ขอถามถึง " ความแตกต่างระหว่างพระนามของฟาโรห์ "
   คำว่า ra-ms-sw ( Ramesses I )
คำว่า ra-ms-sw mry-Imn ( Ramesses II )
คำว่า ra-ms-s-s Imn-hr khps-f - hkA nTr Iwnw ( Ramesses VI - Amenherkhepshef II ) ( สะกดถูกหรือเปล่า ไม่แน่ใจแก้ให้ด้วยนะ ท่านเจ้าบ้าน )

ขอถามแค่สามพระนามนี้ก่อน กฎนี้เป็นกฎของ Sound Complement ทั้งหมดหรือเปล่า ? ตรง ra-ms-s (w) , ra-ms-s-(s)
โดย: xzodic [3 ก.พ. 55 16:25] ( IP A:171.4.216.20 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ขออนุญาตย้ายหมวดนะครับ เพราะคิดว่าเข้ากับหมวดนี้มากกว่า

ผมไม่เข้าใจคำว่า "กฏของ Sound Complement" ครับ เพราะ Sound Complement ไม่มีหลักตายตัว เพียงแค่เป็นการเติมเต็มเสียงเท่านั้น เช่น nfr อาจจะใส่ทั้งภาพของงูและปาก งูอย่างเดียว หรือปากอย่างเดียว ก็ได้ขึ้นกับความสวยงามและ Space ของเนื้อที่ที่เหลืออยู่

ra-ms-sw ที่แปลว่า Ra borns him นั้นไม่เกี่ยวกับ Sound Complement แต่อย่างใดครับ แต่จะเกี่ยวก็ต่อเมื่อคำว่า ms (ที่เป็นเหมือนพู่ 3 สาย) มีตัว s ที่เป็นเหมือนตะขอ (จริงๆเป็นภาพผ้าที่พับไว้) ต่อท้ายมาด้วย นั่นล่ะครับ ถึงจะเรียกว่า Sound Complement

อีกอย่างการเขียน Transliteration นั้นไม่สามารถทำให้เห็น Sound Complement ได้นะครับ ต้องดูที่ Hieroglyphs สถานเดียว เพราะ nfr แม้ว่าจะมี Sound Complement ทั้งงูและปาก แต่พอเขียนเป็น Transliteration ก็จะไม่เขียนว่า nfrfr แต่อย่างใด นั่นคือ มันไม่บ่งบอกถึง Sound Complement เลยครับ

ผมตอบตรงคำถามไหมครับ? เพราะผมยังไม่เข้าใจคำถามของคุณ xzodic เท่าไร แต่ดูจากการตั้งคำถาม เหมือนว่าคุณ xzodic จะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง Sound Complement มากเท่าใดนักหรือเปล่าครับ?
โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [3 ก.พ. 55 21:06] ( IP A:218.25.32.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ก่อนอื่นต้อง ขอโทษที่ใส่ผิดหมวด 555+ สงสัยตอนนั้นเบลอและต้องขอบคุณที่กรุณาตอบคำถาม บอกตามตรงว่าเรา " เข้าใจคำว่า Sound Complement ( ส่วนเติมเต็มของเสียง )แล้วหล่ะ " และเราก็กลับไปค้นคว้าด้วยตัวเองมาก่อนแล้วเช่นกัน สรุปว่าสิ่งที่เราสงสัยได้คำตอบเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไงท่านเจ้าบ้านก็กรุณาช่วยเสริมเพิ่มเติมให้ด้วย เพราะเราอาจเข้าใจผิด ( บอกตรง ๆ ว่าอยากได้ข้อมูลที่ถูกต้องจริง ๆ )

เอาเป็นว่าเราจะอธิบายสิ่งที่เราเข้าใจให้ท่านเจ้าบ้านพิจารณาก่อนเป็นลำดับแรก เราเข้าใจว่าคำว่า ra-ms-sw นั่น s ตัวแรกคือ Sound Complement ของ ms ส่วน s อีกตัวเป็น Uniliteral คือ s ปกติ และตัว w ตัวสุดท้ายก็คือ Sound Complement เช่นเดียวกัน ( เจ้าตัวลูกเจี๊ยบอ่ะ ) อธิบายอย่างนี้ถือว่าผ่านหรือเปล่าท่าน ? และอีกตัวอย่างที่เราเข้าใจคือจากคำว่า Senwosret ( men of wosret ) s = man + n = of + wosret คำ ๆ นี้ไม่ได้อ่านว่า wsrsrtsn แต่อ่านว่า wsrtsn การอ่านเช่นนี้คือเราไม่ได้หลงลืม Sound Complement ถูกต้องหรือไม่ ? หรือแม้แต่ menkhawra ก็ไม่ได้อ่านว่า mn-kA-kA-kA-ra แต่อ่านว่า mn-kAw-ra เนื่องจากคำว่า kA เป็น Prural หรือ 3 ชิ้น ให้เติม w เข้าไปแทน และพอกล่าวถึง Prural Nouns เราก็เข้าใจหลักการของ Dual ( Duality ) ด้วยเช่นกัน เมื่อมี Determinetive ที่ทำการ Double คำซ้อนกันก็ต้องเติม " y" ต่อท้าย ( wy สำหรับเพศชายและ ty สำหรับเพศหญิง ) เรายังเข้าใจถูกหรือเปล่าท่าน ?

เอาหล่ะเข้าสู้คำถามด้านบนของหัวข้อที่เราถามไว้
คำว่า ra-ms-sw ( Ramesses I )
คำว่า ra-ms-sw mry-Imn ( Ramesses II )
คำว่า ra-ms-s-s Imn-hr khps-f - hkA nTr Iwnw ( Ramesses VI - Amenherkhepshef II ) ( สะกดถูกหรือเปล่า ไม่แน่ใจแก้ให้ด้วยนะ ท่านเจ้าบ้าน )

ขอถามแค่สามพระนามนี้ก่อน กฎนี้เป็นกฎของ Sound Complement ทั้งหมดหรือเปล่า ? ตรง ra-ms-s (w) , ra-ms-s-(s)

เราขอบอกว่าเราใช้คำถามที่สื่อสารถึงท่านเจ้าบ้านผิด ทำให้ท่านเจ้าบ้านเข้าใจ " ผิด " ( ต้องขออภัยอย่างยิ่ง ) เราเข้าใจสิ่งที่ท่านเจ้าบ้านอธิบายไว้เรียบร้อยแล้วทั้งความคิดเห็นด้านบนและก่อนหน้านี้ และสิ่งที่เราสงสัยก็ได้รับคำตอบแล้วเช่นกันจากการที่เราไปนั่งหาข้อมูลอีกหลายรอบ สิ่งที่เราสงสัยก็คือ เราเห็นเอกสารอ้างอิงฉบับหนึ่งใช้คำว่า ra-ms-sw ทั้ง ๆ ที่ มันน่าจะเป็น ra-ms-s แท้ ๆ อีกทั้งยังใช้ คำ ๆ นี้ อ้างในพระนามของเหล่าฟาโรห์ที่มีคำว่า ra-ms-s ทุกพระองค์อีกด้วย ( อนึงทุกพระนามไม่มีตัวลูกเจี๊ยบ w หรือต้นหญ้า sw อยู่เลย ) จึงทำให้เราเข้าใจผิดไปใหญ่

เราจะอธิบายยังไงดีนะ ท่านเจ้าบ้านถึงจะเข้าใจ 555+ ( เอ้า ! เริ่มนะ )
พระนามของฟาโรห์รามเสสที่ 2 คือ ra-ms-sw ใช่เปล่า ( ทั้งนี้เราเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าตัวไหนคือ Sound Complement ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ) เนื่องจากตัวลงท้ายของพระนามคือ ตัวลูกเจี๊ยบ ( G 43 ) จึงมีตัว w ต่อท้ายลงไปด้วย โดยที่ในพระนามจะมีอักษรฮีโรกรีฟดังนี้ ra ( N 05 ) + พู่สามสาย ms ( F 31 ) + พับผ้า s ( S 29 ) + ต้นหญ้า sw ( M 23 ) และตัวสุดท้าย ตัวลูกเจี๊ยบ (G 43 )

และนี้คือที่เราไปหามาเพิ่ม เพื่อใส่ลงไปในหัวสมองอันขี้เลื่อยของเราคือ เราทราบว่า คำว่า ra-ms-sw นั่นถูกใช่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งและหลังจากนั้นเค้าก็ทำการตัดทอนให้เหลือเพียงคำว่า ra-ms-s เท่านั้น นั่นคือจะมีอักษรฮีโรกรีฟดังนี้ ra ( N 05 ) + พู่สามสาย ms ( F 31 ) + พับผ้า ( S 29 ) และตัวสุดท้ายก็คือพับผ้า ( S 29 ) เช่นเดียวกัน อีกทั้งฟาโรห์บางพระองค์อาจจะใช้อักษรฮีโรกรีฟในหมวดของ ( O 34 = ปมเชือก ) ซึ่งอ่านได้ว่า s เช่นกัน ( อันนี้เราไม่สบสน ) ถึงแม้เค้าจะสลับตำแหน่งกันเช่นไรก็อ่านได้ว่า ra-ms-s ยกเว้นบางพระนามที่มีต้นหญ้า sw ( M 23 ) เติมอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังเท่านั้นจึงอ่านได้ว่า ra-ms-sw ดังเช่นพระนามของฟาโรห์รามเสสที่ 10 ซึ่งมีอักษรฮีโรกรีฟรูปต้นหญ้า sw ( M 23 ) เติมอยู่ด้านหน้า เราจึงจะอ่านว่า ra-ms-sw ได้ ( เราเข้าใจถูกหรือเปล่า ) หรือว่ารูปต้นหญ้ายังคงเป็น Sound Complement อีกเช่นเคย ถ้าเป็นเช่นนั้นพระนามของฟาโรห์รามเสสที่ 10 ก็อ่านได้ว่า ra-ms-s เช่นนั่นหรือ ?

ยังไงรบกวนตอบคำถามอันวกวนของเราอีกรอบด้วยเถอะ ( ไหว้หล่ะ ) ^ ^ !
โดย: xzodic [6 ก.พ. 55 9:41] ( IP A:110.77.236.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยครับว่าที่คุณ xzodic อธิบายมาในย่อหน้าแรกนั้น เอาจริงๆแล้วยังไม่สามารถบอกได้หรอกครับว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ เพราะอย่างที่ผมบอกไปว่า Transliteration ไม่สามารถบ่งบอกถึง Sound Complement ได้ (ต่อไปนี้ผมจะใช้คำย่อว่า SC นะครับ) ดังนั้นที่คุณ xzodic บอกมาว่า s ตัวแรกคือ SC หรือ w รูปลูกเจี๊ยบคือ SC นั้นจะถูกต้องก็ต่อเมื่ออธิบายประกอบกับ Hieroglyphs เท่านั้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเข้าใจครับ 555+ ถ้าลองดู Cartouche ของ Ramses I ใน KV16 ประกอบคำอธิบายของคุณ xzodic ก็ต้องบอกว่าอธิบายได้ถูกต้องแล้วครับ ^^ และเรื่อง Senusret รวมทั้ง Menkaure ก็ถูกต้องเช่นเดียวกัน แต่เรื่อง dual นั้นอยากให้เข้าใจแบบนี้ครับ การที่ Deteminative มัน “เบิ้ล” นั้นจริงๆแล้วเป็น “ผล” ของ Dual น่ะครับ หมายความว่า dual บางคำก็จะมีการเบิ้ล Determinative แต่ dual บางคำจะไม่เบิ้ลเพราะไม่มี Determinative ให้เบิ้ล อย่างเช่นรูปธง nTr สองอันที่อ่านว่า nTrwy (ธงเป็น Ideogram ไม่มี Determinative) ก็ไม่มีอะไรให้เบิ้ล เป็นอันรู้กันว่าอ่านว่า nTrwy แต่ถ้าอย่างพี่ชายสองคนหรือ snwy นั้น ถ้าดูใน Hieroglyphs ส่วนใหญ่จะเห็นว่าเขาทำการใส่ wy มาให้อยู่แล้ว เราก็แค่อ่านตามไปเลยเท่านั้นเอง หรือ snty สำหรับพี่สาวสองคนก็เช่นเดียวกันครับ แต่ด้วยว่ามันเป็น “สองคน” จึงมีการเบิ้ล Determinative เข้ามาด้วยนั่นเอง ก็ต้องลองสังเกตดูที่ Hieroglyphs ด้วยน่ะครับ

เรื่อง ra-ms-sw หรือ ra-ms-s นั้น ก็อ่านเอาจากใน Hieroglyphs เลยครับ เห็น sw ก็อ่าน sw ไม่เห็นก็อ่าน s อย่าไปหา “มาตรฐาน” ของการเขียนเลย เพราะ Ramses 11 คนเขียนพระนามไม่เหมือนกันหรอกครับ แต่ด้วยความ “ง่าย” นักอียิปต์วิทยาก็เลยบอกว่าให้อ่านด้วยภาษาอังกฤษเหมือนกันไปเลยว่า Ramses

ไม่ต้องจริงจังกับมาตรฐานตรงนี้หรอกครับ เพราะ SC นั้นจะเขียนหรือไม่เขียนก็ขึ้นกับความพอใจและความสวยงามของภาพและเนื้อที่ว่าง อย่าง Ramses II ก็ ra-ms-sw แบบไม่มี w เป็น SC เวปบางเวป Hieroglyphs เขียน ra-ms-z-z แต่ก็ยังเขียน Transliteration ว่า ra-ms-sw ก็ยังมี เพราะอะไรทราบไหมครับ เพราะว่า Cartouche ของฟาโรห์องค์เดียวกัน ที่สลักเอาไว้ในแต่ละที่นั้นจารึกพระนามเอาไว้ไม่เหมือนกันยังไงล่ะครับ บางแห่งก็ ra-ms-sw บางแห่งก็ ra-ms-z-z นั่นหมายความว่าในแง่ของชาวไอยคุปต์แล้ว มันไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย และถ้านักอียิปต์วิทยาจะ “ระบุ” ให้ง่ายลงไปว่า ra-ms-sw หมดทุกพระองค์ มันก็ไม่ถือว่าผิดหรอกครับ อย่าง Ramses X เอง ที่คุณ xzodic บอกว่าเขียน ra-ms-sw นั้น Cartouche บางแหล่งข้อมูลเขียน ra-ms-z-z ก็มีครับ ดังนั้นไม่แปลกหรอกครับ แต่ที่แน่ๆ sw ไม่สามารถทำหน้าที่เป็น SC ได้เพราะมันคือ Biliteral ครับ

ดูง่ายๆเรื่องมีหลายพระนาม อย่าง Ramses II เอง ยังมีคาร์ทูชเขียนพระนามของพระองค์แค่ ss-sw เลยนะครับ 555+

ถ้ายังไม่ Clear ตรงไหนก็มาถามอีกได้ครับ ^^

ปล. ว่าแต่ O34 ไม่ใช่ปมเชือกนะครับ เพราะมันเป็น Bolt หรือสลักประตูน่ะครับ
โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [6 ก.พ. 55 17:53] ( IP A:218.25.32.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   โอ้ว ! ขอบคุณท่านเจ้าบ้านที่สรุปให้ ทำให้เราเกิดดวงไฟขึ้นในหัวเลย ^ ^ เราเข้าใจแล้วสำหรับคำว่า sw ( M 23 ) แสดงว่าเราก็เข้าใจถูกตั้งแต่แรกแล้วใช่มั้ย ? เรื่องที่ถ้ามีฮีโรกรีฟตัวไหนก็ให้อ่านแบบนั้น มี s ก็ให้อ่าน s มี sw ก็ให้อ่าน sw ยกเว้นพวกที่เป็น Sound Complement ที่เรารู้สึกว่าเ รายังต้องฝึกอีกเยอะเพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวไหนเป็น Sound Complement เวลาที่เราไปอ่านในคาร์ทูชหรือในจารึกต่าง ๆ ( รู้สึกโล่งจิตสุด ๆ เลย เฮ้อ ! )

เอาเป็นว่าเราจะยกตัวอย่างเลยแล้วกันซึ่งเป็นคำถามที่เคยถามท่านเจ้าบ้านมาแล้วรอบหนึ่ง เผื่อน้อง ๆ บ้างคนจะได้ดูด้วย คือประโยคที่ว่า

ir.n.s m mnw.s n it.s imn nb nswt tAwy
พระองค์ทรงสร้างแล้ว (ซึ่ง)อนุสาวรีย์ของพระองค์ แด่พระบิดาของพระองค์ เทพอะมุน ผู้เป็นใหญ่เหนือบัลลังก์ทั้งมวลในสองแผ่นดิน
อ้างอิง คุณ TEP ตอน การอ่านอักขระอียิปต์โบราณ - ตอนพิเศษ 6: จารึกบนเสาโอเบลิสต์ของฟาโรห์ฮัตเชปสุต ณ วิหารคาร์นัค (Karnak Temple)

เราจะยกตัวอย่างแค่ n it.s ( กลับไปเปิดหน้า การอ่านอักขระอียิปต์โบราณ แล้วดูเทียบได้เลย )

n = for
it (f) = father
.s = her
ดังนั้น n it.s จึงมีความหมายว่า for her father

ถ้าย้อนกลับไปดูที่จารึกจริง ๆ ตรงคำว่า it จะมีตัว f ต่อท้ายมาด้วย แต่ก็ถูกตัดทอนออกไป ดังนั้น ตัว f ตัวนั้นเป็น Sound Complement ถูกต้องหรือไม่ ?

สำหรับเรื่องของ Duality เราก็เข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว ถึงจะน้อยก็เหอะ 555+
ตัวอย่าง เช่น
it-wy = two fathers
sn-wy = two brothers
Sn-ty = two sisters
Pr-wy = two houses
nTr-wy= two gods เป็นต้น

ส่วน Plural เราจะยกตัวอย่างที่เราเข้าใจให้ท่านเจ้าบ้านพิจารณาก่อน เผื่อเราจะเข้าใจผิดอีก
ตัวอย่าง เช่น
sn = brother sn-w = brothers
sn-t = sister sn-tw = sisters
pr = house prw = houses
nTr = god nTrw = gods เป็นต้น

ความจริงเราอยากถามอีกเรื่องหนึ่งตอนแรกกะว่าจะขึ้นหัวเรื่องใหม่แต่เกรงใจ เนื่องจากเราจะขึ้นหัวเรื่องว่า

“ เราจะเรียนรู้เรื่องเพศได้อย่างไร ”

555+ซึ่งถ้าขึ้นหัวเรื่องนี้ไปรับรองกระทู้นี้จะขายดีเป็นพิเศษแน่ ๆ ^ ^
เข้าเรื่องนะ

บางอักษรบางครั้งเวลาเห็นแล้วเราก็สามารถเข้าใจได้ทันทีว่านั่นคือเพศใด เช่น

sn = brother sn.t = sister
nTr = god nTr.t = goddess
zA = son zA.t = daughter เป็นต้น

แล้วพวกนี้หล่ะเวลาเราเห็นจะแปลความหมายได้อย่างไร ยากน่าดูเลยอ่ะ คำพวกนี้มันเป็นยังไงกันเนี้ย ????

Hw.t = mansion
ix.t = thing / possession
m-fkA.t = turquoise
Ti.t = table เป็นต้น

อยากคำพวกนี้เรายังรู้ว่าถ้าเติม .t จะกลายเป็นเพศหญิง แต่คำด้านบนเราจะมารถแยกได้อย่างไรหรือมันไม่เกี่ยวกับเพศ

iH = ox --------------> iH.t = cow
iAd.y = boy ----------> iAd.y.t = girl
zA = son ------------> zA.t = daughter เป็นต้น

กรุณาช่วยไขให้กระจ่างทีเถอะท่านเจ้าบ้าน

ปล. O34 เรียกว่า สลักประตูรึนั่น แถมเป็น ตัว Z อีก เง้อ ! ( ต้องกลับไปแก้คู่มือเทียบอักษรก่อน ^ ^ )
โดย: xzodic [7 ก.พ. 55 14:36] ( IP A:223.207.9.147 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ถ้าย้อนกลับไปดูที่จารึกจริง ๆ ตรงคำว่า it จะมีตัว f ต่อท้ายมาด้วย แต่ก็ถูกตัดทอนออกไป ดังนั้น ตัว f ตัวนั้นเป็น Sound Complement ถูกต้องหรือไม่ ? <== ไม่ถูกครับ f ใน it(f) ที่แปลว่า Father ไม่ได้ทำหน้าที่เป็น Sound Complement เพราะมันไม่ได้ไป "เติมเต็ม" ให้ Bi หรือ Triliteral ที่มี f อยู่ในเสียงแต่อย่างใด

it ที่แปลว่า Father เป็น Special case ที่เขียนตัว f แต่ไม่ออกเสียงน่ะครับ ไม่ได้หมายความ f เป็น SC นะครับ

sn-t = sister sn-tw = sisters <-- ผิดครับ ต้องเป็น "snwt" w ต้องอยู่หน้า t ครับไม่ใช่หลัง t เพราะ w ของ Plural ต้องเติมหลัง "รากศัพท์" เท่านั้น ไม่ได้เติมหลัง "คำศัพท์" ดังนั้น snt รากศัพท์คือ sn ต้องเติมหลัง sn เป็น snw แล้วค่อย + t เป็น snwt ครับ

เรื่องเพศและการเติม t "ไม่ใช่สิ่งตายตัว" ครับคุณ xzodic อย่างที่คุณ xzodic ยกตัวอย่างมา มีคำอีกมากมายที่ลงด้วย t แต่ไม่มีเพศที่ชัดเจนเช่น Hwt ที่แปลว่า Enclosure ก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้หมายความว่าเป็นเพศหญิง หรือ xt ที่แปลว่าไม้หรือท่อนไม้ ก็เช่นกันไม่ได้หมายความว่ามันเป็นเพศหญิง เหล่านี้ถือเป็นข้อยกเว้นน่ะครับ

Hieroglyphs มีลูกเล่นและข้อยกเว้นเยอะมากครับ กฏบางกฏไม่สามารถอธิบายหลักการทั้งหมดของ Hieroglyphs ได้ บางครั้ง nfr ยังเป็นตัวบ่งบอกถึงประโยคปฏิเสธโดยที่ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับดี สวยหรืองามเลยก็มีเช่นกัน อีกทั้งเรื่องของประโยคที่ขึ้นด้วย iw หรืออะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย ต้องวิเคราะห์ที่บริบทด้วยจึงจะเข้าใจว่าประโยคนั้นมุ่งความหมายไปในทางใดกันแน่

นี่แค่ Middle Egyptian นะครับ ยังมีอะไรยิบย่อยมากมายมหาศาล จำกันไม่หวาดไม่ไหว ซึ่งในการศึกษาระดับสูงขึ้นไปนั้นยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ผมไม่เคยกล่าวเอาไว้ในบอร์ดแห่งนี้ ซึ่งถือว่า "ลึก" เกินกว่าจะเป็นการศึกษาเพื่อความบันเทิงส่วนบุคคลแล้วครับ ^^

ปล. เรื่อง O34 จริงๆจะบอกว่าเป็น s ก็ได้ครับ แต่ Transliteration ส่วนใหญ่ให้เป็น z มากกว่า และมันเป็นภาพของ Bolt ครับ reader
โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [7 ก.พ. 55 17:47] ( IP A:218.25.32.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   โอ้ว ! มี Special case แบบนี้ด้วยหรือ ?? นี้มันอะไรก้านนนนนนน

ส่วนเรื่อง sn-wt เราพิมพ์มันส์มือไปหน่อยแถมไม่ได้ตรวจทานอีก ขอโทษก๊าบบ เราผิดเอง แต่ทั้งนี้เราเข้าใจการเติมแล้ว ขอบคุณท่านเจ้าบ้านที่ช่วยแก้ไขให้

เห็นท่านเจ้าบ้านกล่าวถึงประโยคที่ไม่ได้มีความหมายเป็นปฎิเสธแต่สามารถสร้างเป็นรูปประโยคปฎิเสธได้ ไม่ทราบว่าท่านเจ้าบ้านพอจะยกตัวอย่างให้ดูหน่อยได้หรือไม่ ?

และขอถามถึงหลักการใช้ อักษรตระกูล z ที่เป็น Determinative และIdeogrems Phonetic ไม่ทราบว่าเราสามารถใช้ในรูปแบบประโยคแบบใดและอย่างไรได้บ้าง ก่อนหน้านี้ท่านเจ้าบ้านเคยกล่าวไว้ว่า

" การออกเสียง Ideograms นั้น เสียงของ Ideograms จะเป็นเสียงๆเดียวกับ Phonetics เลยครับ สรุปคือคุณ Sundown ต้องไปทำความคุ้นเคยกับ Phonetics มาก่อน ทั้ง 2 และ 3 Consonants คือพูดง่ายๆว่าต้องจำได้เลยว่าอักษร Phonetics แต่ละตัวออกเสียงยังไง อักษรตัวนี้ ตอนที่มันทำหน้าที่เป็น Ideograms มันก็จะออกเสียงอย่างนั้นเลยครับ เราจะทราบได้อย่างไรว่าอักษรตัวนี้ทำหน้าที่เป็น Ideograms?? "

" คำตอบคือ ให้สังเกตที่ขีดเส้นตรง 1 ขีดที่ตามหลังอักษรนั้นๆครับ ถ้าอักษรตัวใดมีขีด 1 ขีดตามหลัง เชื่อได้เลย 90% (ไม่เต็ม 100 นะครับ) ว่าเป็น Ideograms แน่ๆ และการออกเสียงก็เหมือนเสียงใน Phonetics เลยครับ "

เช่นคำว่า pr ถ้าตามด้วยขีด 1 ขีดจะแปลว่า "บ้าน" แต่ถ้าอย่าง pr แต่ไม่มีขีดตามหลัง แต่สมมติว่ามี Determinative รูปขา (เหมือนที่ต่อท้ายคำว่า ii i ในคำสาปหน้าบอร์ด) ต่อท้ายคำว่า pr แทน คำว่า pr นี้จะแปลความหมายว่า "การเดินขบวน" แทนครับ ไม่ได้แปลว่า "บ้าน" อีกแล้ว (และไม่ได้มีความหมายอะไรเกี่ยวกับบ้านเลย) ทั้งๆที่อ่านว่า pr เหมือนกัน

อันนี้ที่ท่านเจ้าบ้านเคยยกตัวอย่างให้ดูก่อนหน้านี้ก็พอเข้าใจบ้าง ถ้าไงท่านเจ้าบ้านช่วยลงรูปประโยคเพิ่มให้อีกหน่อยได้หรือเปล่า ( เราหัวช้าอ่ะ 555+ ( สรุปเรามันบัฟฟาโล่เรียกพี่ดี ๆ นี่เอง TT TT ) )

เราอยากเห็นรูปแบบการใช้อักษรตระกูล z อ่ะนะ ไงก็รบกวนด้วย

ขอบคุณล่วงหน้านะ ^ ^
โดย: xzodic [13 ก.พ. 55 7:46] ( IP A:183.89.77.237 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ประโยคที่ไม่ได้มีความหมายเป็นปฎิเสธแต่สามารถสร้างเป็นรูปประโยคปฎิเสธได้ <== อันนี้ผมหมายถึง Particle nfr ครับ หมายความว่า nfr ที่เราเห็นเผินๆแล้วชอบแปลว่า ดี สวย งาม ฯลฯ นั้น บางครั้ง มันอาจจะไม่ได้แปลว่าดี สวย งาม ก็เป็นได้ แต่มันอาจจะเป็นการสื่อถึงการ "ปฏิเสธ" แทน

รูปแบบของ Particle nfr ที่ทำหน้าที่เสมือน not นั้นปรากฏไม่บ่อย ใน Middle Egyptian Texts ส่วนมากปรากฏใน 3 กรณีคือ

1. nfr pw X แปลว่า "There is no X at all" (X หมายถึง คำใดๆก็ตาม) จะสังเกตว่า nfr ไม่ได้แปลว่า ดี สวย งาม เลย
2. nfr n แปลว่า not, that not เป็นรูปแบบปฏิเสธที่พบใน Old Egyptian Texts.
3. nfr A แปลว่า not at all, not even
ผมไม่ลงลึกในไวยากรณ์แล้วกันนะครับ ประเด็นคือแค่จะบอกว่า nfr ไม่ได้หมายความว่าสวย ดี งาม เสมอไปเท่านั้นเอง

ผมไม่เข้าใจคำว่า "อักษรตระกูล z" น่ะครับ หมายความว่ายังไงหรือครับ?

แต่ s กับ z ผมอยากใช้คำว่ามัน "Interchangeable" ครับคุณ xzodic s ที่เป็น Suffix Pronoun แปลว่า her นั้น สามารถใช้ z แทนได้ ความหมายเดียวกัน และ transliteration ก็อาจจะเขียนว่า s ได้ (ทั้งๆที่เป็น z Bolt) แต่ในหนังสือสอน Hieroglyphs มักใช้ z มากกว่าเท่านั้นเองครับ ซึ่งจะใช้ s หรือ z ก็อย่าเอามาเป็นประเด็นเลยครับ มันหยวนๆได้

ส่วนเรื่อง pr (Ideogram) และ pr (Phonetic) นั้น ดูจากภาพที่แนบมาด้วยด้านล่างแล้วกันนะครับ

ภาพบนจะเห็นว่า pr มี 1 ขีดตามมา แสดงว่ามันทำหน้าที่เป็น Idoegram หมายถึง "กรอบสี่เหลี่ยม" ซึ่งเข้าใจว่าเป็น "บ้าน" (ซึ่งก็หมายความว่ารูปสื่อถึงอะไร ก็แปลว่าอย่างนั้น) แต่ภาพล่าง pr ตามด้วย r และรูปขา แบบนี้ จะเห็นว่าไม่มีขีด 1 ขีด แสดงว่า pr ไม่ได้ทำหน้าที่เป็น Idoegram แต่เป็น Phonetic และ r เป็น Sound Complement (เข้าใจเรื่อง SC แล้วใช่ไหมครับ) ส่วน ขา (D54) เป็น Determinative ว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ซึ่งคำนี้แปลว่า "เดินขบวน หรือ ออกมา" อะไรแนวๆนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีความหมายไปในทางที่เกี่ยวกับ "บ้าน" แต่อย่างใดครับ

ถ้ายังงงๆ ก็มาถามเพิ่มได้นะครับ ^^

โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [13 ก.พ. 55 17:08] ( IP A:182.53.207.239 X: )


คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน