I-love-socotranum.pantown.com
ห้องรวมเทคนิค1 <<
กลับไปหน้าแรก
ทำปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง
นวัตกรรมใหม่...ทำปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่ต้องพลิกกลับกอง
« เมื่อ: มกราคม 14, 2009, 08:30:35 PM » อ้างถึง
--------------------------------------------------------------------------------
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ ไม่ต้องมีการเติมอากาศและไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง อีกด้วย เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีที่มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ให้ เสร็จภายในเวลาเพียง 30 วัน ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า วิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ำเสีย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จะเบา นุ่ม และไม่มีกลิ่น
ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี วิศวกรรม แม่โจ้ 1 นี้มีหลักการทำงานที่ง่ายมาก วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น วิธีการทำก็คือ นำเศษพืช 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยปริมาตรมาผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงรดน้ำให้มีความชื้น แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร มีความยาวของกองไม่จำกัดขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี
กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร จะทำให้สามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ จุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวขึ้นจะทำให้ภายในกองปุ๋ยเกิดเป็นสุญญากาศแล้วจะ ชักนำเอาอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปภายในกองปุ๋ย อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ
...หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดทั้ง 30 วัน หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะหยุดชะงักลง และหากกองปุ๋ยเปียกโชกมากเกินไปจุลินทรีย์ก็จะชะงักกิจกรรมอีก เนื่องจากน้ำที่ห่อหุ้มล้อมรอบจุลินทรีย์จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึง จุลินทรีย์ได้...
วิธีการดูแลความชื้นของกองปุ๋ยให้เหมาะสมมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) และ ขั้นตอนที่สอง ให้คอยตรวจสอบความชื้นภายในกองปุ๋ยโดยการล้วงมือเข้าไปจับดูเนื้อปุ๋ยดู ถ้าพบว่าวัสดุเริ่มแห้งก็ให้ใช้ ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ควรแทงรูและเติมน้ำเช่นนี้รอบกองปุ๋ยระยะห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งอาจต้องทำขั้นตอนที่สองนี้ทุก 7-10 วันถ้าจำเป็น เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูไว้เสียเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกอง ปุ๋ย
การเติมความชื้นเข้าไปในกองปุ๋ยขั้น ตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องมี การเติมน้ำเข้าไปในกองปุ๋ย ทั้งนี้เพราะน้ำฝน ไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะอุ้มน้ำและ ไม่ยอมให้น้ำส่วนเกินไหลซึมลงไปด้วยแรงโน้ม ถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการแทง กองปุ๋ยดังกล่าวเพื่อรักษาระดับความชื้นภายใน กองปุ๋ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยวิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1 นี้ในฤดูฝนได้ด้วย เพราะฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้
เศษพืชที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้แก่ เศษพืชที่เหลือจากการเกษตรกรรมทุกชนิด เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้น รวมทั้งผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งแห้งและสด ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ มูลช้าง และมูลสุกร โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้
หลังจากที่วัตถุดิบอยู่ในกองปุ๋ยแบบ วิศวกรรมแม่โจ้ 1 ได้ครบ 30 วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร โดยไม่มีการพลิก กลับกองหรือเติมอากาศใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉย ๆ ให้แห้ง หรือนำไปเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว เมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำ ไปใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของ ต้นพืช
ม.แม่โจ้มีฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ วิศวกรรมแม่โจ้ 1 สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้าชมการสาธิตได้ทุกวันเวลาราชการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อได้ที่ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โทร. 0-5387-5563.
โดย: aomjai1749 (aomjai1749
) [2 เม.ย. 52 18:07] ( IP A:203.107.230.40 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณมากครับ
โดย: ป๊อก 2745-B
[3 เม.ย. 52 17:44] ( IP A:125.26.107.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ผมไปอบรมที่แม่โจ้มาแล้วเมื่อปี 49 (รุ่นที่ 3 ) น่าสนใจมากครับดูแล้วทำไม่ยาก แต่ยังไม่มโอกาสได้ทำซักที
โดย: เท่ห์983-B
[4 เม.ย. 52 12:07] ( IP A:58.147.117.173 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ส่วนใหญ่ เวลาทำปุ๋ยหมัก จะมีปัญหาขี้เกียจกลับกองค่ะ ก็จะหมักไม่สมบูรณ์ เวลาใช้ไม่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร และใช้เวลาในหารหมักนานมาก ใช้แรงงานมากด้วย เมื่อก่อน อ้อมได้พรีเซนเตรชั่นมามีรูปประกอบด้วยโดนโจทันเล่นงานซะล้างทิ้งไปแล้ว
โดย: อ้อม (aomjai1749
) [5 เม.ย. 52 13:44] ( IP A:202.29.39.1 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน