ทำไมฟาโรห์ชาวนูเบียที่ปกครองอียิปต์ถึงต้องสร้างพีระมิดไว้ที่นูเบีย
|
ความคิดเห็นที่ 1 มันก็เหมือนกับว่าฟาโรห์ Tuthmosis III ที่ปกครองอียิปต์ได้กว้างไกล แผ่ขยายออกไปยังดินแดนต่างๆทั้งเหนือและใต้ตามแผนที่ในภาพด้านล่าง
https://media.web.britannica.com/eb-media/02/106602-004-8C9D782A.gif
ทำไมพระองค์ถึงมาสร้างสุสาน KV34 ของพระองค์ในหุบผากษัตริย์ที่ Thebes ล่ะ?
นั่นก็คงจะมีหลายสาเหตุ เพราะนครหลวงอยู่ที่ Thebes พระราชวังก็อยู่ที่ Thebes และฟาโรห์องค์ก่อนหน้าก็ฝังพระศพไว้ที่ Thebes ทำให้พระองค์ก็ทำตามธรรมเนียมราชประเพณีดั้งเดิมด้วยการฝังพระศพไว้ที่ Thebes ใน King's Valley
การปกครองอียิปต์ของชาวนูเบีย ก็เป็นเสมือนการเข้าครอบครองเฉยๆน่ะครับ นครหลวงหลักถึงแม้จะมีการมาสร้างที่ Memphis ด้วย แต่นครหลวงหลักของนูเบียก็ยังอยู่ที่ Napata และ Meroë ใน Nubia อยู่ดีครับ ไม่ต่างจากที่ Tuthmosis III ขยายดินแดนออกไปมากมาย แต่สุดท้ายพระองค์ก็ฝังร่างเอาไว้ใน Thebes
พีระมิดใน Nubia มีมากมายร่วม 200 องค์เลยครับ นครหลักๆที่ฟาโรห์ชาวนูเบียสร้างพีระมิดก็คือ Meroë, el-Kurru และ Nuri โดยที่จะมีรูปทรงสูงกว่าพีระมิดที่อียิปต์ครับ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [1 ม.ค. 55 11:49] ( IP A:124.122.136.83 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ขอตัวอย่างภาพของพีระมิดที่ฟาโรห์นูเบียสร้างขึ้น ขอเป็น link. ไกด์ | โดย: Rakphong [2 ม.ค. 55 1:04] ( IP A:1.46.213.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ก็ได้นะครับ | โดย: Rakphong [2 ม.ค. 55 1:05] ( IP A:1.46.213.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 แต่ว่าที่ผมพบมาว่า meroe มีพีระมิดเยอะกว่าที่ nuri และ el-kugur (ดูจากแผนที่) อยากรู้ครับว่า พีระมิดใน nubia นั้นแตกๆหักๆ มาจากกาลเวลาที่เปลี่ยนไปหรือ ฝีมือของชาวเอธิโอเปียกันแน่? | โดย: tumtum [3 เม.ย. 55 20:02] ( IP A:171.97.23.156 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 พี่ว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากโครงสร้างของตัวพีระมิดเอง ที่มีความลาดชันที่ประมาณ 70 องศา กับฐานที่แคบกว่าพีระมิดที่กีซ่า จึงทำให้ความมั่นคงแข็งแรงน่าจะน้อยกว่า... อีกอย่างนึงพิระมิดที่นูเบียสร้างจากหินทรายซึ่งน่าจะมีความแข็งแกร่งน้อยกว่าหินปูนที่เป็นวัสดุหลักในการสร้างพีระมิดที่กีซ่า... | โดย: Red Berry [3 เม.ย. 55 20:35] ( IP A:183.89.34.43 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ก็อาจจะเป็นไปได้นะครับ แต่มาดูโครงสร้างภายในของพีระมิดนูเบียนะครับ
https://www.touregypt.net/featurestories/nubiapyramids.htm
ในรูปจะเห็นได้ว่าโครงสร้างของมันสูงเหมือนกรวย และมีไพลอนอยู่ด้านหน้าเหมือนวิหารของอียิปต์ แต่สุสานจะขุดลึกกว่าและมักจะฝังพร้อมสมบัติด้วย (ราชินีของnubia เองก็สร้างพีระมิดเช่นกัน) ส่วนวิธีการสร้างยังคงเป็นปริศนาอยู่ครับ^^ | โดย: tumtum [3 เม.ย. 55 20:43] ( IP A:171.97.23.156 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 มีอีกอันที่กล่าวว่ายอดของพีระมิดที่นูเบียถูกทำลายโดย Giuseppe Ferlini ชาวอิตาลี ที่หวังหาสมบัติในปีค.ศ. 1834 เลยทำลายยอดของพีระมิดไปมากถึง 40 องค์ (แต่พี่ก็ไม่ทราบว่าจริงเท็จประการใด ต้องรอท่านเจ้าบ้านมา confirm อีกที 555)
https://www.bibliotecapleyades.net/piramides/coppens_pyramids02.htm | โดย: Red Berry [3 เม.ย. 55 21:09] ( IP A:183.89.34.43 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ผมคิดว่าในทางโบราณคดีแล้ว เรื่องพวกนี้ไม่เหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ที่จะมี "คำตอบเดียว" นะครับ
เราไม่อาจปฏิเสธเรื่องการสึกกร่อนตามกาลเวลาได้เลย เพราะโบราณสถานทุกแห่งต้องพังทลายลงไปตามกาลเวลา เป็นเรื่องปกติครับ
ส่วนอีกหนึ่งความเป็นไปได้ก็อย่างที่คุณ Red Berry ว่ามาครับ มีการค้นหาสมบัติโดย Giuseppe Ferlini ที่มาทำลายยอดพีระมิดของ Meroë ไปอีกร่วม 40 แห่งเพื่อหาสมบัติด้วย
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงครับ เริ่มต้นที่ Ferlini ค้นพบสมบัติจำพวกทองคำ แหวนและเครื่องประดับต่างๆจากสุสานของราชินี Amanishakhto ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ 100BC ประเด็นคือเขาเจอสมบัติพวกนี้ซุกซ่อนอยู่ในห้องลับด้านบนของยอดพีระมิดน่ะครับ (พอจะเดาเหตุการณ์ต่อไปได้แล้วใช่ไหมครับ) นั่นจึงนำมาสู่การทลายยอดพีระมิดเพื่อหาสมบัติอย่างจริงจัง แต่หารู้ไม่ว่าจริงๆแล้วสมบัติส่วนใหญ่ฝังไว้ในห้องใต้ดินมากกว่าครับ
ในช่วงประมาณ ค.ศ. 350 ชาวเอธิโอเปีย แห่งอาณาจักร Askum ก็บุกเข้ามาทำให้ชาว Nubia ต้องละทิ้งนคร Meroë แต่เท่าที่ทราบก็ไม่ได้มีแหล่งข้อมูลไหนบอกอย่างชัดเจนว่าพวกเขาทำลายพีระมิดของชาว Nubia ลงไปด้วยนะครับ
นั่นคือในทางโบราณคดี ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าพีระมิดร่วม 220 แห่งของชาวนูเบียจะพังลงด้วยสาเหตุเพียงหนึ่งเดียวนะครับ แต่ควรจะเป็นหลายสาเหตุประกอบกันอย่างที่ทุกๆท่านนำข้อมูลมาแชร์กันนั่นแหละครับ ^^ | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [3 เม.ย. 55 23:09] ( IP A:125.27.7.165 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมค่ะ ^ ^ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าสิ่งก่อสร้างโบราณส่วนใหญ่มักพบชะตากรรมคล้าย ๆ กัน ไหนจะต้องผ่านภัยธรรมชาติ และด้วยน้ำมือมนุษย์กันเองนี่แหละ | โดย: Red Berry [3 เม.ย. 55 23:45] ( IP A:183.89.34.43 X: ) |  |
|