ฟาโรห์รามเสสที่2 รบแพ้ฮิตไทต์จิงหรอ
|
ความคิดเห็นที่ 1 ถ้าให้ตอบคำถามตามชื่อกระทู้ ตอบได้สั้นๆว่า "ไม่ทราบครับ"
เพราะว่าประวัติศาสตร์ มันก็แล้วแต่คนจารึก คนแพ้ (แต่กล้วเสียหน้า) ก็ไม่อยากจารึกว่าตัวเองแพ้ จริงไหมครับ แล้วใครจะไปรู้ความจริง ถ้าไม่ได้ไปเจอเหตุการณ์นั้นๆด้วยตาตัวเอง
อีกอย่าง ถึงจะมี "สนธิสัญญาสงบศึก" นั่นอาจจะหมายความอ้อมๆว่า "ไม่มีใครแพ้ไม่มีใครชนะ แต่ต่างก็ยอมกัน หรือเสมอกัน" แต่ผมถามง่ายๆครับว่า มั่นใจได้แค่ไหนว่า "เขาถอดความจารึกโบราณเหล่านั้นมาถูก?" อันนี้ไม่ได้จะพยายามบอกว่า เขาถอดความมาผิด แต่กำลังจะเสนอว่า เหตุการณ์ หรือเรื่องราวแบบนี้ มันไม่สามารถ "สรุป" ได้ชัดๆว่าใครชนะ หรือใครแพ้ เพราะมันไม่ใช่ผลการแข่งขันฟุตบอลโลก หรือ EURO ที่จะมีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ โดยมีผู้ชมกว่าล้านคนร่วมเป็นพยานในผลการแข่งขัน ใช่ไหมครับ?
ส่วนเรื่อง Nefertiti ผมว่าคงผิดจริงๆแหละครับ เพราะว่ามเหสีของ Ramses II คือ Nefertary ซึ่งอยู่ในราชวงศ์ที่ 19 แต่ Nefertiti นั้นอยู่ราชวงศ์ที่ 18 ครับ
ลองอ่านกระทูนี้เพิ่มเติมนะครับ เรื่องสนธิสัญญาสงบศึก และสงครามที่ Qadesh
https://www.pantown.com/board.php?id=36953&area=3&name=board2&topic=11&action=view
 | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [5 ก.ย. 52 17:41] ( IP A:124.120.116.229 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ได้ตอบแล้ว...รอเจ้าบ้านมาเปิดซิง
ที่ดูจาก The Ultimate Egypt Collection ในสารคดีบอกว่ามีการสงบศึกกันแต่รามเสสดันไปสั่งให้จาลึกเรื่องการรบครั้งนี้บนกำแพงแถวๆเมืองคาร์นัค/ลักซอร์ หรือที่ไหนแถบๆนั้นแหละ
ในสารคดีสรุปว่าการจาลึกครั้งนี้ถือเป็นต้นแบบการประชาสัมพันธ์ในประวัติศาสตร์เลย ประมาณสร้าง Image ให้ราษฎรตาดำๆที่ไม่รู้อะไรดูภาพสลัก (แบบอ่านไม่ออก...ใช้ภาพเป็นสื่อ )
ไม่รู้สารคดีแผ่นไหน...เดี๋ยวไปหาก่อน
NOTE อย่าเพิ่งหมั่นใส้นะ...บังเอิญพี่มีสารคดีอ้างอิงเยอะจนจำไม่ไหว
ถ้าเจ้าบ้านรู้ช่วยหน่อยนะ | โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [5 ก.ย. 52 18:20] ( IP A:58.10.18.112 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ในรายการซาฮี ฮาร์วาร์ดบอกเหมือนคห.ที่2เลยค่ะ แล้วก้บอกว่า เจอบันทึกของชาว...(จำชื่อไม่ได้ง่ะ-*-) บันทึกไว้ประมาณว่าอียิปต์แพ้ อะค่ะ เมื่อวานทรูEXP2 มีตอน อัคเคนาเตน เดี๋ยวไปหาสารคดีมาดูมั่ง อิอิ | โดย: เจ้าหนูจำไม [6 ก.ย. 52 13:46] ( IP A:125.24.6.109 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ครับ อยากให้เข้าใจ "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์" นิดนึงนะครับ
ถ้าคำถามที่ต้องการคำตอบคือ "อียิปต์แพ้ Hiitite จริงหรือ?" และต้องการคำตอบ 100% อยากทราบเหมือนกันครับว่าใครจะตอบได้บ้าง
ถ้าดูจากหลักฐานที่มีตอนนี้ บนกำแพงวิหาร Karnak กล่าวว่า "อียิปต์ชนะ" และแผ่นดินเหนียวที่พบที่ Hattusa กล่าวว่า "Hittite ชนะ" (นั่นเท่ากับอียิปต์แพ้) ขัดแย้งกันไหมครับ?
คำถามคือ คุณจะเชื่อใคร??
แต่ประเด็นคือ นักวิชาการส่วนใหญ่ ลงความเห็นไปว่า ถึงทั้งคู่จะทำสนธิสัญญาสงบศึกกัน (นั่นอาจจะแปลว่า "เสมอกัน") แต่ผู้ที่กำชัยชนะ ควรจะเป็นฝ่าย Hittite มากกว่า
อย่างไรก็ตาม "การตีความทางโบราณคดี" ไม่จำเป็นว่าจะต้องตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ขอให้จำไว้ว่า "ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้าเราสามารถหาหลักฐานที่ใหม่กว่ามาหักล้างหลักฐานเดิมๆไปได้"
ดังนั้น อย่าไปจริงจัง และหาอะไรที่ 100% กับสิ่งที่เรียกว่าประวัติศาสตร์เลยครับ แต่ประเด็นที่ควรสนใจมันคือ "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์" มากกว่า ว่าเราพบ และเจออะไรบ้าง และนักวิชาการตีความกันอย่างไร และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเป็นจริงในอดีต ถ้าไม่เคยไปเห็นจริงด้วยตาตัวเอง มันก็เป็นเพียงแค่สิ่งที่ "อาจจะ" เกิดขึ้นจริง เท่านั้นเองครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [6 ก.ย. 52 16:27] ( IP A:112.142.85.216 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ขอแก้นิดหนึ่ง ไม่ได้เข้าข้างเจ้าบ้าน/เจ้าหนูจำไมนะ
แบบถูกทั้งสองคนแหละ
เพิ่งไปอ่านข้อมูลเพิ่มสรุปได้ดังนี้ ไอ้สงครามเนี้ยเกิดที่......ปัจจุบันคือซีเรียเรียกว่าคาเดช เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า.....ฟาโรห์นักรบนักรักยกกำลังข้ามเข้าเขตสมรภูมิที่กษัตริย์ฮิตไทต์ดักรออยู่ด้วยกำลังทหารถึง 27000 นาย + รถศึก 2500 คัน และด้วยกำลังที่น้อยกว่าเลยถูกรุมกินโต๊ะแต่โชคเข้าข้างกองทัพสนับสนุนตามมาทันเลยตีโอบไปรุมกินโต๊ะวงนอกอีกวง
สรุปบาดเจ็บระนาด.....ขอย้ำว่าทั้งคู่สูสีจนต้องขอสงบศึกโดย
1.ทำหนังสือสัญญาฉบับแรกของประวัติศาสตร์โลก ลงบนแผ่นปาปิรัส แผ่นเงิน แผ่นหิน ........โดยใช้ภาษากลางในเวลานั้นบันทึก
2.แลกเฉลยศึก/ตัวประกัน อันนี้รามเสสเลยได้ชายา/สนมอีกองค์
หลักฐานยืนยันปรากฏอยู่ที่ 1.หน้าสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ New York ( สัญญาสงบศึกบนแผ่นหินที่พบในฮิตไทต์ ) ที่ใช้อ้างอิงว่าการเซ็นสัญญาสงบศึกมีมาตั้ง 3000 ปีแล้ว 2. พิพิธภัณฑ์ในฝรั่งเศส มีแผ่นปาปิรัสที่รามเสสเขียนกลอนขอบคุณเหล่าทหารหาญของพระองค์ที่สู้สุดใจขาดดิ้นเพื่อมาตุภูมิ 3. แผ่นเงินของฮิตไทต์ยังหาไม่เจอ แต่คาดว่าอยู่ในยุโรป
ขอบคุณนะทั้งสองคน....กำลังคิดเรื่องเขียนนิยายอิงประวัตศาสตร์ตอนที่ 35 อยู่ได้เกร็ดนี้มาช่วยพอดี
ปล. พยายามหาข้อมูลเพราะกลัวเจ้าบ้านหาว่าดูแต่สารคดีอย่างเดียว
สารคดีตอนนั้นชื่อว่า Rameses Wrath of God or Man | โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [6 ก.ย. 52 17:59] ( IP A:58.10.18.61 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 เจ้าบ้านขอโทษนะ
1. คห. 1 ไม่ยอมอ่านบอร์ด.....ก็เล่นบอกว่าไม่ทราบเลยพลาดส่งความเห็นที่ 6 มาซ้ำง่ะ
2. คห 6 พิมพ์ผิดง่ะ ไม่ใช่เจ้าบ้าย แต่เป็นเจ้าบ้านนะคะ
เจ้าบ้านตั้งกระทู้เองบ้างดิ....เพราะบางที่ยังไม่ได้อ่านหมดทุกกระทู้เลยตั้งมาซ้ำน่ะ
| โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [6 ก.ย. 52 18:25] ( IP A:58.10.18.61 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ไม่ต้องขอโทษก็ได้ครับ ^^
เพราะว่าเข้าใจว่าคนที่เข้ามาทีหลัง คงไม่สามารถตามอ่านกระทู้ทุกกระทู้ที่ตั้งมาเกือบ 1 ปีได้ครบแน่นอนครับ และคงจำไม่ได้ด้วยว่ากระทู้ไหนมีแล้ว หรือยังไม่มี อีกทั้งบอร์ดเราไม่มีระบบ Search หาด้วยว่ากระทู้นี้มีคนถามไปหรือยัง ทำให้อาจจะเกิดการตั้งกระทู้ซ้ำได้
แต่ผมซึ่งเป็นคนตั้งบอร์ด เข้าไปดูมาทุกกระทู้ ตอบมันดะทุกกระทู้ ก็ทำให้พอจำได้บ้างแหละครับว่ากระทู้ไหนเคยมีคนไปตั้งไว้แล้ว วิธีของผมก็คือ ดึง Link มาเลยอย่างที่ผมทำใน คห.1 น่ะครับ ให้ไปตามอ่านเอง เพราะว่าจะไม่ตอบซ้ำแล้วครับ (ด้วยความขี้เกียจพิมพ์ซ้ำน่ะแหละครับ 555+)
แต่ที่บอกว่า ---> เจ้าบ้านตั้งกระทู้เองบ้างดิ <--- อันนี้ หมายความว่ายังไงหรือครับ? เมื่อก่อนผมก็ตั้งอยู่นะครับ แต่ด้วยความที่กระทู้ที่ผมตั้ง ไม่มีคนตอบได้ (และไม่มีคนพยายามจะไปค้นมาแสดงความเห็นกันเลย) มันก็เลยร้าง ผมเลยตัดปัญหาด้วยการไม่ตั้งมันซะเลย เพราะตั้งมากี่ครั้ง มันก็ร้างทุกครั้งเลยครับ ผมรอเป็น Advisor ดีกว่า
แต่ถ้าคนที่ได้แชมป์แฟนพันธ์แท้ตำนานไอยคุปต์เค้าหลงเข้ามาในบอร์ด ผมอาจจะได้มีโอกาสถามคำถามเขาไปบ้างอ่ะนะครับ เพราะในประเทศไทย คนที่เก่งเรื่องอียิปต์โบราณที่สุด ก็คงจะเป็นแชมป์แฟนพันธ์แท้คนนี้น่ะแหละ จริงไหมครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [6 ก.ย. 52 19:25] ( IP A:112.142.85.216 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ยังรอแชมป์อยู่หรอโอ๊ต อิอิ เอ่อ เราว่าเก่งไม่ได้เก่งมันไม่ขึ้นอยู่กะการแข่งขันนะ เพราะคำถามไม่แฟร์อะ บางคนได้ง่าย ยาก ต่างกันอะ แฟนพันธุ์แท้น่าจะทำแบบสอบปลายภาคอะ คำถามเหมือนกันทุกคนจะได้รู้ใครเก่งที่สุด เราเลิกเล่นmsnสักแปปนะ เมลโดนแฮกT-T
| โดย: เจ้าหนูจำไม [6 ก.ย. 52 20:53] ( IP A:125.24.48.72 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 อันนี้ขอถามนอกเรื่องคะ ทำไมรูปแกะสลักของอียิปต์ คนถึงต้องยืนเอาข้างข้างหนึ่งก้าวมาข้างหน้า มีเหตุผลไรป่าวที่ต้องก้าวแบบนี้ เซิชดูแล้วไม่เจอเลย -*- | โดย: -*- [6 ก.ย. 52 20:59] ( IP A:125.24.48.72 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 อ่า ตอบเรื่องการก้าวเท้านะครับ
เท่าที่ทราบ การแสดงการ "ก้าวเท้า" มาด้านหน้าของรูปปั้นนั้นสื่อถึง "การมีชีวิต" ครับ และจะเป็นเท้าซ้ายด้วย ไม่ค่อยพบเห็นเท้าขวามากนัก เรียกว่าหาได้ยากเลยทีเดียว
ลองสังเกตรูปปั้น รูปวาด หรือรูปสลักของ Osiris Sokar หรือ Ptah ที่อยู่ในร่างของมัมมี่ นั่นคือ "ตายไปแล้ว" จะพบว่า รูปปั้นนั้นไม่ก้าวขาออกมาแต่อย่างใด นั่นคือการที่ยืนเท้าชิด = ตาย นั่นเองครับ
บางคนวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอียิปต์ ที่มีการก้าวเท้าไว้ประมาณว่า ให้เหมือนมีการเคลื่อนไหว ดูเหมือนเป็นการก้าวไปข้างหน้า อะไรอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการคาดเดา และตีความขอกนักวิชาการ ซึ่งก็อาจจะกล่าวแตกต่างกันออกไปได้ ถ้าใครมีข้อเสนออื่น ก็เอามาบอกกล่าวกันได้นะครับ ^^  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [6 ก.ย. 52 21:18] ( IP A:112.142.85.216 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 เจ้าเลิกพูดถึงแชมป์คนนั้นซะที
พี่เข้ามา WEB นี้โดยไม่รู้อะไรเล้ย บอกตรงๆไม่เคยดูรายการนั้นเลย เพิ่งมารู้ตอนหลังๆนี่แหละ ประมาณ 10 วันก่อนเพราะตามอ่านกระทู้เก่าๆเห็นมีการอ้างอิง...เลยไปดูซะหน่อย
โอ้ที่เก่งกันปานนี้เพราะฝึกวิชาแก่กล้าจนไป Battles กันมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ก็เท่านั้นแหละอย่าง คห 9 ว่านั่นแหละ
พวกคุณอาจพลาดในเกมส์แต่ชนะใจในบอร์ด OK
เอาเป็นว่าที่เข้ามาเพราะอยากมาถาม/หาความรู้จากผู้ที่เต็มใจให้ความรู้
ส่วนไอ้พวกกระบี่คมในฝักอย่างเดียว ไม่ชักมาฟันมันก็อยู่นอกสายตา
ตอนนี้ให้รู้ว่าพี่รอ D13 / Imseti มาตอบปัญหา Peaks รอส้มมาช่วยเสริมและรอคนอื่นๆมาออกความคิดเห็นแบบกระทู้เก่าๆ
จำไว้อย่างคนมีความรู้ส่วนใหญ่ไม่ตามกระแส ไม่บ้าตาม Promote และมีความเป็นตัวเองสูง
ถ้าคุณได้คนเหล่านี้มาเป็นขาประจำบอร์ดคุณแล้ว รับรองพวกนี้ ROYALTY สูงมาก เพราะไม่หวือหวาตามก๊วนชวนไปชวนมา
แต่คุณต้องมีความจริงใจและคงเส้นคงวาที่จะรักษาเค้าไว้
กระทู้ตั้งมาเถอะ มันลับสมองดี
ก็ลองดูอีกทีว่ายังเหมือนเดิมรึป่าว
| โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [7 ก.ย. 52 11:06] ( IP A:58.10.18.45 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 เรื่องสนธิสัญญาคาเดช เคยอ่านหนังสือเล่มนึงนะคะ เท่าที่อ่านก็ประมาณว่าต่างฝ่ายต่างก็จารึกไว้ว่าฝ่ายตนเป็นผู้ชนะ......เหมือนกันกับที่หนังสือหลายๆเล่นบันทึกไว้ แต่หนังสือเล่มนี้น่าสนใจตรงที่บทสรุปสุดท้ายว่า "อียิปต์ไม่ใช่ผู้ที่ได้ครอบครองดินแดนส่วนนั้นและก็ต้องอพยบออกไป แค่นี้ก็คงพอรู้แล้วว่าฝ่ายใดคือผู้ชนะที่แท้จริง" | โดย: Nukhel [7 ก.ย. 52 13:15] ( IP A:203.144.153.71 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 เปิด Link ไม่ได้ค่ะพี่เจี๊ยบ Link เสียหรือคอมหนูเน่าละเนี่ย งงกะเทคโนโลยี่จัง | โดย: som [7 ก.ย. 52 19:55] ( IP A:125.27.180.67 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 พี่ลองแล้ว...เปิดได้นะ
เอางี้ไป google เลย พิมพ์ kadesh battle ใน page 1มีหลายหัวข้อให้เลือก บอร์ดนี้อยู่ประมาณอันที่ 5 -8 แหละ
เข้าไปดูสิ...น่าสนใจมากมีการอธิบายการจัดขบวนศึกแบ่งเป็น เหล่าทัพของ AMUN RE PTAH SET
แปลไม่ออกทั้งหมด...ดูแค่รูปภาพก็พอรู้เรื่องนะ
พี่เจี๊ยบ | โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [8 ก.ย. 52 12:42] ( IP A:58.10.18.10 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ขอบคุณค่ะพี่เปิดได้แล้ว แต่ขี้เกียจอ่านนักแล 555 ภาษาอังกฤามาเป็นกระตัก ๆๆ มาจนอยากจะกระอักเลือดเลยค่ะพี่ 55+ | โดย: som [9 ก.ย. 52] ( IP A:125.27.172.236 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 ตอบพี่เจี๊ยบใน คห.12 นะครับ ว่าจะตอบมานานแล้วเนตไม่อำนวยซักที
คือ ผมชอบประโยคที่ว่า ---> ส่วนไอ้พวกกระบี่คมในฝักอย่างเดียว ไม่ชักมาฟันมันก็อยู่นอกสายตา คมมากครับ เลือดไหลต้องพยาบาลกันเลยทีเดียว 
จริงๆอยากบอกว่าเจ้าบ้านก็เป็นแค่คนธรรมดาๆคนนึงนะครับ ผมเองก็นั่งอยู่ในประเทศไทย ไม่เคยไปขุดค้นที่อียิปต์ หรือพูดคุยกับนักวิชาการต่างประเทศ แหล่งข้อมูลผมก็คือ Internet และ Textbooks ที่บ้านเท่านั้น
เรื่องบางเรื่อง ที่นักวิชาการยังไม่สรุป หรือยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เจ้าบ้านก็ไม่อาจจะตอบคำถามพวกนั้นได้เช่นกัน เพราะเจ้าบ้านก็ฟังและอ่าน Secondary Data มาอีกทีเหมือนกับพวกคุณน่ะแหละครับ
แต่อย่างไรก็ตามลองถามมาได้ จะพยายามไปหาคำตอบมาให้ แต่ให้ช่วยคิดสักนิดว่าเจ้าบ้านไม่ใช่อับดุลนะครับ บางเรื่องก็ไม่อาจจะให้คำตอบได้เช่นกัน ไม่มีใครที่รู้และจดจำเรื่องเกี่ยวกับอียิปต์โบราณได้หมดทุกเรื่อง แม้แต่ Zahi Hawass ไม่อย่างนั้น จะมีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาไว้ทำไมล่ะครับ??
อย่างไรก็ตาม ถ้าเจ้าบ้านมีคำถาม จะลองโพสต์ถามไว้ในกระทู้ดูแล้วกันนะครับ ถ้ายังไงลองช่วยๆกันค้นมาเสนอความคิดเห็นกันได้ครับ ^^  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [9 ก.ย. 52 20:12] ( IP A:114.128.165.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 โอ้ย....ไม่ได้ว่าคุณนะ
คุณมาตอบให้ความรู้เกือบทุกกระทู้
พี่หมายความว่า OAT อย่าไปสนใจคนอื่นที่ชอบเสนอหน้าแค่ตอน battle ในทีวีน่ะ
ขอโทษเป็นพวกปากตรงกับใจอยากพูดอะไรก็พูด แต่ไม่อธิบายให้ชัดเจน
จริงๆแล้วชอบน้องๆทุกคนในบอร์ดแหละ มาระดมสมองกันเยอะๆจะได้มีห้องเรียนที่เปี่ยมด้วยนักเรียนรุ่นใหม่ๆที่กล้าถาม/ตอบ และมีความสุขกับการรับรู้สิ่งที่ชอบ
| โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [10 ก.ย. 52 11:17] ( IP A:58.10.18.33 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 ใครที่สมควรได้รับตำแหน่งฟาโรห์ยอดนักรบในประวัติศาสตร์อียิปต์
The Warrior Pharaoh of Egyptian
พี่ว่าฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 1
| โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [10 ก.ย. 52 14:47] ( IP A:58.10.18.33 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 ไม่เข้าบอดซะนาน -*- ขอเสริมนิดหน่อยนะครับ ส่วนตัวแล้วเท่าที่ศึกษาพวกฮิตไท เปนอาณาจักรที่มีทหารเข็มแข็งที่สุดในสมัยนั้นก็ว่าได้ รถศึกที่เร็ว และมีคนยืนอยุ่ได้ 3 คน การฝึกทหารโหดมาก ประดิษฐ์เหล็กใช่ได้เปนพวกต้นๆในสมัยโบราณ(อียิปต์ตอนนั้นอาวุธน่าจะเป็นขวานสำริด ธนู ที่ขว้างหิน) กำลังพลตอนรบก็มักจะมีเยอะกว่าอียิปต์ตลอดที่รบมา เป็นไปได้ว่าฮิตไท จะเป็นผู้ชนะมากกว่า แต่ถึงจะเป็นชาตินักรบ อียิปต์ในตอนนั้นก็มั่งคั่งและทรัพยากรมีมากกว่าฮิตไท (2ฝ่ายกินกันไม่ลง) แต่การรบนานยืดเยื้อ มันสิ่นเปลืองเงินไปมากดังนั้นการสงบศึกษาน่าจะเป็นการดีมากกว่าทั้ง 2 ฝ่าย จะได้ช่วยเหลือกันได้
หวังว่าจะช่วยให้เข้าใจขึ้นนะครับ^^
| โดย: darkobiwan [11 ก.ย. 52 16:00] ( IP A:58.8.144.138 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 ครับ เรื่อง Ramses II จะแพ้สงคราม Qadesh จริงหรือเปล่า ตอนนี้คำตอบที่ "แน่นอน" ที่สุดคือ "ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน" ครับ แต่ถ้าถามแนวโน้ม ก็คือ Hiitite น่าจะเป็นฝ่ายกำชัยชนะมากกว่า ตามรายละเอียดที่โพสต์ๆไว้แล้วด้านบน
สำหรับพี่เจี๊ยบ จริงๆ 5 คนที่ Battle กันในทีวี ก็เข้าใจว่าบางท่านอาจจะมีภารกิจ (เช่นพี่แป้ง ที่เป็นหมอ เขาก็ไม่ค่อยได้เล่นเนตมากเท่าไร งานคงยุ่งมากครับ) แต่ถ้าพี่เขามาช่วยในบอร์ดได้ก็ดีเหมือนกันครับ
ส่วนคนที่เป็นแชมป์ เขาไม่เล่นเนต ก็เลยไม่ได้เข้ามา ผมเคยชวนแล้วครับ แต่เขาก็ยังไม่เข้ามา อาจจะไม่ชอบเล่นเนตก็ได้
แต่ผมคิดว่า การที่เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ และมีประเด็นใหม่ๆจากท่านอื่นๆมาให้ถกเถียง ค้นคว้า ทำให้ความรู้ของเราก้าวไกลมากไปกว่าการหาข้อมูลนั่งอ่านอยู่คนเดียวเป็นไหนๆ เพราะท่านอื่นๆอาจจะมีข้อมูล หรือเนื้อหาที่น่าสนใจ และเป็นประเด็นให้ค้นคว้า หรือถกเถียงได้ แต่การนั่งอ่านคนเดียวมันทำให้รู้สึกว่า ไม่รู้จะอ่านเรื่องอะไรดี เบื่อไปเสียหมด (ความคิดผมนะครับ)
สุดท้าย ถ้าพี่เจี๊ยบอยากตั้งประเด็นเรื่องฟาโรห์ยอดนักรบ ก็อยากให้ไปตั้งกระทู้ใหม่เลยดีกว่าครับ เพราะว่าถามในนี้ เกรงว่าพอนานๆไป (สมมติว่าเนื้อหาคนตอบมีเยอะ) เราจะหากระทู้ที่ถามเกี่ยวกับฟาโรห์ยอดนักรบอันนี้ไม่เจอน่ะสิครับ เพราะมันเป็นความเห็นแทรกในกระทู้อื่นน่ะครับ
ที่สำคัญ การตั้งกระทู้ใหม่ เปรียบเสมือนว่า บอร์ดเราขยับ คนที่เข้ามาดู ก็จะเห็นว่ามีหัวข้อใหม่ และก็จะทำให้บอร์ดคึกครื้นได้อีกทางหนึ่งครับ (เป็นประมาณว่าจิตวิทยา 555+)
ส่วนเรื่อง Ramses II กับ Hiitite ถ้าใครมีประเด็นอื่นๆอยากเสริม ก็เสริมได้ครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [12 ก.ย. 52 10:04] ( IP A:110.49.48.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 ส่วนตัวก็อยากเชื่อว่าฮิตไทด์กำลัง "ได้เปรียบ" ในการรบครั้งนั้นครับ
ไม่มีหลักฐาน แต่ขอวิเคราะห์ว่าหากไม่เพลี่ยงพล้ำล่ะก็ ฟาโรห์ที่เชื่อมั่นในความยิ่งใหญ่ของตัวเองอย่างรามเสสคงไม่ยอมทำสัญญาสงบศึกหรอกครับ น่าจะตะลุยจนได้ชัยเด็ดขาดไปเลยมากกว่า | โดย: Sundown [13 ก.ย. 52 16:33] ( IP A:58.9.165.115 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 สงสัยกลัวตายละมั๊งๆเหอๆไม่งั้นคงอย่ไม่ถึง90กว่าปี | โดย: imsety [13 ก.ย. 52 18:37] ( IP A:61.90.74.27 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 ตามสารคดีที่ดูมาอีกนั่นแหละ
รามเสสที่ 2 เริ่มออกรบตั้งแต่วัยรุ่นเพราะได้รับการปลูกฝังมาจากพระบิดาซึ่งเป็นชายชาติทหารซึ่งก็ได้รับการฝึกมาแต่เด็กเช่นเดียวกับทุต โมซิสที่ 3
จากสงครามคาเดชที่ถูกลวงเข้าไปยำบริเวณใกล้แม่น้ำก็เพราะอายุยังน้อยและใจร้อนนำทัพอามุนมุ่งหน้าไปโดยไม่รอทัพเรซึ่งโดนตีโอบกลางทัพต้องแตกเป็นเสี่ยงเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าไปเสริมทัพได้
อย่างไรก็ตามด้วยความมุทะลุและไม่เคยลิ้มรสความพ่ายแพ้มาก่อนจึงปลุกใจให้ทหารในทัพอามุนซึ่งมีน้อยกว่าศัตรูสู้สุดใจขาดดิ้นและตีทัพฮิตไทต์ถอยตกแม่น้ำไปไม่เป็นท่า......ส่งผลให้กองทัพของกษัตริย์มูวาตาลลิสรอเก้ออยู่ในป่าฝั่งตรงข้าม
ข้อเสริมอีกนิด : ในขณะที่ฮิตไทต์บุกเป็นช่วงเช้าทหารเพิ่งเริ่มแจกจ่ายอาหาร บ้างก็ซ่อมรถศึก บ้างก็ให้อาหารสิงโตเลี้ยง (ในสารคดีโชว์ภาพหลักฐานบนกำแพงที่ลักซอร์น่ะ)
หลังจากจบศึกนัดนี้....วันรุ่งขึ้นก็มีศึกล้างตายกแรก....สอง...สาม.....ตามลำดับกินเวลาหลายปี จนสรุปไม่ได้ว่าใครเหนือกว่าอย่างแท้จริงเพราะอียิปต์มีกำลังทรัพย์และกำลังรบมากส่วนฮิตไทต์ก็มีอาวุธสุดยอดทำจากเหล็กกล้า การศึกดำเนินไปถึง 16 ปีเลยมาคิดได้และขอทำสัญญาสงบศึกกันโดย 1.ทำสัญญาโดยใช้ภาษากลางในยุคนั้นคือ อาคาเดียนแมเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการสงบศึกและการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยมีธรรมเนียมการทูตระหว่างประเทศเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรามเสสที่ 2 ได้สมรสกับพระธิดาของกษัตริย์แห่งฮิตตาเตส (ดูแล้วได้เปรียบนะนี่)
-ฝ่ายฮิตไทต์จารึกบนแผ่นเงินและมีสำเนาบนแผ่นดินเหนียวเก็บไว้ที่เมืองหลวงฮัตตูชา ( UN จำลองไปไว้ที่หน้า HEAD OFFICE ที่ NEW YORK)
- ฝ่ายอียิปต์ไม่ทราบว่าจารึกบนอะไร แต่หลักฐานอีกชิ้นที่พบคือแผ่นกระดาษปาปิรัสในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์แห่งกรุงปารีสที่ผู้เชี่ยวชาญถอดความได้ว่าเป็นเนื้อหาของบทกวีที่รามเสสที่ 2 ได้เขียนกล่าวยกย่องทหารหาญของเค้าที่เข้าช่วยเหลือในสงครามแห่งคาเดช มีข้อความตอนหนึ่งว่า " แด่นักรบของข้า ผู้มีหัวใจยิ่งใหญ่ เจ้าได้ช่วยเหลือทหาร ช่วยเหลือรถศึก พวกเจ้าคือบุตรแห่งเทพอามุน " ตามที่ทราบกันจาก คห. 14 ทัพที่กลับมาช่วยคือส่วนหนึ่งของทัพอามุนที่เดินทางขึ้นเหนือไปก่อน 8 -12 ชั่วโมงแต่ก็กลับมาช่วยทันเวลา กล่าวกันว่าทหารในทัพอามุนล้วนแล้วแต่จงรักภักดีอย่างสูงสุดต่อรามเสส แต่ทัพเรก็ไม่ใช่ไม่ภักดีแต่ถูกทัพใหญ่ของฮิตไทต์ตีกระจายไปก่อนจนไม่สามารถไป support ทัพอามุนได้
จากผลการทำศึกครั้งแรกและครั้งต่อๆมา....ภาพบนกำแพงที่คาร์นัก ลักซอร์ และอาบูซิมเบลแสดงให้เห็นว่ารามเสสทำศึกทั้งทางเหนือและใต้ จากภาพต่างๆแสดงถึงปรีชาสามารถในการรบและมีบางภาพที่แสดงความต้องการที่จะได้คาเดชมาครองแม้จะทำสนธิสัญญาไปแล้ว
นอกจากนี้รามเสสยังมีพวกคนงานชั้นต่ำที่ไม่มีประเทศทำงานอยู่ที่เดลต้า ( หลักฐานเป็นภาพคนที่มีระบุสัญชาติหรือดินแดนบนกำแพงที่ลักซอร์) และพวกนี้แหละได้รวมตัวเพือเรียกร้องให้รามเสสที่ 2 ปลดปล่อยโดยมีผู้นำชื่อโมเสส
เหตุการช่วงนั้นเกิดขึ้นก่อนที่อาบูซิมเบลจะสร้างเสร็จเพราะที่อาบูซิมเบลมีหลักฐานที่รูปสลักยืนยันว่าเจ้าชายองค์โตคืออามุน ได้สิ้นพระชนม์แล้ว
เมื่อเสด็จไปเปิดอนุสรณ์สถานอาบูซิมเบลโดยเรือพระที่นั่งพร้อมกับเนเฟอร์ตาริได้ไม่นานราชินีองค์นี้ที่อุตสาห์แต่งตั้งขึ้นมาทัดเทียมและให้อำนาจเบ็ดเสร็จในการว่าราชการขณะที่พระองค์ทรงไปออกศึกก็มาจากไปอีก
ความสูญเสียที่รามเสสที่2 ได้ลิ้มรสมาถึงเวลานั้นมีมากมายจนพระองค์หมดความตั้งใจที่จะไปยึดครองคาเดชหรือว่าพระองค์เริ่มเกรงกลัวความพ่ายแพ้กันแน่ 1. พระองค์ต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวใหญ่คือเจ้าชาย 12 องค์ เมอร์เนปทาผู้สืบทอดคือเจ้าชายองค์ที่ 13 2. สูญเสียราชินีที่ไว้ใจได้ผู้ช่วยรั้งอำนาจของพระองค์ไม่ให้สั่นคลอนยามออกศึก 3.ภัยธรรมชาติมากมายที่กล่าวกันว่าเกิดขึ้นในช่วงที่โมเสสขอให้ปลดปล่อยชาวอิสลาเอล ไม่ว่าจะเป็นภัยจากกบ ตั๊กแตน โรคระบาด (EXODUS)
ความพ่ายแพ้ของรามเสสที่ 2 คือแพ้ความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นรอบตัวเองจนไม่สามารถ control ได้เหมือนก่อน ผลคือการหยุดนิ่งเพื่อตั้งรับมากกว่าการเคลื่อนไหวเพื่อมุ่งสยบ
ดูจากเมื่อครั้งทำศึกช่วงวัยรุ่นแม้ถูกลวงก็ยังพลิกกลับมาเสมอเพราะเวลานั้นสมาชิกในครอบครัว + เหล่าทหารผู้จงรักภักดียังอยู่ในช่วงกราฟพุ่ง
| โดย: jay [14 ก.ย. 52 10:49] ( IP A:58.10.18.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 อ่า คุณjayเปงคริสเตียนรึเปล่าคับคือผมเคยมีวิเคราะห์เรื่องโมเสสไว้น่ะคับ เเล้วยังไม่กล้าพูดจิงๆก็ไม่ได้เขียนลงในไหนมากคับไม่รู้ว่ามันเเรงไปป่าว(จิงๆเคยพูดถึงโมเสสกับพวกมุสลิมในบอร์ดนึงเเล้วเขาขู่จะตัดหัวผม --" รู้สึกจะประมานนั้น) | โดย: imsety [14 ก.ย. 52 21:00] ( IP A:58.11.4.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 ไม่ได้เป็นคริสเตียน แต่เคารพสิ่งที่ทุกคนเคารพ ทุกชาติ ศาสนา สักการะทุกอย่าง ต้นไม้ ศาลข้างทาง โบราณสถาน บางวันขับรถเพลินๆมาถึงบริเวณใกล้เคียงที่เคยยกมือไหว้.....เผลอไหว้ปั๊มน้ำมันยังเคยทำมาแล้ว
ขอย้ำข้อมูลจำมาจากสารคดี 2 ค่าย Discovery + National Geographic และ Search หาเพิ่มเติมง่ะ
| โดย: jay_ratan2000@yahoo.com [15 ก.ย. 52 11:02] ( IP A:58.10.18.16 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 โอเคคับค่อยโล่งใจ5555 กลัวจาซ้ำรอย | โดย: imsety [15 ก.ย. 52 16:32] ( IP A:58.11.4.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 ขอบคุนคุณ jay นะครับเขียนข้อมูลได้แน่นบวกยาวดี ขอเสริมนิดหน่อยตรงที่ผมอ่านมากองพลในสงครามนั้นมี 4 กองพล 1.อมุน 2.เร 3.พตาห์ 4.เซธ รามเซสหนุ่มหึกเฮิมนำกองทัพ อมุน กับ เร นำไปก่อนทิ้งเซธ กับ พตาห์ไว้เบื้องหลัง ก่อนจะรู้ตัวว่าถูกสายลับ ฮิตไทน์หลอก จนเกือบแพ้ จนกองพลทั้ง2มาช่วยไว้ได้ทัน
พวกชาวฮิบรูที่เป็นทาสก็น่าจะอยุ่ที่เมืองหลวงทางทหารของราเซส ที่ชื่อ Pi-Rameses
มีอะไรน่าสนใจจะมาช่วยเสริมครับ>< | โดย: darkobiwan [17 ก.ย. 52 16:01] ( IP A:58.8.144.135 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 30 ไม่แน่ใจว่า Pi Rameses อยู่ที่ DELTA ? แต่คิดว่าใช่นะ
ส่วนรายละเอียดการจัดทัพอยู่ที่ คห 14 และ 16
แต่ข้ามไปไม่อธิบาย ขอบคุณที่ช่วยเสริมค่ะ มีอะไรก็ช่วยกันเพิ่มเติมนะคะ
คือยังมือใหม่....ไม่ค่อยมีชั่วโมงบิน
| โดย: jay [17 ก.ย. 52 17:19] ( IP A:58.10.18.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 31 โห ไม่ได้เข้าบอร์ดมานานเพอสม
เพราะฟอแมตคอมเล่น
กลับมาทีกระทู้ตรึมเลย
วันไหนจะแลคเชอลงโน้ตบุ๊คดีก่าไหมเนี่ย | โดย: phoenixsea [20 ก.ย. 52 22:12] ( IP A:58.64.75.203 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 32 ผมชอบเรื่องที่เกี่ยวกับฟาโรห์ทุกพระองค์มากเลยครับถ้ามีโอกาสผมอยากจะไปสัมผัสสักครั้งในชีวิตนี้เพราะคนเราเกิดหนเดียวตายหนเดียวจริงหใมครับ | โดย: 007@yahoohotmail.com [9 ธ.ค. 52 10:56] ( IP A:202.129.54.53 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 33 ฟาโรห์รามเสสเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่จะรบแพ้ฮิทไทด์ได้ยังไงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ คุณว่าจริงไหมครับ
| โดย: ไรอัน [17 ก.พ. 53 15:01] ( IP A:203.172.218.233 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 34 อยากไปเที่ยวเมืองเมมฟิสในประวัติศาสตร์จังครับ
| โดย: ไรอัน [17 ก.พ. 53 15:05] ( IP A:203.172.218.233 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 35 ฟาโรห์รามเสสที่2มีมเหสีพระองค์เดียวจริงหรือครับ
| โดย: ไรอัน [17 ก.พ. 53 15:11] ( IP A:203.172.218.233 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 36 เอาเป็นว่าเมื่อเราไม่สามารถจะรู้คำตอบของคำถามที่แน่ชัด ก็จงเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทั้งหมดไปควบคู่กันเลยแล้วกัน อย่างน้อย ๆ การเรียนรู้ก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหลาย
Anatolia อารยธรรมแห่งแรกบนแผ่นดินได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการและความเจริญรุ่งเรืองของชาว Huttitesชนพื้นเมืองดั้งเดิมบนที่ราบสูง Anatolia ชาว Huttitesได้สถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นในราวปี 2500 - 2000 ก่อนคริสตกาล ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรของชาวHuttites เริ่มเสื่อมอำนาจลง เปิดทางให้ชนต่างถิ่นเข้ามาครอบครองดินแดนอันเป็นถิ่นฐานเดิมของชาว Huttites Hittites เป็นชนเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน สันนิษฐานกันว่าอพยพเข้ามายัง Anatolia จากทางยุโรป โดยผ่านทางคอเคซัสหรือบอลข่านในราวปี 2000 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรHittitesกำลังเสื่อมอำนาจลง เมื่อได้เข้ามายัง Anatolia แล้ว ชาว Hittitesได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวHuttitesมาใช้ แม้แต่ชื่อของประเทศหรือดินแดนที่ชาวHittites อาศัยก็ยังใช้ชื่อดั้งเดิมที่ชาวHuttitesใช้เรียกชื่อประเทศตน The land of Hatti ชาวHittitesเป็นชนกลุ่มแรกในอานาโตเลียที่สามารถสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และเป็นปึกแผ่นในดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรฮิตไตท์ได้เจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย และยังสามารถขยายดินแดนออกไปได้ไกลถึงเมโสโปเตเมีย การรุกรานของฮิตไตท์ต่ออาณาจักรบาบิโลนในเมโสโปเตเมียได้นำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรบาบิโลน ชาวฮิตไตท์ได้รับเอาวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา และระบบกฎหมายของบาบิโลนมาใช้
อาณาจักรฮิตไตท์เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในราวปี 1380 - 1346 ก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยพระเจ้า Suppiluliumas ที่ 1 อาณาจักรฮิตไตท์กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เทียบเคียงได้กับอาณาจักรอียิปต์ การแข่งขันกันในการแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรทั้งสองได้นำไปสู่สงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดนคาเดช ในปี 1274 ก่อนคริสตกาล ในรัชสมัยของพระเจ้า Muwattalis แห่งอาณาจักรฮิตไตต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 1 แห่งอาณาจักรอียิปต์ สงครามในครั้งนี้ปรากฏว่า ไม่มีฝ่ายใดสามารถเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด สงครามจึงยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาแห่งคาเดช (Treaty of Kadesh) ในปี 1269 ก่อนคริสตกาล เป็นสนธิสัญญาระหว่างอาณาจักรอียิปต์กับฮิตไตท์ โดยในปีที่ 1274 ก่อน ค.ศ. ความขัดแย้งระหว่างิยิปต์กับฮิตไตท์ที่ดำเนินมานานนับสิบปี ได้มาถึงจุดแตกหัก เมื่อกองทหารอียิปต์จำนวน20000คน รถศึก 3000ที่นำโดยฟาโรห์รามเสสที่สอง เข้าประจันหน้ากับทัพฮิตไตท์20000 คนและรถศึก ร่วม 3000 เช่นกัน ของกษัตริย์มุมวาตัลลิส ที่เมืองคาเดช ใกล้แม่น้ำโอรอนเตส(ปัจจุบันอยู่ในประเทศซีเรีย)
หลังการรบอันดุเดือดจบลง โดยที่ไม่มีฝ่ายใดได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทางฮิตไตท์ที่บังเอิญเกิดความวุ่นวายในอาณาจักรได้ขอสงบศึกซึ่งทางอียิปต์ก็ตอบตกลง โดยทั้งสองฝ่ายต่างถอนทัพจากคาเดชและทำสัญญาเป็นพันธมิตรต่อกัน นอกจากนี้กษัตริย์ฮิตไตท์ยังส่งพระธิดามาถวายเป็นสนมของรามเสสที่สองด้วย
ในการสงบศึกครั้งนี้เองที่มีการเขียนสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างสองอาณาจักรขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรโดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง ซึ่งนักประวัติศาสตร์ถือกันว่าเป็นสนธิสัญญาแห่งคาเดช เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา เนื้อหาสำคัญกล่าวถึงการสงบศึกและการแลกเปลี่ยนเชลยศึก สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ถูกจารึกในภาษาอัคคาเดียน (Akkadian) ซึ่งเป็นภาษาสากลในยุคนั้น สนธิสัญญาตัวจริงฉบับของฮิตไตท์ เชื่อกันว่า จารึกลงบนแผ่นเงิน ปัจจุบันยังหาไม่พบ แต่ได้มีการค้นพบสำเนาของจริง จารึกลงบนแผ่นดินเหนียว (Cuneiform Tablet) ค้นพบเมื่อปี 1906 ที่เมืองฮัตตูซา ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของฮิตไตท์ สนธิสัญญาสันติภาพแห่งคาเดช ฉบับสำเนาของจริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันออก (Museum of Orient Art) ในพระราชวังทอปกาปี นครอิสตันบูล สนธิสัญญาฉบับของอียิปต์ถูกจารึกลงบนผนังวิหารแห่งหนึ่งในประเทศอียิปต์ องค์การสหประชาชาติได้จำลองสนธิสัญญาฉบับนี้ประดับไว้ที่ทางเข้าอาคารสำนักงานองค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก

| โดย: xzodic [17 ก.พ. 53 16:09] ( IP A:114.128.198.253 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 37 ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพดังกล่าว พระเจ้า Hattusilis ที่ 3 ของฮิตไตท์ ได้ส่งพระราชธิดามาอภิเษกสมรสกับฟาโรห์รามเสสที่ 2 แห่งอียิปต์ อาณาจักรฮิตไตท์และอียิปต์จึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติเรื่อยมาเกือบ 50 ปี จนถึงในราวปี 1190 ก่อนคริสตกาลอาณาจักร ฮิตไตท์ถูกโจมตีโดยชาวทะเล (Sea Peoples) ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากแถบทะเลอีเจียน เมืองฮัตตูซ่า เมืองหลวงของฮิตไตต์ ถูกทำลายพร้อมกันการล่มสลายของอาณาจักรฮิตไตท์ เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเทียบรัศมีกับอียิปต์และบาบิโลนได้ถูกลบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในปี 1906 ได้มีการขุดค้นพบคลังเอกสารของกษัตริย์ฮิตไตท์ ที่เมืองฮัตตูซ่า อดีตอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรฮิตไตท์จึงได้ถูกเปิดเผยให้ชาวโลกได้รับทราบ นักโบราณคดีต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี จึงสามารถอ่านจารึกแผ่นดินเหนียวภาษาฮิตไตท์ (Hittite Tablet) ได้สำเร็จ (แต่ไม่ทั้งหมด)
ในปี 1987 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองฮัตตูซาเป็นมรดกโลก เมืองฮัตตูซ่าตั้งอยู่บนยอดเขาที่เต็มไปด้วยโขดหิน ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างเมืองของชาวฮิตไตต์ ชาวฮิตไตต์มีความเชื่องในเรื่องเทพเจ้าหลายองค์ เมืองหลวงของฮิตไตท์จึงเต็มไปด้วยวิหารที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่เทพเจ้าต่างๆ เมืองฮัตตูซ่าล้อมรอบไปด้วยกำแพงยาวถึง 6 กิโลเมตร ในสมัยที่ยังรุ่งเรืองเมืองฮัตตูซ่าคงจะเป็นเมืองที่ใหญ่มากเมืองหนึ่งในสมัยเมือง 3,000 ปีที่แล้วชาวฮิตไตท์คงจะเป็นชนชาติที่เก็งในด้านการสงครามมากกว่าในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม เพราะร่องรอยที่หลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ค่อยจะมีอะไรที่บ่งบอกถึงความวิจิตรงดงามในทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมากนัก เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับอียิปต์ ซึ่งเคยเป็นคู่อริของฮิตไตท์
ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรฮิตไตท์ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียเข้าสู่ยุคมืดที่ปราศจากศูนย์กลางแห่งอำนาจเป็นระยะเวลานานเกือบ 500 ปี อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างปี 1200-800 ก่อนคริสตกาล ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรฮิตไตท์ใหม่ (Neo-Hittite) ขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอานาโตเลียที่ติดกับซีเรียในปัจจุบัน อาณาจักรแห่งนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก ในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรแห่งนี้ได้ถูกโจมตีและทำลายลงโดยชาวอัสซีเรีย (Assyria)
ในราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อานาโตเลียได้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งภายใต้อาณาจักรน้อยใหญ่ของชนหลายกลุ่มที่ได้อพยพเข้ามายังอานาโตเลียจากที่ต่างๆ อาณาจักรเหล่านี้ตั้งกระจัดกระจายทั่วไปในอานาโตเลีย อาณาจักรที่สำคัญที่สุดอาณาจักรหนึ่งได้แก่ อาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชาวฟรีเจียอพยพมายังอานาโตเลียจากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปแถบลุ่มแม่น้ำดานูบในราวปี 1250 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยฮิตไตต์ ภาษาของชาวฟรีเจียคร้ายคลึงกับภาษากรีก ในระยะแรกที่อพยพเข้ามายังอานาโตเลียชาวฟรีเจียยังใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน จนกระทั่งในราวปี 738 ก่อนคริสตกาล ชาวฟรีเจียได้พัฒนาและสถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้น โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์เดียน (Gordion) ในภาคตะวันตกของอานาโตเลีย
อาณาจักรฟรีเจียครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคกลางฃองอานาโตเลียซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรฮิตไตท์ในบริเวณเมืองฮัตตูซา เมืองหลวงของฮิตไตต์ก็ปรากฏร่องรอยหลักฐานการก่อสร้างต่อเติมโดยชาวฟรีเจีย เมืองกอร์เดียนอดีตราชธานีของอาณาจักรฮิตไตต์ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเมืองโพลัดลี (Polatli) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงอังการาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร เมืองกอร์เดียมีขนาดเล็กกว่าเมืองฮัตตูซ่า อดีตราชธานีของฮิตไตท์มาก โบราณสถานสำคัญของเมืองกอร์เดีย คือ เนินฝังศพ (Tumulus) ซึ่งมีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปมากกว่า 80 แห่ง ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดีจะเข้าใจว่าเป็นเพียงเนินเขาธรรมดา อาณาจักรฟรีเจียเจริญรุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปีก็ล่มสลาย โดยในราวปี 650 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรฟรีเจียถูกอาณาจักรลีเดีย (Lydia) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะสันตกเฉียงใต้ของอานาโตเลียแถบทะเลอีเจียนโจมตีและทำลาย
อาณาจักรลิเดียมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองซาร์ดิส (Sardis) สันนิษฐานกันว่าชาวลิเดียเป็นลูกผสมระหว่างกรีกและชนพื้นเมืองในอานาโตเลีย อาณาจักรลิเดียเจริญรุ่งเรืองอยู่ในราวศตวรรษที่ 6-7 ก่อนคริสตกาล ในรัชกาลของพระเจ้า Croesus ซึ่งครองราชย์ในระหว่างปี 563-546 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรลิเดียมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมาก เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย ชาวลิเดียเป็นชนชาติแรกที่ผลิตเหรียญกษาปณ์ ซึ่งทำด้วยโลหะทองและเงินขึ้นใช้เป็นชาติแรกในโลก ความมั่งคั่งของอาณาจักรลิเดียเป็นที่ล่ำลือไปถึงอาณาจักรเปอร์เซีย พระเจ้าไซรัส (Cyrus) มหาราชแห่งเปอร์เซียได้ยกกองทัพเข้ามายังอานาโตเลีย และสามารถตีกรุงซาร์ดิส (Sardis) เมืองหลวงของอาณาจักรลิเดียได้สำเร็จในปี 546 ก่อนคริสตกาล
| โดย: xzodic [17 ก.พ. 53 16:10] ( IP A:114.128.198.253 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 38 ภายหลังที่ยึดครองอาณาจักรลิเดียได้สำเร็จในปี 546 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรัสมหาราชได้พยายามที่จะใช้อานาโตเลียเป็นฐานในการโจมตีกรีซแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี เปอร์เซียสามารถขยายอำนาจครอบครองอานาโตเลียไว้ได้เกือบทั้งหมดเป็นระยะเวลายาวนานเกือบ 200 ปี จนกระทั่งถึงปี 330 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาซิโดเนียได้ยกกองทัพเข้ามายังอานาโตเลีย เพื่อใช้เป็นทางผ่านไปโจมตีเปอร์เซีย เมืองต่างๆ ในอานาโตเลียได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ในปี 334 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเปอร์เซีย อย่างไรก็ดี การครอบครองอานาโตเลียของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นในปี 323 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ทรงสิ้นพระชนม์ที่บาบิโลน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) ระหว่างที่ทรงเสด็จกลับจากการทำสงครามในเอเชียใต้ ด้วยพระชนมายุเพียง 33 พรรษา อาราจักรอันกว้างใหญ่ของพระองค์ได้ถูกแบ่งแยกและปกครองโดยเหล่าขุนพลของพระองค์ แม้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในอานาโตเลียจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 10 ปี แต่ก็ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากมายในอานาโตเลีย ภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอานาโตเลียเป็นเวลาอีกหลายร้อยปีต่อมา นอกจากนี้ อาณาจักรที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยเหล่าขุนพลของพระองค์ก็เป็นเสมือนทายาทของพระองค์ในอานาโตเลีย ยุค เฮลเลนลิสติก (Hellenistic) ซึ่งถือว่า เป็นยุคทองของศิลปะและวิทยาการของกรีก ได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเริ่มนับตั้งแต่ช่วงที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีชัยชนะเหนืออาณาจักรเปอร์เซีย ไปจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าออกุสตุส (Augustus) แห่งอาณาจักรโรมัน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช อาณาจักรของพระองค์ได้ถูกแบ่งออกเป้น 4 ส่วน ปกครองโดยขุนพลสำคัญของพระองค์ 4 คน ได้แก่
คัสซันโดรส (Cassandros) ปกครองมาซิโดเนียและกรีซ เซเลอคุส (Seleucus) ปกครองเมโซโปเตเมีย ซีเรีย และอานาโตเลียตะวันออก ปโตเลมี (Ptolemy) ปกครองอียิปต์ ลิเบีย และอานาโตเลียเหนือ และ ไลซิมาคุส (Lysimachus) ปกครองอานาโตเลียตอนใต้และตะวันตก
ในบรรดาขุนพลทั้ง 4 คน ไลซิมาคุสได้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในอานาโตเลียและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นพื้นที่ในส่วนที่ติดกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอีเจียน ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ อาณาจักรของไลมาซิคุสมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเพอร์กามอน (Pergamon) อาณาจักรเพอร์กามอนของไลมาซิคุสได้รุ่งเรืองสืบมาจนถึงสมัยของพระเจ้าอัตตาลุสที่ 3 (Attalus III) (ครองราชย์ระหว่างปี 138 - 133 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งสิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาท พระเจ้าอัตตาลุส ที่ 3 ได้ทำพินัยกรรมยกอาณาจักรเพอร์กามอนให้แก่อาณาจักรโรมันซึ่งเป็นพันธมิตร พินัยกรรมดังกล่าวได้เปิดทางให้โรมันเข้าครอบครองอาณาจักรแพร์กามอนและอานาโตเลียทั้งหมดในเวลาต่อมา
| โดย: xzodic [17 ก.พ. 53 16:12] ( IP A:114.128.198.253 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 39 ภายใต้การปกครองของโรมัน อานาโตเลียเข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองทั้งในด้านเศษฐกิจและศิลปวัฒนธรรม ซากเมืองโบราณตามชายฝั่งทะเลอีเจียนและเมดิเตอร์เรเนียนของตุรกี ส่วนใหญ่จะสร้างในยุคโรมัน โดยมากจะมีอายุอยู่ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรโรมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อย่างไรก็ดี ในทางการเมือง อานาโตเลียไม่ค่อยจะมีความสำคัญมากนักสไหรับจักรวรรดิโรมันจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 4
ปี ค.ศ. 305 ได้เกิดสงครามกลามเมืองระหว่างผู้นำของโรมัน 2 คน คือลีซีนีอุส (Licinius) กับ คอนสแตนติน(Constantin) ผลปรากฏว่าคอนสแตนตินได้รับชัยชนะเหนือลีซีนีอุส ในสมรภูมิใกล้เมืองไบแซนทิอุม (Byzantium) ในปี ค.ศ. 324 และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิของโรมัน
ในปี ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันจากกรุงโรม มายังเมืองไบเซนทิอุม ซึ่งตามตำนานเล่าว่า บิซัส (Buzas) แห่งเมการา (Megara) ได้นำชาวกรีกมาสร้างไว้ในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ย้ายมืงหลวงมายังเมืองไบเซนทิอุมแล้ว ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นกรุงโรมใหม่ หรือ โนวา โรม (Nova Rome) อย่างไรก็ดี ภายหลังที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 337 กรุงโนวา โรม ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คอนสแตนติโนเปิล เพือเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์
พระนามจักรพรรดิโรมันในยุคที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง 1. คอนสแตนตินที่ 1 (Constantinus I) ค.ศ. 330 337 2. คอนสแตนตินที่ 2 (Constantinus I) ค.ศ. 337 360 3. จูเลียน (Julian) ค.ศ. 360 363 4. โจเวียน (Jovian) ค.ศ. 363 364 5. วาเลนส์ (Valens) ค.ศ. 364 378 6. เกรเทียน (Gratien) ค.ศ. 378 383 7. เธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) ค.ศ. 383 395
ในปี ค.ศ. 395 จักรพรรดิเธโอดอซีอุสที่ 1 (Theodosius I) ได้ทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็น 2 ส่วน เพื่อพระราชทานให้แก่พระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าชายอาร์คาดิอุส (Arcadius) ได้ครองจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ในขณะที่อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ถูกทำลายและล่มสลายไปในปี ค.ศ. 476 ซึ่งนำไปสู่ยุคมืดในยุโรป อาณาจักรโรมันตะวันออกได้เจริญรุ่งเรืองสืมมากว่า 1,000 ปี ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้เรียกอาณาจักรโรมันตะวันออกว่า อาณาจักรไบเซนไทน์ (Byzantine) ตามชื่อเมืองไบเซนทิอุม (Byzantium) อาณาจักรไบเซนไทน์ได้หันมารับภาษาและวัฒนธรรมของกรีก ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในอานาโตเลียมาตั้งแต่ครั้งที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้ามายึดครองอานาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ภาษาละตินของโรมันจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยภาษากรีก และได้กลายเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอาณาจักรไบเซนไทน์ในเวลาต่อมา
อาณาจักรไบเซนไทน์ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) (ครองราชย์ระหว่างปี 527 565) จักรพรรดิพระองค์นี้เป็นผู้สร้างวิหารเซนต์โซเฟียอันยิ่งใหญ่อลังการ เป็นเพชรเม็ดเอกของสถาปัตยกรรมแบบไบเซนไทน์ ซึ่งยังยืนหยัดท้าทายกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 1,500 ปี สิ้นรัชกาลของจักรพรรดิจัสติเนียน อาณาจักรไบเซนไทน์ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลงตามลำดับ ในปี ค.ศ. 1204 กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกโจมตีและยึดครองโดยกองทหารครูเสด (Crusaders) เป็นเวลาถึง 6 ปี ความเสียหายจากการโจมตีและยึดครองในครั้งนี้ ได้ส่งผลให้อาณาจักรไบเซนไทน์เสื่อมอานาจลงอย่างรวดเร็ว
สงครามครูเสดมีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากชาติในยุโรปของจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ เพื่อร่วมกันต่อต้านการคุกคามของมุสลิมเติร์ก ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ และได้ยึดครองนครเยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์ ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการยอมรับกันเป็นอย่างดีจากพระสันตปาปาเออร์บับที่ 2 (Urban II) พระองค์ได้ทรงเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปในขณะนั้นร่วมมือกันขับไล่มุสลิมเติร์กออกจากนครเยรูซาเลม จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 หาทราบไม่ว่า การเรียกร้องของพระองค์จะเป็น การชักศึกเข้าบ้าน และนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรของพระองค์เองในที่สุด
| โดย: xzodic [17 ก.พ. 53 16:13] ( IP A:114.128.198.253 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 40 ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กาหลิบอูมาร์ (Umar) แห่งอียิปต์ได้ยึดครองนครเยรูซาเล็มจากชาวคริสเตียน ชาวคริสต์ในนครเยรูซาเลมถูกกลั่นแกล้งรังควาน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1071 เซลจุกเติร์กได้เข้ายึดครองนครเยรูซาเลม และได้เริ่มรุกรานเข้ามายังอานาโตเลีย ดินแดนภายใต้การปกครองของไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมือง Malazgirt สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกลามารถเอาชนะกองทัพของจัดรพรรดิโรมันนุสที่ 4 ของไบเซนไทน์ ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชาวเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่อานาโตเลีย การรุกรานของชาวเติร์กทำให้จักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ต้องร้องขอความช่วยเหลือไปยังพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี สงครามครูเสดครั้งที่ 1 จึงเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1096 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อขับไล่เติร์กออกจากนครเยรูซาเลม สงครามครูเสดได้ยืดเยื้อต่อมาอีก 8 ครั้ง ก่อนที่จะยุติลงในปี ค.ศ. 1272
ในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 4 กองทหารครูเสดแทนที่จะพยายามบุกยึดนครเยรูซาเลมคืนจากมุสลิมเติร์ก กลับบุกเข้าปล้นนครคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1204 และได้แบ่งแยกดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์ออกเป็นหลายส่วนเพื่อปกครองกันเอง เชื้อพระวงค์ในไบเซนไทน์ซึ่งเสด็จลี้ภัยไปอยู่ที่เมือง Nicaea ทางตะวันตกของอานาโตเลีย ต้องใช้เวลานานเกือบ 60 ปี จึงสามารถยึดนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาได้ แต่อาณาจักรไบเซนไทน์ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เสื่อมทรมอย่างหนัก ชนเชื้อสายเติร์กได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย และสามารถยึดครองนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1453
ความอ่อนแอของอาณาจักรไบเซนไทน์ได้เปิดทางให้พวกเติร์กจากเอเชียกลางเปิดฉากการรุกรานเข้าสู่ดินแดนอานาโตเลียของอาณาจักรไบเซนไทน์มากยิ่งขึ้น ชนเชื้อสายเติร์กซึ่งดั้งเดิมเป็นชนเร่ร่อนแบ่งออกเป็นหลายเผ่า ถิ่นฐานดั้งเดิมของชนเชื้อสายเติร์กอยู่ในเอเชียกลางแถบเทือกเขาอัลไตในประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและทางธรรมชาติ ทำให้ชาวเติร์กอพยพออกจากเอเชียกลางไปยังดินแดนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ชาวเติร์กเผ่าหนึ่งเรียกว่า เซลจุก (Seljuk) ได้อพยพมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่เขตทะเลสาบแคสเปียน และได้ขยับเข้ามาใกล้อานาโตเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในปี พ.ศ. 2244 (ค.ศ. 1071) สุลต่าน Alparslan ผู้นำชาวเติร์กเผ่าเซลจุกประสบชัยชนะในสงครามเหนือกองทัพของจักรพรรดิโรมานุสที่ 4 แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ ณ สมรภูมิเมืองมาลัซเกิร์ต (Malazgirt) (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจังหวัดมุส ในภาคตะวันออกของประเทศตุรกี) ชัยชนะครั้งนี้ได้เปิดทางให้ชนเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลางหลั่งไหลเข้าสู่ดินแดนอานาโตเลีย ในตอนแรกเซลจุกเติร์กพยายามที่จะยึดเมืองอิซนิกซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครอิสตันบูล มาเป็นเมืองหลวงของตน แต่ถูกไบเซนไทน์และกองทหารครูเสดร่วมกันขับไล่ออกไป จนต้องถอยไปปักหลักในตอนกลางของอานาโตเลีย ในปีค.ศ. 1077 เซลจุกได้สถาปนาอาณาจักรแห่งแรกของตนขึ้นในดินแดนอานาโตเลีย เรียกชื่อว่า The Sultanate of Rum มีราชธานีอยู่ที่เมืองคอนยา ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบอันกว้างใหญ่ในตอนกลางของอานาโตเลีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของเมืองคอนยา ซึ่งป็นที่ราบปราศจากต้นไม้ มีความละม้ายคล้ายคลึงกับถิ่นฐานดั้งเดิมของเติร์กในเอเชียกลางมาก
อาณาจักรเซลจุกในอานาโตเลียเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นอยู่ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึง 100 ปี ก็เกิดการรบพุ่งกันเองตามแบบของสังคมแบบชนเผ่า ซึ่งมักจะมีเรื่องรบพุ่งกันเองอยู่เสมอๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่าน Sanjar ในปี ค.ศ. 1157 อาณาจักรเซลจุกก็ล่มสลายและแตกออกเป็นหลายแว่นแคว้นเรียกว่า Beylic (Emirate)
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุลต่านออตโตมันบางพระองค์ทรงพยายามที่จะปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจของจักรวรรดิออตโตมันให้ทันสมัย ทัดเทียมอารยประเทศในยุโรป แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง เนื่องจากสงครามได้ปะทุขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนทั่วดินแดนซึ่งเป็นเมืองขึ้นของออตโตมัน จักรวรรดิออตโตมันต้องประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก การปฏิรูปจึงไม่บรรลุผล พระราชอำนาจของสุลต่านได้เสื่อมถอยลงเป็นลำดับ ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1876 กลุ่มปัญญาชนซึ่งเรียกตัวเองว่า ยังเติร์ก (Young Turks) ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และบีบให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 (Abdulhamid II) พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองของจักรวรรดิมาเป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้เพียงปีเดียว ในปี ค.ศ. 1877 สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ได้ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง
ในปี ค.ศ. 1908 กลุ่มยังเติร์กได้ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ในปีต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจ สุลต่านเมห์เมตที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มีพระราชอำนาจที่แท้จริงแต่อย่างใด ทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
Enver Pasha ผู้นำกลุ่มเติร์กหนุ่มได้รวบอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และในปี ค.ศ. 1914 ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จักรวรรดิออตโตมันจึงตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามด้วย ต้องยอมลงนามสนธิสัญญา Sevres ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1920 ซึ่งเป็นผลให้จักรวรรดิออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นที่เหลือในบอลข่านและตะวันออกกลาง และที่เลวร้ายที่สุดคือ อานาโตเลียถิ่นที่อยู่ของชาวเติร์ก และอิสตันบูลได้ถูกกองกำลังของชาติยุโรปที่ชนะสงครามเข้ายึดครอง การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข และการถูกบีบให้ลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุการณ์อันน่าอัปยศอดสูที่ชาวตุรกียังจดจำได้เป็นอย่างดี ทุกครั้งที่ตุรกีตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับจากภายนอก มักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เสมอๆ
ชาวเติร์กส่วนใหญ่แม้จะยอมรับการสูญเสียดินแดนที่เคยเป็นเมืองขึ้น แต่ไม่อาจยอมรับความพยายามของชาติตะวันตกที่จะยึดครองอานาโตเลีย ซึ่งชาวเติร์กถือว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเติร์ก รัฐบาลของออตโตมันในขณะนั้นอยู่ในภาวะที่อ่อนแอเกินกว่าที่จะต่อรองอะไรได้ ชาวเติร์กผู้รักชาติจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง โดยมีมุสตาฟา เคมาล (Mustafa Kemal) เป็นผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังต่างชาติ สงครามเพื่อการปลดปล่อย (War of Liberation) จึงอุบัติขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1919 ค.ศ. 1923
ในช่วงนี้ได้เกิดรัฐบาลขึ้น 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของสุลต่านออตโตมัน ซึ่งตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล และรัฐบาลแห่งสมัชชาใหญ่ตุรกี (The Government of the Turkey Grand National Assembly) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงอังการา การต่อสู้ในสงครามเพื่ออิสรภาพสิ้นสุดลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาโลซานน์ (Lausanne) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923 ซึ่งนำไปสู่การรับรองเขตแดนของประเทศตุรกีในปัจจุบัน และการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งมีกรุงอังการาเป็นเมืองหลวง เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1923
ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีในปี ค.ศ. 1923 รัฐสภาของรัฐบาลอังการาได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1922 ยกเลิกระบบสุลต่าน ซึ่งยังคงมีอำนาจปกครองเพียงนครอิสตันบูลเท่านั้น ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922 อัครมหาเสนาบดีคนสุดท้ายของรัฐบาลออตโตมันได้ยื่นใบลาออก และในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สุลต่านเมห์เมตที่ 6 สุลต่านพระองค์สุดท้ายของออตโตมันได้เสด็จไปลี้ภัยในต่างประเทศ โดยเสด็จออกจากนครอิสตันบูลโดยเรือรบของอังกฤษ เป็นการปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่า 600 ปี
อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ( อาจจะมีข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปบ้างก็ขอโปรดอภัยมา ณ สถานที่แห่งนี้ด้วย )

| โดย: xzodic [17 ก.พ. 53 16:20] ( IP A:114.128.198.253 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 41 สำหรับความเห็นที่ 35 อย่างน้อย ๆ ชื่อที่พอจะหาเจอได้ก็มี 5 พระนามแล้วหล่ะ ได้แก่
1. Nefertari 2. Queen Isnofret 3. Maathornefrure (Hittite) 4-5.Binthanath and Marytamon (Wife/daughter)
| โดย: xzodic [17 ก.พ. 53 16:33] ( IP A:114.128.198.253 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 42 ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับคุณ xzodic ^^
แต่สำหรับ คห. 35 ผมก็เพิ่งมาเห็นคำถามเหมือนกันครับ
เอาเป็นว่า Great Royal Wife ของ Ramses II มี 8 คนครับ
1. Nefertary 2. Isetnofret 3. Bintanath 4. Meritamun 5. Nebettawy 6. Henutmire 7. Maathorneferure 8. Unknown Hittite queen | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [17 ก.พ. 53 17:55] ( IP A:110.49.16.182 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 43 คนที่อยากรู้ไม่เห็นจะเข้ามาอ่านบ้างเลย เฮ้อ! หนักใจวุ้ย ! | โดย: xzodic [22 ก.พ. 53 19:28] ( IP A:114.128.48.130 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 44 แล้วปัจจุบันตอนนี้ ข้อมูลของอาณาจักรฮิตไทต์ก็ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดใช่มั้ยคะ ดูลึกลับจริง ๆ .. | โดย: bell [10 พ.ค. 53 2:39] ( IP A:58.9.111.33 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 45 ผมว่า ทั้งอิยิปต์และฮิตไทต์ ต่างก็ยังไม่รู้ผลกันดี แต่ก็คาดว่า อียิปต์ น่าจะกำลังเสียเปรียบอยู่นิดหน่อยอะนะครับ เพราะเหตุผลดังนี้ 1.สาเหตุที่ฮิตไทป์ยอมเจรจาสงบศึกเพราะมีศึกความขัดแย้งภายใน ซึ่งถ้าหากเพียงพร้ำจริงๆผมคิดว่าคงไม่ใช่แค่เจรจาสงบศึก แต่คงเป็นเจรจาของยอมแพ้มากกว่า ดังนั้น ฮิตไทป์ จึงไม่น่าจะเป็นฝ่ายที่เพลียงพร่ำมากนั้นในการศึกครั้งนั้น 2.ถ้าหากว่า อียิปต์เป็นฝ่ายได้เปรียบจริง ผมเชื่อว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องรับสัญญาสงบศึก สู้รบต่อตอนที่ภายในมันแตกแยกกันเลยไม่ดีกว่ารือ? นี่ก็แสดงให้เห็นว่าอียิปต์เองก็เสียรี้พลพร้อมทั้งยังขยาด ฮิตไทป์อยู่ไม่ใช่น้อยและรู้ว่าคงจะเอาชนะไม่ได้โดยง่ายแน่ ถึงแม้ว่าฮิตไทป์จะมีศึกภายในอยู่ก็ตาม 3.จากสาเหตุทั้ง2ข้อที่กล่าวมา จะเห็นว่าฮิตไทป์ดูจะเป็นต่ออิยิปต์อยู่นิดหน่อยถึงแม้ว่าตนจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ก็ตาม จึงไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม ที่กษัตริย์อิตไทป์จะส่งลูกสาวของตนไปเชื่อมสัมพันธ์กับอียิปต์ นอกจากกษัติย์ฮิตไทป์ต้องการจะสงบข้อขัดแย้งระหว่างอิยิปต์และฮิตไทป์ให้เร็วที่สุดและดึงให้อียิปต์สนับสนุนข้างตน(ก็พ่อตาลูกเขยกันนี่) เพราะตอนนั้นเชื่อว่าสถานการณ์ในอาณาจักร ฮิตไทป์เองก็ยังไม่ค่อยน่าไว้วางใจนักสำหรับกษัตริย์ฮิตไทป์ จึงจำเป็นต้องหาพันธมิตรไว้ก่อน ถึงแม้จะเป็นชาติที่ไม่ค่อยถูกกันมาก่อนอย่างอิยิปต์ก็ตามทีเถอะ
สรุปแล้วผมคิดว่า ในสงครามครั้งนี้ ฮิตไทป์ น่าจะเป็นต่อ อิยิปต์ อยู่ บ้างครับ หากไม่มีศึกภายในจนต้องสงบศึกกันไปเสียก่อน อิยิปต์คงอาจจะฝ่ายแพ้ได้เลยทีเดียว | โดย: KEYS nuntoro@hotmail.com [20 มิ.ย. 53 22:24] ( IP A:222.123.39.140 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 46 มเหสีของฟาโรห์รามเสสที่2มีมเหสีที่มีสิริโฉมงดงามมีพระนามว่าเนเฟอติติแต่พระนางเนเฟอร์ตารีทรงเป็นมเหสีของฟาโรห์อเคนาเตน
| โดย: ไรอัน [28 ก.ค. 53 14:01] ( IP A:203.172.218.233 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 47 ความเห็น 28 คุณไรอัน จำสลับแล้วค่ะ เนเฟอร์ตารีมเหสีรามเสสที่ 2 ค่ะ
มาแปะต่อ
มายกมือถามก่อน รวมละเอียดหัวข้อนี้ลง blog ได้มั้ยคะ
รวมกระทู้ยกมือถามเรียบเรียงได้เป็นเดือนแล้ว กรี๊ด... | โดย: แมวน้ำ [12 ต.ค. 53 8:42] ( IP A:124.122.99.179 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 48 มเหสีของรามเสสคือเนเฟอร์ตารี ส่วนเนเฟอร์ติติเป็นของอเคนาเตนหรืออีกชื่อก็คือตุตันคามุน หน้ากากทองคำ บางคนว่าเป็นคนเดียวกัน บางคนว่าเป็นพ่อลูกกัน ข้อมูลนี้คงต้องรอให้ย้อนยุคไปหาคำตอบมานะค่ะ ถึงจะชัวร์ที่สุด ห้าๆ | โดย: Nefernile [20 ก.พ. 54 10:01] ( IP A:124.122.173.68 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 49 Akhenaten ไม่มีทางเป็นคนเดียวกันกับ Tutankhamun ครับ เพราะตอนนี้ล่าสุด DNA และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าเขาเป็นพ่อลูกกันครับคุณ Nefernile ^^ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [20 ก.พ. 54 22:13] ( IP A:125.27.0.69 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 51 เอ่อ แล้วสงครามที่คาเดชอ่ะค่ะ กษัตริย์นำทัพฮิตไทต์คือใครเหรอคะ ใช่คาอิล เมอร์ซิลิสที่ 2 หรือเปล่า | โดย: yimbjbbmigg [29 ต.ค. 54 20:21] ( IP A:110.49.234.221 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 52 สงครามของ Hittite กับอียิปต์มี 2 ครั้งใหญ่ๆนะครับ ครั้งแรกกับกษัตริย์ Muwatallis ครับ แต่ครั้งที่ 2 ที่มีการลงนามสัญญาสงบศึกกันนั้นเป็นการสู้กับ Hattusillis III
ส่วนพระนาม "คาอิล เมอร์ซิลิส" นั้นมาจากการ์ตูน "สวรรค์ลำน้ำแดง" หรือที่เปลี่ยนชื่อเป็น "ตะวันรักที่ปลายฟ้า" มากกว่านะครับ ไม่ได้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ Hittite ครับ
การ์ตูนเรื่องนี้แม้ว่าจะมีเค้าโครงจากเรื่องจริงบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ ถ้าจะนำข้อมูลในการ์ตูนไปใช้ในเชิงวิชาการ ก็ระวังนิดนึงนะครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [29 ต.ค. 54 20:36] ( IP A:124.120.202.217 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 53 อาณาจักรอียิปต์เจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคของฟาโรห์พระองค์ใดคะ | โดย: มึนจริงๆ [29 ต.ค. 54 21:14] ( IP A:110.49.234.221 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 54 ตอบยากครับ อยากตอบรวมๆเป็นช่วง "ราชอาณาจักรใหม่" มากกว่าครับ เพราะความรุ่งเรืองในแต่ละประเด็นก็เกิดขึ้นในยุคสมัยการปกครองที่ต่างกันออกไป การขยายดินแดนที่กว้างไกลที่สุดก็ต้องเป็นสมัยฟาโรห์ Tuthmosis III หรือยุครุ่งเรืองที่สุดของศิลปะก็ต้องเป็นสมัยฟาโรห์ Sety I แต่ทั้งหมดทั้งมวลล้วนอยู่ในราชอาณาจักรใหม่ทั้งสิ้น
แต่ถ้าเอาแบบง่ายๆ ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดก็น่าจะเป็นยุคการปกครองของฟาโรห์ Ramses II ที่รบกับ Hittite ที่ Qadesh นี่แหละครับ ^^ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [29 ต.ค. 54 22:12] ( IP A:124.120.202.217 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 55 ขอเสริมนิดนึงครับ ถ้าเกิดอยากจะรู้ว่า ramses2 ท่านรบแพ้หรือ
ชนะรึเปล่า มีทางเดียวก้คือ"ย้อนเวลา และกลับไปถามท่านตรงๆ
จะดีกว่า" แต่ทั้ง 2ฝ่ายนั้นเรียกว่าสูสีในการรบและคุมเชิงจิงๆครับ
สรุปก็คือ "คำตอบที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใครชนะ
ที่ Qadesh หากพบหลักฐานที่ดีและสนับสนุนได้ดีกว่านี้แล้วค่อยว่ากันอีกทีก็ได้ครับ^^ | โดย: tumtum [15 ม.ค. 55 12:40] ( IP A:61.90.86.210 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 56 จริงๆอยากให้ลองไปอ่านบท "ใครกำชัยในสงครามคาเดช" จากหนังสือ "๑๓ สุดยอดประเด็นลับโลกไอยคุปต์" ด้วยจะสมบูรณ์กว่านะครับ เพราะมีแนวคิดอื่นบอกไว้ด้วยว่าจริงๆแล้วใคร "มีแนวโน้ม" ว่าจะชนะมากกว่ากันกันแน่?
ไม่เฉลยดีกว่านะครับ หุหุ หนังสือใกล้วางแผงแล้ว ลองไปซื้ออ่านกันดูเองนะครับ ^^  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [15 ม.ค. 55 15:24] ( IP A:125.27.27.111 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 57 เอ่อ ยังงง ค่ะ ถ้าเนเฟอร์ติตี นั้นเป็นพระชายาของรามเสส 2 งั้น รามเสส3 ละ ที่ Muwatallis มอบ ธิดา ให้ ใช่ป่ะ???อยารู้จัง อ่านการ์ตูนจนเชื่อ ไอเพื่อนบ้ามันบอกว่า ตะวันรักที่ปลายฟ้าอ่ะ มาจากความจริง มั่วจัง!!! งง ไปหมด | โดย: looknumnaja001@hotmail.com [18 ส.ค. 56 13:07] ( IP A:124.122.241.115 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 58 อยากรู้อีกเรื่องน่ะค่ะว่า รามเสส องค์ไหน ที่ มี พระสนมเยอะ จนมี พระธิดา 90 กว่า และพระโอรส 50 กว่าค่ะ
| โดย: looknumnaja001@hotmail.com [18 ส.ค. 56 13:17] ( IP A:124.122.241.115 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 59 ตอบคุณ looknumnaja001 รามเสสที่ 2 ค่ะ | โดย: ezyshop70@gmail.com [28 พ.ค. 61 22:40] ( IP A:1.47.41.239 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 60 Sisi Anna Signeul membuka kampanye mereka dengan kekalahan 4-1 dari Spanyol, meskipun memimpin dalam pembuka turnamen mereka. yalla tv , jadwal world cup 2022 qatar , jadwal bola 2022 , jadwal yalla tv november , jadwal yalla tv desember , nobar tv , linktr.ee/nobartv_online , juventusindo.weebly.com , nobartv , plaza.rakuten.co.jp 202207110000 , plaza.rakuten.co.jp 202207110001 , plaza.rakuten.co.jp 202207110002 , plaza.rakuten.co.jp 202207110003 , mypaper.pchome.com.tw 1381177979 , magnolia-tv.com 26638 , magnolia-tv.com 26639 , magnolia-tv.com 26640 , magnolia-tv.com 26643 , magnolia-tv.com 26642 , magnolia-tv.com 26641 , magnolia-tv.com 26644 , magnolia-tv.com 26646 , palmserver.cz 175481 , palmserver.cz 175480 , palmserver.cz 175479 , palmserver.cz 175478 , palmserver.cz 175476 , palmserver.cz 175475 , palmserver.cz 175474 , palmserver.cz 175482 , connect.nl.edu , newreleasetoday.com 69 , newreleasetoday.com 6535 , newreleasetoday.com 10264 , newreleasetoday.com 9154 , newreleasetoday.com 4257 , newreleasetoday.com 19334 , newreleasetoday.com 14335 , newreleasetoday.com 21927 , newreleasetoday.com 26156 , newreleasetoday.com 16904 , newreleasetoday.com 15259 Finlandia tidak dapat mengharapkan awal yang lebih baik, dengan Linda Sallstrom membuka skor dalam waktu 60 detik, tetapi Spanyol membalikkan keadaan sebelum turun minum berkat gol-gol dari Irene Paredes dan Aitana Bonmati . | โดย: Linda Sallstrom [11 ก.ค. 65 23:32] ( IP A:172.17.0.1 X: ) |  |
|