สงสัยว่า โดยทั่วไป ผู้พัฒนาพันธุ์สุนัข เค้านิยมผสมสุนัขGSDข้ามสีกันมั้ย
   เค้านิยมผสมสุนัขข้ามสีกันมั้ย เช่นแม่สีธรรมดาทั่วไปที่นิยมประกวดสวยงาม กับพ่อพันธุ์สีกระรอก หรือสีดำ
แล้วลูกสุนัขออกมาสีอะไรบ้าง มีสูตรคำนวนสี(เหมือนลาบราดอร์)
อีกอย่าง ในเวทีประกวดสวยงามทำไมไม่ค่อยมีสีกระรอกลง หรือไม่ค่อยมีสุนัขโครงสร้างถูกต้องตามมาตรฐาน หรือเป็น falt?
หรือผมเข้าใจอะไรผิดรึปล่าว
โดย: nong [14 พ.ย. 49 5:43] ( IP A:134.36.13.22 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ไม่ใช่ผู้เพาะและพัฒนาพันธุ์ แต่เลี้ยง GSD มานาน เท่าที่เห็นๆมา เชพเพอดสีดำ หรือสีกระรอก ไม่เป็นที่นิยมในวงการประกวดสวยงาม ในรอบ20 ปีมานี้ เคยเห็นหมาสีกระรอกเพียงตัวเดียว ที่ลงสนามประกวดและได้ตำแหน่งดีที่สุด แค่ VA2 เท่านั้น และก็ไม่โด่งดังในวงการพ่อพันธุ์มากเท่ากับ VA 2 ตัวอื่นๆสักเท่าไหร่ ส่วนตัวคิดว่าเป็นความนิยมของคนเลี้ยงมากกว่า

การผสมพันธุ์เยอรมันเชพเพอด แบ่งเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกวดความสวยงามจะเน้นโครงสร้าง รูปร่าง และสีสัน(สีดำ-น้ำตาล ที่พบเห็นกันทั่วไป) ที่สวยงามเป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงส่วนใหญ่

กลุ่ม ที่เน้นเพื่อนำมาทำงาน ก็จะไม่สนใจด้านความสวยงามสักเท่าไหร่ จะเน้นความสามารถในการรับการฝึก ซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติจากภายใน เช่นอารมณ์ แรงขับ ความแคล่วคล่องว่องไว ฯลฯ มากกว่าเรื่องรูปร่างสีสัน และ จะให้ความสำคัญเรื่องของโครงสร้างที่ถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานมากกว่า เพื่อความสวยงามตามความนิยม

สีของเยอรมันเชพเพอด มี สีดำ , เทา-ดำ(กระรอก) , ดำ-เหลือง และ ดำ-น้ำตาล(สียอดนิยม) ส่วน สีขาว ถือเป็น fault

โดย: ป้าวิ [14 พ.ย. 49 9:54] ( IP A:125.24.141.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   อ๋อ อย่างนี้เองขอบคุณสำหรับข้อมูล
แล้วอย่างสายใช้งานเค้าไม่ผสมข้ามไปพวก เชิพเพรดอื่นที่มีความสามารถเหมือนกันหรือ
คือสงสัยว่า หากเน้นที่เรื่องใช้งานก็ไม่น่าจำกัดที่สายพันธุ์รึปล่าว หากเจอสุนัขฉลาด โครงสร้างบึกบึน แต่ไม่ใช่GSD เช่น malinoi หรือ Australian sheep dog อะไรแบบนั้น
คือบรรพบุรุษเค้าก้อ เริ่มจากข้ามพันธุ์ไปมาเพื่อให้ได้สุนัขที่ตรงตามความต้องการใช้งาน ปัจจุบันยังทำกันอยู่หรือป่าวไม่ทราบ
โดย: nong [18 พ.ย. 49 9:52] ( IP A:80.192.14.245 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ผมเห็นเค้านิยมผสมข้ามเพศกันนะครับ

คือถ้าพ่อพันธุ์เป็นเพศผู้ เค้าก็นิยมนำพ่อพันธุ์ไปผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นเพศเมีย

บางทีก็ใช้พ่อพันธุ์เป็นเพศเมีย ผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นเพศผู้ก็มี
โดย: ตาเฉิ่ม (The Expert) (ตาเฉิ่ม ) [18 พ.ย. 49 13:39] ( IP A:58.64.106.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   การพัฒนาพันธุ์ ของ GSD ได้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์มาเกือบร้อยปีแล้ว คือ เป็นหมาสำหรับใช้ทำงานอเนกประสงค์ ที่สามารถทำงานได้เกือบทุกอบ่าง(ที่ต้องการให้หมาทำ)

เพราะได้พัฒนาพันธุ์ จนมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ทั้งคุณสมบัติภายนอก คือ รูปร่างหน้าตา สีสัน โครงสร้างร่างกาย และคุณสมบัติภายใน คือนิสัยใจคอ จิตประสาท ความกล้าหาญในการต่อสู้ ความสามารถในการเรียนรู้ ฯลฯ

GSD ถือว่าเป็นหมาใช้งานสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่มีขึ้นในโลกนี้ นับแต่วันที่จดทะเบียนสายพันธุ์ เมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นต้นมา

สิ่งสำคัญ คือ การเพาะพันธุ์ และพัฒนาพันธุ์ GSD รุ่นต่อมาเพื่อ สืบทอดคุณสมบัติของ GSD ที่แท้จริง ให้ดำรงไว้ เหมือนต้นสายพันธุ์ต่างหาก

หมาใช้งานแต่ละสายพันธุ์ มักได้รับการพัฒนาพันธุ์ขึ้นมา โดยเน้นวัตถุประสงค์ในการใช้งานเฉพาะด้านเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่เน้นให้เป็นหมาใช้งานอเนกประสงค์อย่าง GSD เช่น Belgian Malinois สำหรับใช้ในงานสงคราม ส่วน Australian Shepherd สำหรับใช้ในการต้อนแกะ เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาแต่ละสายพันธุ์ จะพยายามรักษาสัญชาติญาณฝังลึกในสายเลือดที่เอื้อต่อการนำไปใช้งานแต่ละประเภทโดยตรง ทำให้หมาคงคุณสมบัติพิเศษนั้นไว้ได้มากที่สุด

การผสมข้ามพันธุ์ จะไม่สามารถคาดเดาคุณสมบัติของลูกหมาที่จะออกมาได้ เพราะเท่ากับเป็นการสร้างสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งหมาที่นำมาจดทะเบียนสายพันธุ์ใหม่ทุกพันธุ์ ต้องผ่านขั้นตอนการผสมข้ามสายพันธุ์นั้นมาแล้ว โดยมีการค้นคว้า เก็บข้อมูล วางแผนการผสมพันธุ์ อย่างละเอียดรอบคอบเป็นเวลาต่อเนื่อง ยาวนาน บางสายพันธุ์ใช้เวลาพัฒนาถึง 5-60 ปี จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ และนิ่งพอ ที่จะกำหนดมาตรฐานสายพันธุ์ให้แน่นอนได้แล้ว

ปัจจุบัน มีการนำหมาต่างสายพันธุ์มาผสมกัน เช่น GSD ผสมกับ Malinois เพื่อต้องการแก้ไขข้อด้อยและเสริมข้อเด่น สำหรับหมาเฉพาะกลุ่มที่ต้องการนำไปใช้ทำงาน ลูกหมาที่ได้มา หากผ่านการคัดเลือกเข้าฝึกทำงาน ก็ไม่มีการนำไปผสมพันธุ์ต่อไปอีก เพราะยังไม่นิ่งพอจะสืบสายพันธุ์ต่อไป

โดย: ป้าวิ [18 พ.ย. 49 20:35] ( IP A:125.24.131.117 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน