ความคิดเห็นที่ 1 เสนอตอน...ไตรโคเดอร์มา(พด.3) ขอได้ฟรี ที่ กรมพัฒนาที่ดินประจำจังหวัด
http://www.ldd.go.th
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี ผศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน _______________________________________________________________ ทำไมจึงเกิดโรคกับพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินและพืชในโรงเรือน การปลูกพืชผักโดยไม่ใช้ดิน และการปลูกในสภาพโรงเรือน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะลดหรือหลีก เลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และลดปัญหาจากการรบกวนของแมลงและการเกิดโรคพืชที่มีสาเหตุ จากเชื้อโรคพืชในดิน ทั้งเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย ที่มักก่อให้เกิดโรคกล้าเน่า รากเน่า โคนเน่า และโรค เหี่ยว อย่างไรก็ตาม เชื้อสาเหตุของโรคก็อาจมีโอกาสผ่านเข้าสู่ระบบของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินใน สภาพโรงเรือนได้ โดยอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ หรือต้นกล้าพืชผักที่ย้ายลงปลูก ติดมากับเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์การเกษตร และคนที่ปฏิบัติงานในโรงเรือนเพาะปลูก เช่น ติดมากับรองเท้า เสื้อผ้า และมือ ละอองฝุ่นที่ถูกลมพัดพาเข้ามาในโรงเรือนก็อาจมีเชื้อโรคพืชติดมากับอนุภาคของดินได้เช่นกัน เชื้อราและ เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคอาจปะปนอยู่ในน้ำที่ใช้ผสมสารละลายแร่ธาตุ สำหรับการปลูกพืชในระบบ ไฮโดรโพนิกส์ หรือในน้ำที่ใช้รดต้นพืชในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นอกจากนี้เชื้อโรคพืชอาจติด มากับวัสดุอินทรีย์ที่นำมาใช้เป็นวัสดุปลูก เช่น ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว แกลบดิบ ฯลฯ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนโดยส่วนใหญ่มักเอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคพืชหลายชนิด กล่าว คือ ในโรงเรือนมีความชื้นสูง ความเข้มของแสงน้อยกว่าปกติ อุณหภูมิไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความชื้นบริเวณระบบรากพืชมักค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ในกรณี ของการปลูกพืชในสาร ละลายแร่ธาตุอาหารนั้น รากพืชต้องแช่อยู่ในสารละลายตลอดเวลา เปิดโอกาสให้เชื้อราในกลุ่มของรา ชั้นต่ำคือ เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) และเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora spp.) สามารถเจริญ และสร้างสปอร์ที่ว่ายน้ำ (ซูโอสปอร์/zoospore) และเข้าทำลายระบบรากของพืชได้ บางกรณีการเปลี่ยน แปลงระดับความเป็นกรด-ด่าง ของสารละลายแร่ธาตุอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเกิด สภาวะกรดจัด (pH ต่ำกว่า 5.5) อาจเป็นสาเหตุให้พืชเกิดความเครียด อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค เอกสารประกอบการฝึกอบรม หลักสูตร “การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการปลูกผักระบบไม่ใช้ดิน และภายในโรงเรือน” จัดโดย สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ชุดโครงการ-การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน) และคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 ณ. อาคารเจ้าคุณทหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ 2 ได้ การเปลี่ยนแปลงของระดับอุณหภูมิในโรงเรือนจากสภาพปกติเป็นอุณหภูมิสูงขึ้น เช่น ในฤดูร้อน นอก จากจะเป็นปัจจัยที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรคทั้งโรค บนใบพืชและโรคที่เกิดกับระบบรากได้ ถ้าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชเกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเวลานาน จะช่วยส่งเสริมการเกิดโรคได้ง่ายขึ้น หรือช่วยให้เกิดโรคในระดับที่ รุนแรงได้ พันธุ์พืชที่ใช้ปลูกทั้งในระบบที่ไม่ใช้ดินและในสภาพโรงเรือนส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ดี เจริญเติบโตรวดเร็วและให้ผลผลิตสูง แต่มักไม่ต้านทานต่อโรคพืชที่สำคัญ พืชผักที่มีการเจริญเติบโตที่ รวดเร็ว มักมีเซลล์ที่อวบน้ำ ผนังเซลล์บอบบาง เชื้อโรคสามารถแทงเข้าสู่เซลล์ได้โดยง่าย อย่างไรก็ ตาม พืชผักบางพันธุ์มีการเจริญของรากใหม่ทดแทนรากเก่าที่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ การเจริญเติบโตของพืชในภาพรวมเป็นไปตามปกติ และผลผลิตไม่ลดลงมากนัก ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดโรคกับพืชผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินและปลูกในสภาพโรงเรือน จึง ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวข้างต้น คือ พันธุ์พืชผักที่อ่อนแอต่อโรค มีเชื้อโรคแพร่ เข้ามาใน ระบบและกระบวนการปลูกพืช ประกอบกับมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง หรือในระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร อย่างไรก็ตามการปลูกพืชผักในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ได้รับ การพัฒนาจนอยู่ในระดับที่ปฏิบัติเป็นการค้าแล้ว ดังนั้นจึงไม่ค่อยพบปัญหาโรคพืชที่เกิดจากสาเหตุเกี่ยว กับความไม่สมดุลของแร่ธาตุอาหาร โรคที่สำคัญของพืชผักที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน และในสภาพโรงเรือน พืชผักที่ปลูกกันในระบบไม่ใช้ดิน และปลูกในสภาพโรงเรือน ประกอบด้วยพืชในกลุ่มผัก สลัด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง แตงกวา แคนตาลูป มะเขือเทศ พริกฯ โรคที่สำคัญของพืชผักดังกล่าวมักมี สาเหตุจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย เป็นสำคัญ โรคไวรัสอาจพบได้น้อยเพราะมีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ ปราศจากโรค และในโรงเรือนสามารถป้องกันการ
แพร่ระบาดของแมลงที่อาจเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสได้ สำหรับโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ไม่พบว่าเป็นปัญหาแต่ประการใด 3 โรคของพืชผักที่พบในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและในสภาพโรงเรือนในประเทศไทย* ชนิดพืช/ชื่อโรค เชื้อสาเหตุ ระบบการปลูก ผักสลัด/ผักกินใบ โรคกล้าเน่า/รากเน่า รา : พิเทียม (Pythium spp.) NFT, DFT โรครากเน่า/ลำต้นเน่า รา : ไฟทอฟธอรา (Phytophthora sp.) NFT โรคใบจุด/ใบไหม้ รา : อัลเทอร์นาเรีย (Alternaria spp.) NFT, DFT โรคราน้ำค้าง รา : เพอโรโนสปอรา (Peronospora parasitica) NFT, DFT พริก โรคแอนแทรคโนส รา : คอลเลโททริคัม (Colletotriclum spp.) Substrate โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา รา : เซอร์คอสปอรา (Cercospora spp.) Substrate โรคเหี่ยวฟิวซาเรียม รา : ฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) Substrate พืชตระกูลแตง (แตงกวา, แคนตาลูป, แตงโม) โรคราแป้ง รา : ออยเดียม (Oidium sp.) NFT,DFT,substrate โรคราน้ำค้าง รา : เพอโรโนสปอรา (Peronospora spp.) NFT,DFT,substrate โรคเหี่ยว รา : ฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) NFT, substrate พืชอื่นๆ โรครากเน่า รา : พิเทียม (Pythium spp.) NFT, DFT (หญ้าเทวดา) โรครากเน่า รา : พิเทียม (Pythium spp.) NFT, DFT (สะระแหน่) โรคเน่าเละ แบคทีเรีย : เออร์วิเนีย (Erwinia carotovora DRFT (ผักกาดกะหล่ำ) pv. carotovora) * จากผลการสอบถามข้อมูลเจ้าหน้าที่ผู้ปลูก/ดูแลพืช และจากการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคพืช โดย นักวิชาการโรคพืช 4 โรคพืชที่พบในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและในสภาพโรงเรือนในต่างประเทศ ชนิดพืช/ชื่อโรค เชื้อสาเหตุ ระบบการปลูก มะเขือเทศ โรคลำต้นเน่า แบคทีเรีย : (Erwinia carotovora NFT pv. carotovora) โรคแคงเกอร์ แบคทีเรีย : (Clavibacter michiganese NFT pv. michiganense) โรคใบจุด แบคทีเรีย : (Xanthomonas campestris NFT pv. vesicatoria) โรคเหี่ยว แบคทีเรีย : (Ralstonia solanacearum) NFT โรคใบจุด แบคทีเรีย : (Pseudomonas syringae NFT pv. syringae) โรคไส้ตาย แบคทีเรีย : (Pseudomonas corrugata) NFT โรครากและลำต้นเน่า รา : (Pythium aphanidermatum) NFT, DFT : Fusarium spp.) โรครากเน่า รา : (Pythium myriotyrum) NFT : Phytophthora parasitica) โรครากเน่าดำ รา : (Thielaviopsis basicola) NFT โรคราสีขาว รา : (Sclerotinia sclerotiorum) NFT โรคลำต้นเน่า รา : (Phoma sp.) NFT โรคราสีเทา รา : (Botrytis cinerea) NFT โรคใบไหม้ รา : (Alternaria solani) NFT โรคแคงเกอร์ รา : (Alternaria alternata) NFT โรคใบด่าง ไวรัส : Tobacco mosaic virus NFT พริก โรคใบไหม้ รา : (Pythium spp) NFT โรคราสีเทา รา : (Botrytis cinerea) NFT แตง โรครากและลำต้นเน่า รา : (Pythium aphanidermatum) NFT, DFT โรคราสีเทา รา : (Botrytis cinerea) NFT 5 โรคพืชที่พบในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและในสภาพโรงเรือนในต่างประเทศ ชนิดพืช/ชื่อโรค เชื้อสาเหตุ ระบบการปลูก ผักกินใบ โรครากและลำต้นเน่า รา : (Pythium aphanidermatum) NFT, DFT โรครากเน่า รา : (Phytophthora parasitica) NFT สตอรเบอร์รี่ โรคราสีเทา รา : (Botrytis cinerea) NFT เยอร์บีรา โรครากเน่า รา : (Rhizoctonia spp.) NFT นอกจากนี้ มีรายงานว่า สามารถแยกเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ได้จากราก พืชที่ปลูกในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ประกอบด้วย 1. เชื้อแบคทีเรีย : Ralstonia solanacearum 2. เชื้อราที่สร้างซูโอสปอร์ (สปอร์ที่ว่ายน้ำได้) : Phytophthora cryptogea : P. nicotianae : Plasmopara lactucae – radicis : Pythium debaryanum : Pythium dissotocum : Pythium intermedium : Pythium myriotyrum : Olpidium brassicae : Olpidium radicale 3. เชื้อไวรัส : Lettuce *** vein virus (ถ่ายทอดโดย Olpidium brassicae) : Melon necrotic spot virus (ถ่ายทอดโดย Olpidium radicale ) : Tomato mosaic virus : Cucumber green mottle mosaic virus 6 การควบคุมโรคพืชผักในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและในสภาพโรงเรือน การควบคุมโรคพืชผักในระบบการปลูกที่ไม่ใช้ดิน ไม่ว่าจะปลูกพืชในสารละลาย แร่ ธาตุแบบไฮโดรโพนิกส์ หรือการปลูกในวัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์อาศัยหลักการเช่นเดียวกับการปลูกพืช ผักในดิน แต่อาจมีข้อแตกต่างในวิธีปฏิบัติอยู่บ้าง การควบคุมโรคในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินซึ่งมัก ปฏิบัติกันภายในโรงเรือน จะสามารถดำเนินการได้สะดวกกว่าและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่า การควบคุมโรคของพืชที่ปลูกในดินนอกโรงเรือน หลักการควบคุมโรคที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะให้ ระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินปลอดจากเชื้อโรคพืชและศัตรู
พืชต่างๆ ได้มากที่สุด และทำอย่างไรที่จะ บำรุงพืชให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีความแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุ โรคได้ดีที่สุด หลักการควบคุมโรคพืชผักในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินและในสภาพโรงเรือน ประกอบด้วย 1. การหลีกเลี่ยงและการกีดกัน (Avoidance and exclusion) เป็นการพยายามหลีกหนีให้ไกลจากแหล่ง หรือบริเวณที่มักมีโรคพืชระบาดอยู่ (ถ้าทำได้) หลีก เลี่ยงจากการใช้น้ำและวัสดุปลูกที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคพืช ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยเหตุผล ต่างๆ ก็ควรที่จะมีมาตรการกีดกันเชื้อโรคไม่ให้เข้ามาสู่โรงเรือนที่ปลูกพืชได้ การใช้เมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้า พืชจากแหล่งผลิตจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าพืชแล้ว แพร่กระจายในโรงเรือน สำหรับวัสดุปลูกพืชก็เช่นเดียวกัน ต้องมั่นใจว่าวัสดุดังกล่าวปราศจากเชื้อโรคปน เปื้อนติดมาด้วย ถ้าไม่แน่ใจต้องดำเนินการกำจัดเชื้อโรคปนเปื้อนก่อนนำไปใช้ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า เชื้อราสาเหตุโรคพืชสามารถติดไปกับคนที่เข้าปฏิบัติงานใน โรงเรือนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งติดไปกับเสื้อผ้าและรองเท้า ดังนั้นควรมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อ ป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติงานนำพาเชื้อเข้าสู่โรงเรือนได้โดยไม่ทันรู้ตัว บางกรณีอาจจำเป็นต้องจัดระเบียบการ เข้าเยี่ยมชมของบุคคลภายนอกอย่างรอบคอบด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือกีดกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่โรงเรือน ปลูกพืชได้โดยง่าย 2. การกำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืช (Eradication) เป็นมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งในการลดปริมาณของเชื้อโรคในโรงเรือน หรือในระบบปลูกพืช โดยไม่ใช้ดิน ทั้งนี้อาจใช้วิธีการทางกายภาพ ทางเคมี และโดยวิธีชีวภาพวิธีใดวิธีหนึ่งหรือทุกวิธีร่วมกัน วิธีการทางกายภาพที่สามารถฆ่าเชื้อโรคซึ่งอาจติดมาในสารละลายแร่ธาตุอาหารสำหรับปลูก พืช ประกอบด้วย การใช้ความร้อน (มากกว่า 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที) การใช้แสงอัลตราไวโอเลต (28-84 วัตต์ ผ่านลงในสารละลาย) การใช้กาซโอโซน (60-75 นาที) การกรองผ่านเยื่อกรอง (membrane ขนาดช่องเปิด 7 ไมครอน) การกรองผ่านทรายอย่างช้าๆ การปรับอุณหภูมิในสารละลายให้ต่ำลง (ต่ำกว่า 7 20 องศาเซลเซียส) สำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดมากับวัสดุปลูก อาจใช้วิธีตากแดดให้แห้งนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือการใช้ไอน้ำร้อนนึ่งฆ่าเชื้อ วิธีการทางเคมีที่ฆ่าเชื้อโรคในสารละลาย ประกอบด้วย การใช้คลอรีนในรูป sodium hypochlorite หรือ calcium hypochlorite (1-2 ppm) การใช้ไอโอดีน (0.7 ppm) การใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (100 ppm) การใช้ซิลเวอร์ออกไซด์ (Ag2O 40 ppb-ส่วนในพันล้านส่วน) การใช้แคลเซียมไนเตรท (10-20 mM) การใช้โพแทสเซียม ซิสิเคท (100-200 ppm) การใช้ทองแดง (0.28 ppm) ร่วมกับเหล็ก (FeSO4) วิธีการทางชีวภาพ ประกอบด้วย การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ทั้งที่เป็นเชื้อแบคทีเรียเช่น บาซิลลัส (Bacillus spp.) ซูโดโมนาส (Pseudomonas) และเชื้อราเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) นอกจากนี้ อาจมีการใช้ไคโตซาน (100-400 ppm) เพื่อกระตุ้นให้พืชเกิดความ ต้านทานโรคตลอดจนเลือก ใช้วัสดุปลูกที่สามารถยับยั้งเชื้อโรคได้ เช่น เปลือกไม้บางชนิด 3. การป้องกันการเกิดโรค (Protection) ควบคุมดูแลระบบการปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และความเค็ม (EC) เพื่อป้องกันไม่ให้พืชเกิดสภาวะเครียด (stress) ซึ่งจะทำให้พืชอ่อนแอ เกิด โรคง่าย ใช้สารสกัดจากจุลินทรีย์หรือใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีคลุกเมล็ด ผสมกับวัสดุปลูก ใส่ลงในสารละลายแร่ธาตุ รดหรือฉีดพ่นลงบนต้นกล้าพืช และต้นพืช ที่กำลังเจริญเติบโต การควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเดอร์มา สปีชีส์ (Trichoderma spp.) มีชื่อเรียกในทางราชการคือ “ไทรโคเดอร์มา” เป็น เชื้อราที่ได้รับความสนใจในการศึกษา-วิจัยจากนักวิชาการหลายแขนง เช่น ด้านการแพทย์ เนื่องจากเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างปฏิชีวนสารหลายชนิด ด้านการผลิตเอนไซม์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และการย่อยสลายวัสดุต่าง ๆ สำหรับด้านการควบคุมโรคพืช มีการศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโค เดอร์มา ลิกโนรัม (T. lignorum [viride>) ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดย Weindling จากการศึกษาพบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถฆ่าเชื้อไรซอคโทเนีย โซลาไน (Rhizoctonia solani) โดยการเป็นปรสิตด้วยการสร้างเส้นใยพันรัด (coiling around) เส้นใยของเชื้อโรค นอกจากนี้ยัง สังเกตพบว่ามีเชื้อราอีกหลายชนิด เช่น เชื้อรา ไฟทอฟธอรา (Phytophthora) เชื้อราพิเทียม (Pythium) เชื้อราไรโซพัส (Rhizopus) และเชื้อรา สเคลอโรเทียม รอล์ฟสิไอ (Sclerotium rolfsii)
มีความ อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาด้วย ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จึงมีนักวิชาการ ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างกว้างขวางตราบจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษากลไก 8 การเข้าทำลายเชื้อโรคพืช นิเวศวิทยาและศักยภาพในการนำมาผลิตชีวภัณฑ์เพื่อประยุกต์ใช้ในการควบคุม โรคพืชอย่างมีประสิทธิภาพ เอกสารฉบับนี้เป็นการเรียบเรียงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ควบคุมเชื้อ ราสาเหตุโรคพืชโดยสังเขป เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของเชื้อราไตรโค เดอร์มา การเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อโรคพืช ตลอดจนบทบาทในการนำมาผลิตและประยุกต์ใช้ควบคุมโรคพืช ด้วยรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ลักษณะและคุณสมบัติ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราจำพวกซาโปรไฟต์ (saprophyte) ที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัย เศษซากพืช และซากสัตว์และแหล่งอินทรีย์วัตถุ เป็นแหล่งอาหาร เป็นเชื้อราที่พบได้โดยทั่วไปในดินทุก หนทุกแห่ง สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์จากดินธรรมชาติได้ง่าย เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลาย ชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตโคนิเดีย (conidia) หรือสปอร์ (spore) มากมายรวมเป็นกลุ่มเห็นเป็นสี เขียว บางชนิดอาจมีสีขาวหรือสีเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นปฏิปักษ์หรือศัตรูต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช หลายชนิดโดยวิธีเป็นปรสิต (mycoparasite) โดยการพันรัดหรือแทงเข้าสู่ภายในเส้นใยเชื้อโรค แข่งขัน การใช้อาหารกับเชื้อโรค (competition) สามารถผลิต ปฏิชีวนสาร (antibiotics) สารพิษ (toxins) น้ำย่อยจำพวกเอนไซม์ (enzyme) นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรค พืชได้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาบางชนิดเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชได้ ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสูงในการใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรค พืช ตรงตามหลักการ และแนวคิดของการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพราะความสามารถ ในการเจริญอย่างรวดเร็ว สร้างสปอร์ได้ปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษอินทรีย์วัตถุ ช่วยให้ สามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืช หรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่รอบข้างได้ดี เชื้อราไตรโคเดอร์มาบางสายพันธุ์เป็น ปฏิปักษ์โดยตรงต่อเชื้อโรคพืช โดยการพันรัดแล้วแทงส่วนของเส้นใยเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุ โรคพืช ทำให้เส้นใยตาย ในขณะที่บางสายพันธุ์สามารถสร้างปฏิชีวนสาร หรือสารพิษ เพื่อหยุดยั้งหรือ ทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บางสายพันธุ์สามารถสร้างสาร เร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตของพืช ตลอดจนช่วยกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานต่อโรคเพิ่มขึ้น ได้ด้วย 1. ไตรโคเดอร์มาลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืช เชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดสามารถเจริญได้โดยอาศัยอาหาร ทั้งจากพืชอาศัย โดยตรง ในขณะที่กำลังเข้าทำลายพืชอยู่ หรืออาศัยวัสดุอินทรีย์จำพวกเศษซากพืชที่กำลังย่อยสลาย ตัว 9 อย่าง เช่น เชื้อราพิเทียม เชื้อราไรซ็อคโทเนีย และ เชื้อราสเคลอโรเทียม เป็นต้น ส่วน ไตรโค เดอร์มาเป็นเชื้อราที่ไม่ทำให้พืชเกิดโรคจึงไม่สามารถใช้อาหารจากพืชปกติได้ แต่จะอาศัยอาหารจาก อินทรีย์วัตถุและเศษซากพืชในดินแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นเชื้อราไตรโคเดอร์มาจึงอาจมีผล กระทบต่อกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ในช่วงระยะที่เชื้อโรคอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุเป็น สำคัญ กิจกรรมที่สำคัญของเชื้อราสาเหตุโรคพืช คือ การใช้อาหารจากเซลล์ของพืชที่มีชีวิตอยู่ หรือจาก เศษซากพืชเพื่อการเจริญโดยสร้างส่วนของเส้นใยให้มีปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลให้สามารถสร้างส่วน ขยายพันธุ์ หรือแพร่พันธุ์ได้มากขึ้นตามไปด้วย เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีคุณสมบัติในการลดกิจ กรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืชดังกล่าว โดยสามารถพันรัดเส้นใย แล้วปลดปล่อยเอนไซม์ออกมาหลาย ชนิด เช่น ไคติเนส เซลลูเลส กลูคาเนส เพื่อสลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคก่อนที่จะแทงส่วนของเส้นใย เข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญอย่างรวดเร็วโดยใช้อาหารจากภายในเส้นใย ของเชื้อโรค กิจกรรมด้านการเจริญของเส้นใยเชื้อโรคจะลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กิจกรรมเกี่ยวกับการ สืบพันธุ์ลดลงไปด้วย นอกจากนี้ในกรณีที่เชื้อโรคกำลังเข้าทำลายรากพืช หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น บริเวณแผลหรือรอยตัด เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะทำหน้าที่ขัดขวางกิจกรรมการเข้าทำลายของเชื้อโรค บริเวณดังกล่าวได้ โดยการแข่งขันการใช้อาหาร และรบกวนการเจริญของเชื้อโรคพืช ทุกระยะ เช่น การงอกของสปอร์ การเจริญและพัฒนาของเส้นใยการขยายพันธุ์และสืบพันธุ์ เป็นต้น ผลจากการรบ กวนและขัดขวางกิจกรรมต่าง ๆ ของเชื้อโรค จะส่งผลให้ความรุนแรงของการเกิดโรคพืชลดลงได้ในที่ สุด 2. ไตรโคเดอร์มาลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช ปริมาณ
ของเชื้อราสาเหตุโรคพืชมักมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมการเจริญเพื่อสร้าง เส้นใยและสปอร์ทั้งในและบนส่วนหรือบริเวณของพืชที่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลาย ดังนั้นเมื่อกิจกรรมการ เจริญและพัฒนาของเส้นใยเพื่อเข้าทำลายพืชอาศัย ตลอดจนกิจกรรมเพื่อสืบพันธุ์หรือสร้างส่วนโครง สร้างเพื่อขยายพันธุ์ของเชื้อโรคถูกขัดขวางหรือรบกวนโดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างต่อเนื่อง นอกจาก จะทำให้ความรุนแรงของการเกิดโรคลดน้อยลงแล้ว ยังส่งผลให้ปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลงจนอยู่ ในระดับที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับพืชที่ปลูกได้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเข้า ทำลายส่วนที่เป็นโครงสร้างของเชื้อสาเหตุโรคพืชซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์หรือเพื่อความอยู่รอด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น กรณีของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เข้าทำลายเม็ดสเคลอโร เทียมของเชื้อราสเคลอโรเทียม รอล์ฟสิไอ ทำให้เม็ดสเคลอโรเทียมฝ่อตายไปก่อนที่จะมีโอกาสงอกเป็น เส้นใยเพื่อเข้าทำลายพืช แสดงให้เห็นว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มามีบทบาทในการทำลายเชื้อโรคพืชขณะที่ อยู่ในระยะพักตัวได้ ส่งผลให้ปริมาณของเชื้อโรคพืชลดลงอย่างต่อเนื่อง 10 3. ไตรโคเดอร์มาเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช นอกจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชหลายชนิดแล้ว ยังพบว่าโตรโคเดอร์มาสามารถเพิ่มการเจริญเติบโต และการสร้างดอกของพืชอีกหลายชนิด ไม้ดอกไม้ ประดับที่ปลูกในกระถาง พืชผักต่าง ๆ กล้าไม้ผลที่เพาะด้วยเมล็ด ตลอดจนกิ่งปักชำ และพืชหัว โดยเพิ่ม ขนาดและความสูงของต้น น้ำหนักของต้นพืชทั้งต้น น้ำหนักของหัว ตั้งแต่ 10-60% เมื่อเปรียบเทียบกับ กรณีที่ไม่ได้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับกลไกที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในการเพิ่มการเจริญเติบโต ของพืชยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดในทุกกรณี แต่ก็มีผู้รายงานว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารเร่ง การเจริญเติบโต (ฮอร์โมน) ต่าง ๆ ได้เอง ในขณะที่บางกรณีเชื่อว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารไป กระตุ้นให้พืชสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าปกติ และบางกรณีพบว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มาไปขัด ขวางหรือทำลายจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่รบกวนระบบรากของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ และแข็งแรง สามารถดูดซับอาหารและแร่ธาตุ ต่าง ๆ ในดินได้ดี ในรายงานของ Intana (2003) กล่าวว่าเชื้อรา T. harzianum สายพันธุ์กลาย และสายพันธุ์ดั้งเดิมสามารถผลิตสาร harzianic acid, harzianic acid isomer และ pentyl pyrone ได้ และสารดังกล่าวมีผลในการเพิ่มน้ำหนักสดของต้นและรากแตงกวาได้ทั้งการ ทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการและในระดับโรงเรือน สำหรับในกรณีของการเพาะเมล็ดที่ปลูกในดิน ซึ่งปลูกหรือโรยด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่าเมล็ดจะงอกเร็วกว่าปกติ 2-3 วัน และต้นกล้าจะมีขนาด ใหญ่โตกว่าปกติ นอกจากนี้พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอก และจำนวนต้นรอดตายเพิ่มมากขึ้นด้วย ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ มีชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้าง ต้นวางจำหน่ายแล้ว เช่น โพรมอท (Promot) ซึ่งประกอบด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา สปีชีส์ 4. ไตรโคเดอร์มาเพิ่มความต้านทานของพืช ในปัจจุบันได้เริ่มมีการใช้ไตรโคเดอร์มาฝัง หรือฉีดเข้าสู่ลำต้นหรือระบบรากพืช เพื่อจุด ประสงค์ในการป้องกันโรค และรักษาพืชที่เป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ผลยืนต้น จากการสังเกต พบว่า พืชที่ได้รับเชื้อโดยวิธีนี้ จะมีความแข็งแรงและต้านทานต่อการเกิดโรคได้คล้ายกับการฉีดวัคซีน ในมนุษย์หรือสัตว์ นอกจากนี้ Intana (2003) สามารถชักนำให้ต้นแตงกวามีความต้านทานต่อเชื้อรา Pythium irregulare ได้ด้วยการใช้สารกรอง (culture filtrate) ของเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ฮาร์ เซียนัม แต่กลไกของการเพิ่มความต้านทานโรคขณะนี้ยังมีรายงานการศึกษาในรายละเอียดอยู่น้อย เชื้อโรคพืชที่ไตรโคเดอร์มาควบคุมได้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว พบ ว่า สามารถควบคุมหรือยับยั้งการเจริญตลอดจนเข้าทำลายเส้นใยของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคพืชหลาย 11 ชนิดซึ่งประกอบด้วยเชื้อราไรซ็อคโทเนีย (Rhizoctonia solani) เชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii) เชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) ที่เป็นสาเหตุของโรคเมล็ดเน่า โรครากเน่า โรคเน่าระดับดิน เชื้อราไฟ ทอฟธอรา (Phytophthora spp.) ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่า โรคโคนเน่า เชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) ที่มักก่อให้เกิดโรคเหี่ยวบนพืชสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ ประดับ และเชื้อรามาโครโฟมินา (Macrophomina phaseolina) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมล็ดเน่า และโคน เน่าของพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้มีรายงานการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อราโบไทรทิส ซิเนอเรีย (Botrytis cinerea) สาเหตุของโรคผลเน่าของสตรอเบอรีใ
นประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส อิสราเอล และสหรัฐ อเมริกา การใช้สปอร์หรือ โคนิเดียของเชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อราไรซ็อคโทเนีย และเชื้อราไม โคเซนโทรสปอรา อะเซอรินา (Mycocentrospora acerina) สาเหตุโรคเน่าของแครอทได้ ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา ในต่างประเทศมีการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา (ตารางที่ 1) มาเป็นระยะเวลา นานแล้ว ในสหรัฐอเมริกามีชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานพิทักษ์สภาพแวดล้อม (Environmental Protection Agency, EPA) อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2538 ตารางที่ 1 ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตในประเทศต่างๆ ชีวภัณฑ์/จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เชื้อโรค/พืช บริษัทผู้ผลิต (ประเทศ) ANTI-FUNGUS Trichoderma spp. (ไตรโคเดอร์มา สปีชีส์) Rhizoctonia solani, Pythium spp./ พืชในแปลง เพาะกล้า Grondontsmettingham De Ceuster (เบลเยียม) Promot Trichoderma spp. (ไตรโคเดอร์มา สปีชีส์) เชื้อราต่างๆ / ผลไม้, ผัก J.H. Biotech, Inc. (สหรัฐอเมริกา) Supraavit Trichoderma harzianum (ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม) เชื้อราต่างๆ Bonegaard & Reitzel (เดนมาร์ค) T-35 Trichoderma harzianum (ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม) Rhizoctonia solani Fusarium spp./ แตงกวา , มะเขือเทศ Makhteshim (อิสราเอล) 12 ตารางที่ 1 (ต่อ) ชีวภัณฑ์/จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เชื้อโรค/พืช บริษัทผู้ผลิต (ประเทศ) Trichodermin-3 Trichoderma lignorum (ไตรโคเดอร์มา ลิกโนรัม) Fusarium sp./ พืชไร่,ผัก (รัสเซีย, บุลกาเรีย) Trichodex Trichoderma harzianum (ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม) Botrytis cinerea/ ผลไม้,ไม้ดอกไม้ประดับ Makhteshim (อิสราเอล) Trichopel , Trichodowels Trichoderma spp. (ไตรโคเดอร์มา สปีชีส์) เชื้อราต่างๆ Agrimm Technologies Ltd. (นิวซีแลนด์) TY Trichoderma spp. Rhizoctonia solani, Pythium sp.,Sclerotium rolfsii / พืชไร่, ผัก Mycontrol (อิสราเอล) BINAB-T,W Trichoderma spp. (ไตรโคเดอร์มา สปีชีส์) Verticillium malthouse/เห็ด Binab USA (สหรัฐอเมริกา) F-stop Trichoderma harzianum (ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม) Pythium ultimum, Rhizoctonia solani, Fusarium sp./ คลุกเมล็ดพืชที่ปลูกเป็นแถว TGT, Inc. (สหรัฐอเมริกา) ที่มา : Hall, F.R. and J. W. Barry (eds.). 1995. Biorational Pest Control Agents. American Chemical Society, Washington, DC. สำหรับในประเทศไทย ได้มีการร่วมลงนามในสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชื้อ ราไตรโคเดอร์มาเพื่อใช้ควบคุมโรคพืช ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ผู้สนับสนุนทุนวิจัย) และบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด เพื่อดำเนินการผลิตชีวภัณฑ์เชื้อ ราไตรโคเดอร์มาในเชิงธุรกิจ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2538 ในโอกาสต่อมาบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด โดยความร่วมมือด้านข้อมูลจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมี ผศ.ดร.จิระเดช แจ่ม สว่าง เป็นหัวหน้าคณะนักวิจัย ได้เสนอขอขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา ภายใต้ชื่อการค้า 13 “ยูนิกรีน ยูเอ็น-1” กับกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และได้รับอนุมัติ “ทะเบียนวัตถุอันตราย เลขที่ 355/2539” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 ดังนั้น ชีวภัณฑ์ยู นิกรีน ยูเอ็น-1 จึงนับได้ว่าเป็นชีวภัณฑ์ควบคุมโรคพืชชนิดแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณ ภาพ และประสิทธิภาพอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติ จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและส หกรณ์ เพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่าของทุเรียนที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา โรคโคนเน่าของมะเขือเทศ และโรคกล้าไหม้ของข้าวบาร์เลย์ซึ่งเกิดจากเชื้อราสเคลอโรเทียม และโรคเน่าระดับดินของถั่วเหลืองฝัก สดที่เกิดจาก เชื้อราพิเทียม นอกจากนี้ ยังมีชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาชนิดใหม่ ๆ อีกหลายชนิด เช่น ไบโอ-เทรค 22-จี (Bio-Trek 22-G) รูทชีลด์ (Root Shield (T-22)) ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ไตรโคเจ็ค (Trichoject) ผลิตในประเทศนิวซีแลนด์ และซูพรีซิวิท (Supreseevit) ผลิตในสาธารณรัฐเชค แนวทางการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้ไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรค ในทางวิชาการเกี่ยวกับการควบคุมเชื้อโรคพืชโดยชีววิธีด้วยการใช้จุลินทรีย์ชนิดใด ๆ ก็ตาม มีจุดประสงค์เดียวกันคือ เน้นที่การใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรค มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพื่อรักษาโรค การ ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาจึงมุ่งหวังประโยชน์เพื่อการป้องกันโรคเป็นประการสำคัญ โดยต้องการให้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มามีบทบาทในการแข่งขัน และทำลายเชื้อโรคเพื่อให้
ปริมาณลดลง และยังช่วยปกป้องส่วน ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรากพืชให้ปลอดภัยจากการเข้าทำลายของเชื้อโรค ดังนั้นการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาให้ตรงตามวัตถุประสงค์จริง ๆ จึงควรใช้ในขณะที่พืชยังไม่แสดงอาการของโรคอาจเริ่มตั้ง แต่การเพาะเมล็ด สำหรับการใช้เชื้อราไตรโค-เดอร์มาเพื่อการรักษาพืชที่เป็นโรคแล้วนั้น ถึงแม้จะมีความ เป็นไปได้ ในกรณีของพืชยืนต้น เช่น ไม้ผลต่าง ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง เพราะอาจไม่ประสบผล สำเร็จดังที่คาดหวังเสมอไป เนื่องจากไม่สามารถประเมินสภาพความเสียหายของระบบรากพืชที่ถูกเชื้อ โรคเข้าทำลายได้ นอกจากนี้การฟื้นฟูสภาพต้นพืชให้กลับสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิม ต้องใช้เวลานานและ เสียค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้นจึงควรตระหนักไว้เสมอว่าการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามีจุด ประสงค์เพื่อการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรค การหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์มาลงดินในสวนหรือ แปลงปลูกพืชก่อนที่พืชจะเกิดโรคเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง การใช้ไตรโคเดอร์มาเพื่อรักษาโรค ในกรณีของไม้ผลยืนต้น เช่น ส้ม และทุเรียน เมื่อเกิดโรครากเน่าไฟทอฟธอรา แล้วจะทำให้ต้นพืชแสดงอาการทรุดโทรม เช่น ใบซีดหรือเหลือง ไม่แตกใบอ่อน ผิวใบมีลักษณะด้านไม่ เป็นมัน ถ้าระบบรากถูกทำลายค่อนข้างรุนแรงจะเกิดอาการใบร่วง และทำให้ต้นพืชตายในที่สุด ในกรณี 14 ที่พืชเริ่มแสดงอาการทรุดโทรมไม่รุนแรงนัก การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงดินใต้ทรงพุ่ม เพื่อหยุดยั้ง การเข้าทำลายระบบรากของเชื้อโรค ช่วยปกป้องรากใหม่และช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในดินลง จะช่วยให้ ต้นพืชสามารถฟื้นจากสภาพทรุดโทรมกลับคืนสู่สภาพปกติได้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่พืชแสดงอาการ ทรุดโทรมค่อนข้างมาก แสดงว่าระบบรากส่วนใหญ่ถูกเชื้อโรคเข้าทำลายแล้ว การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ มาแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถช่วยฟื้นฟูสภาพ ทรุดโทรมของพืชได้ทันการ ดังนั้นจึงมีความจำ เป็นต้องใช้วิธีการอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้สารเคมีเมทาแลคซิล เพื่อหยุดยั้งการเข้าทำลายของเชื้อไฟ ทอฟธอรา และลดปริมาณของเชื้อลงโดยเฉียบพลัน ร่วมกับการใช้สารเสริมหรืออาหารเสริมฉีดพ่นใบ พืชเพื่อบำรุงพืชให้แข็งแรง แม้ว่าวิธีการนี้จะประสบความสำเร็จแต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และต้นพืชต้อง ใช้ระยะเวลานานกว่าจะฟื้นสู่สภาพปกติ ดังนั้น การรักษาต้นพืชที่เป็นโรคแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีก เลี่ยง และควรมุ่งเน้นที่การป้องกันโรคเป็นหลัก รูปแบบและวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในกระบวนการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีด้วยการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์นั้น นอกจากการมี จุลินท รีย์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงแล้ว รูปแบบและวิธีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์นับเป็นปัจจัยสำคัญ ประการหนึ่งที่จะกำหนดความสำเร็จของการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีด้วยเช่นกัน วิธีการใช้จุลินทรีย์ ปฏิปักษ์ที่ดีควรเป็นวิธีการที่ปฏิบัติได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติทางเขตกรรม ไม่ส่ง ผลกระทบต่อความมีชีวิตของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ทั้งในระหว่างหรือหลังการใช้ และต้องสามารถพาจุลินท รีย์ปฏิปักษ์ไปสู่บริเวณที่เชื้อโรคพืชปรากฏอยู่ หรือบริเวณส่วนของพืชที่เชื้อโรคพืชอาจจะเข้าทำลายได้ นอกจากนี้วิธีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่เหมาะสม ควรมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของจุลินทรีย์ ปฏิปักษ์ได้ เช่น ส่งเสริมการเจริญ การเพิ่มปริมาณ และการเข้าทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญของเชื้อโรค พืช ตลอดจนปัจจัยที่ช่วยให้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์มีโอกาสอยู่รอดในสภาพธรรมชาติได้ในปริมาณที่สูง อย่างไรก็ตาม วิธีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควรมุ่งเน้นการใช้เพื่อการป้องกันการเกิดโรคมาก กว่าการใช้เพื่อรักษา หรือเพื่อฟื้นฟูสภาพทรุดโทรมของต้นพืชอันเนื่องมาจากโรคพืช ดังนั้นวิธี การใด ๆ ก็ตามที่ช่วยให้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ได้มีโอกาสสัมผัสกับส่วนของพืชก่อนที่เชื้อโรคจะเข้าทำลาย ไม่ว่าพืชจะอยู่ในระยะกล้า ระยะกำลังเจริญเติบโต กำลังให้ผลผลิต จนถึง หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว จึงนับเป็นวิธีการที่ควรปฏิบัติ ไตรโคเดอร์มาชนิดสด เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ในบทความนี้จะขอเรียกย่อๆว่า “เชื้อสด” หมายถึงเชื้อรา ไตร โคเดอร์มาที่กำลังเจริญและสร้างสปอร์ปกคลุมอยู่บนผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น พีดีเอ (อาหารวุ้นที่มีน้ำ สกัดมันฝรั่งและน้ำตาลเดกซ์โตรสเป็นองค์ประกอบ) หรือบนอาหารธรรมชาติ เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง ข้าว โพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวเปลือก ซึ่งผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว โดยปล่อยให้เชื้อราไตรโค เดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยและสปอร์ปกคลุมผิวเมล็ดพืชอย่างทั่วถึง เป็นเวลา 5-7 วันก่อนนำไปใช้ เชื้อสด ที่ดีควรสร้างสปอร์สีเขียวเข้มปกคลุมเมล็ดพืช หรือวัสดุอาหารอย่าง ทั่วถึง ไม่มีสปอร์เชื้อราชนิดอื่น หรือเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน จนทำให้เกิดลักษณะเป็นเมือกหรือมีกลิ่นเหม็น การผลิตและการใช้เชื้อสดมีปัญหา
ปัญหาหลักที่หน่วยงานของรัฐมักประสบคือ ไม่สามารผลิตเชื้อสดให้เพียงพอกับความ ต้องการของเกษตรกรได้ ในขณะเดียวกันผู้ผลิตเองก็มักพบปัญหาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของ จุลินท รีย์ต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทิ้งหรือทำลายเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตแล้วปนเปื้อนด้วย เชื้อราหรือเชื้อ แบคทีเรียเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียงบประมาณและโอกาสที่เกษตรกรจะได้ใช้เชื้อที่ผลิตได้ตาม กำหนดเวลา การเก็บรักษาเชื้อสดไว้ได้ไม่นานก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ต้องสูญเสียเชื้อราไตรโคเดอร์ มาที่ผลิตได้แล้วไป เนื่องจากบางครั้งเกษตรกรไม่สามารถใช้เชื้อสดที่ได้รับแจกจากหน่วยราชการได้ใน ทันที จึงต้องปล่อยให้เชื้อเสื่อมสภาพไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เสื่อมสภาพ หรือเจริญเป็นเส้นใยสีขาวหมดแล้วมาใช้ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมโรคพืชแต่ประการใด ปัญหาแอบแฝงอีกประการที่ยังไม่เคยมีการตระหนักถึงคือ ปัญหาเกี่ยวกับการเสื่อมหรือกลาย พันธุ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังผลิตใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การผลิตเชื้อโดยวิธีต่อเชื้อจากหัวเชื้อเดิมต่อ เนื่องไปเรื่อยๆ หรือการเก็บรักษาหัวเชื้ออย่างไม่ถูกวิธี เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อเสื่อมหรือกลายพันธุ์ได้ สัญญาณที่บ่งบอกว่าเชื้อเริ่มกลายพันธุ์แล้ว สามารถสังเกตได้คือ เชื้อเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ (พีดีเอ) หรือ บนเมล็ดข้าวฟ่างช้ากว่าปกติ มีเส้นใยสีขาวเกิดขึ้นปะปน หรือมี สปอร์ของเชื้อเปลี่ยนสีไป ความสามารถ ในการสร้างสปอร์ลดลง เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตได้จากหัวเชื้อที่กลายพันธุ์อาจส่งผลให้คุณภาพและ ประสิทธิภาพของเชื้อในการควบคุมโรคด้อยลง เกษตรกรผลิตเชื้อสดใช้เองไม่ได้ จากอดีตถึงปัจจุบัน หน่วยงานต่างๆ ได้พยายามที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร ผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้ใช้เอง โดยการสอนหรือฝึกอบรมให้เลี้ยงเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง หรือเมล็ดพืช ต่าง ๆ ถึงแม้จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงประสบปัญหาหลายประการกล่าวคือ วัสดุ อาหารที่ใช้เลี้ยงหายาก (บางฤดูกาล) มีราคาแพง หรือคุณภาพไม่สม่ำเสมอ การเตรียมวัสดุอาหารมีขั้น ตอนการเตรียมที่ยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน การปลูกเชื้อต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังสูง หัวเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาที่ใช้ไม่บริสุทธิ์เพียงพอ หรืออาจมีการกลายพันธุ์ (โดยไม่รู้ตัว) ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็น อุปสรรคที่สำคัญส่งผลให้แผนการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาด้วยตนเองไม่สามารถ บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ได้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตได้ 16 แล้ว เชื้อบางส่วนเสียหายในระหว่างการเก็บรักษา บางส่วนเสื่อมคุณภาพในระหว่างการขนส่งและการรอ แจกจ่ายให้เกษตรกร และบางส่วนทั้งเสื่อมและสูญเสียประสิทธิภาพในขณะที่เชื้ออยู่ในมือเกษตรกร วัสดุสำหรับการผลิตเชื้อสด ในการผลิตเชื้อสดนั้น วัสดุอาหารและหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ผล การวิจัยพบว่า ปลายข้าวจ้าวหรือข้าวสาร เป็นวัสดุอาหารที่ดีที่สุด หาซื้อง่ายและราคาถูก ผู้ผลิตจะใช้ข้าว จ้าวพันธุ์ใดก็ได้ ข้าวใหม่หรือข้าวเก่าก็ไม่มีปัญหา แต่จากการทดลองพบว่าเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา จะเจริญและสร้างสปอร์ได้ดีมากเมื่อใช้ปลายข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ (ข้าวหอมมะลิ) และเป็นข้าวใหม่ ส่วนหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา ทางโครงการได้พัฒนาให้อยู่ในรูปผงแห้ง ในผง หัวเชื้อจะมีสปอร์ของเชื้อ ราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ CB-Pin-01 ที่ดีที่สุดจากการคัดเลือกในปริมาณไม่น้อยกว่า 100 ล้านหน่วยชีวิต (สปอร์) ต่อผงหัวเชื้อหนัก 1 กรัม สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลานาน ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น (ประมาณ 8- 10 องศาเซลเซียส) สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าเก็บที่อุณหภูมิในห้องปกติ (25-30 องศา เซลเซียส) สามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ลักษณะของหัวเชื้อเป็นชนิดผงแห้งจึงสะดวกต่อการนำไปใช้ เพื่อขยายหรือเพิ่มปริมาณ ตลอดจนการเก็บรักษา ขั้นตอนการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1. ใช้ปลายข้าวหรือข้าวสาร 3 แก้ว (1 แก้ว มีความจุประมาณ 250 ซีซี) ประมาณ 600 กรัม ใส่น้ำ เปล่าสะอาด 2 แก้ว หรือประมาณ 0.5 ลิตร หุงด้วยหม้อข้าวไฟฟ้า เมื่อสุกแล้วจะได้ ข้าวสุก(ประมาณ 1 กิโลกรัม) ถ้าข้าวนิ่มเกินไปอาจปรับสัดส่วนของข้าวต่อน้ำเป็น 2 ต่อ 1 ก็ได้ 2. เมื่อสวิทช์ของหม้อหุงข้าวตัดไฟ ใช้ทัพพีซุยข้าวในหม้อก่อนตักข้าวที่หุงสุกใหม่ ๆ ใส่ถุง พลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว ถุงละ 2 แก้วน้ำ (ประมาณ 250-300 กรัม) วางถุงข้าวตามแนวราบ รีด อากาศออกจากถุง แล้วพับปากถุงไว้ รอให้ข้าวอุ่นหรือเกือบเย็น จึงเท (เหยาะ) หัวเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาใส่ ลงในถุงพลาสติกเพียงเล็กน้อย (หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 ขวด บรรจุ 50 กรัม ใส่ในข้าวสุกได้ จำนวน 80 ถุง หรือประมาณ 20 กิโลกรัม)<
br>3. หลังใส่หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาแล้ว มัดปากถุงด้วยหนังยางให้แน่น (มัดให้สุด ปลายถุง) เขย่าหรือขยำเบา ๆ ให้หัวเชื้อคลุกเคล้ากับข้าวสุกทั่วทั้งถุง รวบถุงให้มีลมพองตรงบริเวณปากถุงที่รัดยาง ไว้ แล้วใช้ปลายเข็มเจาะถุงพลาสติกใต้หนังยางที่มัดไว้เล็กน้อย ประมาณ 15-20 จุดต่อถุง (เพื่อให้มีอากาศ ถ่ายเทเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มา) แล้วแผ่ถุงข้าวสุกให้แบนราบ ดึงตรงส่วนกลาง ของถุงให้พองขึ้น เพื่อให้ภายในถุงมีอากาศพอเพียง 17 4. บ่มเชื้อไว้ในที่มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างส่องถึง ไม่ตากแดด ปลอดภัยจากมด ไร และสัตว์ อื่นๆ เมื่อครบ 2 วัน ขยำถุงเบาๆ เพื่อให้เส้นใยของเชื้อกระจายทั่วทั้งถุง บ่มถุงเชื้อต่ออีก 4-5 วัน ก่อนนำ ไปใช้ รวมระยะเวลาของการบ่มเชื้อคือ 7 วัน คำแนะนำ : ในการบ่มเชื้อ ควรวางถุงเชื้อในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างจากหลอด ฟลู โอเรสเซนต์ (หลอดนีออน) โดยให้แสงสว่างนาน 10-12 ชั่วโมง/วัน หรือตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อ เชื้อที่ขึ้นดีจะมีสีเขียวเข้ม คำเตือน : ต้องขยายเชื้อโดยใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์เท่านั้น ไม่ควรใช้เชื้อที่เจริญบนเมล็ดข้าวแล้วไป ขยายต่ออีก เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น และเชื้อที่ขยายต่อจะมี ประสิทธิภาพ ในการควบคุมโรคพืชลดลง การเก็บรักษาเชื้อสด เมื่อครบกำหนด 6-7 วันของการบ่มเชื้อ โดยปกติจะเห็นสปอร์สีเขียวเข้มของเชื้อรา ไตร โคเดอร์มาขึ้นปกคลุมปกคลุมปลายข้าวในถุงอย่างหนาแน่น จนอาจมองไม่เห็นสีขาวของเมล็ดข้าว แต่ถ้า เกิดความผิดพลาดเช่น ขยำเชื้อไม่กระจายทั่วทั้งถุง หรือเจาะรูให้อากาศเข้าถุงน้อยไป อาจพบว่าข้าว บริเวณก้นถุงยังคงเป็นสีขาว ให้แก้ไขโดยการใช้เข็มเจาะรูตรงปลายปากถุงเพิ่ม ดึงถุงให้พองลม แล้วบ่ม เชื้อต่ออีก 2-3 วัน เชื้อที่เจริญทั่วถุงดีแล้วให้นำไปใช้ทันที สำหรับกรณีที่ไม่สามารถใช้เชื้อสดได้ทันที ให้นำถุง เชื้อสดรวมใส่ถุงพลาสติก แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา (8-10 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บเชื้อสด ไว้ได้เป็นเวลา 15-30 วัน ข้อควรระวังในการผลิตเชื้อชนิดสด 1. ควรหุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติเท่านั้น เพราะการใช้หม้อหุงข้าวชนิดที่ใช้ แก๊ส อาจทำให้ข้าวไหม้ หรือการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ มักได้ข้าวที่แฉะเกินไป ปลายข้าวที่หุงจนสุกด้วยหม้อ หุงข้าวไฟฟ้าจะมีลักษณะเป็นไตขาวอยู่บ้างจัดเป็นลักษณะที่ดี 2. ต้องตักปลายข้าวที่หุงแล้วใส่ถุงพลาสติก ขณะที่ข้าวกำลังร้อน เพื่อให้ความร้อนในถุงข้าว ทำลายจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในถุงข้าว 3. การใช้เข็มแทงรอบบริเวณปากถุงที่รัดยางไว้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรแทงไม่น้อยกว่า 15-20 จุด/ถุง เพราะถ้าอากาศไม่สามารถระบายถ่ายเทได้ดี เชื้อจะเจริญไม่ทั่วทั้งถุง (ก้นถุงยังเห็นข้าวเป็นสีขาว) 18 และห้ามใช้ไม้แหลมหรือตะปูหรือวัตถุแหลมคมอื่นแทงถุง เพราะอาจทำให้เกิดรูขนาดใหญ่เกินไปทำให้ มด ไร หรือจุลินทรีย์เข้าไปปนเปื้อนภายในถุงได้ 4. ควรบ่มเชื้อไว้ในบริเวณที่ร่มและเย็น (25-30 องศาเซลเซียส) ไม่ถูกแสงแดด และให้เชื้อได้รับ แสงสว่างจากหลอดฟลูออร์เรสเซ็นต์ (นีออน) อย่างพอเพียงอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง/วัน หรือตลอด 24 ชั่ว โมง 5. อย่าลืมขยำข้าวเมื่อบ่มเชื้อครบ 2 วัน (หลังใส่เชื้อ) และกดข้าวให้แผ่แบนราบมากที่สุด อีกครั้งหลังขยำข้าวแล้ว ดึงถุงให้โป่งขึ้นเพื่อให้มีอากาศในถุง ห้ามวางถุงทับซ้อนกัน 6. ป้องกันอย่าให้มด แมลง หรือสัตว์มากัดแทะถุงข้าว 7. ถ้าพบเชื้อสีชมพู สีส้ม สีเหลือง หรือสีดำ ในถุงเชื้อใด ให้นำถุงเชื้อดังกล่าวไปทิ้งขยะ หรือทิ้ง ใส่หลุมชนิดฝังกลบ โดยไม่ต้องเปิดปากถุง 8. ไม่ควรใช้เชื้อสดที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อบนข้าวสุก เป็นหัวเชื้อเพื่อการผลิตขยายเชื้อต่อไป เพราะจะเกิดการปนเปื้อน และเชื้อจะเสื่อมคุณภาพและประสิทธิภาพ วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด การใช้เชื้อสดสามารถใช้ได้หลายวิธีตามโอกาสและความสะดวกของเกษตรกร เช่น ใช้เชื้อ สดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใส่หลุมปลูกหรือหว่านลงแปลงปลูก ใช้เชื้อสดล้วนๆ ในการคลุกเมล็ดพืช ก่อนปลูก และใช้เชื้อสดผสมน้ำสำหรับฉีดพ่น ราด รดลงดิน หรือใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืชก็ได้ การใช้เชื้อสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในสัดส่วน 1: 4: 100 โดยน้ำหนัก 1. เติมรำข้าวเล็กน้อยลงไปในถุงเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คลุกเคล้าและบีบให้เชื้อที่เกาะเป็น ก้อนแตกออก ต่อจากนั้นจึงเทเชื้อที่คลุกรำข้าวแล้วผสมกับรำข้าวที่เหลือให้ครบตามจำนวน แล้วคลุกเคล้า ให้เข้ากันอีกครั้ง 2. นำหัวเชื้อสดที่ผสมกับรำข้าว (อัตรา 1: 4 โดยน้ำหนัก) ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำพอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
3. ในกรณีที่ไม่สามารถหารำข้าวละเอียดได้ ให้ใช้เชื้อสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์โดยตรง ในอัตราส่วน 1: 100 โดยน้ำหนัก 19 เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำโดยใส่ส่วน ผสมของเชื้อสด ผสมดินปลูกอัตรา 1: 4 โดยปริมาตร (20%) นำดินปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสด แล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช 2. การใส่หลุมปลูกพืช โดยใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20 กรัม คลุกเคล้ากับดิน ในหลุมปลูกพืช ถ้าหลุมปลูกใหญ่อาจใช้ 50-100 กรัม/หลุม 3. การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก โดยหว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือหว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญ เติบโต หรือกำลังมีโรคระบาด ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร 4. การใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช โดยหว่านส่วนผสมเชื้อสดทั่วบริเวณใต้ทรง พุ่มจนถึงรอบชายพุ่ม อัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสดบริเวณโคนต้นพืชกรณีที่ เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา 10-20 กรัมต่อต้น (เพิ่มปริมาณการใช้กรณีพืชโต) การใช้เชื้อสดคลุกเมล็ดพืช ใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ด อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี บีบเชื้อสดให้แตกตัว เทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจน ติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปปลูก หรือใช้ปลูกได้ทันที (ไม่ควรคลุกเมล็ดแล้วเก็บไว้ นานๆ) การใช้เชื้อสดผสมกับน้ำ ในกรณีที่ไม่สะดวกในการจัดหาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและรำข้าว หรือกรณีที่ต้องการใส่เชื้อรา ไตรโค เดอร์มาลงดินโดยไม่ประสงค์จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และรำข้าวลงไปในดินด้วย เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะ สมสำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เตรียมไว้ผสมกับน้ำ ในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 250 กรัม (เชื้อสด 1 ถุง) ต่อน้ำ 50 ลิตร สำหรับ ขั้นตอนการใช้เชื้อสดผสมน้ำ มีดังนี้ 1. นำเชื้อสดมา 1 ถุง (250 กรัม) เติมน้ำลงไปในถุง 300 มิลลิลิตร (ซีซี) หรือพอท่วมตัวเชื้อ แล้ว ขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม 2. กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่ง จน เชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด เติมน้ำให้ครบ 50 ลิตร ก่อนนำไปใช้ 20 3. นำเชื้อสดที่เตรียมได้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้ทันที หรือใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง วิธีการนำน้ำเชื้อสดไปใช้ในการควบคุมโรค 1. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช หลังจาก หยอดเมล็ดแล้ว หรือในระหว่างที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโต ควรฉีดให้ดินเปียกชุ่ม บางกรณีอาจใช้น้ำเชื้อ สดฉีดพ่นลงในถุง หรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโต ควรฉีดให้ ดินเปียกชุ่ม 2. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืช หลังจากเพาะเมล็ดหรือย้ายกล้าพืชลงปลูกแล้ว ควรฉีด พ่นให้ดินบริเวณรอบหลุมปลูกเปียกชื้น 3. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูกพืช หลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้ว ใช้ น้ำเชื้อฉีดพ่นในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที กรณีที่ต้องการคลุมแปลงปลูก ด้วยพลาสติกดำ ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ก่อนคลุมแปลง ด้วยพลาสติกดำ (ถ้ารดน้ำให้ดินบนแปลงปลูกมีความชื้น 60-80 เปอร์เซ็นต์ก่อนคลุมแปลงได้ก็จะดียิ่งขึ้น) สำหรับกรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ในแปลงแล้ว สามารถฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ได้ทุกระยะการเจริญของพืช 4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดโคนต้นพืช ให้ฉีดพ่นโคนต้นพืชและดินบริเวณรอบโคนต้นพืชเปียกชื้น (เพื่อป้องกันโรคโคนเน่า) 5. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดหรือปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสด จนดินใต้ทรงพุ่มเปียกชื้น โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้น้ำแก่พืชก่อนและหลังฉีด พ่นน้ำเชื้อเพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน และช่วยให้เชื้อเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้น การปล่อยน้ำเชื้อสดไป กับระบบการให้น้ำแก่พืช แบบพ่นฝอยสามารถทำได้ โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้ น้ำเพื่อให้ดินชื้นก่อนปล่อยน้ำเชื้อ จากนั้นจึงปล่อยน้ำเปล่าเพื่อไล่น้ำเชื้อออกจากระบบท่อให้หมด เพื่อ ป้องกันเส้นใยของเชื้ออุดตันท่อ คำเตือน : 1. ควรฉีดพ่นในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็น กรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย 2. ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน หร
ือให้น้ำทันที หลังฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน 3. การปล่อยน้ำเชื้อสดไปกับระบบน้ำหยดอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันของหัวน้ำหยด ในกรณี ที่มีน้ำเชื้อเหลือค้างในท่อ โดยสปอร์จะงอกเป็นเส้นใยไปทำให้อุดตัน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำล้างสายและ หัวน้ำหยดหลังการใช้ทุกครั้ง 21 4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อลงบนดินในแปลงปลูก ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์ หว่านคลุกเคล้าไปกับดินในช่วงของการเตรียมแปลงปลูกพืช ใช้เชื้อสดต้องระวังและรอบคอบ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด เป็นวิธีการที่เกษตรกรหรือผู้ใช้ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพราะเชื้อชนิดสดอาจไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ในการใช้เชื้อสดทุกครั้ง ต้องพยายามปรับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่หว่านหรือฉีดพ่นเชื้อสดลงไป มี ความชื้นพอเพียงเพื่อช่วยรักษาชีวิตของเชื้อสดและช่วยส่งเสริมให้เชื้อสดสามารถเจริญเพิ่มปริมาณต่อไป ได้ เชื้อสดเป็นเชื้อที่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่ออยู่ในสภาพอุณหภูมิ ปกติ โดยสปอร์ของเชื้อซึ่งมีสีเขียวเข้มจะงอกและเจริญกลับเป็นเส้นใยสีขาวใหม่อีกครั้ง เส้นใยดังกล่า วจะอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมภายนอก สูญเสียคุณภาพและประสิทธิภาพได้ง่าย ดังนั้นข้อควรระวังที่ สำคัญประการหนึ่งของเชื้อสดคือ ต้องนำเชื้อสดไปใช้ทันที อย่างไรก็ตาม ถ้าเกษตรกร หรือผู้ใช้ยังไม่ พร้อมที่จะใช้เชื้อสดที่มีอายุครบ 7 วันแล้ว ต้องเก็บรักษาเชื้อสดไว้ใน ตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 8-10 องศาเซลเซียส โดยสามารถเก็บไว้ได้ 15-30 วัน นอกจากนี้ผู้ใช้เชื้อสดควรระลึกไว้เสมอว่าการใช้เชื้อสดใส่ลงในดินที่มีสภาพ แวดล้อมไม่เหมาะต่อการเจริญและการเพิ่มปริมาณเชื้อ เช่น ดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัด เกินไป ดินมีความ เค็มสูง โครงสร้างของดินหรือเนื้อดินมีลักษณะแน่นทึบ การระบายอากาศและความชื้นไม่ดี ดินมีอินทรีย์ วัตถุต่ำ อาจทำให้การใช้เชื้อสดไม่ประสบผลสำเร็จได้ ควรปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชเสีย ก่อน สำหรับข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้เชื้อสดนอกเหนือจาก ที่กล่าวข้างต้นมี ดังนี้ 1. ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่เหมาะสมกับการใช้ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ควรเป็นปุ๋ยที่ผ่าน กระบวนการหมักโดยสมบูรณ์แล้ว (เย็นแล้ว) หรือเป็นปุ๋ยที่กองทิ้งไว้จนเก่าแล้ว 2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทุกชนิดคลุกเคล้าหรือผสมร่วมกับเชื้อสด แล้วใช้พร้อมกันทีเดียว กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน สามารถใช้เชื้อสดชนิดน้ำผสมกับ สาร เคมีควบคุมแมลงทุกชนิด หรือสารเคมีควบคุมเชื้อโรคพืชทุกชนิด ยกเว้นคาร์เบนดาซิม หรือ เบโนมิล เมื่อผสมเสร็จให้รีบใช้ทันที 3. กรณีที่ต้องการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์-เคมี (ปุ๋ยอินทรีย์ผสมด้วย ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ) ทั้งชนิดผงหรือชนิดอัดเม็ด ให้ผสมได้ แต่ต้องใช้หว่านทันทีหลังผสมเสร็จ ห้ามผสม แล้วเก็บไว้ในกระสอบ หรือกองไว้ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาอาจได้รับอันตรายจากปุ๋ยเคมี 22 4. เมื่อผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ให้ใช้หว่านทันที ห้าม บรรจุลงในกระสอบหรือกองทิ้งไว้นานกว่า 24 ชั่วโมง เพราะอาจเกิดความร้อนในกองปุ๋ย เป็นอันตรายต่อ เชื้อราไตรโคเดอร์มาได้ ดังนั้นจึงควรเตรียมส่วนผสมของเชื้อสด รำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ให้พอใช้ในแต่ละ ครั้ง เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์ เหมาะกับการใช้หว่านบนแปลงปลูก หรือ ใต้บริเวณทรงพุ่มของพืช 5. ถ้าผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์ (เก่าหรือหมักดีแล้ว) โดยไม่ใส่รำข้าว สามารถเก็บปุ๋ยไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยใส่กระสอบหรือกองไว้ในที่ร่มและเย็น ถ้า ปุ๋ย อินทรีย์ที่ผสมเชื้อสดมีความชื้นสูงมาก (30-40 เปอร์เซ็นต์) ไม่ควรใส่ปุ๋ยดังกล่าวในถุงพลาสติกหรือ กระสอบพลาสติกแล้วรัดปากถุงจนแน่น แต่ควรกองไว้ในที่ร่มและเย็นแทน 6. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยไม่ใส่รำข้าว เมื่อใช้หว่านลงดินจะได้ ปริมาณเชื้อน้อยกว่ากรณีที่ใช้รำข้าวผสมด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่าเชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่มีรำข้าวมี ประสิทธิภาพควบคุมโรคได้ดีเช่นกัน และเหมาะกับการใช้ใส่รองก้นหลุมก่อนหยอดเมล็ด หรือย้ายกล้า พืชลงปลูก 7. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ก่อนหรือหลังการหว่านปุ๋ยเคมี 3-5 วัน 8. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาหลังหว่านปูนโดโลไมท์ ปูนขาว หรือปรับสภาพดินไปแล้ว 5-7 วัน 9. การฉีดพ่นสารเคมีควบคุมโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืช เหนือพื้นดิน ไม่มีผลกระทบต่อ เชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน แม้ว่าสารเคมีเบโนมิล และคาร์เบนดาซิม อาจมีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาได้ระยะหนึ่ง 10. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้ก่อนปลูกพืช รุ่นใหม่ทุกครั้ง ในกรณีของกา
รปลูกพืช ผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชไร่ หรือใช้ ปีละ 2-3 ครั้ง ใน กรณีของไม้ผลยืนต้น (ใช้บ่อย ๆ ไม่มีอันตรายต่อพืช) 11. ควรใช้เศษหญ้า เศษใบไม้ หรือวัสดุต่างๆ คลุมผิวดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินไว้ซึ่งจะ ช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญได้ดี และมีชีวิตอยู่รอดในดินได้นานยิ่งขึ้น 12. ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือวัสดุอินทรีย์ลงดินเป็นระยะๆ โดยแบ่งใส่ทีละน้อยอย่าง ต่อ เนื่อง เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับเชื้อราไตรโคเดอร์มา และเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสม ต่อการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มา 13. ควรใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่ผสมรำข้าวระเอียดและปุ๋ยอินทรีย์หว่านลงดินในช่วงของ การเตรียมดินก่อนการปลูกพืช และใช้น้ำเชื้อสดฉีดพ่นลงดินบนแปลงปลูก หรือรอบ โคน ต้น หรือใต้ทรงพุ่มในระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตต่อเนื่องเป็นระยะๆ 14. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดเก็บรักษาได้ไม่นาน แต่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคสูงกว่า การใช้เชื้อในรูปผงแห้ง (ถ้าใช้ถูกต้องตามคำแนะนำ) 23 การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดควบคุมโรคพืชต่าง ๆ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดคลุกเมล็ด อัตรา 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม คลุกเมล็ด การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา เชื้อสด รำละเอียด ปุ๋ยคอก (1:4:100) โดยน้ำหนัก หว่าน/โรย/ผสมดิน การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำฉีดพ่น อัตรา เชื้อสด 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่น ตารางที่ 1 อัตราและวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในการควบคุมโรคพืช พืช โรคพืช/เชื้อสาเหตุ อัตราและวิธีใช้ ไม้ผล ทุเรียน ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอฯลฯ -โรครากเน่าและโคนเน่า เชื้อราไฟทอฟธอรา พิเทียม ฟิวซาเรียม -รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม -หว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม 50-100 กรัม/ตารางเมตร -ฉีดพ่นลงดิน10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร พืชผักต่าง ๆ มะเขือเทศ พริก โหระพา กะเพรา -โรคเน่าระดับดิน - โรคกล้าเน่ายุบ หน่อไม้ฝรั่ง ขึ้นฉ่าย ตระกูลกะหล่ำ -โรครากเน่า -โรคลำต้นเน่า -ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1: 4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ตระกูลถั่ว -โรครากและโคนเน่า -โรคเหี่ยว -คลุกเมล็ดขนาดเล็กใช้เชื้อสด 1 ช้อนแกง/เมล็ด 1กก. ตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ เชื้อราพิเทียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย ฟิวซาเรียม -คลุกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เชื้อ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก. -หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร -รองก้นหลุมและใส่โคนต้นเป็นโรค 10-20 กรัม/ หลุม ตารางที่ 1 ต่อ พืช โรคพืช/เชื้อสาเหตุ อัตราและวิธีใช้ พืชผักต่าง ๆ -ฉีดพ่นหลุมปลูกและโคนต้น20-50 ซีซี/ หลุม 24 -ฉีดพ่นกระบะเพาะกล้าและแปลงปลูกพืช 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ไม้ดอกไม้ประดับ ดาวเรือง มะลิ เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูล- ฟิโลเดนดรอน -โรคเหี่ยว -โรคกล้าเน่ายุบ -โรคเน่าดำ -ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด : ดิน ปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) เพาะ กล้า/เมล็ด ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้ ฯลฯ เชื้อราฟิวซาเรียม ไฟทอฟธอรา พิเทียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย -หว่านในแปลงเพาะกล้า 50-100 กรัม/ ตารางเมตร -โรยในกระถาง ถุงเพาะ 10-20 กรัม/ กระถาง/ถุง -รองก้นหลุมก่อนปลูก 10-20 กรัม/หลุม -ฉีดพ่นในกระบะเพาะ แปลงเพาะกล้า แปลงปลูก 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร -ฉีดพ่นในกระถาง ถุงเพาะกล้า ก่อนย้าย กล้าปลูก 20-50 ซีซี/ กระถาง/ถุง/ หลุม พืชไร่ ข้าวบาร์เลย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ -โรคกล้าเน่ายุบ -โรคโคนเน่า เชื้อราสเคลอโรเทียม สเคลอโรเทียม พิเทียม ไรซอคโทเนีย -คลุกเมล็ดก่อนปลูกเมล็ดขนาดเล็ก 1 ช้อน แกง/ เมล็ด 1 กก. -คลุกเมล็ดก่อนปลูกเมล็ดขนาดใหญ่ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก. จำนวนครั้งของการใช้ ไม้ผลหรือพืชยืนต้น : หว่านหรือฉีดพ่นเชื้อ ปีละ 2-3 ครั้ง หรือมากกว่า โดยเฉพาะในช่วงที่ดินมี ความชื้น หรือสามารถให้น้ำแก่พืชได้ พืชผัก/ไม้ดอกไม้ประดับ : หว่านหรือฉีดพ่นเชื้อได้ทุกระยะคือ ก่อนปลูกพืช ระยะต้นกล้า ระยะ ออกดอก ระยะติดผล หรือทุก 7-14 วัน ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคและการระบาดของโรค การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคส่วนบนของพืช จากรายงานผลการทดลองและข้อมูลที่ได้รับทราบจากเกษตรกรผู้ใช้เชื้อรา ไตรโค เดอร์มาชนิดสดฉีดพ่นลงบนส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิด พบว่าเชื้อราชนิดนี้สามารถใช้ควบคุมโรคแอน แทรคโนสที่เกิดบนผลพริก (โรคกุ้งแห้ง) ที่เกิดจากเชื้อราคอลเลโททริคัม โรคลำต้นไหม้แห้ง ของหน่อไม้ฝรั่งที่เกิด
จากเชื้อราโฟมอพซิส เชื้อราโฟมา เชื้อราคอลเลโททริคัม โรคใบจุด-ใบไหม้ของข้าว 25 โพดที่เกิดจากเชื้อราแดรชเลอรา หรือเฮลมินโทสปอเรียม และโรครา น้ำค้างของข้าวโพด ที่เกิด จากเชื้อราเพอโรโนสเคลอโรสปอรา การใช้น้ำสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงในน้ำยาปลูกเลี้ยงพืชของระบบ ไฮโดร โพนิกส์ สามารถควบคุมโรครากเน่าของผักสลัดและผักต่างๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราพิเทียม ได้ผลดี จากการติดตามผลการใช้เชื้อสดของเกษตรกรผู้ทำสวนมะนาว พบว่าการฉีดพ่นหรือ การลดน้ำส ปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาลงดินบริเวณรากใต้ทรงพุ่ม สามารถลดความรุนแรงของการเกิดโรคแคง เกอร์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียลงได้ ในกรณีของการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริก โรคลำต้นไหม้ แห้งของหน่อไม้ฝรั่งและการควบคุมโรครากเน่าของผักสลัดในระบบไฮโดร-โพนิกส์ ได้รับพิสูจน์ยืนยัน ผลในเชิงวิชาการบ้างแล้ว สำหรับกรณีอื่นๆนั้น กำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษากลไกของเชื้อราไตรโค เดอร์มาในการยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคหรือควบคุมโรคอยู่ 26 การควบคุมโรคของพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินและในโรงเรือน ในต่างประเทศมีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์หลายชนิดเพื่อควบคุมโรคในพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน และในโรงเรือน ดังต่อไปนี้ ชื่อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ ชื่อโรค/ชื่อพืช/เชื้อสาเหตุ ระบบการปลูก (เปอร์เซ็นต์การควบคุมโรค) Trichoderma harzianum - Damping-off/ Tobacco Float tray system/ (98.5-100%) Bacillus subtilis • Pythium sp./ Rhizoctonia (Trichoderma +Bacillus) solani Trichoderma hamatum (T382) - Root rot Amendment in strawberry plug T. harzianum (T22-Rootshield) • Pythium / Rhizoctonia • Phytophthora Gliocladium virens - Damping-off/ greenhouse Soilless growing medium • Pythium/ Rhizoctonia Clonostachys rosea - Tomato stem rot Hydroponic system • Botrytis cinerea/ (ยับยั้งสปอร์งอก 40-70%) Paenibacillus polymyxa - Root rot Hydroponic with recirculated • Pythium ultimum Nutrient solution Streptomyces griseoviridis - Root rot/ Poinsettia Peat-based soilless medium (Mycostop) • Pythium / ultimum (Sunshine Mix#4) var. ultimum Fusarium oxysporum - Fusarium wilt Hydroponic system • Fusarium oxysporum (Drenching seedling tray) f. sp. basilici With conidia+chlamydospores Bacillus subtilis (GB03)+ - Tomato bacterial spot Hydroponic system B. amyloliquefaciens (IN937a) • Xanthomonas axonopodis Soil-less potting mix pv. vesicatoria (used to prepare transplants) - Late blight • Phytophthora infestans - cucumber angular leaf spot • Pseudomonas syringae pv. lachrymans - Tobacco blue mold • Peronospora tabacina 27 การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคของพืชผักที่ปลูกในสารละลายแร่ธาตุ ในประเทศไทย ท่านอาจารย์ ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี เป็นบุคคลแรกที่ได้เริ่มทดลองใส่เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา (ชีวภัณฑ์ไตรซาน ของบริษัท แอพพลายเค็มฯ) ในปี พ.ศ. 2545-46 พบว่า ผักสลัด หลายพันธุ์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น และปัญหาการเกิดโรครากเน่าลดลงอย่างชัดเจน ระบบรากมีความ สมบูรณ์ แข็งแรง ผักสลัดมีรสชาดและความกรอบอร่อยกว่าปกติ นับเป็น จุดเริ่มต้นของการเริ่ม ศึกษาวิจัยการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระบบไฮโดรโพนิกส์อย่างจริงจัง ในขณะนี้ (มกราคม 2547) ท่านอาจารย์ได้กรุณาให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องโรครากเน่าของผักสลัดที่เกิดจาก เชื้อรา Pythium spp. และผลของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้หลายประการโดยสรุปได้ดังนี้ 1. ผักสลัดที่มีความอ่อนแอ (ความไว) ต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา Pythium spp. คือ พันธุ์ Concorde RZ ที่บ้านเราเรียกว่า Red coral นิยมปลูกทั่วไปในระบบไฮโดรโพนิกส์ของบ้านเรา ผัก ชนิดนี้เป็นผักของบริษัท Rijk zwana ในประเทศฮอลแลนด์ อาการที่ปรากฎเมื่อเกิดโรคคือ รากบวม และมี บริเวณสีน้ำตาลเกิดเป็นแห่งๆ ปลายรากกุด ต่อมารากในถ้วยและรากนอกถ้วย จะตาย 2. ผักสลัด Red salad bowl ที่มาจากประเทศสวิตเซอร์แลน จัดเป็นผักพวก oak leaf สี แดง มีความอ่อนแอต่อเชื้อรา Pythium spp. ใกล้เคียงกับพันธุ์ Concorde RZ และมักไม่ชอบสารละลายที่มี arumonium ion ด้วย 3. ผักสลัด Red sail ที่มาจากสหรัฐอเมริกา เป็นผักกาดหอมใบแดง รูปร่างใบคล้ายผัก กาดหอมธรรมดา มีความอ่อนแอต่อเชื้อรา Pythium spp. เช่นกัน 4. ผักสลัดที่มีการตอบสนองต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในด้านการเจริญเติบโตที่ เด่นชัดที่สุดมี 3 ชนิดคือ พันธุ์ Adal RZ เป็นผักกาดหอมพวก Iceberg พันธุ์ Arizona RZ เป็นผักกาดหอม พวก Butterhead และพันธุ์ Gulfstream จากบริษัท Fre
sh Garden 5. การใช้ Fe-EDTA ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่าช่วยเสริมประสิทธิภาพของ เชื้อราไตรโคเดอร์มาได้อย่างชัดเจน ช่วยให้ใบผักมีขนาดใหญ่ขึ้น (กว้างขึ้น) ความสูงเพิ่มขึ้น โตเร็ว อวบ อ้วน และรสชาดดีขึ้น หมายเหตุ : ข้อมูลที่ได้รับทราบจาก ท่านอาจารย์ ดร.ยงยุทธ เจียมไชยศรี นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ งานวิจัยการควบคุมโรครากเน่าในผักสลัดต่อไปในอนาคต (ขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้) สำหรับช่วง 6 เดือนหลังของปี พ.ศ. 2546 คุณ อรรถพร สุบุญสันต์ ผู้ผลิตระบบการปลูกพืช แบบ NFT และ DFT โดยใช้รางปลูกชุดเดียวกัน ได้ให้ความสนใจการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์ มาชนิดสดสายพันธุ์ CB-Pin-01 ที่ผลิตโดยบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด ในระบบ NFT มาอย่างต่อ เนื่อง ช่วยให้ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีและปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งจะเป็นแนวทางของการวิจัยโดย 28 ละเอียดต่อไป ผลสรุปจากการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระบบ NFT ที่ประมวลได้จากการสังเกตโดยคุณ อรรถพร สุบุญสันต์ ในเบื้องต้นมีดังนี้ 1. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด อัตรา 100 กรัมต่อสารละลายแร่ธาตุ 200 ลิตร (ล้าง เชื้อสดด้วยสารละลายแร่ธาตุ 3-5 ลิตร ก่อนนำไปกรองเอากากข้าวออก แล้วนำไปเติมลงในสารละลายแร่ ธาตุจนครบ 200 ลิตร) ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสารละลายแร่ธาตุ ช่วยให้โรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) ลดลง ระบบรากแข็งแรง ยาว รากมีสีขาว ผักมีขนาดใญ่และน้ำหนักเพิ่มขึ้น 2. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในระบบ NFT ช่วยกำจัดตะกอนที่เกาะติดอยู่กับผิวของรางปลูก ทำให้ง่ายต่อการล้างราง โดยไม่ต้องพึ่งพากรด 3. การใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาโดยวิธีผสมน้ำแล้วฉีดพ่นลงบนวัสดุเพาะกล้า (เพอร์ไลท์ ผสม เวอร์มิคูไลท์) หรือใช้คลุกเมล็ด สามารถป้องกันการเกิดโรครากเน่าและต้นกล้าเน่าของผักสลัดได้ เพิ่ม จำนวนต้นรอดตายอย่างชัดเจน ต้นกล้าแข็งแรง มีระบบรากยาวกว่าปกติ เติบโตอย่าง รวดเร็วหลัง การย้ายปลูกในระบบ NFT 4. เชื้อราไตรโคเดอร์มามีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะกรดในสารละลายแร่ธาตุค่อน ข้างเร็ว อาจมีผลกระทบต่อระบบรากได้ (กำลังจะศึกษาวิจัย) แต่ผลกระทบในทางที่ดีคือ อาจลดความจำ เป็นในการใช้กรดปรับสภาพสารละลายแร่ธาตุได้ 5. จำเป็นต้องเติมเชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสารละลายแร่ธาตุ จากผลการสังเกตในเบื้องต้น สรุปได้ว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มามีศักยภาพสูงมากที่จะช่วยลด ปัญหาโรครากเน่าของพืชผักที่ปลูกในสารละลายแร่ธาตุได้ โดยจะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในราย ละเอียดต่อไป สำหรับโรคที่เกิดกับส่วนของใบเช่น โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา มักไม่เป็นปัญหาที่สำคัญ การเก็บส่วนของพืชที่เป็นโรคใส่ถุงพลาสติกแล้วนำไปทิ้ง และการปรับอุณหภูมิในโรงเรือนไม่ให้สูงเกิน ไป สามารถลดการระบาดของโรคทางใบได้ การฉีดพ่นใบผักด้วยเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาชนิดสดจะ ช่วยแก้ปัญหาการระบาดได้ โดยไม่มีอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เอกสารประกอบการเรียบเรียง จิระเดช แจ่มสว่าง. 2531. นิเวศวิทยาและการควบคุมโรคพืชในดินโดยชีววิธี. รายงานการวิจัยเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 235 น. 29 จิระเดช แจ่มสว่าง. 2542. การใช้เชื้อรา Trichoderma ควบคุมโรคพืช. ในเอกสารการประชุมสัมมนาทาง วิชาการ สารชีวินทรีย์กำจัดศัตรูพืช ในศตวรรษที่ 21. 15-16 กรกฎาคม 2542. โรงแรม-มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ. จิระเดช แจ่มสว่าง และกนกนาฎ เรืองวิเศษ. 2538. การประยุกต์ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อฟื้นฟู สภาพต้นทุเรียนที่ทรุดโทรมเนื่องจากโรครากเน่าไฟทอฟธอรา. น. 334-341 ใน เอกสารการวิจัย นำเสนอในที่ประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่าง 9-11 ตุลาคม 2538. ณ. โรง แรมเพชรงามเชียงใหม่ จิระเดช แจ่มสว่าง จินตนา ชะนะ ปราโมทย์ ศิริโรจน์ กณิษฐา สังคะหะ วิชชุพร ว่องสุวรรณเลิศและวร รณวิไล เกษนรา. 2536. ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม พันธุ์กลายที่ ต้านทานต่อเบโนมิลในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสเคลอโรเทียม รอล์ฟสิไอ. น. 76 ใน บทคัดย่อของการประชุมวิชาการครั้งที่ 5 ของสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. 25-27 พฤศจิกายน 2536. โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์ เนชั่นแนล กรุงเทพฯ. จิระเดช แจ่มสว่าง และวรรณวิไล อินทนู. 2545. การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดด้วยเทคนิคอย่างง่าย เพื่อใช้ควบคุมโรคเน่าระดับดินของถั่วฝักยาวที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii. ใน การประชุม ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 40. 4-7 กุมภาพันธ์ 2545. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. แสงมณี ชิงดวง ประเสริฐ เคร่งเปี่ยม และสุชาติ วิจิตรานนท์. 2540. ผลของเชื้อราไตรโคเดอร์-มา Trichoderma harzianum
ที่มีผลต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica และ Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของพริกไทย และโรคเน่าดำของวานิลลา. วารสารโรคพืช 12:13-24. Abed-El Moity, T.H., Papavizas, G.C., and Shatla, M.N. 1982. Induction of new isolates of Trichoderma harzianum tolerant to fungicides and their experimental use for control of white rot of onion. Phytopathology 72: 369. Anju, P. 1994. Antgonism of Trichoderma against fungal pathogen and their enzyme production. Advance in Plant Sciences 7(1): 147-153. Backman, P.A. and Rodriguez-Kabana, R. 1975. A system for growth and delivery of biocontrol agents to the soil. Phytopathology 65: 819. Bassett, J. 1984. A revision of the genus Trichoderma. L. Section Longibrachiatum Sect. Nov. Can. J. Bot. 62: 924. Benbow, J.M. and Sugar, D. 1999. Fruit surface colonization and biological control of postharvest diseases of pear by preharvest yeast applications. Plant Dis. 83: 839-844. 30 Chet, l., Harman, G. E., and Baker, R. 1984. Trichoderma harzianum : its hyphal interaction whit Rhizoctonia solani and Pythium sp. Microbiology 7: 29. Cook, R.J. 1985. Biological control of plant pathogens : Theory to application. Phytopathology 75: 25-29. Cook, R.J., and Baker, K.F. 1983. The Nature and Practice of Biological Control of Plant Pathogens. Am. Phytopathol. Soc., St. Paul, MN. 539 pp. Cook, R.J. and Baker, K.F. 1983. The Nature and Practice of Biocontrol of Plant Pathogens. American Phytopathological Society, St. Paul, Minn. 539. Correa, A. 1995. In vitro inhibitory activity of trichozinianines on Sclerotium rolfsii Sacc. Cryptogamine Mycologia 16(3):185-190). Dennis, C. and Webster, J. 1971. Antagonistic properties of species-groups of Trichoderma II. Production of volatile antibiotics. Trans. Br. Mycol. Soc. 157: 41. Elad, Y., chet, l., Boyle, P., and Hennis, Y. 1983. Parasitism of Trichoderma spp. on Rhizoctonia solani and Sclerotium rolfsii scanning electron microscopy and fluorescence microscopy. Phytopathology 73: 85. Garrett, S. D., 1957. Effect of soil microflora selected by carbon disulfide fumigation on survival of Armillaria mellea in woody host tissue. Can. J. Microbiol. 3:135. Geremia, R.A., Goldman, G.H., Jacobs, D., van Montagn, M., and Herrera-Estrella, A. Hydrolytic extracellular enzymes of Trichoderma : specific induction of a basic proteinase, pp. 193-195. In New approaches in biological control of soil-borne diseases, Copenhagen, Denmark. Godtfredsen, W. O. and Vangedal, S. 1965. Trichodermin a new sesquiterpene antibiotic. Acta. Chem. Scand. 19: 1088. Gracia-Graza, J.A., M.Little, W. Brown, T.J. Blom, K. Schneider, W. Allen and J. Potter. 2003. Efficacy of various biological control agents and biorationals against Pythium root rot in Poinsettia. Horttechnology 13(1):149-153. Hadar, Y., chet, I., and Henis, Y. 1979. Biological control of Rhizoctonia solani damping-off with wheat-bran culture of Trichoderma. Phytopathology 69:64. Harman, G. E., Chet, I., and Baker, R. 1981. Factors affecting Trichoderma harzianum applied to seeds as a biocontrol agent. Phytopathology 71:569. Hoitink, H.A.J. and Kuter, G.A. 1985. Effect of composts in container media on diseases caused by soilbone plant pathogens. Acta. Hortic. 172: 191. 31 Hubbard, J.P., Harman, G.E., and Hadar, Y. 1983. Effect of soilborne Pseudomonas spp. on the biocontrol agent, Trichoderma hamatum on pea seeds. Phytopathology 73: 655. Intana, W. 2003. Selection and development of Trichoderma spp. for high glucanase, antifungal metabolites producing and plant growth promoting isolates for biological control of cucumber damping-off caused by Pythium spp. Ph.D. Dissertation. Kasetsart University, Bangkok. 202 pp. Intana, W., Chamswang, C., Intanoo, W., Hongprayoon, C and Sivasithamparam, K. 2003. Use of mutant strains for improved efficacy of Trichoderma for controlling cucumber damping-off. Thai J. Agric. Sci. 36 (3) In press. Jones, R. W., Pettit, R.E., and
Taber, R.A. 1984. Lignite and stillage : carrier and substrate for application of fungal biocontrol agents to soil. Phytopathology 74: 1167. Lin, A. 1994. Trichodermin a new antifungal agent from Trichoderma viride and its action in biological control of Rhizoctonia solani. Journal of Antibiotic 47(7): 799-805. Meyer, C. E. and Reusser, F. 1967. A polypeptide anti-bacterial agent isolated from Trichoderma viride. Experienta. 23: 85. Munnecke, D. E., Kolbezen, M.J. 1973. Effect of methyl bromide of carbon disulfide on Armillaria and Trichoderma growing on agar medium and relation to survival of Armillaria in soil following fumigation. Phytopathology 63: 1352. Nancy, K.B., Paul, A.B., Rodrigo, R.K. and Ploper, L.D. 1992. Potential for biological control of early leaf spot of peanut using Bacillus cereus and chitin as foliar amendments. Biological control. 321-328. Ooka, T., Shimojima, Y., Akimoto, T., Senoh. S., and Abe., J. 1966. A new antibacterial peptide “Suzukacillin”. Agric. Biol. Chem. 30: 700. Papavizas, G. C. 1985. Trichoderma and Gliocladium : biology, ecology, and potential for biocontrol. Annu. Rev. Phytopathol. 23: 23. Pyke, T. R. and Dietz, A. 1966. U-21, 963, a new antibiotic I. Discovery and biological activity. App. Microbiol. 14:506. Reusser, F. 1967. Biosynthesis of antibiotic U-22, 324, a cyclic polypeptide. J. Biol. Chem. 242: 243. Rifai, M.A.,1969. A revision of the genus Trichoderma, Mycol, Papers. Imp. Mycol. Inst. 116: 1. Rodriguez-Kabana, R. 1969. Enzymatic interactions of Sclerotium rolfsii and Trichoderma viride in mixed soil culture. Phytopathology 59: 910. 32 Rodriguez-Kabana, R. and Curl, E.A. 1968. Saccharase activity of Sclerotium rolfsii in soil and the mechanism of antagonistic action by Trichoderma viride. Phytopathology 58: 985. Rodriguez-Kabana, R., Kelley, W.D. and Curl, E. A. 1978. Proteolytic activity of Trichoderma viride in mixed culture with Sclerotium rolfsii in soil. Can J. Microbiol. 24: 487. Sivan, A., and Chet, I. 1989. The possible role of competition between Trichoderma harzianum and Fusarium oxysporum on rhizosphere colonization. Phytopathology 79: 198. Smith, K.T., Blanchard, R.O., and Schortle, W.C. 1981. Postulated mechanism of biocontrol of decay fungi in red meple wounds treated with Trichoderma harzianum. Phytopathology 71: 496. Tjamos, E.C., Papavizas, G.C. and Cook, R.J. 1992. Biological Control of Plant Diseases : Progress and Challenges for the Future. Plenum Press, New York. 462 pp. Weindling, R. 1932. Trichoderma lignorum as a parasite of other soil fungi. Phytopathology 22: 837. Weindling, R. 1937. Studies on a lethal principle effective in the parasitic action of Trichoderma Gliocladium. Phytopathology 27: 1175. Weindling, R. and Emerson, O.H. 1936. The isolation of a toxic substance from the cultural filtrate of Trichoderma. Phytopathology 26: 1068. Wells, H.D., Bell, D.K., and Jaworski, C.A. 1972. Efficacy of Trichoderma harzianum as a biocontrol for Sclerotium rolfsii. Phytopathology 62: 442. |