== เมนเดล .. F1 .. F2 .. เรื่องที่ควรรู้สำหรับมือใหม่เพาะเมล็ด ==
   ... จอร์จ เมนเดล (Gregor Mendel ค.ศ.1822-1884) ได้สร้างทฤษฏีของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จากการศึกษาการผสมพันธุ์ถั่ว (Pisum satium)
ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันอย่างเด่นชัดทีละลักษณะ เช่น ต้นสูง กับต้นเตี้ย เป็นรุ่นพ่อแม่ (parent generation ; P)
ตรวจดูการแสดงลักษณะในรุ่นลูก F1 (First fillial generation) ทำการผสมกันเองในรุ่นลูก
ดูลักษณะที่ปรากฏในรุ่นหลาน F2 (second fillial generation) พบว่า การถ่ายทอดลักษณะไม่ได้เกิดจากผลของการนำเอาลักษณะต่างๆมารวมกัน
แต่มีหน่วยเฉพาะที่ปรากฏแน่นอนในการผสม เช่น ในการผสมพันธุ์ ลักษณะของลูกรุ่น F1 ที่ได้มีลักษณะเพียงลักษณะเดียวที่ปรากฏ
ลักษณะที่ปรากฏในลูก F1 เรียกว่า ลักษณะเด่น (dominance) ส่วนลักษณะที่หายไปเรียกว่า ลักษณะด้อย (Recessive)
เมื่อผสมรุ่น F1 รุ่นหลาน F2 ที่ได้ ลักษณะด้อยที่หายไปจะปรากฏขึ้น โดยในรุ่น F2 มีอัตราส่วนที่แสดงออกเป็นลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยเป็น 3 : 1 ...

อ่านเต็มๆจากตรงนี้ครับ
http://www.learn.in.th/gmos/sample/chapter1/chapter1.3.html

fillial มาจากภาษาลาติน แปลว่า ลูก
จะเห็นว่า คำว่า F1 , F2 เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางวิชาการ ... F1 = รุ่นลูก , F2 = รุ่นหลาน

ปล. รูปนี้ ชวนชมอายุ 6 เดือน เพาะจากเมล็ดที่พี่ไก่โต้งให้มาในชื่อ ฮอลแลนด์ , ขาวมรดกโลก , ยักษ์ญี่ปุ่น
ดูแล้วคิดว่าเป็น สายพันธุ์อะไรครับ ?

โดย: ชูเกียรติ-218 [4 พ.ค. 50 5:52] ( IP A:124.120.129.139 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   จากการศึกษาเรื่อง GENETICS ทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราเห็นภายนอก(phenotype) เหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่อยู่ภายใน(genotype) จะเหมือนกัน
... ชวนชมที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกัน 2 ต้น จะให้ลูกที่มีลักษณะต่างกันได้
... ชวนชมต้นเดียวกัน จะให้ลูกที่มีลักษณะต่างกันได้
ก็เพราะว่า ยีน(gene) ของชวนชมแต่ละต้น ต่างกันนั่นเอง

เรามาลองคิดดูเล่นๆนะครับ
เพชรบ้านนา บางคล้า ฮอลแลนด์ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ที่เราเห็นว่ารูปร่างหน้าตาต่างกัน ก็คือต่างกันที่ phenotype
แต่ genotype เป็นญาติพี่น้องกัน แน่นอน เพียงแต่ ลำดับไม่ถูกเพราะไม่มีใครเก็บบันทึกประวัติไว้

บรรพบุรุษชวนชมรุ่นแรกในโลกเบี้ยวๆใบนี้ ไม่รู้ว่าเป็นต้นไหน อยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
ชวนชมที่เราซื้อมาเลี้ยง เป็นชวนชมรุ่น F เท่าไหร่ก็ไม่รู้ สมมุติว่าเป็นหลักพันหลักหมื่น
ชวนชมต้นแม่ทั้งหลายตามสวนต่างๆ ก็เป็นชวนชม รุ่น F หลักพันหลักหมื่นเหมือนกัน
ดังนั้น เมล็ดชวนชม ที่เราเอามาเพาะ ก็เป็น รุ่น F หลักพันหลักหมื่นเหมือนกัน

genotype ในเมล็ดชวนชมที่เราเพาะ ถูกถ่ายทอดกันมาเป็นพันเป็นหมื่นทอด
ไม่มีใครรู้ว่า genotype ตัวไหนจะมาปรากฏในต้นกล้า ให้เราเห็นเป็น phenotype

ลักษณะที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ที่เรามาแบ่งแยก ตั้งชื่อเป็นสายพันธุ์ต่างๆ
เมื่อเพาะเมล็ด เราอาจจะได้ต้นกล้าที่ไม่เห็นลักษณะดังกล่าว
เพาะเมล็ดเพชรบ้านนา อาจจะ ไม่ได้ชวนชมที่มีลักษณะของเพชรบ้านนา
http://www.petchbanna.20m.com/BN.HTM

คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่เพาะเมล็ดนะครับ smile

ปล. รูปนี้ ชวนชมอายุ 6 เดือน เพาะจากเมล็ดที่พี่ไก่โต้งให้มาในชื่อ ฮอลแลนด์ , ขาวมรดกโลก , ยักษ์ญี่ปุ่น
ดูแล้วคิดว่าเป็น สายพันธุ์อะไรครับ ?

โดย: ชูเกียรติ-218 [4 พ.ค. 50 5:54] ( IP A:124.120.129.139 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ขอบคุณครับพี่ ตื่นเช้าจัง
โดย: อาร์ม 446 [4 พ.ค. 50 7:48] ( IP A:124.157.221.43 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   พี่ชูเกียรติ-218ครับ phenotype กับ genotype อันไหนสำคัญกว่ากันครับ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจครับพี่ ขยายความอีกนิดก็ดีนะครับ
โดย: ธนาวุฒิ 307 [4 พ.ค. 50 13:16] ( IP A:202.183.129.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ไม่นึกว่าวิศวกรอย่างพี่ชูเกียรติอธิบายด้านชีววิทยาได้ดีขนาดนี้แสดงว่าตอนสอบไม่ได้ทิ้งชีวะเหมือนผมนะครับ
โดย: ศรีราชาดีไลท์ [4 พ.ค. 50 13:19] ( IP A:61.90.200.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ผมนั่งดูอยู่นานผมว่า ความคิดเห็นที่ 1,2 เป็น ขาวมรดกโลก แน่ๆครับ
โดย: ธนาวุฒิ 307 [4 พ.ค. 50 13:56] ( IP A:202.183.129.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ค.ห.ที่1 ซึ่งเป็นเมล็ดที่ได้จากพี่ไก่โต้งเหมือนกันคับ มี 2 ต้น
โดย: หมูอ้วน79 [4 พ.ค. 50 14:01] ( IP A:203.157.71.171 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   พี่ธนาวุฒิ307 ครับ เมล็ดขาวมรดกโลกจากพี่ไก่โต้งเพราะแล้วไม่ได้เป็นแบบนี้ครับ ผมว่าน่าจะเป็นฮอลแลนด์คละสีนะครับ
โดย: หมูอ้วน79 [4 พ.ค. 50 14:03] ( IP A:203.157.71.171 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ขอบคุณคุณชูเกียรติมาก ที่นำเรื่องน่ารู้มาให้อ่านเป็นอาหารสมองก้น..
โดย: แสนคำนึง [4 พ.ค. 50 14:18] ( IP A:124.120.116.175 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ตอนเอ็นเลือกได้ 6 อันดับ ที่ติดนี่ อันดับสุดท้ายเลยครับ smile

genotype-phenotype ถ้าจะเข้าใจง่ายๆ ก็เหมือนคนที่เป็นพาหะทาลัสซีเมีย
เป็นพาหะ แต่ไม่แสดงอาการ ดูเหมือนคนที่ไม่เป็นโรค+ไม่เป็นพาหะ ดูภายนอกไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นพาหะรึเปล่าครับ

การทดลองของเมนเดล เขาทดลองหลายอย่าง เช่น สีของดอก ฯลฯ
ดังนั้นเราถึงได้มีไม้สีแปลกๆมากมาย เพราะ genotype ที่สืบทอดกันมานับหมื่นรุ่น ทำให้ ลูกไม้สีดอกไม่เหมือนแม่

ระยะหลัง มีสมาชิก หันมาสนใจเพาะเมล็ดกันเป็นจำนวนมาก
เกรงว่า บางท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า ซื้อเมล็ดบ้านนามาเพาะแล้วงอก 10 ต้น ก็คือ ได้เพชรบ้านนา 10 ต้น
แต่ที่ถูกต้องคือ บอกไม่ได้ว่า ได้เพชรบ้านนากี่ต้น ต้องคอยดูลักษณะต่างๆของแต่ละต้น (phenotype)
ถ้าต้นไหน เหมือนเพชรบ้านนา ก็เรียกว่าเป็นเพชรบ้านนา
ถ้าต้นไหน ไม่หมือนเพชรบ้านนา ก็ไม่ใช่เป็นเพชรบ้านนา แบบนี้อ่ะครับ smile

ปล. ท่านที่เรียนมาด้านนี้ช่วยอธิบายเสริมก็ดีนะครับ smile
โดย: ชูเกียรติ-218 [4 พ.ค. 50 14:18] ( IP A:124.120.130.104 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   อ้าว เป็นฮอลแลนด์คละสีเหรอครับคุณหมูอ้วน79 ผมเดาผิด อิอิ blink
ผมเข้าใจแล้วครับพี่ชูเกียรติ-218 ตรง "เมล็ดบ้านนามาเพาะแล้วงอก10ต้น บอกไม่ได้ว่า ได้เพชรบ้านนากี่ต้น" หมายความชัดเจนมากครับขอบคุณพี่ชูเกียรติ-218ครับ smile
โดย: ธนาวุฒิ307 [4 พ.ค. 50 14:47] ( IP A:202.183.129.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   พิมพ์ผิดครับขออภัย "หมายความชัดเจน" ขอเปลี่ยนเป็น "ความหมายชัดเจน"
โดย: ธนาวุฒิ 307 [4 พ.ค. 50 14:51] ( IP A:202.183.129.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ใช่เลยครับ รุ่น F1 หรือรุ่นแรก ลูกออกมาในลักษณะเด่นคุมด้อยไว้ 3:1 คับ แต่ถ้าเราเอา F1*F1 ละคับท ลูกที่ออกมา จะแสดงลักษณะทั้งเด่นและด้อยคับ สามารถนำลูกที่เราไม่แน่ใจสายพันธุ์มาตรวจสอบโดยผสมกับรุ่นแม้แท้คับ ลูกที่ได้จะบอกว่าตัวที่เราสงสัยใช่พันธุ์แท้หรือไม่คับ ผมเรียนมายังอี้อะคับแต่ไม่เคยลองคับเพราะคงใช้เวลานานมากคับ ตัวอย่าง TT*Tt=TT Tt TT Tt หรือ อัตราส่วน 50:50 คับ หวังว่าจะเข้าใจที่ผมยกตัวอย่างคับ
โดย: PoR651 [4 พ.ค. 50 20:32] ( IP A:61.19.65.35 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   genotype คือลักษณะที่ควบคุมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิต เรียกให้เข้าใจง่ายๆก้อคือ ยีนต์ (gene) เช่น ยีนต์ควบคุมลักษะสีผิว สีผม ซึ่งยีนต์ๆหนึ่งจะเกาะอยู่บนแท่งโครโมโซม ถ้ายืดโครโมโซมออกมาก้อจะได้เป็นสาย DNA ซึ่ง DNA เป็นตัวสำคัญที่ทำหน้าที่ในการบรรจุสารพันธุกรรมภายในตัวมัน สารพันธุกรรมใน DNA จะสามารถถ่ายทอดจากอีกรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ใน DNA ของสัตว์ต่างชนิดกันหรือแม้แต่สัตว์ชนิดเดียวกัน จะมีรหัสเบสบนสาย DNA ไม่เหมือนกัน เช่น ชวนชม พบน กับ รชน ก้อจะมีลำดับเบสบนสาย DNA ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการถ่ายทอดลักษณะต่างๆสู่ลูกจึงเป็นลักษณะที่จำเพาะ หมายถึง พบน เพาะเม็ดก้อจะเหมือน ต้น พ่อ ต้นแม่ (เป็นส่วนใหญ่) ส่วนลักษณะที่แสดงออกมาเช่นลักษณะต้นลักษณะดอกเรียก phenotype :7j'จะถูกควบคุม โดย ทั้ง genotype+environment ครับ อธิบายทั้งคืนก้อไม่เสร็จครับ เข้าใจยากอยู่นะครับ ผมเรียนมาทั้งชิวิตก้อยังไม่บรรลุเลย เอาเป็นว่ามีอะไรงง เกี่ยวกับเรื่อง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สอบถามมาได้นะครับ ยินดีอธิบาย
โดย: จิว677 [5 พ.ค. 50 20:11] ( IP A:203.156.50.65 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   อีกพันธุกรรมค่ะ ทรงต้นเป็นโซโคเเต่เป็น โอบีซุ่ม

โดย: at [5 พ.ค. 50 21:46] ( IP A:58.9.148.9 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   โอบีซุ่ม คืออะไรครับ ชักจะงงไปกันใหญ่ซะแล้วครับ คุณat
โดย: ธนาวุฒิ307 [5 พ.ค. 50 22:56] ( IP A:202.28.9.80 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   พันธ์ฮอลเเลนด์ทั่วๆไปค่ะ
โดย: at [5 พ.ค. 50 23:41] ( IP A:58.9.148.9 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   single gene ควบคุม single phenotype สามารถอธืบายได้ง่ายตามกฎของเมนเดล
ลักษณะต่าง ๆที่ถ่ายทอดให้เอา F1 ผสมกับ F1 อะไรออกมามากอันนั้นเป็นลักษณะเด่น เช่น ใบขนมาก [ b> ใบขนต้องเป็นลักษณะเด่น ดังนั้นใบมันควรเป็นลักษณะด้อย
ถ้าใบมันเป็นลักษณะด้อย เหมือนคนที่เตี้ย GENE ต้องเป็นเตี้ยแท้ทั้งสองสาย เนื่องจากเป็นลักษณะด้อยแท้ทั้งสองสายถึงจะให้ PHENOTYPE ที่เตี้ยเช่นพ่อเตี้ยแม่ก็เตี้ยอีก ลูกๆ ก็ต้องเตี้ยแน่นอน สิ่งแวดล้อมอาจทำให้สูงกว่าพ่อแม่ได้เล็กน้อย....เลี้ยงลูกหมูให้สมบูรณ์ที่สุดอย่างไรก็ไม่สามรถสูงกว่าช้างที่ตัวเตี้ยขาดอาหารได้
ใบมันเมื่อเป็นลักษณะที่ด้อยผสมกับใบมันที่เป็นลักษณะด้อยลูกที่ได้ต้องใบมันเนื่องจากไม่มี GENE ใบขนมาปน แต่ทำไมโซโคบางสายได้ใบขนมากมาย
สรุปน่าจะเป็น Multiple gene control single phenotype ไม่ทราบว่าจะผิดหรือถูก
โดย: . [7 ม.ค. 51 22:28] ( IP A:125.25.55.26 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ตามความเข้าใจ
ต้องเพาะลูกจากต้นแม่ออกมาก่อนแล้วดูจำนวนว่าส่วนใหญ่ลักษณะเป็นอย่างไรนั้นจึงบันทึกเป็นปมเด่น
ลักษณะส่วนน้อยจะเป็นปมด้อย

กรณีที่ 1
นำลูกปมเด่น + ปมด้อย
ลูกที่ออกมาจะได้
ลักษณะเด่น 50% และ ด้อย 50%

กรณีที่ 2
นำลูกปมเด่น + ปมเด่น
ลูกที่ออกมาจะได้
ลักษณะเด่น 75% และ ด้อย 25%

กรณีที่ 3
นำลูกปมด้อย + ปมด้อย
ลูกที่ออกมาจะได้
ลักษณะเด่น 25% และ ด้อย 75%

กรณีที่ 4
ถ้าสงสัยว่า
ลักษณะไหนเป็นปมเด่น
นำลูกปมเด่น + ต้นแม่
ลูกที่ออกมาจะได้
ลักษณะเด่น 87.5% และ ด้อย 12.5 % โดยที่
ปมเด่นจะคุมลักษณะปมด้อยเป็นส่วนใหญ่
***ถ้าลูกที่ออกมา 100 ต้น**
1. จะมีลักษณะเหมือนแม่ 100% อยู่ 38 ต้น
2. จะมีลักษณะเหมือนแม่ 100% อยู่อีก 50 ต้นแต่จะมีลักษณะด้อยแฝงรวมอยู่ด้วย
3. จะมีลักษณะไม่เหมือนแม่เลย อยู่ 12 ต้นซึ่งจะเป็นลักษณะด้อย
ไม่ทราบเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ
โดย: VIS1169-B [29 ก.พ. 51 7:42] ( IP A:61.7.221.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   heart

โดย: 11111 [20 ก.ค. 54 19:21] ( IP A:124.122.15.130 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน