|
| |
เรื่อง การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกซึ่งกำลังกระทำหน้าที่ในการป้องหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
ให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึกประจำการ และครอบครัว ( บิดา มารดา ภรรยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ) ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับบุตรบุญธรรมให้ได้รับการสงเคราะห์ได้ ๑ คน แต่ต้องจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมก่อนเกิดสิทธิ ทหารผ่านศึกประจำการ คือ ทหาร หรือบุคคล ซึ่งกำลังปฎิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ( ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง กอ.รมน. และ คำสั่งกองทัพ ) ได้แก่ ข้าราชการทหาร , ตำรวจ , อาสาสมัครทหารพราน , อาสาสมัครรักษาดินแดน ระยะเวลาการได้รับสิทธิ จะมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ในระหว่างกำลังปฏิบัติการรบเท่านั้น สิทธิสิ้นสุดลงเมื่อ พ้นจากการกระทำหน้าที่ดังกล่าว และให้เฉพาะผู้ที่ไม่มีสิทธิเบิกจากหน่วยต้นสังกัด คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิ ๑. เป็นทหารผ่านศึกประจำการ ๒. ต้องปฎิบัติงานในหน่วยรบ หรือหน่วยที่ซึ่งต้องเสี่ยงอันตราย หรือปฎิบัติงานใกล้กับเหตุ และเป็นการเสี่ยงอันตราย ตามที่กระทรวงกลาโหม หรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ยกเว้น กรณีถึงแก่ความตาย ไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๒. ประเภทการสงเคราะห์ ๑. การเยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกผู้บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการปฎิบัติหน้าที่ ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโดย อผศ. จะจัดเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมเยียน พร้อมมอบเงินเยี่ยมเยียน คนละ ๒,๐๐๐.-บาท ๒. กรณีการบำเพ็ญกุศลทางศาสนา ( ทหารผ่านศึกฯ เสียชีวิต ) อผศ. เป็นเจ้าภาพเอง ให้การสงเคราะห์คราวละไม่เกิน ๑๕,๐๐๐.-บาท (เสียชีวิตจากการปฎิบัติหน้าที่ ) ๓. กรณีถึงแก่ความตาย กรณี ทหารผ่านศึกประจำการ และครอบครัว ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถึงแก่ความตาย จะได้รับการสงเคราะห์ช่วยค่าจัดการศพ คนละ ๗,๐๐๐.-บาท ให้ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานขอเบิกค่าจัดการศพ ภายในระยะเวลา ๑ ปี นับตั้งแต่วันถึงแก่ความตาย ๓.๑ กรณีทหารผ่านศึก ถึงแก่ความตาย มีหลักฐาน ดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่ง กอ.รมน. เรื่อง ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ - สำเนามรณบัตรทหารผ่านศึก - สำเนาทะเบียนบ้านทหารผ่านศึก ที่ประทับตรา ตาย - สำเนาบัตรประชาชนทหารผ่านศึก หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านทายาทผู้รับเงิน - หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ ( จากทางวัด/จากทางมัสยิด ตามแบบของ อผศ. ) - กรณี ภรรยาเป็นผู้จัดการศพให้ใช้สำเนาทะเบียนสมรสแทนหนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ
๓.๒ กรณีครอบครัวถึงแก่ความตาย ได้แก่ บิดา มารดา ภรรยา และบุตร ( อายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ )
มีหลักฐาน ดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่ง กอ.รมน. เรื่อง ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ - สำเนาบัตรประชาชนทหารผ่านศึก หรือบัตรประจำตัวข้าราชการทหาร - สำเนาทะเบียนบ้านทหารผ่านศึก - สำเนามรณบัตรผู้ตาย - สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย ที่ประทับตรา ตาย - สำเนาใบสำคัญการสมรสของทหารผ่านศึก (กรณีภรรยา และบุตรเสียชีวิต) - สำเนาสูติบัตร (กรณีบุตรเสียชีวิต) - สำเนาใบสำคัญการสมรสของบิดา - มารดา (กรณีบิดาเสียชีวิต)
๔. ค่าคลอดบุตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่หญิง และภริยาของผู้ปฏิบัติหน้าที่ จะได้รับการสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร คราวละ ๒,๐๐๐.- บาท ให้ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐาน ภายในระยะเวลา ๖ เดือน นับแต่วันคลอดบุตร
มีหลักฐาน ดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ราชการ - หนังสือรับรอง การปฺฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ( ตามแบบของ อผศ. ) - สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้านของ ทหารผ่านศึก ภรรยา และบุตร - สำเนาสูติบัตรบุตร - สำเนาใบสำคัญการสมรสของทหารผ่านศึก
๕. การรักษาพยาบาล ทหารผ่านศึกที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ฯ และครอบครัว ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน จะได้รับการสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล เฉพาะผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เบิกจากต้นสังกัด ได้แก่ อาสาสมัครทหารพราน พลทหาร โดยให้เบิกได้ตามหลักเกณฑ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐาน ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามใบเสร็จรับเงิน หรือนับแต่วันสุดท้ายที่ออกจากโรงพยาบาลที่รักษา มีหลักฐาน ดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่ง กอ.รมน. เรื่อง ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ - หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ( ตามแบบของ อผศ.) - ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล ( โรงพยาบาลของรัฐบาล ) - สำเนาบัตรประจำตัวอาสาสมัครทหารพราน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึก และของครอบครัว (กรณีเบิกของ ครอบครัว) - สำเนาใบสำคัญการสมรสของทหารผ่านศึก (กรณีเบิกให้ ภรรยา และบุตร) - สำเนาใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา (กรณีเบิกให้บิดา)
๖. ค่าธรรมเนียมการเรียนบุตร ให้การสงเคราะห์ ค่าบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาล และค่าธรรมเนียมการเรียนในสถานศึกษาของเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ในหลักสูตรไม่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แก่บุตร ของทหารผ่านศึกซึ่งกำลังกระทำหน้าที่ป้องกันหรือปราบปรามฯ ซึ่งอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ โดยจ่ายเงินช่วยเหลือให้ในกรณีที่ทางราชการไม่ช่วยเหลือ ( สำหรับบุตรข้าราชการ บุตรคนที่ ๔ และ ๕ ) ตามอัตราที่กระทรวง ศึกษาธิการกำหนด นับแต่ภาคการศึกษาที่ราชการให้ออกไปปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นไป จนถึงภาคการศึกษาที่มีคำสั่งให้พ้นหน้าที่ โดยให้ขอรับการสงเคราะห์ให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษาถัดไป หลักฐาน การขอรับการสงเคราะห์ค่าธรรมเนียมการศึกษาบุตร มีดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่ง กอ.รมน. เรื่อง ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ - หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด (ตามแบบของ อผศ.) - สำเนาทะเบียนบ้านทหารผ่านศึกฯ และครอบครัว ( ภรรยา และบุตร ) - สำเนาสูติบัตรบุตร - สำเนาใบสำคัญการสมรส - หนังสือรับรองการเป็นนักเรียน ตามแบบ กสก.๒ ของ อผศ. - ใบเสร็จรับเงินค่าเล่าเรียนตัวจริง
๗. กรณีประสบภัยพิบัติ ต้องยื่นคำร้องภายในระยะเวลา ๑๒๐ วัน นับแต่วันประสบภัยพิบัติ มี ๒ กรณี คือ.๗.๑ ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ ทหารผ่านศึก ต้องมีชื่อเป็นเจ้าบ้านเท่านั้น ถ้าได้รับความเสียหาย บางส่วน จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน ๓,๕๐๐.-บาท ถ้าเสียหายทั้งหลัง จะได้รับ การสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐.- บาท โดยมีหลักฐาน ดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่ง กอ.รมน. เรื่อง ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ - หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด (ตามแบบของ อผศ.) - สำเนาทะเบียนบ้าน (ทหารผ่านศึกต้องเป็นเจ้าบ้าน ) - สำเนาบัตรประจำตัวอาสาสมัครทหาพราน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน - หนังสือรับรองความเสียหายจากทาง อบต. หรือ เทศบาล - หนังสือรับรองความเสียหายจากทางอำเภอ - ภาพถ่ายบ้านที่ได้รับความเสียหาย (ให้ทาง อบต. หรือ เทศบาล รับรองหลังภาพถ่ายด้วย)
๗.๒ เกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง ได้รับความเสียหาย จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหาย จริงรายละ ไม่เกิน ๑,๐๐๐.-บาท โดยมีหลักฐานขอรับการสงเคราะห์ ดังนี้.- - คำร้อง อผศ. ๒ ( ตามแบบฟอร์มของ อผศ. ) - สำเนาคำสั่ง กอ.รมน. เรื่อง ให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ - หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด (ตามแบบของ อผศ.) - สำเนาทะเบียนบ้านทหารผ่านศึก - สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน - หนังสือรับรองความเสียหายจากทางเกษตรอำเภอ หรือปศุสัตว์อำเภอ(ที่ระบุรายการความเสียหาย และจำนวนเงิน) และ มีเลขประจำตัวเกษตรกร ที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอ - หนังสือรับรองความเสียหายจากทางอำเภอ - หลักฐานแสดงที่ดินทำกิน ได้แก่ โฉน , นส.๓ หรือ สัญญาเช่าที่ดินทำกิน หรือหนังสือรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ขั้นตอนการขอรับการสงเคราะห์
๑. ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานที่สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสงขลา ๒. สำนักงาน ฯ ส่งเรื่องพร้อมหลักฐานไปตรวจสอบการปฎิบัติหน้าที่ที่หน่วยออกคำสั่ง ( กอ.รมน....... หรือ กองทัพ ) ๓. หน่วยออกคำสั่งรับรองการปฎิบัติหน้าที่ ส่งเรื่องกลับมายังสำนักงาน ฯ สำนักงาน ฯ โทรศัพท์ตามทหารผ่านศึกมารับเงิน
ด้วยความห่วงใย ............ จาก .. สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสงขลา การทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการสำหรับอาสาสมัครทหารพราน
สำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทาน เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน เหรียญราชการชายแดน เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ ๒ และต้องมีเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๘ เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่ง และเริ่มปฏิบัติหน้าที่ และได้ปฏิบัติสมความมุ่งหมายของทางราชการ เว้นแต่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้กระทำการปะทะต่อสู้ หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีการสู้รบ และเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต จะได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๓ โดยมีหลักฐาน ดังนี้.-
๑. สำเนาราชกิจจานุเบกษาที่ได้รับพระราชทานเหรียญ ฯ ๒. สำเนาคำสั่งออกจากราชการ หรือ สำเนาบัตรข้าราชการบำนาญ ๓. สำเนาคำสั่งปฏิบัติหน้าที่ พ้นหน้าที่ หรือ หนังสือรับรองเวลาราชการเป็นทวีคูณ ที่ใช้ในการขอพระราชทานเหรียญ ฯ ๔. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ๕. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบัน ๖. ภาพถ่ายสีธรรมชาติ ขนาด ๒.๕ x ๓ ซม. ( แต่งกายสวมเสื้อสากลผูกเน็คไท หรือชุดไทยพระราชทานไม่มีลวดลาย หรือ แต่งเครื่องแบบ) จำนวน ๓ ภาพ ห้ามถ่ายรูปด่วน
หมายเหตุ - กรณี เลื่อนยศ ต้องสำเนาพระบรมราชโองการพระราชทานยศ หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชทานยศ หรือสำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ - กรณี เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องมีหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล กรณีชื่อตัว ชื่อสกุลไม่ตรงกัน ต้องมีหนังสือรับรองเป็นบุคคลคนเดียวกันจากฝ่ายปกครอง ซึ่งทางอำเภอออกให้ หรือจากหน่วยต้นสังกัด - กรณี ปฎิบัติหน้าที่ไม่ถึง ๘ เดือน แต่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้กระทำการปะทะต่อสู้ หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีการสู้รบ และเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต ต้องมี หนังสือรับรองการปฎิบัติหน้าที่ ในพื้นที่ที่มีการสู้รบ หรือพื้นที่ที่เสี่ยงภัยอันตรายต่อชีวิต จากหน่วยต้นสังกัด
| โดย: ruangyut@gmail.com [11 มิ.ย. 55 11:58] ( IP A:113.53.71.147 X: ) |  |
 |
|
|