การบินรอบโลกของ Amelia Mary Earhart มายังสนามบินดอนเมือง
   ๑ – ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๐ การบินรอบโลกของ อะมีเลีย แอร์ฮาร์ต มายังสนามบินดอนเมือง
วันที่ ๑๑ มกราคม อะมีเลีย เป็นคนแรกที่บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากฮาวายมาแคลิฟอร์เนีย บินเดี่ยวจากลอสแอนเจลิสถึงเม็กซิโกซิตีและบินกลับมาลงที่นิวเจอร์ซี อะมีเลียเป็นครองสถิติการบินต่างๆ เป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เธอได้เข้าร่วมงานสอนที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดิวเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาด้านเส้นทางการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาหญิงเมื่อจบการศึกษา
การบินรอบโลก
อะมีเลีย แอร์ฮาร์ตได้รับเครื่องบิน 'ลอกฮีด แอล- ๑๐ อี อีเลกตรา' สนุบสนุนโดยมหาวิทยาลัยเปอร์ดิวเมือเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ และได้เริ่มวางแผนการบินรอบโลก แม้จะไม่ใช่เป็นคนแรกแต่ก็เป็นการบินรอบโลกที่มีระยะทางไกลที่สุด (๔๗,๐๐๐ กิโลเมตร) โดยบินตามเส้นศูนย์สูตร แม้เครื่องอีเล็กตราจะได้ชื่อเป็น 'ห้องทดลองบินได้' แต่การเตรียมทางด้านวิทยาศาสตร์กลับน้อยมาก ส่วนใหญ่เตรียมตามแนวของหนังสือเล่มต่อไปของอะมีเลีย 'เฟรด นูแนน' แห่งลอสแอนเจลิส ได้รับเลือกเป็นต้นหนเนื่องจากมีประสบการณ์สูง และนูแนนเองรับงานก็เนื่องจากมีแผนที่จะตั้งโรงเรียนต้นหนการบินในฟลอริดา
ในวันเซนต์แพตริก พ.ศ. ๒๔๘๐ ทั้งสองได้ออกบินขาแรกจากโอกแลนด์ แคลิฟอร์เนียไปโฮโนลูลูและเริ่มบินต่อใน ๓ วันต่อมาแต่ก็เกิดความเสียหายหนักควงบนพื้นเนื่องจากยางระเบิดขณะบินขึ้นทำให้ต้องส่งเครื่องกลับไปซ่อมแคลิฟอร์เนียและยกเลิกการเดินทาง เมื่อซ่อมเสร็จจึงเริ่มเดินทางใหม่เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๐ ในครั้งนี้เปลี่ยนเป็นการบินไปทางตะวันออกโดยเริ่มต้นที่ไมอามี หลังลงจอดหลายแห่งตามทางในอเมริกาใต้ อัฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



โดย: เจ้าบ้าน [24 ก.ค. 55 17:03] ( IP A:27.55.11.151 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ๑๙ มิถุนยาน พ.ศ.๒๔๘๐ แวะย่างกุ้ง ประเทศพม่า
“The next day, June 19, we started again from Akyab, with the hope of getting through to Bangkok, Siam, monsoons permitting. But they did not permit, so the flight ended at Rangoon, only 400 miles away. This short hop produced even worse weather than that which turned us back on the previous day. Then we had tried unsuccessfully to sneak underneath the monsoon. Those tactics again failing, this time we pulled up to 8,000 feet to be sure of missing the mountain ridges, and barged through. After two hours of flying blind in soupy atmosphere we let down and the bright green plains beside the Irrawaddy River smiled up at us. Then we dodged about for fifty miles….The first sight at Rangoon was the sun touching the Shwe Dagon Pagoda. This great structure stands on a considerable prominence and could be seen for miles while the city was still but a shadow on the horizon, its covering of pure gold a burnished beacon for wayfarers of the air. Shortly after our landing, rain poured down so heavily that it was hazardous to take off for Bankok, so we decided to stay where we were for a time at least.”

โดย: เจ้าบ้าน [24 ก.ค. 55 17:04] ( IP A:27.55.11.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ๒๐ มิถุนายน ๒๔๘๐ แวะสนามบินดอนเมือง และเดินทางต่อไปยังสิงคโปร์
“Moist clouds were our companions as we left Rangoon the next morning, bound for Bangkok, Siam. First, we crossed the upper reaches of the Gulf of Martaban, flying over Moulmein. A great range of mountains extends north and south along the western border of Siam, separating it from the long arm of Burma that reaches down into the Malay Peninsula. Through squally weather we climbed to 8,000 feet and more, topping this mountain barrier. On its eastern flanks the clouds broke and there stretched before us a dark green forest splashed with patches of bright color, cheerful even in the eyes of a pilot who recognized in all the limitless view no landing place. The country fell away gradually to the east, the hills flattening out into heavy jungle. Then we crossed the Mei Khlaung River, with little villages scattered along its banks, the wide expanses of irrigated land burdened with rice crops.
Bangkok itself lies in a vast plain with mountains in the distant background. After refueling at Bangkok (the airport was one of the best we encountered) we started for Singapore, more than 900 miles away. Though we did not sight them, there were two transport planes that day on the same route which we flew. The Imperial Airways machine left Rangoon first and the K.L.M. Douglas at daybreak. Our Lockheed left fifteen minutes later. All stopped at Bangkok, then followed different courses to Singapore. We arrived there first, at 5:25 P.M. local time, because we cut straight and did not stop along the way.”
ทั้งสองก็ได้มาถึงเมือง 'แล' (Lae) นิวกินีเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๐
การเดินทางได้ผ่านมาแล้วรวม ๓๕,๐๐๐ กิโลเมตร ยังคงเหลืออีก ๑๑,๐๐๐ กิโลเมตรซึ่งเป็นการบินเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก และในเวลา ๒๔๐๐ ตามเวลากรีนิช ทั้งสองได้บินขึ้นจากเมืองแลเพื่อตรงไปยังเกาะฮาวแลนด์ที่เป็นแผ่นดินราบยาว ๒ กิโลเมตร กว้าง ๕๐๐ เมตร สูง ๓ เมตรจากระดับน้ำ อยู่ห่าง ๔,๑๑๓ กิโลเมตรไปทางตะวันออก
จากการรายงานตำแหน่งครั้งสุดท้ายของอะมีเลียแจ้งว่าอยู่เหนือเกาะนูกุมานู อยู่ห่างจากต้นทางประมาณ ๑,๓๐๐ กิโลเมตร เรือยามฝั่งชื่อ ไอทัสกา ได้รับหน้าที่ติดต่อวิทยุและควบคุมการบินลงเมื่อเครื่องบินของอะมีเลียเข้าถึงระยะติดต่อได้ แต่จากการติดต่อด้วยวิทยุมีปัญหาสับสนการนำทางโดยวิทยุจึงไม่บรรลุผล ในขณะนั้นก็ปรากฏว่ามีเมฆมากกระจายตัวทอดเงาลงบนทะเลดูคล้ายเกาะมากมายไปหมด แม้การติดต่อด้วยคำพูดของอะมีเลียกับเรือยามฝั่งที่บ่งบอกว่าได้มาถึงที่หมายแล้วและรู้ว่าพลาดเป้าไป ๙ ไมล์ทะเล ก็ไม่ปรากฏตัวเครื่องบินให้เห็น การติดต่อได้ต่อเนื่องกระท่อนกระแท่นอยู่หลายชั่วโมงสัญญานจึงขาดหายไป มีผู้ได้รับสัญญาณของอีเลกตราที่หายไปได้รอบๆ แปซิฟิก
สหรัฐฯ ได้ใช้เงินถึง ๔ ล้านเหรียญในการค้นหาอะมีเลียทั้งทางน้ำและทางอากาศ เป็นการค้นหาที่มีราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งยุคนั้น อย่างไรก็ดี เทคนิคในการค้นหาในยุคนั้นยังค่อนข้างโบราณ อาศัยเพียงความเห็นของคน การค้นหาจึงยังไม่บรรลุผล มีการตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการหายตัวของอะมีเลียและนูแนนมากมาย บ้างก็ว่าถูกเครื่องบินญี่ปุ่นดักบังคับให้ลงบนเกาะไซปันหรือถูกยิงตก ปัจจุบันเอกสารหลักฐานเกี่ยวการหายและการค้นหาที่เป็นทางการยังถูกปกปิดเป็นความลับ

โดย: เจ้าบ้าน [24 ก.ค. 55 17:04] ( IP A:27.55.11.151 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน