Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
สาระน่ารู้กับ RoF <<
กลับไปหน้าแรก
มาทำความรู้จัก กับ "สับเตรท" กันเน๊อะ !!!
อ้าววว ๆ ๆ สวัสดีกันก่อนครับพี่น้อง วันนี้มีอะไร มานำเสนอ อืมม เป็นเรื่องเก่าๆ ที่นำมาเล่าใหม่ครับ สำหรับ นักเลี้ยงปลา "หน้าใหม่" หรือ มือใหม่หัดตัก หรือ ใครก็ได้ ไม่ยังไม่ค่อยเข้าใจนักเกี่ยวกับ "วัสดุกรอง" ในตู้ปลา หรือ บ่อปลา เอ้า เกริ่นซะยาวไปเริ่มเลยดีกว่า ( วันนี้ขี้เกียจพล่าม )
"สับเตรท" คืออะไร มันคือ ชั้นว่างๆ ในระบบ ตู้กรอง ของเรา ที่เอาไว้ใส่ วัสดุการกรองนั่นเอง "วัสดุ" การกรอง มีอะไรบ้างล่ะ เท่าที่ผมทราบ และ เป็นที่นิยมใช้กันก็คือ
1. หินพัมมิส หรือ พูไมส์ ( pumice stone ) ***
2. หินซีโอไลท์ ( Zeolite ) ***
3. ปะการัง ( reef or coral reef )***
4. เปลือกหอย ( Shell ) ***
5. ไบโอบอล ( Bio-balls )**
6. เซรามิค-ริงค์ ( Ceramic-Rings ) ***
7. แอคติเวท คาร์บอน ( Activate Carbon ) *
8. เรซิน ( Resin ) *
* = ความนิยมน้อย
** = นิยมปานกลาง
*** = นิยมมาก
ครับ เราก็เห็นกันแล้วว่ามีอะไรบ้าง ( อาจมีมากกว่านี้ แต่ผมรู้แค่นี้อ่ะ ) วันนี้ ผมจะหยิบยก เฉพาะอันที่ เป็นที่ "นิยม" หมู่คนเลี้ยงปลาสวยงาม แล้วกันนะครับ
อันดับแรก คือ " หินพัมมิส หรือ พูไมส์ " เป็น หินภูเขาไฟ เกิดจากการหลอมละลาย ของ ลาวา และ แม๊กม่า แล้ว "จับตัวแข็ง" โดยฉับพลัน กับ ชั้นอากาศ และ ฟองอากาศ (ในกรณีไหลลงน้ำ) รูพรุน จำนวนมากนั้น ก็ คือฟองอากาศ ขณะที่ ลาวา กำลังร้อนระอุ ผนวกเข้ากับ ความเย็น จาก อากาศ และ น้ำ จับตัวแข็งเป็นก้อน เกิดโพลง และ รูพรุนจำนวนมหาศาล มีคุณสมบัติ ลอยน้ำได้ น้ำหนักเบา
หินพัมมิส หรือ พูไมส์ เป็นที่นิยม อย่างมาก ในวงการ การเลี้ยงปลาสวยงาม เนื่องจาก คุณสมบัติ ข้างต้น
มีรูพรุนจำนวนมาก (ซึ่งเป็นที่อยู่ ของแบคทีเรีย ที่ช่วยในการย่อยสลาย ขอเสียในตู้ปลา ได้อย่างดี ) น้ำหนักเบา ไม่ทำปฏิกริยา กับ สารเคมี (รึเปล่า) และ ที่สำคัญ "ราคาถูก"
พัมมิส หรือ พูไมส์ มีข้อดีอย่างไร : ใช่ครับ ราคาถูก มีรูพรุนจำนวนมาก มีฤทธิ์ ทำให้น้ำ เป็น กรดอ่อนๆ ( Acid ) โดยระดับ PH ของตู้ที่ใช้ พัมมิส เป็น สับเตรท จะอยู่ประมาณ 5.0-6.0 เหมาะกับ การเลี้ยงปลา ที่ต้องการ น้ำเก่าๆ พีเอช ต่ำๆ
พัมมิส หรือ พูไมส์ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ โดยส่วนใหญ่ ขนาดต่อก้อน จะอยู่ที่ 1.5 - 2.5 เซนติเมตร สีสรร จะออก โทนเหลือง น้ำตาล หรือ ขาวขุ่นๆ ที่สำคัญ น้ำหนักต้องเบา
เป็นรูปหินพัมมิส หรือ พูไมส์ ครับ
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 21:28] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ต้องขออภัย "หินพัมมิส" ผมมันโสโครก ไปหน่อย "งัด" ขึ้นมาจากบ่อปลา ง่ะ
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 21:32] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ต่อไปครับ
คือ "ซีโอไลท์" ( Zeolite ) ซีโอไลท์ ก็ เป็น "หินภูเขาไฟ" เช่นเดียวกัน อ้าว แล้วแตกต่างกับ "พัมมิส" อย่างไรล่ะ เป็นหิน( ที่มาจาก ) ภูเขาไฟ เช่นเดียวกัน แต่ว่า "ต่าง" กันตรง การกำเหนิด
ซีโอไลท์ คือชั้นหิน ที่เกิดขึ้นจาก "ลาวา" หลอมละลาย ไหลลงแม่น้ำหรือ แหล่งน้ำ แล้วไปจับ ตัวแข็ง ใต้ท้องน้ำ ซึ่ง ระหว่างกระบวนการแข็งตัวนั้น ก็ได้ ดูดซับ แร่ธาตุ จำนวนมากเข้าไปด้วย ทั้ง อิฐ หิน ดิน ทราย กรวด ขี้เถ้า หลอมรวม กันหมด แล้ว จับตัวแข็งเป็นชั้นหิน แต่ ก็ยังคง มีรูพรุน ที่เกิดขึ้นจากฟองอากาศ เฉกเช่นเดียว กับ พัมมิส
ประสิทธิภาพ ของ ซีโอไลท์ ไม่ด้อยไป กว่า พัมมิส เลย จะดีกว่าด้วยซ้ำไป แต่ ว่า มี "ข้อเสีย" ที่หนักหนาเอาการอยู่เช่นกัน
ข้อดีคือ หินซีโอไลท์ มีรูพรุน มหาศาล เป็นสับเตรทได้ดีเยี่ยม ดูดซับ ไอออนต่างๆ แม้ แต่ คอลลีน หรือ ยาปฏิชีวนะ จะว่าไปแล้ว มันดูดซับ และ ฟอก ได้ดี กว่า พัมมิส ซะอีก
แต่ทว่า ข้อเสียคือ การใช้งานมีอายุจำกัด (ประมาณ 6-8เดือน) หากการใช้งาน ประจำ และ การกรองอย่างหนัก หินซีโอไลท์ก็จะอิ่มตัว และ ทยอย คายของเสีย ที่มันกักเก็บไว้ สู่ ตู้ปลาของเรา ทำให้ปลาเราป่วย หรือ ตายได้ "โดยเฉพาะ เวลา หากโดน เกลือเข้มข้น" เข้าไป มันจะคาย "ไนเตรท์" ออกมา ซึ่งเป็นพิษอย่างมาก กับ สัตว์น้ำทุกชนิด
การใช้ ซีโอไลท์ ต้องคอยหมั่นเอาออกมาล้าง บ่อยๆ โดยใช้ เกลือเข้มข้น ล้าง ด้วยน้ำประปา หลายๆรอบ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง และ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ซีโอไลท์ มีน้ำหนักมาก และ ราคาสูงกว่า พัมมิส หรือ พูไมส์ หนึ่งเท่าตัว / กิโลกรัม / ลิตร
หน้าตาของหินซีโอไลท์ จะ เป็นเม็ดสี เขียวๆ อมน้ำเงิน ขนาด 0.12-0.5 เซนติเมตร มีรูพรุนขนาดเล็ก
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 21:44] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ตู้ที่ใช้ "ซีโอไลท์" เป็นสับเตรท PH ก็จะอยู่ประมาณ 6.0-7.0 เป็นด่าง อ่อนๆ ( Alkaline ) เหมาะสำหรับ ปลาที่ต้องการน้ำใหม่ๆ PH สูงๆ
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 21:48] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ต่อมา อ้าวววว ต่อมา ก็ วิ่งซิคร้าบบบบบ ( นั่น....ฮากริบ เลย !! ) เฮ้ออ ช่างมันเหอะครับ ฝืดโครต
ครับ มาว่าต่อเรื่อง สับเตรท ดีกว่า
ชิ้นต่อมาครับ " ปะการัง" ( Reef ) ก็เป็นที่นิยม อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็น สับเตรทได้อย่างดีเยี่ยม แต่ก็ด้วยหลายๆ เหตุผล ที่ ปะการัง ได้รับความนิยม น้อยลง ในปัจจุบัน
"ปะการัง" คืออะไร หลายๆคนก็คงทราบที่มา ดีกันอยู่แล้ว ครับ มาจากทะเล จริงๆแล้ว ปะการัง เป็น สัตว์น้ำ รูปร่างคล้ายๆต้นไม้อ่ะแหล่ะ เมื่อมันตาย ก็ จะมีลักษณะ เป็น ก้อนหินแข็งๆ สีขาวๆ ( ซึ่งประกอบไปด้วย แคลเซียม และ หินปูน )
ปะการัง ได้รับ ความนิยม มาใช้เป็นสับเตรท เช่นเดียวกัน เพราะ มีรูพรุนมหาศาล ( ท่อทางเดินหายใจ มันมั้ง ) เป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย ได้อย่างดีเช่นเดียวกัน การรักษา คุณภาพ ก็ จะคล้ายๆกับ ซีโอไลท์ คือรักษา PH ให้อยู่ในระดับ 6-7 เหมาะสำหรับ ปลา ที่ต้องการ ph สูง ๆ
แต่ใช่ว่า "ปะการัง" จะไม่มีข้อเสีย มีแน่นอนครับ ข้อแรก ล่ะ ผิดกฏหมาย น้ำหนักมาก ถึง หนักมากๆ การย่อยสลายเร็ว ( กร่อน ) เมื่อเกิดการสลาย ของ ปะการัง เราก็จะเห็น ฝุ่นขาวๆ ลอยคลุ้งเต็มไปหมด เป็น ทรายขาวๆ เต็มไปหมด และ ราคาค่อนข้างแพง หนึ่งกิโล ก็ เกือบๆร้อย หากว่า เป็น เบอร์ใหญ่ แล้วหนึ่ง กิโล ก็ได้ ไม่กี่หยิบมือเองง่ะ ....
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 21:58] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ปะการัง มี หลายขนาดให้เลือกัน ส่วนใหญ่ ก็ แบ่งได้เป็น 3 ขนาด เบอร์ 3 น่าจะเป็นขนาดใหญ่สุด (ถ้าจำไม่ผิด) ขนาดประมาณ 2.5 - 4 เซนติเมตร
"แช่ทิ้งไว้ก่อนใช้งานประมาณ สอง ถึง สามวัน หรือ ล้างในน้ำไหลๆ ประมาณ สองสามชั่วโมง"
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 22:02] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
ไม่เป็นการเสียเวลา ต่อกันเลยดีกว่า
"เซรามิค ริงค์" วัสดุชนิดนี้ เป็น "วัสดุสังเคราะห์" ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เซรามิค ครับ เครื่องปั้นดินเผา เอ้ยยยยยยยยยย ไม่ใช้ แต่ก็คือๆ กัน
เซรามิค ก็ ได้รับ ความนิยมกันมากเช่นกัน ( ในหมูคนมีกะตังค์ ) มีคุณ สมบัติ ดีเด่นคือ "PH Buffer" ครับ มันเป็น ตัวควบคุมระดับ ph ในตู้ปลา ของเรา ไม่ให้เปลี่ยนแปลง กระทันหัน โดย เจ้า เซรามิคริงค์ ตัวนี้ จะคอยควบคุม ระดับ ph ของน้ำให้อยู่ระหว่าง 6.5-7.5 โดย มีค่าเป็นกลางมากที่สุด คือ ไม่ กรด หรือ ด่าง จนมากเกินไป
คุณสมบัติเช่นนี้ พบได้ใน เซรามิค ริงค์ "ของแท้" เท่านั้นนะครับ ช่วงหลัง มีการทำเลียนแบบ ขึ้นมากหลากหลาย ยี่ห้อ ด้วยกัน แล้ว ราคา ก็ไม่ต้องพูดถึงครับ แพงกว่า "ซีโอไลท์" เกือบ สองเท่าตัว / กิโล แต่ว่า ประสิทธิภาพ มัน คุ้มราคาครับ
ถ้าจะเลือกใช้ ก็ แนะนำว่าใช้ ของมียี่ห้อซักนิดก้ดีนะครับเพื่อความสบายใจ และ หนับหนุน ของเลียนแบบ...
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 22:09] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
รูปของ "เซรามิค ริงค์" ผมไปยืม มาจากในเน็ตครับ ไม่รู้ของใคร ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 22:12] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
ครับ ต่อมา อ่ะๆ ๆ จะเล่นมุขเดิม โอเค ครับ ไม่เล่นแล้ว T_T
เจ้า "ไบโอบอล" อืม มันเหมือนกับ "ไบโดดีเซล" มั้ยครับ อืมจริงๆแล้ว มันก็ ว้ากกกกกกกกกกกกก ไม่เหมือน จะบ้ารึไง เอาไปโยง กันทำไม ฟร่ะ ๆ ๆ ๆ สงสัยมันเพี้ยนไปแร้วครับ
"ไบโอบอล" ก็ เป็นวัสดุสังเคราะห์ เช่นเดียวกัน ( พลาสติก ) ทำขึ้นเพื่อ เป็น สับเตรท อีกเหมือนกันแหละ แน่นอนครับ เจ้าไบโอบอล ที่พูดถึง นี้ ไม่ใช้ ไอ้ลูกพลาสติก กลมๆ ดำๆ น้ำเงินๆ แดงๆ เขียวๆ ที่วางอยู่เกลื่อนกลาด สวนฯ หรือ ร้านขายปลาทั่วไปนะครับ ใช่ครับ ไอ้นั่นมันเรียก ว่า ไบโอบอล( ปลอม ) อ้าว แล้วของแท้ เป็นไงล่ะ ก็อย่างที่บอกไป คุณสมบัติ เป็น สับเตรทได้เลย แต่ ทว่า มันแค่เป็น วัสดุสังเคราะห์เท่านั้นเอง
ไบโอบอล ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นแค่ ตัวช่วยกระจาย อ๊อกซิเจน ในน้ำ ในตู้กรอง ก็เท่านั้นครับ ไม่มีหน้าที่อื่นเลย อ่อๆๆ มีอีกอย่างครับ หน้าที่ของมัน ทำให้ตู้กรองเต็ม ปล่าวๆ
ไบโอบอล ของแท้ๆ ราคาก็ไม่หนี เซเรามิคริงค์ เท่าไรครับ แต่ว่า หายากอ่ะ ในบ้านเรา ของ ก๊อป บานแร่ะ
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 22:23] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
ครับ ที่กล่าวมาทั้งหมด อาจมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับหลายๆท่าน
แต่หากว่า ข้อมูลใดผิดพลาด ข้าพเจ้า ต้องขอ อภัยอย่างรุนแรง และ ยินดีรับ คำแนะนำในโอกาศต่อไป
ส่วน วัสดุ กรองอื่นๆ ที่ไม่พูดถึง เพราะอย่างที่บอก หยิบยกเฉพาะ ชนิดที่เป็นนิยม มากถึง มากที่สุด
เปลือหอย (นางรม แครง ฯลฯ ) ประสิทธิภาพคล้ายปะการัง แต่ขนาดใหญ่กว่า รูพรุนน้อยกว่า และ ราคาถูกกว่ามากกกก
แอคติเวท คาร์บอน ไม่ค่อยนิยมใช้ในตู้ปลา เพราะมัน ดูดซับทุกอย่าง แม้กระทั่ง แร่ธาตุดีๆ ในการดำรงชีวิต ของสัตว์น้ำ และ อายุการใช้งานสั้นมาก เลยไม่นิยมเท่าไร ส่วนใหญ่มักใช้ใน การบำบัดน้ำที่เสีย มากกว่า
เรซิ่น อันนี้ ไม่ทราบข้อมูลชัดเจน ว่าใช้กรองแบบใด รักษาคุณภาพน้ำอย่างไร ต้องขออภัยด้วยครับ
" ก่อนเลือกซื้อเลือกหา ศึกษาข้อมูล ก่อนตัดสินใจทุกครั้ง "
สวัสดีครับ โชคดี ร่ำรวย ถูกหวย เฮงๆๆๆ นะคร้าบบบบบบ
โดย: The P@lmmint
[5 ก.พ. 50 22:30] ( IP A:125.25.149.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
ยอดเยี่ยมครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
โดย: mofish_6@hotmail.com (mofish_6
) [5 ก.พ. 50 22:51] ( IP A:125.24.134.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
ดีมากเลยครับ กับบทความแบบนี้ครับ
โดย: icestick
[6 พ.ค. 50 9:55] ( IP A:58.10.192.212 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
หินพัมมีส ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง pH ได้นะครับ
ในขณะที่ปะการัง ก็ไม่ได้ช่วยเรื่อง pH โดยตรง แต่ช่วยในการเป็นบัฟเฟอร์ให้กับระบบได้ครับ ลองดูง่ายๆครับ
เอาน้ำเปล่ามาวัดพีเอชดู แล้ว วัดอีกที เมื่อแช่ใน หินพัมมีส และปะการังครับ
โดย: RoF (เจ้าบ้าน
) [28 ก.ค. 50 15:14] ( IP A:58.9.146.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
ถ้าใส่แบบนี้ ดีไหมครับ
ใยแก้ว+หินภูเขาไฟ (พัมมิส)+เซรามิคริง+ปั้ม
แบบว่าไม่ใส่ไบโอบอลได้ไหมครับ หรือไบโอบอลช่วยเซฟเงินกว่า
ช่วยแนะนำทีครับ
โดย: 1 (saponlachad
) [1 พ.ค. 51 16:25] ( IP A:117.47.91.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
ยอดเยี่ยมครับ มีประโยชน์มากเลยครับ
โดย: ฟ่อน
[3 ส.ค. 51 17:21] ( IP A:222.123.171.184 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
ตอบคห.13
แค่ ใยแก้ว กับ พัมมีสก็พอแล้วครับ เซอรามิกซ์ริงไม่จำเป็น เพราะจะว่าไป มันมีประสิทธิภาพต่ำกว่าพัมมีสอีก แพงกว่า หนักกว่าอีก แล้วเราจะใส่ไปเพื่ออะไร
ส่วนไบโอบอล ก็ไม่ได้ราคาถูกไปกว่าหินพัมมีสมากมายครับ เราทำระบบกรอง ด้วยวัตถุประสงค์ก็คือ ระบบกรอง มีสับสเตรทที่มีประสิทธิภาพสูง และราคาประหยัด
ไม่ใช่คิดแค่เพียง เอาแค่ราคาถูกอย่างเดียวจริงป่าวครับ ดังนั้น ไม่ต้องใส่ไบโอบอลครับ ใส่ไปก็เท่ากับเอาวัสดุกรองคุณภาพต่ำ ลงไปกินปริมาตรกรองเปล่าๆ
โดย: RoF (เจ้าบ้าน
) [21 ต.ค. 51 12:12] ( IP A:58.9.140.183 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
เพิ่มเติมเรื่องไบโอบอลสักนิดครับ
ไบโอบอล คุณภาพสูง มีลักษณะเหมือนในรูปครับ คือมีความละเอียดและถูกออกแบบให้มีพื้นที่ผิวสูง จนมากพอที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียได้อย่างมากเพียงพอ ในปริมาตรอันจำกัดของรูปทรงของมัน ซึ่งสูงกว่าไบโอบอลเลียนแบบราคาถูกครับ อาจใช้เป็นสับสเตรทแทนตัวอื่นๆได้ แต่ทว่าไบโอบอลแบบนี้ ราคาสูงมากๆครับ
ลองดูรูปประกอบครับจะทราบว่าต่างจากแบบราคาถูกทั่วไปเช่นไร
โดย: RoF (เจ้าบ้าน
) [22 มิ.ย. 52 16:01] ( IP A:58.9.229.107 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
แล้วไบโอบอล แบบในคห.8-9 ล่ะมีประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะให้น้ำไหลผ่านเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนแล้ว (ซึ่งจริงๆไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของสับสเตรท เพราะสับสเตรทคือทีอาศัยของแบคทีเรียในการกรองชีวภาพ ส่วนเรื่องอากาศเรามีปัมพ์ลมทำหน้าที่อยู่แล้ว) ประโยชน์หรือข้อดีอย่างอื่นๆของไบโอบอลในกรองก็เช่น
1.ช่วยลดน้ำหนักของระบบกรอง ถ้าปนกับวัสดุอื่นๆ เช่นปะการังหรือหินพัมมีสเบอร์เล็ก
2. ช่วยลดความแน่นของการอัดตัวของวัสดุกรอง ในกรณีที่ใช้กับถังกรองขนาดใหญ่ละลึก ผลก็คือ ทำให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก อุดตันยาก และทำให้เกิดสภาพโล่ง ลดการเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์จากการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนครับ ควรใส่ไว้ชั้นล่างสุดของถังกรองใบใหญ่ๆ
3. ไบโอบอลเป็นวัสดุที่ไม่คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติต่างของน้ำครับ (ถ้าล้างสะอาดก่อนใช้) และแน่นอน ไม่มีคุณสมบัติเป็นบัฟเฟอร์ต้านการเปลี่ยนแปลง pH ด้วยเช่นกัน อีกทั้งทำปฏิกิริยากับสารเคมีต่างๆในระบบเลี้ยงปลาได้ยากมาก ไม่ว่าจะเป็นกรดอ่อนหรือเบสอ่อน ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงปลา
4. อายุการใช้งานยืนนาน เพราะมันคือ พลาสติก ทุกคนคงรู้จักพลาสติกดีอยู่แล้วครับ
5. ใช้ในประโยชน์อื่นๆได้เช่น ป้องกันการทะลักของสับสเตรทขนาดเล็ก ออกทางด้านล่างช่องกรอง หรือทางน้ำออกจากระบบกรอง และป้องกัน วัสดุกรองขนาดเล็ก อุดตันปัมพ์น้ำที่ใส่ไว้ในระบบกรอง เป็นต้น โดยเราควรใช้ไบโอบอล ในชั้นที่มีปัมพ์หรือ ใกล้ทางน้ำออก เพื่อประโยชน์ดังกล่าวครับ เพราะใบโอบอล มีความคงรูปสูง ไม่มีเศษเล็กไปอุดตันปัมพ์ได้ง่ายเหมือนสับสเตรทอื่นๆครับ
แล้วถ้าว่างๆ จะเขียนเรื่องพวกนี้ให้ละเอียดชัดเจน เคลียร์ๆอีกทีครับ ขอบคุณครับ
โดย: RoF (เจ้าบ้าน
) [22 มิ.ย. 52 16:13] ( IP A:58.9.229.107 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน