ลักษณะสำคัญ 5 ประการ ที่ใช้ในการประกวดสุนัข
    Type รูปแบบ ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นลักษณะโดยทั่วไปที่เป็นเอกลักษณ์ และทำให้แยกจากพันธุ์อื่นๆ ได้ในสุนัขแต่ละพันธุ์ (หรือแต่ละ Type) ลักษณะ Type ที่ดีหรือถูกต้อง สุนัขตัวนั้นจะต้องแสดงลักษณะดังกล่าวอย่างเด่นชัด สุนัขแต่ละพันธุ์จะมี Type ที่ถูกต้องเป็นลักษณะเดียวกัน โดยพื้นฐานแล้วสุนัขพันธุ์เดียวกันจะมี Type เดียวกัน แต่ตัวทีมีลักษณะใกล้เคียงกับมาตรฐานมากกว่า คือตัวที่มี Type ถูกต้องกว่า

Balance ความสมดุล คือค่ารวมของส่วนประกอบต่างๆ เช่น อัตราส่วนต่าง ๆ ที่กลมกลืน ถูกต้อง ความยาว : ความสูงที่ถูกต้อง อัตราส่วน ความยาวของคอกับลำตัว อัตราส่วนต่างของข้อต่อศรีษะ ความกว้าง+ลึก ของกะโหลกเมื่อเทียบกับมาตราฐาน

Style คือ การแสดงออกของสุนัขแต่ละตัวเป็นผลจากความสมดุล ความสง่างาม บุคคลิก และการแสดงออกของสุนัขตัวนั้น สุนัขที่มี Style ดีจะแสดงอาการตื่นตัว และความสง่างาม ทำให้เกิดความประทับใจกับผู้พบเห็น

Soundness ลักษณะปลอดจากความไม่สามารถในการเคลื่อนไหว เป็นการอธิบายลักษณะ ในการเคลื่อนไหวของสุนัข คือ สุนัขที่มีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง ตามที่พันธุ์ต้องการ

Condition สภาพความสมบูรณ์ของสุนัขในวันนั้น Top condition ได้แก่สุนัขที่มีความสมบูรณ์พอดี ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป สุขภาพดี ดวงตาสดใส ขนขึ้นเต็ม และมีสภาพสมบูรณ์แสดงถึงสุขภาพที่ดี
โดย: frontier [20 ก.พ. 50 20:45] ( IP A:203.144.187.18 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    สุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด โดยทั่วไปมีความแข็งแรง ว่องไว และตื่นตัว มีความกระปรี้กระเปร่าอยู่เป็นนิจ เป็นสัตว์ที่มีกล้ามเนื้อได้สัดส่วนกลมกลืนทั่วทั้งตัว กล้ามเนื้อแน่นหนา และขนมัน โดยเฉพาะความสมดุลย์ในระหว่างส่วนหน้ากับส่วนท้ายจะปรากฎความสมรูปอย่างเด่นชัด สภาพการมองผาดๆ จะรู้สึกว่าส่วนยาวมากกว่าส่วนสูง มีความเคลื่อนไหวที่แคล่วคล่องว่องไวไม่อืดอาด
บุคคลิกที่ดีเด่น คือความสง่า จิตใตปราศจากความขลาดกลัว แต่ไม่ถึงกับการแสดงออกเป็นศัตรูต่อคนและสัตว์อื่น เป็นสุนัขที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง แม้แยกอยู่โดดเดี่ยว ก็จะไม่หวั่นเกรงต่อสภาพแวดล้อม
ลักษณะทางเพศ แสดงออกให้เห็นความแตกต่างในระหว่างเพศผู้และเพศเมียอย่างเด่นชัด
ลักษณะขน มีขนสองชั้นสำหรับความหนาแน่ของขนชั้นใน จะมีความแตกต่างตามสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ร่างกายก็จะปรับตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ขนชั้นนอกควรจะหนาและค่อนข้างหยาบ เหยียดตรงราบแนบลำตัว ถ้าหยิกงอเป็นก้นหอยเล็กน้อย จะไม่ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง ขนสั้นจะปรากฎที่หัว หู หน้า ขาและอุ้งเท้า บริเวณคอจะมีขนยาวแน่นหนา ด้านหลังขาขนคลุมถึงตาตุ่มหรืออาจถึงข้อน่องแหลม สำหรับข้อบกพร่องเกี่ยวกับขน คือ ขาดขนชั้นในบางส่วน ขนชั้นนอกอ่อนนุ่มคล้ายไหม และยาวเกินสมควร หรือหยิกหยองกลับทาง และขนเป็นพู่พวงที่หูและตามข้อขา
ขนชั้นนอกแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ลักษณะสั้น ลักษณะปานกลาง ลัษณะยาว ซึ่งความสั้นและยาวนี้ไม่เกินกว่าปกติทั่วไป นับว่าใช้ได้ไม่เป็นข้อบกพร่อง
ลักษณะโครงสร้าง จะวิ่งเรียบและเบา ลักษณะการวิ่งเรียบดูคล้ายกับไม่ต้องออกแรง ช่วงก้าวยาวสม่ำเสมอ ส่วนดีของการวิ่งขึ้นอยู่กับความสมส่วนของร่างกาย หลังและกล้ามเนื้อแน่นการทำมุมช่วงขาหน้าและหลังถูกส่วน โดยแรงส่งจากขาหลังจะเป็นพลังผลักไปข้างหน้า ความสัมพันธ์กับจังหวะก้าวยาวของขาหน้า ที่สอดคล้องในช่วงก้าวรวมทั้งสัดส่วนอันเป็นองค์ประกอบด้วย สันตะโพกแข็งแรง บั้นท้ายมีความยาวและมุมที่พอเหมาะ ตลอดจนท่อนหลังที่ทำหน้าที่ในการทรงตัว จะเป็นส่วนสนับสนุนในการเคลื่อนไหวอย่างดี
ลักษณะสัดส่วน ส่วนสัมพันธ์ของร่างกาย จะแตกต่างกันเล็กน้อยตามเพศ แต่ทั่วๆ ไป จะมีความยาวมากกว่าความสูง ซึ่งสัดส่วนที่พอเหมาะคือ ความยาวต่อความสูง เท่ากับ 10/9 สำหรับการวัดความยาว ให้วัดในท่าสุนัขยืนตัวตรงตามธรรมชาติ ความยาวตามเส้นระดับ จากจุดกระดูกทรวงอกถึงปลายกระดูกเชิงกรานหรือที่เรียกว่ากระดูกก้นกบ
ลักษณะของหัว มีขนาดได้ส่วนกับลำตัวไม่เทอะทะ หรือเล็กผิดรูป สันฐานของหัวรัดกุมแข็งแรง ส่วนจมูกยาวแข็งแรง ริมฝีปากยึดติดแนบโครงของปากหนาได้รูป ส่วนปลายไม่เรียวแหลม สันจมูกขนานตรงไม่แอ่นลงแต่อาจนูนได้เล็กน้อย เมื่อมองด้านหน้าจะเห็นว่าหน้าผากโค้งลงมาเล็กน้อย แสดงถึงกะโหลกมีลาดลงทางข้างคล้ายตามความโค้งของจมูกซึ่งมีลักษณะคล้ายปลายลิ่ม ขากรรไกรแข็งแรง สำหรับข้อบกพร่องของหัว คือหัวกลม หัวบางเกินไป ปากแหลม ขากรรไกรล่างแคบและอ่อนแอ เนื้อจมูกขยับขึ้นลงบ่อยๆ เป็นนิสัย
ลักษณะของนัยน์ตา ควรจะมีขนาดปานกลาง ทรงสันฐาน คล้ายผลอัลมอนด์ ฝังในเบ้าตาในลักษณะเฉียงเล็กน้อย และไม่ถลนออกมา สีของตาควรเข้มใกล้ดำ ส่วนสีนัยน์ตาจางอ่อนเห็นเด่นชัดแต่ยังกลมกลืนกับสีขน ไม่ถือวาเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ในสากลที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สีน้ำตาลแก่เข้ม แสดงถึงความเฉลียวฉลาดและเงียบขรึม
สำหรับลักษณะรายละเอียดส่วนอื่น ยังมีอีกครับ เอาไว้ผมจะมาเพิ่มเติมอีกครับ
โดย: frontier [20 ก.พ. 50 21:45] ( IP A:203.144.187.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   
สวัสดีครับ คุณ frontier

ผมขออนุญาติอธิบายเพิ่มเติม อีกสักนิดหนึ่งครับ พอดีเห็นคุณ frontier พูดถึงลักษณะ 5 ประการที่ใช้การประกวด

Type รูปแบบ ลักษณะประจำพันธุ์ สำหรับผู้ที่เคยนำสุนัขลงประกวดเฉพาะพันธุ์ German Shepherd ที่ ประกวดในประเทศไทย ผมคงไม่ออกความเห็นใดๆมากนัก เพราะการประกวดในบ้านเรา กรรมการที่ทำการตัดสิน เท่าที่ผมเคยเห็น ก็ยึดหลัก TYPE แบบ German โดยส่วนใหญ่จะเห็นสุนัขที่มีลักษณะหลังโค้ง Roach back เป็นหลักๆที่เข้าการประกวด ส่วนกรรมการจะพิจารณาตัวไหนก็คงมีเหตุผลอื่นๆมาประกอบที่ใช้ในการตัดสิน แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นแล้วรู้สึกเสมอสำหรับผมนะครับ คือการใช้ผู้ล่อ Double handling ผมดูแล้วบางครั้งก็สับสน สงสารทั้งผู้ล่อและสุนัข ครับ ถ้าสุนัขมันไม่มี power ในการขับเคลื่อน ที่จะวิ่งไปพร้อมกับ Handler ให้กรรมการได้พิจารณา Movement แล้วต้องเอาลูกบอลสารพัด ให้ผู้ช่วยวิ่งตามข้างๆสนามเรียกชื่อสุนัขกันให้ สุนัขเกิดความสนใจ ตื่นตัว ผมว่าเราควรทำถ้วยรางวัลให้กรรมการตัดสิน Best of double handling ไปด้วยเลย ดูจะช่วยสร้างสีสรรกับงานและเป็นรางวัลผู้ที่มีส่วนผลักดันให้สุนัขตัวนั้นวิ่งได้ 555

ที่กล่าวมาข้างต้น ก็อย่างที่บอกครับ กรรมการนอกจากต้องมีความรู้ความเข้าใจใน Standard ของ Breed ที่ตนเองตัดสินแล้ว ผมเชื่อว่ากรรมการยังมีเหตุผลอื่นๆที่ใช้ในการพิจารณา ตามคุณลักษณะ 5 ประการที่คุณ frontier นำมาลงให้เพื่อนๆได้รับทราบแต่ที่สำคัญต้องมีเหตุผลและความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ที่จะตอบตนเองและผู้ที่ให้เกียรตินำสุนัขมาลงประกวดเพราะเชื่อในเกียรติของกรรมการที่สมาคมฯให้เขาเป็นผู้ตัดสิน ฉะนั้นกรรมการที่ดี จะต้องตัดสินจากความเป็นจริงของสุนัขที่เห็นวันและเวลาวินาทีนั้นที่สุนัขเข้าประกวด ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะจดจำชื่อสุนัขและผู้จูงรวมทั้งรางวัลต่างๆที่มันเคยได้รับ เพระนั่นเป็นความหายนะของกรรมการเอง

สำหรับเรื่อง TYPE เป็นเรื่องใหญ่ครับคุณ frontier ในความเห็นของผม ที่เคยเลี้ยงสุนัขใน Breed อื่น แล้วต้องนำสุนัขลงประกวดกับกรรมการที่มาจากคนละทวีป แน่นอนครับ ปัญหาที่ต้องเจอ เราต้องคิดว่ากรรมการมาจากแถบนี้ TYPE แบบไหนที่เขายึดเป็นหลัก เพราะ แม้แต่กรรมการก็ยังมีลักษณะชอบสุนัขที่มี TYPE ที่ไม่เหมือนกันครับ
สำหรับ สุนัข German Shepherd ในประเทศเยอรมันเองก็ยังมี TYPE ที่แตกต่างกันครับ ทั้งแบบสวยงามและแบบใช้งาน ขึ้นอยู่กับคุณจะประกวดแบบไหน แต่ทั้งสองแบบก็มีหลักเกณฑ์อื่นๆ การทำตามคำสั่ง การถ่ายทอดมาร่วมใช้ในการพิจารณาอยู่แล้ว ( ผมดูและอ่านเอาจากหนังสือครับไม่เคยไปเยอรมัน )

สำหรับในบ้านเรา เท่าที่ผมได้รับทราบ มีบางท่านที่นำสุนัขในสายใช้งานมาประกวดในสายสวยงาม ผมนับถือครับทั้งๆที่รู้ว่าเป็นการยากที่กรรมการคนไทย จะให้รางวัลในสุนัข TYPE แบบนี้ ผมเชื่อว่าเขาเอาไปลงสนุกๆเพื่อให้ท่านอื่นๆได้เห็นสุนัขในรูปแบบนี้และป็นการช่วยผู้จัดการประกวดให้มีสุนัขมากขึ้นครับ ....นับถือ
สิ่งที่อยากบอกในเรื่อง TYPE คือทุกๆ TYPE ( ทั้ง 6 TYPE ถ้าจำไม่ผิด) ของสุนัขพันธุ์ German Shepherd จากทั่วทุกมุมโลก ต่างก็ถูกออกแบบและปรับปรุงแก้ไข ไปตามวัตถุประสงค์ของประเทศในแถบนั้นๆครับ มันเป็นการยากครับที่ประเทศต้นแบบอย่างเยอรมัน ที่เป็นชนชาติยุโรป ลักษณะชนชาตินิยม จะรับว่ารูปแบบของคนอื่นจะใกล้เคียงหรือเทียบเท่าของตน ทั้งๆที่สุนัขใน Breed อื่นๆก็เริ่มยอมรับกันบ้างแล้ว

เอาเป็นว่าทั้งนี้ทั้งนั้น ก็สุดแล้วแต่เพื่อนๆจะพิจารณาครับ แต่ในบ้านเรา สุนัขพันธุ์ German Shepherd ผมชอบ TYPE - GERMAN ครับ

แต่ใน Breed อื่นๆ ที่ไม่ใช่ เยอรมัน เช็พเพอด ถ้าเพื่อนๆได้มีโอกาสดู VDO การประกวดสุนัข ไม่ว่างาน Craft ที่ยิ่งใหญ่ของโซนยุโรป ลองไปเปรียบเทียบกับงาน Eukanuba หรืองาน Westminster ของอเมริกา คุณจะเห็นเลยครับว้า คุณลักษณะทั้ง 5 ประการที่คุณ frontier เอามาลงนั้น แค่ Condition ข้อสุดท้ายที่กรรมการนำมาพิจารณา รับรองว่าคุณมีคำตอบในใจครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดเพราะคุณ frontier พูดถึงหลักที่ใช้ในการประกวดทั้ง 5ประการ ผมเห็นว่า TYPE เป็นเรื่องใหญ่สุด เพราะ มันเป็นตัวกำหนด โครงสร้างที่ได้สัดส่วน (Strutural Soundness) ความสมดุล (Balance) และการเคลื่อนไหว (Soundness) หรือ Movement ที่เราชาวเช็พเพอดชอบพูดกัน... สาด...555

ขอจบเท่านนี้นะครับ ภรรยาตามให้ไปส่งลูกๆแล้วครับ BYE BYE




โดย: somchai [21 ก.พ. 50 8:13] ( IP A:202.139.223.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ขอบคุณครับ คุณ somchai ที่อธิบายเพิ่มเติม.....ผมขอมาต่อในลักษณะส่วนอื่นๆ คงประมาณว่าเป็นหลายตอนหน่อยนะครับ
ลักษณะฟัน ฟันแท้ของสุนัขมีทั้งสิ้น 42 ซี่ เป็นฟันบน 20 ซี่ ฟันล่าง 22 ซี่ เมื่อสุนัขกัดฟัด ฟันหน้าควรแนบสนิท โดยฟันด้านในของฟันหน้าบนจะสัมผัสกับขอบฟันด้านนอกของฟันหน้าล่าง หรือที่เรียกว่าฟันสบแบบกรรไกร
ลักษณะคอ คอของสุนัขเยอรมันเช็พเพอด ต้องแข็งแรงเต็มไปด้วยมัดกล้าม มีความยาวใหญ่ได้สัดส่วนสัมพันธ์กับลำตัว และศรีษะปราศจากเหนียงหย่อนยาน เมื่อสุนัขสนใจศรีษะจะตั้งคอจะชันขึ้น โดยศรีษะจะอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างยื่นไปข้างหน้า และอยู่ในแนวสูงกว่าตอนบนของหัวไหล่เล็กน้อย
ลักษณะลำตัว โครงสร้างทั้งหมดแสดงออกมาในทางแน่นหนา และสมรูป ไม่ใหญ่โตเทอะทะ หรือผอมเกร็ง ความแน่น ประกอบความกลมกลืนที่ได้ส่วนนี้ จะใหความรู้สึกที่ว่าเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวและกำลังปะทะรุนแรง หน้าอก เป็นส่วนที่เริ่มต้นจากกระดูกทรวงอก ควรเต็มได้รูปในระหว่างขาทั้งสอง ไม่ปรากฏช่องตรงกลางเด่นชัดในความพอดี ทรวงอก มีความกว้างและลึกพอเหมาะกับอวัยวะภายใน วางได้รูปสัมพันธ์กับส่วนท้องและกระดูกทรวงอก แสดงให้ช่วงหัวไหล่ปรากฏเด่นชัดในความพอดี ซีโครง ลักษณะยาวลดหลั่น พอเหมาะ มีความยืดหยุ่นดี ไม่เป็นลำหรือแบน โครงสร้างกระดูกซี่โครงเป็นวงรีเล็กน้อย จะทำให้ข้อศอกเคลื่อนไหวสะดวก อันแสดงถึงการวิ่งเรียบจะเที่ยงก้าวยาว ถ้ากระดูกซี่โครงกลมเกินไปจะขัดต่อช่องแกว่งของขาหน้าในเวลาวิ่ง โดยจะก้าวสั้นและปลายขาถ่าง ช่องท้อง จะดูแน่นไม่หย่อนยาน แม้ว่าจากลำตัวถึงช่องท้อง จะเรียวเล็กน้อยก็ตามแต่จะไม่ถึงคับคอด
ลักษณะของขา กระดูกขาตั้งตรง ลำกระดูกเป็นรูปไข่ ข้อเท้า มีความยาวปานกลาง แข็งแรง มุมของข้อเท้าตั้งตรงหรือแบใกล้ราบเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ข้อน่องแหลมต้องสั้น เท้า ส่วนของเท้าควรสั้นและยึดแน่น นิ้วเท้างอได้ลักษณะพอดี ไม่กระเดิดและชิดกัน ฝ่าเท้าหนาเล็บสั้น ให้ความเหมาะสมต่อการมีพลังเกาะพื้น
ลักษณะสี สีของเยอรมันเช็พเพอดมีหลายแบบ และแต่ละแบบต่างเป็นที่ยอมรับ ส่วนความนิยมคือสีเข้ม ความแซมของสีที่ปรากฏเป็นลวดลายจะมีความนิยมและยอมรับเฉพาะที่เป็นแบบฉบับ
จังหวะการย่างก้าว มีความราบเรียบ และนิ่มนวลด้วยการย่างก้าวท้งขาหน้าและขาหลังสม่ำเสมอ ประกอบมีความสัมพันธ์สอดคล้องในระหว่างเท้าทั้งสี่และส่วนหลังอย่างกลมกลืน การยกเท้าทั้งสี่นั้นจะสูงขึ้นเล็กน้อย แล้วลงแตะพื้นเพื่อถีบตัวไปข้างหน้าด้วยแรงที่ได้จังหวะกับการส่งตัว การส่งตัว อาศัยกำลังจากช่วงขาหลังตลอดทั้งช่วงหลังผลักไปข้างหน้า จนรอยเท้าหลังล้ำรอยเท้าหน้า ทั้งนี้โดยอาศัยการทำงานของขาหลังที่แข็งแรง ข้อน่องหลังและข้อสะโพกรวมเข้าด้วยในการส่งตัวโดยสม่ำเสมอกันการลงเท้าของขาหลัง อาจจะเท้าหนึ่งเหยียบลงในแนวในของแนวเท้าหน้า และอีกเท้าหนึ่งเหยียบลงในแนวนอกของแนวเท้าหน้า รวมทั้งแนวตัวจะเอียงเล็กน้อยไปด้วยก็ไม่เป็นข้อบกพร่อง ความราบเรียบและความเบาที่เกิดขึ้นในขณะย่างก้าว เป็นเพราะสุนัขมีความแข็งแรงและอวัยวะต่างๆ อันได้แก่ ตะโพก ช่วงขาหลังและตะโหงก มีความตึงตัวดี ดังนั้นในขณะที่วิ่งเรียบสภาพของลำตัวจึงปราศจากการแกว่งการสบัด หรือเป็นลูกคลื่น ด้วยการทำงานที่ดีของช่วงขาหลัง ถ้าส่วนหน้าไม่ตาม ความสอดคล้องซึ่งกันและกันจะไม่เกิดขึ้น เป็นต้นว่าช่วงไหล่ควรจะยืดได้เต็มที่ถ้ามีการทำมุมที่ดี ถ้าช่วงไหล่ลึกจมลงไปการส่งตัวไปข้างหน้ามีลักษณะคล้ายสะดุด และที่เป็นข้อบกพร่องรุนแรงคือสุนัขเคลื่อนไหวไปข้างหน้าแล้วส่วนหน้าต่ำเกินไปจนทำให้แนวสันหลังที่ตะโหงกต่ำกว่าตะโพก และข้อสำคัญอีกอย่างคือ หัวเข่าและหัวไหล่ไม่ควรแกว่งออกทางข้าง ในขณะเคลื่อนไหว การที่จะพิจารณาการย่างก้าวก็ดูจากด้านข้างว่ามีความกลมกลืนซึ่งกันและกันมากเพียงใด จะเป็นข้อตัดสินสำคัญ ส่วนการพิจารณาด้านหลัง ก็เป็นองค์ประกอมรวมด้วย
อุปนิสัย สุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดมีอุปนิสัยเป็นมิตรต่อผู้คุ้นเคยหรือได้รู้จักใหม่ และประจบประแจงต่อผู้ที่มันสนใจจะเป็นมิตร รวมทั้งให้ความไว้วางใจต่อมิตรของมัน การเคลื่อนไหวกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว ว่องไว และตื่นตัวอยู่เป็นนิจ ต้องไม่ขี้อายไม่ขี้ขลาด เป็นสัตว์ที่ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์รอบตัว โดยจะวางตัวเฉยขรึม แต่สนใจและระแวงตัวในที มีความซื่อตรง ภักดีต่อเจ้าของ ถ้าเป็นลักษณะที่ขาดความสนใจ ประสาทผิดปกติมีความขลาดกลัว เป็นลักษณะบกพร่องรุนแรง
คคห.ที่ 1 และ คคห.ที่ 3 ก็เป็นแค่โดยรวม ของ ลักษณะมาตรฐานของสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด คราวต่อไปผมจะมาเขียนให้อ่านถึงลักษณะเสียที่เป็นข้อบกพร่องต่างๆ ที่ไม่ได้ตามมาตรฐานของสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด....ผมเพียงแต่หวังว่าจะได้เผยแพร่เป็นความรู้ และคงจะไม่เบื่ออ่านกันก่อนนะครับ....

โดย: frontier [22 ก.พ. 50 13:17] ( IP A:203.144.187.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ
โดย: ป้าวิ [22 ก.พ. 50 15:17] ( IP A:125.26.20.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   
ช่วยๆกันเสริมข้อมูลครับคุณ frontier

เห็นคุณ frontier คัดลอกจากวารสารเช็พเพอดมาให้พวกเราๆได้มีโอกาสกลับมาทบทวนในพื้นฐานเบื้องต้นของการศึกษามาตราฐานพันธุ์ German Shepherd นับว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ เพราะการให้ความเห็นหรือการพิจารณาสุนัข ต้องอาศัย มาตราฐานของสายพันธุ์เป็นหลักครับ ในการพิจารณาเสมอ และต้องใช้ทุกครั้งดวยครับ

ในส่วนที่ผมขอร่วมแจมความคิดเห็นเพิ่มเติมนั้น ผมขออนุญาตินำเสนอร่วมเสริมให้พิจารณาหลังจากอ่านมาตราฐานของสายพันธุ์แล้วใน บางมุม สนุกๆ จากประสบการณ์ของผม ก็ขอย้ำอีกครั้งว่ามุมมองที่ผมนำเสนอนั้น อาจมิใช่เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไปนะครับ เพราะเป็นมุมมองจากความคิดเห็นเท่านั้น เพียงแต้องการนำเสนอในมุมมองที่นอกเหนือจากในตำรา เพราะผมคิดเสอว่า

" Knowlege must come with experiences and learning ! "

รอให้ท่านผู้รู้ ผู้อาวุโสทั้งหลายมาเสริมความคิดเห็นให้ข้อมูลที่ถูกต้องกันต่อไปนะครับ สำหรับความเห็นผม อ่านสนุกๆไปครับ

ผมใคร่ขอยกตัวอย่างสักเรื่องนะครับ เรื่องของลักษณะขน ที่คุณfrontier ได้กล่าวมาในข้างต้น ขนสุนัขมีสองชั้น ผมเชื่อเหลือเกินครับสำหรับมือใหม่ คงจะความหาขนชั้นสองที่ในสุนัขของตนเองแล้วแยกไม่ออก ว่าอันไหนคือของชั้นสอง ไม่ต้องเสียเวลาครับ โดยเฉพาะสุนัขที่เกิดในไทย ( จะมีก็ตอนเล็กๆนั้นแหละ ) ถ้าบางท่านสังเกตุดีๆในสุนัขพันธุ์อื่นๆด้วย เวลาที่เขาเขียนสุนัขในมาตราฐานของสายพันธุ์เกือบทุกพันธุ์ก็มีขนสองชั้นทั้งนั้นแหละครับ

แม้สุนัขกลุ่มพันธุ์ขนสั้นที่ผมเคยมีโอกาสได้เลี้ยงสุนัขที่นำเข้าจากต่างประเทศ มาใหม่ๆขนชั้นสองก็ยังอยู่ครับ เพียงแค่ 2 - 3 เดือนไม่เกินนั้นสักตัว เจออากาศบ้านเรา ขนชั้นที่ว่าหายหมด 555

ผมถึงบอกว่า บางท่าน หาเท่าไหร่ก็หาขนชั้นที่ว่าไม่เจอหรอกครับ มันเป็นขนอ่อนๆนุ่มจริงๆ ก็คงต้องเชื่อคำโบราณที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ หนึ่งมือคลำไม่เท่า ...... ( เติมเอาเอง ) 5555

เรื่องฟันดูรูปเอาเองครับ เพื่อน ๆ แต่ถ้าเรื่อง fun fun ขอไปด้วยครับ ...จบสำหรับวันนี้ครับ

โดย: somchai [23 ก.พ. 50 9:36] ( IP A:202.139.223.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ส่วนต่างๆ ของโครงสร้าง หน้าที่ของส่วนต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนท้ายทำหน้าที่เป็นพลังในการเคลื่อนไหวหลังจะรับกำลังส่งต่อไปยังส่วนหน้า ถ้าสุนัขที่มีลำตัวยาว ก็จะทำให้มุมต่างๆ ของโครงสร้างไม่ถูกต้อง ถ้าเราต้องการได้สุนัขที่ดีสำหรับสุนัขใช้งาน สุนัขนั้นก็ต้องมีกล้ามเนื้อที่ยาว และมีกระดูกขายาวได้สัดส่วน จึงจะสามารถกระโดดได้สูง สัดส่วนของสุนัขก็แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหน้า, ส่วนกลาง, ส่วนท้าย
ส่วนหน้า ประกอบด้วย แผ่นไหล่, ท่อนขาตอนบน, ท่อนขาตอนล่าง, ข้อเท้ากระดูกนิ้ว ส่วนกระดูกที่ต่อกันก็มี = กระดูกไหล่, กระดูกข้อศอก และกระดูกข้อเท้า
แผ่นไหล่ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อแลเส้นเอ็นต่าง ๆ ที่ยึดกันไว้แน่น ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นที่ตั้งรับของลำคอและโหนกคออีกด้วย ท่อนขาตอนบน ต้องยาวและตั้งเฉียง เพื่อที่จะรีบแผงไหล่ไว้ด้วยดี ส่วนนี้ติดกันตรงที่ไหล่มุมระหว่างแผ่นไหล่และขาส่วนบนที่ถูกต้องควรเป็น 90 องศา เพราะถ้าได้มุมแบบนี้ จะทำให้เท้าทั้งคู่ข้างหน้าตั้งได้สัดส่วนพอดี ท่อนขาตอนล่าง จะต้องตรง การผูกพันระหว่างขาส่วนบนและล่างนี้ ต่อกันไว้ที่ข้อต่อ ข้อศอก ดังนั้นจึงต้องแข็งแรง ข้อศอกหน้าของสุนัขจะต้องไม่เป็นร่องหรือเป็นปุ่มใหญ่ยื่นออกมา ไม่ว่าสุนัขจะยืนหรือเคลื่อนไหว ข้อล่างขาหน้า ข้อล่างติดต่อลงมากับอุ้งเท้าล่างจะต้องมีมุมประมาณ 20-22 องศา ถ้าหากข้อล่างยาวและติดกับขาตอนล่างเป็นมุมใหญ่แล้ว จะทำให้สุนัขเหนื่อยเร็วกว่าปกติ เมื่อสุนัขปฏิบัติงาน ถ้าหากข้อล่างชันและเป็นมุมแคบ การเหยียบย่างของสุนัขจะไม่มั่นคง สิ่งนี้จะทำให้ถ่วงกำลังร่างกายของสุนัขมาก และจะปฏิบัติงานได้ไม่ดี อุ้งเท้า ต้องสั้นและแน่นไม่แผ่ (คล้ายอุ้งเท้าแมว) เพื่อที่จะเลี่ยงอันตราย จากการได้รับบาดแผลต่างๆ ได้ง่าย เล็บจะต้องแข็งแรงและมีสีเข้ม เล็บสีอ่อนแสดงว่า Pigment สุนัขอ่อนไปด้วย นิ้วเท้า ต้องเรียบและแข็งแรง

โดย: frontier [25 ก.พ. 50 11:12] ( IP A:203.144.187.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการลงประกวดเชพเพอดก็คือ

ต้องมีหมา และต้องเป็นเชพเพอดด้วยนะครับ
โดย: ตาเฉิ่ม (The Expert) (ตาเฉิ่ม ) [25 ก.พ. 50 14:50] ( IP A:58.9.175.28 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   อย่างในกระทู้งานเกษตรแฟร์ แม่ไอ้กัสเอาพ่อไอ้กัสลงแข่ง อกิลิตี้ ทำเวลาได้ค่อนข้างดี แต่ปรากฏว่าโดนปรับตกรอบ เหนื่อยฟรีไป
โดย: ตาเฉิ่ม (The Expert) (ตาเฉิ่ม ) [25 ก.พ. 50 14:51] ( IP A:58.9.175.28 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    หน้าที่ของส่วนหน้า คือรับกำลังส่งต่อจากส่วนท้ายและเป็นที่รองรับน้ำหนักของหลังสุนัขเพื่อที่จะเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ดังนั้นข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อไหล่ ข้อศอก และข้อเท้าหน้าจะต้องแข็งแรง ยึดมั่นไปด้วยเอ็นต่างๆ และกล้ามเนื้อที่ระหว่างข้อต่อต้องแข็งแรง พอที่จะสามารถรับน้ำหนักของลำตัวสุนัขได้ ถ้ามุมส่วนหน้าชันเกินไป จุดศูนย์ถ่วงของน้ำหนัก จะมาอยู่ตรงข้างหน้ามากและการก้าวย่างจะสั้น นอกจากนี้ถ้าหากขาตอนบน ตั้งตรงแล้วข้อศอกทั้งสองของสุนัขจะไม่มีมุม
คอ จะต้องมีความยาวพอควรพอที่หัวจะสามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก เช่นการก้มลงสะกดรอย หัวและคอของสุนัขเมื่อเคลื่อนไหวจะค่อนข้างพุ่งไปข้างหน้าและในขณะยืน คอจะตั้ง ส่วนสุนัขที่ยืนคอตกตลอดเวลาเป็นเช่นนั้นก็เพราะมุมส่วนหน้าของสุนัขไม่ดีพอ
หน้าอก ส่วนลึกของหน้าอก (จากโหนกคอ) ต้องสูงไม่เกินกว่าครึ่ง ของความสูงของสุนัข 45-47 % เป็นขนาดที่พอเหมาะ จะทำให้อวัยวะภายในมีที่บรรจุได้พอดี และยังทำให้กระดูกขายาวพอเหมาะที่จะเดินหรือวิ่งพอดี ข้อควรตระหนักก็คือ เมื่อ สุนัขยังเล็กแล้วการพัฒนาส่วนอกก็จะยังไม่มี
สุนัขที่มีอกกว้างมาก = ข้อศอกจะกางออกมาก ปลายเท้ายืนชิดกัน สุนัขที่มีอกเล็กมาก = ไม่มีส่วนลึกของอกเลย ข้อศอกชิดเข้าหากัน ปลายเท้ายืนแยกจากกัน ถ้าหากสุนัขทีมีหน้าอกดีและถูกต้อง ข้อศอกทั้งสองข้างจะห่างกันในระยะที่สวยงามพอดี
ส่วนหลัง หลังเหมือนสะพานที่เชื่อมส่วนหน้าและส่วนท้ายเข้าด้วยกัน โหนกคอเป็นส่วนหน้าสุดของหลัง มันจะต้องสูงและบางพอควรเพื่อที่จะเป็นที่รองรับของกล้ามเนื้อหลังและไหล่ได้เพียงพอ โหนกที่สูงยาวและส่วนหน้าอกที่ดีจะทำให้แผ่นไหล่กว้าง และวางเฉียงเป็นมุมที่ถูกต้อง จะทำให้การก้าวย่างดีที่สุด จากโหนกคอก็เป็นหลังที่แท้และส่วนของกระดูกช่วงเอว ส่วนเหล่านั้นต้องสั้นและแน่น เพราะส่วนนี้จะทำให้ รับน้ำหนักของส่วนหลังซึ่งมาจากส่วนหน้าได้ดี
ถ้าหากหลังของสุนัข หรือ ช่วงตัว ยาวไป ส่วนมุมไหล่จะสูงขึ้นและก้นกบจะสั้น ถ้ากระดูกช่วงเอวโค้ง กำลังจากส่วนหลังถึงข้างบนจะไม่มี สุนัขที่หลังแอ่น การรับน้ำหนักจากส่วนข้างท้ายจะรับไม่ได้มาก และสุนัขจะมีน้ำหนักไปอยู่ข้างหน้าหมด ถ้าหลังสุนัขสั้นมาก ตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม จะทำให้สุนัขต้องเดินเหมือนควบ การก้าวแต่ละครั้งไม่สม่ำเสมอ จะทำให้สุนัขปฏิบัติงานได้ไม่นาน โดยเฉพาะ การวิ่งในระยะทางไกลๆ

โดย: frontier [26 ก.พ. 50 20:49] ( IP A:203.144.187.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    ขอบคุณ คุณ frontier นานๆใด้ทบทวน ดีเหมือนกัน แต่ขนสองชั้น ผมยังยืนยันว่าสองชั้นจริง ไม่ว่าเกิดที่ไหนหรือเลี้ยงที่ไหน เชียงใหม่ อุบลฯ กาญฯยันโกลก หนาหรือบางเท่านั้น ไม่มีขนชั้นใน ผิดร้ายแรง
โดย: nansan [27 ก.พ. 50 2:22] ( IP A:58.8.135.132 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
    คุณ nansan ผมก็เพียงให้เป็นแนวทางในการศึกษา มาตรฐานของสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด เหมือนของเก่าเอามาเล่ากันใหม่ครับ
ส่วนท้าย ส่วนนี้จะไม่แบ่งเป็นส่วนท้ายขวาหรือซ้าย หน้าที่ส่วนท้ายคือ พลังที่จะผลักดันส่วนหน้าไปเท่านั้น ประกอบด้วย กระดูกตะโพก, กระดูกขาตอนบน, กระดูกขาตอนล่าง, กระดูกนิ้วเท้า, อุ้งเท้า หลังต่อกันด้วย,ข้อตะโพก,ข้อเข่า,ข้อกระโดด ส่วนท้าย ใช้บังคับการเคลื่อนไหวทุกชนิด ด้วยการขยับข้อต่างๆ และถีบพื้น ทำให้ร่างการเคลื่อนไปข้างหน้า หากส่วนร่างกายถูกต้อง คือ กระดูกขาหลังต่างๆ ยาวพอเหมาะ และมีกล้ามเนื้อที่ดีขาหลังก้าวได้ยาวและกระโดดได้สูง การเคลื่อนไหวต่างๆ จะคล่องตัวมาก
กระดูกตะโพก จะต้องคล้ายกระดูกแผ่นไหล่ คือ ต้องยาวและเฉียง ถ้ากระดูกตะโพกและกระดูกก้นกบซึ่งรวมกันเป็นก้นกบของสุนัขสั้นมาก จะทำให้ขาหลังยาวกว่าปกติ กำลังของขาหลังจะเสียไปหมด เพราะต้องไปรับน้ำหนักส่วนบน ถ้าหากกระดูกตะโพกตั้งตรงเกินไป หรือสั้นเกินไป สุนัขจะยืนไม่เที่ยงและมุมต่างๆ จะชัน เมื่อเดินจะเห็นว่าก้าวขาหลังถี่ ดังนั้นจึงเป็นมุมขาหลังตอนบนประมาณ 90 องศา
กระดูกก้นกบ ก้นกบที่ถูกต้องตามมาตรฐานจะต้องมีความลาดประมาณ 23 องศา ถ้าจุดของก้นกบสูงกว่าโหนกคอแล้ว สุนัขนั้นก้นกบสูงเกินไป
กระดูกขาหลังตอนบน เป็นกระดูกที่ตอนบนเป็นหัวกลมเข้าไปอยู่ในเบ้าของตะโพก ส่วนตอนล่างก็จะไปติดต่อกับกระดูกหัวเข่า กระดูกขาหลังตอนบน มีส่วนยาวเกือบเท่ากระดูกขาหลังตอนล่าง และติดต่อกันที่ข้อเข่า กระดูกข้อเท้าหลัง ข้อเท้าหลังรวมอยู่กับกระดูกข้อเท้ารวมทั้งอุ้งเท้าและนิ้วเท้าด้วย
ข้อตะโพก เป็นปัญหาที่สำคัญ เรื่องข้อตะโพกอาจมาจากกรรมพันธุ์ หรือการเลี้ยงดูที่ผิด (เช่น อ้วนมากเกินไปเมื่อตอนเป็นลูกสุนัข หรือให้ลูกสุนัขกระโดดสูงเกินไป เป็นต้น) อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวกระดูกของกระดูกขาหลังตอนบนหรือเบ้ากระดูกเสียไปก็ได้ การที่ จะรู้ว่าเป็นข้อตะโพกห่างหรือไม่ ต้องนำสุนัขไปเอ๊กซเรย์ เมื่อมีอายุได้ 12 เดือน
ข้อเข่า เป็นข้อต่อที่สำคัญมากของส่วนท้าย ที่จะบังคับการเคลื่อนไหวของสุนัขให้ไปทิศทางต่างๆ ดังนั้นข้อเข่าจะต้องแข็งแรง ถ้าข้อเข่าหลังบีบเข้าหากันขณะยืนนิ่งคือ จะยืนและเดินเหมือนวัว ถ้าข้อเข่าห่างออกจากกันจะยืนและเดินขาคอก
ข้อเท้าหลัง จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับกระดูกขาหลังด้วย ดังนั้นจะต้องแข็งแรงและใหญ่พอควร มั่นคงและไม่เป็นรอยต่อ
หาง ควรมีรูปคล้ายดาบห้อยลงไปข้างล่าง แม้ว่าสุนัขจะอยู่ในอารมณ์อย่างไรก็ตาม ความยาวของหางแต่ละต้วแตกต่างกัน แต่ต้องไม่ยาวลากพื้นเป็นอันขาด ความผิดพลาดของหางจะกระทบเกี่ยวข้องกับการทรงตัวของสุนัข

โดย: frontier [27 ก.พ. 50 21:53] ( IP A:203.144.187.18 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   

โดย: frontier [27 ก.พ. 50 22:18] ( IP A:203.144.187.18 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน