ปลาช่อนจุดอินโดฯ Channa pleurophthalmus (Bleeker, 1851)
|
ความคิดเห็นที่ 1 ปลาช่อนชนิดนี้ มีชื่อพ้องอยู่หลายชื่อด้วยกัน เช่น Ophicephalus urophthalmus Bleeker, 1852 Ophicephalus spiritalis Fowler, 1904 ส่วนชื่อ Channa pleurophthalma (Bleeker, 1851) ชื่อนี้ ยังคงนิยมใช้กันในหลายๆอ้างอิงครับ
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:47] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ปลาในกลุ่ม ปลาช่อน จะถูกจัดให้อยู่ในอันดับ Order: Perciformes (perch-likes) หรือ อยู่ในกลุ่มปลากระพง ซึ่งปลาในกลุ่มปลากระพงจะมีลักษณะเด่นคือ มีก้านครีบแข็ง หรือ spine ที่ครีบหลังตอนหน้า แต่ในกลุ่มปลาช่อนนั้น กลับไม่มี เราจึงจัดพวกปลาช่อนทั้งหลาย ให้อยู่ในอันดับย่อย Suborder Channoidia(Ophiephaliformes) แยกต่างหากจากกลุ่มที่มีก้านครีบแข็ง
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:48] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ซึ่งปลาในอันดับนี้ ก็มีเพียงครอบครัวเดียวคือ Family: Channidae นั่นเอง โดยมีสมาชิกอยู่เพียง 2 สกุล (genus) คือ Channa และ Parachanna เท่านั้น ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของปลาช่อน คือจะมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษ (Suprabranchial organ)
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:51] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 คล้ายๆกับพวก กลุ่ม Anabantoid (Suborder Anabantoidei) หรือ กลุ่ม Catfish บางครอบครัวได้แก่ Clariidae และ Heteropneustidae ทำให้สามารถอยู่บนบกได้นานๆ และแลกเปลี่ยนก๊าซจากอากาศโดยตรงได้ โดยอวัยวะดังกล่าว เมื่อขึ้นเหนือน้า จะไม่หดตัวเหมือนกับซี่เหงือก แต่ยังคงรูปร่างเดิมเอาไว้เพื่อก่อให้เกิดพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซ เท่าเดิม และอวัยวะดังกล่าว ยังซ่อนอยู่ในช่องว่าง (Chamber) ภายในหัวซึ่งสามารถรักษาความชื้นไว้ได้เป็นอย่างดี
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:54] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 เรามาดูปลาช่อนจุดของเรา แค่ตัวเดียวก่อนนะครับ เพราะสมาชิกในครอบครัวนี้ มีหลายชนิดมากๆเลยคงบรรยายไม่หมดในคราวเดียว
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:55] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 Channa pleurophthalmus นั้น แพร่กระจายอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ Sumatra ในรัฐ Padang แม่น้ำ Hari และ Musi basins และ ทางใต้ของเกาะ และยังพบในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ Borneo ในรัฐ คาปวส และ Barito basins ในรัฐ Kalimantan
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:57] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ น้ำไหลเอื่อยๆ pH เป็นกลาง และอุณหภูมิปกติของประเทศเขตร้อน
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 22:58] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ปลาช่อนชนิดนี้มีรูปร่างเรียวยาว ส่วนหัวเรียวแหลม คล้ายๆปลาชะโด ในปลาวัยอ่อนจะมีสีลำตัวสีเขียว สีน้ำเงิน แกมน้ำตาลในบางตัว ส่วนท้องสีขาว
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:00] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ลักษณะเด่นคือมีจุดคล้ายดวงตาขนาดใหญ่ เรียงกันบริเวณข้างลำตัว โดยจุดจะเป็นสีดำ ล้อมร้อบด้วยวงแหวนสีส้ม หรือสีแดงสดใส โดยจุดจุดแรก จะพบบน แก้ม หรือ กระดูกปิดเหงือก(operculum) จุดสุดท้าย จะพบบริเวณคอดหาง ส่วนจุดบริเวณลำตัวนั้นจะพบ 1-7 จุด ซึ่งสองข้างของลำตัวอาจมีจุดจำนวนไม่เท่ากันก็เป็นได้ จำนวนจุดที่พบเยอะที่สุดคือ 3-4 จุดครับ ส่วนพวกปลาจุดน้อย หรือเยอะกว่าปกติจะพบน้อยมาก
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:03] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อปลาโตขึ้น สีลำตัวก็จะเริ่มชัดเจนขึ้นรวมทั้งสีของจุด อาจมีลวดลายต่างๆเกิดขึ้นบ้าง ลำตัวจะหนาอวบใหญ่ ไม่ยาว เรียวเหมือนในปลาวัยอ่อน หรือปลาช่อนทั่วๆไป
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:05] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ปลาชนิดนี้พบเห็นได้น้อย แม้ในประเทศอินโดนีเซียก็ตาม ไม่นิยมนำมาบริโภค แต่จะส่งขายเป็นปลาสวยงามในราคาที่สูง แต่ก็เคยมีรายงานว่า มีขายอยู่ในตลาดสดของสุมาตรา และ กาลิมันตันเช่นกัน
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:06] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะ หรือการขยายพันธุ์ยังไม่มี แต่คาดว่าจะขยายพันธุ์โดยการทำรัง
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:07] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 สำหรับการเลี้ยงนั้น ปลาช่อนชนิดจะชอบลูกปลาขนาดเล็กๆเป็นพิเศษ แนะนำให้เลี้ยงด้วย ปลามอลลี่ ระวังการติดเชื้อจากลูกปลากัด หรือ ปลาหางนกยุงเหยื่อนะครับ ก่อนให้อาหารก็นำปลาเหยื่อมาแช่ด่างทับทิมสักสิบนาทีและล้างด้วยน้ำเปล่าหลายๆรอบครับ
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:10] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 แต่จุดที่ควรระวังคือ เรื่องคุณภาพ และการติดเชื้อ เพราะปลาชนิดนี้ ไม่อึดเหมือนปลาช่อนบ้านเรานะครับ อาจตายได้โดยง่าย ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:12] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 โดยมักติดมาจากอาหาร ปลาชนิดนี้แพ้คลอรีนอย่างแรง และชอบน้ำที่มีออกซิเจนสูง ไม่มีของเสียสะสม การที่จะเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้โตขึ้นมาสวยงามนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:14] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 สังเกตุดูในเวปเมืองนอก มักจะจัดตู้ไม้น้ำ สำหรับเลี้ยงปลาชนิดนี้ อาจเพื่อคุณภาพน้ำที่ดี และใกล้เคียงธรรมชาติให้มากที่สุดก็เป็นได้ สามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายๆตัวโดยไม่กัดกันเอง และไม่ทำร้ายปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกันครับ
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:15] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ปลาขนิดนี้ อาจพึ่งมีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นครั้งที่สองเท่านั้น นับว่าน่าสนใจสำหรับผู้ที่ชอบปลาล่าเหยื่อสีสวยๆ ขนาดไม่ใหญ่มากนักนะครับ สุดท้ายนี้ ขอบคุณทุกท่านที่อ่าน ผิดพลาดประการใด โปรดให้อภัย และขอคำแนะนำด้วยครับ ^^~
| โดย: RoF [22 มี.ค. 48 23:18] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
|