โลงพระศพของตุตันคามุน RE-USE จริงหรือ?
|
ความคิดเห็นที่ 1 โดยส่วนตัว เห็นทฤษฎีที่ว่านี้มานานแล้วครับ ว่าโลงของ Tutankhamun น่าจะเป็นโลงของคนอื่น แบบว่าขโมยมาใช้ก่อน เพราะดันสิ้นพระชนม์เร็ว แต่ไม่คิดว่า Re-Use นะครับ
เรื่องสุสานก็เหมือนกันครับ KV62 อาจจะไม่ใช่ของ Tutankhamun แต่อาจจะเป็นของ Ay หลายๆท่านฟังแล้วอาจจแปลกใจ อ้าว Ay ยังไม่ได้เป็นฟาโรห์ แล้วจะมาสร้างสุสานไว้ได้ยังไง จริงๆถ้ามองหุบผากษัตริย์อย่างละเอียดแล้ว คิดว่ามีความเป็นไปได้ เพราะมีเหล่าข้าราชการชั้นสูงที่สร้างสุสานเล็กๆเอาไว้เช่นกัน และเป็นไปได้ที่ Ay ก็จะสร้างเหมือนกัน แต่พอสุสานของเขาเสร็จ Tutankhamun สิ้นพระชนม์กะทันหัน ก็เลยขโมยไปใช้ก่อน
แล้วสุสานเดิมของ Tutankhamun อยู่ไหน?? คำตอบคือ WV23 ที่หุบผาตะวันตก ที่ตอนนี้ Ay ใช้น่ะแหละครับ ประมาณว่าสลับกัน แต่ความจริงจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ก็ไม่สามารถบอกได้เช่นกันครับ
กลับมาเรื่องโลง จะว่าไป มันก็แปลกที่โลงชั้นที่ 2 สามารถใส่เข้าไปในโลงที่ 3 ได้พอดี แถมเอาไว้ใส่โลงในสุดได้พอดีเช่นกัน เหมือนออกแบบมาพร้อมกันยังไงยังงั้น
อีกอย่างลวดลายประดับบนโลงทั้ง 3 ชั้นนี้ก็ดันคล้ายคลึงกัน ทั้งลาย ทั้งรูปทรงเครื่องประดับศีรษะ ทั้งรูปร่างคทาและแส้ที่ถือ ล้วนสนับสนุนว่ามันน่าจะเป็นของ Tutankhamun มาแต่เดิมแล้ว
อีกอย่าง รูปแบบศิลปะของโครงหน้าที่ต่างกัน มันอาจจะไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกหน้าตาที่แท้จริงของฟาโรห์องค์นั้นๆก็เป็นได้ ตามที่เราก็น่าจะทราบๆมาจากรูปแบบทั่วไปของศิลปะอียิปต์นะครับ แต่ก็พูดยากเหมือนกันครับ
มี 2 ทางที่จะทราบคำตอบครับ
1) ปลุกตุตันคาเมนมาถาม 2) เรียน Egyptology แล้วทำ Thesis เรื่องนี้เลยครับ ได้ผลยังไงแล้วมาบอกกันบ้างนะคร๊าบบ 
ปล. ท่านอื่นๆ มีความเห็นยังไงอยากเสนอ ก็ยินดีนะครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [23 เม.ย. 54 9:17] ( IP A:115.87.98.121 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 สุสานของtutankhamunเองก็re-useเช่นกันครับแต่เดิมkv62 เป็นสุสานของไอย์ผู้ที่ครองราชย์ต่อ ภาพบนผนังก็วาดแบบเร่งรีบ เพราะtutankhamunสิ้นพระชนม์ก่อน(แต่สุสานเดิมของไอย์เป็นkv62และkv23)เขาจืงใช้สุสานของเขาให้กับtutankhamunและใช้สุสานรหัสkv23เป็นสุสานที่เก็บพระศพครับ(ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่า ภาพในสุสานkv23กับkv62มีความคล้ายคลืงกัน แต่ภาพในkv23นั้นเสียหายไปมาก แต่ยังคงความสวยงามไว้อยู่) | โดย: tumtumza@hotmail.com [10 พ.ย. 54 12:56] ( IP A:110.168.187.125 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 สุสานของ Tutankhamun "ไม่ได้" Re-use ครับคุณ tumtum
คำว่า Re-use คือถูกใช้แล้วและนำมาใช้ซ้ำ เหมือนกับที่เหล่าฟาโรห์หลายๆคนเอาก้อนหินจากพีระมิดหรือวิหารต่างๆไปสร้างหรือต่อเติมวิหารของตัวเอง อย่างนี้เรียกว่า Re-use (การนำไปใช้ซ้ำ)
แต่โลงพระศพหรือสุสานของ Tutankhamun ก็ดีเป็นการ "นำไปใช้ก่อน" โดยที่มันถูกเตรียมไว้ แต่เจ้าของเดิมก็ยังไม่ได้ใช้ แบบนี้ไม่นับว่าเป็น Re-use นะครับ
รายละเอียดก็ตามที่ผมตอบไปใน คห.1 นั่นแหละครับ ^^ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [10 พ.ย. 54 17:34] ( IP A:182.53.201.171 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 แต่สำหรับกรณีที่ว่า "รูปแบบศิลปะของโครงหน้าที่ต่างกัน มันอาจจะไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกหน้าตาที่แท้จริงของฟาโรห์องค์นั้นๆก็เป็นได้" ในสิ่งนี้มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยครับ กรณีที่เห็นด้วยอย่างยิ่งคือศิลปะแบบอุดมคติของอียิป(ไม่นับงานส่วนมากให้ช่วงราชอาณาจักรเก่าและกลาง,อมานาร์,เกรโก-โรมัน) ไม่สามารถใช้เป็นพื้นฐานบ่งบอกโครงหน้ากษัตริย์จริงๆได้ เช่นกันกับงานยุคสุโขทัยและอยุธยา แต่เท่าที่ผมก็พอจะดูมาบ้าง ทำให้ผมพอจะยืนยันได้ว่า
"ศิลปะของโครงหน้าไม่สามารถบอกหน้าจริงๆของเจ้าของได้แต่สามารถจำแนกว่าเป็นของฟาโรห์องค์ไหนหรือช่วงไหนได้" | โดย: Pingpong [10 พ.ย. 54 19:16] ( IP A:58.9.144.222 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ครับเห็นด้วย หมายถึงว่าศิลปะของอียิปต์ไม่ได้เป็นการปั้นหรือแกะสลัก "ภาพเหมือน" แต่เป็นการแกะสลักตามอุดมคติ ที่มี Style หรือรูปแบบที่ "แข็ง" เหมือนกัน แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว เราสามารถแยกแยะ "ยุคสมัย" และเจ้าของของมันได้ไม่ยากเย็นเท่าใดนักครับ ^^
นั่นคือถ้าเรายังไม่พบมัมมี่ ก็คงยากที่จะทราบหน้าตาที่แท้จริงของพวกเขาในอดีตครับ แต่ถึงแม้จะเห็นมัมมี่ก็ยากที่จะจินตนาการหน้าตาก่อนสิ้นลมเช่นกัน 555+ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [10 พ.ย. 54 19:59] ( IP A:182.53.201.171 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 แต่บางกรณีก็เหมือนจะเป็นข้อยกเว้นเหมือนกันนะครับ แต่ส่วนมากอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เจาะจงเท่าไหร่ อย่างรูปปั้นของ sesostris ส่วนอัคเคนาเตน ก็เป็นตัวอย่างเด่นๆ
ที่ผมว่าน่าจะเน้นrealistมากกว่าอุดมคติ ก็เหมือนจะเป็นของka-aperนะ อันนี้master piece ของศิลปะอียิปเลยส่วนตัวคิดว่าทำได้ดีกว่ารูปครึ่งตัวของเนเฟอติติ เยอะ
| โดย: Pingpong [10 พ.ย. 54 20:26] ( IP A:58.9.144.222 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ผมคิดว่ากฏทุกกฏมีข้อยกเว้นหมดแหละครับ ดูอย่างกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันนั่นปะไร เรียนมาดิบดีตอนมัธยม อธิบายการเคลื่อนที่ได้มากมาย แต่มาตกม้าตายทันทีถ้าจะเอาไปอธิบายการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือควากซ์ เรากลับต้องเอาทฤษฎีควอนตัมมาอธิบายแทน เป็นต้น
ศิลปะอันยาวนาน 3000 ปีก็เหมือนกันแหละครับ แม้ว่าชาวไอยคุปต์จะมี Style หลักที่คล้ายคลึงกันแต่ในแต่ละช่วงก็มีความแตกต่างเล็กๆน้อยๆที่ทำให้เราทึ่งในความสามารถ
ผลงาน Queen of Punt ในยุคของ Hatshepsut เองก็มี Realistic ในตัว ผลงานรูปปั้นในช่วง Middle Kingdom อย่างที่คุณ Pingpong ว่ามาก็มีการสลักให้เห็นความสมจริงมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ถึงขั้น "เหมือน" ตัวจริง
ดังนั้นถ้ากลับไปที่ประเด็นหลักของกระทู้ เราพบว่าศิลปะจำนวนมากของชาวไอยคุปต์ไม่สามารถสืบกลับไปหาใบหน้าที่แท้จริงของเจ้าของได้ มันก็เป็นการยากที่จะบอกว่าใบหน้าของโลงชั้นที่ 2 ที่แปลกออกไปนั้นเป็นภาพของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ Tutankhamun หรือไม่ อาจจะใช่หรืออาจจะไม่ใช่ ประเด็นคือสุสานของ Tutankhamun มีหลักฐานมากมายที่บอกว่า "รีบสร้าง" เสียเหลือเกิน ทั้งเรื่องของฝาโลงพระศพหิน เรื่องของภาพวาดบนผนังที่ตีตารางจำนวนช่องไม่เท่ากันเพราะทำคนละยุค ล้วนแล้วแต่บอกว่า Tutankhamun ต้องรีบได้รับการฝังพระศพอย่างรวดเร็ว แล้วอะไรจะเกิดขึ้นได้บ้างกับความเร่งรีบตรงนี้ ไปเอาโลงพระศพของฟาโรห์องค์อื่นมาก่อนหรือ? ก็เป็นไปได้ แต่เราคงจะไม่มีทางทราบว่าจริงๆแล้วมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในวันนั้น
แต่จะว่าไป ถ้าเรามีมัมมี่ของ Ka-Aper มาเปรียบเทียบโครงหน้าสักหน่อยว่าเหมือนรูปปั้นนี้เหรือเปล่าท่าจะดีนะครับ จะได้รู้กันไปเลยว่าชาวอียิปต์โบราณก็แกะสลักภาพเหมือนกับเค้าเป็นเหมือนกัน แถมเป็นผลงานระดับชิ้นโบแดงอีกด้วย ^^ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [10 พ.ย. 54 23:25] ( IP A:182.53.201.171 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 5555 เป็นคำตอบที่เคลียสุดจริงๆ | โดย: Pingpong [11 พ.ย. 54 12:17] ( IP A:58.9.144.222 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 มีคำถามครับ โลงของpsusenes 1 ราชวงศ์ที่21 re-use รึเปล่าครับ เคยอ่านในหนังสือครับ ว่า โลงชั้นที่2 เป็นของชนชั้นสูงสมัยราชวงศ์ที่19 และชั้นนอกสุดเคยใช้ใส่โลงของ merenptah เรื่องนี้จริงรึป่าวครับ | โดย: tumtumza@hotmail.com [22 พ.ย. 54 14:01] ( IP A:58.9.31.159 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 จริงครับผม 
โลงศพชั้นนอกที่ทำจากหินแกรนิตสีชมพูนั้นไปขโมยมาจากโลงพระศพของฟาโรห์ Merenptah เราทราบเรื่องนี้เพราะว่า Cartouche ที่สลักไว้บนโลงพระศพยังมีพระนามของฟาโรห์ Merenptah ผู้เป็นเจ้าของเดิมอยู่เลยครับ
ส่วนโลงพระศพชั้นที่ 2 ที่ทำจากหินแกรนิตสีดำธรรมดาก็ขโมยมาเช่นกัน จากหลักฐานจารึกที่ปรากฏบนโลงพอจะบอกได้ว่าเป็นจารึกสมัยราชวงศ์ที่ 19 แต่เป็นของใครนั้นมิอาจบอกได้ สิ่งที่เราเห็นจากรูปลักษณ์ของโลงพระศพที่ไม่มีการประดับงู Uraeus ไม่มีการถือสัญลักษณ์ของกษัตริย์ใดๆ และภาพสลักวิกผมที่เป็นของชนชั้นสูงจึงทำให้คิดกันว่าโลงศพนี้เดิมทีไม่น่าจะใช่ของเชื้อพระวงศ์แน่นอนครับ ^^ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [22 พ.ย. 54 19:39] ( IP A:101.109.133.72 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 เสริมให้อีกนิดนะครับ โลงชั้นในของ psusenes 1 ทำจากเงินครับ ส่วนหน้ากากมัมมี่ก็ทำจากทอง มีลักษณะคล้ายกับtutankhamun ครับ แต่ก็สู้ของตุตันคามุนไม่ได้(เคยเป้นอะไรกับtutankhamun รึป่าว เนี่ย)555+  | โดย: tumtumza@hotmail.com [23 พ.ย. 54 12:44] ( IP A:110.168.147.182 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ชาวไอยคุปต์เชื่อว่า "ทอง" คือเนื้อหนังมังสาของเทพเจ้าส่วน "เงิน" คือกระดูกของเทพเจ้าครับ
โลหะเงินนั้นนับได้ว่าเป็นโลหะหายากชนิดหนึ่งในไอยคุปต์เลยทีเดียว เพราะต้องนำเข้ามาจากแถบ Levant อีกทั้งยังมีค่ามากกว่าทองเสียอีกด้วย
จะว่าไปหน้ากากในยุครอยต่ออันสับสนยังสามารถรังสรรค์ได้งดงามขนาดนี้ก็ถือว่าสุดยอดแล้วนะครับ 
ใครไม่เคยเห็นกด Link นี้ไปดูได้ครับ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c0/Golden_Mask_of_Psusennes_I.jpg | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [23 พ.ย. 54 18:28] ( IP A:101.109.135.85 X: ) |  |
|