น้ำสกัดชีวภาพ
   น้ำสกัดชีวภาพ เป็นปุ๋ยชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักซากพืชซากสัตว์หรือวัสดุเหลือใช้ต่างๆ โดยผ่านกระบวนการหมักของจุลินทรีย์

ด้วยการเติมกากน้ำตาล ให้เป็นพลังงานของจุลินทรีย์ สำหรับย่อยสลาย ซากพืช ซากสัตว์ หรือวัสดุเหลือใช้

ในการทำน้ำสกัดชีวภาพหรือฮอร์โมน เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น ที่นำวัสดุซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ได้แก่

1. พืช ผักสด เช่น ผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วย ตำลึง ต้นถั่วต่างๆ ควรเลือกส่วนที่เป็นยอด เพราะมีฮอร์โมนช่วยเร่งการเจริญเติบโต

2. ผลไม้ดิบ เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอ ตำลึง ชมพู่ ขนุนฯลฯ มีฮอร์โมน ช่วยทำให้ลำต้นแข็งแรง ต่อต้านต่อโรค

3. ผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฟักทอง ตำลึง ลูกยอสุข มะม่วงหิมพานต์ ลองกอง

เลือกผลไม้ที่มีรสหวานจะให้ฮอร์โมนเร่งดอก

4. แหล่งโปรตีน เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วต่างๆ เศษเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ หรือปลา

5. พืชสมุนไพรกลิ่นฉุน หรือรสเผ็ด เช่น สาบเสือ พญาไร้ใบ พริกไทย พริก ลูกลำโพง ตะไคร้หอม กระเพรา ขิง ข่า ใบสะเดา

น้อยหน่า เป็นพืชที่มีสารช่วยป้องกันแมลง

6. สมุนไพร รสขม หรือฝาด เช่น เปลือกมังคุด ลูกหมาก เป็นพืชที่มีสารป้องกันเชื้อรา

ที่มา:http://www.changklang.com/bio.htm
โดย: นนท์1449 [23 ม.ค. 51 13:06] ( IP A:125.24.139.136 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   การทำปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง
วัสดุ
ฟางแห้ง หญ้าแห้ง ใบไม้ ฯลฯ 10 ส่วน
โบกาฉิ 1 ส่วน
รำละเอียด 2 ส่วน (1 ปิ๊บ)
อีเอ็ม 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ)
กากน้ำตาล 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ)
น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมอีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด ผสมไว้ในถังในอัตราส่วน 1/1/1,000 คือ น้ำ 10 ลิตรเติม อีเอ็มลง 1 ช้อนโต๊ะ และกากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
ขั้นที่ 2 เอาโบกาฉิ+รำละเอียด ผสมคลุกให้เข้ากัน รดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็มพอหมาดๆ ความชื้นประมาณ 40%
ขั้นที่ 3 นำฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง จุ่มลงในน้ำที่ขยายอีเอ็มไปกองไว้ โรยด้วยโบกาฉิ+รำละเอียดคลุกให้ส่วนผสมเข้ากันทุกส่วน กองให้สูงจากพื้นดินประมาณ 1 ฟุต คลุมด้วยกระสอบป่าน
ขั้นที่ 4 หลังจากการหมักผ่านไปแล้ว 18 ชั่วโมง กลับกองปุ๋ยหมักคลุมด้วยกระสอบไว้เหมือนเดิม เมื่อครบเวลา 24 ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ได้
ประโยชน์ของการขยายปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง
1. ประหยัดต้นทุนในการทำปุ๋ยหมัก สามารถเพิ่มปริมาณในการทำปุ๋ยให้ได้มากๆ ในเวลาเพียง 24 ชม.
2. ประหยัดเวลาและแรงงาน ซึ่งปกติเคยทำปุ๋ยหมักเป็นเวลา 60 วัน เป็นอย่างต่ำเมื่อใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะประหยัดทั้งเวลาและแรงงานและยังได้ปุ๋ยหมักที่มีประสิทธิภาพสูง ในเพียงเวลา 24 ชม.
3. เมื่อครบ 24 ชั่วโมงแล้ว สามารถขยายเชื้อต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด คือใช้ปุ๋ยหมัก 24 ชม. เพียง 1 ส่วนไปต่อเชื้อไปเรื่อยๆ เหมือนวิธีการเริ่มต้นทำตั้งแต่ขั้น 1-4
4. นำไปใช้ได้เหมือนโบกาฉิทั่วๆ ไป ควรนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชระยะยาว เช่น คลุมโคนต้นไม้ผล คลุมแปลงปลูกพืชผัก โปรยหว่านในนาข้าว รองก้นหลุมไม้ผลหรือรองพื้นแปลงผัก
5. ขยายหว่านในแปลงพืชเพาะปลูกขนาดใหญ่ เช่น นาข้าว ไร่มัน ไร่ปอ ไร่ข้าวโพด ฯลฯ เพราะสามารถขยายทำปุ๋ยในแปลงขนาด 10-10,000 ไร่ ในเวลาที่สั้น
6. หาวัสดุง่ายในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบไม้ หญ้าแห้ง ฯลฯ สามารถนำวัสดุในพื้นที่เพาะปลูก ขยายทำปุ๋ยหมักในเวลา 24 ชั่วโมง ในพื้นที่ทำการเกษตร
7. ไม่ยุ่งยากในการทำโรงเรือน ปัญหาการเก็บรักษา เพราะทำปุ๋ยหมักในสถานที่ที่ทำการเพาะปลูก และนำไปใช้ได้ทันที
หมายเหตุ:
วัสดุที่ใส่แทนรำละเอียด
1. ฝุ่นซังข้าวโพด 2. มันสำปะหลัง
3. คายข้าว (จำนวนข้าว 4. กากข้าวมะพร้าว ฯลฯ
วัสดุที่ใส่แทนแกลบ
1. ใบไม้ 2. ขี้เลื่อย 3. ไม้ผุ
4. ฟางข้าว 5. ซังข้าวโพด ฯลฯ
โดย: นนท์1449 [23 ม.ค. 51 13:12] ( IP A:124.157.129.239 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   การทำฮอร์โมนธรรมชาติจากยอดพืช
วัสดุ
1. ยอดพืช 4 กก. ยอดยูคาลิปตัส 1 กก. ยอดสะเดา 1 กก.
2. ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร
3. จุลินทรีย์อีเอ็ม 200 ซีซี (1 แก้ว)
4. กากน้ำตาล 200 ซีซี (1 แก้ว)
5. น้ำสะอาดประมาณ 15 ลิตร
วิธีทำ
1. เก็บยอดพืชตอนเช้าตรู่ 6 กก. เช่น ฮอร์โมนใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว ใช้ยอดผักบุ้ง ยอดพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ ฮอร์โมนใช้กับไม้ผล ใช้ยอดมะม่วง ขนุน ฯลฯ ฮอร์โมนใช้ในนาข้าวใช้ยอดหญ้าใบข้าว ใบไผ่ ฯลฯ แล้วนำยอดพืชล้างให้สะอาดบรรจุลงในถัง
2. เติมอีเอ็มและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
3. เติมน้ำสะอาดลงในถังเกือบเต็มให้มีช่องอากาศประมาณ 4 ซม. เอาพลาสติกปิดปากถังแล้วเอายางรัดไม่ให้อากาศเข้า-ออกได้ ปิดปากถังให้การหมักมืดคลุมทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
4. เมื่อการหมักครบ 10 วัน บรรจุลงขวดประมาณ 1 ลิตรได้ประมาณ 15 ขวด มีอายุการเก็บรักษาได้ 3 เดือน
วิธีใช้
1. นำฮอร์โมนยอดพืช 40 ซีซี (4 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำ 20 ลิตร (1 ปิ๊บ) รดฉีดพ่น
2. ใช้กับพืชผักสวนครัว รดหรือฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. ใช้กับไม้ผล ไม้ยืนต้น รดหรือฉีดพ่นทุกๆ 30 วัน หลังเก็บเกี่ยวช่วงไม้ผลออกดอกห้ามฉีด ไม้ผลที่ดอกยังไม่บานฉีดพ่นได้
4. ฮอร์โมนที่ดีต้องมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว และมีราสีขาวอยู่ผิวหน้า ถ้าฮอร์โมนมีกลิ่นเหม็นห้ามนำมาใช้กับพืชจะทำให้พืชตายได้
หมายเหตุ:
วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ดังนี้ ใช้แทนกากน้ำตาล 1 ช้อน (กรณีไม่ใช้กากน้ำตาล) เช่น
จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำอ้อย 2 ก้อน+น้ำ 10 ลิตร
จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำซาวข้าว 4 แก้ว+น้ำ 10 ลิตร
จุลินทรีย์ 1 ช้อน+นมข้นหวาน 2 ช้อน+น้ำ 10 ลิตร
จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำเปรี้ยว 2 ช้อน+น้ำ 10 ลิตร
จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำปัสสาวะ 1 แก้ว+น้ำ 10 ลิตร
โดย: นนท์1449 [23 ม.ค. 51 13:13] ( IP A:125.24.139.136 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ลูกสิตสันติอโศกหรือเปล่าครับ เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหมักดี ผมก็ศึกษามาเหมือนกัน แต่ไม่มีเวลาพิมพ์ในกระทู้ สูตรหลักๆ 3:1:10
โดย: เทิดเกียรติ208 [24 ม.ค. 51 15:44] ( IP A:202.149.24.161 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน