Bromeliadsinlove.pantown.com
Conversation <<
กลับไปหน้าแรก
ความแตกต่างและความหลายหลายในโลกของ Bigenerics
วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความของคุณ Geoff Lawn ที่ได้เขียนไว้เกี่ยวกับสัปปะรดสีที่เป็นพวก Bigenerics ซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างมากก็เลยแปลมาให้ท่านที่สนใจลองอ่านดูครับ. ในบ้านเรานั้นก็มีไม้พวกนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกันและบางตัวนั้นก็ผสมได้เองในเมืองไทยด้วยฝีมือคนไทยครับแต่ก็น่าเสียดายที่บางท่านไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลหรือทำการจดทะเบียนกับสมาคมสากล.
โดย: ฉลอม (เจ้าบ้าน
) [25 ก.ค. 55 21:05] ( IP A:223.205.158.115 X: )
Counter : 326 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
Bigenerics ในทางวงการสัปปะรดสีก็คือการผสมข้ามสายพันธุ์ซึ่งเราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสัปปะรดสีนั้นมีอยู่มากมายหลายตระกูลจริงๆ ดังนั้นโอกาสและความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ลูกไม้สายพันธุ์ใหม่ๆจึงบังเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถและความพยายามของมนุษย์เรานี่เองครับ.
สัปปะรดสีที่อยู่ในพวกของ Bigenerics นั้นไม่ค่อยจะได้พบเห็นในธรรมชาติอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ, เช่นช่วงเวลาของการออกดอก หรือ สถานที่ๆไม้ในแต่ละสายพันธุ์นั้นขึ้นอยู่ซึ่งอาจจะห่างไกลกันดังนั้นจึงยากที่จะมีการผสมข้ามสายพันธุ์โดยธรรมชาติ. แม้กระทั่งในโรงเรือนเองที่มีผู้เชี่ยวชาญทดลองการผสมพันธุ์ก็ยังเกิดขึ้นได้ยากเหมือนกันเพราะว่าข้อมูลในการผสมข้ามสายพันธุ์นั้นมีน้อยมากอันเนื่องมาจากไม่ค่อยมีข้อมูลระบุถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการทดลอง, ดังนั้นจึงต้องมีการลองผิดลองถูกซึ่งก็แน่นอนว่าต้องเสียเวลาเป็นอันมาก. ปัจจุบันเทคโนโลยี่ทำให้เราสามารถเก็บเกสรไว้ใช้ได้ในเวลาที่ต้องการถึงแม้จะไม่ใช่ช่วงเวลาการบานของดอกตามธรรมชาติของสายพันธุ์นั้นๆ. แต่ปัญหาหลักจริงๆที่ต้องเผชิญก็คือการที่ยีนของสายพันธุ์ทั้งสองนั้นเข้ากันไม่ได้ซึ่งเทคโนโลยี่ที่เรามีอยู่ในปัจจุบันก็ยังไม่ได้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้.
โดย: ฉลอม (เจ้าบ้าน
) [25 ก.ค. 55 21:23] ( IP A:223.205.158.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ปัจจุบันได้มีการขึ้นทะเบียนของสัปปะรดสีข้ามสายพันธุ์ (Bigenerics ) ซึ่งมีมากกว่า 300 ชนิดที่เกิดจาก 38 ตระกูล แต่ก็มีบางตระกูลที่ไม่สามารถทำการผสมข้ามสายพันธุ์ได้ครับเช่น Bromelioideae กับ Tilandsioideae. บางครั้งอาจจะเห็นว่า Bigenerics เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์มากกว่า 2 สายพันธุ์แต่ก็มีไม่มาก. เราจะสังเกตุได้ว่า Bigenerics ที่เกิดจากต้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่มีความคล้ายคลึงกันนั้นลูกที่เกิดมาจะมีลักษณะที่น่าสนใจเพราะความแตกต่างเหล่านั้นได้ถูกถ่ายทอดมารวมกันไว้ในต้นลูก.
การเขียนชื่อไม้ในตระกูล Bigenerics นั้นจะมีสัญลักษณ์ X นำหน้าชื่อของสายพันธุ์ทั้งสองที่ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กันเกิดขึ้นซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการแยกแยอะจากไม้ในตระกูลอื่นๆ. ตัวอย่างเช่น XAnamea ก็คือการผสมระหว่างAnana กับตระกูล Aechmea.
โดย: ฉลอม (เจ้าบ้าน
) [25 ก.ค. 55 21:35] ( IP A:223.205.158.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าท่านใดสนใจก็ลองเปิดเข้าไปดูได้ที่ในเว็บสากลนะครับในส่วนของ Bigenerics หรือท่านใดที่มีไม้ประเภทนี้อยู่อยากจะแชร์รูปเพื่อเป็นวิทยาทานก็เชิญร่วมแจมได้เลยนะครับ. มาร่วมกันสนุกๆได้ความรู้ด้วยนะครับ.
โดย: ฉลอม (เจ้าบ้าน
) [25 ก.ค. 55 21:46] ( IP A:223.205.158.115 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน