All Axolotl Data
   สวัสดีครับ วันนี้ผมขอนำบทความเกี่ยวกับ Axolotl มาเสนอแก่เพื่อนๆทุกๆท่านหวังว่าคงนำไปใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นนะครับ
Axolotl (Ax-oh-lot-ul) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ambystoma Mexicanum เป็นสัตว์กลุ่ม Amphibian ,Salamander และ Caudata/Urodela
สีของ Axolotl มีมากมาย เช่น ขาวตาดำ(Leucistic),เผือกทอง(Gold Albino),เผือกขาว(White Albino),ดำ(Melanoid) และสีธรรมชาติที่เรียกว่าชนิด Wild นอกจากนั้นยังมีพวกมากกว่าหนึ่งสีเรียกว่า Harlequin
Axolotl มาจากภาษา Aztec หมายถึง เทพเจ้าแห่งการเปลี่ยนรูป(ความตาย) ส่วนชื่อเรียกอื่นๆเช่น หมาน้ำ "Water-dog" มาจากคำว่า "atl" ที่แปลว่าน้ำ และ "xolotl" ที่แปลว่าหมา

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:25] ( IP A:118.172.101.2 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ก่อนที่พวกมันจะอพยพมาอยู่ที่เมือง Basin ประเทศเม็กซิโก พวกมันเคยอาศัยอยู่ที่บริเวณทะเลสาป Xochimilco และ Chalco ซึ่งปัจจุบันนี้เหลือแต่ Xochimilco เพียงแห่งเดียว ตอนนี้พวกมันได้ขึ้นทะเบียน CITES และถูกส่งเสริมให้เพาะพันธุ์และปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำที่มันอาศัยอยู่(เขตเมืองหลวงเม็กซิโกซิตี้) ถูกคุกคามจากการขยายของตัวเมืองอย่างมาก ซึ่งแตกต่างกับญาติๆของมันคือ Tiger Salamander, Ambystoma Tigrinum และ Ambystoma Mavortium spp. ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ลึกเข้าไปในธรรมชาติจึงอยู่รอดปลอดภัยกว่า

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:26] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   Axolotl มีความสามารถในการซ่อมแซมอวัยวะอย่างน่าเหลือเชื่อ โดยปกติบาดแผลของสัตว์ทั่วไปมักเกิดรอยแผลเป็นที่แข็งตามมา และไม่สามารถเกิดได้ในกรณีสูญเสียแขนหรือขา แต่ Axolotl ทำการฟื้นฟูตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และยังมีอะไรพิเศษๆจากการทดลองอีกเช่น ตัวอ่อนยักษ์ที่ค่อนข้างแข็งแรงรวมถึงเปลี่ยนถ่ายอวัยวะในตัวอ่อนได้สำเร็จด้วยดีอีกด้วย

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:26] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   จากลักษณะที่พิเศษของ Axolotl เช่นลักษณะภายนอกที่แปลกประหลาด หรือความสามารถในการฟื้นฟูอวัยวะ เป็นผลจากสิ่งที่เรียกว่า Neoteny ซึ่งเป็นวิวัฒนาการย้อนกลับ โดนผ่านความแปรผันของธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม เกิดการปรับตัวแบบ Neotenous ได้สายพันธุ์ที่พัฒนามากขึ้น ซึ่งบางครั้ง Neoteny ก็พบในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอื่นๆที่มีระดับ Iodine ต่ำเช่นกัน(แร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับสัตว์เพื่อสร้างฮอร์โมน Thyroxine ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและเจริญเติบโต) หรือแม้แต่ที่ๆอุณหภูมิต่ำๆก็จะชะลอการสร้างฮอร์โมนนี้ และทำให้เกิด Neoteny ได้เช่นกัน

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:29] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   จากผลดังกล่าวทำให้ Axolotl ยังคงมีลักษณะแบบตัวอ่อนตลอดอายุของมัน โดยยังคงใช้เหงือกและครีบจนโต และไม่พัฒนาตาให้ยื่นออกหรือว่าสร้างเปลือกตาเหมือนซาลาแมนเดอร์อื่นๆ แถมตัวอ่อน Axolotl ยังมีขนาดใหญ่กว่าตัวอ่อนซาลาแมนเดอร์อื่นๆและยังสืบพันธุ์ที่ระยะนี้ได้ด้วย นอกจากนั้นยังอาศัยอยู่ในน้ำได้โดยสมบูรณ์แม้ว่าจะมีปอดขั้นพื้นฐานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังหายใจทางหลักผ่านเหงือกและรองลงมาทางผิวหนังอยู่ ซึ่งเรียกว่า "Perennibranchiate"

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:31] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   จริงๆแล้ว Neoteny เกิดเองได้ยากตามธรรมชาติ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลารวมถึงปัจจัยหลายๆอย่าง แต่ในการทดลองโดยให้ฮอร์โมนชนิดเข้าไปในตัว Axolotl ชนิด Wild พบว่าเกิด Neoteny เปลี่ยนรูปไปคล้ายกับ Tiger Salamander(Ambystoma Velasci) เป็นอย่างมาก

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:32] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   สถานที่เลี้ยง Axolotl
ตู้ควรมีขนาดอย่างน้อยให้สัตว์สามารถกลับตัวได้ โดยตู้เล็กสุดที่แนะนำคือ 18 นิ้วต่อ Axolotl ตัวเต็มวัย1ตัว น้ำสูงประมาณ 6 นิ้วหรือสูงกว่า เพราะ Axolotl จำเป็นต้องขึ้นมาฮุบอากาศด้วย

ระบบกรอง
ระบบกรองไม่จำเป็นเลย ถ้ามีการเปลี่ยนน้ำเป็นประจำ แต่ถ้าเลือกที่จะใช้เครื่องกรอง เครื่องกรองนอกเป็นตัวเลือกที่แนะนำอย่างแรก
Axolotl ขับของเสียค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูป Ammonia(NH3) ซึ่งค่อนข้างเป็นพิษสูงในรูป Unionised ผ่านกระบวนการ Nitrification เปลี่ยนเป็น Nitrite(NO2-) ซึ่งมีพิษน้อยกว่าโดยแบคทีเรีย Nitrosomonas และแบคทีเรีย Nitrobacter ก็จะเปลี่ยนต่ออีกทีเป็นสารที่อันตรายน้อยกว่านั่นคือ Nitrate(NO3-)
Nitrate เป็นแหล่ง Nitrogen ที่พืชและรานำไปไช้ได้ แม้ว่าเวปฝรั่งจะไม่แนะนำให้ใช้พืชจริงกับ Axolotl เพราะมันอาจจะถอนและทำลายได้ แต่ Axolotl ของผู้แปลที่เลี้ยงไว้ ไม่พบพฤติกรรมเหล่านี้เลย
เครื่องกรองที่ใหญ่ไม่เหมาะนักกับตู้ขนาดเล็ก เพราะน้ำที่ออกค่อนข้างแรงเกินไป ซึ่งจะทำให้ Axolotl เครียดและอาจเกิดโรคตามมาได้
"Over-filtration" ก่อให้เกิดความเครียดต่อ Axolotl ได้ โดยในที่นี้หมายถึงน้ำที่แรงเกินไปหรืออัตราหมุนเวียนน้ำผ่านระบบกรองชีวภาพมากเกินไปซึ่งจะเป็นการรบกวน Axolotl อย่างมาก
อย่างน้อยควรปล่อยให้ตู้เดินระบบ 2 อาทิตย์ จึงค่อยปล่อย Axolotl หรืออาจปล่อย Axolotl ตัวนึงลงไปหลังพึ่งเซ็ทระบบเพื่อช่วยสร้างแบคทีเรียให้กับวัสดุกรอง ก่อนที่จะเพิ่ม Axolotl อื่นๆก็ได้ โดยน้ำที่ใช้ต้องปราศจากคลอรีนด้วย หรือถ้าใจร้อนก็ปล่อย Axolotl ลงทันทีแล้วทำการเปลี่ยนน้ำทีละน้อยทุกวันเป็นเวลาสองอาทิตย์ก็ได้(แต่ไม่แนะนำนัก)
แนะนำให้เปลี่ยนน้ำอย่างน้อย 10-20 เปอร์เซ็นต์ต่ออาทิตย์ ขึ้นกับความหนาแน่น โดยแนะนำให้ดูดเศษอาหารเหลือและขี้ออกอย่างน้อยสองครั้งต่ออาทิตย์พร้อมกับเติมน้ำเข้าไปทดแทนด้วย

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:35] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   กรวด,ทรายละเอียด,วัสดุรอง
มีข้อควรระวังเกี่ยวกับกรวดอยู่คือ 1. Axolotl มีพฤติกรรมชอบขย้อนอาหารเข้าปากซึ่งอาจมีกรวดติดไปด้วย ซึ่งอาจเกิดหายนะได้เพราะกรวดก้อนนั้นอาจไปอุดกั้นทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยๆด้วย แม้แต่กรวดก้อนขนาดใหญ่ๆ(ใหญ่กว่าเม็ดถั่วลิสง)ก็ตามและ 2.จะมีปัญหาในการจัดการกับสิ่งสกปรกข้างใต้กรวด เพราะเมื่อ Axolotl ปล่อยของเสียออกมา เครื่องกรองจะไม่สามารถจัดการของเสียและเศษอาหารภายใต้กรวดได้เลย แต่ถ้ายังอยากใช้กรวดอยู่ แนะนำให้ดูดของเสียออกและทำความสะอาดกรวดเป็นประจำ
แนะนำให้ใช้กรวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 cm ขึ้นไป ส่วนทางเลือกอื่นเช่น ทรายละเอียดก็เป็นวัสดุรองที่ดี เพราะไม่อุดกั้นทางเดินอาหารในกรณีที่กลืนเข้าไป
มีจุดสังเกตุว่าเท้า Axolotl ไม่สามารถยึดกับพื้นตู้กระจกได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดขึ้นได้เช่นกัน ส่วนตู้พลาสติกไม่มีปัญหาเรื่องนี้เพราะไม่ลื่นเหมือนตู้กระจกนั่นเอง

แสงสว่าง
จริงๆแล้วไม่จำเป็น เพราะ Axolotl อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของแสงแบบฉับพลัน(เช่นการเปิดไฟสว่างในห้องที่มืดทันที) เนื่องจากมันไม่มีเปลือกตา แต่บางทีแสงก็จำเป็นในการอวดโฉม Axolotl เช่นกัน จึงแนะนำว่าถ้าจะติดตั้งหลอดไฟ ตู้นั้นควรมีต้นไม้น้ำจริงๆและที่หลบแสงให้พวกมันด้วย

อุณหภูมิ
ควรควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ระหว่าง 14-20°C โดยที่ 14°C จะเหนี่ยวนำให้การทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการเผาพลาญลดลง ถ้าต่ำกว่านั้นอีก Axolotl จะกินน้อยลง และ Axolotl ไม่ใช่สัตว์ที่จำศีลได้
ส่วนอุณหภูมิที่สูงกว่า 24°C นานติดต่อกันหลายๆวัน จะทำให้ Axolotl เครียดและเกิดโรคตามมา แม้แต่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากๆภายในช่ว 12 ชั่วโมง(กลางวัน-กลางคืน) ก็ทำให้มันเครียดได้เช่นกัน ถ้ารักษาอุณหภูมิให้คงที่ตลอดทั้งวันได้จะดีต่อพวกมันมากๆ
***ตู้ของผู้แปลมีชิลเลอร์ติดไว้ที่อุณหภูมิ 27°C ตลอดเวลา แต่ก็ไม่พบปัญหาเครียดใดๆ แม้ว่าอุณหภูมิจะเกินจากที่เวปฝรั่งแนะนำไว้มากก็ตาม***

การตกแต่ง
สามารถใส่ต้นไม้พลาสติก/กล่อง/ท่อ ต่างๆ เพื่อทำให้ Axolotl รู้สึกปลอดภัยด้วยก็ได้

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:36] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   อาหารสำหรับ Axolotl
Axolotl เป็นสัตว์กินเนื้อ จึงต้องการอาหารที่มีเนื้อเป็นหลัก มันมีฟันขนาดเล็กๆเพื่อยึดเกาะมากกว่าที่จะกัดหรือเฉือน เมื่อให้อาหาร Axolotl ด้วยมือ บางทีมันอาจจะงับนิ้วบ้าง ซึ่งจะรู้สึกได้ถึงฟันซี่เล็กๆ แต่ไม่ต้องกลัวเพราะฟันของ Axolotl ไม่แข็งแรงพอที่จะทิ่มผิวหนังมนุษย์ได้ ฟันพวกมันสามารถยึดสิ่งลื่นๆได้ดีเช่นไส้เดือน แม้ว่ามันจะบิดตัวหนีไปมาแต่ยากที่จะหลุดออกจากปาก Axolotl ได้ แต่ถ้าไส้เดือนนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะกินได้ บางครั้งมันก็ยอมแพ้และปล่อยพวกมันไป

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:37] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ปัญหาจากอาหารที่พบเช่นโรคและปรสิตที่ติดมาจากปลาเหยื่อ
"Ambystoma" หมายถึงปากรูปถ้วย เป็นที่มาของชื่อ Axolotl ที่มีปากที่กว้างและใหญ่นี้ เมื่อ Axolotl ต้องการกินบางอย่าง มันจะอ้าปากทันทีและดูดน้ำเข้าไปพร้อมกับอาหารหรืออะไรก็ตามรอบๆนั้น (เช่นอวัยวะของ Axolotl ตัวอื่นหรือก้อนกรวด)
Axolotl กินได้ทั้งอาหารสดและตายแล้ว การเคลื่อนไหวของอาหารสดพวกหนอนกระตุ้นให้ Axolotl เข้าไปกินได้อย่างดี และสำหรับตัวอ่อน Axolotl ที่เพิ่งฟัก การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งเดียวที่กระตุ้นให้พวกมันเข้าไปกินได้ ไส้เดือนเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับ Axolotl ตัวเต็มวัย แต่ต้องมั่นใจว่าปราศจากสารเคมีเจือปนด้วย (เช่นสารเคมีจากการทำไร่สวน)
อาหารสดจากแหล่งน้ำธรรมชาติอาจเป็นสาเหตุของโรคได้ แม้ว่า Tubifex จะเป็นอาหารที่ดี แต่ก็มีคุณค่าที่ไม่เหมาะสมต่อ Axolotl และมักนำพาปรสิต, แบคทีเรียร้ายๆและโรคต่างๆมาด้วย เคยมีรายงานว่า Tubifex สามารถโจมตีไข่ของซาลาแมนเดอร์ได้ และมันมักถูกเรียกผิดว่าหนอนแดงเสมอ จึงไม่ควรสับสนกับหนอนแดงจริงๆ การใช้ Tubifex แบบแช่แข็งปลอดภัยกว่าแบบสดๆ แม้คุณค่าจะไม่เท่าเทียมก็ตาม

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:39] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   หนอนแดงจริงๆแล้วไม่ใช่หนอน แต่เป็นตัวอ่อนของ Midge มันได้ชื่อนี้มาจากสีแดงสดของมัน พวกมันมักอาศัยอยู่บริเวณก้นบ่อที่หมักไว้ พวกมันมีคุณค่าทางอาหารสูงและสมดุลย์ดี หนอนแดงก้อนแช่แข็งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงดู Axolotl วัยอ่อนและยังเป็นอาหารที่แนะนำโดยทั่วไปด้วย
หนอนดำอยู่ในจีนัส Lumbriculus พวกมันอาศัยอยู่ในน้ำ มีความสัมพันธ์กับไส้เดือน แต่จะผอมและเล็กกว่าไส้เดือนมาก มีสีออกน้ำตาลคล้ำ มีคุณค่าอาหารสูงเช่นเดียวกับไส้เดือน เป็นอีกตัวเลือกที่ดี

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:40] ( IP A:118.172.101.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   หนอนขาวและหนอน Grindal มักจะให้ Axolotl ในช่วงวัยอ่อน(Juvenile) มันเป็นแหล่งอาหารที่ดี แต่บางทีก็มีไขมันและน้ำมันสูงเกินไป เพราะส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงด้วยขนมปังแช่นม หนอนแดงและหนอนดำสามารถให้เป็นอาหารหลักได้ เพราะมีความหลากหลายทางอาหารและความสมดุลย์ที่ดี แต่หนอนขาวและหนอน Grindal ควรให้เมื่อจำเป็นหรือช่วงขาดแคลนอาหารจริงๆ

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:40] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   อาหารอย่าง Daphnia เป็นอาหารหลักที่ดี มีคุณค่าเหมือนไรทะเล และเป็นแหล่งอาหารที่ยอดเยี่ยมของ Axolotl วัยอ่อน ซึ่งสามารถให้ได้จนกระทั่ง Axolotl ยาวถึง 7 นิ้ว แต่ Axolotl ที่โตแล้วมีแนวโน้มที่จะสนใจ Daphnia ลดลง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:41] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   อาหารเม็ดนิ่มเป็นอาหารหลักที่ยอดเยี่ยมสำหรับ Axolotl วัยผู้ใหญ่

จากการทดลองป้อน Axolotl ด้วยอาหารปลาเทร้าต์(โปรตีน 46%, น้ำมัน16%) พบว่า Axolotl ไม่ชอบอาหารเม็ดแข็ง จึงควรทำให้นิ่มเสียก่อน
จากการทดลองให้อาหาร Axolotl ด้วยก้อนหัวใจวัวชิ้นเล็กๆ(กว้าง 0.5 cmและยาว 1 cm) เชื่อว่าไม่ใช่อาหารที่ดีสำหรับ Axolotl แม้จะมีข้อมูลว่ามีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็ตาม แต่ที่แน่ๆคือ Axolotl ไม่สามารถล่าวัวได้เองตามธรรมชาติแน่นอน
จากการทดลองใช้อาหารเม็ดลอยน้ำสำหรับเต่าและนิวส์ของ Tetra(Reptomin) ที่มีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆ พบว่ามีปัญหาอยู่อย่างเดียวคือมันลอยน้ำและโอกาสที่ Axolotl จะลอยขึ้นไปกินมีน้อยกว่าการให้อาหารแบบจม ผลการทดลองของ Axolotl สี่ตัวที่ป้อนด้วย Reptomin ฝึกได้แค่สองตัวเพื่อให้มากินอาหารที่ผิวน้ำ ส่วนที่เหลือได้บ้างเป็นครั้งคราว จึงอาจเปลี่ยนมาใช้มือป้อนแทนก็ได้
จากการทดลองให้อาหารเม็ดจมแบบนิ่ม พบว่ามีการตอบรับอย่างดีจาก Axolotl เพราะเม็ดพวกนี้นุ่ม, ชุ่มชื้นและคงรูปเป็นเวลานาน
จากการทดลองให้หนอนนก พบว่ามีส่วนไคติน(โปรตีนที่เป็นเปลือกแข็งของแมลง)ที่ Axolotl ไม่สามารถย่อยได้ และยังทำให้กรองในตู้อุดตันจากส่วนไคตินเล็กๆด้วย จึงต้องหมั่นคอยดึงไคตินส่วนเล็กๆนี้ออกจากตัวกรองบ่อยๆและเกิดความไม่สะดวกตามมา ฉะนั้นมันจึงไม่ใช่อาหารที่ดีมากนัก แนะนำให้ใช้กรณีจำเป็นก็พอ
ไรทะเลมีคุณค่าทางอาหารสูง บางทีมากกว่าอาหารเม็ดบางชนิดเสียอีก แต่ไรทะเลแช่แข็งมักฟุ้งกระจัดกระจายไปทั่ว หรือแม้แต่สดๆก็เช่นกัน ถ้า Axolotl กินไม่หมด Naupilae หรือตัวอ่อนมีแนวโน้มที่จะตายได้อย่างง่ายดาย เมื่ออยู่ในน้ำจืดและทำให้น้ำเน่าตามมา ฉะนั้นควรตักออกหลังจากพวกมันกินอิ่มแล้วด้วยทุกครั้ง
การให้หนอนจิ๋วเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อน Axolotl ก็ใช้ได้เหมือนกัน
Axolotl ต้องการอาหารคุณภาพสูงที่มีน้ำมันและไขมันต่ำ มีสัดส่วนสมดุลย์ทั้งโปรตีนและวิตามิน

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:41] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   สิ่งที่จำเป็นและคุณภาพของน้ำ
คุณภาพน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อสุขภาพของ Axolotl แม้ว่าบางทีมันอาจไม่เป็นอะไรเลยก็ตาม แต่การเลี้ยงที่ถูกต้องจำเป็นต้องให้น้ำอยู่ในสภาวะน้ำที่ดีที่สุดเท่านั้น ฉะนั้นต้องคำนึงสิ่งที่จะใส่ลงไปในน้ำด้วย ดังนี้
1.เมทและ Axolotl อื่นๆ
ไม่แนะนำให้มีเมทร่วม เช่นปลา, ซาลาแมนเดอร์อื่นๆ หรือนิวส์ เพราะพวกมันจะพยายามแทะเหงือกของ Axolotl โดยเฉพาะตอนให้อาหาร จากลักษณะที่พริ้วไหวของพู่นั่นเอง แต่ถ้า Axolotl ของเราใหญ่กว่าปลาหรือซาลาแมนเดอร์เหล่านั้นมากๆ เมทอาจจะกลายเป็นอาหารของ Axolotl แทน
Axolotl วัยรุ่นที่ยาวน้อยกว่า 3 นิ้ว ไม่ควรนำมารวมกันในพื้นที่จำกัด แต่ถ้าจำเป็นต้องรวมกันควรมีพื้นที่ให้มันอย่างเหลือเฟือด้วย เพราะ Axolotl วัยรุ่นมักจะแทะขาและเหงือกตัวอื่น หรือแม้แต่ที่ขนาด 6 นิ้ว ก็ยังพบการแทะกันเองอยู่ ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดบาดแผลรุนแรงได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ Axolotl ชนิด Wild ซึ่งมักจะก้าวร้าวกว่าชนิดอื่นๆ และมักกัด Axolotl ชนิดอื่นๆที่ต่างกับมัน ซึ่งพฤติกรรมนี้ยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัด
พฤติกรรมกินพวกเดียวกันเองจะลดลงไปเมื่อ Axolotl โตเต็มที่ แต่ก็อาจเกิดอยู่บ้างขึ้นกับขนาดของ Axolotl ที่กำลังเป็นเหยื่อนั่นเอง จึงควรแยกแต่ละรุ่นจากกัน และรอจนกว่าจะโตได้ขนาดไล่เรี่ยกันตอนโตเต็มที่
สุดท้ายควรแยกเพศผู้และเมียออกจากกันด้วย เว้นแต่ว่าเตรียมพร้อมต่อการผสมพันธุ์ไว้แล้ว

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:42] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   2.อุณหภูมิและความเย็น
อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดสำหรับ Axolotl จะอยู่ระหว่าง16-18C ถ้าต่ำกว่านี้จะทำให้ Axolotl เซื่องซึม,ระบบเผาพลาญต่ำ และความอยากอาหารลดลง มีข้อควรจำนิดนึงว่า Axolotl ไม่ใช่สัตว์พวกจำศีล และไม่มีประโยชน์อะไรที่จะลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 10C แม้ว่าพวกมันจะไม่เป็นอะไรเลยก็ตาม
ที่ต่างประเทศมีผู้เลี้ยงบางคนเลี้ยง Axolotl ไว้ในบ่อนอกบ้าน บางครั้งเกิดน้ำแข็งคลุมตอนฤดูหนาว ซึ่งถ้าไม่เลวร้ายหรือยาวนานเกินไปนัก Axolotl ก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติ แต่ต้องมีอาหารให้มันด้วย
อุณหภูมิที่สูงกว่า 24C จะเพิ่มความเครียดให้ Axolotl เป็นอย่างมาก เพราะจะไปเพิ่มอัตราการเผาพลาญ และทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น โดยถ้ามีความเครียดสะสมมากกว่าหนึ่งหรือสองวันขึ้นไป จะทำให้มันเป็นโรคและตายอย่างรวดเร็ว โดยอาการอย่างแรกที่พบของความเครียดจากความร้อนคือรอยด่างขาว
มีวิธีลดอุณหภูมิอยู่บ้างดังนี้คือ ย้ายที่เลี้ยงไปยังที่เย็นๆของบ้าน โดยมีเทคนิคอยู่ว่าอุณหภูมิที่พื้นจะต่ำกว่าอุณหภูมิข้างบนประมาณ 1-2C หรือ ห้องชั้นล่างของบ้าน(ระดับพื้น)จะเย็นกว่าห้องชั้นบน ซึ่งความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงเท่านี้ อาจทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการอยู่รอดหรือตายได้
ส่วนเครื่องมือช่วยอื่นที่ช่วยได้ดีเช่นชิลเลอร์(แนะนำเพราะทำให้อุณหภูมิคงที่ทั้งวัน)และพัดลม
ส่วนวิธีสุดท้าย เป็นวิธีที่เหมาะกับต่างประเทศมากกว่าเพราะใช้เพียงชั่วคราวและผู้แปลทดลองแล้วไม่เวิร์คเท่าไรนัก แต่ก็ใช้ได้อย่างปลอดภัยนั่นคือขวดน้ำแข็ง โดยใช้ขวดพลาสติก 2 ลิตรเพราะไม่แตกเหมือนแก้วและลอยน้ำได้ เติมน้ำไปประมาณ 80-90% แล้วแช่ให้แข็ง หย่อนลงในตู้เพื่อควบคุมอุณหภูมิและสามารถเปลี่ยนได้บ่อยๆ โดยตู้ใหญ่ๆก็ควรใช้ขวดใหญ่ๆ(2 L สูงสุด)ไปด้วย ส่วนตู้เล็กๆใช้แค่ขวด 500 ml ก็พอ
การใช้ขวดน้ำแข็งที่ดีควรระวังอย่าให้อุณหภูมิเปลี่ยนมากไปหรือเร็วไป เพราะมันยิ่งไปเพิ่มความเครียดให้ Axolotl มากกว่า
ข้อควรระวังของขวดน้ำแข็ง คือไม่ควรใช้กับตู้เล็กๆ(ต่ำกว่า 24 นิ้ว) และสำหรับตู้ที่ใหญ่ การใช้ขวดน้ำแข็งขนาดเล็กหลายๆขวด จะโอเคและปลอดภัยกว่าใช้ขวดใหญ่ขวดเดียวหรือขวดใหญ่ๆหลายขวด เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ดีกว่า

สิ่งที่ต้องระวังในการลดอุณหภูมิคือ
1.ระยะเวลาในการเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ควรน้อยกว่า 30-60 นาที
2.ความแตกต่างของอุณหภูมิที่เปลี่ยน ไม่ควรมากเกินไป
3.ความเสถียรของอุณหภูมิใหม่ ควรคงที่
4.ความถี่ของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิใน 24 ชม. ไม่ควรเกิน 2-3 ครั้ง

ถ้า Axolotl เกิดรอยด่างขาวดังตัวในรูป ให้รักษาโดยยากลุ่มต้านเชื้อรา แต่การรักษานี้จะไม่มีประโยชน์ ถ้ายังไม่ได้ทำการลดอุณหภูมิให้ลดลง
***ตอน Axolotl ของผู้แปลป่วย ก็เคยใช้ยา ROF รักษาร่วมกับการถ่ายน้ำ 10-20% ทุกวัน ร่วมกับทำให้อุณหภูมิคงที่ 27 C ก็ประสบความสำเร็จดี***

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:43] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   3.ความแรงของน้ำ
ความแรงของน้ำมาจากเครื่องกรองหรือแม้แต่ปั๊มลม แต่น้ำที่ออกจากเครื่องกรองเป็นสาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยที่ทำให้ Axolotl เครียดและเกิดโรคได้ ดังรูปที่แสดง Axolotl ตกอยู่ในความเครียดจากกระแสน้ำที่แรงเกินไป

วิธีลดความแรงของน้ำ
1.ใช้วาวน์ลดความแรงลง(ถ้ามี)
2.ต่อกับ Spray Bar
3.ปรับมุมท่อน้ำออกให้พุ่งไปลงที่กระจกข้างๆ
4.ปรับมุมท่อน้ำออกให้พุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำ
5.หาอุปกรณ์มาปิดตรงทางน้ำออกบางส่วน
6.เปลี่ยนไปใช้เครื่องกรองรุ่นเล็กกว่านี้

4.ค่า pH
pH ขึ้นอยู่กับค่าไฮโดรเนียม โดยน้ำ(H2O) แตกตัวได้ H2O <--->OH- + H+ ซึ่งไฮโดรเจน ไอออน(H+) มีขนาดเล็กมากและเป็น Strongly Hydrated มักพาตัวมันเองไปจับกับโมเลกุลน้ำอื่นๆ ได้ไฮโดรเนียมไอออน(H30+) ฉะนั้น pH จึงขึ้นกับของความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติเราคิดเป็นปฏิภาคผกผันของความเข้มข้นไฮโดรเจนไอออน โดยแบ่งระดับ pH ได้ตั้งแต่ 0 ถึง14 สารละลายที่มีค่า pH น้อยกว่า 7 เรียกว่าเป็นกรด ถ้า pH มากกว่า 7 เรียกว่าเป็นด่าง(Alkaline) ถ้า pH อยู่ที่ 7 เรียกกว่าเป็นกลาง ค่า pH ที่ห่างจาก 7 ไปมากๆ ก็จะเป็นกรดหรือด่างมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้สารละลายนั้นเป็นกรดแก่หรือด่างแก่
ส่วนใหญ่น้ำประปามักพยายามปรับน้ำให้มีระดับ pH7(เป็นกลาง) แต่สำหรับ Axolotl ที่ pH 6.5 ถึง 8.0 ถือว่าโอเค แต่ถ้าให้ดีคือ 7.4-7.6
เราสามารถปรับ pH โดยใช้น้ำยาสำเร็จรูป หรือเติมเกลือเพื่อปรับให้เป็นเบส

5.คลอรีนและคลอรามีน
คลอรีนเป็นก๊าซฉุนสีเขียวหนาแน่นกว่าอากาศ ซึ่งถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยก๊าซนี้มีอันตรายพอที่จะฆ่าคนโดยทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเนื้อเยื่อปอด จากคุณสมบัตินี้มันจึงเหมาะในการใช้ฆ่าแบคทีเรียในน้ำประปาเพื่อให้ปลอดภัยต่อการอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ต่างๆทั่วโลก
แอมโมเนียเป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และการประปาหลายมักใส่ลงไปในน้ำด้วย โดยคลอรามีน(NH2Cl, NHCl2, และ NCl3) เป็นผลจากการรวมกันของคลอรีนและแอมโมเนีย
วิธีกำจัดสารเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องกำจัดคลอรีนกำจัดก่อนนำไปใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนวิธีอื่นๆที่ใช้ได้เช่นพักน้ำไว้ 24 ชม.หรือมากกว่าเพื่อให้คลอรีนสลายไป แต่สำหรับคลอรามีนต้องใช้เวลานานกว่านั้น จนกว่าจะอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่เครื่องกำจัดคลอรีนสามารถขจัดคลอรามีนและคลอรีนได้หมด นอกจากนั้นยังกำจัดแร่ธาตุอื่นๆได้อีกด้วยเช่น เหล็ก,ปรอท,ตะกั่ว,แคดเมี่ยม,แมงกานีส และโลหะอื่นๆ ซึ่งอาจพบได้จากตัวก๊อกหรือท่อที่ไหลมา
สุดท้ายควรมั่นใจว่าทุกๆครั้งที่เปลี่ยนน้ำโดยน้ำประปา ได้กำจัดคลอรีนและคลอรามีนแล้ว

Golden Albino's Axolotl มีการหันของเหงือกมาข้างหน้าเป็นอาการเครียดจากความแรงของน้ำ

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:44] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   6.Ammonia, Nitrite และ Nitrate
สามสารนี้เป็นส่วนนึงในระบบกรองชีวภาพ Ammonia(NH3) ของเสียหลักสร้างจาก Axolotl เอง มีความเป็นพิษสูงเมื่ออยู่ในรูป Unionised โดยปฏิกิริยาไออนไนเซชั่นของ NH3 ได้ NH4+ ที่ pH ต่ำแปลว่ามีความเข้มข้นของ H+ ไอออนสูง ในทางกลับกันค่า pH ที่สูงหมายความว่ามี Ammonia ในรูป Unionised สูงเช่นกัน ซึ่ง NH3 เป็นรูปแบบหลักของ Ammonia ที่เป็นพิษ อธิบายง่ายๆว่า ค่า pH ที่สูงขึ้นทำให้ความเป็นพิษของ Ammonia สูงขึ้นด้วย นอกจากนั้นอุณหภูมิน้ำยังมีผลกระทบต่อความเป็นพิษด้วยเช่นกัน โดยที่อุณหภูมิสูงจะมีผลทำให้ความเป็นพิษสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงควรมีการทดสอบ Ammonia เป็นประจำด้วย
Nitrite(NO2) - สร้างมาจาก Ammonia โดยแบคทีเรีย Nitrosomonas แม้มีพิษไม่เท่า Ammonia แต่ก็ควรทดสอบเป็นประจำ
Nitrate(NO3) - มีพิษน้อยที่สุดในสารกลุ่ม Nitrogenous สร้างมาจาก Nitrite โดยแบคทีเรีย Nitrobacter การเปลี่ยนน้ำเป็นประจำและต้นไม้น้ำสามารถช่วยลดระดับของ Nitrate ได้ แม้จะไม่มีพิษที่ระดับต่ำๆ แต่ถ้าขาดการเปลี่ยนน้ำนานๆ ก็อาจเป็นอันตรายได้ ส่วนที่ระดับสูงๆมักก่อให้เกิดการแพร่กระจายของตะไคร่ด้วย

7.น้ำกระด้างและเกลือ
ระดับความกระด้างของน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือที่ละลายในน้ำ ซึ่งมีเกลือหลายชนิด ได้แก่เกลือ Epsom(MgSO4), เบคกิ้งโซดา(NaHCO3) และเกลือชนิดโซเดียมต่ำ(KCl) ที่นอกเหนือจากเกลือธรรมดา(NaCl)
ถ้าน้ำเป็นน้ำกระด้างจากระดับหินปูนในก๊อกหรือท่อน้ำ มีสาเหตุจากการตกตะกอนสะสมของเกลือแคลเซียมและเกลือแมกนีเซียมตรงบริเวณที่ถูกความร้อนบริเวณผิวด้านในของท่อ ส่วนน้ำอ่อนจะมีเกลือละลายน้อย ขณะที่น้ำกระด้างจะมีละลายมากกว่า มีความสัมพันธ์กับความเป็นกรด-ด่างโดยน้ำอ่อนจะมี pH ที่เป็นกรด ส่วนน้ำกระด้างจะมี pH ที่เป็นด่าง จากปริมาณแร่ธาตุในน้ำนั่นเอง
Axolotl ดูเหมือนจะชอบน้ำกระด้างมากกว่า เพราะเวลามันอยู่ในน้ำอ่อน มักเกิดอาการโลหิตจางแบบชั่วคราว ซึ่งจะทำให้มันซีดและเหงือกไม่มีสีสักชั่วครู่ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่อันตรายและป้องกันได้โดยทำน้ำให้กระด้างจากการเติมเกลือ

คุณภาพของน้ำสำคัญต่อการเลี้ยง Axolotl มาก ควรเปลี่ยนน้ำ 20% เป็นประจำทุกสัปดาห์ขึ้นอยู่กับขนาดตู้ รวมไปถึงจำนวนและประสิทธิภาพของเครื่องกรองด้วย นอกจากนั้นควรมีการทดสอบน้ำเป็นครั้งคราวด้วย การดูแลคุณภาพน้ำให้ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคและทำให้ Axolotl มีสุขภาพที่ดี

ปลายหางงอเป็นลักษณะที่บ่งบอกชัดเจนถึงอาการเครียดของ Axolotl

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:45] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   การเพาะพันธุ์ Axolotl
Axolotl สามารถสืบพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 5 เดือนจนถึงโต ซึ่งขึ้นอยู่กับความถี่และคุณภาพของอาหาร รวมถึงอุณหภูมิกับคุณภาพของน้ำด้วย มีรายงานว่ามีตัวผู้ที่พร้อมผสมพันธุ์มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนอยู่พอสมควร
Axolotl เมื่อเข้าสู่วัยนี้จะมีความยาว 7 นิ้ว โดยตัวเมียมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ช่วงวัยนี้ช้ากว่าตัวผู้ 1-2 เดือน
มีคำแนะนำว่าไม่ควรผสมพันธุ์ Axolotl จนกว่าจะอายุได้ 18 เดือน เพื่อรอให้มันโตได้เต็มที่(12 นิ้ว) และมีสภาวะเหมาะสมที่จะผสมพันธุ์เสียก่อน(ตัวเมียที่พร้อมสังเกตุได้จากการมองด้านบน จะมีลำตัวค่อนข้างกลม) และตัวผู้ควรอ่อนกว่าตัวเมียเพราะอวัยวะเพศจะเล็ก เมื่อเวลาจับคู่จะทำให้ตัวเมียเครียดน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามตัวเมียควรหลีกเลี่ยงการจับคู่จนกว่าจะโตเต็มที่แล้วเช่นกัน
เหตุผลข้อนึงที่ไม่ควรผสมตัวเมียเร็วเกินไป คือตัวเมียสามารถวางไข่ได้มากกว่า 1000 ฟอง การสร้างไข่ที่มากขนาดนี้ส่งผลต่อระบบเมตาบอลิซึมเป็นอย่างมาก และตัวเมียยังสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้งต่อปีอีกด้วย หลังจากวางไข่ครั้งแรก ร่างกายจะพยายามสร้างไข่ใหม่มาทดแทนไข่เก่าที่เคยวางไปแล้ว ทำให้บางตัวป่วยได้ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างดี ด้วยเหตุผลนี้ตัวเมียที่เพิ่งผ่านการวางไข่มาควรแยกออกจากตัวผู้อย่างน้อย 1-3 เดือนเพื่อพักฟื้นเสียก่อน

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:47] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ขั้นตอนการเพาะพันธุ์
มีข้อมูลว่าฤดูที่เพาะพันธุ์ที่ดีคือเดือนธันวาคมถึงมิถุนายน แต่จริงๆเราสามารถเพาะพันธุ์พวกมันเวลาใดก็ได้ของปี แต่ที่สำเร็จส่วนใหญ่จะเป็นช่วงต้นๆของปีมากกว่า ศูนย์วิจัยที่ Indiana University ใช้การเปลี่ยนแปลงช่วงความยาวแสงเพื่อกระตุ้นการวางไข่ โดยตัวผู้และตัวเมียที่ทดลองจะลดเวลาการได้รับแสงอาทิตย์ลงต่อเนื่อง 1- 2 สัปดาห์ จากนั้นก็เพิ่มระยะเวลาการได้รับแสงทันที จากนั้นได้นำตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงด้วยกัน พบว่ามักจะเกิดพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีตามมา
ส่วนข้อมูลที่อื่นๆพบว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบกระทันหันจะกระตุ้นพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีได้ โดยแยกเลี้ยงคู่นี้สัก 1-2 สัปดาห์ที่อุณหภมิ 20-22°C หลังจากนั้นให้ย้ายทั้งคู่ไปยังตู้ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเดิมอย่างน้อย 5°C พบว่าอัตราของพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีจะมีสูงขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำไว้ที่ 12-14°C แต่มีผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มแย้งว่าการช็อคอุณหภูมิมักจะกระตุ้นเฉพาะเพศผู้เท่านั้น และวิธีนี้ต้องรอให้ตัวเมียพร้อมผสมพันธุ์จริงๆเสียก่อน
ผู้เชี่ยวชาญท่านนึง พบว่าการเลี้ยง Axolotl ในห้องที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของฤดูและคลื่นแสงน้อยมากๆ การผสมพันธุ์มักจะเกิดได้เองตามธรรมชาติ ถ้ามันได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
และยังพบว่าการได้รับแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติตลอดปีโดยตั้งตู้ไว้ในห้องที่ได้รับแสงอาทิตนั้นเป็นเรื่องที่ดีเพราะแสงเป็นส่วนนึงที่สำคัญต่ออุณหภูมิที่ช่วยกระตุ้นได้

วิธีเตรียมตัวก่อนการเพาะพันธุ์
ตู้หรืออ่างควรตกแต่งด้วยต้นไม้น้ำจำนวนมากๆ(ต้นไม้พลาสติกเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ควรใช้กลุ่มต้นไม้จริงๆผสมด้วย) ต้นไม้มีไว้ให้ตัวเมียวางไข่(จากรูปเป็นตัวเมียชนิด Melanoid Albino กำลังวางไข่บนต้นไม้พลาสติก)
ควรมีแผ่นกระเบื้องหรือหินแบบเรียบปนขรุขระปูบนพื้นตู้ด้วย เพื่อให้ตัวผู้สามารถวาง Spermatophore ได้ โดย Spermatophore เป็นที่เก็บของสเปิร์ม แต่ปกติ Spermatophore จะไม่สามารถยึดกับกระจกหรือพลาสติกได้ และถ้าจะให้การผสมเสร็จสมบูรณ์แบบจริงๆ Spermatophore จำเป็นต้องอยู่นิ่งๆระหว่างการจับคู่ และไม่ควรมีสิ่งใดรบกวนด้วย

การจับคู่และการวางไข่
เริ่มต้นจากตัวผู้จะว่ายไปรอบๆตัวเมีย พร้อมยกหางสูงขึ้นและบิดตัวไปมาอย่างแข็งขัน ตัวผู้จะกระทุ้งช่องท้องตัวเมียเป็นครั้งคราวและจะพาตัวเมียเดินไปรอบๆตู้ เพื่อวาง Spermatophore ซึ่งบรรจุสเปิร์มตรงบริเวณส่วนปลายประมาณ 5-25 จุดทั่วบริเวณรอบตู้ จากนั้นมันจะพยายามพาตัวเมียมาที่บริเวณเหล่านี้ เพื่อให้ตัวเมียเก็บส่วนปลายที่เป็นสเปิร์มไว้ที่ Cloaca หลังจากนั้นการปฏิสนธิก็จะเริ่มต้นขึ้นภายในตัวเมียทันที ซึ่งในช่วงนี้ตัวเมียอาจมีการกระทุ้งช่องท้องตัวผู้กลับเหมือนกัน ดูแล้วเหมือนการเต้นรำที่สวยงามโดยใช้ตู้เป็นฟลอร์นั่นเอง
หลังจากนั้นสองวัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ โดยวางทีละใบบนใบไม้ถ้ากรณีที่มีต้นไม้น้ำ ถ้าไม่มีมันจะวางบนพื้นเลยโดยอาจจะวางบนหิน ท่อหรืออะไรก็ได้ที่สามารถวางได้ ซึ่งไข่อาจมีมากกว่า 100 หรือ 1000 ใบในการวางไข่ครั้งแรก ขึ้นอยู่กับขนาดและสภาวะความพร้อมของตัวเมีย หลังจากตัวเมียทำการวางไข่เสร็จแล้วควรย้ายทั้งคู่ไปเก็บไว้ที่อื่นต่อไป

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:48] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   การฟักไข่
จากรูปบนเป็นไข่ที่มีอายุ 12 ชม. มีลักษณะใสไม่มีสี บ่งบอกว่าแม่ของมันเป็นชนิด Albino เพราะปกติไข่ของ Axolotl จะมีสีน้ำตาลคล้ำ
Axolotl ตัวเมียชนิด Albino จะวางไข่สีขาวหรือไม่มีสี แต่ถ้าลูกที่เกิดไม่ใช่ Albino สีจะค่อยๆปรากฎตอนช่วงการพัฒนาของ Embryo ไข่จะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการฟัก โดยไข่ที่อยู่บนใบไม้ดูเหมือนจะมีการพัฒนาที่สมบูรณ์กว่า และสิ่งเพิ่มเติมคือควรมีการหมุนเวียนของน้ำรอบๆไข่จาก Air Pump ด้วย เพื่อช่วยแลกเปลี่ยนอากาศตลอดเวลา แต่ที่สำคัญคืออากาศหรือน้ำที่หมุนเวียนต้องไม่แรงเกินไป จากนั้นไข่ควรจะฟักหลังผ่านไปแล้ว 17 วัน

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:49] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   การพัฒนาของ Embryo
ภาพแสดงการพัฒนาไข่ของ Axolotl ตัวเมียชนิด Melanoid Albino โดยตัวผู้เป็น Golden Albino ที่มียีนส์ Melanoid ตั้งแต่วันที่วางไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว
จะเห็นว่าไข่มีสีขาวเพราะแม่เป็น Albino(ไข่ของ Axolotl ปกติจะมีสีออกน้ำตาลดำ) โดยไข่ถูกแยกฟักในตู้ 18x10x8 นิ้ว เป็นเวลา 2 สัปดาห์ รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 20°C และเติมอากาศหมุนเวียนเล็กน้อยที่ก้นตู้

วันที่ 1:ไข่มีอายุได้ 10 ชั่วโมง(เรียกว่า Embryo)

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:50] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   วันที่ 2:ผ่านไป 34 ชั่วโมง เข้าสู่ระยะ Blastula(ยากที่จะเห็นการพัฒนาของระยะนี้เพราะ Embryos ค่อนข้างใส)

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:50] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   วันที่ 3:ผ่านไป 58 ชั่วโมง มีรูปร่างชัดเจนขึ้น เข้าสู่ Gastrula ระยะสุดท้าย แต่บาง Embryo ก็ยังไม่ถึง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:51] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   วันที่ 4:ผ่านไป 82 ชั่วโมง ไข่ด้านขวาไม่สมบูรณ์และกำลังฝ่อ ส่วน Embryo อื่นๆมีการสร้างเส้นประสาทและมีพัฒนาการอย่างดี

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:51] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   วันที่ 5:ผ่านไป 106 ชั่วโมง บริเวณรอบๆ Embryo เริ่มเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าและเป็นระยะสุดท้ายของการสร้างหาง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:51] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   วันที่ 6:ผ่านไป 130 ชั่วโมง เริ่มมีเหงือกผุดออกมาให้เห็น

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:52] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   วันที่ 7:ผ่านไป 158 ชั่วโมง สีชัดเจนขึ้น ร่างกายขยายใหญ่ออกตามขอบมากขึ้น

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:52] ( IP A:118.172.109.203 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   วันที่ 8:ผ่านไป 178 ชั่วโมง สังเกตุไข่ที่ไม่สมบูรณ์จะดูเหมือนแน่นๆ ส่วนที่ปกติมีการพัฒนาของเหงือกที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นด้วยตาเปล่า ส่วนหัวของแต่ละตัวเริ่มขยายออก

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:52] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   วันที่ 9:ผ่านไป 202 ชั่วโมง หลัง Embryo เปลี่ยนตำแหน่งได้ไม่กี่วัน มันก็เริ่มขยับและหมุนตัวไปรอบๆวุ้นทันที

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:53] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   วันที่ 10:ผ่านไป 224 ชั่วโมง เกิดความทึบเล็กน้อยที่ส่วนท้อง ส่วนนั้นคือหัวใจและตับ

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:53] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   วันที่ 11:ผ่านไป 250 ชั่วโมง ตาซ้าย,หัวใจและตับของตัวด้านซ้ายเห็นได้ชัดเจนขึ้น พวกมันเป็นชนิด Xanthophores สามารถมองทะลุผ่านหลังได้

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:53] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   วันที่ 12:ผ่านไป 274 ชั่วโมง ตัวอ่อนบางส่วนฟักแล้วแต่ยังไม่ว่ายน้ำ พวกมันจะดูดซึมอาหารจากถุงไข่แดง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   วันที่ 13:ผ่านไป 298 ชั่วโมง กว่าครึ่งนึงฟักแล้ว ส่วนตัวอ่อนในรูปเป็นชนิด Xanthophores มีลักษณะใส เห็นส่วนหัวใจและตับได้ชัดเจน กำลังจะหลุดออกจากวุ้น
วันที่ 14:Embryo ฟักหมดแล้วทั้งหมด

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   การเลี้ยงดู Axolotl
ตัวอ่อนของ Axolotl มีความอดทนได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยตัวอ่อนในที่นี้หมายถึงช่วงที่ยังไม่มีการพัฒนาของขาทั้งสี่

การดูแลไข่เบื้องต้น
ให้สังเกตุหาไข่ Axolotl หรือขณะตัวเมียวางไข่ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดตอนที่ไม่ได้คาดหวังไว้ หรืออย่างน้อยให้สังเกตุ Spermatophoresในตู้ไว้ก่อนเพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าเรากำลังจะมีอีกหลายๆชีวิตให้ดูแลแล้ว
ขณะที่รอสังเกตุไข่ ควรตัดสินใจว่าจะย้ายไข่หรือจะย้ายพ่อแม่มันไปด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วมือใหม่มักย้ายพ่อแม่มันไป แต่ที่จริงไข่ของ Axolotl มีความอดทนสูงและสามารถย้ายไปตู้อื่นได้ โดยสามารถยกไปทั้งก้อนหินหรือปาดออกเฉพาะไข่ให้หลุดจากที่ยึดก็ได้ ซึ่งไข่แต่ละใบจะล้อมรอบด้วยวุ้นหลายๆชั้นจึงไม่ต้องกลัวเลย แต่ถ้าเป็นไข่ที่ยึดเกาะต้นไม้ด้วยจะยิ่งดี เพราะสามารถยกไปทั้งหมด โดยไม่ต้องแตะต้องไข่เลยแม้แต่น้อย
ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญกว่าคือสภาวะที่เหมาะสมในการฟักไข่ ข้อสำคัญคือน้ำต้องปราศจากคลอรีน และไม่ควรเป็นน้ำอ่อน
สิ่งที่ต้องคำนึงต่อคืออุณหภูมิ ถ้าเก็บไข่ไว้ที่อุ่น(สูงสุดที่ 25°C) จะช่วยให้ฟักเร็วขึ้น(ปกติน้อยกว่า 14 วัน) ขณะที่อุณหภูมิต่ำ(18°C) อาจใช้เวลามากกว่า 20 วัน โดยช่วงเวลานี้เราสามารถใช้ในการเตรียมอาหารสำหรับลูก Axolotl น้อยๆที่จะฟักออกมา เช่น ไรทะเล, Daphnia หรือ หนอนตัวเล็กๆ

อาหาร
หลังจากฟักแล้ว 24-72 ชม. พวกมันจะต้องการอาหาร ตั้งแต่ระยะนี้จนกระทั่งโตประมาณ 20 mm(เล็กกว่า 1 นิ้ว) อาหารที่ให้ต้องเป็นอาหารที่มีชีวิตขนาดเล็ก เพราะมันจะไม่สนใจอาหารที่ไม่มีชีวิตเลยจนกว่าจะโตได้อีกระดับนึง เพราะสัญชาติญาณของมันจะตอบสนองต่อเหยื่อที่เคลื่อนไหวได้เท่านั้นจนกว่ามันจะสามารถหากินได้โดยการดมกลิ่น ถ้าไม่สามารถหาอาหารที่มีชีวิตขนาดเล็กได้ พวกมันจะหิวจนตาย ยกเว้นว่ามันจะกินพี่น้องมันตัวอื่นๆซึ่งเป็นไปได้ค่อนข้างยาก โดยอาหารมีชีวิตขนาดเล็กๆขนาดนั้นได้แก่ ลูกไรทะเล(Artemia), Daphniaขนาดเล็ก หรือ Moina และ หนอนจิ๋ว(Microworms)
โดย Daphnia มีขนาดใหญ่กว่าและมีคุณค่าอาหารไม่แน่นอนเหมือนไรทะเล(Daphnia ตัวอ่อนมีขนาดเป็นสองเท่าครึ่งของไรทะเลที่เพิ่งฟัก) ส่วนหนอนจิ๋ว(Microworms) เป็นอาหารที่มีคุณค่าน้อยที่สุด โดยลูก Axolotl ที่ได้รับอาหารชนิดนี้เพียงอย่างเดียวจะโตได้ช้ามากๆ จึงควรให้หลังจากลูก Axolotl มีการพัฒนาของขาแล้วจะดีกว่า

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:55] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   หลังจากฟัก
หลังฟักแล้ว ตัวอ่อน Axolotl ส่วนใหญ่จะมีขนาด 11mm(น้อยกว่าครึ่งนิ้ว) และตอนก่อนจะฟักควรลดระดับน้ำลงเหลือ 1 นิ้วครึ่ง เพื่อให้อาหารอยู่ใกล้ตัวอ่อนมากขึ้นและง่ายต่อการจับกิน เมื่อตัวอ่อนส่วนใหญ่ฟักเสร็จ ควรเขี่ยวุ้นรอบๆไข่ที่ไม่ฟักให้ห่างออกจากตัวอ่อน โดยใช้ที่คีบคมๆหรือกรรไกรแคบๆแหย่เข้าไปในไข่แล้วตัดออกไปอีกด้าน
ที่ระยะนี้ตัวอ่อนมักจะยังไม่กินอะไรเพราะยังอาศัยการดูดซึมจากถุงไข่อยู่ และตัวอ่อน Axolotl มักมีลมในท้องถ้าได้อาหารไม่เพียงพอ แต่มันก็จะถูกขับไปเมื่อเริ่มได้อาหาร
ตัวที่ยังอ่อนมากๆสามารถเลี้ยงรวมกันโดยไม่มีปัญหาการกินกันเองจนกว่าจะมีการพัฒนาขาหน้าคู่แรก และควรให้อาหารบ่อยๆ(วันละ 1-2 ครั้ง) โดยถ้าเลี้ยงไว้ที่อุณหภูมิ 20°C ควรมีขนาด 1.5 cm ภายใน 1 สัปดาห์
ตัวอ่อนในรูปมีอายุ 4 วันและยาว 14 mm เป็นชนิด D/D M/m a/a และถ้าให้อาหารด้วยไรทะเล ต้องมีการเปลี่ยนน้ำส่วนนึงทุกวันเพราะไรทะเลที่ฟักใหม่ๆมักตายอย่างรวดเร็วในน้ำจืดและมักทำให้น้ำเน่าในไม่กี่ชั่วโมง แต่ถ้าเลี้ยงด้วย Daphnia จะมีชีวิตอยู่ได้ในตู้จนกว่าจะถูกจับกิน ทำให้ยืดเวลาเปลี่ยนน้ำได้เป็น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
เนื่องจากตัวอ่อนมีอัตราโตได้ไม่เท่ากัน จึงแนะนำให้แยกเลี้ยงพวกมันตามขนาดเมื่อโตได้สัก 2 cm ซึ่งระยะนี้ตัวอ่อนจะเริ่มมีภาวะกัดกินกันเองมากขึ้น โดยพวกมันจะงับอะไรก็ตามที่เคลื่อนไหวได้(สังเกตุจากขาหรือเหงือกที่หายไป)

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:56] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   ตัวอ่อนในรูปเป็น D/D m/m a/a อายุ 7 วัน ยาว19 mm โดยตัวอ่อนพวก Melanoid Albino จะสามารถมองเห็นตัว,หัวใจ,ท้องและลำไส้ผ่านผิวหนัง ได้ชัดเจน
ส่วนพฤติกรรมกินกันเองเป็นสิ่งที่มักเกิดเองตามธรรมชาติ เพื่อลดพฤติกรรมนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรมีต้นไม้เยอะๆแต่แสงน้อยๆ แต่ดูเหมือนว่าเมื่อให้แสงน้อยมันทำให้ความอยากอาหารลดลงไปด้วย และวิธีที่ดีกว่านั้นคือลดจำนวนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้
ในสัปดาห์ที่สามขาคู่หน้าจะเริ่มพัฒนา และตัวอ่อนจะมีขนาดได้ 20 mm ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและอาหารด้วย ส่วนปอดก็ยังพัฒนาต่อเนื่องพร้อมกับขาคู่หลัง(Axolotl ใช้ปอดได้ดีเท่ากับเหงือก) เมื่อตัวอ่อนโตขึ้น ความโปร่งใสจะเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงความสามารถในการฟื้นฟูด้วย(เช่นขาหรือเหงือกไม่สามารถงอกได้ง่ายเหมือนเดิม)
ในวันที่ 7 ตัวอ่อนส่วนใหญ่จะมีขนาด 18 mm ในวันที่ 9 ตัวอ่อนส่วนใหญ่จะมีขาคู่หน้างอกและมีขนาดประมาณ 20 mm

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:57] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   ตัวอ่อน Golden Albino ที่มีอายุ 10 วัน จะมีขนาด 22 mm ลูกศรระบุตำแหน่งขาที่งอกออกมา ที่ระยะนี้มันสามารถกิน Daphnia ตัวปกติได้แล้ว(2.5-3 mm) ที่ขนาด 25 mm(1นิ้ว) ขาคู่หลังจะงอกและสังเกตุได้อย่างชัดเจน ซึ่งช่วงนี้ตัวอ่อนส่วนใหญ่มีการพัฒนาขาหน้าสมบูรณ์แล้ว
ที่ตัวอ่อนระยะนี้สามารถเริ่มให้หนอนแดงแช่แข็งได้แล้ว ส่วนอาหารแบบมีชีวิตขนาดเล็กก็ยังคงให้ได้ถ้าสะดวกและต้องการกระตุ้นความอยากอาหารให้พวกมันมากขึ้น

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:57] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   รูปแสดงตัวอ่อน Melanoid Albino(D/D a/a m/m) ขนาด 32 mm ที่ระยะนี้ขาคู่หน้าจะพัฒนาได้สมบูรณ์แล้วส่วนใหญ่และขาหลังก็งอกออกมาให้เห็นได้มากขึ้นจากด้านข้าง(แต่ไม่สารถเห็นได้ในรูปนี้) จากรูปจะเห็นว่าไม่มี Iridophores(เม็ดสีเงา) ในตัวอ่อนนี้ เพราะมันเป็น Homozygous ที่มียีนส์ Melanoid ทำให้ Xanthophores ส่วนใหญ่จะค่อยๆหายไป จากผลของยีนส์ Melanoid นั่นเอง
ที่ขนาด 36 mm สีของตัวอ่อนแต่ละ Phenotype จะแสดงออกมาให้เห็น ทำให้แทบจะบอกความแตกต่างของแต่ละชนิดได้ทันที ขาคู่หน้าตอนนี้เจริญเต็มที่กันหมดแล้วและขาคู่หลังก็ยังพัฒนาไปเรื่อยๆ
ที่ขนาด 40 mm(1.5นิ้ว) ขาคู่หลังพัฒนาได้ครึ่งนึงแล้ว ส่วนพฤติกรรมกินกันเองยังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ จึงควรพยายามแยกให้เหลือจำนวนน้อยๆไว้ก่อน ตัวอ่อนระยะนี้ขาและเหงือกยังสามารถงอกใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนตัวที่แก่กว่าจะเริ่มซ่อมแซมได้ช้าลง ข้อควรระวังสำหรับชนิด Wild คือมันมักจะมีแนวโน้มที่ก้าวร้าวกว่าชนิดอื่นๆ และมักโจมตีชนิดอื่นๆที่แตกต่างกับตัวมันด้วย
นอกจากนั้นระบบกรองสำหรับตัวอ่อนระยะนี้ยังเลือกใช้ Biofoam Filters(กรองฟองน้ำ) ก็ได้ แม้จะไม่ใช่ตัวเลือก Filters ที่ดีมากนัก แต่ก็ปลอดภัยต่อตัวอ่อนมากกว่าเพราะไม่มีปัญหาเรื่องการดูดตัวอ่อนเข้าไป แต้ถ้าเลือกที่จะใช้กรองนอกต้องมั่นใจว่าท่อน้ำเข้าจะไม่ดูดตัวอ่อนเข้าไป และท่อน้ำออกต้องไม่แรงจนทำให้ตัวอ่อนเครียดได้เช่นกัน(น้ำที่แรงเกินไปเป็นปัญหาที่พบบ่อยๆที่ทำให้ Axolotl เครียดและเกิดโรคตามมา)

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:58] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   วัยเด็ก
ตัวอ่อนในรูปขนาดประมาณ 50 mm(2นิ้ว) ขาหลังยังไม่เจริญเต็มที่นักแต่ก็สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ที่ระยะนี้มันสามารถกินอาหารเม็ดขนาด 3 mm ได้อย่างดีแล้ว
เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่แล้ว มันก็คือ Axolotl ตัวเต็มวัยขนาดย่อส่วนนั่นเอง โดยเรียกระยะนี้ว่าวัยเด็ก(Juveniles) ซึ่งวัยนี้มันสามารถกินไส้เดือนชิ้นเล็กๆได้แล้ว
มีข้อมูลว่าที่ขนาด 1-1.5 นิ้ว มีห้องทดลองบางส่วนเริ่มให้อาหารเม็ดแล้วก็มี แต่ต้องค่อยๆเปลี่ยนจากอาหารเดิมด้วย

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:58] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   ชีววิทยาของ Axolotl
Axolotl เป็นสิ่งมหัศจรรย์ในธรรมชาติ เพราะนอกจากจะยังคงลักษณะเดิมตั้งแต่วัยเด็กจนโตเต็มวัยแล้ว ยังสืบพันธุ์ได้ตั้งแต่วัยนี้ด้วย เป็นผลจากสิ่งที่เรียกว่า Neoteny ซึ่งเป็นวิวัฒนาการย้อนกลับเพื่อปกป้อง Axolotl จากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และแม้ว่ามันจะไม่ได้พัฒนาจนขึ้นมาอยู่บนบกได้แบบญาติๆของมัน แต่ก็ประสบความสำเร็จไม่น้อยในความสามารถพิเศษต่างๆในแบบฉบับของมันเอง
Axolotl เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีลักษณะทางกายภาพภายในแบบสัตว์กินเนื้อโดยเฉพาะ ยกเว้นส่วนฟันที่เป็นแบบ Pedicalates(กุดๆสั้นๆ คล้ายกรวย) เพื่อช่วยยึดเกาะอาหารและขยับให้เหมาะสมก่อนกลืนเข้าไป มีหัวใจแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 3 ห้อง(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี 4 ห้อง) และเป็น Poikilothermic(อุณหภูมิขึ้นกับสิ่งรอบข้าง)
มีข้อควรจำคือ ตั้งแต่ตอนมันเป็นตัวอ่อน มันได้พัฒนาปอดขั้นพื้นฐานขึ้นมาด้วย ทำให้บางที Axolotl ต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ้างเป็นครั้งคราว
Axolotl มีชื่อเสียงในเรื่องความสามารถในการฟื้นฟูอวัยวะที่ยอดเยี่ยม การศึกษาเรื่องนี้กระฉ่อนไปทั่วโลกและบ่อยครั้งที่จะอ้างอิงถึง Axolotl เช่น Axolotl ตอนเด็กที่สูญเสียขามักจะฟื้นฟูกลับมาดังเดิมได้ในไม่กี่สัปดาห์ โดยการงอกตรงจุดที่เกิดความเสียหายออกมาเรื่อยๆจนได้ขาใหม่นั่นเอง โดยขาทั้งหมดสามารถงอกได้ใหม่รวมไปถึงสมองและสันหลังด้วย

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:58] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   ตารางแสดงการพัฒนาของ Axolotl จากไข่จนกระทั่งโต โดยเส้นสีแดงแทนความยาว 2 mm
ระยะที่ 1 ไข่มีลักษณะเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วไป ข้างในมี Embryo ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 mm ล้อมรอบด้วยวุ้น โดยวุ้นประกอบไปด้วยน้ำและสารอื่นๆที่หลั่งออกมารอบๆขณะวางไข่
ระยะที่ 2 Embryo ก่อนฟัก มีความยาวประมาณ 11 mm
ระยะที่ 3 ตัวอ่อนที่ฟักแล้ว เริ่มมีการพัฒนาของขา ช่วงนี้ตัว Axolotl จะมีลักษณะใส ทำให้เห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจนแม้แต่อาหารในท้องก็ตาม จากนั้นจะสร้างผิวหนังและเซลล์เม็ดสีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
หลังผ่านไปสองสัปดาห์ตัวอ่อนจะเข้าสู่ระยะที่ 4 ขาหน้าจะพัฒนาก่อนตามมาด้วยขาหลังเหมือนพวก Caudates(นิวส์และซาลาแมนเดอร์) แต่ต่างจากพวก Anurans(กบและคางคก)
ระยะที่ 5 Axolotl จะมีอวัยวะทุกอย่างเหมือนตัวผู้ใหญ่แต่ขนาดจะเล็กกว่าเท่านั้นเอง โดย Axolotl ที่ใหญ่ๆอาจมีขนาดได้ถึง 10-12 นิ้ว แต่ขนาดปกติเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 9-10 นิ้ว ซึ่งจะโตเต็มที่หลังอายุได้ 18 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหารและอุณหภูมิที่เลี้ยง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:59] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   ภาพแสดงกายวิภาคของตัวเมียเต็มวัย (ตัวนี้ยังไม่มีไข่ ถ้ามีจะอ้วนกลมกว่านี้)

วัยสืบพันธุ์
วิธีสังเกตุที่น่าเชื่อถืออย่างแรกคือ ตัวเมียที่โตเต็มที่จะมีรูปร่างกลม แสดงถึงไข่ในท้อง ส่วนตัวผู้จะมีส่วน Cloacal ปูดยื่นออกมา แต่ตัวเมียจะค่อนข้างเรียบ

โดย: Axolotl (Axolotl ) [21 มี.ค. 54 23:59] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
   โดยปกติตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าตัวเมียเล็กน้อย และส่วนใหญ่หางของตัวผู้จะใหญ่และยาวกว่าตัวเมีย

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
   ภาพแสดงลักษณะของตัวเมีย

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
   จุดสังเกตุอีกอย่างคือ Axolotl ชนิด Golden และ Albino จะมีปลายนิ้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำดูสกปรก ส่วนชนิด Wild และชนิด Melanoid จะมีปลายนิ้วสีอ่อนกว่าปกติ แต่จะดูค่อนข้างยากกว่า
แม้ Axolotl ตัวผู้บางตัวจะโตเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังไม่มีสเปิร์มที่พร้อมผสมพันธุ์ ซึ่งน่าจะเกิดจากการควบคุมโดยฤดูกาลต่างๆตามธรรมชาติ แต่ปัญหานี้เกิดได้น้อยในการเลี้ยงระบบปิด แต่โดยปกติตัวผู้จะใช้เวลา 2-3 เดือน เพื่อสร้างสเปิร์มและบางทีอาจล่วงเลย 2 เดือนไปด้วยซ้ำ เพื่อรอให้สเปิร์มเคลื่อนเข้าสู่ Vas Deferens จึงถือว่าพร้อมสำหรับจับคู่จริงๆ ซึ่งถ้านับเวลาตั้งแต่การเริ่มสร้างสเปิร์มจนสเปิร์มพร้อมเต็มที่ อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆก็ได้

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
   ยีนส์และสี
Axolotl ถูกศึกษามานานหลายปีแล้ว ความสามารถของพวกมันถูกศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยเฉพาะมนุษย์ และสิ่งที่ถูกศึกษาเป็นพิเศษก็คือยีนส์นั่นเอง
เซลล์ของ Axolotl มี 28 โครโมโซม คิดเป็น 14 คู่ ส่วนของมนุษย์มี 46 โครโมโซม คิดเป็น 23 คู่ โครโมโซมมีโครงสร้างเป็นเกลียวจากการรวมกันของ DNA และสายโปรตีน สายโครโมโซมสร้างมาจาก DNA จำนวนมากเรียกว่ายีนส์ แต่ละยีนส์มีพื้นที่พิเศษบนโครโมโซมซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้ยึดเรียกว่า Locus
เมื่อเกิดการปฏิสนธิขึ้น สเปิร์มจากตัวผู้(ประกอบด้วย 14 โครโมโซม) และไข่จากตัวเมีย(ประกอบด้วย 14 โครโมโซม) รวมกันเรียกว่า Zygote เกิดเป็นเซลล์แรกของ Axolotl ที่จะถือกำเนิดขึ้นมา โดยแต่ละเซลล์ใหม่จะมี 28 โครโมโซม และในกระบวนการผลิตของ Gametes(สเปิร์มและไข่) จะผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Meiosis เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆที่บางส่วนของโครโมโซมขึ้น(Crossing-over) จนกระทั่งการสุ่มของการแบ่งปันจากโครโมโซมของแม่หรือพ่อเป็นแต่ละ Gametes (ควรมี 2 โครโมโซมจากแม่และอีก 12 จากพ่อหรือแบบผสมแบบอื่นๆ)
หลังจาก Axolotl มีการปฏิสนธิแล้ว แต่ละตัวอ่อนที่เกิดจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเป็นพิเศษเฉพาะตน แตกต่างจากพี่น้องและพ่อแม่ของมัน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางด้านพันธุกรรม โดย Genotype จะบ่งบอกรูปแบบของยีนส์ว่าเป็นอย่างไร ส่วน Phenotype เป็นผลสรุปที่แสดงออกของยีนส์ ซึ่งสัตว์ที่กลายพันธุ์จะมียีนส์ที่แตกต่างจากสัตว์ปกติทั่วไป

สี
สีของ Axolotl ขึ้นกับเซลล์เม็ดสีที่เรียกว่า Chromatophores แยกออกได้เป็น Melanophores(ประกอบด้วย Eumelanin,เม็ดสีดำหรือน้ำตาล), Xanthophores(ประกอบด้วย Carotenoids และ Pteridines,เม็ดสีเหลืองและสีแดง) และ Iridophores(ประกอบด้วย Crystalised Purines,เม็ดสีเงาๆ)
แต่ละเซลล์ของ Axolotl ประกอบด้วย 14 คู่ของโครโมโซม ทุกๆลักษณะเป็นผลจากการแสดงของยีนส์จากคู่ของโครโมโซมนั่นเอง และยีนส์ของเซลล์เม็ดสีก็ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยอิสระจากแต่ละยีนส์โดยไม่เกี่ยวข้องกับยีนส์อื่นเช่นกัน ซึ่งแต่ละสีเป็นผลจากยีนส์ที่แตกต่างกันสองยีนส์ โดยยีนส์ที่แตกต่างกันแต่มีลักษณะเดียวกันเรียกว่า Alleles โดยคู่ของ Alleles เขียนได้ในลักษณะ X/x โดยตัวอักษรใหญ่คือยีนส์เด่น ส่วนอักษรตัวเล็กคือยีนส์แฝง
ตัวอย่างเช่น Allele ที่ควบคุม Albinism จะมีรูปแบบจากหนึ่งในสามคู่ดังนี้คือ A/a, A/A, หรือ a/a เท่านั้น ถ้า Axolotl ตัวนี้เป็น A/a โดยมี a เป็นยีนส์แฝง และ A เป็นยีนส์เด่น Phenotype ที่ได้จะไม่ใช่ Albino แต่ยังคงเป็นพาหะนำยีนส์ Albinism อยู่ (ผลจาก "a") โดยการเป็นพาหะของ "A" และ "a" เรียกว่า Heterozygous
แต่ถ้ามันเป็น A/A ลักษณะ Phenotype ของมันจะไม่ใช่ Albino เช่นกัน และมันก็จะไม่เป็นพาหะนำยีนส์ Albinism อีกด้วย การเป็นพาหะลักษณะนี้เรียกว่า Homozygous
แต่ถ้าเป็น Homozygous แบบ "a" (a/a) Phenotype ของมันจึงจะเป็น Albino โดยแต่ละ "a" ต้องการ "a" เพื่อแสดงลักษณะ Phenotype ของ Albinism ออกมา โดยจะมีลักษณะคือไม่มีเซลล์ Eumelanin(เม็ดสีน้ำตาลดำ) เลย และมีจำนวน Xanthophores(เม็ดสีเหลือง)มากขึ้นอีกด้วย
ในทำนองเดียวกัน ถ้าผลของ a/a ทำให้ไม่มี Eumelanin ผลของ m/m(Melanoid) ก็จะไม่มี Iridophores เช่นกัน ทำให้มีลักษณะสีคล้ำมากๆ เพราะไม่มีเม็ดสีสะท้อนเลย ส่วน M/m หรือ M/M ยังคงมีการพัฒนาของ Iridophore อยู่ ส่วน Homozygous ของ "ax"(ax/ax) คือ Axanthic หมายความว่ามันจะไม่มี Xanthophores และ Iridophores เลย เช่นพวกสีคล้ำๆเหมือน Melanoid แต่บางที Homozygous ของยีนส์ Albino และ Axanthic อาจไม่ได้มีลักษณะสีขาวแต่อาจจะออกเหลืองๆแทนก็ได้

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
   ตารางความสัมพันธ์ของยีนส์และสี
ยีนส์ "d" เป็นยีนส์ที่พัฒนาแล้ว และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเม็ดสีเหมือนชนิดอื่นๆ Homozygous หรือ Heterozygous ของ "D" จะสร้าง Xanthophores สีเหลืองจำนวนมาก เมื่อผสมกับ Melanophores จะได้ชนิด Wild สีอื่นๆ(น้ำตาลคล้ำ/เขียวมะกอก) แต่ Homozygous ของ "d" จะยังคงมีการสร้างเซลล์เม็ดสีปกติอยู่ แต่จะไม่เคลื่อนออกมาจากส่วน Neural Crest ตอนยังเป็นตัวอ่อน จึงทำให้ได้ Phenotype แบบ Leucistic หรือสีขาว(แต่ไม่ใช่ Albino) ซึ่งจะมีดวงตาสีดำ ส่วนลักษณะของ Albinism ส่วนใหญ่จะได้สีเหลืองทอง และมีดวงตาสีชมพูหรือแดง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 48
   ชนิดต่างๆ
Wild
Wild มีสีที่เป็นเฉพาะคือออกโทนน้ำตาลดำคล้ำๆ มีแต้มสีเหลืองหรือด่างเงาๆ Phenotype ของ Wild คือ Dark หรือสีน้ำตาลดำคล้ำนั่นเอง จากรูปตัวด้านขวาคือชนิด Wild ตัวเมีย ที่มีลักษณะพบได้ทั่วไปตามแบบ Wild นอกจากนั้นชนิดนี้ยังจะไม่เป็น Homozygous ในการเปลี่ยนเป็นสีอื่นๆอีกด้วย

Melanoid
จากรูปตัวด้านซ้ายเป็นตัวเมียชนิด Melanoid ดังที่ได้อธิบายไว้ว่า Melanoid จะไม่มีเม็ดสีเงา(Crystalised Purines) เลย และปริมาณเม็ดสีเหลืองก็มีน้อยลงตามไปด้วย จุดสังเกตุที่เด่นชัดอีกอย่างคือ จำนวน Melanophores(เม็ดสีคล้ำ) จะมีมากขึ้นอย่างมากทำให้มันมีสีดำสนิท วิธีง่ายสุดที่จะแยกความแตกต่างของ Melanoid กับ Wild คือให้มองที่ดวงตา ถ้ามีวงแหวนเงาๆตรงรูม่านตาน่าจะเป็นชนิด Wild แต่ถ้าไม่มีน่าจะเป็นชนิด Melanoid หรือ Melanoid Albino นอกจากนั้น Melanoid จะมี Homozygous แบบ "m"(m/m) เท่านั้น แต่ยังสามารถมี Heterozygous เป็นสีอื่นๆได้อีก

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 49
   สีขาว(Leucistic)
มี Phenotype แบบ d/d จากรูปเป็นตัวเมียเต็มวัยขนาดใหญ่ มีดวงตาสีดำและมี Melanophores เป็นจุดเล็กๆบนหัวและหลัง บ่งบอกว่ามันไม่ใช่ชนิด Albino แน่นอน โดย d/d จะขัดขวางการเคลื่อนย้ายของเม็ดสีบริเวณส่วนหัว แต่ไม่จำเป็นว่า Leucistics ทุกตัวต้องมีเซลล์เม็ดสีบนส่วนหัวและหลัง ให้สังเกตุจากสีที่ดวงตาดีกว่า

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 50
   เผือก(Albino)
มี Phenotype เป็น Albino(a/a) และจะไม่มี Melanophores ซึ่งมี Phenotypically ที่แตกต่างกันมากมายได้แก่
แบบแรกเป็น Golden Albino(D/D a/a และ D/d a/a) ที่มีการเคลื่อนย้ายของเม็ดสีแบบปกติ แต่ไม่มี Melanophores จึงมีลักษณะของสีเป็นสีเหลืองทอง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 51
   Albino แบบที่สองเป็นแบบ Axanthic Albino ที่มีการเคลื่อนย้ายของเม็ดสีแบบปกติ และเป็น Homozygous ของยีนส์ Albino และยีนส์ Axanthic(a/a และ ax/ax) คือจะไม่มี Melanophores, Xanthophores และ Iridophores เลย โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสีขาว แต่จะกลายเป็นสีเหลืองเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสะสมของ Riboflavins ที่อยู่ในอาหาร

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 52
   Albino แบบที่สามคือ White Albino มี Homozygous แบบ "d" และ "a"(d/d และ a/a) ในรูปจะเห็นลักษณะของ Iridophores(เซลล์เม็ดสีเงา) ตรงก้านเหงือก

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 53
   Albino แบบที่สี่คือ Melanoid Albino มี Homozygous แบบ "m" และ "a"(m/m และ a/a) จากรูปเป็น Axolotl ตัวผู้ ที่การผสมผสานของ Melanism และ Albinism ซึ่งจะไม่มีเม็ดสีเลย ยกเว้นจุด Xanthophores สีเหลืองเล็กน้อยตรงส่วนหัวและท้อง

Axolotl มีสีที่ค่อนข้างหลากหลาย บ่อยครั้งที่ผู้เลี้ยงสามารถผลิตสีแปลกๆออกมาโดยอาศัย Phenotype ที่รู้ Genotype แน่นอน เช่นพวกสีด่างๆทั้งตัว(ต่างกับ leucistic ที่ด่างเฉพาะที่หัว), Leucistics สีเหลืองที่มีแต้มสีดำ และ Harlequin(แต้มสีส้มสลับดำ) ที่เป็นตัวอย่างเพียงส่วนนึง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 54
   Axolotl ชนิด Golden Albino มีการม้วนของเหงือกมาด้านหน้าบอกถึงความเครียดที่เกิดจากการความแรงของน้ำ

โรคและการเจ็บป่วย
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความแตกต่างที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกันของ Axolotl จากสัตว์อื่นๆ เช่น การปลูกถ่ายแขน/ขาจากตัวอ่อนอีกตัวไปให้อีกตัวแถมแขน/ขานั้นยังพัฒนากลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้อีกด้วย หรือแม้แต่อวัยวะส่วนอื่นๆก็ทำได้และเป็นที่ยอมรับเช่นกัน แต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีระบบภูมิคุ้มกันอัตโนมัติที่จะค้นหาความแตกต่างของสารพันธุกรรม และเกิดสภาวะต่อต้านอวัยวะนั้นขึ้น
สัตว์ที่อยู่ในภาวะเครียด ไม่ว่าจะเป็น Axolotl,สุนัข,แมว หรือแม้แต่คนเรา มักจะป่วยง่ายกว่าปกติ โดยสาเหตุความเครียดทั่วๆไปได้แก่ความแรงของน้ำและอุณหภูมิที่สูงกว่า 24C และสาเหตุอื่นๆได้แก่ น้ำเน่า(ไม่เปลี่ยนน้ำ),อุณหภูมิเปลี่ยนกระทันหัน,น้ำประปา,พยาธิ และเมทต่างๆ โดยคุณภาพของน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 55
   ยารักษาปลาอาจเป็นพิษต่อ Axolotl ได้และไม่แนะนำให้ใช้โดยปราศจากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะสัตว์กลุ่มนี้ซึมซับสารเคมีได้ง่ายทางผิวหนัง และอันตรายจากพิษก็เกิดได้ง่ายมาก หรือแม้แต่ภาชนะที่เป็นโลหะเช่น Copper และ Manganese ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วย นอกจากนั้นยังมีสารเคมีสองตัวที่มักใช้ในการรักษาสัตว์น้ำได้แก่ Malachite Green และ Methylene Blueโดย Malachite Green เป็นพิษอย่างมากต่อสัตว์ชนิดนี้ ต้องหลีกเลี่ยงทุกๆอย่างที่มีมันผสมอยู่ ส่วน Methylene Blue ปลอดภัย แต่ก็ควรใช้ขนาดที่ต่ำที่สุด

รอยบวมน้ำ,พันธุกรรมและ ปัญหาด้านโภชนาการ
ปัญหาทางกายภาพ เช่นรอยบวมน้ำและการเจริญของเนื้องอก โดยปัญหานี้ส่วนนึงเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่มีบางข้อมูลแนะนำว่าสามารถเจาะเอาน้ำออก โดยเอาเข็มเจาะเข้าใต้ผิวหนังแต่ควรทำโดยสัตวแพทย์เท่านั้น ส่วนสาเหตุอื่นได้แก่ ความผิดปกติของหัวใจหรือไต,การขาดสารอาหารบางชนิด หรือแม้แต่วัยชรา
ปัญหาจากอาหารนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารที่มีปริมาณไขมันและน้ำมันสูง เช่นพวกหนอนขาวและ Tubifex รวมถึงอาหารสุนัขที่ประกอบด้วยสัดส่วนของน้ำมันและไขมันสูงเช่นกัน เมื่อได้รับแต่อาหารประเภทนี้จะเกิดไขมันสะสมในตับมากขึ้น ส่วนอาหารอื่นเช่นหนอนนก มีแคลเซียมต่ำและมีไคตินเป็นปริมาณมาก(โครงสร้างโปรตีนของเปลือกแมลงและ Crustaceans บางส่วน) ซึ่ง Axolotl ไม่สามารถย่อยได้และจะขับผ่านทางเดินอาหารออกมาในรูปแบบเดิม นอกจากนั้นยังมีคำแนะนำว่าไม่ควรให้อาหารเพียงอย่างเดียวต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง นอกจากนั้นหนอนนกยังมีอันตรายอีกอย่างคือเขี้ยวอันทรงพลัง ที่ทำให้ทางเดินอาหาร Axolotl บาดเจ็บได้ ถ้าจำเป็นต้องให้หนอนนกเป็นอาหารจริงๆ แนะนำว่าควรตัดเขี้ยวออกก่อนโดยใช้ที่คีบตัดหรือบิดออกก็ได้
เมื่อ Axolotl แสดงปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ ให้เปลี่ยนอาหารนั้นทันทีและใช้อาหารอื่นๆที่หลากหลายแทน เพราะการขาดสารอาหารบ่อยๆทำให้อัตราการตายจากการเกิดโรคติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสูงขึ้นด้วย
โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 56
   ปลายหางงอเป็นลักษณะที่บ่งบอกว่า Axolotl กำลังเครียดอยู่

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 57
   บาดแผลและการบาดเจ็บทางกายภาพ
การสูญเสียเหงือก,แขนหรือขา แม้แต่ครีบแตก มักฟื้นฟูได้เร็วถ้าบาดแผลนั้นไม่ติดเชื้อ ถ้าเกิดบาดแผลขึ้นให้ทำความสะอาดด้วยน้ำเย็น หรือใช้เกลือหนึ่งช้อนชาต่อน้ำสองลิตรเพื่อลดอัตราการติดเชื้อก็ได้ มีข้อสังเกตุว่าการฟื้นฟูแผลมักเกิดได้เร็วขึ้นที่อุณหภูมิต่ำๆ(5-15C) และบางครั้ง Axolotl และ Tiger Salamander มักถูกแทะจากเมทในตู้ที่ร้านขายและสูญเสียเหงือกไปเป็นจำนวนมาก บางทีแขนขาแหว่งไปเลยก็มี แต่พวกมันก็สามารถฟื้นฟูกลับมาได้เร็วถ้ามีอาหารที่ดี,น้ำที่เย็นและสภาวะที่เหมาะสม

ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคได้มากมายจากการบาดเจ็บของ Axolotl นั่นเอง และสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสมและความเครียด โดยอาการทั่วไปของสัตว์ที่เครียดคือจะไม่กินอาหารหรือกินน้อยมาก นอกจากนั้นพวกมันมักจะบาดเจ็บจากการถูกโจมตีที่เหงือก รวมไปถึงการดูแลที่ไม่ดี โดยความเครียดมักนำพาการเกิดโรคตามมา ส่วนโรคของ Axolotl จากไวรัสยังไม่มีข้อมูลศึกษาที่แน่ชัด

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 58
   Aeromonas Hydrophila หนึ่งในแบคทีเรีย "ขาแดง" ที่ทำให้เกิดโรคมากที่สุด โดยทำให้ระบบเป็นพิษ และกระจายไปได้ในร่างกายตามกระแสเลือด มีอาการทั่วไปคือเกิดรอยแดงที่แขนขาหรือบางส่วนของลำตัว ส่วนแบคทีเรียชนิดอื่นๆเช่น Proteus, Pseudomonas, Acinetobacter, Mima, และ Alcaligenes พบว่าก็ผลกระทบต่อ Axolotl เช่นกัน ส่วน Salmonella ที่อยู่ในทางเดินอาหารก็พบได้เช่นกัน ส่วนใหญ่วิธีรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียควรทิ้งไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล แต่การเปลี่ยนน้ำก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน ยาฆ่าเชื้อสามารถใช้ได้ใน Axolotl และวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือการฉีดยา แต่ควรทิ้งไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำ

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 59
   แบคทีเรียอ่อนๆสามารถรักษาได้ง่ายถ้าเจอแต่เนิ่นๆได้แก่ Chondrococcus Columnaris ที่ทำให้เกิดโรคคล้ายเชื้อราสีขาว ซึ่งมักจะสับสนกับ Saprolegnia ที่เป็นเชื้อราในน้ำจริงๆ อาการของโรคคือทำให้สูญเสียความอยากอาหารและเฉื่อยชา และจะมีรอยสีขาว/เทาจากเชื้อแบคทีเรีย วิธีรักษาที่ง่ายและดีที่สุดคือรีบทำการรักษาตั้งแต่แรกๆ
นอกจากนั้นการแช่น้ำเกลือเป็นเวลา 10 นาที วันละ 1-2 ครั้งก็ใช้ได้ เตรียมโดยใช้เกลือ(เกลือโต๊ะ,เกลืออาหารหรือเกลือไอโอดีนแต่ต้องไม่ใช่แบบโซเดียมต่ำ) 2-3 ช้อนชา/น้ำ 1 L โดยแต่ละครั้งไม่ควรแช่นานเกิน 15 นาที เพราะเกลือทำให้ผิวระคายเคืองโดยเฉพาะเหงือก
Saprolegnia เป็นเชื้อราจริงๆที่อยู่ในน้ำจืด รักษาเช่นเดียวกับ Columnaris ซึ่งเชื้อราชนิดนี้ไม่ร้ายแรงถ้าทำการรักษาแต่เนิ่นๆ หรือถ้าน้ำประปามี Chloramine ก็สามารถใช้รักษาการติดเชื้อรานี้ได้แล้ว โดยนำมาล้างที่แผลหรือแช่วันละ 10-15 นาที ควบคู่กับใช้น้ำเกลือ นอกจากนั้นเชื้อรานี้ยังมีผลต่อไข่ด้วย โดยไข่ที่ติดเชื้อนี้ควรแยกออกเพราะมันสามารถกระจายไปยังไข่ใบอื่นๆได้รวดเร็วมาก
Axolotl ที่ป่วยจากความเครียดถ้ายังแข็งแรงอยู่ แนะนำให้แยกรักษาในน้ำเย็นสัก 1-2 อาทิตย์ เพื่อช่วยให้ฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
โปรดจำไว้ว่า น้ำเกลือสามารถทำอันตรายต่อเหงือก Axolotl ได้เช่นกัน โดยทำให้เลือดออกและเหงือกหลุดล่วงได้ จึงห้ามใช้เกลือความเข้มข้นสูง รวมถึงไม่ควรแช่เป็นเวลานานๆ
Mercurochrome เป็นยาฆ่าเชื้อและป้องกันการติดเชื้อ ที่มีขายในร้านยาและให้ผลได้ดีเมื่อใช้กรณีติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แนะนำให้ใช้โดยหยดลงในน้ำเล็กน้อยจนได้สีส้มอ่อนๆ แล้วเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ(2-4 g/น้ำ 1000 L)
มีข้อมูลการใช้ Nitrofura-G ที่มีสารประกอบของ Furazolidine, Methylene blue และ Potassium Dichromate รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง,ปัญหาเชื้อราเล็กๆน้อยๆ,เหงือกอักเสบ,แผล และการระคายเคืองตามผิวต่างๆตามขนาดที่แนะนำไว้ พบว่าสัตว์มีความเร้าอารมณ์มากขึ้นหลังใช้ไปสามครั้ง โดย Furazolidine เป็น Anti-microsporidal(มีผลต่อพวกโปรโตซัวและเชื้อราด้วย) และ Methylene blue ปกติมีความเป็นพิษในบางขนาด ส่วนพิษของ Potassium Dichromate ยังไม่ชัดเจนนัก

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 60
   Axolotl ที่ระบบเป็นพิษจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(โดยไม่แน่ใจว่าชนิดไหน) แนะนำให้รักษาโดยการฉีดยา(Gentamicin หรือ Amikacin ซึ่งเป็นยากลุ่ม Aminoglycosides ทั้งคู่) ด้วยขนาด 5 mg/kg ของน้ำหนักตัว(Axolotl เต็มวัยปกติหนัก 150-300 g) โดยเจือจางด้วย Physiological Saline ที่ขนาด 5 mg/ml และใช้ประมาณ 0.1 ml ฉีดในกล้ามเนื้อช่องท้อง โดยทำการฉีด 4 ครั้ง วันละครั้งทุกๆ 48 ชั่วโมง

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 61
   มีข้อมูลว่าการแช่ยาโดยเร็วที่สุด หลังเจออาการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นเวลา 10 นาทีใน Gentamicin(สารละลาย Gentamicin 0.2 mlต่อน้ำ 1 L) ก็ช่วยรักษาได้ดีเช่นกัน ซึ่งเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ปลอดภัยกว่าการฉีดยา แม้ว่าประสิทธิภาพจะด้อยกว่าก็ตาม

โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 62
   พยาธิปรสิต
ปลาเหยื่อมักมีปรสิตและโปรโตซัวเช่น Hexamita,Opalina และ Ciliates ติดมาด้วย โดยปรสิตภายในรักษาโดยใช้ Flagyl (Metronidazole) ขนาด 500 mg ต่ออาหาร 100 g 3-4 ครั้ง
ส่วนโปรโตซัวพวก Trichodina และ Costia ทำให้ Axolotl ขับเมือกที่ผิวมากกว่าปกติ ให้รักษาโดย Mercurochrome แบบเดียวกับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการรักษาโดยแช่น้ำเกลือก็ใช้ได้เช่นกัน ส่วน Vorticella และโปรโตซัวอื่นๆสามารถรักษาด้วย 1:1500 ของสารละลาย Glacial Acetic Acid โดยปกติน้ำส้มสายชูจะมี Acetic Acid เจือจางอยู่ ถ้านำไปเจือจางอีก 100 ส่วน ก็นำมาใช้ได้เช่นกัน เพราะมีข้อมูลในรักษาเชื้อรานี้ในเต่าและให้ผลดีมากๆ
กรณีพยาธิตัวกลม(Nematodes) แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ และมีความเป็นไปได้ที่จะต้องรักษาโดยฉีดยา Levamisole ส่วนยา Panacur ก็สามารถใช้ได้ในปริมาณต่ำๆกับพยาธิภายใน
ส่วนปัญหาของพยาธิตัวแบน(Platyhelminthes) คือมันสามารถแนบตัวกับผิว Axolotl ดูแล้วคล้ายเมือกมากๆ Magnesium Sulfate ให้ผลการรักษาที่ดีต่อพยาธิเหล่านี้ โดยพ่นโดยตรงที่พยาธิเป็นประจำ ร่วมกับ Magnesium Sulfate ขนาดสองเท่าเช็ดออกบริเวณที่มีปัญหาประมาณ 1 อาทิตย์ ซึ่งในความเข้มข้นระดับนี้ปลอดภัยต่อ Axolotl แต่ไม่แน่ใจว่ามีผลต่อเหงือกหรือส่วนอื่นหรือไม่

รายชื่อยาที่ปลอดภัย/ไม่ปลอดภัย
รายการที่1: ผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยหรือเป็นพิษ
1.Sterazin (Waterlife) - บรรจุ Malachite Green และอาจมีสารพิษอื่นๆ
2.Cuprazin (Waterlife) - อาจจะบรรจุ Copper Sulphate และอาจมีสารพิษอื่นคือสารประกอบ Cuprous
3.Protozin (Waterlife) - มีคนใช้แล้วไม่เป็นไร แต่ผู้เชี่ยวชาญและบริษัทคิดว่าไม่ปลอดภัยต่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ คาดว่าน่าจะมีสารประกอบ Cuprous
4.Clout (ไม่ทราบบริษัท) - บรรจุ Malachite Green
5."Rid-rot" (Tetra) - บริษัทแจ้งว่าไม่ปลอดภัยต่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำแต่มีคนเคยใช้แล้วไม่เกิดอาการใดๆ
6.ทุกอย่างที่ผสม Malachite Green
รายการที่2:ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและน่าจะปลอดภัย
1.Myxazin (Waterlife) - ผู้เชี่ยวชาญและหลายๆคนที่เคยใช้ไม่พบปัญหาใดๆ และรายงานของ Waterlife ก็คาดว่าไม่มีปัญหาใดๆกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่แนะนำให้ใช้ขนาดแค่ครึ่งเดียว
2."The Complete Remedy" (ไม่ทราบบริษัท) - เหมือนว่าจะบรรจุแต่ Sodium Chlorite
3.Mercurochrome
4.Nitrofura-G (Aquatronics)
5.Maracyn (Mardel Labs) - บรรจุยาฆ่าเชื้อ Erythromycin
6."Sulfa-bath" (Tetra)
7.Methylene Blue - ไม่เป็นพิษในขนาดต่ำๆ
8.Furan-2 (Aquarium Pharmaceuticals) - ดีต่อการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียทุกแบบ - แนะนำว่าใช้ดีมาก
9.Melafix (Aquarium Pharmaceuticals) - ใช้ได้กับบาดแผลภายนอก
10.Panacur - ในขนาดต่ำๆ - ใช้ได้กับปรสิตภายใน โดยเฉพาะพยาธิตัวกลม
11.Flagyl รู้กันในชื่อ Metronidazole - ใช้ขนาดต่ำในสัตว์เลื้อยคลาน,มีความปลอดภัยในการใช้ฆ่าพยาธิผ่านอาหาร(ฉีดเข้า Waxworm หรืออาหารอื่นๆ)

*** Axolotl ของผู้แปลที่เลี้ยงไว้ เวลามีอาการป่วยมักใช้ยา ROF แต่ใช้ Dose เพียงครึ่งนึงของฉลากก็ให้ผลดีเช่นเดียวกัน***
โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 63
   ***ก็จบไปกับบทความแรกของผม หวังว่าคงได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับ Axolotl ไม่มากก็น้อยนะครับ เนื่องจากบทความนี้เป็นของฝรั่งเค้า ยังไงก็ลองเอามาประยุกต์ดูนะครับ บางเรื่องที่เป็นประสบการณ์ของผมเองก็พยายามสอดแทรกเข้าไปให้แล้ว ยังไงอย่าลืมติดตามบทความต่อๆไปของผมนะครับ ขอบพระคุณครับ***

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพสวยๆ
https://www.caudata.org
https://www.axolots.org
โดย: A (Axolotl ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:118.172.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 64
   ๖๔ rep.(รวมหัวกระทู้) สุดยอดดดดดดดดดดดดด เยอะที่สุดเลยนะเนี่ย

ขอบคุณมากครับ ผมตามอ่านข้ามวันเลยนะเนี่ย

ได้ความรู้จนกระจ่างเกือบร้อยเปอร์เซนต์เลยครับ(จะว่ากระจ่างหมดก็ไม่ได้เดี๋ยวอดถามอดขอ อิอิ) กำลังคิดจะเลี้ยอยู่พอดี แต่ไม่ทราบว่าจะไปหาข้อมูลที่ไหน

พอมาเจอแบบนี้ "คิดหนัก" ครับ ๕๕๕ เพราะดูไปแล้วมันต้องใช้เวลา และการเอาใจใส่สูงทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องอุณหภูมิซึ่งดูจะเป็นปัจจัยหลักอันดับแรกเลย เห็นขายกันเกลื่อนตลาด เลยนึกว่าไม่เท่าไหร่ ที่ไหนได้....โหดอยู่เหมือนกันนะเนี่ย คล้ายๆฉลามปากเป็ดเลย เหอะๆ(แค่ฉลามปากเป็ดเห็นไม่ค่อยบ่อยตามตลาด)

ปุจฉา....๑

ผมสนใจวิธีที่ใช้ขวดน้ำปรับอุณหภูมิครับ ประหยัดค่าไฟเยอะเลย แต่เห็นว่าไม่แนะนำ อยากทราบว่าเพราะอะไรครับ เผื่อจะดัดแปลงแก้ไขเล็กๆน้อยๆ....แต่ผมคิดว่าจ่าจะเพราะ การละลายมันจะทำให้อุณหภูมิส่ายๆ ไม่คงที่....

ปุจฉา....๒

อัตราการให้อาหารนั้น ควรจะเป็นวันละกี่มื้อครับ เพราะเห็นบอกว่าขับถ่ายของเสียเยอะ เลยคิดว่าอัตราการเมตาบอลิซึมคงสูง(หรือถ้าบอกไว้แล้วผมต้องขออภัยด้วยครับ เริ่มง่วงเหมือนกัน...แบบว่า ถ่างตาอ่านข้อมูลอย่างสนใจ)

คำขอ.....

อยากเห็นสภาพที่เลี้ยงโดยรวมเจ้าเอกโซลอทส์ของเจ้าของกระทู้จังเลยครับ


ขอบคุณครับ
โดย: C.MICROPELTES (Darktemplar ) [22 มี.ค. 54] ( IP A:180.183.149.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 65
   สุดยอดเลยครับ ข้อมูลเยอะดีครับ ตอนแรกๆที่คิดว่าจะง่ายๆ

กลับกลายเป็นต้องใช้ความอะเอียดอ่อนพอสมควร

กระทู้เดียวแทบจะไม่ต้องใช้ Google เลย

อ่านแล้วได้ความรู้พื้นฐานเบื้องต้น ไปจนถึงขั้นอื่นๆเลยครับ

ขอขอบคุณครับ สำหรับ บทความดีๆ
โดย: kawaiiz [22 มี.ค. 54 3:42] ( IP A:223.206.102.102 X: )
ความคิดเห็นที่ 66
   ซาบซึ้งมากครับ กับน้ำใจและความรู้ที่มอบให้มากมาย
ขอบคุณครับ
โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [22 มี.ค. 54 17:36] ( IP A:182.53.95.79 X: )
ความคิดเห็นที่ 67
   ตอบคุณ C.MICROPELTES (Darktemplar ) ครับ
ปุจฉา....๑

ผมสนใจวิธีที่ใช้ขวดน้ำปรับอุณหภูมิครับ ประหยัดค่าไฟเยอะเลย แต่เห็นว่าไม่แนะนำ อยากทราบว่าเพราะอะไรครับ เผื่อจะดัดแปลงแก้ไขเล็กๆน้อยๆ....แต่ผมคิดว่าจ่าจะเพราะ การละลายมันจะทำให้อุณหภูมิส่ายๆ ไม่คงที่....
วิสัชนา...เหตุผลนั้นก็ใช่ครับ การควบคุมในบ้านเราเป็นไปได้ยาก สำหรับผมจากที่เคยทดลองมา และอยากบอกว่าน้ำแข็งมันละลายเร็วมากๆ แทบจะต้องใส่กันทุก20นาทีเลยครับ และเหตุผลส่วนตัวคือ ด้วยหน้าที่การงานที่ค่อนข้างยุ่ง ไม่อยากให้งานอดิเรกมาโหลดงานด้านอื่นของเราจึงตัดสินใจใช้ชิลเลอร์ไปเลยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอยากให้ท่านที่สนใจได้ทดลองดูก่อน เพราะผลลัพธ์อาจแตกต่างในทางที่ดีก็ได้ครับผม ยังไงก็อย่าลืมมาแชร์กันนะครับผม

ปุจฉา....๒

อัตราการให้อาหารนั้น ควรจะเป็นวันละกี่มื้อครับ เพราะเห็นบอกว่าขับถ่ายของเสียเยอะ เลยคิดว่าอัตราการเมตาบอลิซึมคงสูง(หรือถ้าบอกไว้แล้วผมต้องขออภัยด้วยครับ เริ่มง่วงเหมือนกัน...แบบว่า ถ่างตาอ่านข้อมูลอย่างสนใจ)


วิสัชนา...ของผมให้วันเว้นวันเท่านั้น โดยอาหารส่วนใหญ่คือกุ้งขาวแกะเปลือกบ้าง ไม่แกะบ้างครับ เคยให้อาหารเป็นคาร์นิวอร์แบบจมเม็ดใหญ่เหมือนกัน แต่รู้สึกว่ามันจะไม่ค่อยชอบสักเท่าไรครับ และอย่างที่บอกแต่ละชีวิตก็ต่างปัจจัย ยังไงอยากให้ทุกท่านทดลองดูก่อนครับ และที่สำคัญคือเอาข้อมูลมาแชร์กันด้วยนะครับ

คำขอ.....

อยากเห็นสภาพที่เลี้ยงโดยรวมเจ้าเอกโซลอทส์ของเจ้าของกระทู้จังเลยครับ


โอกาสหน้านะครับ

ขอบคุณคุณ kawaiiz และคุณ RoF (เจ้าบ้าน ) ด้วยครับผม
โดย: Axolotl (Axolotl ) [22 มี.ค. 54 18:30] ( IP A:118.172.104.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 68
   เยี่ยมมากๆเลยครับผม
โดย: ไผ่จีโม๊ะ (truffle_drum ) [22 มี.ค. 54 19:37] ( IP A:27.130.35.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 69
   แจ่มมากครับ ขอบคุณที่นำมาให้ชม
เพิ่งเคยเห็นมันตอนไม่มีขา
โดย: IOAT (goliath ) [22 มี.ค. 54 20:53] ( IP A:124.120.254.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 70
   สุดยอดไปเลยครับ

นั่งอ่านตั้งแต่เมื่อวานจนจบ แต่ตอบโต้ไม่ได้ อึดอัดเป็นหนักหนา...

วันนี้กลับมาเปิดเว็บ ภาวนาให้เว็บไม่เต็ม ในที่สุดก็สำเร็จ หุ หุ


รูปเยอะ รายละเอียดแยะ ครอบคลุมทั่วไปหมดเลยครับ
ยอดเยี่ยมมากๆ

กด Like ให้ 100 ทีเลย ^________^
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย) [23 มี.ค. 54 10:13] ( IP A:124.121.238.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 71
   ขอบคุณคุณไผ่จีโม๊ะ (truffle_drum )/IOAT (goliath )และป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย) ด้วยครับผม
โดย: Axolotl (Axolotl ) [23 มี.ค. 54 18:07] ( IP A:118.174.121.85 X: )
ความคิดเห็นที่ 72
   ขอบคุณสำหรับ ความรู้และข้อมูลครับ ใครคิดจะเริ่มเลี้ยงกระทู้นี้บอกไว้หมดเลยครบถ้วนครับ
โดย: Red B [25 มี.ค. 54 14:58] ( IP A:58.9.65.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 73
   ขืนหิ้วเข้าบ้านมีหวังโดนแฟน แพ่นกระบาลแตก แน่
โดย: รักปลามากกว่าแฟน [25 มี.ค. 54 19:31] ( IP A:115.87.129.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 74
   ข้อมูลแน่นรายละเอียดเยอะเหมาะมากสำหรับเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่จะเริ่มเลี้ยง ขอขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ
โดย: CG.Joe (CG.Joe ) [30 มี.ค. 54 10:27] ( IP A:223.205.81.109 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน