เ ลี้ ย ง ลู ก ด้วยจิตตื่นรู้ โ ด ย นลินี
|
ความคิดเห็นที่ 1 นำมาจาก กระทู้ 312 หากเพื่อนอยากรู้คำถาม ลองเข้าไปดูการสนทนาได้ ความคิดเห็นที่ 91 หน่อย
คำพระท่านสอนไว้ว่า "พ่อแม่เป็นผู้แสดงโลกให้แก่ลูก"
ก่อนอื่นต้องตีโจทย์ของคำว่า "มองโลกในแง่ดี" ให้ถูกต้องเหมาะสมเสียก่อน เพราะเท่าที่พบหลายๆ คนแปลความหมายผิดก็เลยสอนไปแบบผิดๆ
1. "มองโลกในแง่ของความเป็นจริง" ลูกควรมีประสบการณ์ตรงที่ได้เห็นโลกหลากหลาย ผ่านกิจกรรมที่ทำร่วมกับพ่อแม่ ได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งที่บ้าน ครอบครัว ชุมชนและโรงเรียน (เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้าน peer relationship ตั้งแต่ 30 เดือน โดยพัฒนาการก่อนหน้านี้ คือ แรกเกิดถึง 18 เดือน : Self-regulation and attachment และ 18-30 เดือน : Autonomy ) ซึ่งพ่อแม่ไทยมักทำได้ดีพอควรในช่วงแรกเกิด-18 เดือน คือ สร้างความรักใคร่ผูกพันกับลูก แต่ Self-regulation หรือการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนอกครรภ์มารดา บางบ้านยังมีปัญหาเพราะชอบใช้ทีวีและไฮเทคฯ เลี้ยงลูก
แต่ที่พ่อแม่ไทยหลายคนตกม้าตาย ก็คือ ช่วงการพัฒนา "ความเป็นตัวของตัวเอง" เพราะที่พบพ่อแม่มี 2 แบบ คือ ควบคุมสั่งการ กับ ไม่รู้จะรับมืออย่างไรเมื่อพบกับอาการที่เด็กแสดง (อาจตามใจ ได้แต่บ่นว่า หรือตี)
ในส่วนของการอยู่ร่วมกับผู้อื่น พ่อแม่ต้องรู้ว่า เรื่องเด็กทะเลาะกันเป็นเรื่องปกติ ที่เป็นแบบทดสอบเข้ามาให้ลูกฝึกฝน ประเด็นก็คือ เราจะสอนลูกอย่างไรให้รู้จัก "วิธีแก้ข้อขัดแย้ง" ไม่ใช่บอกว่าอย่าไปเล่นกับเพื่อนเกเร และอย่าไปเน้นเหตุผลมาก ควรทำงานทางอารมณ์กับเด็ก
เช่น เมื่อเพื่อนมาฟ้องว่า ถูกเพื่อนแกล้ง ก็อย่ามัวบอกว่า "ทีหลังก็อย่าไปเล่นกับเพื่อนคนนั้น" หรือ ซ้ำเติมลูกว่า "หนูไปแกล้งเพื่อนก่อนเหรอเปล่า" แต่ให้ทำงานทางอารมณ์ "ท่าทางหนูโมโหเพื่อนน่าดูเลย" อาจถามเขาต่อว่า "เขาโกรธเพื่อนเพราะอะไร" และอาจถามเขาว่าพ่อหรือแม่จะช่วยอะไรจึงจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น (แต่อาจไม่ต้องทำตามที่ลูกบอก เช่น ลูกบอกให้แม่ไปด่าเพื่อนให้หน่อย สิ่งที่ควรทำ คือ รับฟัง รับรู้ความรู้สึกขณะนั้นของลูก ๆ ก็จะดีขึ้น)
ปัญหาตรงนี้ คือ ผู้ใหญ่มักตีโจทย์ว่า "มองโลกในแง่ดี" คือ อย่าโกรธ อย่าเสียใจ ทำให้เราไปเบี่ยงเบนอารมณ์หรือมองข้าม (ที่เจอบ่อยๆ คือ บอกเด็กว่า "แค่นี้เอง ไม่เห็นต้องโกรธเลย"
ยังมีต่อนะ
ป.ล. การอบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นทักษะที่เรียนรู้และฝึกฝนได้นะเพื่อนๆ
โดย: นนี [27 ม.ค. 53 14:50> ( IP A:61.91.84.14 X: )
| โดย: รังษี 11140 [31 ม.ค. 53 15:09] ( IP A:118.173.181.107 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ต่อจาก คห.ที่ผ่านมา อยู่ในกระทู้ที่ 312 เช่นกัน
ความคิดเห็นที่ 92 หน่อย
ก่อนไปต่อ
เราจะแตกคำว่า "ทักษะ" ประกอบด้วย "ความรู้ความเข้าใจ" บวกกับ "การได้ลงมือฝึกฝน" ทำซ้ำๆ บ่อยๆ จนชำนาญ
ทักษะที่สำคัญที่พ่อแม่ต้องมี (แต่มักไม่มีกัน) คือ ทักษะในการฟังและพูดกับลูก
ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ เรื่อง "การยอมรับนับถือลูก" และ "สิทธิอำนาจที่พ่อแม่มี"
เพราะผู้ใหญ่มักไม่ค่อยยอมรับนับถือและบริหาร "สิทธิอำนาจ" Authority ไม่เป็น เลยไปใช้ power แทน
เรื่องเลี้ยงลูกเป็นอีกศาสตร์นึงเลยจ้า ต้องเรียนรู้ ทั้งจากลูกโดยอาศัยตำราอ้างอิง
นี่แหละงานที่เราอยากทำ และเคยได้ทำ และกำลังทำอยู่ คือ สอนให้ผู้ใหญ่เลี้ยงเด็กให้เป็น บนพื้นฐานของความเข้าใจในตัวเด็ก
ยังมีต่อนะ โดย: นนี [27 ม.ค. 53 14:56> ( IP A:61.91.84.14 X: )
| โดย: รังษี 11140 [31 ม.ค. 53 15:10] ( IP A:118.173.181.107 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 2. มองโลกอย่างหลากหลายมุมมอง (Multicausal thinking)
แนวคิดนี้เป็นพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กช่วงอายุ 4 - 5 ปี (จาก Dr.Greenspan) เด็กจะเริ่มเข้าใจเหตุและผลซับซ้อนขึ้น รู้ว่าผลบางอย่างอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น วันนี้ที่เพื่อนไม่เล่นด้วย อาจเพราะเขาไม่สบาย หรือ เขายังโกรธอยู่ หรือ อื่นๆ อีกมากมาย
และสาเหตุ 1 อย่างอาจทำให้เกิดผลได้หลายอย่างเช่นเดียวกัน เช่น ถ้าเขากินขนมหมด พี่อาจโกรธ แต่ถ้าพี่อิ่มแล้วก็อาจไม่ว่าอะไร
และเขาก็จะพัฒนาวิธีคิดแบบ 3 มุมมอง เช่น เขาโกรธกับเพื่อนคนนี้ก็เลี่ยงไปเล่นกับเพื่อนคนอื่น ทำให้เด็กยืดหยุ่นได้มากขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
เด็กจะมีพัฒนาการระดับนี้สมบูรณ์เมื่ออายุ 7 ขวบ
พ่อแม่ส่งเสริมลูกได้ด้วยการกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุและผลที่หลากหลาย โดยวิธีถามคำถามปลายเปิด "แล้วอะไรอีก"
(อ้างอิงจากหนังสือของพุทธิตา) | โดย: นนี [1 ก.พ. 53 14:30] ( IP A:61.91.84.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ลืมอ้างอิงที่มาของชื่อกระทู้ "เลี้ยงลูกด้วยจิตตื่นรู้" นำชื่อนี้มาจากชื่อของเวิร์คชอปที่ทำโดย ครูนา ที่ทำโรงเรียนพ่อแม่ (Smart Smile School)
ถ้าเพื่อนๆ มีคำถามก็โพสต์มาได้นะ
| โดย: นนี [2 ก.พ. 53 19:14] ( IP A:202.57.175.63 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 นนีครับ
การที่พ่อแม่ใช้วิธีสร้างกติกากับลูกๆเช่นถ้าทำดีจะได้ของเล่น ที่ลูกอยากได้ แต่ถ้าทำผิดจะไม่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว (ให้อยู่กับยาย) การทำผิดเช่นดื้อแบบไม่มีเหตุผล เป็นเด็กเจ้าอารมณ์ บ่อยๆกับคนรอบข้าง คนรับใช้ คนขับรถเป็นต้น อยากถามนนีว่าวิธีสร้างกติกาแบบหลังนี้เด็กจะรู้สึกว่าถูกลงโทษรึเปล่าครับ | โดย: pui [2 ก.พ. 53 22:00] ( IP A:125.24.241.0 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ลืมบอกไปเป็นลูกคนรู้จัก พ่อแม่มีลูก4คน คนเจ้าอารมณ์เป็นลูกสาว อายุ 8ขวบ ตอนไปเที่ยวต่างประเทศแม่ไปกับลูกสามคนให้ลูกเจ้าปัญหาอยู่กับพ่อและยายครับ | โดย: pui (เจ้าบ้าน ) [3 ก.พ. 53] ( IP A:113.53.43.78 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 Pui,
การสร้างกติกาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีทุกบ้าน แต่ "สัมพันธภาพที่ดีต้องมาก่อนกฎระเบียบ" (เขียนลงนิตยสารฉบับเดือนมกราคม นี้)
แต่สิ่งที่ปุ๋ยถาม ไม่ใช่การสร้างกติกา แต่ดูเหมือนเป็นเรื่อง "ให้แรงเสริม" กับ "ลดแรงเสริม" มากกว่า
แต่การให้แรงเสริมที่ดี ควรมีเป้าหมายว่า ทำไปเพื่อให้ลูกเกิดแรงจูงใจในตนเองและในที่สุด ไม่ต้องอาศัยแรงเสริมจากภายนอก แต่เป็นจากภายใน เช่น อยากทำดี ก็เพราะอยากทำ
แรงเสริมที่ดีที่สุด คือ การชมเชย แต่พ่อแม่ต้องชมเชยลูกอย่างมีชั้นเชิงนะ เราเขียนในนิตยสารที่จะวางขายเดือนกุมภาฯ นี่แหละ
ส่วนเด็กที่ดูเหมือนจะเจ้าอารมณ์ พ่อแม่ต้องทำงานทางอารมณ์กับลูก (เราจะเขียนลงเดือน มีค นี้) อย่าเพิ่งเน้นเหตุผล แต่ให้ทำงานทางอารมณ์ เช่น สะท้อนอารมณ์ (ท่าทางโกรธน่าดูเลย หรือ แม่เห็นเด็กคนนึงกำลังหงุดหงิดน้องอยู่) แล้วถามเขาต่อว่า ใครหรืออะไรที่ทำให้เขารู้สึกแบบนี้ และทำอย่างไรถึงจะหายได้
| โดย: นนี [3 ก.พ. 53 13:31] ( IP A:61.91.84.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ขอบคุณครับ ไว้จะหาจังหวะแนะนำให้เค้าหาอ่านหนังสือของนนี ครับ "สัมพันธภาพที่ดีต้องมาก่อนกฎระเบียบ" ชอบประโยคนี้จัง | โดย: pui [3 ก.พ. 53 14:00] ( IP A:118.174.48.155 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 Pui,
อ้างอิงคำนี้ "สัมพันธภาพที่ดีต้องมาก่อนกฎระเบียบ" จากหนังสือ "เลี้ยงลูกแสบ...."
| โดย: นนี [3 ก.พ. 53 22:29] ( IP A:202.5.86.45 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 วันนี้พรุ่งนี้จะรอฟัง นนี ในรายการ cool93 ครับ
| โดย: รังษี 11140 (เจ้าบ้าน ) [5 ก.พ. 53 19:23] ( IP A:118.173.195.135 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ปกติเพื่อนษีชอบนั่งหลังห้อง แต่พรุ่งนี้เราขอจองแถวหน้าฟังนนี ด้วย | โดย: pui [5 ก.พ. 53 21:33] ( IP A:125.24.200.242 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 ถึงเพื่อนๆ (ที่อาจไม่ได้ฟังรายการเมื่อคืน และมีลูกเป็นวัยรุ่น)
วิธีที่วัยรุ่นจะรับมือพ่อแม่
1. พยายามชวนพ่อแม่พูดคุยทุกวัน เกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั้งของตัวเอง และถามถึงกิจกรรมที่พ่อแม่ (พูดคุยวันละเล็กละน้อย จะช่วยให้พ่อแม่ซักถามน้อยลง)
2. เข้าใจว่าพ่อแม่ยังติดกับความเคยชินที่จะเข้ามามีส่วนในชีวิตของเรา เพราะเมื่อตอนที่เรายังเด็ก (กว่านี้) แม่ต้องดูแลตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอน พอลูกโตและอยากเป็นตัวของตัวเอง พ่อแม่ก็เลยยังไม่ชิน และไม่เข้าใจ เราจึงควรพูดคุย (ไม่ใช่โต้เถียง) เพื่อทำให้พ่อแม่เข้าใจเรามากขึ้น
3. ความซื่อสัตย์ จะนำความไว้วางใจมาให้ ถ้าอยากให้พ่อแม่ไว้ใจ เราต้องซื่อสัตย์กับท่าน
4. ก่อนพูดคุยกับพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นอกเหนือจากข้อ 1) ควรทบทวนเป้าหมายของเราก่อนว่าจะคุยกับพ่อแม่เพื่อจุดประสงค์อะไร เช่น แค่รับฟังก็พอ หรือ ช่วยเสนอแนะหรือช่วยเหลือ หรือ ช่วยชี้แนะแนวทางและแก้ปัญหา
5. เข้าใจอารมณ์ตัวเราเองจะได้พูดคุยได้ชัด เช่น หนูอยากเล่าเรื่องที่ทำให้หงุดหงิดอยู่ แต่เกรงว่าเรื่องนี้อาจทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ พ่อแม่ช่วยรับฟังหนูหน่อยนะแล้วค่อยแนะนำว่าหนูควรทำยังไงดี
6. เวลาพูดคุยเรื่องที่สำคัญต้องพูดให้ชัดเจน ตรงประเด็น อย่าอ้อมไปมา
7. รับฟังพ่อแม่ก่อน เมื่อท่านเห็นว่าเราฟังท่าน ๆ ก็จะฟังเราเหมือนกัน ปัญหาที่พบ คือ ทุกคนฟังเพื่อรอว่าเมื่อไหร่จะถึงตาเราพูดบ้าง แต่จริงๆ แล้วเราควรรับฟังท่านและคิดตาม เช่น ท่านอาจบ่นมากมาย ถ้าเรารับฟังอย่างเข้าใจอาจพบว่าที่ท่านบ่นเพราะเป็นห่วง เราก็ควรสะท้อนอารมณ์ไป ตัวอย่างเช่น หนูรู้ค่ะว่าแม่หรือพ่อเป็นห่วงมาก
ป.ล. อาจตั้งเป็นกฎกติกาประจำบ้านว่า เวลาที่ใครพูดอีกฝ่ายควรฟังโดยไม่แย้งหรือพูดแทรก แต่ต้องรอให้พูดจบก่อน จึงจะพูดได้ | โดย: นนี [7 ก.พ. 53 10:08] ( IP A:61.91.84.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 "การบ้าน คือ นรก สมุดพก คือ ความตาย" (หัวข้อสนทนาของคืนวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553
ตอบตัวเองก่อนว่า การบ้านเป็นนรกเพราะอะไร เพราะเรารู้สึกเอง หรือเพราะทำให้เรามีปัญหาขัดแย้งกับพ่อแม่
ถ้าเป็นเพราะเราเอง ลองมาปรับมุมมองกันดูสักหน่อย
1. รู้วัตถุประสงค์ของการเรียน ณ ปัจจุบัน ว่าเป็นรากฐานที่ดีสำหรับอนาคต เช่น เราอาจรู้สึกว่าบางวิชาไม่เห็นจะนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงเลย ตัวอย่าง เราคงไม่ไปบอกแม่ค้าหรอกว่า ขอซื้อส้มด้วยจำนวนเงิน 625 ถอดสแควร์รูท 2 (ถ้าบอกอย่างนั้น อาจไม่มีชีวิตรอดกลับบ้านได้) แต่หลายๆ วิชาที่เราเรียนตอนมัธยมเป็นการฝึกฝนสมองเราให้สามารถนำไปเรียนรู้ต่อยอดในวิชาชีพในอนาคต เช่น ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นต้น
2. ปรับทัศนคติ แทนที่เราจะรู้สึกว่าหลายวิชาที่เราไม่ชอบมันช่างน่าเบื่อ แนะนำให้เราหาว่าเราเก่งหรือถนัดในด้านใด และทำด้านนั้นให้ดีสุดๆ ไปเลย แล้วเราก็จะพอทนกับวิชาที่ไม่ชอบได้บ้างแหละน่า
3. หาคู่แข่ง เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับชีวิต ถ้าเราทำคะแนนได้มากกว่าคนที่เก่งด้านนั้นก็น่าภูมิใจ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร (แข่งเล่นพอขำๆน่า)
4. กำหนดรางวัลให้ตัวเอง (อาจให้พ่อแม่เป็นสปอนเซอร์ให้) เช่น แบ่งงานให้ย่อยลง เมื่อทำงานเสร็จตามเป้าที่ตั้งไว้ก็ให้รางวัลตัวเอง (ไอติม หรือ เล่นเกมซักเกม)
5. หากำลังใจ จากพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่คนอื่นที่ปรารถนาดีต่อเรา เช่น ครู วัยรุ่นรู้รึเปล่าว่า ถ้าเราประสบความสำเร็จในการเรียนก็เป็นความสำเร็จของผู้ใหญ่ (พ่อแม่ ครู) เหมือนกัน
มีต่อ
| โดย: นนี [21 ก.พ. 53 16:41] ( IP A:61.91.84.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 รออ่าน
| โดย: pui [21 ก.พ. 53 23:11] ( IP A:118.174.48.139 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 Pui,
ดีใจแฮะว่ามีคนมารออ่านด้วย
ถ้า การบ้าน คือ นรก เพราะทำให้วัยรุ่นต้องมีปัญหากับพ่อแม่ แนะนำให้ทำสนธิสัญญาสงบศึก โดยตั้งข้อตกลงกันว่า
พ่อแม่ควร : 1. ช่วยเหลือ เฉพาะเมื่อลูกต้องการและบอกให้รู้ 2. สนับสนุนอุปกรณ์ ดูแลไปรับ-ส่งและอื่นๆ เพื่อทำให้ลูกสามารถทำการบ้านได้เสร็จเรียบร้อย 3. สนับสนุนรางวัลในกรณีที่ลูกตั้งเป้าหมายต่างๆ ไว้ แต่ก็ต้องเป็นรางวัลที่เหมาะสม ไม่แพงหรือเวอร์เกิน 4. จัดหาพื้นที่ในการทำการบ้านให้ลูก
วัยรุ่นควร : 1. จัดตารางเวลาในการทำการบ้านและชีวิตประจำวันอื่นๆ 2. ไม่หลบๆ ซ่อนๆ การบ้านที่ครูสั่งมา 3. พูดคุยกับพ่อแม่เกี่ยวกับความกังวลในการบ้านที่ได้มา (ถ้ารู้สึกกังวลและอยากให้พ่อแม่ช่วย) 4. นำการบ้านที่ทำเสร็จแล้วและได้คะแนนแล้วมาให้พ่อแม่ดู 5. บอกให้พ่อแม่รู้ เมื่อต้องการการสนับสนุนในเรื่องใด เช่น อุปกรณ์การเรียน รางวัล
ตัวอย่างรางวัลที่วัยรุ่นขอจากพ่อแม่ได้ เช่น รางวัลประจำสัปดาห์ : * งดทำงานบ้านในช่วงวันหยุด หากทำการบ้านได้เสร็จทันตามกำหนด * นอนดึกคืนวันเสาร์ได้ * ไปเที่ยวห้าง
รางวัลใหญ่ : * ไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อน * ได้เงินพิเศษสำหรับซื้อเสื้อผ้า * ได้เงินพิเศษสำหรับสมทบทุนซื้อของเล่นที่อยากได้
| โดย: nanee [22 ก.พ. 53 10:43] ( IP A:61.91.84.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 นนี
ปิดเทอมนี้ น้องเก่ง ลูกชายคนโต ขอไปเที่ยวเขาใหญ่ กับเพื่อน ครับ กำลังหาข้อมูลการท่องเที่ยวให้ลูกอยู่พอดี
ส่วนเรื่องเสื้อผ้า ผบ.ทบ.ก็ได้พาไปซื้อแล้ว
พอมาอ่านสิ่งที่ทำอยู่ก็ได้ผล ข้อมูลหลายๆอย่าง ทำให้ต่อยอดได้เลย
ใกล้เที่ยงแล้วนะ อย่าลืมทานข้าวล่ะ | โดย: รังษี 11140 (เจ้าบ้าน ) [22 ก.พ. 53 11:29] ( IP A:118.173.191.215 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 ดีใจจังได้อ่าน article ที่พลาดไปเมื่อวันเสาร์ นนีเนี่ยน่ารัก จิง จิง เลย อุตสาห์ post ใน webborard นี้อีก อุ้ย จะได้ไม่ต้องพึ่งไอ้หุ่นกระป๋องเน่า
ว่าแต่ใช้ถ่านรุ่นไหนหรือ อึด จริงๆ แม่คุณเอ๊ย
| โดย: Vipawan 10753 [22 ก.พ. 53 21:52] ( IP A:124.121.153.77 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 เจ้าหุ่นกระป๋องใช้ น้ำมัน กับ ไฟฟ้า ครับ
| โดย: รังษี 11140 [23 ก.พ. 53 8:10] ( IP A:118.173.191.215 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 เทคนิครับมือพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
ขึ้นชื่อว่า "เด็ก" เป็นธรรมดาที่พอถึงช่วงวัยหนึ่ง อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หนักใจกับการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ไม่เชื่อฟัง ร้องโวยวาย อาละวาด หรือแสดงพฤติกรรมโดยไร้เหตุผล เพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ จนบางครั้งตัวพ่อแม่เองต้องพบกับทางตัน และรับมือไม่ถูก เรียกได้ว่า แก้เท่าไร ลูกก็ยังคงมีพฤติกรรมเดิมให้รำคาญใจซ้ำแล้วซ้ำอีก ปัญหาข้างต้น ปฏิเสธได้ยากว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นกับพ่อแม่เลย สำหรับพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่หนักใจมากที่สุด "พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร" กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ บอกกับทีมงาน Life and Family ว่า ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในเชิงสังคม ทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น ทำท่าเอานิ้วจะแหย่ปลั๊กไฟ เพื่อให้พ่อแม่หันมาสนใจ ในขณะที่เด็กบางคนอาจเรียกร้องความสนใจ ด้วยการหาเรื่องทะเลาะกับพี่น้อง ดังนั้น สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำคือ วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกก่อนว่า ลูกแสดงออกมาเพื่อต้องการ หลีกเลี่ยง หรือตอบสนองต่อความต้องการอะไรบางอย่างหรือไม่ "พ่อแม่บางคนมักลืมตัวไปว่ากำลังสร้างเงื่อนไขอะไรบางอย่างให้ลูก เช่น ตีโพยตีพาย หรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกทำมากเกินไป ทางที่ดี ควรสังเกตลูกว่า ทำเพื่อเรียกร้องหรือไม่ และเมื่อพบว่า ลูกเรียกร้องด้วยวิธีนี้ เช่น แหย่ปลั๊กไฟ พ่อแม่ต้องป้องกันไม่ให้ลูกสามารถเอานิ้วเข้าไปแหย่ปลั๊กไฟได้ รวมทั้งลดความสนใจที่จะตื่นเต้นไปกับ สิ่งที่ลูกกำลังทำให้น้อยลง แต่พยายามเพิ่มความสนใจในพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของลูกแทน" คุณหมอกล่าว ปรับพฤติกรรมลูก พ่อแม่ต้องเข้าถึงปัญหา ก่อนที่จะรับมือกับปัญหาพฤติกรรมหนักใจของลูก คุณหมอสะท้อนให้ฟังว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ และไม่เข้าถึงพฤติกรรมของลูกเท่าที่ควร จึงเน้นใช้คำสั่งเพื่อให้ลูกหยุดกระทำพฤติกรรมดังกล่าวโดยลืมไปว่า ลูกโตขึ้นในอีกช่วงวัยหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะลูกวัยขวบครึ่ง ที่จะเริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ส่งผลให้เด็กเกิดการต่อต้านเมื่อพ่อแม่ชอบใช้คำสั่ง เช่น ร้องดิ้น อาละวาด เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะช่วยรับมือได้ดีที่สุดคือ พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำสั่ง และหันมาฝึกการเสนอตัวเลือกให้ลูกตั้งแต่เด็ก ซึ่งเริ่มสอนได้ตั้งแต่ 1 ขวบเป็นต้นไป เช่น เสนอทางเลือกให้ลูกว่า จะกินนม หรือกินน้ำ ใส่เสื้อสีไหนระหว่างสีนั้นสีนี้ แทนการสั่งว่าจะต้องทำแบบนั้น แบบนี้ อย่างไรก็ดี ทางเลือกนั้น พ่อแม่ต้องกลั่นกรองมาแล้วว่าอนุญาตให้ลูกทำได้ถ้าลูกเลือก ไม่ใช่ให้เลือกแล้ว กลับไม่เห็นด้วย นั่นจะทำให้เด็กเกิดความสับสน และไม่เชื่อถือในตัวพ่อแม่
ขณะที่ปัญหาต่อมา พ่อแม่ส่วนใหญ่ มักชอบเปลี่ยนความสนใจของลูกในทันที กล่าวคือ ขณะที่ลูกกำลังเล่น หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสนุกสนานอยู่ แต่พ่อแม่อยากให้หยุดทำ เพื่อเปลี่ยนไปทำสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ นั่นจะทำให้ความสุขของลูกชะงัก ส่งผลให้ลูกต่อต้านด้วยการร้อง อาละวาด เนื่องจากวุฒิภาวะของเด็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ กลายเป็นปัญหาหนักใจของพ่อแม่ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้มาตลอด ดังนั้น วิธีการเปลี่ยนความสนใจของลูกอย่างมีเทคนิค พ่อแม่ไม่ควรหยุดความสนใจของลูกในทันที แต่ควรส่งสัญญาณเตือนเพื่อให้เวลากับลูกได้เตรียมตัวก่อน เช่น "แม่เข้าใจนะจ๊ะ ว่าตอนนี้หนูยังอยากเล่นอยู่ แต่แม่ว่าใกล้ถึงเวลาอาบน้ำแล้วนะลูก หนูอยากจะเล่นต่อ โดยให้แม่นับ 1-10 หรือ 1-20 แล้วเราไปอาบน้ำกันนะ" ซึ่งวิธีเหล่านี้ทำให้เด็กรู้สึกว่า พ่อแม่เข้าใจเขา และอยากจะเชื่อฟัง ไม่แสดงพฤติกรรมให้พ่อแม่หนักใจ "การจะให้ลูกเชื่อฟัง วิธีการคุยกับลูก เสียงก็สำคัญนะ หมอไม่รู้ว่าทำไม แม่ส่วนใหญ่ชอบใช้เสียงเข้มในการสอนลูก หมอว่า เด็กจะเชื่อฟัง คนที่ชอบคนพูดเพราะๆ มากกว่า ดังนั้น ขอให้คุณแม่เก็บเสียงที่มีอำนาจไว้ใช้ในยามจำเป็นจะดีกว่า ซึ่งนานๆ ครั้งใช้ที หมอเชื่อว่าได้ผล ดีกว่าใช้กันทุกวัน ทุกเวลา" คุณหมอแนะนำ การที่พ่อแม่รับมือกับพฤติกรรมของลูกได้ดี โดยการวิเคราะห์ และปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นการสร้างสันติสุขในตัวลูกอย่างถาวร และโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข ดังนั้นการใช้คำสั่งไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น แต่การปรับพฤติกรรมลูก พ่อแม่ต้องเข้าใจถึงปัญหา และต้องร่วมปรับไปพร้อมกับลูก แล้วพฤติกรรมของลูกที่พ่อแม่หนักใจ จะค่อยๆ ลดหายไป
จาก Manage : Life and Family
| โดย: nanee [5 มี.ค. 53 10:31] ( IP A:61.91.84.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 ดีจังได้วิธีรับมือกะเด็กหนองบอนชุดใหม่แล้วครับ ขอบคุณนะ นนี
| โดย: pui [5 มี.ค. 53 23:15] ( IP A:125.24.207.38 X: ) |  |
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *
|