เปิดตำนานราชาแคคตัส "กระท่อมลุงจรณ์"
    บทนำ

ราชาแคคตัสท่านแรกที่ผมได้กล่าวถึงใน 3 ภาคก่อนไปแล้วคือ คุณปู่ขจี วสุธาร
สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถกลับไปอ่านได้ตามลิ้งค์ที่ให้นี้นะครับ

เปิดตำนาน “ราชาแคคตัส” ภาค 1
https://www.pantown.com/board.php?id=43164&area=4&name=board25&topic=1&action=view

เปิดตำนาน “ราชาแคคตัส” ภาค 2
https://www.pantown.com/board.php?id=43164&area=4&name=board25&topic=2&action=view

เปิดตำนาน “ราชาแคคตัส” ภาค 3
https://www.pantown.com/board.php?id=43164&area=4&name=board25&topic=3&action=view

สำหรับตอนนี้ผมอยากกล่าวถึง เรื่องราวของราชาแคคตัสของเมืองไทยอีกท่านหนึ่ง คือคุณลุงพิจรณ์ สังข์สุวรรณ แห่งกระท่อมลุงจรณ์ อาจกล่าวได้ว่าใครที่เข้ามาในวงการแคคตัสบ้านเราแล้วไม่รู้จัก กระท่อมลุงจรณ์ แล้วละก้อ ถือได้ว่าท่านผู้นั้นยังเข้าไม่ถึงวงการนี้อย่างแท้จริงครับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 21:54] ( IP A:124.121.121.199 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 23329 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
   ผมได้รู้จัก กระท่อมลุงจรณ์ราวปี2525 ตอนที่เข้ามาทำงานในกทม. และได้ไปซื้อแคคตัสที่สวนจตุจักรบ่อยๆโดยเฉพาะที่ร้านกระท่อมฯ และคนขายใจดีที่คอยเอาใจใส่ลูกค้าเป็นอย่างดีก็คือ พี่ป้อม ที่ใครๆก็เรียกอาป้อม และมาถึงตอนนี้กลายมาเป็นป้าป้อมของหลานๆไปแล้ว

ที่ร้านนี้เมื่อก่อนจะมีใบปลิวแผ่นเล็กอธิบายเรื่องวิธีการเลี้ยงกระบองเพชร ให้ด้วย ต้นแรกที่ผมซื้อจากร้านนี้คือ เจ้าเก๋ง Huernia zebrina ตัวธรรมดาๆนี่แหละครับ เพราะสะดุดตาที่ดอกของมัน

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 21:56] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   สมัยนั้นกำลังเห่อถังทองกันมาก และผมทราบว่าที่กระท่อมลุงจรณ์มีถังทองหัวโตๆแยะ เคยขี่มอเตอร์ไซค์จากที่ทำงานแถวๆอโศก ไปถึงสวนกระท่อมฯ ซึ่งตอนนั้นยังอยู่ที่บางกรวย เพื่อจะไปดูให้เห็นกับตา

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 21:57] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   แรงบันดาลใจที่พาให้ผมมาจมปลักอยู่กับแคคตัสก็มา จากกระท่อมฯ นี่แหละครับ ผมยังคงวนเวียนมาซื้อไม้ในจตุจักรอยู่เป็นประจำ และไม่เคยมีช่วงหยุดพักที่จะทิ้งแคคตัสเลยแม้ว่าจะย้ายไปทำงานที่ อ.แกลง จ.ระยอง เมื่อกลับมากทม. อีกครั้งก็ยังกลับมาที่จตุจักรอีก และสะสมไม้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อกลับมาเชียงใหม่ต้องเอาใส่รถหกล้อมาด้วย นับว่าเป็นความรักแบบทิ้งไม่ลงจริงๆ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 21:58] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ผมอยากเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกระท่อมฯ มาก แต่ข้อมูลผมน้อยจริงๆ ผมอยู่ไกลเกินไป เวลาที่ผมไปร้านกระท่อมฯ ผมก็ไม่ได้ไปแบบลูกค้าขาใหญ่ที่ซื้อทีละเยอะๆจนเจ้า ของร้านจำได้ แต่ผมไปแบบคนตัวเล็กๆ แอบมอง แอบอยากได้ บางครั้งไม้กล้าถาม (เพราะกลัวตังไม่พอจ่าย) แอบฟังคนที่เขาเป็นนักเล่นคุยกัน

รู้สึกว่าเราตัวเล็กๆ มือใหม่ ช่างห่างไกลกับเซียนๆ เหลือเกิน ได้แต่หวังว่าวันหนึ่งเราจะต้องเป็นเหมือนเขาให้ได้ เมื่อมาถึงวันนี้ทำให้ผมเข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกเรียกว่ามือใหม่ได้เป็นอย่างดี

30 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ผมไม่ได้เป็นมือใหม่แล้ว สิ่งที่อยากทำคือถ่ายทอดความรู้เท่าที่มีให้กับคนที่รักแคคตัสเหมือนกับผม ทุกครั้งที่มีโอกาส การเขียนเรื่องราวต่างๆในอดีตเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราและคนรุ่นต่อๆไปได้ รู้ถึงที่มาที่ไปของวงการกระบองเพชรของบ้านเราได้บ้าง

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:01] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เมื่อผมได้ปรารภถึงเรื่องนี้กับพี่ป้อม ท่านก็มีความกรุณาสละเวลาเขียนเรื่องราวของคุณลุงจรณ์ มาให้ถึงสองหน้าด้วย ลายมือของท่านเองซึ่งต้องขอบคุณอย่างมากมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ผมจึงได้นำมาถ่ายทอด โดยไม่ได้เพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนหนึ่งส่วนใดออกแม้แต่น้อย

พี่ป้อมบอกว่าถ้าคุณลุงจรณ์ยังมีชีวิตอยู่ตอนนี้ท่านก็อายุ 100 ปีพอดี (ดังนั้นใครที่บอกในเฟสบุ๊คว่าเห็นลุงจรณ์มาขายของอยู่ที่ร้านกระท่อมฯ เมื่อ เร็วๆนี้ ก็คงเป็นคนที่โชคดีมากกว่าคนอื่นแล้วครับ 5+)

เรามาฟังเรื่องราวที่พี่ป้อมเล่าให้ฟังกันดีกว่านะครับ เมื่อจบแล้ว ผมจะมาสรุปในภาคผนวกให้อีกครั้งหนึ่งครับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:02] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   นี่เป็นภาพเดียวที่พี่ป้อมค้นออกมาได้ เป็นภาพที่บ้านบางกรวย (เนื่องจากภาพเก่าๆอื่นๆถูกเก็บไว้ตอนหนีน้ำค้นหาลำบากมาก เป็นจังหวะไม่ดีของพวกเรามากกว่าที่ผมดันเกิดจะมาเขียนเรื่องเอาตอนนี้ )

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:03] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ใครเป็นใครดูชื่อด้านหลังรูปเอาเองละกันครับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:03] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    10 กุมภาพันธ์ 2555

วันนี้เป็นวันครบรอบวันจากไปของพ่อของเรา “พ่อพิจรณ์ สังข์สุวรรณ” เป็นเวลาถึง 27 ปีแล้วจากวันนั้น ความรู้สึกเศร้าโศกจางหายไป ยังคงแต่ความรำลึกถึงอันไม่มีวันลบเลือน ...เมื่อคุณโอ่งเอ่ยปากขอเรื่องราวของพ่อ เพื่อที่จะเล่าให้เด็กๆ รุ่นหลังๆ ได้รู้จักไว้บ้าง ก็จึงขอรื้อฟื้นเรื่องของพ่อขึ้นมาอีกสักครั้ง

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:08] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   พ่อคือ คุณพิจรณ์ สังข์สุวรรณ เป็นชาวระยอง เกิดเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2454 ครอบครัวมีอาชีพทำประมงอยู่ที่ อ.แกลง แต่พ่อนั้นได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ กับคุณป้าวาส สังข์สุวรรณ ซึ่งมาปิดร้านขายทอง ชื่อร้านทอง “ลี้ ฮั่น กัง” อยู่ที่สะพานหัน ตั้งแต่เด็กพ่อมีความรู้ในการทำทอง ออกแบบเครื่องประดับต่างๆ ให้ลูกค้าของป้า หลังจากจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนวัดหัวลำโพง พ่อก็ออกมาช่วยป้าค้าขายอย่างเต็มที่ พัฒนาความสามารถด้านศิลปของพ่อขึ้นเป็นลำดับ จนเป็นที่รู้จักและไว้วางใจของลูกค้า..

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:09] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   (ผมได้เห็นตัวจริงต้นแบบงานนี้แล้ว น่าทึ่งมากครับ พี่ป้อมบอกว่าชิ้นงานนี้มีอายุถึง 80 ปีแล้ว คุณลุงจรณ์ได้ทำไว้ตอนอายุราว 20 ปีครับ)

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:10] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ต่อมาเมื่อป้าเลิกกิจการ พ่อได้รวบรวมเงินทองไปเปิดร้านของตัวเองที่ อ.ท่าหิน จ.ลพบุรี ภายใต้ชื่อร้าน “สุวรรณรัตน์” เป็นร้านสรรพสินค้าใหญ่โตของอำเภอ และก้าวเข้าสู่ความรุ่งโรจน์ทางการเงินและสังคม ระดับจังหวัด แต่ภายหลังก็เกิดความผกผันขึ้นกับชีวิต ถึงกับแทบสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะถูกโกง ในเวลาที่พ่อกับแม่เริ่มสร้างครอบครัวอยู่ด้วยกันนั้น อาชีพของท่านทั้งสองคือ รับสัมปทานหาฟืนส่งให้การรถไฟ เป็นงานที่ทั้งหนักและลำบากไม่น้อย

เมื่อเริ่มมีลูกเล็กๆ คุณป้าวาสก็ได้ขอให้พ่อกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ซึ่งก่อนนั้นคุณป้าค้าขายอยู่ที่ ตลาดนัดท้องสนามหลวง สินค้าของท่านได้แก่ ต้นไม้ประดับต่าง ปลาตู้นานาชนิด ตุ๊กตาและเครื่องเคลือบ เครื่องลายคราม

พ่อได้เข้ามาทำงานประจำที่ “ห้างนพรัตน์” ที่บางลำภู ซึ่งเป็นของญาติของท่านคนหนึ่งในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา พอได้ใช้ความสามารถทางด้านศิลปะของท่าน สร้างสรรค์งานขึ้นอย่างเต็มความสามารถ มีส่วนผลักดันให้งานของบริษัทก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าของวงการ ในขณะเดียวกันก็เริ่มงานส่วนตัวคือการ “เลี้ยงไก่” ไปด้วย

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:12] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   พวกเราเติบโตขึ้นมาในเวลานั้น เกือบ 10 ชีวิตในบ้านกับเงินเดือนรวมกับรายได้จากการขาย “ไข่ไก่”ไม่ได้ทำให้ชีวิตของพวกเราสุขสบายนัก เราต้องช่วยพ่อแม่ทำงานทุกอย่าง และใช้ชีวิตอยู่ด้วยความประหยัดมัธยัสถ์อย่างเต็มที่… สิ่งตอบแทนที่ได้รับกลับมาคือ ความขยันและอดทนที่พ่อแม่สั่งสมให้พวกเรามาโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นนิสัย และเป็นวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน ...

เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นในชีวิตของพวก เรา คือการที่พ่อขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร จนต้องออกจากงาน และเกิดโรคระบาดไก่ขึ้นในฟาร์มไก่แทบทุกฟาร์มในเมืองไทย เป็นโรคระบาดรุนแรงชื่อ “นิวคาสเซิล” บ้านเราก็ถึงคราวลำบากอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง

พ่อแม่ฝ่าฟันชีวิตพาลูกๆ ทุกคนเดินหน้าต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ ลูกๆทุกคนได้เรียนหนังสือตามกำลังที่พ่อแม่ทำได้อย่างดีที่สุด ไม่มีความฟุ่มเฟือยใดๆ ในชีวิตอีก ไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ ไม่มีการเที่ยวเตร่อะไรเลย

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:15] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   พ่อเริ่มสนใจในอาชีพค้าขาย โดยมีคุณป้าวาสเป็นคนแนะนำ ตอนนั้นเริ่มมีการนำกระบองเพชร (Cactus & Succulent) เข้ามาเล่นในเมืองไทย พ่อก็แบ่งเงินจำนวนหนึ่งที่ได้จากทุกวิถีทางที่ท่านทำได้ มาเริ่มสะสมต้นไม้ชนิดนี้

ข้าพเจ้าจำได้ถึงภาพของพ่อใส่เสื้อเชิ้ตขาว รีดเรียบ กางเกงขายาวสีกากีกลีบโง้ง เดินถือกล่องกระดาษเล็กๆ กลับมาบ้าน ในนั้นมีต้นไม้เล็กๆ ที่สวยงามน่ารัก และมีราคาแพงสำหรับครอบครัวเรากลับมาด้วย พ่อปลอบแม่ว่า “ อดทนหน่อยนะ วันหนึ่งมันจะเลี้ยงเรา ” แม่ก็ใช้ฝีมือทำขนมขาย อย่างอดทนช่วยพ่อ บ้านเราเริ่มมีชั้นไม้วางกระบองเพชรเป็นชั้นๆ รับแดดอย่างสวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:16] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   พ่อชอบกระบองเพชร คงเป็นเพราะพ่อเห็นด้วยสายตาของคนรักศิลปะ ว่าเป็นต้นไม้ที่สวยงามด้วยรูปทรง สีหนาม และมีขนาดกะทัดรัดไม่เปลืองพื้นที่

พ่อเคยเลี้ยงกล้วยไม้ ถ้าไม่มีดอกก็ยังขายยาก แต่กระบองเพชรขายได้เสมอ เริ่มตั้งแต่ต้นเล็กๆ และเวลามีดอกก็สวยงามมากด้วย

เมื่อมีจำนวนต้นไม้มากขึ้น พ่อก็เริ่มมองหาที่ขายสินค้าของท่าน ด้วยความพยายามอย่างเต็มกำลังพ่อแม่ของเราก็ได้มีร้านค้าเล็กๆ ที่เชิงสะพานเสี้ยว ตรงข้ามกรมสรรพกรเก่า (ปัจจุบันเป็นเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า) ที่เราเรียกว่า “ตลาดนัดท้องสนามหลวง” เป็นสถานที่ที่สำคัญในชีวิตของครอบครัวเรา เปรียบเสมือน “หม้อข้าว” ที่เราได้อาศัยทำมาค้าขายมานับสิบปี

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:18] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   จนหลายสิบปี พ่อค่อยๆขายต้นกระบองเพชรน้อยๆ ของท่านเริ่มต้นจาก กระถางละ 2 บาท โหลละ 20 บาท อธิบายวิธีเลี้ยงอย่างละเอียดให้ลูกค้า มีดินผสมขาย และยังหาพันธุ์แปลกๆ ใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นร้านขายกระบองเพชรเต็มรูปแบบร้านแรกของประเทศไทย

ในเวลาว่างพ่อก็ยังทำงานศิลปของท่านเป็นงานเสริม เช่น ทำกระถางรูปทรงต่างๆ ด้วยซีเมนต์ จนได้รับรางวัลเหรียญทองในงานแสดงสินค้าที่วังสราญรมย์หลายปีทีเดียว นอกจากนั้นพ่อยังเลี้ยงกล้วยไม้และรับจัดสวนด้วย เพื่อหารายได้เพิ่ม แต่งานที่ท่านไม่เคยละทิ้งก็คือ การปลูกเลี้ยงและจำหน่ายต้นกระบองเพชรนั่นเอง

นับเป็นเวลาหลายสิบปีจนกระทั่ง ได้รวบรวมเงินออมของท่านมาซื้อที่ปลูกบ้านเป็นของตัวเองขึ้นมาได้อีกครั้ง หนึ่ง ที่ อ. บางกรวย จ. นนทบุรี พ่อให้ชื่อบ้านว่า “ กระท่อมลุงจรณ์ ”ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Uncle Chorn’s Cabin ” ล้อชื่อของวรรณกรรมเอกของโลกคือ “ Uncle Tom’s Cabin”

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:20] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ภายหลังเมื่อบ้านของเรามีชื่อเสียงมากขึ้น ข้าพเจ้าไปเยี่ยม Nersery C & J ที่สหรัฐอเมริกา เจ้าของถามว่าชื่อของ Nersery เรามาจาก “ Uncle Tom’s Cabin” ใช่ไหม ข้าพเจ้าก็บอกว่าใช่เพราะพ่อชื่อ “ Uncle Chorn” เขาหัวเราะแปลกใจว่า คนไทยอ่านวรรณกรรมของสหรัฐกันด้วย

ช่วงนั้นนอกจากนำเข้าต้นไม้จาก ลาตินอเมริกา จากอเมริกา และอังกฤษ พ่อยังเริ่มติดต่อกับ Nersery ในประเทศญี่ปุ่น และได้นำเข้าต้นไม้จากญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก โดยการเดินทางไปเลือกซื้อด้วยตัวเองเป็นประจำ ทำให้การค้าก้าวหน้าขึ้นมาก

มีนักเล่นมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ธุรกิจขยายตัวเป็นปึกแผ่น เป็นช่วงเวลาที่ถือว่า ท่านได้ประสบความสำเร็จในการงานอย่างสูงสุด ท่านได้เขียนบทความเรื่องกระบองเพชรไปลงตามหนังสือต่างๆ หลายเล่ม และทำเอกสารให้ความรู้กับลูกค้า แจกฟรีเป็นจำนวนหลายหมื่นฉบับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:22] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   พ่อยังคงทำงานกับต้นไม้ที่ท่านรัก ต้อนรับลูกค้าอย่างจริงใจ เป็นกันเองและไม่เอาเปรียบ พ่อให้คำแนะนำแก่คนที่เริ่มทำอาชีพค้าขายกระบองเพชรอย่างจริงใจ ให้กำลังใจและช่วยแก้ปัญหาเท่าที่จะสามารถทำได้ ลูกค้าของพ่อมีทุกเพศทุกวัยที่มาซื้อของพ่อด้วยความสนิทสนม

เวลาที่ต้นไม้จากต่างประเทศมาถึงบ้าน จะเป็นเวลาชุมนุมลูกค้าที่สนุกสนานมาก พ่อร่าเริง อารมณ์ดี กระฉับกระเฉง ในการทำงานพ่อจะไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง จะพูดเสมอว่า “มีอะไรต้องทำ ก็ทำให้เสร็จไปที่ละเรื่อง มันจะเสร็จทุกเรื่อง” และไม่เคยที่จะถือว่าตัวเองมีความรู้เหนือผู้อื่น มักจะยอมรับฟังความเห็น และความรู้ใหม่ๆ จากเด็กๆ อยู่เสมอ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:23] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   พ่อได้จากข้าพเจ้า....ลูกๆ ทุกคน รวมทั้งจากต้นไม้ของท่าน “ กระบองเพชร ” ไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบ จากไปอย่างกระทันหัน รวดเร็ว ไม่ทุกข์ทรมาณ เหลือไว้แต่ความทรงจำ และอาชีพใหม่ของสังคมไทย “การค้ากระบองเพชร” และสิ่งที่เป็นความภูมิใจของท่าน “ กระท่อมลุงจรณ์ ”

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:24] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
    ภาคผนวก ปิดท้าย
แม้คุณลุงจรณ์ท่านไม่ได้อยู่กับเราแล้ว แต่สิ่งที่ท่านได้ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกแก่เราทั้งหลายมิใช่เพียงต้นไม้ หากแต่ท่านยังได้ปลูกฝังวิญญาณแห่งความรักและวิชาความรู้ให้กับทายาทของท่าน ได้สืบสานตำนานต่อมาจนถึงรุ่นเราด้วย

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:26] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   กระบองเพชรหลากหลายสายพันธุ์ที่กระจายไปสู่นัก เล่นทั่วเมืองไทย ส่วนใหญ่มาจากที่นี่ หลายปีที่ผ่านมาผมสัมผัสได้ทุกครั้งที่ไปเยือน เห็นพี่ป้อมกับอาสรณ์ทำงานกับเหล่ากระบองเพชรอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ผมได้ไปหลังจากเมื่อคราวน้ำท่วมครั้งแรกไม่นาน อาสรณ์กำลังยุ่งอยู่กับการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่เพื่อยกขึ้นหนีน้ำ ในครั้งนั้นก็รู้สึกว่ายากลำบากมากแล้ว แต่น้ำมาครั้งหลังนี้ สาหัสกว่ามากนัก คนรุ่นเรานี้ต่างทราบดีทุกคน

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:27] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   แต่อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ทำให้ท่านทั้ง สองยอมแพ้ เราเห็นท่านรับสภาพความทุกข์ยากต่างๆได้ด้วยใจที่ชื่นบานและมีสติ ผมได้แต่เพียงหวังว่าทุกอย่างจะถูกฟื้นสภาพขึ้นอีกครั้งโดยเร็ววัน และขอเป็นกำลังใจให้ท่านทั้งสองได้ทำงานที่ท่านรักเป็นชีวิตจิตใจต่อไป

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:27] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   ผมมีที่รูปถ่ายไว้น้อยมาก รูปต่อๆไปนี้เป็นรูปล่าสุดเมื่อวาเลนไทน์ที่ผ่านมาหลังจากที่น้ำลดไปได้ไม่นาน น้องภูเขาทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ในการทยอยฟื้นฟูทุกอย่างให้กลับสู่สภาพเดิม ต้องขอเอาใจช่วยคนหนุ่มคนนี้ซึ่งถือได้ว่าเป็น Generation ที่ 3ในการสืบทอดมรดกนี้ต่อไปด้วยครับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:28] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   โต๊ะที่เคยว่างเปล่า ไม่นานก็คงเติมเต็ม.....

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:29] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   จิตวิญาณที่ขาดหายไป ไม่ช้าก็คงจะกลับมา....

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:29] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   ผู้ที่รัก และเข้าใจในกระบองเพชรเท่านั้น............................. ที่จะเข้าใจ....................

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:30] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
    หมายเหตุ

เครดิตรูปในกระทู้นี้ บางรูปได้นำมาจากเว็บ my cacti ของอาเป้า
เป็นรูปงานวันปีใหม่ 2551 ที่อาเป้า และ คุณชนินทร์ โถรัตน์ ได้นำมาลงไว้ครับ

หากมีข้อบกพร่องใดๆในกระทู้นี้ที่ไม่ถูกต้อง อาจด้วยความด้อยสติปัญญาของผม ผมขอรับไว้เพียงผู้เดียวครับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:31] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   ภาพสุดท้ายข้างบน ก่อนจากมาในวันนั้น...

กระท่อมฯในวันนี้อาจดูสงบเงียบลงไปบ้าง แต่ผมเชื่อว่าอีกไม่นาน ตำนานความยิ่งใหญ่ของกระท่อมฯจะกลับมาอีกครั้ง

และจะยิ่งใหญ่กว่าเดิม แล้วผมจะกลับไปทานกาแฟแสนอร่อยจากฝีมือพี่ป้อมอีกครั้งนะครับ

โดย: cactus-old [28 ม.ค. 56 22:34] ( IP A:124.121.121.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   ขอบคุณค่ะ ที่นำเสนอมาให้เราได้ชื่นชม เป็นมือใหม่ของวงการกระบองเพชรเหมือนกันค่ะ สมัย 20ปีที่แล้วเห็นพี่ชายของเราได้สะสมกระบองเพชรมีดอกสวย สารพัดสี แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจ มีแค่เหลือบตาดู นิดๆ 555 จนทุกวันนี้พี่ชายเปลี่ยนผันจากกระบองเพชรไปจับไม้ตัวอื่นแล้ว กลายเป็นผู้ค้าส่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงไปแล้ว แปลกใจเหมือนกันผ่านไป เวลาผ่านไป20ปี เรากลับมาชอบกระบองเพชรซะงั้น5555 เริ่มจากลูกสาวซื้อมาแต่ไม่สนใจเราเลยจับมาเปลี่ยนดินให้ ทุกวันนี้กลายเป็น หายใจเข้าก็กระบองเพชร หายใจออกก็กระบองเพชร ดั้นด้นไปทุกที่ที่คิดว่ามีกระบองเพชรขาย โชคดีมีพี่ที่รู้จักพาไป จตุจักร, สนามหลวง2 ,ดำเนิน,บางบัวทอง และตามงานเกษตรต่างๆ ทุกวันนี้มีความสุขที่สุด พูดได้เต็มปากว่าอยู่กับต้นไม้เรามีความสุขมากมาย เดินเข้าเดินออกจนถนนต้นไม้จะสึกซะแล้วว 5555
โดย: พิม [31 ม.ค. 56 3:31] ( IP A:110.49.250.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   @คุณพิม จุดเริ่มในการเลี้ยงแคคตัสของเราแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่เมื่อเราได้เข้ามาอยู่ในวงโคจรเดียวกันแล้ว สิ่งที่เหมือนกันคือยากที่จะถอนตัว สำหรับคนที่รักจริงแล้วก็คงจะเลี้ยงยาวไปเลยถ้าหากไม่มีภาระหรือเหตุจำเป็นใดๆเข้ามาแทรกในชีวิต

แคคตัสมีเสน่ห์ในตัวเอง เมื่อเราอยู่กับมันแล้วรู้สึกสบายใจ เพลิดเพลินและมีความสุข ผมเองคงอยู่กับแคคตัสจนตายแหละครับ

โดย: cactus-old [31 ม.ค. 56 21:52] ( IP A:223.205.144.81 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ^ ^ พูดไม่ออก ครับ

จริง ดังพี่โอ่งว่าทุกคำเลย อิอิ
โดย: จ๊อบ yukkokai@hotmail.com [14 ก.พ. 56 9:44] ( IP A:180.183.128.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   ประทับใจมากค่ะ....ขอบคุณนะคะ
โดย: bb/bebe1032.rp@gmail.com [16 มี.ค. 56 16:19] ( IP A:58.11.253.71 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   น้ำตาไหลเลยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ ขอบคุณทำให้ได้เลี้ยงกระบองเพชรในวันนี้
โดย: t.sirisoam [22 ก.ค. 56 21:58] ( IP A:223.205.224.241 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   ครอบครัวเคยทำกระบองเพชรเป็นอาชีพ แต่หลังจากคุณแม่ท่านเสียก็ไม่มีคนรับช่วงต่อ เนื่องจากตัวผมเองไม่มีเวลา นึกแล้วก็ยังเสียดายต้นไม้ เมื่อก่อนมีเยอะเรียกได้ว่าพอจะอวดให้คนอื่นได้ชื่นชมบ้างแต่ตอนนี้ขาดการดูแล นึกถึงแล้วเสียดายจริงๆครับ T.T
โดย: bankecono@gmail.com [4 ก.ย. 56 15:31] ( IP A:27.55.208.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   รƒโ€šร‚ยครƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยบรƒโ€šร‚ยครƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’รขโ‚ฌหœรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒฦ’ร‚ย รƒโ€šร‚ยครƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยทรƒฦ’รขโ‚ฌล“รƒโ€šร‚ยกรƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยบรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยงรƒฦ’ร‚ย รƒโ€šร‚ยพรƒโ€šร‚ยชรƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’ร‚ย รƒโ€šร‚ยปรƒฦ’ร‚ยงรƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยชรƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒโ€šร‚ยพ รƒฦ’ร‚ยกรƒโ€šร‚ยตรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’รขโ‚ฌยนรƒฦ’รขโ‚ฌยฆรƒฦ’รขโ‚ฌหœรƒโ€šร‚ยงรƒโ€šร‚ยจรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยกรƒโ€šร‚ยครƒฦ’ร‹ล“รƒโ€šร‚ยณรƒฦ’ร‚ยกรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ยจรƒโ€šร‚ยทรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร…ย รƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยกรƒฦ’ร‚ยงรƒฦ’ร‚ยครƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒโ€šร‚ยครƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’รขโ‚ฌหœรƒโ€šร‚ยบรƒโ€šร‚ยชรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒโ€šร‚ยงรƒโ€šร‚ยตรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร‚ย รƒโ€šร‚ยนรƒฦ’รขโ‚ฌโ€รƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยงรƒโ€šร‚ยจรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยกรƒโ€šร‚ยตรƒฦ’รขโ‚ฌหœรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒโ€šร‚ยผรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยงรƒฦ’ร‚ยครƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒฦ’รขโ‚ฌยฆรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ข รƒโ€šร‚ยนรƒฦ’รขโ‚ฌโ€œรƒโ€šร‚ยกรƒฦ’ร‚ยกรƒฦ’รขโ‚ฌยฆรƒฦ’ร‚ยฉรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒโ€šร‚ยกรƒฦ’ร‚ยงรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒฦ’รขโ‚ฌหœรƒโ€šร‚ยงรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร…ย รƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยดรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยตรƒฦ’ร‚ยฉรƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร‚ยครƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ยฉ รƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌโ€รƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยกรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยกรƒฦ’ร‚ยครƒโ€šร‚ยดรƒฦ’ร‚ยฉรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒฦ’ร‚ยจรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยพรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยจรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒโ€šร‚ยดรƒฦ’ร‚ยฃรƒฦ’รขโ‚ฌยนรƒฦ’ร‚ยฉรƒโ€šร‚ยครƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร‚ยรƒฦ’รขโ‚ฌโ€รƒฦ’ร‚ยจรƒโ€šร‚ยนรƒฦ’ร‚ยครƒโ€šร‚ยดรƒฦ’ร‚ยฉรƒโ€šร‚ยชรƒฦ’รขโ‚ฌโ€รƒฦ’ร‚ยจรƒโ€šร‚ยนรƒโ€šร‚ยชรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยบรƒฦ’ร‚ยฉรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยงรƒฦ’ร‚ยกรƒโ€šร‚ยตรƒฦ’ร‚ยจรƒโ€šร‚ยตรƒฦ’ร‚ยรƒโ€šร‚ยนรƒโ€šร‚ยนรƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’ร‚ยฉรƒโ€šร‚ยขรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒโ€šร‚ยดรƒโ€šร‚ยกรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒฦ’ร†โ€™รƒโ€šร‚ยดรƒฦ’รขโ€žยขรƒฦ’ร‚ยกรƒฦ’รขโ‚ฌยฆ รƒโ€šร‚ยนรƒฦ’รขโ‚ฌโ€œรƒโ€šร‚ยกรƒโ€šร‚ยถรƒฦ’รขโ‚ฌโ€œรƒโ€šร‚ยงรƒฦ’ร‚ยกรƒฦ’รขโ‚ฌยฆรƒฦ’ร‚ยฉรƒฦ’รขโ‚ฌยกรƒฦ’ร‚ย รƒฦ’ร…ย รƒฦ’รขโ‚ฌยขรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยดรƒฦ’รขโ‚ฌโ„ขรƒฦ’รขโ‚ฌลกรƒโ€šร‚ยจรƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’รขโ‚ฌยรƒโ€šร‚ยงรƒฦ’ร‚ยฆรƒโ€šร‚ยครƒฦ’ร†โ€™รƒฦ’รขโ‚ฌหœรƒโ€šร‚ยบ T.T
โดย: bankecono@gmail.com [4 ก.ย. 56 23:17] ( IP A:115.87.20.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง เป็นคนรักต้นไม้ค่ะปลูกทุกอย่าง พอวันหนุดก็จะนอนดึกได้นอนประมาน 2 ถึง 3 ชม. เมื่อเสร็จจากงานบ้านก็จะขลุกอยู่กับต้นไม้ จนสามีตำหนิ มีเงินก็ซื้อต้นไม้ มีเวลาก็อยู่กับต้นไม้ ต้นไม้เลี้ยงชีวิตเราได้มั๊ย ถ้าเลี้ยงเฃราได้จะไม่ว่าเลย ดิฉันอดทนกับคำที่สามีบ่นใช้เวลาปลูกต้นไม้ทุกอย่าง เริ่มจากที่ชอบ ต่อมาไม่ชอบก็ปลูก อยู่เป็นเวลา 3 ปี และได้มีโอกาสเปิดร้นขายต้นไม้ ขายทุกอย่างที่หามาได้ค่ะใหม่ๆ ขายเองหลังเลิกงานและวันหยุด จนมีวันหนึ่งสามีเกิดอุบัติเหตุไม่สามารถไป ทำงานได้ จึงมาช่วยขายต้นไม้ แรกๆ ไม่รู้จักอะไรเลย นอกจากไม้ผลที่เขาเคยกิน เขาก็เริ่มศึกษาใช้เวลาไม่ถึงปี เขามีความรู้ ทั้งเรื่องต้นไม้และวิธีการเลี้ยงมากกว่า และขายเก่งด้วย จนทุกวันนี้ต้นไม้เลี้ยงเราได้ ที่เล่าให้อ่านกันเพราะอยากแชร์ประสบการณ์ในเรื่องของการปลูกต้นไม้ทุกชนิดด้วยใจรัก ทุกวันนี้ก็มีความสุขกับการปลูกและดูแล ส่วนสามีก็มีความสุขอยู่กับการดูแลและขายต้นไม้ค่ะ ไม่ว่าการเริ่มต้นจะต่างกันอย่างไรแต่ก็มีความสุขเหมือนกันค่ะ
โดย: sopapan [10 ก.ย. 56 23:48] ( IP A:27.55.27.162 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   ขอบคุณนะคะ ที่รู้มาบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ก็มารู้เต็มที่ที่นี่แหละค่ะ
ทำต่อไปนะคะ
โดย: Surang Thubkhun [30 ก.ย. 56 21:24] ( IP A:171.6.89.138 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   

ไม่ทราบว่าตอนนี้เริ่มมีบ้างหรือยังคะ ยังไงติดต่อกลับนะคะ

โดย: แหม่ม [10 มี.ค. 57 17:25] ( IP A:125.26.193.49 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   

ครอบครัวนี้เป็นคนดี คุณภาพสินค้าและราคาก็ยุติธรรม มีแต่ความน่าชื่นชมเคยไปซื้อ 3-4ครั้งก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นแบบนี้เหมือนกัน  แบบคนตัวเล็กๆ แอบมอง แอบอยากได้ บางครั้งไม้กล้าถาม (เพราะกลัวตังไม่พอจ่าย) แอบฟังคนที่เขาเป็นนักเล่นคุยกัน

รู้สึกว่าเราตัวเล็กๆ มือใหม่ ช่างห่างไกลกับเซียนๆ เหลือเกิน ได้แต่หวังว่าวันหนึ่งเราจะต้องเป็นเหมือนเขาให้ได้ เมื่อมาถึงวันนี้ทำให้ผมเข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกเรียกว่ามือใหม่ได้เป็นอย่างดี แต่ซื้อน้อยมากเพราะเงินมีจำกัดกว่า  แต่ถ้าสุดๆก็ยอมซื้อค่ะ

โดย: แม่บ้าน [29 ก.ค. 57 16:37] ( IP A:1.47.170.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   อยากไปมากๆค่ะ ยิ่งฟังเรื่องราวกระท่อมลุงจรณ์ยิ่งอยากไปค่ะ ที่บ้านของอัญชอบกระบอกเพชรและสัปปะรดสีมากๆชอบสะสม ตามหามานานอยากไปในที่ที่อบอุ่นและเปนกันเองอย่างนี้นานแล้วจาแวะไปนะค่ะ
โดย: uann_27@hotmail.com [15 พ.ย. 58 23:17] ( IP A:134.196.248.29 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน