เครื่องบินแบบ บ.ทอ.3
    พ.ศ. ๒๕๐๕ ความสำเร็จในการที่ กรมช่างอากาศ ทำการดัดแปลงเครื่องบิน บ.ส.๕ (โบนันซ่า) เป็นเครื่องบินแบบ บ.ทอ.๒ ทำให้ วิศวกรอากาศยาน มีแนวความคิดที่จะออกแบบสร้างเครื่องบินขึ้นมาใช้งานเองให้ได้ โดยกำหนดโครงการขึ้นมา เรียกว่า “โครงการเครื่องบินกองทัพอากาศ ๓” หรือ “บ.ทอ.๓”

บ.ทอ.๓ ได้รับการแผนแบบ ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบแบบ ๖ สูบ คอนติเนนตัล ๐-๔๗๐-๑๓ กำลัง ๒๒๕ แรงม้า ติดตั้ง ใบพัด สองกลีบ มีขนาด ๓ ที่นั่ง ลำตัวยาว ๓๑ ฟุต ๑ นิ้ว กางปีก ๓๗ ฟุต และสูง ๑๑ ฟุต ๖ นิ้ว มีความแข็งแรงของปีกสามารถติดตั้งอาวุธได้ ติดตั้งถังเชื้อเพลิงในปีกข้างละ ๒๕ ยูเอสแกลลอน คาดว่าเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีอัตราความเร็วประมาณ ๑๘๐ ไมล์ต่อชั่วโมง เพดานบิน ๒๔,๐๐๐ ฟุต ฐานล้อแบบสามล้อพับเก็บได้ เบื้องต้นกำหนดให้ใช้เป็น เครื่องบินฝึกขั้นต้น (Primary Trainer) หรือ เครื่องบินฝึกขั้นปลาย (Advanced acrobatic) รวมถึงการใช้เป็นเครื่องบินฝึกเครื่องวัด การยิงปืน ยิงจรวด และทิ้งระเบิด รวมถึงการใช้เป็นเครื่องบินธุรการ และตรวจการณ์

โดย: เจ้าบ้าน [26 มิ.ย. 55 8:24] ( IP A:119.46.176.222 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   บ.ทอ.๓ ได้รับการแผนแบบเป็นเครื่องบินปีกต่ำชั้นเดียวแบบ Cantilever ขนาดเล็ก โลหะล้วน และสร้างต้นแบบโมเดลไม้ขนาด ๑/๖ เพื่อทำการประเมินในอุโมงค์ลม ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีแผนจะให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๐๗ และดาดว่า จะทำการบินได้ในปี ๒๕๐๘ โดยนอกจากโมเดลที่นำไปทำการทดสอบแล้ว ยังมีการสร้าง Mock-up ขนาด ๑/๑ เพื่อทำการทดสอบ แต่เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างและการใช้แม่แบบ JIG โลหะ ยังเป็นเรื่องที่ก้าวหน้าอยู่มาก โครงการจึงหยุดชะงัก กองทัพอากาศ จึงมุ่งการพัฒนาไปที่ การดัดแปลงจากอากาศยานที่มีอยู่แล้ว หรือซื้อแบบเครื่องบินมาสร้างก่อน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ โครงการ บ.ทอ.๓ จึงยุติลง

โดย: เจ้าบ้าน [26 มิ.ย. 55 8:24] ( IP A:119.46.176.222 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

โดย: เจ้าบ้าน [26 มิ.ย. 55 8:25] ( IP A:119.46.176.222 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ประวัติการออกแบบสร้าง เครื่องบินแบบ บ.ทอ.3
รวบรวมโดย...พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์

โดย: เจ้าบ้าน [26 มิ.ย. 55 8:27] ( IP A:119.46.176.222 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน