พยาบาลเดนมาร์ก กับพยาบาลไทย
|
ความคิดเห็นที่ 1 | โดย: sweet_dk [12 ก.ค. 52 6:15] ( IP A:118.172.196.209 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ความคิดเห็นไม่ขึ้นน่ะค่ะ..ต้องขอ อภัยน่ะค่ะ...คือนิดไม่แน่ใจน่ะค่ะ ว่ามาตั้งกระทู้ที่นี่เหมาะสมหรือเปล่า..หรือต้องไปตั้งที่ ปรึกษาพาทีฯ ..ถ้าคำถามซ้ำกับที่พี่ๆ ตอบไปแล้ว...ต้องขออภัยอีกครั้งนะคะ.... | โดย: sweet_dk [12 ก.ค. 52 7:07] ( IP A:118.172.196.209 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 มันแล้วแต่นะคะว่าพยาบาลคนนั้นทำงานที่ไหน
หากทำที่วอร์ดต่างๆตาม รพ. ก็รับรองได้ว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะได้กลับบ้านก่อนเวลาเลิกงาน ส่วนมากจะทำงานกันไม่ทัน เพราะคนไข้ล้นวอร์ด ส่วนมากแล้วต้องทำโอทีกันบ่อยๆ
หากทำตาม ambolatorium หากไม่มีคนไข้ เค้าก็อาจจะกลับบ้านกันก่อนเวลาเลิกงาน แต่ก็อีกแหละ โอกาสแบบนั้นจะมีน้อยมาก เพราะส่วนมากคนที่นี่ืเค้าจะกลับบ้านกันตอนเวลาเลิกงานจริงๆ
แต่หากวันไหนคนไข้น้อย เพราะพากันตายไปซะครึ่งวอร์ด หรือส่งต่อไปวอร์ดอื่นๆ ฯลฯ แล้วพยาบาลมาทำงานเยอะมากในวันนั้น (คือหากคนไข้มีครบทุกเตียง มันก็มีงานพอกับจำนวนพยาบาลล่ะ) หัวหน้าวอร์ด หรือรองหัวหน้าก็จะถามว่าใครอยาก afspadsere คือเอาวันหยุดตัวเองออกมาใช้ล่วงหน้า หากใครโอเค ก็ส่งคนนั้นกลับบ้านไป
หรือบางทีก็ใช้วิธีแลกเวร คือให้หยุดวันนั้น แต่ต้องมาทำงานชดใช้วันอื่น แต่บางทีไม่มีใครยอมกลับ เพราะออกจากบ้านมาแล้ว มันเสียเวลานี่หว่า หัวหน้าก็บังคับให้ใครกลับบ้านไม่ได้ แต่ก็จะมานั่งลอยชายคุยกันไม่ได้ มีอะไรพอทำได้ ก็ต้องหามาทำกัน
ที่ตอบมานี่ พี่หวังว่าคงพออธิบายให้น้องคลายข้องใจนะคะ | โดย: พี่นก เดนมาร์ก [13 ก.ค. 52 6:42] ( IP A:80.199.178.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 น้องจะตั้งคำถามที่มุมนี้ หรือที่มุมปรึกษาพาทีฯ ก็ได้ค่ะ แล้วแต่ความสะดวก หากพี่ตอบได้ พี่ก็ตอบทั้งนั้นแหละค่ะ | โดย: nokDK [13 ก.ค. 52 7:21] ( IP A:80.199.178.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ขอบคุณพี่นกมากๆ ค่ะ... นิดว่า นิดถามมุมเดนนิช จะดีกว่าเพราะสะดวกมากกว่า... ..ถ้ามีคำถามมาอีก คงไม่เบื่อกันก่อนนะคะ ....ได้ทุกๆคำตอบแบบนี้ ทำให้นิดเก็บข้อมูลและเตรียมตัว ทั้ง กาย ใจ ก่อนที่จะเริ่มตัดสินใจทำงานค่ะ เพราะอย่างงัยแล้ว ก็ต้อง เรียนภาษาอีกเป็นปี ...ถ้าภาษาของนิดเร็ว ..ก็จะเริ่มสมัครงานและทดลองงาน เพื่อสอบขึ้นทะเบียนของเดนมาร์กให้ได้น่ะค่ะ... ไม่รู้จะยาก ง่าย หรือเปล่านะค่ะ....และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำงานในเมืองโคเปนค่ะ เพราะจะไปอาศัยอยู่ที่นั่นน่ะค่ะ..โรงพยาบาลที่เคยเห็น ก็เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุด ตรงข้ามเป็นโรงเรียนแพทย์..นิดจำชื่อไม่ได้น่ะค่ะ..คนไข้คงเยอะน่าดูเลยนะคะ ..มาเก็บข้อมูลเรื่อยๆค่ะ...ขอบคุณ พี่นก อีกครั้ง นิด | โดย: sweet_dk [13 ก.ค. 52 7:44] ( IP A:118.172.198.224 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 หากนิดได้ไปฝึกงานที่ Rigshospitalet หรือที่คนที่นี่เรียกกันสั้นๆว่า Riget ก็นับว่าน้องโชคดีมากเลย เพราะ รพ. นั้นเป็น รพ. ที่ใหญ่มาก และเป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดของเดนมาร์ก มีหลายวอร์ด หลาย speciale ที่น่าสนใจให้เลือก นอกจากนั้นแล้ว ที่นั่นก็ยังเป็นศูนย์รวมพวกแพทย์ๆหัวกระทิทั้งหลายด้วย ก็มันอยู่ไม่ไกลจาก Panum นี่เนอะ :)
หากไม่ได้ไปฝึกงานที่ Riget ก็ยังมีที่อื่นให้เลือกอีกเยอะแยะไป ลองไปดูที่ลิงค์นี้ https://www.regionh.dk/menu/sundhedOghospitaler/?WBCMODE=Author_bla แล้วน้องจะเห็นว่ามี รพ. อะไรบ้างที่ขึ้นกับ Region Hovedstaden
เวลาเทียบปรับวุฒิ พี่อยากให้น้องเลือก รพ. ที่เค้ามีระบบ mentor เพราะพี่เลี้ยงแบบ mentor นี้จะช่วยอะไรๆน้องได้เยอะ เพราะเค้าจะไม่ใช่แค่พี่เลี้ยงเรื่องวิชาการอย่างเดียว แต่เค้าจะคอยแนะนำน้องในเรื่องอื่นๆที่นอกเหนือจากเรื่องวิชาการ เช่นเรื่องระบบการทำงาน ธรรมเนียมประเพณีของคนที่นี่ การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ฯลฯ แบบที่พี่ๆที่นี่คอยช่วยกันแนะแนวแนะนำทางให้น้องๆที่มาใหม่ไงจ๊ะ
เรื่อง mentor นี้ พี่พอจำได้ว่าพี่อ้อยเคยเขียนถึงไว้ เพราะตอนพี่อ้อยเทียบวุฒิ พี่อ้อยก็ได้เข้าระบบ mentor ซึ่งพี่อ้อยบอกว่าดีมากๆ
พี่ไม่ทราบเรื่องปรับวุฒิว่ายากไหม เพราะพี่มีวุฒิอื่นมาจากเมืองไทย และจากสวีเดน พอย้ายมาอยู่ที่เดนมาร์ก พี่ก็ตั้งต้นเรียนใหม่หมดเลย เริ่มตั้งแต่วุฒิผู้ช่วยพยาบาล แล้วก็เรียนต่อเอาวุฒิพยาบาลอนุปริญญา และตอนนี้ก็กำลังเรียนต่อพยาบาลศาสตร์ ปีหน้าก็จะจบแล้วค่ะ | โดย: nokDK [13 ก.ค. 52 19:02] ( IP A:80.199.178.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 เพิ่มเติมนิดนึงเรื่องมาทำงานแล้วโดนส่งกลับบ้าน
ตอนนี้พี่เรียนไปด้วย ทำงานฟรีแลนซ์ไปด้วย และเคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง พี่ไปขึ้นเวรที่วอร์ดหนึ่ง บังเอิญว่าคนไข้เขาน้อย เค้าไม่จำเป็นต้องมีคนมาช่วย เค้าก็ดูแลกันเองได้
เขาถามพี่ว่าพี่จะกลับบ้านไหม พี่ก็โอเค กลับก็กลับ ขี้เกียจอยู่แบบลอยไปลอยมา แล้วมันไม่ใช่วอร์ดประจำที่เราคุ้นงานมากมายอะไรด้วย แต่ทางวอร์ดเค้าต้องจ่ายให้พี่สี่ชั่วโมงนะคะ บวกเงินพิเศษของวันหยุด ฯลฯ จิปาถะ เค้าต้องจ่ายให้ ถึงแม้ว่าพี่จะมาอยู่ที่วอร์ดแค่สี่สิบห้านาทีเองก็เถอะ
หากพี่เลือกที่จะไม่กลับบ้าน พี่ก็ต้องอยู่ที่วอร์ดแปดชั่วโมงเต็มๆ ตามเวลาขึ้นเวรปกติ ทางวอร์ดไม่มีทางบีบให้พี่กลับบ้านได้ ยกเว้นแต่พี่จะสมัครใจกลับเอง
นี่คือกฏระเบียบข้อตกลงที่มีไว้คุ้มครองลูกจ้างชั่วคราวที่ทางเอเจนซี่ของพี่ได้ทำไว้กับ รพ. ต่างๆ ไม่ทราบว่าเอเจนซี่อื่นเค้าจะมีข้อตกลงแบบนี้ไหม แต่คิดว่าคงมีล่ะค่ะ | โดย: nokDK [13 ก.ค. 52 19:13] ( IP A:80.199.178.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 สวัสดีค่ะหนูนก น้องนิด หนูนิดคะเรื่องจะเข้ามุมไหนหรือจะถามตรงไหนในบ้านพยาบาลพลัดถิ่น คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถามตรงไหนถ้าพี่ๆเข้ามาเจอก็คงพร้อมที่จะให้ข้อมูลในทุกมุมอย่างที่พี่นกบอกแหละคะ เพราะว่าเราเป็นพี่น้องกัน คนไทย ไม่เคยทิ้งกันค่ะ พร้อมที่จะช่วยเหลือกันและเป็นกำลังใจให้กันและกันเสมอค่ะ พี่เองระยะนี้นานๆก็แวะเข้ามาบ้านพลัดถิ่นที ก็เลยมีโอกาสเห็นคำถามน้องๆช้าอยู่เสมอ แต่มาช้าดีกว่าไม่มาเน๊าะ สำหรับพี่นกนั้น พี่ว่าแกคงนอนเฝ้าหน้าประตูบ้านเลยนะเนี่ย เพราะว่าใครเปิดประตูรั้วเข้ามาแกเห็นโม๊ด เป็นพี่ที่ใจดี ให้ข้อมูลน้องๆได้ดีมาก สงสัยต้องขอรางวัลพิเศษจากเจ้าบ้านให้หนูนกนะเนี่ย ว่ายังนก อยากได้อะไร เข็มกลัดลงรักปิดทองฝังเพชร หรือว่าบ้านพร้อมที่ดิน อิ อิ | โดย: พี่อ้อย (jan ) [13 ก.ค. 52 21:49] ( IP A:80.198.35.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 มัวแต่แซวหนูนกเลยลืม เล่าเรื่องพยาบาลในเดนมาร์กให้น้องฟังเลย เอาล่ะมาเริ่มกันดีกว่า..
เรื่องความภาคภูมิใจในวิชาชีพ ในเดนมาร์กทุกคนมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตัวเอง(ตั้งแต่คนทำความสะอาดไปจนถึงนายกรัฐมนตรี ) และพยายามที่จะประกอบอาชีพของตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าทุกอาชีพมีโอกาสโดนร้องเรียน ฟ้องร้อง ถ้าทำผิดพลาด หรือโดนประจานหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ หรือออกทีวี(ประจาน) ได้ตลอดเวลา ทำไมพยาบาลถึงขาดแคลน พี่ว่าอาชีพพยาบาลขาดแคลนเกือบทุกประเทศ แต่ขึ้นอยู่กับประเทศไหนขาดน้อยขาดมาก เมืองไทยยังขาดแคลนพยาบาลเลย ถ้าเทียบจำนวนพยาบาลต่อจำนวนคนไข้ ที่เดนมาร์กขาดแคลนพยาบาลมากในช่วงนี้เพราะ - คนเรียนน้อย เพราะ 1.อย่างที่พี่นกบอก งานเครียด งานหนัก ต้องขึ้นเวร เช้า บ่าย ดึก ค่าตอบแทนไม่ได้สูงมาก ซึ่งเพิ่งมีการประท้วงของสมาคมวิชาชีพพยาบาลเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนพยาบาลเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งหลังจากการประท้วง ก็ปรากฏว่าเงินเดือนพยาบาลได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ย้ำเล็กน้อย แต่เงินเดือนพยาบาลเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นก็ไม่ได้ต่ำจนเกินไป ถ้ารวมกับค่าตอบแทนอื่นๆ เช่น ค่าเวร ค่าทำงานเสาร์ อาทิตย์ ค่าทำงานวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2. จากการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้พบว่า คนหนุ่มสาวชาวเดนมาร์ก นิยมเลือกเรียนอาชีพที่ตัวเองสนใจ น่าท้าท้าย มากกว่าอาชีพที่หางานง่ายอย่างเช่นงานพยาบาล (เพราะถ้าพูดถึงอาชีพพยาบาล คงไม่ใช่อาชีพที่่น่าท้าทายในความรู้สึกของคนหนุ่มสาวชาวเดนส์เท่าไร เพราะก็อย่างที่เรารู้ๆกันว่า งานพยาบาลเป็นงานดูแล ให้บริการ คนไข้ส่วนใหญ่ก็เป็นคนแก่ เชื่องช้า ไม่น่าท้าทาย) - คนเดนมาร์ก อายุยืนมากขึ้น ตายช้า (แต่โรคมาก ) คนหนุ่มสาวแต่งงานหรือมีคู่ครองช้าขึ้น และมีลูกน้อย ทำให้อัตราส่วนระหว่างคนแก่และคนหนุ่มสาวไม่สมดุลย์กัน คนแก่มีมากกว่า ทำให้พบว่าคนที่จะดูแลน้อยกว่าคนที่รอรับการดูแล มันก็เลยขาดแคลน จากที่พี่ประมวลเหตุผลของการขาดแคลนพยาบาลในเดนมาร์ก ก็มีแค่นี้ แต่ตอนนี้เริ่มมีกระแสพยาบาลต่างชาติไหลเข้ามาในเดนมาร์กมากขึ้นมาก และจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้คนที่โดนไล่ออกจากงาน หันมาเรียนเพื่อทำงานเป็นบุคคลากรทางสาธารณสุขมากขึ้น ในปัจจุบันพบว่างานพยาบาลเริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น ไม่ได้เป็นอาชีพของตายที่หางานง่ายเหมือนแต่ก่อน.. | โดย: พี่อ้อย (jan ) [13 ก.ค. 52 22:34] ( IP A:80.198.35.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 สำหรับเรื่องโรงพยาบาลนั้น ในโคเปนฯ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่โต แต่มีโรงพยาบาลของรัฐฯ รายล้อมในระยะห่างกันไม่กี่กิโลเมตรมากมาย เช่น Rigshospitalet Hvidovre hospital Herlev hospital Frederikberg hospital Amager hospital Gentofte hospital Glostrup hospital Bispebjerg hospital
รวมทั้งมีโรงพยาบาลเอกชน ส่วนหนึ่ง ซึ่งพี่ไม่ค่อยทราบข้อมูลโรงพยาบาลเอกชนมากนัก ซึ่งในปัจจุบัน แต่ละโรงพยาบาลของรัฐฯจะมี Specialist ในสาขาที่แตกต่างกันไป เพื่อที่คนไข้จะได้ไม่มากระจุกรวมอยู่ในโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่งที่เดียว ฉะนั้นโรงพยาบาล Rigs ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่า โรงพยาบาล Rigs มีแพทย์เฉพาะทางรวมอยู่ทั้งหมด จะแบ่งๆกันไป เช่น ถ้าเฉพาะทางด้านตา ก็ต้องไปโรงพยาบาล Glostrup แผนกตาที่โรงพยาบาล Rígs เป็นเพียงสาขา ถ้าเฉพาะทางด้านโรงผิวหนัง ก็ต้องไปที่โรงพยาบาล Bispebjerg โรงพยาบาลอื่นที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเป็นเพียงสาขา ฯลฯ ฉะนั้นไม่ว่าโรงพยาบาลไหน ก็จะมี Specialist โดดเด่นเป็นของตัวเอง แต่พี่จำไม่ได้ทั้งหมดว่าโรงพยาบาลไหน มีแพทย์เฉพาะทาง หรือแผนกเฉพาะทางใดบ้าง ซึ่งระบบนี้เพิ่งเริ่มเมื่อปีที่แล้ว แต่ละโรงพยาบาลมีศักดิ์ศรี เท่ากัน ไม่มีใครขึ้นกับใคร ทุกโรงพยาบาลมีความโดดเด่นเป็นของตัวเอง ความทันสมัยไม่ได้แตกต่างกันมากนัก สำหรับพี่ พี่คิดว่าการที่เราจะฝึกงานที่โรงพยาบาล จะโชคดีหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นกับโรงพยาบาลที่เราไปฝึก พี่คิดว่าขึ้นอยู่กับเพื่อนร่วมงาน พยาบาลพี่เลี้ยง มากกว่า สำหรับวันนี้แค่นี้ก่อนนะคะ แล้วพี่จะมาเล่าให้ฟังต่อวันหลังนะคะ | โดย: พี่อ้อย (jan ) [13 ก.ค. 52 23:22] ( IP A:80.198.35.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 โหหห...วันนี้มาเก็บความรู้ได้เยอะมากๆจากพี่นกและพี่อ้อยด้วย... รู้สึกดีจริงๆค่ะ อย่างที่พี่บอกน่ะค่ะ คนไทยเหมือนกันอยู่ที่ไหนก็รู้สึกอบอุ่น.. ..ช่วงแรก ที่นิดอ่านกระทู้ต่างๆของพยาบาลที่ทำงานที่ต่างประเทศ มีทั้งคนที่ประสบการณ์ดี และ ไม่ดี มาแชร์กัน นิดก็รู้สึกท้อๆบ้างน่ะค่ะ ว่าเราจะไปทำงานบ้านเค้าได้ดีหรือเปล่า.... ..แต่วิชาชีพของเรา..ถ้าเราจนเต็มสุดความสามารถและใจรัก..เราก็น่าจะประสบความสำเร็จได้...และนิดก็คิดว่าในเมื่อเราจะไปอาศัยเค้าอยู่...เค้าขาดแคลนอาชีพนี้..เราก็ควรที่จะช่วยเหลือเค้าด้วย .. ..มารอฟังพี่ๆต่อนะคะ... nid | โดย: sweet_dk [14 ก.ค. 52 10:29] ( IP A:118.172.199.9 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 พี่อ้อย ก็นกบ่จี๊ ไม่มีปัญญาบินไปสังสรรค์ด้วย ก็เลยอาศัยมาดักเจอพี่ๆน้องๆชาวพยาบาลพลัดถิ่นแถวๆนี้แหละ ^ ^
ตบยุงคอยพี่จนตัวลาย แต่ก็คุ้มค่า เพราะในที่สุดพี่อ้อยก็หานกจนเจอ อิอิ
น้องนิด เก็บข้อมูลจากพี่อ้อยเลยนะคะ เพราะพี่อ้อยแกพยายม..เอ๊ย พยาบาลเมืองหลวงค่ะ ส่วนพี่น่ะอยู่นอกโคเปนออกมาหน่อย แต่ก็ปฏิเสธเสียงแข็งและคอเป็นเอ็นเลยว่าไม่ใช่บ้านนอกนะ (แต่แถวๆบ้านพอเดินออกไปหน่อยก็มีทุ่งนา คอกวัว และคอกม้าให้ตรึมเลย ฮ่าฮ่า)
พี่รู้จัก รพ. ในเมืองหลวงก็จากข้อมูลที่อ่านมา แต่พี่อ้อยแกรู้จากประสบการณ์ฝึกงานและทำงานที่ รพ. ย่านเมืองหลวง มีอะไรข้องใจ สงสัย ก็เขียนถามมาได้ พี่อ้อยกับพี่จะช่วยกันตอบค่ะ | โดย: nokDK [14 ก.ค. 52 17:47] ( IP A:80.199.178.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 การแต่งกายของพยาบาลในเดนมาร์ก พยาบาลจะไม่แต่งชุดฟอร์มพยาบาลไปจากบ้านหรือที่พัก ไม่ว่าจะทำงานอยู่แผนกไหน ต้องใส่ชุดธรรมดาออกจากบ้านแล้วจึงไปเปลี่ยนฟอร์มที่โรงพยาบาล ทุกโรงพยาบาลจะมีแผนกชุดฟอร์ม ซึ่งวันไปทำงานวันแรกเราต้องไปวัดตัวชุดฟอร์ม ไซด์ฟอร์มก็จะมีไซด์ทั่วๆไปคือ S M L XL XXL ถ้ามีคนตัวเล็กมากๆกว่า size S ก็อาจจะตัดให้พอดีตัวให้เป็นกรณีพิเศษ หรือถ้ามีใครใหญ่เกิน size XXL ก็อาจจะได้รับการตัดให้เป็นกรณีพิเศษเช่นกัน ส่วนใหญ่ทั่วๆไป พยาบาลก็จะมีขนาดไม่เกิน 4 ขนาดที่มีอยู่ ฟอร์มเป็นฟอร์มสีขาวทั้งตัวและมีสองแบบ แบบเป็นชุดกระโปรง กับแบบที่เป็นเสื้อกับกางเกง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าอยากได้แบบไหน หรือจะเลือกทั้งสองแบบเลยก็ได้ ฟอร์มพยาบาลที่เดนมาร์กจะไม่มีหมวก รองเท้า จะเป็นรองเท้าสาน หรือ รองเท้าธรรมดาก็ได้ ถุงเท้าจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ชุดฟอร์มของทุกคนก็จะมีชื่อตัวเองแปะอยู่ที่เสื้อและกางเกง หรือที่ชุดกระโปรง หลังจากไปวัดขนาดแบบฟอร์มพยาบาลแล้ว เราก็จะได้รับกุญแจ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ซึ่งในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก็จะมีตู้ใส่ของประจำตัวเรา ซึ่งเราจะต้องหากุญแจมาล็อคตู้เอง หรือบางที่ก็จะมีล็อคให้เลย ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ก็จะมีบล็อคเสื้อผ้าเรา ซึ่งมีซื่อเราติดอยู่ ทุกคนมีชื่อติดอยู่ บล็อคใครบล็อคมัน ทุกโรงพยาบาลจะมีแผนกซักรีดให้ เราไม่ซัก รีดเอง เสื้อผ้าที่ซักรีดแล้วเจ้าหน้าที่แผนกห้องผ้า ก็จะพับมากองไว้ที่บล็อคใครบล็อคมัน ฉะนั้นชุดฟอร์มของพยาบาลทุกคนก็มีรอยพับเวลาใส่ ไม่เรียบเหมือนที่เรารีดเอง แต่ใส่ไปใส่มาเราก็ชินไปเอง ก่อนขึ้นเวรเราก็มาเปลี่ยนชุดฟอร์มที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า หลังจากลงเวรเราก็เปลี่ยนชุดฟอร์มออก และใส่ลงไปในถุงผ้าที่จะนำไปซัก เปลี่ยนชุดธรรมดาของตัวเองที่ใส่มากลับ ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก็ห้องน้ำและห้องอาบน้ำ เพราะมีหลายคนที่ปั่นจักรยานมาทำงาน แล้วเหงื่อออกมาก ต้องอาบน้ำก่อนเปลี่ยนเสื้อผ้า ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก็จะโล่ง เวลาเปลี่ยนเสื้อผ้าก็ถอดหน้าตู้ตัวเองเลย เหลือแต่ชุดชั้นในแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นชุดฟอร์ม แรกๆพี่ก็อายเหมือนกัน นานๆไปก็ชินไปเอง แต่พี่ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนที่เปลี่ยนเสื้อผ้าเร็วที่สุด (ก็เป็นเพราะความอาย ก็เลยรีบๆเปลี่ยน ก็เลยเร็วกว่าเพื่อน..) เพื่อนพยาบาลบางคนเวลาถอดเสื้อผ้าตัวเองเสร็จไม่ได้รีบใส่แบบฟอร์ม เดินไปหยิบโน่นหยิบนี่เฉยเลย เพราะว่าเค้าเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดานั่นเอง และห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก็แยกผู้หญิง ผู้ชาย จึงไม่ต้องกลัวว่ามีผู้ชายมาแอบมอง
| โดย: พี่อ้อย [17 ก.ค. 52 3:13] ( IP A:80.198.35.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 มาช่วยเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องเครื่องแบบค่ะ
ชุดเครื่องแบบพยาบาลนั้น ไม่ได้มีแต่สีขาวอย่างเดียว แต่มีสารพัดสี ทั้งสีฟ้า สีเขียว สีม่วง ฯลฯ แล้วแต่ว่าทางวอร์ดเค้าจะมีความคิดสร้างสรรค์มากมายแค่ไหน
ที่เคยเห็นมา พยาบาลวอร์ดศัลย์กระดูก ใส่ชุดเครื่องแบบเสื้อเบลาส์แขนสั้น-กางเกงขายาวสีน้ำเงิน ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดกระโปรง (คาดว่าคงเพราะมันรุ่มร่าม ทำงานไม่ถนัดมั้ง..)
พยาบาลวอร์ดเด็ก ใส่เครื่องแบบสีลูกกวาดเลย มีให้เลือกหลายสีจริงๆ จะเลือกใส่สีใดก้ได้ ตามใจชอบ แต่!! ห้ามใส่ชุดขาวเป็นเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะว่าพวกแล็บที่มาเจาะเลือดจะใส่ชุดขาว เค้าไม่อยากให้เด็กกลัวพยาบาล ก็เลยใช้วิธีแยกสีเคื่องแบบให้มันแตกต่างจากพวกแล็บไปเสียเลย
พยาบาลห้องผ่าตัด นี่ก็สร้างสรรค์มาก ใส่ชุดสีเขียว ไปไหนมาไหนใครก็รู้ว่าอยู่วอร์ดชำแหละ ไม่ต้องเล็งอ่านป้ายกันให้เมื่อยสายตา ;)
ไปขึ้นเวรฟรีแลนซ์มาหลายที่ สังเกตได้ว่าพวกทำงานรักษาพยาบาลส่วนใหญ่จะชอบใส่ชุดเครื่องแบบที่เป็นเสื้อเบลาส์กับกางเกง มีน้อยรายที่จะเลือกใส่ชุดกระโปรง ส่วนมากที่เห็น คนที่ชอบใส่ชุดกระโปรงจะเป็นคนอายุมากแล้ว (จริงมั้ย..พี่อ้อย? อิอิอิอิอิ)
ไซส์ชุดกระโปรงนั้น จะแตกต่างนิดนึง คือเค้าจะเป็นขนาดมาตรฐาน เหมือนไซส์เสื้อผ้าทั่วๆไป คือมีจาก 36, 38, 40, 42, 44 แล้วก็มีตัวอักษรพิเศษบอกขนาดรอบอกของเสื้อด้วย เช่น 36 สำหรับคนอกธรรมดา 36B สำหรับคนที่แม่ให้มามากหน่อย หากโน้มน้มมันตูมมากๆ ก็เลือก 36BB ไปเลยค่ะ
ส่วนชุดสื้อ-กางเกงนั้น ก็มีตั้งแต่ XS ให้เลือกเลยค่ะ แล้วไม่ต้องสั่งตัดพิเศษด้วย มันเป็นขนาดประจำ มาตรฐานเลย เพราะคนเดนมาร์กตัวเล็กๆมีถมเถไป
ตอนนี้ทำงานฟรีแลนซ์ ไม่ได้ประจำที่ไหน แต่เค้าก็มีเครื่องแบบตั้งแต่ไซส์ XS ตั้งไว้ให้ยืมใส่ และมีขนาดความยาวของขากางเกงที่แตกต่างหันไป ให้เลือกใส่ได้ตามต้องการ
วิธีดูความยาวของขากางเกง ก็ดูที่สีด้ายที่เค้าเย็บตรงชายกางเกง สีเขียว คือสั้นสุด จากนั้นก็สีฟ้า สีแดง และสีดำเป็นกางเกงที่ขายาวที่สุด
น่ารักจังเลยเนอะ มีการคิดถึงคนที่เท่ากัน แต่สูง-ต่ำไม่เท่ากันด้วยล่ะ...
แต่หากตัวจิ๋วมากจริงๆ เค้าก็วัดตัวตัดให้เลย บริการเยี่ยมยอดมากเลยค่ะ ตัดฟรี ซักฟรี รีดฟรี เราไม่ต้องเดือดร้อนอะไรเลย ^^ | โดย: nokDK [18 ก.ค. 52 7:11] ( IP A:80.199.178.246 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 :)))) มาช้าไปหน่อยค่ะ พี่อ้อย พี่นก อ่านไปยิ้มไปน่ะค่ะ เหมือนกับว่า ตอนนี้ กำลังจะขึ้นวอร์ดที่เดนมาร์กเลยค่ะ อิอิ อ่านไป ยิ้มไป .. ..ขอบคุณพี่ๆนะคะ.. ส่วนมากๆ ทางยุโรป นิดไม่ค่อยเห็นพยาบาลใส่หมวกกันเท่าไหร่ เพื่อนทำงานที่ UK ก็เป็นยูนิฟอร์ม สีฟ้า ไม่เหมือนบ้านเราน่ะค่ะ หมวกไม่มี.. ..มาเก็บความรู้ และประสบการณ์จากพี่ๆทีละเล็กละน้อย ..ดีจังค่ะ ทีนี้ต้องรบกวนถามเกี่ยวกับ การเรียนภาษาของที่นั่นน่ะค่ะ
เวลาเราเริ่มเรียน เราต้องรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีใช่ไหมคะ.. ตอนนี้นิดเข้าคอร์สเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มน่ะค่ะ ..เพราะว่า แย่เรื่องการเขียนและอ่านและพูดด้วย ( ทุกเรื่องเลย) :( จบคอร์สก็กะว่าจะไปเรียนภาษาแดนส์เพิ่มอีก..จำเป็นต้องไปเรียน แดนส์ ไหมคะ พี่ๆ หรือ ว่าแค่เรียนอังกฤษก็พอแล้ว.. ..กลัวว่าเรียนจะช้าไม่ทันเพื่อนๆน่ะค่ะ ..รอคำตอบนะคะ.. | โดย: sweet_dk [24 ก.ค. 52 8:30] ( IP A:118.172.198.241 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 สำหรับพี่คิดว่า ภาษาอังกฤษเราเรียนไว้มากๆก็ไม่เสียหลาย ได้ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารทั่วไป แต่ภาษาสำคัญที่ใช้ในเดนมาร์กคือ ภาษาแดนนิช บางครั้งความรู้ภาษาอังกฤษที่เรามีก็ทำให้เราสับสนในการเรียนภาษาแดนนิชได้ แต่บางครั้งความรู้ด้านภาษาอังกฤษก็มีประโยชน์มากในการเรีียนภาษาแดนส์เหมือนกัน น้องนิดถ้ามีโอกาสเรียนภาษาแดนส์มาก่อนได้ ก็จะมีประโยชน์มาก ทำให้เรียนได้ภาษาได้เร็วขึ้นกว่าคนอื่น
สำหรับข้อมูลทั่วไปของเดนมาร์กภาคภาษาไทย น้องนิดก็เข้าไปดูได้ที่นี่นะคะ https://www.nyidanmark.dk/th-TH/Medborger_i_danmark_th_th/ยินดีต้อนรับพลเมืองใหม่ในเดนมาร์ก.html มีเวลาก็อ่านไว้ก็ดี มีประโยชน์สำหรับเราที่่มาอยู่ใหม่ ทำให้เข้าใจอะไรๆได้ง่ายขึ้น
สำหรับเว็ปนี้จะเป็นการเรียนภาษาแดนส์สำหรับบุคคลากรสาธารณสุขค่ะ https://www.nyidanmark.dk/bibliotek/multimedier/interaktive_ressourcer/2006/laegedansk/index.htm จะมีอธิบายวิธีการเข้าไปคุยกับคนไข้ การซักประวัติ การตรวจร่างกายในระบบต่างๆ และคำถามที่จะใช้ในการซักประวัติ ตรวจร่างกายค่ะ ค่อนข้างจะมีประโยชน์มากสำหรับเราชาวพยาบาล
สำหรับเว็ปเรียนภาษาแดนส์ มีเยอะค่ะ เท่าที่พี่รู้ก็จะมี https://www.nyidanmark.dk/da-dk/Integration/integration_af_nyankomne/online_danskundervisning/danskundervisning_paa_nettet.htm เป็น link ที่รวมเว็ปเรียนภาษาแดนนิช online ส่วนรายละเอียดในแต่ละเว็ป ก็คือเว็ปข้างล่างค่ะ https://www.dansk.nu/
https://danskherognu.dk/Lektioner/Intro/tabid/154/Default.aspx
https://www.nyidanmark.dk/da-dk/Integration/integration_af_nyankomne/online_danskundervisning/dansk_for_voksne/lektion_1.htm
https://ultimatedanish.dk/index.php
https://netdansk.asb.dk/
https://www.nyidanmark.dk/bibliotek/multimedier/interaktive_ressourcer/2007/danmark_til_daglig/index.html
https://www.nyidanmark.dk/bibliotek/multimedier/interaktive_ressourcer/2007/historien_bag_danmark/index_content.html
สำหรับเว็ปนี้จะเป็นดิกชั่นนารี่รูปภาพภาษาแดนนิชค่ะ
https://lexin-billedtema.emu.dk/billedtema/
เรื่องเครื่องแบบ(ต่อ)ค่ะ
สำหรับเรื่องสีเครื่องแบบ เท่าที่พี่เห็นในวอร์ดธรรมดาทั่วๆไป ของโรงพยาบาลในโคเปนฮาเก็นนั้นก็จะใส่สีขาวเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งวอร์ดเด็กค่ะ
ส่วนวอร์ดพิเศษอื่นๆ เช่น ห้องผ่าตัด ไอซียู จิตเวช เป็นต้น ก็จะใส่สีต่างๆกันไป เหมือนที่เมืองไทย ส่วนใหญ่ห้องผ่าตัดก็ใส่สีเขียว ส่วนวอร์ดพิเศษอื่นๆ ก็แล้วแต่ละโรงพยาบาล บุคคลากรในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ก็ใส่ฟอร์มสีขาวเหมือนกัน ตั้งแต่ เวรเปล เจ้าหน้าที่ห้องแล็ป นักกายภาพ พยาบาล ฯลฯ ไปถึงแพทย์ แพทย์กับเวรเปลที่นี่หล่อ และเท่ พอๆกัน แพทย์บางคนยังหล่อน้อยกว่าเวรเปลเสียอีก อิ อิ
ส่วนมากเราดูตำแหน่งได้จากป้ายชื่อของแต่ละคนที่หน้าอกเสื้อ หรือจากป้ายติดประจำตัว
ส่วนขนาดของชุด ที่โรงพยาบาลที่พี่ทำงานอยู่ ก็เริ่มจาก 36 หรือ Size S ของเค้าน่ะแหละ แต่ Size S ของที่นี่ใหญ่กว่าที่เมืองไทยมาก เพราะปกติที่่เมืองไทยพี่ใส่ Size L มาอยู่ที่เดนมาร์กยังต้องใส่ Size S เลย ทำให้เราหลงผิดคิดว่าตัวเล็ก น้ำหนักเพิ่มไม่รู้ตัว พอกลับเมืองไทยทียังกับนางผีเสื้อสมุทรยังไงยังงั้นเลย
สำหรับคนที่ใหญ่กว่า Size xxL ต้องตัดพิเศษ เพราะเพื่อนพยาบาลที่วอร์ดพี่ ตัวใหญ่มากมาก น้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมทีเดียว ฉะนั้นเธอต้องใส่ชุดที่สั่งตัดพิเศษ
บางทีก็ใส่ชุดกระโปรงกับกางเกงด้วยกัน เพราะที่นี่โอกาสที่จะใส่ชุดกระโปรงส่วนมากก็จะเลือกใส่หน้าร้อน เพราะไม่หนาวมาก ถ้าใส่ชุดกระโปรงหน้าหนาว ส่วนใหญ่ก็ต้องใหญ่ legging ข้างใน หรือใส่กางเกงขายาวข้างใน เพราะมันหนาวววว ค่ะ
ที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าจะมี เสื้อยืดให้ต่างหาก ใครจะใส่เสื้อยืดกับกางเกงขาวขายาวก็ได้ เสื้อยืดก็จะมีอยู่ในบล็อคในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า มีสามขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ โดยสังเกตขนาดได้ที่สีด้ายรอบๆคอ แขน และชายเสื้อ
ด้ายสีเขียว ก็ขนาดเล็ก ด้ายสีน้ำเงินก็ขนาดกลาง ด้ายสีแดงก็ขนาดใหญ่ สีพวกนี้เป็นสีที่ใช้บอกขนาดทั่วไป รวมทั้งขนาดของเสื้อผ้าคนไข้ด้วย
ถ้าเราจะไปหาเสื้อผ้าให้คนไข้ เราก็ดูตามด้าย แต่ก็จะมีขนาดบอกที่คอเสื้อด้วยเช่นกัน ถ้าเราสังเกตที่สีด้าย เราก็จะหาได้เร็วกว่าที่ต้องปลิ้นดูที่คอเสื้อ
สำหรับเสื้อยืดใช้ร่วมกัน คือไม่มีของเราเฉพาะ พอใส่เสร็จก็ใส่ถุงผ้าส่งซัก แผนกผ้าก็จะพับ มากองรวมกันโดยแยกขนาด
ถุงเท้าก็จะมีกล่องใส่ถุงเท้าไว้ให้เราก็เลือกใส่ได้ตามอัธยาศัย ใช้ร่วมกันเช่นกัน ถ้าเราขยันก็ใส่ถุงเท้าของตัวเองก็ได้ไม่ว่ากัน
แต่ทั้งเสื้อยืดและถุงเท้าก็จะย้วยระทดระทวยเกือบทุกคู่และทุกตัว เพราะใช้บ่อยและซักบ่อยจนยืดดดด บางที size s ก็ย้วยระทวยไปเกือบเท่า size L โน่นเลย แต่ความยาวอาจจะสั้นกว่า เหอ เหอ
รวมทั้งมีเสื้อแขนยาวให้ด้วยที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าซึ่งใช้ร่วมกัน แต่ถ้าใคนจะเบิกเสื้อกันหนาวเฉพาะตัวก็ได้ โดยไปแจ้งให้หัวหน้าวอร์ดเบิกให้ จะได้คนละตัว ส่วนใหญ่ก็จะจำเป็นสำหรับคนที่สูบบุหรี่เพราะต้องออกไปสูบต้านลมหนาวข้างนอก
| โดย: พี่อ้อย [25 ก.ค. 52 19:23] ( IP A:80.198.35.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ขอบคุณพี่นกที่เพิ่มเติมให้ค่ะ
ที่ตึกเด็กแถวที่นกอยู่ใส่ชุดสีลูกกวาดคงน่ารักดีเน๊าะ อยากใส่มั่งจัง แต่วอร์ดที่พี่อยู่มีแต่คนชรา เป็นส่วนใหญ่ คนไข้คงไม่ตี่นเต้นกับชุดสีลูกกวาดเท่าไร ทำไมวอร์ดเด็กแถวนี้ไม่เปลี่ยนสีมั่งก็ไม่รู้ หรือเปลี่ยนกันแล้วก็ไม่รู้นะเนี่ย
พยาบาลที่เดนมาร์กทำอะไรบ้างในเวรเช้า
ยกตัวอย่างที่ ตึกอายุรกรรม(ฟื้นฟู)ผู้สูงอายุ ซึ่งรับคนป่วยอายุ 50 ปีขึ้น ไป แต่จากสถิติแล้ว คนป่วยที่เข้ามา admitted ที่ตึกนี้ส่วนใหญ่จะอายุประมาณ 65 ถึง 85
เวลา7.30 รับเวร Pre conference
เวลา 8.00 วัด v/S ช่วยคนไข้อาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ให้ยาก่อนอาหาร เปลี่ยนผ้าปู เตียง(ถ้าจำเป็น) จัดเตียงและสิ่งแวดล้อม ให้เรียบร้อย สวยงาม น่าอยู่
เวลา 9.00 น. เตรียมอาหารเช้า นำคนป่วยมาที่ห้องอาหาร เพื่อรับประทานอาหารเช้า ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร ให้ยาหลังอาหาร พาผู้ป่วย กลับห้องพัก หรือนำคนป่วยไปนั่งพักผ่อน ที่บริเวณห้องนั่งเล่น
เวลา 10.00 ตาม Round ทำ Treatment ต่างๆ เช่น ทำแผล ให้อาหารทางสายยาง สวนปัสสาวะ ส่งผู้ป่วย ไปเอ็กซ์เรย์ ตามเจ้าหน้าที่เพื่อเจาะเลือดผู้ป่วยตรวจ ส่งตรวจพิเศษต่างๆ เตรียมDischarge ผู้ป่วย (ทำ discharge report(ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ความต้องการการช่วยเหลือของผู้ป่วยจาก kommune treatment ที่ต้องทำต่อเนื่อง เช่น ทำแผล จัดยาให้ผู้ป่วยประมาณ 3 วันล่วงหน้า หลังจากนั้น แฟกซ์ discharge report ไปให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ kommune ที่ผู้ป่วยอาศํยอยู่ เพื่อให้ kommune ทราบก่อนวันที่จะ จำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาล)
เวลา 10.30 Tea , coffee break
เวลา 11.00 จัดยาเที่ยง ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน แจกผลไม้ เตรียมอาหารเที่ยง
เวลา 12.00 นำผู้ป่วยไปที่ห้องอาหาร เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามโรค ดูแลช่วยผู้ป่วยในการรับประทานอาหาร แจกยาเที่ยง
เวลา 13.00 พาผู้ป่วยออกจากห้องอาหาร พักผ่อนตามอัธยาศัย พักรับประทานอาหารเที่ยง ทำ Treatmentหรือเตรียมรับใหม่ หรือจำหน่ายผู้ป่วย(ต่อ..)
เวลา 14.00 แจกน้ำผลไม้ น้ำหวาน และผลไม้ ให้ผู้ป่วย พาผู้ป่วยไปกายภาพบำบัด ทำ treatment ต่อ ...เขียน Nurses note Post conference เตรียมส่งเวร
เวลา15.00 ส่งเวร ลงเวรเช้า.........
เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆเท่านั้นนะคะ เพราะว่าเวลาไม่ตายตัว ถ้าเรามีคนไข้แค่คนเดียว อาจจะให้การพยาบาลได้ทันตามเวลา แต่ส่วนใหญ่เราต้องรับผิดชอบ คนไข้ 2 - 4 คน แถมเป็นคนแก่อีกต่างหาก กว่าจะเสร็จแต่ละคน พาไปทานอาหารเช้าก็เกือบเลย 10 โมงเช้าโน่นเลย ยาเที่ยงบางทีก็เลยไปเกือบบ่ายโมงจริงๆ | โดย: พี่อ้อย [25 ก.ค. 52 22:02] ( IP A:80.198.35.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 อ่านไปแล้วมองเห็นภาพเลยค่ะ พี่ๆ ..เวลายุ่งๆก็คงเหมือนกันทุกที่เลยนะคะ..เวลา late ออกไปอีก... มาเก็บข้อมูลเรื่อยๆ เข้าไปดูเวปที่พี่ๆ มาลิ้งไว้ให้ก็ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง (ส่วนมาก) แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนิดที่จะเริ่มต้นของงานใหม่ๆ แถมไม่ใช่ในบ้านเราที่เคยทำอยู่ด้วยนะค่ะ ขอบคุณพี่ๆ อีกครั้งนะคะ... | โดย: sweet_dk [27 ก.ค. 52 16:10] ( IP A:118.172.198.46 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 สวัสดีคะตอนนี้เป็นพยาบาลอยู่วอร์ด ไอซี ยู เด็ก ตั้งใจอยากไปทำงานที่เดนมาร์ก แต่ไม่รู้ต้องเริ่มต้นที่ตรงไหนดี ช่วงนี้ก็กำลังเริ่มเรียนภาษาอังกฤษอยู่คะ อยากให้ช่วยแนะนำคะคะว่าหนูต้องสอบอะไรบ้าง ถึงจะได้ไปทำงานที่นั่น | โดย: น้ำ [11 มิ.ย. 53 3:03] ( IP A:202.28.183.10 X: ) |  |
|