กะปิ?
   พอดีมีน้องทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง"กะปิ"เลยอยากนำมาเผยแพร่ให้สำหรับคนที่ยังไม่รู้ครับ
โดย: Soss2227-B [24 ก.พ. 52 15:27] ( IP A:125.27.146.39 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง กะปิช่วยการเจริญเติบโตของราก

จัดทำโดย
นายธนกร ตันติโกสุม เลขที่ 17
นายวรกฤตย์ พ่วงทรัพย์ เลขที่ 20
นายศศิน สุมกระจิว เลขที่ 21

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์บุญรอด วงษ์สวาท


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551

โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี

ชื่อโครงงาน : เรื่อง กะปิช่วยการเจริญเติบโตของราก

ผู้จัดทำ : นายธนกร ตันติโกสุม เลขที่ 17
นายวรกฤตย์ พ่วงทรัพย์ เลขที่ 20
นายศศิน สุมกระจิว เลขที่ 21
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ปีการศึกษา 2551
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์บุญรอด วงษ์สวาท


บทคัดย่อ

โครงงาน “กะปิช่วยในการเจริญเติบโตของราก” มีวัตถุประสงค์คือ ต้องการที่จะเร่งการเจริญเติบโตของราก โดยวิธีการตอนกิ่ง จะใช้กะปิ ซึ่งภายในกะปินั้นจะมีความเค็ม ซึ่งความเค็มจะช่วยให้แผลที่รอยควั่นแห่งได้เร็ว และสามารถเกิดรากได้เร็วขึ้น โดยจะแบ่งการทดลองออกมาเป็น 2 ชุดเพื่อเปรียบเทียบ การทดลองชุดที่ 1 ตอนกิ่งโดยใช้กะปิทา และ การทดลองชุดที่ 2 ตอนกิ่งโดยไม่ใช้กะปิทา โดยการตอนกิ่งนั้นจะตอนต้นเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ 4 สัปดาห์ ผลการทดลองก็ออกมาตามที่คาดหวัง คือ กิ่งที่ตอนโดยใช้กะปิทาจะออกรากดี รากยาว และสมบูรณ์พร้อมนำไปปลูกในดิน ส่วนกิ่งที่ไม่ได้ใช้กะปิทา จะออกรากช้ากว่า และไม่พร้อมนำไปปลูกในดิน จากการทดลองสรุปได้ว่า กะปิสามมารถเร่งการเจริญเติบโตของรากได้ เนื่องจากในกะปิมีความเค็มจาก กุ้งเคย และในกุ้งเคยยังไคโตซานที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืชอีกด้วย
















กิตติกรรมประกาศ

ทางคณะผู้จัดทำขอกล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมทุกคนที่ได้ให้การร่วมมือในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้น อันได้แก่
1. อาจารย์บุญรอด วงษ์สวาท
ผู้ให้แนวคิด คำแนะนำ ข้อคิด และข้อแก้ไขในการทำโครงงาน
2. นายนพดล แร่ดี
ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการการเจริญเติบโตของราก
3. สวนเกษรตรศรีนวลปราจีนบุรี
ผู้ให้ความรู้ในเรื่องการตอนกิ่ง

ทางคณะผู้จัดทำโครงงาน ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่มีส่วนร่วมและให้ความช่วยเหลือทุกท่านและขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ช่วยให้โครงงานประสบความสำเร็จได้ด้วยดี





























บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องจากการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีอาศัยเพศ จะทำให้ต้นไม้นั้น กลายพันธุ์ได้ง่าย และเจริญเติบโตได้ช้า จึงมีการคิดค้นวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศขึ้นมา วิธีไม่อาศัยเพศนี้จะได้ผลเร็วกว่าวิธีอาศัยเพศ แต่ก็ยังไม่รวดเร็วดังที่ต้องการจึงมีผู้คิดค้นหาสารเร่งการเจริญเติบของพืชมากมาย เช่น เร่งการเจริญเติบโตของดอก เร่งการเจริญเติบโตของใบ เร่งการเจริญเติบโตของราก ฯลฯ ในการตอนกิ่งนั้นจัดเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศวิธีหนึ่ง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเร่งการเจริญเติบโตของรากเพื่อที่จะนำมาปลูกบนดินได้รวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันได้มีการผลิตสารเร่งการเจริญเติบโตของรากออกมาขายตามท้องตลาด ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้ค้นหาสารที่ทำให้ช่วยการเจริญเติบโตของพืช และได้ไปพบกับ “ไคโตซาน” ซึ่งจะพบอยู่ในสัตว์ประเภทกุ้ง ซึ่งในกะปินั้นก็ทำมาจากกุ้งเคย ทำให้ในกะปินั้นจะมีไคโตซานอยู่ด้วย จึงทำให้คณะผู้จัดทำโครงงานนำกะปินั้นมาใช้แทนสารเร่งรากที่มีขายทั่วไป เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาปัจจัยในการเจริญเติบโตของราก
2. เพื่อศึกษาสารไคโตซาน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระหว่างวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2552 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

สมมติฐาน
1. ความเค็มในกะปิน่าจะช่วยให้แผลจากการควั่นแห้งเร็วขึ้นและเป็นผลทำให้รากเจริญเติบโตได้เร็วขึ้นเช่นกัน
2. ไคโตซาน จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของรากได้




ตัวแปร
ตัวแปรต้น คือ กะปิ
ตัวแปรตาม คือ การงอกของราก
ตัวแปรควบคุม คือ ระยะเวลา , สถานที่ทดลอง , กิ่งไม้ชนิดเดียวกัน


สถานที่จัดทำโครงงาน

ไร่ของคุณตา ทอง สีนาก ใน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถช่วยให้รากเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับรู้


















บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

กุ้งเคย
กุ้งเคยจัดเป็นครัสเตเชียนขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่า และไม่มีกรีแหลมๆ ที่บริเวณหัว เหมือนกุ้ง ตัวสีขาวใส มีตาสีดำ มีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่ตามบริเวณรากไม้ตามป่าชายเลน เช่น ต้น โกงกาง แสม ลำพู ชาวบ้านมักจะออกช้อน ตัวเคยกันในเวลาเช้า ช้อนกันได้ทุกวัน เพราะมีอยู่มากทุกฤดูกาล จะดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงไป ซึ่งอาจจะอยู่ในน้ำลึกประมาณหน้าแข้งถึงระดับหน้าอก ในแถบขั้วโลกใต้จะเป็นแพลงก์ตอน ที่มีขนาดใหญ่ มันจะเป็นอาหารที่สำคัญ ของปลาวาฬ ส่วนในอ่าวไทย เป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็กอยู่ตามชายฝั่ง ในนากุ้งและบ่อปลา ลักษณะที่สำคัญคือ ในตัวเมียจะมีถุงไข่ ติดอยู่กับท้องตั้งแต่เกิด จึงมีชื่อเรียกว่า กุ้งโอปอสซั่ม (opossum shrimp)


ชนิดของกุ้งเคยที่ใช้ทำกะปิ
สำหรับตัวกุ้งเคยที่ใช้ทำกะปิ มีอยู่ 5 สกุลคือ
สกุล Acetes. (Order Decapoda; Family Sergestidae)
เคยในสกุล Acetes มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ตามขนาดของลำตัว ตามสีของอวัยวะต่างๆ ที่มองเห็นและตามลักษณะของการรวมกันอยู่ เช่น ถ้าเรียกตามขนาดของลำตัว หากลำตัวมีขนาดใหญ่จะเรียก เคยโกร่ง เคยหยาบ เคยใหญ่ ถ้าเรียกตามสีเช่น สีของหนวดจะเรียกเคยสายไหม ซึ่งนิยมเรียกทางภาคใต้ สีของลำตัวเรียก เคยดอกเลา สีของหางเรียก เคยหางแดง ส่วนการเรียกตามลักษณะของการรวมกันอยู่เรียก เคยฝูง เคยประดา เคยในสกุลนี้มีขนาดใหญ่ ขนาดที่พบคือ 7.0-32.9 มม.

สกุล Lucifer. (Order Decapoda; Family Sergestidae)
เคยในสกุล Lucifer ได้แก่ เคยน้ำข้าว เคยเส้นด้าย เคยสำลี เคยนุ่น เคยในสกุลนี้ลำตัวเล็กยาว และแบนข้าง ส่วนที่เป็นหัวยาวมาก ซึ่งเป็นจุดเด่นของเคยในสกุลนี้ ขนาดที่พบยาวสูงสุดประมาณ 8.0 มม.

สกุล Mesopodopsis (Order Mysidacea; Family Mysidae)
เคยในสกุล Mesopodopsis ได้แก่ เคยตาดำ เคยละเอียด เคยตาดำหวาน เคยคายไม้ไผ่ ลักษณะของเคยในสกุลนี้คือ ขาตรง บริเวณส่วนอกยาว ขาตรงบริเวณปล้องท้อง มีขนาดเล็กมองเกือบไม่เห็น ยกเว้นเพศผู้ขาคู่ที่ 4 จะยาว ปล้องของลำตัวยาวเกือบเท่ากัน ตรงโคนแพนหางอันในมีลักษณะคล้ายฟองอากาศ

สกุล Acanthomysis (Order Mysidae; Family Mysidae)
เคยในสกุล Acanthomysis ได้แก่ เคยหน้าสนิม เคยขี้เท่า เคยตาดำเล็ก พบเพียงชนิดเดียวคือ Acanthomysis hodgarti W.M.Tattersal ลักษณะของเคยชนิดนี้คือ ปลายของแพนหนวดมนกลม ด้านล่างของปล้องท้องจะมีจุดสีดำกลมทุกปล้อง หางเรียวยาว ด้านข้างมีหนาม 28 คู่ ส่วนปลายจะมีหนามยาว 2 คู่ ขนาดที่พบ เพศผู้ และเพศเมียมีความยาวอยู่ระหว่าง 5.0-9.9 มม.

สกุล Rhopalophthalmus (Order Mysidacea; Family Mysidae)
เคยในสกุล Rhopalophthalmus เป็นเคยตาดำที่มีขนาดใหญ่ พบปะปนอยู่กับเคยตาดำเล็ก เพศผู้มีขนาด 9.0- 10.9 มม. เพศเมีย 9.0- 14.9 มม. พบเพียงจังหวัดสุราษฏร์ธานีเพียงแห่งเดียว และพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น มีลักษณะคือนัยน์ตาและก้านตา จะมีขนาดใหญ่กว่าเคยตาดำชนิดอื่นๆ ด้านล่างของปล้องท้องจะไม่มีจุดสี และขาที่ปล้องท้องจะยาวกว่าเคยตาดำอื่นๆ ขาเรียวยาว ด้านข้างมีหนาม 14 คู่ ส่วนปลายมีหนามยาว 2 คู่ และมีขนเล็ก ๆล้อมรอบ หางมีจุดสีแดง 2 จุด อยู่ตรงใกล้ๆ กับส่วนบนและส่วนปลายหาง ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน
ที่มา: http://www.siamculture.org







กะปิ

กะปินับเป็นสินค้าแปรรูปอาหารทะเลที่ชาวคุระบุรีหรือชาวนางย่อน ภาคภูมิใจอย่างมาก ด้วยมีแหล่งผลิตกะปิแท้ๆ ที่สะอาด หอม อร่อย หลายแห่งเช่น เกาะพระทอง(หรือเกาะปากจก) หรือบริเวณทุ่งนางดำ เป็นต้น กะปิของอำเภอ คุระบุรีไม่เพียงแต่ช่วยให้อาหารมีรสชาติอร่อยถูกปากเท่านั้นแต่ยังทำให้อาหารมีสีสันน่ารับประทานอีกด้วย
กะปิทำมาจากกุ้งทะเลตัวขนาดเล็กจิ๋ว ที่เรียกกันว่า กุ้งเคย หรือ “เคย” ทำให้ชาวนางย่อน และชาวใต้พื้นที่ต่างๆ เรียกกะปิว่า เคย ตัวกุ้งเคยจะมีชุกชุมมากในช่วงเดือน ตุลาคม–พฤศจิกายน หากมีโอกาสท่องเที่ยวท้องถิ่นภาคใต้ที่อยู่ติดชายทะเลและผลิตกะปิ สามารถพบเห็นภาพที่ชาวบ้านนำกุ้งเคยมาตากเพื่อเตรียมทำกะปิ

กุ้งเคยที่ชาวบ้านหาได้ด้วยวิธีการรุนจากทะเลนอก ชาวบ้านเขาจะเรียกกันว่า “เคยนอก” ซึ่งเมื่อนำมาผลิตกะปิแล้วจะได้กะปิที่มีสีชมพูน่ารับประทานมาก แต่มีบางท่านกลับเข้าใจผิดว่ากะปิที่มีลักษณะดังกล่าวนั้นใส่สี หรือสารฟอกสีด้วย สำหรับกะปิที่มีสีคล้ำนั้นผลิตมาจากกุ้งเคยที่หาได้จากบริเวณชายเลน ซึ่งโดยปกติแล้วกะปิที่มีสีคล้ำจะมีราคาถูกกว่ากะปิที่ทำจาก “เคยนอก”

วิธีการเลือกกะปิที่ทำจาก “เคยนอก” ล้วนๆ แบบสูตรของชาวนางย่อนแท้ๆ นั้นพอมีข้อสังเกตด้วยตาและจมูกของเราได้บางประการดังนี้คือ
- สามารถมองเห็นตัวกุ้งเคยนอก
- มีสีชมพู
- กลิ่นหอมแบบกะปิแท้
- ไม่มีกลิ่นคาวปลา
- รสชาติไม่เค็มมาก





การทำกะปิ
กะปิ (shrimp paste) เป็นผลผลิตที่ได้จากการนำ "เคย" มาผสมกับเกลือในอัตราส่วน เคย 12 กิโลกรัมต่อเกลือ 1 กิโลกรัม หรือแล้วแต่สูตรของแต่ละท้องที่
วิธีการทำนั้น มีอยู่ 4 ขั้นตอน
• ชาวบ้านจะใช้เครื่องมือ คือ สวิงไปช้อน หรือเอากระวักไปป้องเรียกการช้อนตัวเคยด้วยสวิง อีกอย่างหนึ่งว่า “การฉก" เมื่อได้กะปิมาแล้วก็นำไปล้างให้สะอาดใช้แล่งซึ่งเป็น ตะแกรงตาถี่ๆ ร่อนตัวเคยละเอียดจะลอดตะแกรงลงไปอยู่ข้างล่าง เหลือเศษใบไม้ เคยหยาบ และสิ่งที่ไม่ต้องการอยู่ข้างบน
• นำมาเคล้ากับเกลือในอัตราส่วน เคย 12 กิโลกรัมต่อเกลือ 1 กิโลกรัม หรือแล้วแต่สูตรของแต่ละท้องที่ เวลาเคล้าเกลือกับเคย ต้องขยำคลุกเคล้ากันให้ทั่วแล้วนำไปหมักในโอ่งหรือถัง 1 คืน
• ขั้นตอนการตากแดด หมั่นกลับเอาข้างล่างขึ้น ตากแดดจัด ๒-๓ วันก็ใช้ได้ โดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
• ตากแห้ง จะนำเคยที่คลุกเกลือแล้วไปตากบนเสื่อรำแพน เช่นเดียวกับการตากอาหารทะเลอื่นๆ เพื่อให้น้ำจากเคยออกและระเหยได้
• ตากเปียก จะนำไปตากบนผ้าพลาสติกหรือผ้ายาง ซึ่งวิธีนี้คุณค่าทางอาหารของเคย จะไม่สูญไปกับน้ำเหมือนการตากแห้ง
• ขั้นตอนสุดท้าย คือการนำเคยที่ตากแดดนั้นไปบดหรือโม่ให้ละเอียด แล้วนำไปตากแดดอีก 1 วัน แล้วจึงบรรจุลงเข่งหรือตะกร้าพลาสติกซึ่งมีแผ่นพลาสติกรอง ตั้งทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ เพื่อให้กะปิระอุหรือสุก ก็จะได้กะปิอย่างดี จากนั้นจึงนำไปอัดลงในถัง ในไห หรือในโอ่ง เพื่อจำหน่ายต่อไป




ของเหลือจากทะเลสู่ไคติน-ไคโตซาน
กากของเหลือจากทะเลเหล่านี้สามารถนำมาทำให้มีมูลค่าเพิ่มได้โดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่าไคตินและไคโตซาน

ไคติน มีชื่อทางเคมีว่า Poly [-(14)-2-acetamido-2-deoxy-D-glucopyranose> ซึ่งพบมากในเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก ผนังเซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์และเห็ดรา อย่างไรก็ตามการผลิตเชิงพาณิชย์มักจะใช้เปลือกกุ้ง กระดองปูและแกนปลาหมึกเป็นวัตถุดิบ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากนัก ได้แก่ กระบวนการสกัดโปรตีน โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจาง และกระบวนการสกัดแร่ธาตุ โดยใช้กรดเกลือเจือจาง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเรียกว่า “ไคติน”

ไคโตซาน มีชื่อทางเคมีว่า Poly [-(14)-2-amino-2-deoxy-D-glucopyranose> ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไคตินที่สกัดโดยผ่านกระบวนการดึงหมู่อะซิทิลของไคตินออกด้วยด่างเข้มข้น เรียกกระบวนการนี้ว่า deacetylation ผลิตภัณฑ์ไคโตซานที่ได้จะมีคุณภาพและสมบัติแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคนิคและขั้นตอนการผลิต


การประยุกต์ใช้ไคโตซาน
ไคติน-ไคโตซานเป็นวัสดุชีวภาพที่มีความหลากหลายและมีสมบัติที่โดดเด่น อาทิ มีความเป็นประจุบวกสูง สามารถทำเป็นแผ่นฟิล์ม มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่มีพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ไคติน-ไคโตซานจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ดังนี้

• ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม อาทิ เป็นวัสดุตกแต่งแผล และควบคุมการปลดปล่อยของยา
• ด้านการเกษตร อาทิ เคลือบเมล็ดพันธุ์พืชและเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
• ด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อาทิ เป็นสารเติมแต่งในแป้งทาหน้า แชมพู สบู่ และครีมทาผิว
• ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ อาทิ รักษาความสดใสของสีผ้า ระบายเหงื่อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษ
• ด้านการแยกทางชีวภาพ อาทิ การทำเป็นแผ่นเมมเบรน เพื่อใช้ในการกรองแยกด้วยเทคนิคต่างๆ
• ประโยชน์ด้านอื่นๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์, สารเพิ่มความหนืด

“การใช้ไคโตซานเป็นสารเพิ่มความแข็งแรงหรือความเหนียวของกระดาษ”
ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ใช้สารที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ที่เรารู้จักกันในนามของ “สารชีวภาพ” กันมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมกระดาษที่พยายามจะค้นหาสารชีวภาพที่สามารถใช้ทดแทนสารสังเคราะห์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
แป้งแปรรูป เป็นสารเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษที่ใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งมีข้อดี คือ ราคาถูก หาง่าย และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม แป้งเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ หากมีการตกค้างในกระบวนการผลิต จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในสายการผลิต ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของกระดาษและหากหลุดรอดมากับน้ำเสีย จะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มค่าความสกปรก (BOD) ของน้ำเสียในโรงงานได้ ดังนั้น นักวิจัยพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการค้นหาสารชีวภาพตัวใหม่ เพื่อทดแทนสารเดิม ซึ่ง “ไคโตซาน” อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งของอุตสาหกรรมกระดาษ
ไคโตซาน หรือ โพลีกลูโคซามีน เป็นสารชีวภาพที่สามารถสกัดได้จาก เปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนปลาหมึก รวมไปถึงเปลือกของแมลงและผนังเซลของเห็ดรา
ไคโตซาน มีสมบัติหลายประการที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการปรับปรุงสมบัติของกระดาษ อาทิ มีประจุบวก สามารถสร้างฟิล์มได้ น้ำหนักโมเลกุลสูงและมีโครงสร้างเป็นเส้นตรง นอกจากนี้ ไคโตซานยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากรายงานวิจัย พบว่า การใช้ไคโตซานในปริมาณ 0.25 - 1% สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษได้ดี โดยเฉพาะสภาวะการผลิตที่เป็นกรดและกลาง นอกจากนี้ อิทธิพลที่มีผลต่อการใช้ไคโตซานเป็นสารเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษนั้น ได้แก่ ปริมาณการใช้และสภาวะการผลิต อย่างไรก็ตาม ไคโตซานมีสมบัติที่เด่นกว่าสารอื่นตรงที่ไคโตซานสามารถใช้ได้ทั้งในสภาวะที่เป็น กรด กลาง และด่าง
ที่มาข้อมูล:
Pranee Lertsutthiwong และคณะ. Chitosan as a dry strength agent for paper. Appita Journal. 55(3): 208-212.


“การผลิตไคตินและไคโตซาน”
วัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นไคตินและไคโตซานนั้น ได้มาจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีข้อ-ปล้อง อาทิ กุ้ง ปู ปลาหมึก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเชิงพาณิชย์ ส่วนการผลิตจากเปลือกของแมลงและผนังเซลของเห็ดรานั้น ยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ
การผลิตไคตินและไคโตซานสามารถผลิตได้ด้วยวิธีทางเคมีและชีวภาพ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะวิธีทางเคมีซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากในเชิงพาณิชย์ การผลิตจะเริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบ ซึ่งอาจจะสับวัตถุดิบเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไม่ก็ได้ บางครั้งอาจจะนำมาล้างน้ำเพื่อกำจัดไขมัน โปรตีนและสิ่งสกปรกบางส่วนออกจากวัตถุดิบ ก่อนการนำ มาผ่านกระบวนการแยกโปรตีนด้วยด่างเจือจาง และตามด้วยกระบวนการแยกแร่ธาตุด้วยกรดเกลือเจือจาง ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนนี้ สามารถสลับลำดับก่อนหลังได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นี้ เรียกว่า “ไคติน”
จากนั้น นำไคตินที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการผลิตไคโตซาน โดยการแช่ไคตินในสารละลายด่างเข้มข้น เพื่อดึงหมู่อะซิทิลออกจากไคติน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไคโตซาน ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ความเข้มข้นของด่าง สภาวะและขั้นตอนในการผลิตไคติน อัตราส่วนของไคตินต่อสารละลายด่างเข้มข้น
จากรายงานวิจัย พบว่า การผลิตไคตินและไคโตซานจากเปลือกกุ้งนั้น สารละลายด่างที่มีความเข้มข้น 4% เหมาะสำหรับการแยกโปรตีน ที่อุณหภูมิห้อง และการแยกแร่ธาตุด้วยกรดเกลือที่มีความเข้มข้น 4% ที่อุณหภูมิห้องนั้น ควรจะแช่วัตถุดิบในกรดเกลืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ การผลิตไคโตซานที่มีความหนืดสูงๆ จะต้องใช้ ไคตินที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยขั้นตอนการแยกแร่ธาตุก่อนการแยกโปรตีน อย่างไรก็ตามการผลิตไคโตซานให้ได้สมบัติจำเพาะตามต้องการและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการควบคุมคุณภาพ

บทที่ 3
วิธีปฏิบัติงานและขั้นตอนการทำ
วิธีปฏิบัติงาน
1. คิดหัวข้อเรื่อง
2. ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
3. เสนอโครงงาน
4. วางแผนออกแบบการทำการทดลอง
5. เตรียมอุปกรณ์การทดลอง
6. ลงมือปฏิบัติทำการทดลอง
7. บันทึกผลการทดลอง
8. สรุปผลการทดลอง
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้
วัสดุ
- ขุยมะพร้าวแช่น้ำ
- ถุงพลาสติกขนาดเล็ก
- ยางวง
- กะปิ
- มีปลายแหลม
- กิ่งไม้
- เชือกฟาง
วิธีการทดลอง
ตอนที่ 1
1. นำขุยมะพร้าวแช่น้ำประมาณ 1 คืน แล้วนำมาบีบให้แห้งพอประมาณ
2. ยัดขุยมะพร้าวที่บีบแล้วให้เต็มถุง แน่นพอประมาณใช้ยางรัด
3. ใช้มีปลายแหลมกีดกิ่งมะนาวแล้วปลอกเปลือกที่กิ่งกรีดยาวประมาณ 2 cm
4. ปลอกเสร็จแล้วใช้มีดขูดเยื่อที่ติดอยู่ออก แล้วนำกะปิไปทาให้รอบบริเวณที่ปลอกบางๆ
5. ใช้มีดผ่าถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้ ผ่าท่ายาว แล้วแหกถุงนำไปหุ้มบริเวณที่ทากะปิใช้เชือกฟางรัดแน่นพอประมาณ มัดหัวท้าย
ตอนที่ 2
ปฏิบัติเหมือนตอนที่ 1 ทุกประการ เพียงแต่ไม่ต้องทากะปิบริเวณแผล

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า



ผลการทดลอง

ชนิดของกิ่ง 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์

กิ่งที่ทากะปิ
(ชุดที่ 1)
ยังไม่มีรากงอก
มีรากงอก 3 เส้น สั้นๆ
รากยาวประมาณ 2 cm และมีรากงอกเพิ่มขึ้นอีก
รากยาวประมาณ 3 cm รวมมีราก 6 รากพร้อมปลูก

กิ่งที่ไม่ทากะปิ
(ชุดที่ 2)
ยังไม่มีรากงอก
ยังไม่มีรากงอก
มีรากงอกออกมา 2 ราก สั้นๆ
รากยาวขึ้นประมาณ 2 cm ไม่มีรากเพิ่มยังไม่พร้อมปลูก
























บทที่ 5
อภิปรายและสรุปผลการศึกษา
อภิปรายผลการศึกษา

จาการทดลองชุดที่ 1 (ทากะปิ) : พบว่ามีการเจริญเติบโตของรากที่เร็วกว่าและยังมีจำนวนรากมากกว่าด้วยโดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ และเมื่อ 4 สัปดาห์ก็สามารถนำไปปลูกในดินได้

จาการทดลองชุดที่ 2 (ไม่ทากะปิ) : พบว่ามีการงอกของรากน้อยกว่าการทดลองชุดที่ 1 ต้องใช้ระยะ
เวลานานถึง 3 สัปดาห์ถึงจะออกราก

สรุปผลการทดลอง
เมื่อนำกะปิมาทาบริเวณแผลรอยควั่น ก็จะสามารถเร่งให้รากเจริญได้เร็วกว่าการตอนกิ่งธรรมดา เนื่องจากความเค็มในกะปิจะช่วยทำให้บริเวณแผลแห้งได้เร็วขึ้น จึงทำให้รากงอกออกมาได้เร็ว และ ไคโตซินก็จะช่วยเร่งให้รากเจริญได้เร็วขึ้น
ปัญหา-อุปสรรคในการศึกษาปฏิบัติงานและแนวทางแก้ไข
1. การเลือกกิ่งที่จะนำมาทดลอง แต่ละกิ่งจะมีอายุที่ไม่เท่ากัน ทำให้ระยะเวลาในการงอกของรากไม่เท่ากัน
2. ปัจจัยที่ทำให้รากงอก อาจจะทำให้การงอกของรากนานกว่าระยะเวลาการทำโครงงาน
การแก้ปัญหา
- เลือกกิ่งที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน โดยอาจดูจาก สีของกิ่ง ความเหนียวของกิ่ง
- ควรควบคุมปัยจัยของการงอกของรากเพื่อที่จะให้รากงอกเร็วที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยการงอกของรากให้มากกว่านี้เพื่อที่จะทำให้เข้าใจการทดลองมากขึ้น
2. อาจจะเพิ่ม ชุดการทดลองให้มากขึ้น โดยอาจจะไปเปรียบเทียบกับสารเร่งรากที่มีขายตามท้องตลาด


เอกสารอ้างอิง


http://village.haii.or.th/baantungrak_test/index.php?option=com_content&task=view&id=68&Itemid=88

http://www.fisheries.go.th/marine/KnowladgeCenter/knowledge/shrimp/shrimp.html

http://72.14.235.132/search?q=cache:rMi-ik4PCLEJ:www.material.chula.ac.th/CCB/th-infoBenefit.htm+%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99&hl=th&ct=clnk&cd=5&gl=th

http://www.doae.go.th/Library/html/detail/ditosan.htm
โดย: Soss2227-B [24 ก.พ. 52 15:37] ( IP A:125.27.146.39 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ทำไมกะปิถึงช่วยในการเจริญเติบโตของราก
โดย: beem_bem@hotmail.com [25 ก.พ. 53 11:20] ( IP A:118.172.72.120 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   
Hey once again it turned out to be a really good experience for me and my pet cat when we eventually checked out your web site. I hope you don't mind if I applaud you on the quality of the work and additionally to wish you the very best of luck as you proceed as time goes on. It was definitely a pleasant adventure to surf your blog and I shall undoubtedly be stopping by again before long to ascertain exactly how you are developing. Thanks a lot and with luck I will see you here once more very soon - Bryan Plastered
https://knkusa.com/forums/users/plasterers123/

โดย: Bryan Plastered [21 ธ.ค. 62 6:44] ( IP 82.8.75.118 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน