ความคิดเห็นที่ 1 ก๊าก คุณวนาลี ใจตรงกันเลย อิฉันว่าจะเปิดกระทู้ใหม่แล้วเปลี่ยนใจ ถือโอกาสคุณวนาลีไปเตรียมคำบรรยายเข้าโจมตีกระทู้ซะเลย พอดีไปอ่านเจอเรื่องนี้มา พวกเราเป็นกันหลายคนค่ะ โดยเฉพาะพี่เจี๊ยบแล้วติดต่อมายังอิฉัน อิอิ เลยนำมาฝากค่ะ
Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ผู้บันทึก: admin on 21 มิ.ย. 2004 - 12:46 pm โดย....น.พ.วิทยา พยัคฆพันธ์ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ ร.พ.Brunswick
CTS เป็นโรคซึ่งพบบ่อยมากโรคหนึ่งในคนอายุกลางคนถึงคนสูงอายุ โรคนี้เิกิดขึ้นเพราะเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกด ทำให้มีอาการ ปวด ชา และอ่อนกำลังที่มือ โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่ิเนิ่น ๆ ก่อน 6 เดือนจะหายขาดได้
สาเหตุ 1. จากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปีเช่นการใช้พิมพ์ดีด, keyboard, ห่อของในโรงงาน ฯลฯ 2. จากอุปัตวเหตุ ทำให้ข้อมือช้ำ กระดูกหัก ข้ออักเสบ 3. โรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน Rheumatoid ต่อมไทรอยด์ ตั้งครรภ์ มีประจำเดือน เนื้องอกใกล้ ๆ ข้อมือ ฯลฯ
อาการ อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่มือ และมักจะปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน บางครั้งปวดจนตื่นกลางดึก ต้องลุกขึ้นสะบัดมือ สักพักแล้วค่อยทุเลา พอเป็นมากขึ้น จะมีอาการชาที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนัก และกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4-5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา
การวินิจฉัยโรค 1. มีอาการดังกล่าวข้างต้น ไม่มีอาการที่คอ ไหล่ หรือข้อศอก 2. ตรวจเคาะด้านหน้าข้อมือจะเสียวแปร๊ป ๆ 3. งอมือคว่ำค้างไว้ 30 นาที จะมีอาการปวดและชาที่นิ้วมาก 4. X-ray อาจพบสิ่งผิดปกติแถว ๆ ข้อมือ 5. ตรวจไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อ (EMG) และเส้นประสาท (NCV)
การป้องกัน 1. พยายามอย่าใช้ข้อมือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ นานเกินไป เช่นการนับธนบัตรจำนวนมาก (ควรแจกให้เพื่อน ๆ ไปช่วยนัีบบ้าง) คนทำงานบริษัท Insurance ที่ busy มาก ก็ให้ ภรรยาช่วยกด computer แทนเสียบ้าง 2. เวลาใช้เครื่องมือ พยายามใช้มือทั้งมือจับ แทนที่ใช้นิ้วบางนิ้วจับ 3. พยายามใช้มือ ด้วยท่า่ที่ถือข้อมือตรง ไม่งอมาก อาจใช้ที่ดามข้อมือช่วย (Wrist Splint) 4. เปลี่ยนการใช้มือซ้าย-ขวา พักการใช้มือครั้งคราว พยายามลดความกดดันมือเวลาใช้มือ
การรักษา 1. ที่ดามข้อมือ (Wrist Splint) กลางคืน-กลางวัน 2. ทานยาแก้อักเสบ เช่น Motrin, Advil หรือ Aleve 3. Vitamin B6 (ไม่ค่อยจะได้ผล) 4. กายภาพบำบัด 5. ฉีดยา (Cortisone) 6. การผ่าตัด (surgery) ผ่าเส้นผังผืดกดเส้นประสาท โดยการฉีดยาชาที่ข้อมืออาการหายเร็วและได้ผลดีมาก
ที่มา: https://www.thainewyork.com

|