อียิปต์โบราณมีการใช้คำราชาศัพท์หรือเปล่านะ?
|
ความคิดเห็นที่ 1 อืมมหากมองโดยรวมก็เหมือนกับของenglishล่ะคับ | โดย: imsety [28 ก.ย. 52 23:49] ( IP A:58.9.32.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 แต่ก็ไม่แน่เพราะภาษาเขียนต้นแบบที่ดัดแปลงมาจากอักษรคูนิฟอร์มของอาณาจักรเมโสโปเตเมียซึ่งเจริญมากในสมัยนั้นอาจมีคำพิเศษใช้กันอย่างที่ Sundown คิดและอย่างที่ Imseti ว่าคล้าย Englishที่มีคำว่า His Majesty / Her Majesty ส่วนราชาศัพท์แท้อาจเริ่มจากทางอารยธรรมเอเชียใต้ที่มีมหากาพย์ Ramayana
แต่โดยปกติ.....หนังสือที่มีราชาศัพท์ยากๆก็อ่านไม่รู้เรื่องหรอกเพราะถ้าดูจากหนังฝรั่งที่สร้างเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ก็ใช้ศัพท์สุภาพธรรมดา โดยเฉพาะกษัตริย์มักนิยมตรัสศัพท์สามัญในเวลาส่วนพระองค์และกับคนสนิท

| โดย: jay [29 ก.ย. 52 10:54] ( IP A:58.10.18.30 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ความเชื่อเรื่องราชาศัพท์ส่วนใหญ่มาจากทางเอเชีย ซึ่งกษัตริย์เปรียบเหมือนสมมุติเทพ เดิมทีไทยยังไม่ใช้ราชาศัพท์เลยแบบพ่อขุนรามยัง กู มึง อยู่แล้วค่อยรับจากเขมร ส่วนใหญ่แล้วเวลาพูดคุยกับฟาโรห์ ก็เห็จะเป็นคำเยินยอสวยหรู เปรียบกับเทพ และห้ามพูดนามของฟาโรห์โดยตรง ก็จะใช้ประมาณ His Majesty / Her Majestyอย่างที่บอกไว้ ข้างบน
| โดย: darkobiwan [29 ก.ย. 52 15:38] ( IP A:58.8.142.162 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 น่าจะมีคำพิเศษไว้เรียกอ่าค่ะ ขนาดตำแหน่งมเหสี ก็ยังมีแบ่งเลย เหอๆ งี้ต้องให้ผู้เชียวชาญด้านเฮียโรกลิฟฟิก อียิปต์ หรือไม่ก็คนโบราณของแท้มาตอบเองดีกว่าค่ะ(อันหลังนิน่ากลัว พบเจออาจจะ สยองได้ อิอิ) เพราะว่าเฮียโรกลิฟจะว่าไป มันก็ยังไม่ต้อง 100 % เลยค่ะ จริงหรือป่าวค่ะ
| โดย: som [29 ก.ย. 52 17:06] ( IP A:125.27.177.195 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อกี๊พิมพ์ไปแล้ว... เนตเน่า โพสต์ไม่ติด พิมพ์ไปเยอะด้วย เซ็งครับ...
เอาเป็นว่า ครั้งนี้สรุปสั้นๆละกันครับ
ก่อนอื่น ผมต้องบอกก่อนว่าผมไม่ได้เก่งภาษาไทยมากเท่าไร ยิ่งราชาศัพท์ ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก แต่...
ผมเข้าใจว่า "ราชาศัพท์" คือ "คำศัพท์" ที่เปลี่ยนรูปไปจากการพูดกันธรรมดา เวลาใช้กับเชื้อพระวงศ์ เช่น "เสวย" แทน "กิน" "บรรทม" แทน "นอน" เป็นต้น
แต่ Hieroglyphs ไม่มีการใช้คำดังว่าแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าจะมีการใช้คำว่า Hm.f ที่แปลว่า His Majesty แต่ผมคิดว่าคำๆนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ครับ แต่เป็นการ "เรียก" เฉยๆ เช่นเราใช้คำว่า "พระองค์ท่าน" อะไรแบบนี้ (หรือมันคือราชาศัพท์??)
แต่ถ้ามองกันที่ Hieroglyphs ในด้านการเปลี่ยน noun verb pronoun adj. adv. แล้วเราพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนคำที่ว่าเมื่อใช้กับกษัตริย์แต่อย่างใด
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะพูดคำว่า "สวย" กับเชื้อพระวงศ์ เราคงไม่พูดว่า "สวย หล่อ" ใช่ไหมครับ์? แต่คงพูดว่า "พระสิริโฉมงดงาม" อะไรก็ว่าไป แต่ว่าใน Hieroglyphs นั้นล้วนแต่ใช้ nfr ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ หรือสามัญชน นั่นแสดงว่า Hieroglypyhs ไม่มีราชาศัพท์ นั่นเองครับ
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ Hieroglyphs ถูกแปลโดย "English" ซึ่งไม่มีราชาศัพท์ นั่นอาจจะเป็น "จุดอ่อน" จุดหนึ่ง ที่ทำให้ดูเหมือนว่า Hieroglyphs ไม่มีราชาศัพท์ตามไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม จากที่ผมลองแปลมาทั้งหมด ไม่พบการใช้ "คำพิเศษ" กับเชื้อพระวงศ์แต่อย่างใดครับ นั่นคือผมยังคิดว่าไม่มีการใช้ราชาศัพท์ครับ แต่ถ้าใครมีอะไรจะเสริมก็ยินดีครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [29 ก.ย. 52 18:48] ( IP A:114.128.61.248 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ตามที่คุณเจ้าบ้านและคุณ Jay ว่ามาก็ถูกต้องครับที่ว่ามีการใช้คำราชาศัพท์กับพวกชื่อตำแหน่งหรือคำเรียกต่างๆ เช่น Hm.f ที่แปลว่า His Majesty ที่คุณโอ๊ตยกมา จริงๆแล้วคำพวกนี้ก็ถือเป็นคำราชาศัพท์ครับ
แต่...ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ย่อมต้องมีชื่อเฉพาะสำหรับเรียกบุคคลในระดับต่างๆอยู่แล้ว กระทู้นี้จึงขอเน้นไปที่คำราชาศัพท์ที่ไม่ใช่ชื่อตำแหน่งหรือคำแสดงฐานะครับ ซึ่งคำตอบเบื้องต้นก็คือ น่าจะไม่มี
| โดย: Sundown [29 ก.ย. 52 22:27] ( IP A:58.9.157.245 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ดีมากที่ไม่มีครับ
เพราะซีชอบอียิปต์มากกว่าไทยชะอีก รำคาญตอนอ่าน ราชาศัพท์อยู่ได้
ไม่เข้าใจ
ปล.หนังสือไทยบางเล่มที่มีแต่คำราชาศัพท์ แทบจะเอาไปเผาทิ้ง
| โดย: phoenixsea [4 ต.ค. 52 19:38] ( IP A:58.64.73.235 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 โดยส่วนตัวนะครับ ผมว่าถ้าเป็นหนังสือวิชาการ หรือตำรา หรือบทความที่ "เป็นทางการ" การใช้คำราชาศัพท์ ผมถือว่าสำคัญ และจำเป็นมากๆครับ
แต่ นิยาย ที่ผมเคยอ่านมาบางเรื่อง ก็เข้าใจว่าเป็นบทการพูดคุยกับเชื้อพระวงศ์ แต่บางครั้ง การใช้คำราชาศัพท์มากเกินจำเป็น ถึงแม้จะมีคำแปลแถมให้ด้านล่าง ก็ทำให้การอ่านหมดอรรถรสไปได้ (สำหรับผู้อ่านบางท่าน รวมทั้งผมด้วย) เพราะผมคิดว่าบางครั้ง มันไม่ได้จำเป็นถึงขนาดว่า คำว่า เอว โต๊ะอาหาร หรือคำศัพท์ที่มันไม่ได้เจอบ่อย และจำยากๆ จะต้องใช้ราชาศัพท์เลยครับ ใช้ภาษาธรรมดาๆไปเลย เข้าใจง่ายกว่าครับ
แต่ถ้ามองอีกมุม ก็เหมือนว่า ถ้าเราใช้ราชาศัพท์ในนิยายทุกคำ การเรียนรู้ด้านราชาศัพท์ของผู้อ่านก็จะเพิ่มขึ้น (บ้าง) แต่ผมมองว่า "นิยาย" คือ "ความบันเทิง" ครับ ถ้าอ่านนิยายแล้วต้องมาเครียดกับราชาศัพท์ ก็ทำให้นิยายหมดความเป็นนิยายไป... ใครจะคิดยังไงก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคนนะครับ
แต่ถ้ามันเป็นนโยบายของ สนพ. ที่จะรับเรื่องไปตีพิมพ์ว่า ถ้าไม่ใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ก็จะไม่พิมพ์ให้ (ไม่ทราบว่ามี สนพ. แบบนี้หรือเปล่า เพราะผมไม่เคยแต่งนิยาย) อันนี้ก็ No Comment ครับ  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [4 ต.ค. 52 20:00] ( IP A:110.49.97.11 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ภ้าเจอหนังสือ หรือนิยายเล่มนั้น
สำหรับซีคงวางเลยแหละ | โดย: phoenixsea [5 ต.ค. 52 20:44] ( IP A:58.64.72.225 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 คำถามของคุณโอ๊ตว่าสำนักพิมพ์เคร่งเรื่องนี้มั้ย? ผมมองว่าอยู่ที่กลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของนิยายเรื่องนั้นๆนั่นแหละครับ แต่เท่าที่เห็นโดยทั่วไปก็มักใช้พอเป็นพิธี ไม่ได้ใช้ทุกคำทุกประโยค | โดย: Sundown [5 ต.ค. 52 22:20] ( IP A:58.9.166.191 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 พี่ก็มีคำราชาศัพท์ที่ไม่ค่อยเข้าใจ/รู้ความหมายแยะมากๆ แต่อย่างที่รู้ๆกันใช้นิดๆหน่อยๆแบบคำที่ใช้กันทั่วไปก็พอ get บ้าง แต่ถ้ามากไปแปลไม่ออก...ประมาณว่ามันคือส่วนไหนของร่างกาย(วะ)....ทำให้หมดอรรถรสไปเลย
ครั้นจะไม่ใช้ก็ดูบ้านๆเกินไป...เอาเป็นว่าใช้พอประมาณไม่ต้องถึงกับปีนบันไดอ่านเป็นดีที่สุด | โดย: jay [6 ต.ค. 52 15:00] ( IP A:58.10.18.47 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 เท่าที่อ่าน ดูถ้า ซีจะไม่ชอบทุกสุดเลยนะเนี่ย | โดย: phoenixsea [7 ต.ค. 52 19:32] ( IP A:58.64.75.81 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 แต่ว่ามันจะยาวนะคับ อ่านด้วยนะคับสงสารคนพิมพ์*0* เป็นเรื่องน่าเสียดายที่สุสานอียิปต์ส่วนใหญ่ ถูกทำลายโดยนักขุดค้น เพียงเพื่อหวังขโมยสมบัติมีค่า เส้นทางลงสู่ห้องสุสานใต้พื้นดินของตระกูลขุนนางและผู้มั่งคั่ง มักมีความลึกยี่สิบเมตรขึ้นไป มีอยู่ไม่น้อยที่ช่องทางลงสุสานมีความลึกถึงสี่สิบ เมตรหรือมากกว่านั้น การขุดที่ถมทางลงสุสานมีเพียงวิธีเดียว คือต้องใช้คนงานตักดินใส่ตะกร้า ชักรอกขึ้นมา แม้แต่หลุมตื้นๆลึกแปดเมตร ความกว้างของปากหลุมสองตารางเมตร จะต้องใช้คนงานอย่างน้อยหกหรือเจ็ดคน ซึ่งสองคนจะทำ หน้าที่ตักดินก้นหลุมใส่ตะกร้า โดยมีคนชักรอกข้างบนสองคนอยู่ใกล้เคียงกัน ก็นำดินจากหลุมที่ขุดไปใส่หลุมที่ขุดแล้ว สำหรับหลุมที่มีความลึกแปด เมตร ต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์ จึงจะขุดไปถึงทางเข้าสุสานได้ กว่าจะรื้อปากทางเข้าสุสานได้ก็ต้องสองสามวันเป็นอย่างน้อย ช่องทางลงสุสานในบางครั้ง ไม่ได้ดิ่งลงสู่สุสานเพียงแห่งเดียว ในสมัยอาณาจักรเก่า ช่องที่เป็นทางลงสู่สุสานแบบมัสตาบา ผ่าน สุสานแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่ง ซึ่งอยู่ลึกลงไปอีกในแนวเดียวกัน ปกติทางลงสุสานจะแคบลงก่อนจะเข้าถึงปลายทาง แต่ก็ไม่เสมอไป อย่างสุสาน แห่งหนึ่งในสมัยราชวงศ์ที่หก พบที่เมืองซัคคาร่านั้น ช่องทางเข้าด้านบนมีพื้นที่เพียง1.30 ตารางเมตร เมื่อขุดไปจนถึงปากทางเข้า บริเวณนั้นจะขยายขึ้นถึง 2 ตารางเมตร ทำให้งานขุดและรื้อถอน ต้องเสียเวลาไปอีกหลาย การที่สุสานต่างๆของชาวอียิปต์ ถูกขโมยสมบัติมาแต่โบราณกาล เพราะเป็นจุดอ่อนของชาวอียิปต์ในสมัยนั้น ที่นำสิ่งของเครื่องใช้มีค่าไปเก็บไว้ ในสุสานของผู้ตาย โดยหวังส่าผู้ตายจะนำไปใช้ในภพหน้า เพราะความมีค่าของสิ่งของในสุสานนั่นเอง ที่ขโมยขุดค้นกันทุกยุคทุกสมัย โดยไม่กลัว ต่อคำสาปแช่งหรือกฎหมายบ้านเมือง ในการสร้างสุสาน ผู้สร้างรู้ถึงปัญหาอันนี้ดี จึงทำทางสู่ห้องเก็บศพและทรัพย์สมบัติให้แข็งแรงสลับซับซ้อน มากที่สุด สำหรับผู้ต้องการขโมยสมบัติจากสุสานโบราณ ก็พยายามเสาะแสวงหาแนวทางและแหล่งที่ตั้งของสุสาน ในสมัยเริ่มราชวงศ์ การสร้างสุสานเป็นไป อย่างง่ายๆ ไม่มีการเตรียมป้องกันการขโมยสมบัติแต่อย่างใด ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า ชาวอียิปต์สมัยนั้นต่างเกรงกลัวคำสาปแช่งของเจ้าของสุสาน ในสมัยต่อมา ความยากจนทำให้บุคคลประเภทนี้ลืมความเกรงกลัวในอิทธิปาฏิหาริย์ จึงขุดค้นกันอย่างไม่เกรงกลัวสิ่งใด อีกอย่างชาวอียิปต์เชื่อว่าผี หรือคนที่ตายไปแล้วไม่เป็นโทษแก่ผู้ใด ส่วนในการขุดค้นทรัพย์สมบัตินั้น พวกเขาจะเลือกสุสานที่ห่างไกล จากสายตาผู้คน และปฏิบัติงานได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่สุสานของกษัตริย์และขุนนางชั้นสูง มักสร้างสุสานที่ยากแก่การขุดค้น อย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ๆกว่าจะเข้าถึงตัวสุสานได้ ดังนั้นจึงพอมีเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน ขณะที่วันเวลาของประวัติศาสตร์อียิปต์เปลี่ยนแปลงไป การขโมยของมีค่าก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะของพวกคนจนต่อไปอีก มีบันทึกที่ กล่าวถึงขโมยสมบัติในสุสานว่า "การขโมยสิ่งของมีค่าในสุสาน มิได้กระทำเฉพาะหมู่คนจนเท่านั้น แต่คนร่ำรวยหรือเศรษฐี ก็ชอบที่จะขุดค้นหาทรัพย์ สมบัติในสุสานของผู้อื่นด้วย..." ในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบ มีเอกสารมากมายที่กล่าวถึง การขโมยของมีค่าต่างๆจากสุสานโบราณ เพราะในช่วงนั้นอียิปต์อยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง เกิดภาวะเงินเฟ้อ การขุดค้นหาทรัพย์สมบัติจึงมีมากกว่าก่อนๆที่ผ่านมา หลักฐานที่แสดงถึงความอดอยากของราษฎร และประเทศต้องตกอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ เห็นได้จากเอกสารทางศาลชิ้นหนึ่ง ที่พนักงานถาม หญิงสาวที่ต้องคดีว่า "เธอนำเงินแท่งจำนวนมากมายนั้นมาจากไหน?" หญิงสาวตอบว่า "ได้มาจากการแลกข้าวบาร์เลย์ ที่มีไว้เพื่อใช้เป็นอาหาร" หลัก ฐานนี้แสดงว่าในช่วงหนึ่งของสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบ เกิดความแห้งแล้งและอดอยาก อาหารแต่ละมื้อมีค่าเท่ากับเงิน และทองคำแท่งทีเดียว ดูเหมือนว่าหลักฐานเท่าที่พบมา การวางแบบก่อสร้างสุสานให้มั่นคง เพื่อป้องกันขโมยขุดค้นนั้น เป็นแบบมัสตาบาในราชวงศ์ที่หนึ่ง ที่มี การทำทางลงสุสานด้านตะวันออกก่อน แต่เปลี่ยนไปอยู่ทิศเหนือในเวลาต่อมา การทำเช่นนี้เป็นการสร้างความสับสนให้กับขโมย เพราะแม้จะรู้ตำแหน่ง ที่ตั้งว่าอยู่ตรงไหน แต่ก็ยากในการค้นหาช่องทางลง เพราะเปลี่ยนไปจากเดิม ในสมัยนี้บางครั้งมีการทำทางลวง เพื่อหลอกนักขุดค้น จนทำให้เลิกรา ไปก่อนที่จะพบช่องทางลงสุสานจริง การสร้างอิฐปิดกั้นหนา ๆ ป้องกันช่องทางนั้น นิยมมากในสมัยราชวงศ์ที่สอง ส่วนการทำกำแพงหนาปิดกั้นช่องทาง เริ่มในสมัยราชวงศ์ ที่สาม ตัวอย่างที่ดีของการป้องกันสุสานแบบนี้ เห็นได้จากสุสานแบบมัสตาบา สมัยราชวงศ์ที่สาม ขุดพบในเมืองเบท คัลลัฟ (Bait Khallaf) หินก้อน ใหญ่ ๆ ที่ใช้อุดช่องทางเข้าเป็นกำแพงกั้นอย่างแข็งแรงนี้ ถูกหย่อนไปจากข้างบนทีละก้อน แล้ววางเรียงกันอย่างแน่นหนา เพื่อให้แน่ใจที่จะป้องกัน ขโมย ช่องทางลงจะถูกทับด้วยหินขนาดต่าง ๆ กัน ยากแก่การขุดลงไปได้ บางทีตรงช่องทางที่ทำแบบนี้ สร้างความยากลำบากในการขุดเจาะ แก่ พวกขโมยยิ่งกว่าตัวกำแพงหิน (Portcullises)เองเสียอีก การเจาะทางลงสุสานเป็นแนวดิ่ง ไปเชื่อมกับตัวบันไดในแนวเอียง โดยมีกำแพงหินกั้นไว้ตรงจุดเชื่อมต่อแบบนี้ นิยมใช้ตลอดสมัย ราชวงศ์ที่สาม รวมทั้งปิรามิดแบบขั้น (Step Pyramid) อีกด้วย พอมาถึงสมัยราชวงศ์ที่สี่ การทำกำแพงป้องกันเลื่อนมาอยู่ตำแหน่งปากทางเข้า เพียงจุดเดียวเท่านั้น แต่ช่องทางลงได้ใช้กรวดหินขนาดใหญ่ถมไว้อย่างแน่นหนา ทำให้การขุดเจาะลำบากกว่าการทำลายกำแพงหินที่ตรงทางเข้าเสียอีก หากทางลงลึกมากเท่าใด ความยากในการขุดค้นก็ยากเท่านั้น เพราะต้องใช้เวลานาน ดังนั้นพวกขโมยจึงเลือกสุสานที่อยู่ตื้น ๆ ส่วนผู้มีอำนาจในการ ขุดอย่างถูกกฎหมายนั้น ก็มีการปฏิบัติเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่พวกนี้จะเลือกที่เห็นว่ามีค่าแก่การศึกษาเท่านั้น พวกที่ขุดอย่างเปิดเผย อาจถูกหลอกลวง โดยช่องทางลงไปสู่ห้องเก็บของที่มีค่าไม่มากนัก เพราะการสร้างสุสานกษัตริย์ และขุนนางบางรายสลับซับซ้อน ยากแก่การขุดพบห้องเก็บสมบัติได้ สำหรับนักขโมยสมบัติโบราณนั้น มักเลือกสุสานเศรษฐีและขุนนาง นับแต่เริ่มสร้างสุสานกันเลย ส่วนทางผู้สร้างเองก็รู้ ดังนั้นในบริเวณที่ มีการสร้างสุสานติดต่อกันมาก ๆ ผู้สร้างจะทำช่องทางลวงไปสู่สุสานเก่าที่ไม่มีค่า ดังได้กล่าวมาแล้วว่าชาวอียิปต์ ถือว่าผู้ตายไม่มีอันตรายต่อใคร ดังนั้นทุกครั้งที่มีการขุดสุสานที่ต้องการ พวกขโมยจะแก้ห่อศพเพื่อเอา สิ่งของมีค่า เช่นเครื่องเพชรพลอย กำไลหรือแหวนทองคำจากศพทุกครั้งเสมอ สุสานที่ถูกค้นมาก่อน ศพมัมมี่จะอยู่ในสภาพกระจัดกระจาย เพราะถูก รื้อของมีค่าในห่อมัมมี่ไป บางครั้งจะถูกนำขึ้นสู่พื้นดินผ่านช่องทางลงสู่ตัวสุสาน เพื่อค้นหาเครื่องประดับที่มีอยู่ในตัวได้สะดวก กว่าการใช้แสง ตะเกียงในสุสาน อย่างซากมัมมี่เจ้าชายเมเรรูก้า (Mereruka) ในสุสานที่เมืองซัคคาร่า พบว่ากระดูกนิ้วและแขนถูกมีดสับออกจากกัน เพื่อถอดแหวน และกำไลมือ บางกรณีศพมัมมี่จะถูกเผาไหม้เกรียม หลังจากที่พวกขโมยเอาของมีค่าไปแล้ว เหตุผลเพื่อการทำลายให้สิ้นซาก ไม่อาจติดตามไปทำ อันตรายได้ สำหรับเรื่องนี้มีผู้สันนิษฐานว่า เผาเพื่อต้องการแสงสว่างมากกว่า หลังจากนักขุดค้นผ่านช่องทางลงสู่สุสาน พวกเขาต้องพบอุปสรรคอีกอย่างคือ หีบศพที่ใช้เก็บมัมมี่ แต่เดิมจะทำด้วยไม้ทั้งสิ้น จึงไม่ ยากที่นักขุดค้นจะทำลาย หรือเปิดได้ แต่สมัยราชวงศ์ที่สาม นิยมใช้หินเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ กว่าจะนำมัมมี่ออกมาได้ ต้องใช้เวลาไม่น้อย ในการ สร้างหีบศพที่ทำด้วยหินแกรนิต หรือควอทซ์ ฝาจะมีน้ำหนักมากจนไม่อาจเปิดออกมาได้ง่าย วิธีที่นิยมคืองัดแผ่นหินให้เลื่อนออก พอมีช่องล้วงเข้าไป ปะถึงตัวมัมมี่ก็พอ แม้จะนำมัมมี่ออกมาไม่ได้ก็ตาม แต่จะถึงออกมาเป็นส่วน ๆ ซึ่งเท่ากับทำลายมัมมี่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย บางครั้งใช้ไม้งัดขึ้นมา แล้ว เอาหินงัดรับเอาไว้ จากสุสานแบบมัสตาบาหมายเลข 17 ที่พบในเมืองเมย์ดุม ปรากฏว่านักขุดค้นขโมยสมบัติใช้ท่อนไม้กลม เป็นตัวรองในการเลื่อนฝาหิน หีบศพให้เลื่อนเปิด ในบางกรณีผู้สร้างจะป้องกันโดยฝังไว้ใต้พื้นดินในสุสาน แล้วทำหีบลวงไว้ข้างบน การสร้างในลักษณะนี้ พบจากปิรามิดของ ฟาโรห์กาเฟร (Khafre) ที่เมืองกีซ่า บางครั้งมีความพลิกแพลงไปกว่านั้น อย่างสุสานแห่งหนึ่งในเมืองเดนดาร่า (Dendera) หีบศพมัมมี่ฝังอยู่ในผนังหินที่ตกแต่งจนไม่มี ร่องรอย อย่างไรก็ตามนักโบราณคดีพบว่านักขุดสมัยโน้นยังพบอยู่ดี อาจเพราะรู้ถึงแปลนล่วงหน้า การป้องกันขโมยที่ขุดค้นสุสานในสมัยอาณาจักร เก่าไม่ค่อยจะได้ผล แม้จะมีความพยายามปิดช่องทางลงสู่สุสานด้วยกำแพงหินก็ตาม แต่สำหรับสุสานนิ-อังค์-เปปิ (Ny-ankh-pepy) ที่เมืองซัคคาร่า ออกจะแปลกกว่านั้นสักหน่อย คือ ผู้สร้างใช้หินขนาดใหญ่เท่าช่องทางลงสุสาน หย่อนปิดทางเข้าไว้ หินก้อนใหญ่นี้ทำหน้าที่ปิดช่องทางลงสุสาน หาก เอาออกจะต้องใช้เวลานานทีเดียว การปิดช่องทางเข้าสุสานในลักษณะเดียวกันนี้ พบที่สุสานแบบปิรามิดของฟาโรห์โซเซอร์ (Djoser) บางทีใช้เป็น (Zozer) อีกด้วย สำหรับกรณีของสุสานนิ-อังค์-เปปินั้น เมื่อนักโบราณคดีขุดเพื่อการศึกษา ก็พบว่าหินแกรนิตใหญ่ก้อนนั้น ยังคงปิดช่องทางลงอุโมงค์อยู่ตรงจุดเดิม ตั้งแต่สร้างเสร็จ แต่ภายในสุสานปรากฏว่าถูกขโมยสมบัติมีค่าไปจนหมด พวกขโมยใช้ช่องทางที่ติดต่อกับสุสานแห่งอื่นทางด้านเหนือ เป็นช่องทาง เจาะผ่านอุโมงค์เข้ามาจนได้ สำหรับสุสานของกษัตริย์ต่าง ๆ นั้น มีการป้องกันการขุดจากพวกขโมยเป็นอย่างดี การเตรียมปิดสุสานในปิรามิด ทั้งสมัยอาณาจักรเก่า และกลางนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่งการปิดช่องทางสุสานในสมัยราชวงศ์ที่สี่ถึงหก ใช้แท่งหินสี่เหลี่ยมก้อนใหญ่ทั้งแท่งปิดทางเข้าสู่สุสาน ยากแก่ การขุดหรือดึงออกมา เพราะแท่งหินสี่เหลี่ยมปิดทับช่องทางสนิท ซึ่งเป็นช่องที่เจาะออกมาจากชั้นหินใต้พื้นทรายอีกที การปิดช่องก็มีเทคโนโลยีอย่าง สูง การให้แท่งหินที่อยู่เบื้องล่างตกลึกลงไปในแผ่นดินที่สกัดยากต่อการรื้อหรือดึงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เป็นที่น่าสนใจว่าการตกแต่งแท่งหินให้พอเหมาะ กับร่องหินเบื้องล่างนั้น ทำได้พอดีแทบไม่มีร่องรอย ในสมัยราชวงศ์ที่สี่ปรากฏว่ามีสุสานของกษัตริย์สองแห่งที่ใช้ หินไลม์สโตน (Limestone) ซึ่ง เป็นหินเนื้ออ่อนปิดช่องทางเข้าสุสาน แต่มาถึงสมัยการสร้างปิรามิดของฟาโรห์คูฟูในเมืองกีซ่านั้น ปรากฏว่ามีการใช้แท่งหินแกรนิต สำหรับปิดช่องทางเข้าสุสานกันเป็นครั้งแรก สำหรับทางเข้าสุสานปิรามิดโค้ง (Bent Pyramid) ที่เมืองดาชูร์ (Dashur) นี้ กลับวางแท่งหินในลักษณะที่ยากแก่การเจาะทำลายยิ่งขึ้นไปอีก คือวาง เป็นรูปเฉียง ให้มุมด้านหนึ่งเอียงสู่เบื้องล่าง (Diagonal) เพื่อปิดทางเข้าสุสานไว้ ในปิรามิดก็เปลี่ยนไปใช้แท่งหินแกรนิตปิดเป็นกลุ่มสองหรือสาม แท่ง แล้วแต่ความต้องการของคนสร้าง แม้จะป้องกันแข็งแรงขนาดนั้น แต่พวกนักขุดสมบัติก็ยังเข้าถึงตัวสุสานได้อยู่ดี โดยการเจาะอ้อมแท่งหินเข้า ไปด้านข้าง เพราะผนังหินด้านข้างเป็นหินไลม์สโตน มีความแกร่งน้อย จุดอ่อนในการป้องกันขโมยที่สร้างขึ้นสมัยอาณาจักรเก่า คือช่องทางเข้าสุสานในปิรามิดที่มักจะอยู่กลางผนังปิรามิด ด้านที่หันไปทางเหนือ เสมอ ซึ่งแม้ว่าผู้สร้างจะสร้างช่องให้แตกต่างกันไป ในระหว่างความสูงจากพื้นฐานขึ้นไปตรงจุดใดจุดหนึ่ง ในระยะความสูงสิบห้าเมตรก็ตาม พวก ขโมยก็หาช่องทางได้อยู่ดี ส่วนที่ต้องทำช่องทางด้านเหนือ เพราะความเชื่อทางศาสนาที่เชื่อว่า ช่องทางแห่งความสุขสมบูรณ์ คือทิศทางที่ตรงไปทาง เหนือ ผู้สร้างจึงยืนกรานที่จะทำตามนั้น แม้จะเสี่ยงต่อการถูกขโมยก็ตาม อีกอย่างชาวอียิปต์เชื่อว่า ดาวเหนือเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ ดังนั้น ฟาโรห์องค์ใดที่สิ้นพระชนม์ ก็จะเดินทางไปสู่ดวงดาวนั้น หากสร้างช่องทางเข้าสู่สุสานหันไปทางทิศนั้น และยังถือว่าเป็นดวง ดาวอมตะที่ทำลายให้สูญสิ้นไม่ได้ การเปิดช่องทางสู่ดาวเหนือ จึงเป็นการรักษามัมมี่ของฟาโรห์ให้เป็นอมตะ การนับถือดาวเหนือเป็นดาวอมตะและ ผู้ทรงพลังตลอดกาล จะพบได้ในคัมภีร์โบราณต่าง ๆ มากมาย ในสมัยกลางของอาณาจักรอียิปต์ ความยึดมั่นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบ ฟาโรห์เซซอสตริสที่สอง (Sesostris II) เป็น คนแรกที่เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การสร้างช่องทางเข้าสุสานจากทิศเหนือเพียงด้านเดียว ปิรามิดที่สร้างด้วยอิฐของพระองค์ที่เมืองอิลลาฮัม (Illahum ช่องทางเข้าสุสานจะเป็นอุโมงค์ต่อจากช่องทางเข้าในแนวดิ่งที่อยู่ตรงฐานปิรามิด แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงช่องทางเข้าสุสาน ยังไม่ ปลอดภัยพอ เพราะจากการขุดเพื่อการศึกษาของเพ็ตตรี ตลอดช่องทางเข้าสุสาน ไม่ปรากฏว่ามีแท่งหินที่ใช้ในการอุดช่องทางแม้แต่แท่งเดียว ภายในสุสานของฟาโรห์เซซอสตริสที่สองนั้น มีของมีค่าต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งงูเห่าทองคำ เครื่องหมายสำหรับฟาโรห์ ซึ่งเรียกว่ายูเรียส (Uraeus) ที่มีค่ามาก ในสมัยราชวงศ์ดังกล่าว ทางเข้าสู่ตัวสุสานอื่น ๆ เปลี่ยนไปตามใจชอบเพื่อให้ปลอดภัยจากนักขุด การจัดสร้างปิรามิดด้วยอิฐของฟาโรห์เซซอสตริสที่สาม ที่เมืองดาชูร์ คล้ายคลึงกับปิรามิดของฟาโรห์อิลลาฮัน นอกจากทางเข้าตัวสุสาน เท่านั้น ที่เริ่มจากทิศตะวันออกแทนที่จะเป็นทิศใต้ การเปลี่ยนทิศช่องทางเข้าของสุสานในสมัยเดียวกันนี้ สร้างความสับสนให้พวกขโมยไม่น้อยทีเดียว แม้แต่นักธรณีวิทยาก็เถอะ คงคิดว่าไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง เพราะแจ็ค เดอ มอร์แกน (Jacques de Morgan) นักโบราณคดีผู้ทำการขุด ค้นปิรามิดแห่งนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1894-1895 ต้องขุดอุโมงค์ใต้ฐานปิรามิดถึงสามระดับ กว่าจะพบช่องทางเข้าสุสาน ช่องแรกที่พบไม่ใช่ทางจริง แต่ เป็นช่องอุโมงค์ที่ขุดขึ้นอย่างหยาบ ๆ ของนักขโมยสมบัติ ที่ใช้วิธีเดียวกันนั้นเอง แสดงให้เห็นว่าการขุดเข้าสู่ตัวสุสานกษัตริย์ในใจกลางปิรามิดของ นักขโมยเหล่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ นอกจากบุคคลเหล่านั้นจะรู้ตำแหน่งที่ตั้งสุสาน อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนทางเข้าสุสานดังกล่าว ก็ไม่ได้ป้องกันผู้ อยากรวยจากการลักขโมยไปได้ ผู้สืบราชสมบัติต่อจากฟาโรห์เซซอสตริสที่สาม สร้างปิรามิดชนิดก่อด้วยอิฐขึ้นอีกสองแห่งด้วยกัน แห่งแรกที่เมืองดาชูร์ แห่งที่สอง เมืองฮาวารา (Hawara) และแจ็ค เดอ มอร์แกนเช่นกันเป็นผู้ขุดปิรามิดลูกแรกที่เมืองดาชูร์ ด้วยวิธีการเดียวกับที่ทำมาแล้ว ครั้งนี้แทนที่จะพบว่าทาง เข้าสุสานอยู่ในทิศทางเดียวกับของฟาโรห์เซซอสตริสที่สาม กลับเปลี่ยนไปอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แทน ช่องทางที่สร้างขึ้นสู่สุสานทำอย่างสลับ ซับซ้อน สำหรับปิรามิดที่เมืองฮาราวานั้น ความใหญ่โตและสลับซับซ้อน ทำให้นักโบราณคดีคาดคะเนว่า น่าจะเป็นสุสานของฟาโรห์อเมนเนมฮัตที่สาม (Amenemhat III) ทางเข้าสุสานอยู่ทางด้านใต้ของตัวปิรามิด ซึ่งเพตตรีผู้ทำการขุดปิรามิดแห่งนี้ หาช่องทางพบจากอุโมงค์อ้อมมาจากด้านเหนือ ก่อน สุสานแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่สร้างขึ้น โดยมีประตูหินลับเข้าไปสู่สุสานที่เลื่อนไปมาได้ (ประตูกล) ปิดบังไม่ให้ผู้ล่วงล้ำเข้าไปยังห้องเก็บมัมมี่ได้ ประตูดังกล่าวอยู่ตรงเพดานด้านปลายสุดอุโมงค์ เมื่อปิดประตูกลออก จะพบช่องทางเข้าสุสาน ปรากฏว่าช่องทางที่ใช้ประตูกลเลื่อนได้บนเพดานนี้ ทำให้นักขโมยหลงขุดทางอื่นเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จากช่องที่ต่อประตูกลอันแรก มีประตูกลที่สองนำไปสู่อีกช่องทางหนึ่ง จนถึงประตูสาม เมื่อเปิดออกจะเป็นห้องโถงหลอกสร้างแบบ เดียวกับห้องเก็บมัมมี่ของฟาโรห์เจ้าของสุสาน เพื่อทำให้ขโมยหยุดยั้งเพียงแค่นั้น ส่วนห้องเก็บมัมมี่ที่แท้จริงอยู่ทางด้านใต้ของห้อง ซึ่งไม่มีช่อง ทางต่อไปถึงได้เลย จากห้องดังกล่าว สำหรับช่องทางเข้าดั้งเดิมนั้น เป็นช่องทางแคบ ๆ ที่ถูกปิดกั้นทับถมจนมองไม่เห็นร่องรอย และภายในห้องเก็บมัมมี่ที่แท้จริงนั้นมีหีบศพ อยู่สองหีบด้วยกัน หีบหนึ่งสำหรับเก็บมัมมี่ฟาโรห์อเมนเนมฮัตที่สาม ส่วนอีกหีบสร้างไว้สำหรับ เจ้าหญิง เนเฟอรูปตาห์ (Neferuptah) พระราชธิดา ของพระองค์ แต่หีบศพทั้งสองถูกค้นกระจาย โดยฝีมือของพวกขโมยสมบัติ เหลือไว้เพียงเครื่องเซ่นที่ไม่มี ค่าเท่านั้น หลังจากที่นักโบราณคดี พยายามศึกษาถึงความแน่ชัดในเรื่องนี้ พบว่าโดยความเป็นจริงแล้ว แม้จะมีหีบศพสำหรับเจ้าหญิงเนเฟอรูปตาห์ ในห้องเก็บมัมมี่ด้วยก็ตาม แต่มัมมี่ของเธอถูกนำไปเก็บไว้ในปิรามิดอีกแห่ง มีเนื้อที่เพียงสามสิบห้าตารางเมตร ห่างจากที่นั่นราวหนึ่งไมล์ ทั้ง ๆ ที่มี ขนาดเพียงนิดเดียว แต่นักโบราณคดีเชื่อว่า ปิรามิดของเจ้าหญิง มีทางเข้าสลับซับซ้อนยิ่งกว่าของฟาโรห์อเมเนมฮัตที่สามเสียอีก จากการออกแบบ อย่างสลับซับซ้อนนี่เอง ทำให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของนักขโมย มาถึงมือนักโบราณคดีจนได้ ปรากฏว่าเครื่องประดับเพชรนิลจินดามีจำนวนมากมาย มีปิรามิดอีกสองแห่งที่เมืองแมสกูน่า (Mazghuna) ซึ่งแม็คเคย์ (Mackay) ผู้ขุดค้น กล่าวว่าเป็นสุสานของฟาโรห์อเมเนมฮัตที่สี่ และ ราชินีซีเบ็คเนเฟอรู (Queen Sebekneferu) เพราะทั้งสองแห่งคล้ายกับปิรามิดแห่งฮาวารามากทีเดียว และสำหรับปิรามิดต่าง ๆ ที่สร้างสมัย ราชวงศ์ที่สิบสาม ต่างมีระบบป้องกันการบุกรุกเช่นเดียวกับปิรามิดของฟาโรห์อเมเนมฮัตที่สาม คือมีช่องทางลวง ประตูหินกล และทางลับเข้าสู่ห้อง เก็บมัมมี่จริง ๆ แม้ประตูหินกลจะมีน้ำหนักมาก แต่ทำอย่างละเอียด ปิดชิดสนิท จนยากจะสังเกตเห็นรอยของมันได้ ประตูภายในปิรามิดที่เมืองฮาวารา เป็นแบบที่ทำไว้อย่างละเอียด มีบางจุดเท่านั้นที่หยาบเกินไป จนพวกขโมยสังเกตเห็น ยิ่งกว่านั้นปิรามิดทางตอนเหนือของเมืองแมสกูนา บานประตู กลสองบานน้ำหนักยี่สิบสี่ และสี่สิบสองตันตามลำดับ กลับเปิดอ้าอยู่โดยไม่เลื่อนปิดไว้แต่อย่างใด นักโบราณคดีมีความเห็นตรงกันว่าพิธีการนำศพ มัมมี่ของฟาโรห์เข้าสู่สุสานคงอยู่ในภาวะรีบร้อน เนื่องจากการจลาจลในเมือง หรือไม่ก็สงคราม ทำให้ไม่สามารถเลื่อนประตูที่มีน้ำหนักมากสองบานเข้าที่ได้ ปิรามิดของฟาโรห์เก็นเจอร์ทางตอนใต้ของเมืองซัคคาร่ากับปิรามิดที่ยังไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กันนั้น เป็นปิรามิดที่สร้าง ในสมัยราชวงศ์ที่สิบสามด้วยกันทั้งสองแห่ง ปิรามิดทั้งสองนี้มีเทคนิคในการปิดช่องสุสานอย่างน่าสนใจ ผู้สร้างหวังว่าคงจะป้องกันขโมยได้แน่ เพราะฝาหินที่ปิดช่องทางเข้าสู่ห้องเก็บมัมมี่นั้น มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าที่กลุ่มขโมยจะยกออกจากได้ เทคนิคดังกล่าวอยู่ที่การปล่อยแท่งหิน ใหญ่น้ำหนักมาก ปิดช่องทางเข้าสุสานโดยไม่ต้องใช้แรงคน หลังจากจัดพิธีศพเรียบร้อยแล้ว ผู้สร้างขุดหลุมสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามขนาดของหินก้อน ใหญ่ จนถึงปากทางเข้าสุสาน แล้วเททรายลงหลุมจนเต็ม ก่อนดึงแท่งหินไปวางให้พอดีกับหลุม บริเวณด้านหน้าทางเข้าทั้งสองข้างที่เจาะเข้าไปในชั้น หินทั้งหมดนั่น สร้างช่องระบายทรายสู่หลุมขนาดใหญ่ด้านละข้าง มีความจุพอรับทรายจากหลุมข้างบนได้ทั้งหมด ขณะเททรายลงหลุมจนเต็มนั้น ช่องติดต่อสู่หลุมเบื้องล่าง หน้าทางเข้าสุสานทั้งสองหลุมได้ปิดกั้นไว้ก่อน กันทรายลงหลุมเบื้องล่าง เมื่อต้องการเคลื่อนแท่งหินใหญ่ลงปิดปากทาง เข้าสุสาน มีการดึงช่องกั้นทั้งสองออก ปล่อยให้ทรายจากหลุมใหญ่เบื้องบน ไหลลงสู่หลุมเล็กสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้หินก้อนใหญ่ก็ค่อย ๆ เลื่อนลง ไปปิดปากทางเข้าสุสานที่เตรียมไว้พอดี จากนั้นจึงค่อยถมหลุมข้างบนเสียใหม่ การนำหินก้อนใหญ่ลงปิดช่องทางเข้า ผู้สร้างเชื่อว่าจะสามารถป้องกันขโมยได้อย่างดี เพราะตัวสุสานเจาะอยู่ในชั้นหินหนาเบื้องล่าง แต่ นักขโมยก็แก้ปัญหาได้ โดยเจาะตรงส่วนบนที่ตรงกับหลังคา ซึ่งอ่อนและบางกว่า เป็นช่องพอลงไปขโมยสมบัติ หลังจากนักโบราณคดีชื่อเจเคีย์ (Jequier) ทำการขุดค้นสุสานนี้อีกครั้ง หลังพวกขโมย เขากล่าวว่าวิธีการปิดช่องทางเข้าสุสานด้วยกรรมวิธีเดียวกันนี้ถูกนำไปใช้ที่แมสกูน่าเช่นเดียว กัน สำหรับสุสานของบุคคลทั่วไป การป้องกันภัยจากพวกขโมยในสมัยอาณาจักรเก่าและกลาง ไม่ค่อยต่างกันเท่าใด สำหรับสุสานของเศรษฐี ผู้มั่งคั่ง บางแห่งมีการนำเอาวิธีป้องกันสุสานของฟาโรห์มาใช้กับของตนบ้าง การสร้างสุสานแบบมัสตาบา คงสร้างติดต่อกันมาถึงสมัยกลาง มีบาง พวกนิยมขุดลึกเข้าไปบริเวณหินผาตลอดแนวชายฝั่งแม่น้ำไนล์มากขึ้น การสร้างลักษณะนั้นเป็นจุดสนใจของนักขโมยมากขึ้นเพราะมองเห็นและรู้ได้ ทันทีว่า ตำแหน่งใดในหุบผาที่เป็นสุสานของพวกเศรษฐีทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้น วิธีป้องกันสุสานที่ขุดลึกเข้าไปในหินผาก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ผู้สร้างใช้วิธีอุดปิดช่องทางเข้าสู่ห้องเก็บมัมมี่ และทรัพย์ สมบัติด้วยวิธีธรรมดา ๆ เท่านั้น สำหรับเรื่องนี้สันนิษฐานว่า เจ้าของสุสานคงหวังพึ่งเจ้าหน้าที่ และพระผู้เฝ้าสุสานเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลาก็เป็นได้ โดยความเป็นจริงแล้ว ความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ยอมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ส่วนพวกพระก็ใช่จะวางใจได้ทั้งหมดไป สุสาน เหล่านี้ต่างถูกเจาะ จนของมีค่าแทบไม่มีเหลือ สุสานบางแห่งใช้วิธีสร้างช่องทางเข้าสุสานเป็นทางหลอกโดยสร้างช่องจริงไว้ใต้ช่องนั้น แต่การทำเช่นนี้ก็หารอดพ้นความพยายามของ นักขโมยทั้งหลายไปได้ เมื่อพวกนี้พลาดในช่องทางที่ขุดค้น ก็พยายามหาช่องทางจริงให้พบ ส่วนหลุมศพแบบมัสตาบาที่สร้างเจาะเข้าไปในหินผาเหล่า นั้น บางแห่งอัดช่องทางเข้าไว้ด้วยก้อนหินใหญ่ กว่าที่พวกขโมยจะเข้าถึงได้ ต้องใช้เวลานานนับเดือน ส่วนใหญ่สุสานเหล่านี้จะถูกเจาะโดยผู้ครองรัฐ ที่ไม่ต้องกังวลกับกฎหมาย อย่างเช่นสุสานเซนโวเรตัง (Senwosretankh) ที่เมืองลิซท์ (Lisht) ปรากฏว่ามีซากหินขนาดใหญ่ ผู้ที่ขุดนำออกมาจาก ช่องทางเข้าสุสาน นักโบราณคดีเชื่อว่าคงต้องใช้เวลาอย่างน้อยสามหรือสี่เดือน จึงเจาะหินเล่านั้นออกหมดได้ ส่วนกรรมวิธีเจาะหินก้อนใหญ่ ๆ ปิด ช่องทางเข้านั้น ทำอย่างง่าย ๆ โดยขุดช่องเข้าสุสานให้ลาดเอียงลงไปใต้ภูผา การปิดช่องทางเข้าสุสานก็เพียงกลิ้งเข้าไปเองจนถึงช่องด้านในสุด สุสานแบบมัสตาบาจะมีลักษณะป้องกันโจรที่ต่างออกไปในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบ สุสานอินปาย (Inpy) ที่เมืองอิลลาฮัน (Illahun) อยู่ไม่ ห่างจากปิรามิดของฟาโรห์เซซอสตริสที่สอง มีช่องทางลงสู่สุสานสองช่อง ช่องหนึ่งเป็นหลุมในแนวตรง ส่วนอีกช่องเป็นแนวเอียงลาด ช่องทางทั้ง สองช่องไปจรดกับห้อง A และ B ในตัวสุสานก่อนถึงห้อง C อันเป็นห้องเก็บมัมมี่ ซึ่งดูเหมือนจะจัดไว้เป็นห้องหลอกเพราะห้องเก็บจริง ๆ จะอยู่ ด้านหลังกำแพงหิน ที่ลึกเข้าไปในห้องลับอีกแห่งหนึ่ง แต่เป็นเรื่องแปลก ทั้งสี่ห้องนี่ไม่มีอะไรอยู่เลย จึงสงสัยว่าสุสานแห่งนี้คงไม่ได้ใช้ เจ้าของ สุสานอาจหนีภัยไปเมืองอื่น ปล่อยให้สุสานที่สร้างเสร็จแล้วทิ้งร้างว่างเปล่าอย่างน่าเสียดาย สำหรับสุสานที่อยู่ตามหัวเมือง การสร้างจะเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ใหญ่โตแข็งแรง ความปลอดภัยเป็นหน้าที่ของยามประจำท้องถิ่นอย่างที่ เมืองริกกะ (Riqqa) มีหลักฐานปรากฏว่า สุสานแทบทุกแห่งต่างถูกขโมย หลังเสร็จพิธีการฝังผ่านไปเพียงสองสามวัน ผู้ที่ขโมยก็คือเจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัยในท้องถิ่นนั้นเอง จากหลุมศพขุดไปใต้พื้นดิน จะมีช่องเข้าสุสานเรียงเป็นลำดับ แสดงว่าเจ้าของสุสานเป็นคนจน ต้องสร้างในพื้นที่ สาธารณะ และใช้หลุมที่ขุดใหญ่ ๆ รวมกันหลุมละหลายราย มีจำนวนไม่น้อยที่สุสานนั้นไม่เคยถูกขโมยแตะต้องมาก่อน ซึ่งแน่นอนว่าพวกเจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัยคงรู้มาก่อนว่าสุสานนั้นไม่ควรค่าแก่การขุด เพราะไม่มีของมีค่า บางแห่งมีขีดเขียนไว้หน้าสุสาน ในทำนองบอกให้รู้ว่าสุสานนั้นเป็นของ คนจน สุสานบางแห่งมีร่องรอยของการโจรกรรมให้เห็น พร้อมกับชีวิตของผู้ขโมยรายนั้น อย่างเช่นในสุสานหมายเลข 124 ที่เมืองริกกะ นัก โบราณคดีพบว่าเมื่อขุดไปถึงตัวสุสาน หลังคาสุสานยุบลงสู่ห้องเก็บมัมมี่ หินที่ยุบลงนั้นมีน้ำหนักหลายตัน หลังจากรื้อหินออกจนหมดพบว่า เจ้าของ สุสานถูกโครงกระดูกร่างหนึ่งทับเอาไว้ สันนิษฐานว่าโครงกระดูกที่อยู่บนมัมมี่ คือขโมยคนที่ขุดสุสานแห่งนั้นนั่นเอง ขณะกำลังคลี่ผ้าห่อตัวมัมมี่ออก เพื่อค้นหาของมีค่า หลังคาสุสานเกิดยุบลงมาพอดี ทำให้เจ้าขโมยถูกฝังรวมกับมัมมี่ไปด้วย เมื่อนักโบราณคดีคลี่ผ้าพันมัมมี่ออก ก็พบเครื่องทองและ เพชรจำนวนมากยังอยู่ครบ หากหลังคาไม่ยุบลง เจ้าขโมยคนนั้นคงรวยไปแล้ว ไม่เห็นให้อยู่เป็นขวัญตาในพิพิทธภัณฑ์แมนเชสเตอร์ของอียิปต์มาจน ถึงปัจจุบันนี้ ในสมัยกลาง หีบศพของขุนนางหรือเศรษฐี จะจัดการป้องกันการเปิดหีบศพออกมาด้วยล็อคชนิดต่าง ๆ ภายในหีบท่านผู้หญิงซีเน็บติซี่ (Lady Senebtisi) แห่งเมืองลิซท์ ใช้แท่งทองแดงทำเป็นแบบล็อคป้องกันการเปิดหีบศพ ซึ่งเตรียมไว้ก่อนปิดหีบ ล็อคนี้ออกแบบให้ยึดฝาติดกับ ตัวหีบ ทันทีที่ปิดฝาลงไปเล่นเดียวกับการกดลูกกุญแจ การใช้ล็อคโลหะในการยึดฝาหีบศพหินให้แน่น ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ยังพบในสุสานหลายแห่งสุสานเนเฟอรูปตาห์ ที่เมืองฮาวานาก็เช่นกัน เพียงแต่จุดที่วางล็อคโลหะอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันเท่านั้น ส่วนในบางท้องที่ แทนที่จะใช้ล็อคโลหะ กลับใช้ไม้เนื้อแข็งที่เรียกว่า "ไม้หางนกเขา" แทน ไม้หางนกเขาจะทำหน้าที่ล็อคหีบศพเช่นเดียวกับ โลหะดังที่กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ดี การล็อคหีบศพด้วยไม้ตามวิธีนี้ นับว่าเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เพราะเพียงแต่ออกแรงงัดด้วยชะแลง ฝาหีบก็เปิดออกแล้ว ความจริงผู้ทำพิธีไม่ต้องการให้พวกขโมยไปทำลายมัมมี่ ควรปล่อยโดยไม่มีการล็อคจะดีกว่า เพราะเมื่อพวกขโมยเข้าไปในสุสาน ได้แล้ว เพียงคลี่ผ้าพันศพเอาเฉพาะเครื่องประดับและเพชรนิลจินดาเท่านั้น หากเอาสิ่งเหล่านี้ออกจากศพโดยง่าย พวกเขาจะนำมัมมี่เก็บไว้ในหีบศพ ดังเดิม ทั้งคนและหีบศพไม่เสียหาย สำหรับในสมัยอาณาจักรเก่า มีสุสานหลายแห่งโดยเฉพาะสุสานของฟาโรห์คาเฟร (Khafre) และฟาโรห์เมนคัวร์ (Menkaure) ใช้วิธีเดียวกันนี้ ล็อคปิดช่องทางเข้าสุสาน ป้องกันขโมยตรงช่องทางเข้าเลยทีเดียว ซึ่งการล็อกแท่งหินใหญ่ปิดช่องทางเข้าสุสานโดย ตรง เป็นการสร้างความยากลำบากให้กับขโมยไม่น้อย ความพยายามของฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ที่สิบแปด ที่ต้องการสุสานให้เป็นที่ลับนั้นไม่เป็นผล ปรากฏว่าสุสานฟาโรห์ต่าง ๆ ที่สร้างในสถาน ที่เร้นลับแห่งนี้ ถูกทำลายโดยพวกขโมยจนแทบไม่มีเหลือ มีเพียงแห่งเดียวที่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน คือสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมนนั่นเอง นับแต่สมัยราชวงศ์ที่สิบเก้าถึงยี่สิบ การฝังศพจะเป็นการฝังตามประเพณี มากกว่าที่จะคิดสร้างสุสาน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยต่อไปอีก พอสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด การสร้างสุสานฟาโรห์ก็พัฒนาอีกครั้ง แต่สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป การฝังศพเป็นเพียงง่าย ๆ เพราะไม่อาจว่าจ้างให้มี การสร้างสุสานที่แข็งแรงได้ จากสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดถึงยี่สิบหก แบบการสร้างออกจะคลุมเครือไม่ชัดแจ้งอย่างก่อน ๆ เพราะมักจะหันไปสร้างใกล้ ๆ กับบริเวณวิหารที่มีพระและเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ แทนที่จะสร้างในสถานที่เปลี่ยว ง่ายต่อการปฏิบัติของพวกขโมย ในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดถึงยี่สิบสอง สุสานกษัตริย์ย้ายไปสร้างใกล้ ๆ กับวิหารอามุนในเมืองธีบส์ หลังจากนั้นจนถึงสมัยราชวงศ์ที่ ยี่สิบหก สุสานกษัตริย์ถูกสร้างขึ้นที่เมืองซาอิส ซึ่งสุสานเหล่านี้ยังไม่มีการค้นพบเลย แต่นักโบราณคดีรู้ว่ามีอยู่ จากคำบอกเล่าของเฮโรโดตัส ใน แผ่นกระดาษปาปิรุส ในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบหก ดูเหมือนการสร้างสุสานมีการพัฒนา จนป้องกันขโมยได้เป็นอย่างดี เป็นเรื่องน่าประหลาดที่สุสานเหล่านี้มิได้ เป็นของกษัตริย์แต่เป็นของพวกขุนนาง เศรษฐีที่มีทรัพย์สินมั่งคั่ง สุสานเหล่านี้จะเจาะผ่านหินก้นหลุมที่มีขนาดกว้างสิบตารางเมตร ลึกสามสิบเมตร เข้าไป เมื่อสร้างเสร็จ นำหีบศพมัมมี่และสิ่งของมีค่าใส่ไว้ในสุสานแล้ว จะปิดปากทางเข้าด้วยก้อนหินขนาดใหญ่อย่างแข็งแรง จนไม่อาจใช้ทางนั้นเป็น ทางเข้าได้อีก ส่วนข้าง ๆ ขนานกับช่องทางใหญ่ที่ปิดนั้น มีช่องเล็ก ๆ เป็นอุโมงค์ทางหนึ่งติดกับช่องทางใหญ่ที่ปิดแล้ว บนเพดานของช่องอุโมงค์ เล็กนี้ จะมีปล่องเป็นรูปแจกัน ปิดก้นด้วยปูนปาสเตอร์อย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันทรายเบื้องบนไหลลงมา สำหรับช่วงสุดท้ายของราชวงศ์อียิปต์นั้น การสร้างสุสานไม่มีระบบป้องกันภัยที่น่าสนใจอย่างใด ส่วนใหญ่หลังเสร็จพิธีศพนำมัมมี่เข้า สุสานแล้ว ก็ใช้ก้อนหินใหญ่ทับถมทางเข้าเพื่อสร้างความลำบากให้กับการขุดเท่านั้น คนจน ๆ ในสมัยกรีกและโรมัน มักจะนำศพไปเก็บรวมไว้ที่สุสาน ที่ กองซ้อนจนถึงเพดาน สำหรับบุคคลที่เป็นขุนนาง หรือเศรษฐีก็สร้างสุสานสำหรับตนเองด้วยวิธีเก่า ๆ ดังที่ทำกันมา และใช้หินถมทางเข้า ซึ่งไม่ยาก แก่พวกขโมย ที่จะขุดเข้าไปเอาทรัพย์สิน การแข่งขันระหว่างนักก่อสร้างสุสานกับขโมย ใช้เวลานานกว่าสามพันปีนั้น ลงเอยด้วยชัยชนะของขโมย เพราะไม่ว่าจะสร้างซับซ้อนอย่างไรก็ไม่อาจป้องกันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้สร้างจึงต้องใช้มาตรการอีกอย่าง คือใช้เวทมนตร์คาถา และคำสาปแช่งป้องกัน สุสานอีกขั้นหนึ่ง นอกเหนือจากการปิดทางเข้าโดยวิธีธรรมชาติ การใช้เครื่องรางของขลัง (Amulets) เพื่อป้องกันสุสาน แม้ว่าจะเคยทำมาก่อนสมัยต้น ๆ แต่นานวันสิ่งเหล่านี้ก็ขยายตัวมากขึ้น ในปลาย ราชวงศ์ไม่เพียงแต่ใช้เครื่องรางเฉพาะมัมมี่เท่านั้น แต่ยังมีการเรียนรู้รูปยันต์ศักดิ์สิทธิ์ หรือไม่ก็สลักไว้บนหีบศพเลยทีเดียว การสร้างเครื่องรางของ ขลังเพื่อใช้ป้องกันศพมัมมี่และสุสานให้รอดพ้นจากขโมยนั้น ต่างปฏิบัติตามคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวถึงการใช้เวทมนตร์คาถาและคำสาปแช่งโดยเฉพาะ เครื่องรางที่สวมอยู่ที่ศีรษะของมัมมี่ ทำขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเอาศีรษะมัมมี่ออกจากร่างกาย เครื่องรางเป็นรูปหัวงู ป้องกันมิให้งูพิษ กัดทำร้ายได้ ในบรรดาเครื่องรางหรือยันต์ที่ใช้กันทั่วไปนั้น มี ตเย็ท (Tyet), เสาดเจ็ด (Djed pillar), ดวงตาของเทพเจ้าฮอรัส (Eyes of Horus), และรูปอังค์ (Ankh) สำหรับเครื่องหมาย "อังค์" นั้น เป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ของชาวอียิปต์ที่หมายถึง "ชีวิต" สิ่งนี้เป็นยันต์หรือสัญลักษณ์ของเครื่องราง ชาวอี่ยิปต์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด เพราะบทนี้กล่าวถึงมาตรการการป้องกันความปลอดภัยของสุสานเท่านั้น สำหรับสัญลักษณ์ เครื่องรางที่ใช้ป้องกัน หัวใจของมัมมี่นั้น เขียนเป็นรูปหัวใจโดยตรงบางทีแกะเป็นรูปแมลงสแครบด้วง (Scarabs Beetle) ที่รู้จักในนามของ "หัวใจแมลงสแครบ" (Heart Scarabs) ซึ่งก็มีสิ่งเหล่านี้ได้มาจากคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่กล่าวถึงเวทมนตร์ในการช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคภัยไข้เจ็บ สำหรับเครื่องรางที่นิยมใช้เป็น เวลานาน คือสัญลักษณ์อันหมายถึงโอรสทั้งสี่ของเทพเจ้าฮอรัส ซึ่งมักจะแกะไว้บนหีบศพมัมมี่ผู้ตายเสมอ ชาวอียิปต์ยังเชื่อว่าผู้ตายจะถูกปกป้องคุ้ม ครองโดยเทวีไอซิส นอกจากนั้นก็มีเทพเนปธิส, เทพเจ้าเซลกิส, และเทพเจ้าเนธ สำหรับสุสานที่จะปลอดภัยรอดพ้นจากน้ำมือของพวกขโมยนั้น ต้องเป็นสุสานที่ปราศจากทรัพย์สินของมีค่าจริง ๆ ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้คือ การฝังศพแบบของชาวคริสเตียนภายในสุสาน นับแต่คริสต์ศตวรรษที่สามเป็นต้นมา เพราะเมื่อไม่มีทรัพย์สินมีค่าฝังรวมกับศพผู้ตายแล้ว พวกขโมย ไม่รู้ว่าจะขุดซากศพขึ้นมาทำไม ส่วนการที่สุสานพวกเขาถูกทำลายนานติดต่อกันมาหลายพันปี เพราะความเชื่อและต้องการจะเก็บของมีค่าไว้ให้ผู้ตายนั่น เอง | โดย: eggman@com [25 ต.ค. 52 9:14] ( IP A:114.128.51.17 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 โหะๆสุดยอดคับข้อมูลเยอะมาก เเต่อย่าลืมเครดิตจากเเหล่งด้วยนะคับ บทความจากMummy life after deadโดยdinosaur(เด็ก) | โดย: imsety [25 ต.ค. 52 9:40] ( IP A:58.9.34.190 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 ขอบคุณที่ไป Copy ข้อความในหนังสือ มัมมี่ชีวิตหลังความตาย หัวข้อ "ความปลอดภัยของสุสาน" ในหน้า 99 - 137 โดย Dinosaur (เด็ก) มาให้ท่านอื่นๆได้อ่านกันนะครับ
แต่ถ้า "คัดลอก" มาแบบนี้ อยากให้ช่วย Credit แหล่งข้อมูลด้วย ตามที่คุณ Imseti บอกน่ะครับ เพราะว่าอาจจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของเขาได้ครับ
ฝากไว้แค่นี้ครับ ยังไงก็ขอบคุณมากๆครับ ^^
ปล. แต่ไม่ค่อยเกี่ยวกับหัวข้อกระทู้เท่าไรนะครับ 555+  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [25 ต.ค. 52 10:29] ( IP A:124.122.178.186 X: ) |  |
|