นักบินไทยไปสงครามโลกครั้งแรก
|
ความคิดเห็นที่ 2 ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ กระทรวงกลาโหมออกประกาศชมเชย ผู้ที่มีส่วนช่วยจัดการในการส่ง กองทหารออกเดินทางไปราชการงานสงคราม ณ ทวีปยุโรป ในส่วนของกองบินทหารบก ได้แก่ นายพันโทหลวงอาวุธสิขิกร ผู้ช่วยผู้บังคับการกองบินทหารบก นายร้อยโท ฉวี บรรณพินทุ, นายร้อยตรี กล่อม สุคนธสาร ประจำกองบินทหารบก และบรรดานายสิบพลทหารที่ประจำกองบิน ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๑ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก่อนที่ทหารไทย จะเดินทางกลับจากประเทศฝรั่งเศส ได้จัดให้มีพิธีกระทำการมอบธงชัยเฉลิมพลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งไปพระราชทาน และเมื่อเสร็จพิธีมอบธงชัยเฉลิมพลแล้ว ทางผู้แทนของกองทัพฝรั่งเศสได้นำตรามาให้แก่ผู้บังคับบัญชากองบินทหารบกไทย คือ นายพันเอก พระเฉลิมอากาศ รับตรา เลจิยอง ดอนเน่อร์ ชั้น ๔ (Officier de lagion dhonueur) นายพันตรี หลวงทะยานพิฆาฎ รับตรา เลจิยอง ดอนเน่อร์ ชั้น ๕ (Chevalier de lagion dhonueur) เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ นักบินอาสาของกองบิน ภายหลังจบการฝึกการบิน จากโรงเรียนต่างๆ ในช่วงต้นปี ๒๔๖๑ แล้ว นักบินส่วนหนึ่งจะเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนการบินทางทะเล ที่แซงต์ราฟาแอล เพื่อฝึกทิ้งระเบิดในทะเล และจบการศึกษาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ในปีเดียวกันนี้ กองบินทหารบก ได้จัดนักบิน จำนวน ๒๔ คน เข้าประจำในหน่วยบินฝรั่งเศส ซึ่งทำการยึดดินแดนเยอรมัน โดยแยกย้ายกันออกเป็น ๓ พวก คือ พวกที่ ๑ ไปประจำกองบินใหญ่ที่ ๑ ประจำที่ อาเซโลต์ ต่อมาย้ายไปประจำที่คร้อยซ์นาม ในเขตไรน์แลนด์ พวกที่ ๒ ไปประจำกองบินใหญ่ที่ ๒ ประจำที่ โฟรลัวส์ ต่อมาย้ายไปประจำที่สไปย์แอร์ และกรีสไฮม์ พวกที่ ๓ ไปประจำกองบินใหญ่ที่ ๑๓ ที่เมืองนอยสตัดต์ ผู้ตรวจการณ์ที่ศึกษาต่อได้จัดเข้าประจำกองบิน ของกองทัพน้อยที่ ๓ ณ เมืองเม็ตส์ แล้วย้ายไปเมืองลันเดา, ไมนส์, เมตซ์ และนอยสตัดต์ ส่วนช่างเครื่องยนต์ ได้อยู่ฝึกงานในโรงงานต่าง ๆ ประกอบด้วย โรงงานสร้างเครื่องบินแบบ สปัด ที่ ซังต์คลูด์, โรงงานปรับประกอบที่ ลา เอดูร์เนอฟ โรงงานเบรเกต์ ที่ วิล์ลา ดูเบลย์, โรงงานสร้างเครื่องยนต์ โรน, โรงงานสร้างเครื่องยนต์เรอะโนลด์, โรงงานสร้างเครื่องยนต์ฮิสปาโน ซุยซ่า, โรงงานสร้างใบพัด เรจิแฟรส์ และโรงงานไฟฟ้าวิทยุ โกมองค์
| โดย: เจ้าบ้าน [1 ก.พ. 55 12:09] ( IP A:119.46.176.222 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ทหารอาสาจากกองบินทหารบกชุดแรก ๓๔๑ คน เดินทางกลับประเทศไทย
๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ กองทหารอาสาพร้อมธงชัยเฉลิมพล จำนวน ๑ กองร้อย ๑๓๘ คน ได้รับเชิญจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ร่วมเดินสวนสนามฉลองชัยชนะในกรุงปารีส ผ่านประตูชัยกรุงปารีส
๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ กองทหารอาสาพร้อมธงชัยเฉลิมพล จำนวน ๕๕ คน มีร้อยเอกหม่อมเจ้า นิตยากร เป็นผู้บังคับกอง ได้รับเชิญจากรัฐบาลอังกฤษให้ร่วมเดินสวนสนามฉลองชัยชนะในกรุงลอนดอน
๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ กองทหารอาสาพร้อมธงชัยเฉลิมพล จำนวน ๑ กองร้อย ๑๖๗ คน ได้รับเชิญจากรัฐบาลเบลเยี่ยมให้ร่วมเดิน สวนสนามฉลองชัยชนะในกรุงบรัสเซลส์
๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๒ กองบินทหารบก ส่วนสุดท้าย เดินทางออกจากท่าเรือเมืองมาเซยส์ กลับประเทศสยาม
๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๒ ผู้ที่อาสาไปราชการสงครามครั้งนั้น เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย สำเร็จได้เป็นนักบิน จำนวน ๙๕ คน ช่างเครื่อง จำนวน ๒๒๕ คน ได้เป็นกำลังอันสำคัญของกิจการบินของประเทศไทยในเวลาต่อมา แม้กองบินทหารบกจะไม่ทันเข้าสู่สมรภูมิ เพราะสงครามสงบลง แต่ก็ได้รับเหรียญ ครัวซ์ เดอ แกร์ ประดับที่ธงชัยเฉลิมพลด้วย
๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น บริเวณสนามหลวง เพื่อบรรจุอัฐิทหารอาสาที่เสียชีวิต และทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ และทรงบรรจุอัฐิทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งได้เสียชีวิตจากการปฏิบัติราชการ จำนวน ๑๙ นาย (เสียชีวิตในประเทศไทยก่อนออกเดินทาง ๒ นาย และเสียชีวิต ณ ประเทศฝรั่งเศส ๑๗ นาย) โดยมีอาสาสมัครแบ่งออกเป็น กองบินทหารบก รวม ๔๐๐ คน และกองทหารบกรถยนต์ รวม ๘๕๐ คน ซึ่งมี พันเอก พระเฉลิมอากาศ เป็นผู้บังคับการกองทหารอาสาในส่วนกองบินทหารบก
| โดย: เจ้าบ้าน [1 ก.พ. 55 12:10] ( IP A:119.46.176.222 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ๑๑ พฤศจิกายน วันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดพิธีวางพวงมาลาเพื่อเป็นการแสดงความระลึกวีรกรรมและความเสียสละของทหารอาสาสมัครสงครามโลกครั้งที่ ๑ และการจัดนิทรรศการ ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา ฯ บริเวณท้องสนามหลวง ในวันจันทร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๔๔๐ (ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา ในเวลาประมาณ ๑๕๓๐)
| โดย: เจ้าบ้าน [5 พ.ย. 56 11:26] ( IP A:119.46.176.222 X: ) |  |
|