ฝูงบินสนาม,หน่วยบินแยก,หน่วยบินเฉพาะกิจ
   การจัดหน่วยกำลังทางอากาศ ณ ที่ตั้งสนาม
เป็นการจัดหน่วยเป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม เมื่อมีสถานการณ์หรือเกิดภาวะซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ กองทัพอากาศจะพิจารณาจัดวางกำลังทางอากาศ ให้มีขีดความสามารถในการสนับสนุนกำลังภาคพื้นได้ตลอดเวลา เพื่อให้กำลังรบภาคพื้นสามารถดำเนินกลยุทธในการป้องกันประเทศ และรักษาความสงบมั่นคงภายในได้อย่างต่อเนื่อง การใช้กำลังทางอากาศจากที่ตั้งปกติอาจจะไม่สามารถสนับสนุนกำลังภาคพื้นได้ทันท่วงที กองทัพอากาศจึงจำเป็นต้องจัดหน่วยกำลังทางอากาศ ณ ที่ตั้งสนามขึ้น โดยจัดเป็น ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม และการที่จะวางกำลังไว้ ณ ภูมิภาคใดของประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และพื้นที่ของภัยคุกคามที่เผชิญอยู่กำลังทางอากาศที่บรรจุมอบให้กับฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม จะจัดจากกองบินในลักษณะหน่วยบินเฉพาะกิจ (หน่วยบินหมายเลข ) และต้องพิจารณาจัดให้เพียงพอ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายและสอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ
โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:15] ( IP A:118.172.249.82 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ฝูงบิน ๑๐๖ อู่ตะเภา

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:26] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ฝูงบิน ๒๐๖ วัฒนานคร
อาร์มชิ้นได้นำไปปักขึ้นมาใหม่ตามแบบ ในบางปีงป.จะมีการจัดทำแจกกำลังพลด้วย

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:29] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ฝูงบิน ๒๐๖ วัฒนานคร (ปักขึ้นตามแบบ)

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:30] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ฝูงบิน ๒๐๗ ตราด
ในปัจจุบันไม่มีจัดทำอาร์มฝูงบิน ๒๐๗ แล้ว อาร์มชินนี้ได้จากการปักตามแบบ

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:32] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ฝูงบิน ๒๐๗ ตราด (ปักขึ้นตามแบบ)
เป็นรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระบรมรูปอยู่ในท่าทรงพระแสงดาบบัญชาการ ทรงเครื่องกษัตริย์นักรบ
บนพื้นอาร์มคาดแถบธงไตรรงค์แนวตั้ง มาจากอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อันเป็นที่เคารพสักการะของชาว จว.ตราด ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณทางเข้าประตูด้านหน้าฝูงบิน ๒๐๗ จึงนำมาเป็นสัญลักษณ์ของฝูงบิน

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:33] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ฝูงบิน ๒๓๖ สกลนคร
เป็นรูปพระธาตุเชิงชุมอันเป็นที่สักการะของชาว จว.สกลนคร ประกอบกับปีกกองทัพอากาศและแถบธงไตรรงค์
อาร์มชิ้นนี้เป็นงานปักจริงที่ใช้กับฝูงบิน ๒๓๖ เป็นงานปักมือ ทำขึ้นที่ จว.อุดรธานี
จากการอนุเคราะห์จาก:พ.อ.อ.ชำนาญ โอตาตะวงษ์ แผนกช่างโยธา กองบิน ๒๓ ออกราชการสนามฝูงบิน ๒๓๖

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:35] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ฝูงบิน ๒๓๗ น้ำพอง ขอนแก่น
แบบแรกได้จากปักขึ้นตามแบบ
ภาพต้นแบบ:จากการปริ๊นท์สีจากฝูงบิน ๒๓๗
จากการอนุเคราะห์จาก:น.อ.วีระ อดิเรก ผู้บังคับฝูงบิน ๒๓๗ ปี ๒๕๔๗ (ยศและตำแหน่งขณะนั้น)

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:37] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ฝูงบิน ๒๓๗ น้ำพอง ขอนแก่น(ปักขึ้นตามแบบ)
เป็นรูปพระธาตุขามแก่นอันเป็นที่สักการะของชาว จว.ขอนแก่นพร้อมแฉกรัศมีบนปีกนก ๒ ข้าง รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ บนพื้นอาร์มคาดแถบธงไตรรงค์แนวตั้ง (ลักษณะคล้ายอาร์มกองบิน ๒๓)

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:39] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ฝูงบิน ๒๓๗ น้ำพอง ขอนแก่น
เป็นรูปพระธาตุขามแก่นอันเป็นที่สักการะของชาว จว.ขอนแก่นพร้อมปีกนกโอบขึ้น ๒ ข้าง รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ บนพื้นอาร์มคาดแถบธงไตรรงค์แนวตั้ง (ลักษณะคล้ายอาร์มกองบิน ๒๓)
อาร์มชิ้นนี้เป็นงานปักจริงที่ใช้กับฝูงบิน ๒๓๗ ใช้ในปี ๒๕๕๑ทำขึ้นที่ จว.นครราชสีมา

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:40] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ฝูงบิน ๔๑๖ น่าน
เป็นรูปช้างชูงวง ด้านบนเป็นรูปแผนที่ประเทศไทยมีอักษรภายใน น่าน รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ บนพื้นคาดแถบธงไตรรงค์แนวเฉียง ใต้อาร์มมีแถบปลายม้วนเข้าทั้ง ๒ ข้าง กลางแถบมีคำว่า “ฝูงบิน ๔๑๖” บริเวณปลายแถบมีดาว ๕ แฉก ข้างละ ๑ ดวง
ในอดีตกองบิน ๔๑ มีฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ๒ ฝูงบินคือ ฝูงบิน ๔๑๖ ฐานบินน่าน และ ฝูงบิน ๔๑๗ เชียงราย ภายหลังกองบิน ๔๖ เข้ามาบังคับบัญชาฝูงบิน ๔๑๖ น่านแทนกองบิน ๔๑ จึงเปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่เป็น ฝูงบิน ๔๖๖ น่าน ส่วนฝูงบิน ๔๑๗ เชียงราย เปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่เป็น ฝูงบิน ๔๑๖ เชียงราย
อาร์มแบบนี้ไม่ได้มีการปักขึ้นมาใช้งานจริง แต่เคยใช้เขียนลงบนแผ่นไม้และติดอยู่ที่หน้าสโมสรฝูงบิน
ภาพ:พ.อ.อ.กมล ทาวงศ์
ออกแบบโดย:พ.อ.อ.กมล ทาวงศ์

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:43] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ฝูงบิน ๔๖๖ น่าน
อาร์มชิ้นนี้ปักขึ้นตามที่ได้ติดต่อกับท่านผบ.ฝูงบิน ๔๖๖ น่าน ท่านนึง ซึ่งแจ้ง นโยบายของ ผบ.กองบิน ๔๖ ในการปรับปรุงพื้นที่ฝูงบิน ๔๖๖ ให้จัดทำป้ายฝูงบิน ๔๖๖ ขึ้นที่หน้าประตูทางเข้า เพียงเปลี่ยนตัวอักษรจากแบบของอาร์มกองบิน ๔๖ เท่านั้น

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:47] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ฝูงบิน ๔๑๖ เชียงราย
ในอดีตมีการปักอาร์มขึ้นมาใช้จริง ปัจจุบันไม่มีการทำอาร์มฝูงบิน ๔๑๖ ขึ้นมาใหม่ อาร์มชิ้นนี้เป็นการนำแบบไปปักขึ้นมาใหม่
ภาพต้นแบบ:จากสติ๊กเกอร์ที่ติดอยู่ที่โต๊ะทำงานใน ฝูงบิน ๔๑๖ แบบจริงนามหน่วยยังเป็น ฝูงบิน ๔๑๗ เชียงราย และถูกแก้ไขเป็นฝูงบิน ๔๑๖ เชียงราย
จากการอนุเคราะห์จาก:น.ต.ดาวรุ่ง พุ่มพฤกษ์ ผู้บังคับฝูงบิน ๔๑๖ ปี ๒๕๔๗ (ยศและตำแหน่งขณะนั้น)

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:50] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ฝูงบิน ๔๑๖ เชียงราย (ต้นแบบ)

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:52] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   หน่วยบิน ๒๐๓๓ เชียงใหม่

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:57] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   หน่วยบิน ๒๐๓๓ เชียงใหม่ (๒๕๕๒-๒๕๕๓)
อาร์มชิ้นนี้เป็นแบบของนักสะสม ข้อแตกต่างของผู้ใช้งานจริงคือที่ของแมงป่อง(ในพื้นที่วงกลม) จะมีเครื่องหมาย @ อยู่

โดย: patch [16 ก.ย. 53 22:59] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   หน่วนบิน ๒๐๓๘ ดอนเมือง

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:00] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   หน่วยบิน ๔๑๑๑ วัฒนานคร ปี ๒๕๔๓ (จัดกำลังจากฝูงบิน ๔๑๑)

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:02] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   กองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙
กองทัพอากาศได้รับมอบหมายจากกระทรวงกลาโหม ให้ดำเนินการจัดตั้งกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙ ขึ้น ณ สนามบินบ่อทอง จังหวัดปัตตานี โดยมีภารกิจในการดูแลรักษาความปลอดภัยสนามบิน และพื้นที่โดยรอบ เนื่องจากเป็น สนามบินที่เครื่องบินของกองทัพอากาศจะต้องบินไปปฏิบัติภารกิจอยู่เสมอ เพื่อลำเลียงสิ่งของ รวมทั้งรับส่ง เจ้าหน้าที่ของกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ การก่อตั้งกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙ ดังกล่าว จึงก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ สนามบิน เครื่องบิน ผู้โดยสาร รวมทั้งประชาชนโดยรอบพื้นที่ และนอกจากจะมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยสนามบินบ่อทองแล้ว กองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙ ยังดำเนินการเกี่ยวกับการผนึกกำลัง และการปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับการร้องขอ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่มา: https://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=521
ที่มา: https://www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=461
)

กองทัพอากาศได้จัดตั้งกองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙ (กกล.ทอ.ฉก.๙) ขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๙ (เดือนตุลาคม ๒๕๔๘) มีอัตรากำลังพลประมาณ ๓๐๐ นาย โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงาน ๑ ปี สับเปลี่ยนกำลังในเดือนตุลาคมของทุกปี ประกอบด้วย
ฝูงบิน ๒๐๑ : เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ ง [ ฮ.๖ ง : BELL-412EP > จัดตั้งเป็นหน่วยบิน ๙๒๐๑
ได้รับภารกิจหลักคือ เตรียมพร้อมค้นหาและช่วยชีวิต ภารกิจรองคือ ลำเลียงทางอากาศ
หมายเหตุ:หน่วยบิน ๙๒๐๑ ไม่ได้จัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๔๙ แต่จัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๒(เดือนตุลาคม ๒๕๕๑) เพื่อเข้ามาสนับสนุนภารกิจของหน่วยบิน ๙๒๐๓ หลังจากเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ [ ฮ.๖ : UH - 1H > ของหน่วยบิน ๙๒๐๓ เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.เบตง จ.ยะลา เมื่อ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๑
ฝูงบิน ๒๐๓ : เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ [ ฮ.๖ : UH - 1H > จำนวน ๑ เครื่อง จัดตั้งเป็นหน่วยบิน ๙๒๐๓
ได้รับภารกิจหลักคือ เตรียมพร้อมค้นหาและช่วยชีวิต ภารกิจรองคือ ลำเลียงทางอากาศ

ฝูงบิน ๕๐๑ : เครื่องบินโจมตี - ธุรการแบบที่ ๒ [ บ.จธ.๒ : AU - 23A > จำนวน ๒ เครื่อง จัดตั้งเป็นหน่วยบิน ๙๕๐๑
เป็นอากาศยานที่รับภารกิจมากเป็นอันดับหนึ่ง (พิจารณาจากจำนวนชั่วโมงบิน และตามจำนวนการร้องขอ) มีภารกิจหลักในการบินลาดตระเวนด้วยสายตา และลาดตระเวนถ่ายภาพ โดยอุปกรณ์การบันทึกภาพมี ๒ แบบ คือ กล้องถ่ายภาพทางดิ่งแบบ Digital สำหรับบันทึกภาพนิ่ง และกล้องถ่ายเวลากลางคืน (Forward Looking Infrared : FLIR) สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหว ซึ่งกล้องแบบหลังมีประโยชน์มากในการติดตามผู้ก่อเหตุในเวลากลางคืน
ฝูงบิน ๖๐๑ : เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๘ [ บ.ล.๘ : C - 130H > จำนวน ๑ เครื่อง จัดตั้งเป็นหน่วยบิน ๙๖๐๑
มีภารกิจหลักในการบินขนส่งผู้โดยสารทั้งทหารและข้าราชการพลเรือน ระหว่างสนามบินบ่อทอง - สนามบินดอนเมือง การบินลำเลียงสิ่งอุปกรณ์สำหรับการส่งกำลังบำรุง การลำเลียงผู้เสียชีวิตจากการปะทะกลับภูมิลำเนา
โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:05] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   กองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:07] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   กองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ ๙

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:07] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   หน่วยบิน ๙๒๐๑ ปัตตานี

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:08] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   หน่วยบิน ๙๕๐๑ ปัตตานี

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:09] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง กองทัพอากาศ
จากภาวะภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน กอปรกับปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ลดต่ำลงอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่สามารถปล่อยน้ำลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ ทำให้น้ำเค็มหนุนจากปากอ่าวไทยเข้ามาถึงจังหวัดปทุมธานี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมาก กองทัพอากาศจึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี ๒๕๓๗ โดยมอบหมายให้กองบิน ๔๖ จัดตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวงที่กองบิน ๔ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อทำฝนหลวงเพื่อผลักดันน้ำเค็มโดยใช้เครื่องบินลำเลียงแบบ ๙ จนได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ที่มา:หนังสือที่ระลึก “ย้อนอดีต ๓๕ ปี กองบิน ๔๖ ฐานบินพิษณุโลก” หน้า ๑๑๘
กองทัพอากาศกับโครงการในพระราชดำริ “ฝนหลวง”
โครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ได้เริ่มทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๔ เริ่มมีการขยายผลการปฏิบัติการไปช่วยเหลือเกษตรกร และได้ทำการช่วยเหลือ เป็นประจำทุกปี ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ มีหน้าที่ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภาวะภัยแล้งและศึกษาวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำฝนหลวง ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ เกิดความแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้างทั่วประเทศ กษ.ได้ขอรับการสนับสนุนเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่จากกองทัพอากาศสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอ เพื่อแก้ปัญหาการเกิดวิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำในเขื่อนที่สำคัญ ๆ ของประเทศ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอุบลรัตน์ เนื่องจากการปฏิบัติการฝนหลวงได้ขยายพื้นที่ปฏิบัติการเพิ่มขึ้น ในขั้นต้น ทอ.ได้จัดส่งเครื่องบินที่ประจำการอยู่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว ได้แก่ เครื่องบิน แบบ บ.ล.๒ (C-47) และ บ.ล.๔ (C-123) แบบละ ๑ เครื่อง และในปีต่อ ๆ มาได้เพิ่มเป็น บ.ล.๒ จำนวน ๔ เครื่อง บ.ล.๔ จำนวน ๒ เครื่อง และได้ให้การสนับสนุนเป็นประจำทุกปีเรื่อยมา
ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ทอ.มีความจำเป็นต้องปลดประจำการเครื่องบินแบบ บ.ล.๔ (C-123) ทำให้เหลือเครื่องบินที่ใช้ในการสนับสนุนโครงการ ฝนหลวงเพียง บ.ล.๒ จำนวน ๔ เครื่อง ทอ.ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการพระราชดำริดังกล่าว

ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ จึงได้พิจารณาดัดแปลงเครื่องบินแบบ บ.ล.๔ ก (C123K) จำนวน ๓ เครื่อง และเครื่องบินแบบ บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๓ เครื่อง เพื่อใช้สนับสนุนภารกิจนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๗ (๑๒ ก.พ.๓๗) กองทัพอากาศได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง กองทัพอากาศขึ้น เพื่อวางแผนอำนวยการ ควบคุม กำกับการ และประสานการปฏิบัติ ตลอดจนเสนอแนะนโยบาย และแก้ไขข้อขัดข้องในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวง เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจสนองโครงการพระราชดำริสามารถปฏิบัติได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นนับแต่ได้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงกองทัพอากาศ ในปี ๒๕๓๗ มีผลการปฏิบัติภารกิจ สรุปได้ดังนี้
พ.ศ.๒๕๓๘ ศูนย์ฯ ได้จัดเครื่องบินสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง เช่นเดียวกับปี ๒๕๓๗การปฏิบัติการฝนหลวงที่ปฏิบัติมาเป็นการทำฝนในเมฆชั้นล่างที่ระดับความสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ซึ่งเรียกว่าการทำฝนในเมฆอุ่น แต่ในปี ๓๘ นี้ ทอ.ได้ร่วมโครงการวิจัยเกี่ยวกับการทำฝนในเมฆเย็น ที่ระดับความสูงเกิน ๒๐,๐๐๐ ฟุต ทอ.ได้พิจารณานำเรื่องบินแบบ บ.จ.๖ (A-37) ซึ่งเป็นเครื่องบินโจมตี ที่ได้ปลดประจำการแล้วแต่ได้เก็บดองเอาไว้นำมาปรับปรุง เพื่อร่วมโครงการฯ จำนวน ๒ เครื่อง
พ.ศ.๒๕๓๙ ทอ.ได้ปลดประจำการเครื่องบินแบบ บ.ล.๒ (C-47)

พ.ศ.๒๕๔๐ หลังจากการปฏิบัติภารกิจฝนหลวงในปี ๓๙ ทอ.ได้ปลดประจำการเครื่องบิน แบบ บ.ล.๔ ก (C-123K) และโครงการวิจัยการทำฝนในเมฆเย็น โดยเครื่องบินแบบ บ.จ.๖ (A-37) ได้ยุติลง โดย กษ.ได้นำไปดำเนินการต่อ ทำให้มีเครื่องบินที่ใช้สนับสนุนฝนหลวงเพียงเครื่องบินแบบ บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๖ เครื่อง แต่เนื่องจาก กษ.มีความต้องการขอรับการสนับสนุนเครื่องบินจาก ทอ. เพิ่มเติม ทอ.จึงได้พิจารณาดัดแปลงเครื่องบินแบบ บ.จธ.๒ (AU-23) จำนวน ๖ เครื่อง เพื่อใช้สนับสนุน การปฏิบัติภารกิจฝนหลวง รวมการปฏิบัติภารกิจในปี ๔๐
พ.ศ.๒๕๔๑ หลังจากที่ ทอ.ได้ปลดประจำการเครื่องบินแบบ บ.ล.๒ (C-47) ในปี ๓๘ และ บ.ล.๔ ก (C-123K) ในปี ๓๙ ทำให้ไม่มีเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางที่สามารถบรรทุกสารเคมี ครั้งละ ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ กิโลกรัม ประกอบกับในปี พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ปี กองทัพอากาศได้จัดทำโครงการเครื่องบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวง ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสดังกล่าว โดยเริ่มโครงการ ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ โดยการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียงแบบ ๒ (C-47) ซึ่งปลดประจำการแล้ว จำนวน ๖ เครื่อง ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น สามารถนำมาปฏิบัติภารกิจฝนหลวง และดับไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลังจากการปรับปรุงแล้ว ทอ. ได้กำหนดชื่อเรียกเครื่องบินแบบนี้ว่า บ.ล.๒ ก (BT-67) พร้อมกันนี้ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ประดับที่บริเวณแพนหางดิ่งของ บ.ล.๒ ก (BT-67)
พ.ศ.๒๕๔๒ ศูนย์ฯ ได้จัดหน่วยบินสนับสนุน ๓ หน่วยบิน ได้แก่ หน่วยบิน บ.ล.๒ ก (BT-67) จำนวน ๔ เครื่อง หน่วยบิน บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๖ เครื่อง และหน่วยบิน บ.จธ.๒ (AU-23) จำนวน ๖ เครื่อง รวมปฏิบัติภารกิจ ๒,๐๔๙ เที่ยวบิน ๒,๒๖๖.๗ ชม.บิน
พ.ศ.๒๕๔๓ ศูนย์ฯ ได้จัดเครื่องบินสนับสนุนภารกิจฝนหลวง ประกอบด้วย บ.ล.๒ ก(BT-67) จำนวน ๔ เครื่อง หน่วยบิน บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๖ เครื่อง และ หน่วยบิน บ.จธ.๒ (AU-23) จำนวน ๖ เครื่อง ผลการปฏิบัติภารกิจ รวม ๑๒๒ เที่ยวบิน ๑๗๓.๘ ชม.บิน
พ.ศ.๒๕๔๔ ทอ.ได้จัดเครื่องบินสนับสนุนภารกิจฝนหลวง ประกอบด้วย บ.ล.๒ ก (BT-67)จำนวน ๔ เครื่อง หน่วยบิน บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๖ เครื่อง และ หน่วยบิน บ.จธ.๒ (AU-23) จำนวน ๖ เครื่อง รวม ๑๖ เครื่อง โดยใช้ บ.ล.๒ ก เป็นหลักในการปฏิบัติมีผลการปฏิบัติ รวม ๕๗๓ เที่ยวบิน ๘๔๗.๓ ชม.บิน
พ.ศ.๒๕๔๕ ทอ.ได้จัดเครื่องบินสนับสนุนภารกิจฝนหลวง ประกอบด้วย บ.ล.๒ ก (BT-67) จำนวน ๗ เครื่อง มีผลการปฏิบัติภารกิจรวมทั้งสิ้น ๔๐๐ เที่ยวบิน ๖๐๒.๑ ชม.บิน ใช้สารเคมี ๙๖๖.๕ ตัน
พ.ศ.๒๕๔๖ ทอ.ได้จัดเครื่องบินสนับสนุนภารกิจฝนหลวง ประกอบด้วย บ.ล.๒ ก (BT-67) จำนวน ๔ เครื่อง หน่วยบิน บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๔ เครื่อง รวม ๘ เครื่อง มีผลการปฏิบัติ รวม ๕๕๐ เที่ยวบิน ๗๒๔.๒ ชม.บิน ใช้สารเคมี ๙๖๘.๕ ตัน
พ.ศ.๒๕๔๗ ทอ.ได้จัดเครื่องบินสนับสนุนภารกิจฝนหลวง ประกอบด้วย บ.ล.๒ ก (BT-67)
จำนวน ๓ เครื่อง หน่วยบิน บ.ล.๙ (NOMAD) จำนวน ๔ เครื่อง รวม ๗ เครื่อง มีผลการปฏิบัติ รวม ๙๐๐ เที่ยวบิน ๑,๐๖๙.๔ ชม.บิน ใช้สารเคมี ๑,๓๑๔.๒ ตัน
ที่มา: https://www.acc.rtaf.mi.th/royalrain/01-history.htm
โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:13] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง กองทัพอากาศ

โดย: patch [16 ก.ย. 53 23:14] ( IP A:118.172.249.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
    ฝูงบิน ๒๓๗ น้ำพอง ขอนแก่น
เป็นรูปพระธาตุขามแก่นอันเป็นที่สักการะของชาว จว.ขอนแก่นพร้อมปีกนกโอบขึ้น ๒ ข้าง รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ บนพื้นอาร์มคาดแถบธงไตรรงค์แนวตั้ง (ลักษณะคล้ายอาร์มกองบิน ๒๓)
อาร์มชิ้นนี้เป็นงานปักจริงที่ใช้กับฝูงบิน ๒๓๗ ใช้ในปี ๒๕๕๑
โดย พ.อ.อ. เพชรไทย พิมพ์เสน คัดลอกแบบมาจากธงประจำฝูงบิน ทำขึ้นที่ สั่งปักที่ จว.นครราชสีมา

โดย: peththai@rtaf.mi.th [28 เม.ย. 54 15:48] ( IP A:61.47.115.2 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน