่เพาะได้ใหม่นั้น นิยมใช้ชื่อที่พบว่าเป็นสีพื้นและเด่นที่สุดบนตัวปลาเป็นชื่อแรก และหาก ปลามีลวดลายต่างๆ ก็จะใช้ลวดลายเป็นชื่อ
ต่อมาและตามด้วยลักษณะหาง หรืออาจใช้ลักษณะหางเป็นชื่อแรกก็ได้ แล้วแต่ความนิยมของผู้เลี้ยง ถ้าหากสีที่ปรากฏไม่เห็นเป็นลวดลาย ก็จะใช้สีที่เด่นสะดุดตาที่สุดบนตัวปลากับลักษณะหางเป็นชื่อเรียกปลาของแต่ละสายพันธุ์ อย่าง

Yellow snake skin หมายถึง สายพันธุ์ที่มีลำตัวและหางมีสีเหลืองเป็นสีพื้นและเด่นที่สุด ในขณะเดียวกันจะมีลวดลายบนลำตัวและครีบลักษณะคล้ายหนังงู
Lower Swordtail Blood Red ก็คือ สายพันธุ์ที่หางที่มีก้านครีบที่อยู่ขอบล่างของครีบหางยื่นยาวออกมาเป็นเส้น ลำตัวสีแดงสด เป็นต้นครับreader

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
    ในสุดเราก็เดินทางมาได้ซักครึ่งทางแล้วละครับ ยังไงก็ขอพักดื่มน้ำเย็นๆ ซักแก้วก่อนนะครับ ข้อมูลมันมาก แล้วจากนั้นเราก็ลุยกันเลยยย Yo!!!!!!

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
    ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานและแพร่หลายไปแทบทุกประเทศในโลก ประกอบกับเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวและสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ง่ายมาก ทำให้เกิดปลาสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมาเป็นจำนวนมากก็อย่างที่บอกว่ามากกว่า 700 สายพันธุ์ แต่ก็พอจะจัดกลุ่มของสายพันธุ์ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงกันได้ ดังนี้

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
    สายพันธุ์คอบร้า (Cobra) มีลวดลายเป็นแถบยาวหรือสั้น พาดขวาง พาดตามยาว หรือ พบพาดเฉียงทั่วลำตัวตลอดถึงโคนหาง ลวดลาย คล้ายลายหนังงู ครีบหางมีมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม (delta tail) รูปพัด (fan tail) หรือ หางบ่วง (lyre tail) มีหลากหลายและหลากสี สอดคล้องกับลำตัว มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
    สายพันธุ์ทักซิโด้ (Tuxedo) ลักษณะครึ่งตัวด้านท้ายมีสีดำ หรือ สีน้ำเงินเข้ม ครีบหางมีหลากหลายแบบ ครีบหลังและครีบหางหนาใหญ่ มีสีและลวดลายเหมือนกัน มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
    สายพันธุ์โมเสค (Mosaic) พื้นลำตัวสีเทาอ่อน บริเวณด้านบนสีฟ้า หรือ เขียว อาจแซมด้วยสีแดง ชมพู หรือ ขาว ครีบหางมีหลากหลาย ครีบหลังขาวเรียบ หรือ ชมพูอ่อน หรืออาจมีจุด หรือ แต้มขนาดเล็ก มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
    สายพันธุ์กร๊าซ (Grass) ลำตัวมีหลากสี ครีบหางมีจุด หรือแต้มเล็ก ๆ กระจาย แผ่ไปทั่งตามรัศมีของหางคล้ายดอกหญ้า มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:00] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
    สายพันธุ์นกยูงหางดาบ (Sword tail) ลำตัวมีสีเทา ฟ้า เขียว แดง ชมพู เหลือง คล้ายหางนกยูง พันธุ์พื้นเมือง อาจมีจุด หรือ ลวดลายบนลำตัว ครีบหางเป็นแฉกคล้ายปลาดาบ อาจมีทั้งด้านบน หรือ ด้านล่าง หรือ ด้านใดด้านหนึ่ง มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:01] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
    ลักษณะเพศของปลาหางนกยูง
สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกได้โดยการดู
ขนาดของลำตัว ปลาหางนกยูงตัวเมียมีขนาดตัวใหญ่และอ้วน ส่วนปลาตัวผู้จะตัวเล็กเรียวยาว (แต่ของ ผมใหญ่ยาวนะ -๘- ขนาดลำตัวนะครับ อย่าคิดไปอื่น )

ความยาวของครีบ ปลาตัวผู้จะมีครีบหลังและครีบหางยาวกว่าปลาตัวเมีย มาก โดยเฉพาะครีบหาง จะยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว ส่วนปลาตัวเมียครีบหางจะสั้น

สี ปลาตัวผู้จะมีลำตัวและครีบที่มีสีสันเข้มสดและมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์ ส่วนปลาเพศเมีย ลำตัวมักจะไม่มีสีสัน แต่อาจมีสีบ้างที่ครีบหาง เอาง่ายๆ งานนี้ตัวผู้หล่อตัวเมียขี้เหร่ อิอิ

อวัยวะสืบพันธุ์ ปลาตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ลักษณะเป็นท่อยาวๆ เรียกท่อส่งน้ำเชื้อ
ซึ่งเจริญมาจากครีบก้นและไปอยู่ใต้ครีบท้อง ดังนั้นปลาเพศผู้จะไม่มีครีบก้น แต่ปลาเพศเมียจะมีครีบก้นตามจุดดำท้ายส่วนท้อง ปลาเพศเมียจะมีจุดหรือวงที่บริเวณท้ายของส่วนท้องซึ่งเป็นบริเวณที่มีผนังค่อนข้างบาง ถ้าเป็นแม่ปลาที่มีไข่ค่อนข้างแก่จะสามารถสังเกตจุดสี
ดำซึ่งเป็นลูกตาของลูกปลาในไข่ปลาได้ marry

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:03] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
    การแพร่พันธุ์ของปลาหางนกยูง
ตามปกติปลาหางนกยูงจะสามารถแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนในบ่อเลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบ่อเลี้ยงที่มี
พรรณไม้น้ำอยู่มาก ทั้งนี้เนื่องจากปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว และสามารถแพร่พันธุ์ได้ดี
เกือบตลอดปี เอาง่ายๆ คือปลาตัวเมียโตเป็นสาวขาว สวย หมวย อึมเมื่อไหร่ ตัวผู้ที่โตแล้วก็เข้าไปเสียบได้เลยครับ โดยยื่นท่อส่งน้ำเชื้อเข้าไปทางช่องสืบพันธุ์ของตัวเมีย แล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในท้องของปลาตัวเมีย ซึ่งเป็นการผสมพันธุ์ภายใน จากนั้นก็รอ จนฟักออกเป็นตัวจะใช้เวลาประมาณ 28-30 วันครับ แล้วก็ลูกปลาจะถูกปล่อยออกจากแม่ปลา ลูกปลาที่คลอดออกมาใหม่ๆจะมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ที่เกิดจากการผสมภายนอก และยังค่อนข้างมีความแข็งแรง คือสามารถว่ายน้ำอย่างรวดเร็วเพื่อหาที่หลบซ่อน มิฉะนั้นจะถูกแม่ปลาหรือปลาตัวอื่นจับกินเป็นอาหารได้ครับ ดั่งที่เพื่อนๆ ชาว Genepool เห็น ใส่ปลาหางนกยูงลงในบ่อซัก 4-5 คู่ เวลาผ่านไปไม่กี่เดือน เล่นซะจะล้นบ่อกันเลยทีเดียว

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:05] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
    เมื่อกี้เป็นการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ เรียกเอาง่ายๆ ว่าปล่อยตามมีตามเกิด อะครับ 555 แต่ถ้าใครได้อ่านบทความนี้แล้วนึกอยากจะผสมเอง เลี้ยงเอง ขายเอง ก็ไม่มีอะไรมากมายครับแค่หาพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ดีๆ สวยๆ มาซัก 1 คู่ อายุประมาณ 3-4 เดือน แล้วจับลงใส่ตู้ที่ไม่ใหญ่เกินไป อาจจะซักประมาณ 1 ฟุต หาจอกแหนหรือสาหร่ายมาใส่ไว้ด้วย จากนั้นก็รอผสมพันธุ์ครับ คอยดูว่าท้องตอนไหนถ้าท้องแล้วก็จับพอพันธุ์ออก แล้วนับเวลาจะเกิดประมาณ 28 วัน พอแม่ปลาเกิดให้พักฟื้นประมาณซัก 1-2 วัน แล้วให้จับแม่ปลาออกระหว่างที่แม่ปลาพักฟื้น พวกลูกๆ ก็จะแอบตามจอกแหน ที่เราใส่ไว้อะครับ แล้วก็เลี้ยงดูเจ้าตัวเล็กเพื่อเป็นขุมกำลังในการทำไรต่อไปปปปป เอ้ยย เพื่อเป็นขุมกำลังในการโชว์ความสวยงามต่อไปปปปปปป แต่วิธีนี้ค่อนข้างใช้เนื้อที่มาก ถ้าจำกัดพื้นที่ลองดูอีกแบบครับ blink

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:06] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   อีกแบบที่ว่า คือใส่ในบ่อไปหลาย ๆ คู่เลย แล้วสังเกตว่าปลาตัวเมียท้องรึยัง พอถึงเวลาท้องแก่เราก็ นำปลาตัวเมียแยกออกมาใส่ตะกร้าแขวนอยู่บนกะละมัง เอาช่องที่ขนาดลูกปลาลอดได้แต่แม่ปลาลอดไม่ได้ พอแม่ปลาเกิดลูก ลูกปลาก็จะว่ายไปอยู่ที่ก้นกะละมังครับเป็นอันว่าปลอดภัย ได้ตัง cheese cry

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:08] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
    ส่วนการดูแลลูกปลาก็ง่ายๆ ครับให้อาหารผง หมั่นเปลี่ยนน้ำ ซัก 10 % ทุก 2-3 วัน ใช้เวลาประมาณ 15 วันก็โตพอที่จะไปรวมในบ่อกับพ่อ แม่ ได้แล้วละครับ

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:09] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
    โรคที่พบได้บ่อยในปลาหางนกยูงก็จะมีโรค
1.จุดขาว อันนี้ติดทุกรายการ
2.โรคที่เกิดจากปลิงใส
3.โรคที่เกิดจากหนอนสมอ
4.โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบคือ ครีบกร่อนหางกร่อนครับ+++

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:10] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
    เฮ้อจบซะทีบทความนี้เหนื่อยจัง บทความนี้ผมนั่งหาข้อมูล นั่งเรียบเรียงให้อ่านแล้วไม่น่าเบื่อ นั่งพิมพ์ในWord ก่อน COPY มาลงเว๊บ แบบว่ากลัวโดนปาด ไม่อยากเคลมประกันครับ 5555+ อยู่นานเลยละครับขอบอกว่าปลาตัวเล็กแต่ข้อมูลมากมาย ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยครับ ท้อไหม นิดหน่อยครับ แต่ไม่เป็นไรรางวัลรออยู่ เอ้ย ไม่ใช่
คำแนะนำ และ ชมเชยรออยู่เลยไม่ท้อ (จริงงะ) -_- แล้วถามตัวเองว่าสู้ไหม บอกได้เลยครับว่าสู้ เพราะรางวัล เอ้ยอีกละ ไม่ใช้ เพราะมีเพื่อนๆ ชาว Genepool คอยอยู่ แล้วถามตัวเองต่อว่าจะทำบทความใหม่ให้ดีกว่านี้อีกไหม บอกไปแบบทันด่วนเลยว่า
“ทำซิตราบใดที่เวลาประกวดยังไม่หมด” อ่าวไม่พ้นอีกละ ไม่ใช่ตอบแบบนั้นต้องแบบนี้ “ ทำซิคราบใดที่เพื่อนชาว Genepool ยังคอยเฝ้าดูผลงานและให้คำแนะนำมาพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีคนมาบอกว่า พอได้แล้ว ข้าไม่อยากอ่านของเอ็งแล้ว ตราบนั้นแหละผมจึงจะหยุด แต่ถ้ามีคนมาบอกว่า ใช้ได้ ดีเว้ย แจ๋ววะไอน้อง เจ๋งไปเลย ผมคงจะหยุดเสียไม่ได้“
บทความเกี่ยวกับปลาหางนกยูงนี้ มีหลายคนคิดว่ามันจะมีอะไรดี เห็นมาตั้งแต่เด็กตัวละ5 บาท เดินไปซื้อตามตลาดนัดยังมีขายเลย จับเอาตามคูน้ำแถวบ้านก็ได้ แต่ท่านรู้หรือไม่ครับว่าเดี๋ยวนี้ปลาหางนกยูงพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่หยุดคิด
พัฒนาสายพันธุ์ปลาชนิดนี้ก็คงจะมีให้เรียนรู้เพิ่มเติมจนไม่รู้จักจบ จากตัวละ 5 บาท
กลายเป็น ตัว 10 20 100 200 จนตอนนี้ กลายเป็นคู่ละ หลักพันยังมีเลยครับ
อย่าง GERMAN PLATINUM SWALLOW สายพันธุ์นี้ 3 ตัว ล่อไป 3,000 บาท แล้วครับ
แน่นอน แค่ 3,000 บาทเองสำหรับบางท่าน ดูอย่าง อะโรวาน่า ดิ ตัวงี้ เป็นหมื่นเป็นแสน
หรือ ปลาอื่นที่หายากๆ จนคนไม่ค่อยรู้จักนู้นละ แต่อย่าลืมนะครับว่า ปลาหางนกยูงนี้ ราคาจากจุดเริ่มต้นที่ 5 บาท จนพัฒนา สายพันธุ์ เรื่อยๆ จนมาถึงระดับนี้และคงจะยังไม่หยุดนิ่ง ปลาชนิดนี้ไม่ได้มีการประกวดแค่ภายในประเทศนะ แต่ การประกวดปลาชนิดมีถึงระดับโลกเลยครับบทความหลายคนคิดว่า เอาปลาแบบนี้มาลงหาเอาจาก Google ก็ได้ ทำไมไม่เอาปลาแปลกๆ หายากๆ มาลงละ อันนี้ผมไม่เถียงครับ แต่ที่ผมทำบทความเกี่ยวกับ ปลาหางนกยูงนี้ผมไม่ได้แค่ COPY แล้ว PASS แต่ทุกตัวอักษรผมอ่านได้ศึกษาและเรียบเรียงข้อมูลมาเขียนบทความในรูปแบบของตัวเองแน่นอนข้อมูลทุกข้อมูลหาได้จาก ในเนท และไม่ยากด้วยแต่ทำไมละที่ผมยังจะเลือกที่เขียนถึงปลาหางนกยูง ก็ อย่างที่ผมบอกไปเพราะปลาชนิดนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง ผมต้องการอัพเดทสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาให้ท่านที่รู้จักดีอยู่แล้วได้รู้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้ ท่านที่ไม่รู้ จะได้รู้
และที่สำคัญ ผม เขียน บทความ ในแบบฉบับ ของตัวเอง พยายามทำไม่ให้หน้าเบื่อ
มีอยู่แล้วที่ COPY มา แต่มันอยู่ที่การเรียบเรียงครับ การหาข้อมูลต่างๆ นานา มาเรียบเรียงเป็นประโยคเพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านต่อไป เทอญ................................

อะสุดท้ายละ อิอิ พล่ามมามาก ขอโทษพี่ต้นด้วยนะที่ใช้เนื้อที่มากไปหน่อย
ขอโทษภาษาไทยในบางคำที่พิมพ์ผิด และ ใช้ภาษาไทยเพี้ยน ทั้งนี้เพื่อให้การอ่านดูสนุก
และขอขอบคุณ พี่ ป้า น้า อา เพื่อนพ้อง และน้อง ๆ ชาว Genepool ทุกท่าน สำหรับคำแนะนำและคำชม ขอบคุณครับ ^_^
***ขออีกนิดดดด ขอบใจตัวเอง สำหรับแรงบัลดาลใจ***

flower

โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:11] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   อ้างอิง
https://www.rachaplathong.com/eng/info_th4.html
https://www.student.chula.ac.th/~49370540/guppy5.htm
https://www.geocities.com/kad_guppy/
https://www.thaiguppy.com/
และอื่นๆ อีกครับขออภัยที่ไม่ได้กล่าวถึงเพราะจำไม่ได้แล้ว -*-
โดย: เอกST [1 ก.ย. 52 1:12] ( IP A:222.123.177.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   บทความนี้ดีมากมากครับพี่ ว่าแต่พี่เล่นเอ็มไหมครับอยากจะขอซักหน่อย อิอิ หรือถ้าไม่สะดวกก็แอดมานะครับ fonn_fish@hotmail.com
โดย: ฟ่อน [1 ก.ย. 52 9:45] ( IP A:125.25.198.65 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   เยี่ยมเลย

บางตัวตั้งกะเกิดมายังไม่เคยเห็นเลย
โดย: Puffery [9 ก.ย. 52 19:31] ( IP A:110.49.141.86 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   ขอชื่นชมในความตั้งใจครับ
โดย: นู๋เปีย มือใหม่หัดเลี้ยง (noopea ) [13 ก.ย. 52 20:20] ( IP A:119.42.121.176 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   ปลาเบสิคแต่แฟงไปด้วยความคลาสสิค เยี่ยมกู๊ดครับ ขอชมเชยเลยนิ
โดย: dude [19 ก.ย. 52 20:13] ( IP A:124.121.226.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   สุดยอดครับเนื้อหาดีครับ
โดย: daiboken [24 ก.ย. 52 1:00] ( IP A:125.25.137.94 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน