Gebel El-silsila ...Sacred Quarries
    หลายคนอาจงงกับชื่อ เเต่ไม่ว่าจะงงเพราะประโยคต่อท้ายหรือจะงงเพราะเเปลไม่ออก เอาเปงว่าผมจะอธิบายให้ฟังคับ
กระทู้นี้อาจต่างจากที่ผมเคยเขียนมาเพราะจะเป็นเพียงการอธิบายเกริ่นๆเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่มีความรู้นี้จะอยู่ในมือของผู้ที่ใฝ่รู้เเละขวนขวายจริงๆ
โอเคคับอย่าให้เสียบรรทัดเเละฟอนท์ไปโดนสิ้นเปลือง

Gebel El silsila ,Gebel Silsileh(เเปลว่าmountain of chain)
หรือในภาษาอียิปต์เรียกที่เเห่งนี้ว่าKheny(The Place of Rowing)

ที่นี่เป็นเหมืองหินทรายที่สำคัญเเห่งหนึ่ง โดยตั้งอยู่ทางเหนือของอัสวาน เริ่มใช้งานในสมัยราชวงศ์ที่18จนกระทั่งยุคเกรโก-โรมัน
รวมถึงที่นี่ยังเป็นเเหล่งที่สำคัญในการผลิตทาลาทัต(talatats)ซึ่งมีส่วนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสมัยอมานา
ส่วนสาเหตุที่ผมตั้งฉายามันว่าSacred quarriesก็มาจากการใช้งานที่เป็นทั้งเเหล่งทำเหมืองเเละวิหารในสมัยอาณาจักรใหม่ ดังที่เห็นในรูป
ซึ่งประกอบด้วยวิหารเเบบเจาะผาของRamses II merenptah Ramses III เเม้เเต่ฮัตเชปซุต

สุดท้ายนี้เเหล่งที่จะพบข้อมูลได้เเน่นอนคับในเนตคงหากันไม่ยาก
ส่วนหนังสือก็เเทบไม่มีจะมีก็เเต่หนังสือDescription de legypte(ซึ่งไม่น่าจะมีในไทย... เเล้วจะพูดไมฟระ)
สุดท้ายรวมรูปประกอบคับ สักเกตรูปบนจะเห็นว่ามีพวกนักขุด เจาะเข้าไปในส่วนของเเท่นบูชาเพื่อเอาของด้านใน

โดย: imsety [23 ต.ค. 52 22:25] ( IP A:61.90.104.187 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ขอบคุณคุงimsetyนะคะที่นำข้อมูลดีๆมาบอก ว๊าววว Gebel El-silsila 2 in 1 เลยนะคะเนี้ยะ เป็นทั้งเหมืองหินทรายและวิหาร. ตอนแรกที่เข้ามาก็งงกับชื่อและคำต่อท้ายอย่างที่คุงimsityได้เกริ่นไว้ตอนต้นจริงๆด้วย แต่พอเริ่มอ่านมาเรื่อยๆก็เริ่มกระจ่างแล้วว่า Gebel El-silsila ก็คือเหมือนหินนั้นเอง และต่อมาที่คุงimsetyเติมท้ายว่าSacred quarries ก็เพราะมันเป็นวิหารด้วยนั้นเอง แตก็มิได้หยุดความงงไว้เพียงเท่านั้น แต่ยังงงกับคำว่าทาลาทัต(มันคืออารายหว่า??? แอบนึกว่ามันจะเหมือนโทรทัศรึป่าวน้ออ อิอิ)อีกด้วย และไม่รอช้าจึงได้เข้าไปหาข้อมูลจากท่านอาจาร์กรู(Googleอ่ะเจ้าค่ะ แห่ะๆ)และก็ได้รู้ว่าแท้จริงนั้นทาลาทัตมันก็คือหินบร็อกที่มีขนาดเท่าๆกันนั้นเอง แต่เอ่???แล้วทำไมเหมืองหินถึงกลายมาเป็นวิหารด้วยล่ะคะ

https://www.se-ed.com/eShop/Products/Detail.aspx?CategoryId=0&No=9780439745376

ลิงค์ทาลาทัตค่ะ https://images.google.co.th/imgres?imgurl=https://www.mfa.org/egypt/amarna/sift_talatat/talatat.gif&imgrefurl=https://www.mfa.org/egypt/amarna/sift_talatat/sift_talatat.html&usg=__Ogq7zkSwYUyhK3Nz4qQXunaxUY8=&h=300&w=435&sz=24&hl=th&start=2&um=1&tbnid=StH2yR43ahbJOM:&tbnh=87&tbnw=126&prev=/images%3Fq%3Dtalatat%26hl%3Dth%26rlz%3D1T4RNWN_enTH329TH330%26um%3D1
โดย: Nukhel [25 ต.ค. 52 1:03] ( IP A:203.144.153.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   อืมมมันก็มาจากตำนานของเขาน่ะคับซึ่งไม่เเน่ใจว่าคืออะไรเพราะเเหล่งที่ไปค้นมาไม่ได้กล่าวไว้
โดย: imsety [25 ต.ค. 52 9:09] ( IP A:58.9.34.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ครับ พอดีผมไปอ่านๆมาจากตำราหลากหลายเล่มที่บ้าน ก็จะเอารายละเอียดมาเล่าสู่กันฟังแล้วกันนะครับ ส่วนรูป หายากหน่อย ลองใช้ Google และความสามารถส่วนตัวดูครับ

Gebel El-Silsila นอกจากจะเป็นเหมืองหินทรายที่สำคัญในการสร้างอนุสาวรีย์ของชาวอียิปต์โบราณตั้งแต่ยุค New Kingdom ถึงกรีก-โรมันแล้ว ก็ยังมีการสร้างวิหารบูชาเทพเจ้าในบริเวณนี้ด้วย ตามที่คุณ Imseti ว่ามาด้านบนน่ะครับ

Speos of Horemheb เป็นส่วนนึงที่ผมอยากเสริมครับ เท่าที่อ่านมา พบว่า Speos นี้สร้างเพื่อบูชาเทพเจ้า 7 พระองค์ ซึ่งได้มีการยกย่องตัว Horemheb เองให้เป็นเทพเจ้าด้วย มองไปมองมา ก็ดูคล้ายๆกับ Temple of Osiris ที่ Abydos ของฟาโรห์ Sety I นะครับ ที่มีการสร้างวิหารบูชาเทพเจ้า 7 องค์โดยยกตัวเองเทียบชั้นเทพเจ้าด้วย แต่ไม่มีหลักฐานบอกชัดครับว่า Sety I ลอกเลียนความคิดนี้ไปหรือเปล่า??

เทพเจ้าทั้ง 7 ที่ Horemheb บูชาคือ Amun Mut Khonsu Sobek Taweret (และอาจจะ Khnum รวมทั้งตัว Horemheb เองด้วย) ซึ่งวิหารที่สร้างนี้ใช้พื้นที่ของเหมืองหินทรายเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วในการสร้างครับ

นอกจาก Speos of Horemheb แล้ว ในบริเวณ Gebel el-Silsila ด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำ มีการพบ "สุสาน" ในสมัย Predynastic ของอียิปต์ด้วยครับ นับว่าแปลกทีเดียวที่สร้างไว้ฝั่งตะวันออก แต่ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสุสานที่นี่มากนักครับ

ในช่วงราชวงศ์ Ramses ก็ได้มีการจารึกถึงฟาโรห์ Ramses II รวมทั้งมเหสีนาม Isetnofret I กำลังบูชาเทพ Ptah ด้วยครับ ในภาพยังประกอบไปด้วยโอรสและธิดาของ Ramses II อาทิเช่น Bintanath I Merenptah และ Khaemwaset อีกด้วย

นอกเหนือไปจากนั้นยังพบศิลาขนาดใหญ่ของฟาโรห์ Sheshonq I ในบริเวณนี้ด้วยครับ

นับได้ว่า Gebel el-Silsila เป็นเหมืองหินทรายและแหล่งบูชาเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจไม่แพ้ที่อื่นๆเลยครับ แต่น่าเสียดายที่แหล่งข้อมูลน้อยมากๆ และไม่เคยปรากฏในสถานที่ท่องเที่ยวของทัวร์ไหนเลย ก็ไม่แปลกครับ เพราะว่าถึงมันจะน่าสนใจ (ในสายตาของเรา) แต่มันก็น่าสนใจน้อยกว่าที่อื่นๆ (ในสายตาคนทั่วไป) กระมังครับ

ใครมีข้อมูลอื่นๆมาเสริม ก็เชิญเต็มที่ครับ smile
โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [28 ต.ค. 52 22:35] ( IP A:112.142.92.212 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เคยเห็นะครับ ในสารคดีของ discovery บอกว่า ใน gerbel el sisila
เป็นที่แสวงบุญของนักบวชในยุคปลาย และยังมีวิหารของ senmut
(สถาปนิกของ hatshepsut ไงครับ) เพราะมีชื่อของเขาในตำแหน่ง
"ผู้ดูแลยุ้งข้าวแห่งอมุน","ผุ้ดูแลนาข้าวแห่งอมุน"เท่าที่จำได้ครับ
โดย: tumtumza@hotmail.com [20 พ.ย. 54 14:34] ( IP A:115.87.226.131 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ครับ Hatshepsut เคยมีบัญชาให้ Senmut สร้างสถูปหรือ Cenotaph เอาไว้ที่ Gebel El-Silsila ด้วย แต่ความโดดเด่นของ Gebel El-Silsila ส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นของเหมืองหินทรายและวิหารบูชาเทพเจ้าของฟาโรห์องค์ต่างๆเสียมากกว่าน่ะครับ book

ภาพด้านล่างนี้เป็นอักขระที่จารึกเอาไว้ด้านบนประตูของ Cenotaph ของ Senmut ครับ ^^

https://fathom.lib.uchicago.edu/1/777777190131/3725_hatshepsut7.jpg
โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [20 พ.ย. 54 16:53] ( IP A:101.109.136.4 X: )


คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน