เสือตออินโด กับ เขมร แต่งกันอย่างไรครับ!!!
|
ความคิดเห็นที่ 1 เสือตออินโด ตัวจะออกยาวๆกว่า เขมรนะครับของเขมรตัวจะสั้น
แล้วก็ของเขมรนี่สีจะนิ่งกว่าทางอินโด แถมโตเร็วกว่าด้วย (ในความคิดผมนะ) | โดย: MrDomes [2 พ.ย. 50 21:10] ( IP A:58.9.121.195 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 เรื่องนี้ถามกันบ่อยมากครับถ้าลองไปเปิดหาดูในกระทู้เก่าก็จะพบครับแต่ไหนก็ถามมาแล้วก็จะตอบอีกครั้งแล้วกันนะครับ เรามาว่าวกันถึงความแตกต่างของลายใหญ่ทั้งของเขมรและอินโดกันเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับหากท่านใดมีความคิดแตกต่างจากนี้ก็เชิญแสดงความคิดเห็นได้นะครับ 1.ลาย เสือตอลายใหญ่อินโดทุกตัวจะมีเส้นพาดผ่านลำตัวทั้งหมด 7 เส้นโดยเราจะเริ่มนับเส้นแรกที่พาดผ่านตา เป็นเส้นที่หนึ่ง แต่ใน ลายของเสือตอลายใหญ่เขมรนั้น บางตัวนับใด้ 7 ขีด บางตัวนับได้ 6 ขีด เพราะฉนั้นถ้าคุณเจอเสือตอลายใหญ่ตัวหนึ่ง นับเส้นแล้วได้ 6 ขีด คุณมั้นใจได้เลยว่าเป็นเสือตอลายใหญ่เขมร ชัวร์ แต่ถ้านับ แล้วได้ 7 ขีดมันอาจจะเป็นได้ทั้ง อินโดหรือเขมรก็ได้ เราจึงต้อง มาดูในข้อถัดมา 1.1 รูปแบบของลายของทั้งสองพันธ์นี้คือถ้าคุณเห็นลายสีดำเส้นที่ 5 ด้านบนโย้มาทางด้านหน้า สงสัยได้ว่าจะเป็นเสือตออินโด 1.2 ถ้าคุณเห็นลายที่คอ(สร้อย)หนามากใหญ่จนเกือบเท่าลายที่ พาดผ่านกลางลำตัว สงสัยได้ว่าเป็นอินโด 1.3 ถ้าลายกลางลำตัว ทิ้งลงเป็นเส้นตรง ไม่เฉียงไปทางด้านหลัง และมีขนาดความกว้างของลายสีดำเท่ากันตั้งแต่ด้านบนจนถึง ท้อง และขอบของลายเรียบไม่ขุขระ สงสัยได้ว่าเป็นอินโด 2. สีของสองชนิดนี้ต่างกันที่ 2.1 เสือลายใหญ่เขมรจะมีสีเหลืองเข้มกว่าเสือตอลายใหญ่อินโด จะเห็นได้ชัดจากปลาที่มีขนาดใหญ่ 2.2 เสือตออินโดมักไม่มีการปรับเปลี่ยนสีให้สว่างขึ้นหรือดำลงได้ บ่อยเท่าปลาเขมร จึงเห็นได้ว่าส่วนใหญ่มักมีสีดำไปจนโต 3.อุปนิสัย 1.1 เสืออินโดมักขี้กลัว ขี้แอบเลี้ยงให้ชินกับสถานที่เลี้ยงและผู้ เลี้ยงยากกว่าเสือตอลายใหญ่เขมรมากนัก นั่นเป็นอีกสาเหตุ อีกอย่างหนึ่งมี่ทำให้เสืออินโด มีสีที่ไม่สวยและโตช้ากว่า เมื่อนำขึ้นจากน้ำสังเกตว่าเสือตออินโดจะดิ้นจนน้ำกระจาย เลยแต่พี่เขมรมักทำตัวแข็งทื่อ กางครีบหลังตั้งชัน 4.ขนาด เสือตอเขมรเมือโตเต็มที่มีขนาดใหญ่กว่าเสือตอที่มาจาก อิโด 5. ราคา อินโด 1-2นิ้วอยู่ 500 บาท เขมร 1-2นิ้วไม่มีเข้ามาสองปีกว่าแล้วครับ ขณะนี้ 7-8 นิ้ว ราคาปลาสวยๆอยู่ที่ประมาณ 6000 บาท (ในช่วงเวลานี้) นอกจากนี้ชื่อทางวิทย์ยาศาตร์ก็แบ่งแตกตางกันอย่างชัดเจน
ปล สร้อยคือลายเส้นที่สองครับ ลองนับดูอยู่แถวคอมันอะ หนาๆไว้ก่อนดี ถ้าปลาเขรมตัวไหนสร้อยๆหนาถือว่า สุดยอด แต่ถ้าเป็นปลาอินโดผมว่าเฉยๆ เพราะมันหนากัน ทุกตัวอะ ท่องไว้นะครับ "อินโดลายมันดี แต่สีมันห่วย เขมรสีสวย ลายห่วย เกือบทุกตัว" โอ้ชีวิตมันก็อย่างนี้ละครับ อิอิ | โดย: mofish_6 (mofish_6 ) [2 พ.ย. 50 21:36] ( IP A:125.24.138.224 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 เรื่องราคา อินโดลายใหญ่ตอนนี้สูงกว่า 600 ไปแล้วครับ | โดย: mofish_6 (mofish_6 ) [2 พ.ย. 50 21:38] ( IP A:125.24.138.224 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 เขมรครับ | โดย: mofish_6 (mofish_6 ) [2 พ.ย. 50 21:54] ( IP A:125.24.138.224 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ขอบคุณครับคุณ mofish_6 บอกตามตรงแยกไม่ออกจริงๆ งงไปหมดไหนอินโด ไหนเขมร เพราะตอนที่ซื้อเจ้าของบอก อินโดก็อินโดมากตลอด | โดย: au (!!!Aro-CrossBreed!!! ) [2 พ.ย. 50 22:20] ( IP A:210.203.186.206 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ขอบคุณ..คุณ MrDomes,คุณPoring_in_loveและคุณsealteam8 ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ | โดย: au (!!!Aro-CrossBreed!!! ) [2 พ.ย. 50 22:22] ( IP A:210.203.186.206 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ขอบคุณ คุณsealteam8มากๆๆๆๆคับ
ผมก้อเป็นอีกคนนึง ที่แยกไม่ออกอยู่ดี ตัวไหนอินโด ตัวไหนเขมร แถมพักหลัง ยังมี พม่าเข้ามาอีก!?!
หลายๆคน ก้อบอกว่า ไห้ไปหาอ่านเอา เขียนไว้เยอะแล้ว ผมก้ออ่านนะ แต่ก้อยังจับหลักไม่ได้อยู่ดี
พออ่านreplyของคุณsealteam8นี่แหละ ถึงได้ถึง "บางอ้อ" ซักที  | โดย: Raphiodon [3 พ.ย. 50 1:04] ( IP A:58.8.150.89 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ลองอ่านนี่ดูครับ แต่มีข้อแม้นะครับ ว่า ยังไม่ถึงเวลาเผยแพร่ไปที่อื่น เอาไว้อ่านเฉพาะพวกเราก่อนนะครับ ในเวลานี้ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Datnioides undecimradiatus หรือ เสือตอลายเล็ก ครับ ถูกแยกเป็นชนิดต่างหากจาก เสือตอลายใหญ่(และลายคู่) มาเมื่อไม่นานเท่าไรนัก เสือตอลายเล็ก มีอยู่คู่ตลาดปลามานานแล้วครับ เนื่องจากยังพบได้ง่าย และมีจำนวนมากในแม่น้ำโขง ทั้งเขตประเทศไทยและเขมร มีราคาไม่สูงมากครับ หลักร้อย แต่มันจะมีราคาแพงมาก ถ้าเจอปลาที่มีขนาด เกิน 1 ฟุตขึ้นไปครับ เพราะถือเป็น ปลาขนาดยักษ์ สำหรับสปีชีส์นี้แล้วครับ และพบได้ในธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ยากนักที่จะเลี้ยงให้โตได้เกิน 1 ฟุตในที่เลี้ยงครับ เรามาดูรายละเอียดของปลาชนิดนี้กัน อันดับแรกก็คือ ลาย หรือ แถบบนลำตัวนั่นเอง ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจร่วมกันก่อนนะครับ ในการแยกชนิดหรือสายพันธุ์ปลาเสือตอนั้น เราใช้แถบบนตัวปลาเป็นหลักสำคัญอันดับ 1 ครับ ปลาทุกตัว จะมีแถบสองแบบ คือ แถบที่เรียกว่า แถบหลัก ซึ่งเป็นแถบที่จะต้องพบบนปลาเสือตอทุกๆตัว ทุกๆชนิดครับ ถึงแม้ว่า บางตัวส่วนน้อย อาจพบแถบหลักที่บิดเบี้ยวผิดส่วนผิดตำแหน่งไปบ้างก็ตาม ส่วนแถบอีกแบบ เราเรียกง่ายๆว่า ลายแซม นั่นเองครับ คือแถบที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากแถบหลักไม่ว่าจะตรงจุดไหน จำนวนเท่าไร หรือลักษณะอย่างไรก็ตาม ทั้งเป็นจุด เป็นแต้ม เป็นขีดสั้นๆ หรือยาวมากๆ ก็ใช่หมดครับ บางตัวก็มี บางตัวก็ไม่มี ลักษณะแตกต่างกันมากมาย จำนวนลาย ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลาเสือตอลายเล็กไว้ทั้งหมดจำนวน 6 แถบครับ คือ 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม (สร้อย) 3.แถบกลางลำตัวพาดผ่านทวารหนัก 4. แถบที่พาดผ่านก้านครีบก้น 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง 6. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง ลักษณะของลาย ปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะมีลายหรือแถบที่มีขนาดความกว้างค่อนข้างแคบ หรือ เล็กสมชื่อนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้เลยทำให้พื้นที่สีเหลืองบนตัวปลาแลดูมีขนาดใหญ่ชัดเจนครับ จุดสังเกตุที่สำคัญของเสือตอลายเล็กคือ 1. มันจะมีแถบหลักเพียง 6 แถบตามที่แจ้งไว้ครับ หมายความว่า ปลาเสือตอลายเล็กนั้นจะไม่มีจำนวนแถบหลักเกินไปกว่านี้แน่นอนครับ ถ้ามีถือว่าแปลกมากๆเลยล่ะครับ 2. ไม่มีความหลากหลายของแถบหลักใดๆทั้งสิ้น หมายความว่า เราจะไม่พบแถบหลักดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็นแถบลักษณะอื่นๆใดๆ เช่น แถบหลักกลางลำตัว แบ่งออกเป็นสองลายเหมือนเสือตอลายคู่ หรือ แถบตรงคอดหางแบ่งออกเป็นสองลาย เหมือนเสือตอลายใหญ่ 7 แถบ เป็นต้นครับ 3. แถบหลักแถบที่ 5 แยกจากกันเป็นสองส่วน หมายความว่า แถบหลักแถบที่ห้า ตอนบนบริเวณเยื่อครีบหลัง จะแยกขาดออกจากกันเป็นสองตอน จากแถบหลักแถบที่ 5 บริเวณโคนหางครับ เป็นแบบนี้ทุกตัวครับ 4. แถบหลักแถบที่ 1-4 มีขนาดความกว้างใกล้เคียงกันมากๆ หมายความตามนั้นครับ อันนี้ ต้องใช้สายตาสังเกตุครับ จะวัดให้เป๊ะๆให้เท่ากันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ และนี่คือ จุดสำคัญ ในการแยกปลาเสือตอลายเล็ก ออกจากปลาเสือตอลายใหญ่นั่นเองครับ 5. ไม่พบลายแซมที่มีความยาวของลายใกล้เคียงแถบหลัก หมายความว่า ปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะมีลายแซมเกิดขึ้นได้ตามปรกติครับ ไม่ว่าจะแซม บริเวณไหนก็ตาม ลายดังกล่าว จะเป็นแค่เศษเสี้ยวเล็กๆ สั้นๆ แคบๆ ไม่มีทางพบลายแซม ซึ่งมีขนาดและความยาวใกล้เคียงแถบหลักเลยแม้แต่น้อยครับ รูปทรงของลำตัว เสือตอลายเล็กส่วนใหญ่ จะมีลำตัวที่ผอมเรียวยาว ส่วนสันด้านหน้าจะค่อนข้างลาด ไม่ตั้งชันมากครับ สี และ เกล็ดบนลำตัวและควมแตกต่างอื่นๆ ทำความเข้าใจตรงกันว่า คำว่าสีนั้น เราจะพูดถึงสีพื้นของลำตัว หรือ บริเวณลำตัวที่ไม่มีลายพาดผ่านนะครับ สีของปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะประสบการณ์ที่พบ มีสีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้คือ สีน้ำตาล สีเทาคล้ำๆ สีเหลือง(ตั้งแต่สีอ่อนๆไปจนถึงเหลืองสด) แค่นี้ครับ เกล็ดบนลำตัวจะดูหยาบกว่าปลาเสือตอจากเขมรและอินโดนีเซียครับ Datnioides pulcher หรือปลาเสือตอเขมร(ไทย และ เวียดนาม) ครับ เสือตอเขมรนั้น เป็นปลาที่มีความหลากหลายในแง่ของลายสูงมากชนิดหนึ่งครับ มากกว่าเสือตอลายเล็ก จึงทำให้มีลายแปลกๆมากมาย รวมทั้ง ลักษณะที่เราเรียกว่า เสือตอลายคู่ เกิดขึ้นมาด้วย ดังนั้น เสือตอลายใหญ่ กับลายคู่ หรือลายประหลาดๆอะไรก็แล้วแต่ ถ้ามีถิ่นกำเนิดจากแถบนี้ มันก็คือปลาสปีชีส์เดียวกัน หรือ ปลาชนิดเดียวกันนั่นเอง ดังนั้น ทราบอย่างนี้แล้ว ก็อย่าหลงประเด็นไปกับโฆษณาชวนเชื่อของพ่อค้าเช่นว่า เสือตอลายคู่ข้างใหญ่ข้าง เป็นปลาแปลกหายาก เพราะเป็นลูกผสมระหว่างเสือตอลายคู่ กับ ลายใหญ่ หรือ เสือตอลายคู่ เป็นปลาคนละชนิดกับลายใหญ่ หายากต่างกันเพราะมาจากคนละที่ ฯลฯ เป็นต้น ทำความเข้าใจให้ได้ว่า มันคือปลาชนิดเดียวกัน อยู่ร่วมกัน แต่มีลายหลายแบบ บางตัวลายมัน มาลงตัวโดนใจมนุษย์อย่างเราเอง โดยที่ไม่เจตนา และโดนตั้งชื่อ และ สร้างความสับสนกันเองทั้งนั้น เหมือนกะม้าลาย ที่ลายไม่เหมือนกันทุกตัวแม้จะอยู่ในฝูงเดียวกันหรือครอกเดียวกันนั่นเอง เมื่อเคลียร์ตรงนี้แล้ว เรามาดูความหลากหลายของลายเสือตอชนิดนี้กันครับ จำนวนลาย ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลาเสือตอเขมรไว้ทั้งหมดจำนวน 6 แถบครับ คือ 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม 3.แถบกลางลำตัวพาดผ่านทวารหนัก 4. แถบที่พาดผ่านก้านครีบก้น 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง 6. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง จะเห็นนะครับว่าผมแบ่งเหมือนเสือตอลายเล็กครับ ลักษณะโดยรวมของแถบนั้น จะค่อนข้างใหญ่หนา สมชื่อครับ เรามาดูจุดสังเกตุที่สำคัญกันนะครับ 1. แถบที่ 3 และ แถบที่ 5 สามารถเกิดความหลากหลายได้หลายแบบ เรามาดูรายละเอียดกันครับ แถบที่ 3 นั้น จะสามารถเกิดการแยกของแถบได้ เป็นสองแถบออกจากชัดเจนครับ ซึ่งเราเรียกว่าเสือตอลายคู่นั่นเอง ถ้าแยกออกไม่ชัดเจน ก็เป็นลายคู่ไม่สมบูรณ์ไปครับ ถ้าแยกออกแล้ว อีกลายมีขนาดเล็กกว่าอีกลายมาก มันก็จะกลายเป็นลายแซม ไปโดยปริยาย บางทีลายดังกล่าวแยกออกจากกันแค่เพียงส่วนบน หรือส่วนล่างแค่บางส่วน จะสั้นจะยาวก็แล้วแต่ ก็จะกลายเป็นปลาเสือตอลายใหญ่ที่ลายเสียไปครับ ถ้าแยกออกแล้วสวยงามเช่น เป็นรูปตัว Y หรือ ตัว V หรือ รูปส้อม เหมือนกันทั้งสองด้านของลำตัว หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มองดูแล้วสวยงามในสายตามนุษย์ มันก็จะกลายเป็นปลาที่สวยงามไปอีกแบบและอาจมีราคาได้ครับ ส่วนแถบที่ 5 นั้น จะมีความหลากหลายได้สองแบบคือ 1. แถบด้านบนบริเวณครีบหลังแยกออกจากกันกับแถบบริเวณโคนหาง อันนี้เหมือนเสือตอลายเล็กครับ จะแยกขาดไม่ขาด ห่างไม่ห่าง ก็แล้วแต่ตัวครับ แต่ลายเล็กยังไงก็แยกขาดจากกันคงจำได้นะครับ 2. แถบด้านล่างบริเวณรอบโคนหาง แบ่งออกจากกันตามแนวตั้งครับ อาจแยกเป็นสองลายชัดเจน หรือ แยกเพียงส่วนบน หรือ ส่วนล่างก็แล้วแต่ครับ อันนี้ก็เหมือนกับแถบที่ 3 นั่นเองครับ ผิดกันแต่เพียงว่า แถบที่ 5 มันเล็กกว่าแถบที่ 3 มากนัก จึงทำให้เกิดความหลากหลายได้น้อยกว่านั่นเองครับ ดังนั้น ถ้าแถบที่ 5 แยกออกจากกันชัดเจน เราจึงมีชื่อเรียกใหม่ให้กับเสือตอลักษณะนั้นว่า เสือตอ 7 แถบ นั่นเองครับ โดยส่วนใหญ่ คนจะนิยม 6 แถบมากกว่าครับ เพราะมองดูโดยรวมแล้ว ขนาดของแถบสมดุลกว่าครับ 2. ขนาดความกว้างของแถบที่ 3 กับ 4 มากว่าแถบที่ 1 กับ 2 อันนี้คือข้อแตกต่างระหว่าง D. pulcher กับ D. undecimradiatus ครับ แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ถ้าแถบที่ 3 แยกออกจากกันเป็นสองลาย(ลายคู่) ความกว้างของลายย่อมมีขนาดเล็กลงกว่าตัวที่รวมกันเป็นลายเดียวนั่นเองครับ 3. สามารถเกิดแถบย่อยได้ทุกตำแหน่งและทุกขนาด หมายความว่า แถบย่อย หรือลายแซมนั้น สามารถเกิดขึ้นมาได้ในที่ว่างที่เป็นสีเหลืองทุกๆที่ครับ และอาจมีขนาดใหญ่เทียบเท่าหรือใหญ่กว่าลายหลักก็เป็นได้ครับ หรืออาจไปชน หรือรวมกับลายหลักส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้เช่นกัน การเกิดแถบย่อยได้หลากหลายนี่เอง จึงทำให้เรามีเสือตอลายแปลกประหลาดมากมายเกิดขึ้นครับ 4. ไม่มีแถบหลักมากไปกว่านี้ครับ อันนี้คงเข้าใจ และแถบหลักอาจมีบางส่วนที่เชื่อมติดกันระหว่างแถบได้ ที่พบบ่อยก็เช่น แถบที่ 4 กับ 5 เชื่อมติดกันตอนบนหรือตอนล่างนั่นเองครับ ส่วนในเสือตอลายเล็กส่วยใหญ่จะไม่พบการเชื่อมระหว่างลายหลักใดๆครับ รูปทรงของลำตัว รูปร่างของลำตัวปลาส่วนใหญ่ จะค่อนข้างป้อมสั้น ส่วนสันขอบหน้าค่อนข้างชันมาก แต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังพบเสือตอทรงยาวๆ หน้าลาดๆอยู่มากพอสมควร ซึ่งคนส่วนใหญ่มักสันนิษฐานว่ามันเป็นปลาตัวผู้นั่นเอง สีสัน เกล็ดและความแตกต่างอื่นๆ ส่วนเรื่องสีสันนั้น เราจะพบสีต่างๆได้ค่อนข้างหลากหลายครับ ตั้งแต่ สีเหลืองซีด เหลืองอมชมพู เหลืองสด สีส้ม สีส้มแดง สีแดงอิฐ สีส้มคล้ำ ไปจนถึงสีเทาคล้ำๆครับ เรียกได้ว่าหลายเฉดสีเลยทีเดียว ส่วนเกล็ดก็จะมีขนาดเล็กละเอียดกว่าเสือตอลายเล็กชัดเจนพอสมควรครับ นิสัยค่อนข้างเชื่อง จำคนเลี้ยงได้และมักมาขออาหารเสมอๆโดยเฉพาะในปลาใหญ่ สีสันสวยงาม นิ่ง ไม่ค่อยปรับตามสภาพแวดล้อมและอารมณ์ โดยเฉพาะในปลาโต เมื่อจับขึ้นมาเหนือน้ำจะไม่ดิ้น แต่จะทำตัวนิ่งๆและกางก้านครีบแข็งทุกก้านออกเพื่อป้องกันตัว Datnioides microlepis หรือ เสือตอสุมาตรา(เสือตออินโดฯ) พึ่งได้ชื่อใหม่มาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ รู้สึกว่า นักอนุกรมวิธานที่ ตัดสินใจแยกปลาชนิดนี้ออกจากชนิดเดิมยังแยกไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่ผมจะลองสรุปให้ดูละกันครับ เสือตออินโดฯนั้น ก็เหมือนกับเสือตอเขมรนั่นเองครับ คือมีความหลากหลายของลายสูง แต่จะน้อยกว่าเขมรเล็กน้อยครับ มีทั้งลายใหญ่ ลายคู่ และลายแปลกๆมากมายเช่นกัน ดังนี้ครับ จำนวนลายหรือแถบ ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลาเสือตออินโดฯไว้ทั้งหมดจำนวน 7 แถบครับ คือ 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม 3.แถบกลางลำตัวพาดผ่านทวารหนัก 4. แถบที่พาดผ่านก้านครีบก้น 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง 6. แถบรอบโคนหาง 7. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง จะเห็นนะครับว่าลักษณะของแถบหลักของเสือตอชนิดนี้ ไปตรงกับเสือตอเขมร 7 ขีด นั่นเองครับ เรามาดูจุดสังเกตุกันครับ ลักษณะของแถบบนลำตัว 1. จำนวนแถบหลักของเสือตออินโดฯ จะมี 7 แถบ เสมอไม่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้แน่นอนครับ ทั้งสองด้านของลำตัว บางครั้งเราอาจพบการเชื่อมกันบางส่วนของแถบที่ 5 และ 6 (แถบตรงคอดหาง) ได้เช่นกันครับ แต่พบน้อยมากๆ หมายความว่า เสือตอตัวไหน ที่มี แถบหลัก 6 แถบ จะไม่ใช่ปลาเสือตออินโดฯแน่นอนครับ 2. แถบลายหลักของปลาเสือตออินโดฯจะมีความขนานกันจากบนลงล่างมากกว่าปลาเสือตอเขมรครับ ซึ่งลายของปลาเสือตอเขมรส่วนใหญ่ จะมีปลายลายด้านล่างเรียวแหลม ส่วนลายด้านบนจะมีขนาดใหญ่กว่า แต่เราก็อาจพบลายขนานได้ในปลาเขมรบ่อยๆเช่นกันครับ 3. แถบที่ 3 สามารถเกิดความหลากหลายได้หลายแบบเช่นกันเหมือนปลาเสือตอเขมรครับ ในปลาเสือตอลายคู่ เราจะพบว่าเสือตอลายคู่อินโดฯ ที่มีลายกลางที่แยกเป็นสองลายนั้น มีขนาดของลายใหญ่กว่าเสือตอลายคู่เขมรเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ เสือตอลายคู่เขมร ที่มีลายคู่กลางใหญ่ๆนั้นหายากมากจนเป็นปลาในตำนานเลยล่ะครับ ผิดกับเสือตอลายคู่อินโดฯที่หาลายกลางใหญ่ๆได้เพียบ นอกจากนั้น ก็เหมือนๆกับเสือตอเขมรครับ คือ อาจพบแยกบางส่วน ขาดๆ เกินๆ ได้เช่นเดียวกัน ส่วนแถบที่ 5 ไม่พบความหลากหลายครับ เพราะมันแยกเป็นสองแถบชัดเจน ทุกๆตัว ทั้งสองด้านดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1 ครับ อีกทั้งแถบที่ 5 ทางด้านบนบริเวณครีบหลัง จะไม่แยก ออกจากบริเวณรอบโคนหางเหมือนเสือตอลายเล็กด้วยครับ ถ้าเจอแยกล่ะก็ บอกได้ชัดเจนเลยครับว่าไม่ใช่เสือตออินโดฯแน่นอนครับ 4. ลักษณะพิเศษของแถบที่ 3 และ แถบที่ 4 ของปลาส่วนใหญ่ ตรงจุดนี้ก็เป็นจุดสำคัญของปลาเสือตออินโดฯนะครับ ลองนึกภาพตามคำบรรยายนะครับ แถบที่ 3 ด้านล่างของแถบ ส่วนขอบด้านท้ายลำตัวของลาย จะเว้าเข้ามาด้านในเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ ดังที่บอกไว้ข้างต้นแล้วครับว่าปลาเสือตออินโดฯจะมีลายที่มีลักษณะขนานกัน ส่วนเสือตอเขมร จะเป็นลายลักษณะปลายแหลม แต่คำว่าเว้านั้น บ่งบอกได้ชัดเจนเลย ว่ามันขนานกันมาอยู่ดีๆแล้วก็โค้งเว้า กินเนื้อลายสีดำเข้าไปซะดื้อๆอย่างนั้นเลยครับ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ไม่พบในปลาเสือตอเขมรครับ ส่วนแถบที่ 4 ด้านบน ส่วนขอบด้านหน้าลำตัวของลาย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะโค้งยื่นออกมาชัดเจนกินพื้นที่สีเหลืองออกมาทางด้านหน้าลำตัวปลาครับ ลักษณะโค้งยื่นออกมาของลายที่ 4 ดังกล่าวนั้น อาจพบได้ตั้งแต่ยื่นออกมาเล็กน้อย เอียงไปด้านหน้าเล็กน้อย จนถึงยื่นโค้งออกมายาวมากชัดเจนครับ ลักษณะดังกล่าวนี้เอง ทำให้พื้นที่สีเหลืองส่วนล่างลำตัว ระหว่างลายที่ 3 และลายที่ 4 กว้างสะดุดตากว่าเสือตอเขมรครับ แต่อย่าลืมนะครับ ว่าลายหลักของเสือตอทุกๆตัวนั้น มีความหลากรูปแบบในตัวของมันอยู่ เราอาจพบเสือตอเขมรบางตัวที่มีลายลักษณะคล้ายแบบนี้มากก็ได้ครับ ต้องดูหลายๆข้อประกอบกันครับ 5. ขนาดความกว้างของแถบที่ 3 กับ 4 มากว่าแถบที่ 1 กับ 2 อันนี้อธิบายเหมือนปลาเสือตอเขมรครับ และเป็นข้อแตกต่างระหว่างเสือตอลายเล็กเช่นกัน 6. สามารถเกิดแถบย่อยได้ทุกตำแหน่งและทุกขนาด อันนี้เหมือนกับเสือตอเขมรเช่นกันครับ 7. ความคมชัดของขอบลายจะชัดเจนกว่าเสือตอเขมรส่วนใหญ่ครับ หมายความว่า ปลาเสือตออินโดฯส่วนใหญ่นั้น ความคมชัดของลาย หรือเรียกง่ายๆว่า รอยต่อระหว่างสีเหลือง กับ สีดำนั้น จะเป็นรอยที่มีความคมชัด ไม่เลอะเลือนแทบทุกตัวของปลาอินโดฯครับ ส่วนปลาเขมร บางตัวก็ชัดบางตัวก็เลอะ อันนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปลาที่มีสุขภาพร่างกายปกตินะครับ รูปทรงของลำตัว ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างก็คือ รูปทรงของตัวปลา ปลาเสือตออินโดฯ นั้น จะมีรูปทรงที่ผอม และเรียวยาวกว่าเสือตอเขมรครับ ส่วนขอบบนของหน้าจะลาดเอียงน้อยกว่าปลาเขมรอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งมีส่วนของคอดหางที่ยื่นยาวกว่าอีกด้วยโดยส่วนใหญ่ ครีบหางก็มีลักษณะค่อนข้างแคบกว่าเสือตอเขมรครับ แต่อันนี้ก็สรุปยากเช่นกันครับ เพราะว่าเสือตอบางตัวทั้งสองชนิดนี้ แต่ละชนิดนั้น ก็ดันมีรูปทรงไปเหมือนกับอีกชนิดหนึ่งได้เช่นกันนะครับต้องดูข้ออื่นๆประกอบกันเช่นเคย สีสัน เกล็ด และความแตกต่างอื่นๆ มีดังนี้ครับ สีสันของเสือตออินโดฯ เราจะพบได้หลากหลายใกล้เคียงกับปลาเสือตอเขมรครับ แต่ส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโทนมืดๆเสียมากกว่า เช่นสีแดงอิฐ สีน้ำตาลแดง ไปจนถึงสีเทา และดำปี๋เลยครับ ส่วนสีเหลืองนวลนั้น ก็พบเป็นส่วนน้อย และมักจะเป็นปลาที่สวยเตะตาผู้ซื้ออยู่เสมอครับ เกล็ดของเสือตออินโดฯมีความละเอียดเหมือนกับเสือตอเขมรครับ ส่วนลักษณะนิสัยนั้น ปลาเสือตออินโดฯจะมีข้อเสียใหญ่ๆก็คือ มันชอบปรับสีตัวเป็นสีดำซะเป็นส่วนใหญ่ครับ เนื่องจากมีนิสัยที่ชอบหลบซ่อน และตื่นกลัวกว่าปลาเขมรนั่นเอง อีกทั้ง ความนิ่งและความคงที่ของสียังไม่แน่นอน แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า จะหนักไปทางดำนิ่งเสียมากกว่าเหลืองนิ่งนี่สิครับ สิ่งนี้เอง ทำให้ปลาเขมร มีค่าขี้นมาทันที เพราะปลาเขมรจะหนักไปทางเหลืองนิ่งมากกว่านั่นเองครับ แล้วเราค่อยมาพูดรายละเอียดเรื่องการปรับสีของปลากันต่อไปนะครับ ส่วนนิสัยอย่างอื่นก็เช่น การดิ้น เหมือนถูกยกพ้นน้ำ เสือตออินโดฯจะดิ้น และกระโดดไปมาไม่อยู่นิ่งครับ ในขณะที่เสือตอเขมรแทบทุกตัวเมื่อถูกจับพ้นน้ำ จะทำตัวนิ่งๆ และกางก้านครีบแข็งทุกๆก้านออกเต็มที่เพื่อป้องกันตัวแค่นั้น จะดิ้นบ้างก็แต่เพียงเล็กน้อยและไม่บ่อยครับ นอกจากนี้ อัตราการเจริญเติบโต และขนาดโตเต็มที่ยังน้อยกว่าเสือตอเขมรอีกด้วยครับ Datnioides campbelli หรือ เสือตอปาปัวนิวกีนี ครับ พบเฉพาะในเกาะปาปัวนิวกีนี ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ค่อนข้างถือว่าหายากเลยล่ะครับ เสือตอชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยนานแล้วด้วยราคาที่สูงมาก และลดต่ำลงจนคงที่ในตอนนี้ ถึงแม้ว่าจะมีเข้ามานาน คนเลี้ยงปลาก็ยังรู้จักปลาชนิดนี้น้อยมาก และไม่สามารถแยกความแตกต่างกับปลาเสือตอชนิดอื่นได้เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ เราลองมาดูจุดสังเกตุกันนะครับ จำนวนลายหรือแถบ ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลาเสือตอปาปัวฯไว้ทั้งหมดจำนวน 8 แถบครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นปลาเสือตอที่มีจำนวนแถบมากกว่าเสือตอทุกชนิดที่กล่าวมาข้างต้นดังนี้ คือ 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม 3.แถบกลางลำตัวด้านหน้าพาดผ่านลงมาบริเวณขอบครีบท้อง 4. แถบกลางลำตัวด้านหลังพาดผ่านลงมาบริเวณทวารหนัก 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังลงมาที่ก้านครีบก้น 6. แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง 7. แถบรอบโคนหาง 8. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง จะเห็นได้ว่าจำนวนลายมันไปเท่ากับเสือตอลายคู่อินโดฯ หรือไม่ก็เสือตอลายคู่เขมรที่คอดหางแยกเป็นสองลายนั่นเองครับ ต่างกันที่ว่าสำหรับเสือตอปาปัวฯแล้ว แถบดังกล่าวเป็นแถบหลักซึ่งพบในเสือตอปาปัวฯทุกๆตัว ลักษณะของแถบบนลำตัว 1. ตำแหน่งของแถบหลักที่ 3 และ 4 กลางลำตัวจะอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับเสือตอลายคู่ อันนี้คือจุดสำคัญเลยครับ หมายความว่า ให้ท่านลองนึกถึงเสือตอลายคู่ดูครับ(จะเขมรหรืออินโดฯก็ได้) แถบกลางลำตัวสองแถบดังกล่าวเป็นแถบหลักนะครับ คือหมายความว่าจะพบแถบสองแถบนี้ในเสือตอปาปัวฯทุกตัวครับ(อาจสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ได้) แถบดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการแยกกันของแถบกลางตัวเหมือนเสือตอลายคู่แต่อย่างใดครับ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความห่างระหว่างแถบสองแถบดังกล่าวจะเว้นช่องห่างมากกว่าเสือตอลายคู่อีกด้วย 2. ความหนาของแถบหลัก หนาเท่ากับหรือมากกว่าพื้นที่สีเหลืองบนลำตัว หมายความว่า แถบสองแถบดังกล่าวในข้อ 1 และแถบอื่นๆ จะมีขนาดใหญ่มากเท่ากับพื้นที่สีเหลืองระหว่างลาย หรือใหญ่มากกว่า นั่นก็คือ เมื่อมองโดยรวมแล้ว ขนาดของแถบสีเหลืองและสีดำบนลำตัวหลังแถบที่ 3 ลงไปจะมีขนาดใกล้เคียงกันครับ ส่วนช่องห่างระหว่างแถบที่สอง กับแถบที่ 3 ในส่วนที่เป็นสีเหลืองจะมีขนาดช่องกว้างมากกว่าช่องอื่นๆ เนื่องจากลายที่ 2 (สร้อย) มักจะมีขนาดแคบกว่าลายอื่นๆนั่นเอง ผิดกับเสือตอเขมรและเสือตออินโดฯตรงที่ปลาส่วนใหญ่จะมีขนาดของแถบดำเล็กกว่าพื้นที่ว่างที่เป็นสีเหลืองครับ แต่ถ้าเกิดท่านเจอเสือตอเขมรหรืออินโดฯ ที่มีขนาดของแถบกลาง(ต้องสวยสมบูรณ์ด้วยนะครับ) ใหญ่กว่าแถบสีเหลืองล่ะก็ เสือตอตัวนั้นถือว่าสุดยอดตัวหนึ่งเลยล่ะครับ 3. แถบหลักแถบที่ 1 ไม่ชัดเจน อันนี้ดูไม่ยากครับ เสือตอปาปัวฯส่วนใหญ่จะมีแถบหลักแถบแรกที่ลากผ่านตา ซีดจางไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับลายอื่นๆบนลำตัวครับ รูปทรงของลำตัว เสือตอปาปัวนั้น ส่วนใหญ่นั้น ก็ยังคงเอกลักษณะของรูปทรงที่ผมยาวของปลาจากอินโดนีเซียเอาไว้เช่นเคยครับ แต่ปลาบางตัวที่เป็นตัวเมีย หรือกินเก่งๆจนอ้วน ก็ดูกลมหนาได้เช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับปลาที่มีขนาดใหญ่ครับ ส่วนขอบด้านบนบริเวณหน้าค่อนข้างชันครับ ไม่ลาดเหมือนเสือตออินโดฯ ลักษณะสีสัน เกล็ดและอื่นๆ สีสันของเสือตอปาปัวนั้น จะพบได้เพียงไม่กี่สีครับ ก็คือ เหลืองซีดๆ เหลืองสด หรือไม่ก็ดำคล้ำไปเลย จะไม่พบสีส้มครับ ขนาดของเกล็ดจะมีขนาดใหญ่มากกว่าเสือตอชนิดอื่นๆอย่างชัดเจนเลยครับ เลยทำให้ผิวเสือตอชนิดนี้ดูหยาบกระด้าง และขอบลายไม่คมตามไปด้วยครับ (ภาพความละเอียดต่ำ) นิสัย จะชอบปรับสีตามสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างไวคล้ายๆกับเสือตออินโดฯ เปลี่ยนสีได้ตลอดเวลา อารมณ์ไม่นิ่งนักครับ ชอบหลบซ่อนและดิ้นเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเช่นเดียวกันอีกด้วย และนิสัยค่อนข้างดุกว่าเล็กน้อยครับ Datnioides quadrifasciatus หรือกระพงลาย, กระพงแสม เป็นปลาท้องถิ่นของไทยเรานี่เอง พบได้ทั่วไปตามปากแม่น้ำต่างๆ และป่าแสม ยังมีปริมาณให้จับขายอยู่พอสมควรครับ แต่ก็ไม่มากมายจนเต็มตลาด ต้องรอหน้าเหมือนกันครับ ราคาก็ไม่แพง แต่มักจะแพงเนื่องจากโดนแปลงสัญชาติด้วยฝีมือคนขายนั่นเอง ต้องระวังนะครับ เรามาดูจุดสังเกตุกันครับ ไม่ยากแน่นอน จำนวนลายหรือแถบ ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลากระพงลายไว้ทั้งหมดจำนวน 8 แถบครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนแถบไปตรงกับเสือตอปาปัวฯนั่นเอง ไม่เพียงแต่จำนวนแถบหลักที่ตรงกันนะครับ ตำแหน่งของแถบหลักยังอยู่ในตำแหน่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมากๆด้วย คือ 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม 3.แถบกลางลำตัวด้านหน้าพาดผ่านลงมาบริเวณขอบครีบท้อง 4. แถบกลางลำตัวด้านหลังพาดผ่านลงมาบริเวณทวารหนัก 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังลงมาที่ก้านครีบก้น 6. แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง 7. แถบรอบโคนหาง 8. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง ลักษณะของแถบบนลำตัว แถบบนลำตัวของปลากระพงลายนั้น จะถึงแม้จะมีจำนวนและตำแหน่งเหมือนกับเสือตอปาปัวฯ แต่ขนาดของแถบหลักจะแคบมากๆครับ แคบจนเห็นเป็นเส้นดำๆเล็กๆ บนพื้นสีเงินอมเหลืองขนาดใหญ่ แตกต่างจากเสือตอปาปัวซึ่งมีขนาดแถบใหญ่มากเท่ากับพื้นที่สีเหลืองโดยสิ้นเชิง เรามาดูจุดสังเกตุกันครับ 1. แถบหลัก ที่ 1 มี ส่วนแถบเกินยื่นออกมาตรงจงอยปาก ทุกท่านมองไปที่แถบที่หนึ่งนะครับ แถบที่ลากผ่านลูกตาของปลา จะเห็นได้ว่ากระพงลายแทบทุกตัวจะมีลายเกินโดยลายจะลากยื่นออกมาตรงจุดตัดระหว่างลายกับดวงตาไปทางจงอยปาก เป็นแถบสั้นๆครับ มองดูโดยรวมเหมือนกับ ลายสามลายลากมาบรรจบกันตรงดวงตาจาก 3 ทิศทาง เหมือนรูปตัว Y นั่นเอง ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้แทบจะไม่เคยพบในปลาเสือตอชนิดอื่นๆครับ ถ้าใครพบก็ของแปลกล่ะครับ 2. ขนาดของแถบทุกแถบแคบมาก และมีขนาดเท่าๆกันหรือใกล้เคียงกัน ลักษณะนี้ทำให้มือใหม่ไปสับสนกับเสือตอลายเล็กได้ครับ แต่ถ้าท่านทำความเข้าใจเรื่อง แถบหลัก แถบลองแล้ว ท่านจะรู้ว่า มันต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะมีแถบหลักที่จำนวน และตำแหน่งต่างกันชัดเจนครับ ส่วนข้อแตกต่างกับเสือตอปาปัวในข้อนี้ก็กล่าวไปแล้ว 3. มีแถบรอง หรือลายแซมจำนวนมาก ปลากระพงลายส่วนใหญ่แล้ว จะมีลายแซมเกิดขึ้นระหว่างลายหลักแทบทุกที่ว่างเลยครับ น้อยตัวนักที่จะไม่พบลายแซมเกิดขึ้นครับ 4. การขาดออกจากกันของแถบหลักที่ 6 และ 8 ขอให้ทุกท่านลองสังเกตุลายที่ 6 และ 8 ดูครับ กระพงลายส่วนใหญ่แล้ว แถบหลักตำแหน่งดังกล่าวมักไม่ยาวเต็มเส้นครับ จะขาดออกจากกันตรงกลางภายในแถบเดียวกัน แต่ก็มีบางตัวเหมือนกัน ที่แถบดังกล่าวทั้งสองแถบภายในแถบเดียวกันเชื่อมติดกันเป็นเส้นเดียวกันยาวตลอดส่วนบนลงมาล่างลำตัวของปลา ลักษณะดังกล่าวนี้เอง ทำให้กระพงลายบางตัว มองเห็นเป็นจุดกลมๆสองจุดบริเวณโคนหาง เนื่องจากปลาตัวดังกล่าวมีแถบหลักที่ 8 ขาดออกจากกันนั่นเอง แต่เนื่องจากมันเป็นแถบขนาดที่สั้นมาก ก็เลยมองเห็นเป็นสองจุดกลมๆยามแยกออกจากกันครับ นอกจากนี้แถบหลักที่ 7 มักลากยาวจากด้านบนลงมาไม่ถึงขอบด้านล่างของโคนหางเสียเป็นส่วนใหญ่อีกด้วยครับ รูปทรงของลำตัว ปลากระพงลายส่วนใหญ่ทุกตัว จะมีรูปทรงที่ผอมเรียวยาวชัดเจนครับ ใกล้เคียงกับพวกปลากระพงทั้งหลายนั่นเอง ส่วนขอบหน้าลาด มองดูเหมือนหน้ายาวๆปากยาวๆประมาณนั้น ลักษณะสีสัน เกล็ดและอื่นๆ สีสันของปลากะพงลายนั้นพบได้ดังนี้ คือ สีเทาเงิน และสีเขียวอมเหลือง จะไม่พบสีเหลืองนวลสดใส หรือสีส้ม หรือสีแดงอิฐแต่อย่างใดครับ ขนาดของเกล็ดใหญ่กว่าเสือตอเขมรและอินโดฯ แต่เล็กกว่าเสือตอปาปัวฯครับ มองดูเผินๆอาจพอๆกับเสือตอลายเล็กครับ นิสัย ชอบว่ายน้ำ หลบซ่อนบ้างบางเวลา ดิ้นเมื่อนำขึ้นพ้นน้ำตามฟอร์ม ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือครับ | โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [3 พ.ย. 50 6:10] ( IP A:58.9.141.148 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 ใช่ครับ ถ้าจะอธิบายกัน จริงๆก้อคงต้องยาวแบบที่พี่ต้นสรุปให้แหละครับ
เอาเป็นว่า ให้พี่ต้นขยายความล่ะครับชัวสุดแล้ว ต้องพึ่งหลายๆองค์ประกอบมากๆ
ตอนแรกผมก้อว่าจะระบุถึงข้อแตกต่างหลายๆอย่าง แต่เรียบเรียงและขยายความได้ไม่ดี นักอาจจะวกไปวนมา เลยเอาคร่าวๆไป
ที่เน้นแต่ลาย4 แล้วเพราะโดยมาก ลายเส้นที่4ของเขมร จะมองแล้วดูมีขนาดเท่ากัน ไปทั่วทั้งเส้น แต่ของอินโดในบางตัวก้อไม่ใช่ว่าจะไม่มีเหมือนกัน
แต่รูปที่ผมทำมานั้น ใช้แค่โปรแกรม Paint นั่งลากๆมา มันก้อเลยได้แค่นั้นล่ะครับ
และเรื่องสีสัน ก็มีได้มากมายหลายรูปแบบตามแต่ตัวปลาและลักษณะการเลี้ยงดู ด้วยครับ
จะแยกแยะได้อย่างไร ต้องอาศัยเวลามากๆครับ ค่อยๆดูไปจะคล่องไปเอง
เอาเป็นว่ารวบๆรวมจากหลายๆความคิดและ คำแนะนำต่างๆมาผสม เป็นหลักการของตัวเองก้อดีครับ
ใครอยากดูอินโดที่คล้ายๆปลาเขมร เด๋วผมจะจัดให้เร็วๆนี้ครับ | โดย: sealteam8 [3 พ.ย. 50 16:10] ( IP A:58.8.64.3 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 โอ้เพิ่งเข้ามาอ่าน...... สุดยอดเลยพี่ มีหลายจุดทีเดียวครับ ที่ผมเพิ่งจะทราบวันนี้เอง ละเอียดมากครับ ถ้ามีรูปประกอบอีกหน่อยละก็แหร่มเลย | โดย: mofish_6 (mofish_6 ) [4 พ.ย. 50] ( IP A:125.24.144.32 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 สุดยอดเรยคับ | โดย: ชายฝั่ง [6 พ.ย. 50 22:06] ( IP A:125.26.1.151 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 อย่างที่พี่อาทว่า ถูกต้องครับ
ขึ้นกะประสบการณ์ด้วยครับ
ลองเลี้ยงดู มองเยอะๆ เห็นหลายๆแบบ แล้วมันจะแยกออกเองโดยอัตโนมัติ | โดย: sealteam8 [9 พ.ย. 50 11:14] ( IP A:58.8.61.141 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 พอดีเพิ่งมาอ่านเจอ เนื้อหาเยอะดีครับ ละเอียดมาก ผมว่าผมเริ่มแยกออกแล้วครับ ขอบคุณมากๆนะครับ | โดย: Wolf [1 ก.พ. 51 20:48] ( IP A:125.26.132.217 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 นเอหาแน่นจริงจริงครับ ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ | โดย: ฟ่อน [3 ส.ค. 51 16:48] ( IP A:222.123.171.184 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 ขอโทษจาก คห.17นะครับ เปลี่อนเป็น เนื้อหาแน่นจริงจริงครับ ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ | โดย: ฟ่อน [3 ส.ค. 51 16:51] ( IP A:222.123.171.184 X: ) |  |
|