อาร์มวาระพิเศษต่างๆ
   กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบิน F-16 เข้าประจำการเพื่อเสริมกำลังทางอากาศ ภายใต้ชื่อโครงการ PEACE NARESUAN (นเรศวรสันติ ) โดยแบ่งเป็น ๔ ระยะ คือ
PEACE NARESUAN I (นเรศวรสันติ ๑ )
กองทัพอากาศจัดหา F-16A Block 15OCU จำนวน ๘ ลำ และ F-16B Block 15OCU จำนวน ๔ ลำในปี ๒๕๒๘ ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี ๒๕๓๑ ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ โคราช
PEACE NARESUAN II (นเรศวรสันติ ๒ )
กองทัพอากาศจัดหา F-16 เพิ่มเติมอีก ๖ ลำ เป็น F-16A Block 15OCU ทั้งหมด ได้รับมอบเครื่องบินเข้าประจำการในปี ๒๕๓๔ ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ โคราช
PEACE NARESUAN III (นเรศวรสันติ ๓)
ในปี ๒๕๓๗ กองทัพอากาศพิจารณาเครื่องบินขับไล่โจมตีฝูงใหม่ โดยมีตัวเลือกคือ F-16A/B Block 15OCU, A-10, และ F-7M ซึ่งกองทัพอากาศได้เลือก 16A/B Block 15OCU เช่นเดิม โดยเป็น F-16A Block 15OCU จำนวน ๑๒ ลำ และ F-16B Block 15OCU จำนวน ๖ ลำ
F-16 ฝูงนี้ได้รับการออกแบบให้ทำภารกิจขับไล่โจมตีกลางคืนโดยเฉพาะ โดยติดตั้งกระเปาะช่วยเดินอากาศ (Navigation Pod) แบบ Rubis และกระเปาะชี้เป้า (Targeting Pod) ATLIS II โดยในรุ่นสองที่นั่ง ห้องนักบินด้านหลังถูกปรับปรุงเป็นที่นั่งของนายทหารอาวุธ (Weapon System Officer) ทำหน้าที่ทำงานกับระบบอาวุธและเรด้าร์ในการโจมตีภาคพื้นดิน ปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ ตาคลี
PEACE NARESUAN IV(นเรศวรสันติ ๔ )
กองทัพอากาศได้จัดหา F/A-18C/D จำนวน ๘ ลำเพื่อมาเป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของกองทัพอากาศไทย แต่จากวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนั้น ประเทศไทยประสบกับภาวะขาดงบประมาณอย่างรุนแรง ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ กองทัพอากาศและรัฐบาลไทยจึงเจรจากับรัฐบาลสหรัฐให้ซื้อสัญญา F/A-18C/D ทั้ง ๘ ลำกลับไป ปัจจุบัน F/A-18C/D ทั้ง ๘ ลำประจำการอยู่ในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐแต่กำลังรบของกองทัพอากาศไทยยังขาดไปอีก ๑ ฝูงบิน ในปี ๒๕๔๒ กองทัพอากาศจึงจัดหา F-16ADF มือสองจำนวน ๑๖ ลำ เป็น F-16ADF ที่นั่งเดียว ๑๕ ลำ และ F-16ADF สองที่นั่ง ๑ ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่เกินความต้องการของสหรัฐ โดยใช้เงินที่เคยจ่ายไปในโครงการจัดหา F/A-18C/D และเงินที่กองทัพอากาศฝากไว้กับรัฐบาลสหรัฐเพื่อดำรงความพร้อมรบของเครื่องบินของกองทัพอากาศ
F-16ADF นับเป็นเครื่องบินแบบแรกของกองทัพอากาศที่มีความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศระยะกลาง มีความสามารถในการโจมตีข้าศึกตั้งแต่ระยะเกินสายตา (Beyond Visual Range) โดยกองทัพอากาศจัดหา AIM-120 AMRAAM มาติดตั้งใช้เงินกับ F-16ADF ปัจจุบัน F-16ADF ประจำการอยู่ที่ฝูงบิน ๑๐๒ กองบิน ๑ โคราช
รับมอบจากกองทัพอากาศสิงคโปร์
ในปี ๒๕๔๗ กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้มอบ F-16A/B Block 15OCU จำนวน ๗ ลำ (F-16A ๓ ลำ และ F-16B ๔ ลำ)ให้กับกองทัพอากาศไทยเพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนในการที่กองทัพอากาศไทยอนุญาตให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ใช้พื้นที่การฝึกในประเทศไทยได้ โดยทั้งหมดเป็น F-16 จากโครงการ Peace Carvin I ของสิงคโปร์

โดย: patch [12 ก.พ. 53 22:29] ( IP A:110.49.62.182 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   PEACE NARESUAN (นเรศวรสันติ )

โดย: patch [12 ก.พ. 53 22:59] ( IP A:119.31.31.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   PEACE NARESUAN IV (นเรศวรสันติ ๔ )

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:00] ( IP A:119.31.31.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ในปี ๒๕๓๘ กองทัพอากาศได้ขึ้นประจำการเครื่องบินแบบ F-16 ตามโคงการPEACE NARESUAN III โดยบรรจุที่ฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ ตาคลี นครสวรรค์ (LAND OF KINGCOBRA) โดยมีการเฉลิมฉลองครบรอบตามระยะเวลาบรรจุประจำการ ดังนี้
โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:05] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ๑๐ ปี แห่งการบรรจุประจำการ F-16 ฝูงบิน ๔๐๓
พ.ศ.๒๕๓๘

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:06] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เดือนมิถุนายน ๒๕๓๑ กองทัพอากาศได้ขึ้นประจำการเครื่องบินแบบ F-16 เป็นครั้งแรก ถือว่าเป็น F-16 ฝูงแรกของกองทัพอากาศไทย โดยบรรจุที่ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ โคราช นครราชสีมา (HOME OF TIGER) ภายใต้ชื่อโครงการ PEACE NARESUAN โดยมีการเฉลิมฉลองครบรอบตามระยะเวลาบรรจุประจำการต่างๆ ดังนี้
โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:07] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ๑๕ ปี แห่งการบรรจุประจำการ F-16 ฝูงบิน ๑๐๓
พ.ศ.๒๕๔๑

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:07] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ๒๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ F-16 ฝูงบิน ๑๐๓
พ.ศ.๒๕๕๑

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:08] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ฝูงบิน ๑๐๒ เป็นอีกฝูงบินหนึ่งที่ประจำการด้วยเครื่องบิน F-16 ตามโครงการ PEACE NARESUAN IV เพื่อเป็นการร่วมฉลองครบ๒๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ F-16 ฝูงบิน ๑๐๓ ทางฝูงบิน ๑๐๒ จึงออกแบบอาร์มที่ระลึกโดยมีลักษณะใกล้เคียงกับอาร์ม๒๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ F-16 ฝูงบิน ๑๐๓
โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:09] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ๒๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ F-16 ฝูงบิน ๑๐๓ ร่วมฉลองโดย ฝูงบิน ๑๐๒

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:13] ( IP A:119.31.29.177 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   กองทัพอากาศ จัดหาเครื่องบินแบบ NOMAD จากประเทศออสเตรเลีย โดยในปี ๒๕๒๕ บรรจุประจำการ ๒ เครื่องแรก บรรจุที่ฝูงบิน ๔๐๒ และได้ทำการดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียงเป็นเครื่องบินโจมตีติดอาวุธปืนใหญ่อากาศ ขนาด ๒๐ มม. (M-197) และให้นามเรียกขานว่า VAMPIRE (เครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบ ๙) จึงถือกำเนิดขึ้น
ในเวลาต่อมาด้วยความจำเป็นทางยุทธการ กองทัพอากาศได้มีการปรับวางกำลังทางอากาศ โดยในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๒๗ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ อนุมัติเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๗ ท้ายหนังสือ กบ.ทอ.ที่ ๕๓๘๘/๒๗ ให้ฝูงบิน ๔๐๒ เข้าที่ตั้งกองบิน ๔๖
๒๐ กันยายน ๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๑๐.๐๙ น. ฝูงบิน ๔๖๑ ได้เคลื่อนย้าย เครื่องบินชุดแรก ประกอบด้วยเครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบ ๙ จำนวน ๗ เครื่อง บินจากกองบิน ๔ ถึงกองบิน ๔๖ และทำการบินต่ำผ่านสนามบิน กองบิน ๔๖ (เกาะหมู่ ๗) และลงสู่สนามบินกองบิน ๔๖ พิษณุโลก เป็นครั้งแรกเวลา ๑๖.๑๕ น. กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๗ ได้เคลื่อนกำลังมาประจำการที่กองบิน ๔๖ และก่อตั้งเป็นฝูงบิน ๔๖๑ โดยถือเอาวันที่ ๒๑ กันยายน เป็นวันสถาปนาฝูงบิน ๔๖๑ ในเวลาต่อมาเครื่อง NOMAD ได้ทยอยเข้าบรรจุฝูงบิน ๔๖๑ จนครบจำนวน ๒๐ เครื่อง ในปี ๒๕๓๐
ที่มา:นิตยสาร TOP GUN ฉบับที่ ๙๒ ตุลาคม ปี ๒๕๔๘ หน้า ๒๕ ๓๐ ปี ครบรอบ ๒๑ ปี ฝูงบิน ๔๖๑
โดยมีการเฉลิมฉลองครบรอบตามระยะเวลาบรรจุประจำการต่างๆ ดังนี้
โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:22] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:24] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ๓๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ OV-10 ฝูงบิน ๔๑๑
พ.ศ.๒๕๔๔
เครื่องบิน OV-10C เริ่มเข้าประจำการมาตั้งแต่ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๔ ครั้งแรกจำนวน ๑๖ เครื่อง ให้บรรจุประจำการในฝูงบินที่ตั้งขึ้นมาใหม่คือ ฝูงบินขับไล่-โจมตีที่ ๒๑ กองบิน ๒ โคกกระเทียม และบรรจุประจำการเพิ่มอีกในปี ๒๕๑๖ ที่ฝูงบิน ๕๓ กองบิน ๕
ที่มา:นิตยสาร TOP GUN ฉบับที่ ๔๗ ปี ๒๕๔๕ หน้า ๒๙ ๓๐ ปี เครื่องบินโจมตีแบบ ๕

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:26] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   THE LAST BRONCO TEAM ฝูงบิน ๔๑๑
พ.ศ.๒๕๔๗

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:28] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ๓๐ ปี หลักสูตรนักบินลองเครื่อง

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:29] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   กองทัพอากาศได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากรัฐบาลสหรัฐฯ ด้วยการมอบเครื่องบิน AU-23A PEACKMAKER จำนวน ๑๓ เครื่อง ตามโครงการ PAVE COIN เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ โดยบรรจุประจำการ ในฝูงบิน ๒๒ กองบิน ๒ โคกกระเทียม ลพบุรี ซึ่งฝูงบินนี้ถือว่าเป็นฝูงบินปฏิบัติการรบพิเศษฝูงแรกของ กองทัพอากาศไทย ต่อมาในปี ๒๕๑๙ จึงได้พิจารณาจัดหาเพิ่มเติมอีกจำนวน ๒๐ เครื่อง และในปี ๒๕๒๐ เพิ่มอีก ๑ เครื่อง ทำให้ฝูงบิน ๒๒ มีเครื่องบิน AU-23A PEACKMAKER รวม ๓๔ เครื่อง
ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ฝูงบิน ๒๐๒ ได้โอนเครื่องบิน AU-23A PEACKMAKER จำนวน ๑๑ เครื่อง มาให้กับฝูงบิน ๕๓๑ กองบิน ๕๓ ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้งานทดแทนเครื่องบิน O-1 ที่ปลดประจำการไปเมื่อปี ๒๕๓๒ ต่อมาในเดือนตุลาคม ๒๕๓๙ ฝูงบิน ๒๐๒ ได้โอนเครื่องบิน AU-23A PEACKMAKER ที่เหลือทั้งหมดให้กับฝูงบิน ๕๓๑ เนื่องจากฝูงบิน ๒๐๒ นั้นจะบรรจุเฮลิคอปเตอร์ SUPER PUMA เข้าประจำการแทน
ที่มา:นิตยสาร TANGO ฉบับที่ ๑๒๔ มกราคม ๒๕๔๖ หน้า ๕๕-๕๖ ๓๐ ปี บ.จธ.๒ โดย อสิ
โดยมีการเฉลิมฉลองครบรอบตามระยะเวลาบรรจุประจำการต่างๆ ดังนี้
โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:31] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ๓๖ ปีแห่งการบรรจุประจำการ AU-23 ฝูงบิน ๕๐๑
พ.ศ.๒๕๕๑

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:32] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ กองทัพอากาศ ได้บรรจุประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ (UH-1 H) เข้าประจำการในกองบิน ๓ จังหวัดนครราชสีมา และภายหลังกองบิน ๓ ยุบตัวลงจึงได้โอนเฮลิคอปเตอร์ให้กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ หรือที่นักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องมักจะเรียกว่า “ฮิวอี้” (เดิมเฮลิคอปเตอร์แบบนี้กำหนดเรียกชื่อว่า HU 1 ซึ่งมักจะอ่านออกเสียงว่า ฮิวอี้ "HUEY" ซึ่งเรียกง่ายกว่าคำว่า เอชยูวัน แต่ภายหลังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯกำหนดเรียกชื่อเฮลิคอปเตอร์ขึ้นต้นด้วยการปฏิบัติภารกิจก่อน จึงเรียกชื่อใหม่ว่า UH-1A/B/C/D/E/F/H ) ตลอดเวลา ๔๐ ปีของการประจำการของเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ ได้ผ่านศึกสงครามมาอย่างโชกโชน ไม่ว่าจะเป็นภารกิจส่งกำลังบำรุงให้ทหารทั้งสามเหล่าทัพในพื้นที่การรบทั่วทุกหนทุกแห่งของประเทศไทย ในช่วงการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และการปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดน แม้จะต้องมีการสูญเสียทั้งชีวิตของนักบิน เจ้าหน้าที่และอากาศยาน แต่ตลอด ๔๐ ปีที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติงานทุกคนก็มิได้หวั่นเกรงและท้อแท้ต่ออุปสรรคใดๆ นอกเหนือจากภารกิจหลักในการรบ การค้นหาและการช่วยชีวิตทหารที่ประสบภัยจากการสู้รบแล้ว ภารกิจที่ถือได้ว่าเป็นภารกิจ แห่งความภาคภูมิใจอีกเรื่อง คือ การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ทั่วทุกภูมิภาค เมื่อคราวประสบภัยพิบัติต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นภัยน้ำท่วม โคนถล่ม หรือคลื่นยักษ์สึนามิ ทุกครั้งก็จะพบเฮลิคอปเตอร์แบบนี้เข้าไปให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกๆ ครั้ง ปัจจุบันเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ สังกัดฝูงบิน ๒๐๓ กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี

ที่มา: https://www.thaimsot.com/phpbb/viewtopic.php?t=7662 “ครบ ๔๐ ปี เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖” รายงานพิเศษโดย ท้าวทองไหล
โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:33] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ๔๐ ปีแห่งการประจำการUH-1 H ฝูงบิน ๒๐๓
พ.ศ.๒๕๕๒

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:34] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   LAST FLIPPER โรงเรียนการบินกองทัพอากาศ
พ.ศ.๒๕๔๖
ในปี ๒๕๓๘ กองทัพอากาศได้บรรจุประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบ BELL-206B-3 และรับเพิ่มเติมในปี ๒๕๔๐ อีก ๑ เครื่อง กองทัพอากาศบรรจุเข้าประจำการในโรงเรียนการบิน เพื่อใช้ฝึกศิษย์การบินกำหนดชื่อเป็น ฮ.๘ หรือเฮลิคอปเตอร์แบบ ๘ โดยใช้ในการฝึกศิษย์การบินทั้งหมด ๑๔ รุ่น จากนั้นกองทัพอากาศจึงย้ายไปบรรจุประจำการที่ฝูงบิน ๒๐๓ กองบิน ๒ ลพบุรี เพื่อใช้ฝึกศิษย์การบินเฮลิคอปเตอร์ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมา
ที่มา;หนังสือพลานุภาพอากาศยานไทย รวมเครื่องบินไทย เล่ม ๑ โดย พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์ หน้า ๑๔๕
FLIPPER คือนามเรียกขานของเฮลิคอปเตอร์ BELL-206B-3 ที่มีภารกิจในการฝึกศิษย์การบินที่โรงเรียนการบินกำแพงแสน ในการฝึกขั้นก้าวหน้า ที่ฝูงฝึกขั้นปลาย (NEW GENERATION…HELICORTER PILOT) บรรจุประจำการที่โรงเรียนการบินตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ ถึง ๒๕๔๖ เวลา ๘ ปี

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:35] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   TOP GUN OF THE YEAR 2005 F-16 ฝูงบิน ๔๐๓
อาร์มชิ้นนี้ถูกออกแบบเพื่อมอบให้แก่ นักบิน F-16 ฝูงบิน ๔๐๓ ในเข้าแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๔๘ *ซึ่งฝูงบิน ๔๐๓ เป็นฝูงบินชนะเลิศ ในประเภท การใช้อาวุธทางอากาศยุทธวิธี ประเภทระเบิด
ที่มา:*อ้างอิงจาก ผลการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๔๘ จากหนังสือเครื่องบินไทย หน้า ๑๖ พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:36] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   TOP GUN OF THE YEAR 2006 L-39 ฝูงบิน ๔๑๑
อาร์มชิ้นนี้ถูกออกแบบเพื่อมอบให้เป็นเกียรติประวัติแก่ "เรืออากาศโทสุรพงษ์ วีระไวทยะ" (ยศในขณะนั้น) นักบิน L - 39ZA / ART แห่งฝูงบิน ๔๑๑ ซึ่งในครั้งนั้นเข้าแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๔๙ กองทัพอากาศจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการทดสอบและประเมินขีดความสามารถกำลังพล นายทหารอากาศท่านนี้ได้เข้าแข่งขันการใช้อาวุธแบบกระสวนการบินขั้นมูลฐาน และปรากฏในภายหลังว่าสามารถทำคะแนนในการใช้อาวุธทางอากาศ (ระเบิด/จรวด/ปืน) ได้ ๔๐๐ คะแนนเต็ม (คิดเป็น ๑๐๐%) ในประเภทบุคคล ซึ่งยังไม่ปรากฏมาก่อนว่า...มีนักบิน L - 39ZA / ART ของฝูงบิน ๔๑๑ คนใดๆ ทำคะแนนได้ยอดเยี่ยมแบบนี้มาก่อน
ทางฝูงบิน ๔๑๑ จึงได้จัดทำอาร์มนี้ขึ้น เพื่อมอบให้เป็นเกียรติประวัติแก่นายทหารอากาศท่านนี้ เราจึงไม่ค่อยเห็นนักบินและเจ้าหน้าที่ฝูงบิน ๔๑๑ ท่านอื่นๆใช้กัน และเหตุที่ต้องจารึกคำว่า "TOP GUN" ร่วมอยู่ในอาร์มนั้น ก็เนื่องมาจาก...เป็นคำยกย่องในหมู่นักบินด้วยกัน หากมีผลงานในระดับการทดสอบหรือในการภารกิจที่ได้รับมอบหมายออกมาดีเยี่ยมเช่นนี้แล้ว ก็จะถูกยกย่องว่า “ TOP GUN”
ที่มา:https://www.thaipatch.com/ กระทู้: Patch นี้มีเรื่องราว (Flg. Off. Dear)...๑
https://www.thaipatch.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=thaipatchcom&thispage=1&No=335100

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:42] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   FOCUS RECONNAISSANCE ฝูงบิน ๔๐๒
อาร์มชิ้นนี้ถูกออกแบบเพื่อมอบให้แก่ นักบินฝูงบิน ๔๐๒ ใช้ติดกับชุด PARTY SUIT ในงานเลี้ยงการปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี* กับการร่วมเข้าแข่งขันในประเภท การบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ (Photo Reconnaissance) เป็นรูปนินจามือขวาจับสายฟ้า ๑ เส้น มือซ้ายจับฟิล์มถ่ายภาพทางอากาศ
หมายเหตุ:ไม่ทราบปีที่แน่นอน

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:43] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   SKY DANCER นักบินผาดแผลงเดี่ยว F-16 ฝูงบิน ๔๐๓
อาร์มชิ้นนี้ถูกออกแบบขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อมอบให้นักบินผู้ทำการบินผาดแผลงเดี่ยวเครื่องบินแบบ F - 16 ฝูงบิน ๔๐๓
เครื่องบินแบบ F-16 เป็นเครื่องบินรบขนาดเบาที่มีสมรรถนะยอดเยี่ยม ดังนั้นเมื่อนำมาทำการบินผาดแผลงทางอากาศ ย่อมทำให้สามารถโชว์ท่าบินในลักษณะต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยมไป ในปัจจุบันเรามักเห็นเครื่องบิน F - 16A แห่งฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ ตาคลี บินโชว์ผาดแผลงเดี่ยวในโอกาสสำคัญๆของกองทัพอากาศเสมอ ซึ่งนักบินที่จะมาทำการบินนั้นทางฝูงจะคัดเลือกผู้ที่มีชั่วโมงบินกับเครื่องบิน F - 16 ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ ชั่วโมง หรืออยู่ในระดับครูการบินอาวุโส ( ครูการบินที่สอนปล่อยเดี่ยวให้กับนักบินใหม่ )
ที่มา:https://www.thaipatch.com/ กระทู้:Patch นี้มีเรื่องราว (Sky Dancer)...๗
https://www.thaipatch.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=thaipatchcom&thispage=1&No=339583

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:45] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   PLAY PILOT ฝูงบิน ๖๐๑
อาร์มชิ้นนี้ถูกออกแบบเพื่อมอบให้แก่ เจ้าหน้าที่ฝูงบิน ๖๐๑ ในงานเลี้ยงการปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี ๒๕๕๑

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:46] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   นักบินลองเครื่อง เครื่องบินกรมช่างอากาศ ๒ (บ.ชอ.๒)
ในอาร์มเป็นรูปเครื่องบินแบบ บ.ชอ.๒ (DAE 2) สีเดียวกับเครื่องจริง บนตัวอักษร X ที่ย่อมาจาก EXPERIMENTAL
โครงการเริ่มแรก เป็นโครงการฟื้นฟูและพัฒนาบุคลากรในการสร้างอากาศยานเพื่อให้บุคลากรมีทักษะและ มีความมั่นใจในการสร้างอากาศยาน โดยกำหนดสร้างอากาศยานต้นแบบชนิดเครื่องยนต์ลูกสูบ เรียกว่า บ.ชอ.๒ ด้วยวิธีการ Reverse Engineering จากเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๕ (SF-260) ซึ่งเป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง มีความปลอดภัยในการบินสูง และมีการออกแบบด้านอากาศพลศาสตร์ที่ดี กรมช่างอากาศฯ จึงเลือกเอาเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๕ นี้มาศึกษาและพัฒนาให้เป็นโครงการเครื่องบิน บ.ชอ.๒ โครงการ บ.ชอ.๒ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๘ แม้ว่าโครงการนี้จะดำเนินการไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนดไว้เดิมเนื่องจากในขณะที่ทำการพัฒนานั้น กรมช่างอากาศ ฯ ต้องมีการพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้ศึกษารายละเอียดของการสร้างอากาศยานให้ได้มากที่สุด เช่น การสร้างโครงสร้างอากาศยาน การพัฒนาความรู้ความชำนาญในการสร้าง Fuselage jig และ Wing jig เพื่อให้เกิดประโยชน์กับโครงการสร้างเครื่องบินแบบ บ.ทอ.๖ ที่ดำเนินไปพร้อมกันด้วย ขณะนี้เครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒ ได้ทำการบินทดสอบครั้งแรกโดยคณะทำงานการบินทดสอบกองทัพอากาศไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา
ที่มา:บทความจาก https://www.rtaf.mi.th/ หัวข้อข่าว:กองทัพอากาศประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒
https://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=902

โดย: patch [12 ก.พ. 53 23:51] ( IP A:110.49.64.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   หลักสูตรการบินควบคุมไฟป่า (C-130 ฝูงบิน ๖๐๑)
กองทัพอากาศ โดยคณะทำงานส่วนฝนหลวงและดับไฟป่า ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ (ศบภ.ทอ.) จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบินควบคุมไฟป่าภายในประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับความร่วมมือจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ในการจัดเจ้าหน้าที่โดยมี Lt.Col.Corey Steinbrink เป็น MAFFS MISSION Commonder พร้อมเจ้าหน้าที่อีก ๕ คน ซึ่งในส่วนของกองทัพอากาศได้จัดนักบิน จำนวน ๑๐ คน เจ้าหน้าที่ ๑๖ คน จากฝูงบิน ๖๐๑ กองบิน ๖ และนักบิน จำนวน ๓ คน เจ้าหน้าที่ ๓ คน พร้อมเจ้าหน้าที่ช่างอากาศยาน จำนวน ๓ คน เข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้มีผู้แทนเจ้าหน้าที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมสังเกตุณ์ในการฝึก ฯ ด้วย

โดยเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ นาวาอากาศเอก ถาวรวัฒน์ จันทนาคม รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศได้เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม ณ ห้องประชุม ฝูงบิน ๖๐๑ กองบิน ๖ และ กองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก
ที่มา: https://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=1388

โดย: patch [14 มี.ค. 53 16:07] ( IP A:119.31.4.230 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   C-130H Avionics Upgrade Program ฝูงบิน ๖๐๑
กองทัพอากาศไทยได้มอบหมายให้บริษัท Rockwell Collins เป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๘ [ บ.ล.๘: C-130H > ที่มีอยู่ ให้สามารถใช้งานต่อไปได้ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งทางบริษัทได้กลับมาว่าจ้างให้บริษัท อุตสาหกรรมการบินไทย จำกัด (Thai Aviation Industries : TAI) เป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงฝูงบิน C- 130 ของเรา
การดำเนินการปรับปรุงกระทำโดยเจ้าหน้าที่เทคนิคของบริษัท Rockwell Collins จะมาร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ของ TAI ซึ่งเป็นคนไทย ในการปรับปรุงเครื่องบินสองถึงสามเครื่องแรก จากนั้นในจำนวนที่เหลือเจ้าหน้าที่เทคนิคของไทย จะดำเนินการต่อจนครบทุกเครื่อง ความชัดเจนในการปรับปรุงได้ดำเนินการต่ออีกครั้งในช่วงต้นปีพ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(๑) ระบบจอแสดงผล (Multi Function Display : MFD)
หน้าปัทม์ - มาตรวัดซึ่งเกี่ยวข้องกับการบินและการเดินอากาศแบบเดิม ถูกแทนที่ด้วยจอคอมฯ แบบ LCD จำนวน ๔ จอ สำหรับนักบินสองคน ด้านละ ๒ จอ เป็นจอภาพอเนกประสงค์ที่สามารถสลับการแสดงผลกันได้หากจอใดจอหนึ่งไม่ทำงาน ข้อมูลการบินทุกข้อมูลสามารถนำมาแสดงให้เห็นในจอดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนด้วยการจำแนกเป็นสัญลักษณ์และสีต่างๆอย่างเป็นมาตรฐาน ส่วนหน้าปัทม์ - มาตรวัดที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ มิได้รับการปรับปรุง ยังคงระบบอนาล็อก (เข็มหมุนวน) เช่นเดิม
(๒) ระบบนักบินกล (Autopilot)
โดยนักบินสามารถเลือกใช้ระบบพยุงหางเสือ (Yaw Damper) หรือระบบบังคับการบิน (AP) โดยแยกอิสระจากกัน และยังสามารถบังคับเลี้ยวได้นุ่มนวลขึ้นด้วยโหมด Half Bank และ Turb
(๓) เรดาร์ตรวจอากาศ (WX Radar)
ระบบนี้ถูกนำมาแสดงผลร่วมกับเส้นทางการเดินอากาศในจอ LCD และยังเสริมด้วยระบบแจ้งเตือนลมกรรโชก (Wind Shear)
(๔) ระบบการเดินอากาศ (Navigation)
ได้รับการปรับปรุงทั้งทาง Lateral และ Vertical โดยเครื่องบินจะมีความแม่นยำในการเดินอากาศยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับการทบทวนตำแหน่ง (Up - Date Position) อย่างอัตโนมัติ จากระบบ VOR และ GPRS ที่พิเศษ คือ จอ LCD สามารถแสดงผลเส้นแนวบิน (Flight Patch) ให้เห็นเด่นชัด โดยเฉพาะเมื่อต้องบินใกล้กับพื้นที่ที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังมีแผนที่ดิจิตอล เพื่อให้นักบินทราบตำแหน่งอย่างสะดวก
ผลพลอยได้ของการปรับปรุงระบบการเดินอากาศ ทำให้สามารถคำนวณจุดปล่อยร่มทั้งในระดับความสูงต่ำและสูง (CRAP และ HARP) ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และระบบนี้ยังทำให้การบินค้นหา - ช่วยชีวิตในลักษณะต่างๆกระทำได้ดียิ่งขึ้น
(๕) ระบบการติดต่อสื่อสารทั้งในเครื่องบินและวิทยุ (Intercom & Communication)
ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้มีระบบทางการติดต่อภายในถึง ๔ ระบบ และระบบติดต่อในยามฉุกเฉินแยกต่างหากอีก หน้าปัทม์ใช้งานเป็นแบบคีย์บอร์ดเรืองแสงขนาดเล็ก เรืองแสงให้เห็นชัดเจน
ระบบวิทยุ HF / VHF / UHF ยังคงอยู่ครบ การหมุนคลื่นความถี่กระทำได้ง่ายขึ้น เพราะดัวเลขความถี่จะแสดงให้เห็นบนจอ LCD และยังมีหน้าปัทม์วิทยุแยกไว้ให้หมุนเปลี่ยนความถี่ได้ต่างหากเพื่อใช้ในยามจำเป็น อีกทั้งยังมีระบบป้องกันการติดต่อสื่อสารแบบ Have Quick และระบบ SATCOM ติดต่อผ่านดาวเทียมได้โดยตรง
(๖) ระบบป้องกันการชนกับเครื่องบินลำอื่น (TCAS)
(๗) ระบบ Interactive Hand Controller
เป็นอุปกรณ์ที่ยังไม่เคยติดตั้งมาก่อน ทำหน้าที่คล้ายกับ "เม้าส์" (Mouse) ที่ใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยควบคุมเคอเซอร์บนจอ LCD ให้เริ่มทำงาน หรือให้ยกเลิกการทำงานโดยไม่ต้องละมือ ตัวควบคุมนี้ติดตั้งไว้สองชุดบริเวณคอนโซลกลาง เพื่อให้นักบินที่ ๑ ใช้มือขวา และนักบินที่ ๒ ใช้มือซ้ายทำงานขณะทำการบิน
ที่มา:https://www.thaic-130.com/index.php?type=content&c_id=456&ct_id=4672

โดย: patch [14 มี.ค. 53 16:09] ( IP A:119.31.4.230 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   ๒๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ LEARJET ฝูงบิน ๔๐๒
พ.ศ.๒๕๕๑
ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ กองทัพอากาศได้จัดซื้ออากาศยาน แบบ LEARJET 35A เข้าประจำการภารกิจในการถ่ายภาพทางอากาศระดับสูงเข้าประจำการที่ กองบิน ๖ ฝูงบิน ๖๐๕ โดยนักบินของกองทัพอากาศ เป็นผู้ทำการบินกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และมีพิธีรับเข้าประจำการ วันที่ ๒ ก.ค.๒๕๓๑ ที่บริเวณ ลาดจอดอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ โดยมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น เป็นประธานในพิธี
๒๖ ก.ย.๒๕๔๒ ได้มีการย้าย บ.ตล.๖ , บ.ตล.๗ และ บ.ตล.๑๒ จากฝูงบิน ๖๐๕ มาบรรจุที่ ฝูงบิน ๔๐๒ โดยมี 2 บ.ตล.๖ ,๓ บ.ตล.๗ และ ๒ บ.ตล.๑๒ ตามคำสั่ง ลับด่วนมาก ที่ กห. ๐๕๕.๒/๑๐๕๒ ลง ๒๓ เม.ย.๒๕๔๒ ส่วน บ.ตล.๙ โอนให้ฝูงบิน ๔๖๑ สำหรับฝูงบิน ๔๐๒ ให้ปฏิบัติกิจเฉพาะของฝูงบิน ๖๐๕ เดิม

โดย: patch [14 มี.ค. 53 16:12] ( IP A:119.31.4.230 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ๒๕ ปีแห่งการบรรจุประจำการ NOMAD ฝูงบิน ๔๖๑
พ.ศ.๒๕๕๒

โดย: patch [14 มี.ค. 53 16:13] ( IP A:119.31.4.230 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ๒๕ ปี ฝูงบิน ๔๖๑
พ.ศ.๒๕๕๒
กองทัพอากาศ จัดหาเครื่องบินแบบ NOMAD จากประเทศออสเตรเลีย โดยในปี ๒๕๒๕ บรรจุประจำการ ๒ เครื่องแรก บรรจุที่ฝูงบิน ๔๐๒ และได้ทำการดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียงเป็นเครื่องบินโจมตีติดอาวุธปืนใหญ่อากาศ ขนาด ๒๐ มม. (M-197) และให้นามเรียกขานว่า VAMPIRE (เครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบ ๙) จึงถือกำเนิดขึ้น
ในเวลาต่อมาด้วยความจำเป็นทางยุทธการ กองทัพอากาศได้มีการปรับวางกำลังทางอากาศ โดยในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๒๗ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ อนุมัติเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๗ ท้ายหนังสือ กบ.ทอ.ที่ ๕๓๘๘/๒๗ ให้ฝูงบิน ๔๐๒ เข้าที่ตั้งกองบิน ๔๖
๒๐ กันยายน ๒๕๒๗ เวลาประมาณ ๑๐.๐๙ น. ฝูงบิน ๔๖๑ ได้เคลื่อนย้าย เครื่องบินชุดแรก ประกอบด้วยเครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบ ๙ จำนวน ๗ เครื่อง บินจากกองบิน ๔ ถึงกองบิน ๔๖ และทำการบินต่ำผ่านสนามบิน กองบิน ๔๖ (เกาะหมู่ ๗) และลงสู่สนามบินกองบิน ๔๖ พิษณุโลก เป็นครั้งแรกเวลา ๑๖.๑๕ น. กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๗ ได้เคลื่อนกำลังมาประจำการที่กองบิน ๔๖ และก่อตั้งเป็นฝูงบิน ๔๖๑ โดยถือเอาวันที่ ๒๑ กันยายน เป็นวันสถาปนาฝูงบิน ๔๖๑ ในเวลาต่อมาเครื่อง NOMAD ได้ทยอยเข้าบรรจุฝูงบิน ๔๖๑ จนครบจำนวน ๒๐ เครื่อง ในปี ๒๕๓๐
ที่มา:นิตยสาร TOP GUN ฉบับที่ ๙๒ ตุลาคม ปี ๒๕๔๘ หน้า ๒๕ ๓๐ ปี ครบรอบ ๒๑ ปี ฝูงบิน ๔๖๑

โดย: patch [14 มี.ค. 53 16:14] ( IP A:119.31.4.230 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   ๓๐ ปีแห่งการบรรจุประจำการ ARAVA ฝูงบิน ๔๐๒
พ.ศ.๒๕๕๒
กองทัพอากาศไทยจัดซื้ออาราวาจากอิสราเอลในปี ๒๕๒๒ อาราวาเป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดเบาขึ้นลงระยะสั้น ที่อิสราเอลสร้างขึ้น กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบินแบบนี้มาจำนวน สามเครื่อง เพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวน ในฝูงบินสงครามอิเล็คทรอนิคส์ที่ ๔๐๔ กองบิน ๔ ตาคลี โดยกำหนดชื่อเรียกเครื่องบินทั้งสามตามระเบียบ ทอ.ว่า " บ.ตล. ๗ " มีชื่อเล่นเรียงตามลำดับว่า " พุทธโธ , ธรรมโม , สังโฆ " จนกระทั่งปี ๒๕๓๕ กองทัพอากาศยุบฝูงบินอิเลคทรอนิคที่ ๔๐๔ นี้ลง ย้ายเครื่องทั้ง
หมดไปบรรจุที่ฝูงบินลาดตระเวนที่ ๖๐๕ กองบิน ๖ ดอนเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ ร่วมกับเครื่องบินลาดตระเวนแบบ นอร์แมด , เมอร์ลิน , นอร์แมด และเลียร์เจ็ต จนกระทั่งปี ๒๕๔๒ กองทัพอากาศยุบฝูงบินลาดตระเวนที่ ๖๐๕ ลง ตั้งฝูงบินลาดตระเวนใหม่ มี
ชื่อว่า ฝูงบิน ๔๐๒ กองบิน ๔ โดยย้ายเครื่องบินลาดตระเวนทั้งหมดยกเว้น นอร์แมด ไปไว้ฝูงบินนี้
ที่มา: https://www.pantown.com/market.php?id=32248&name=market15&area=4&topic=2&action=view

โดย: patch [14 มี.ค. 53 16:16] ( IP A:119.31.4.230 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน