link ของผมครับ
   อันนี้เป็นลิ้งคที่ผมจัดทำขึ้นมาเอง ลองเข้าไปอ่านกันเล่นๆนะครับ คงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย https://www.facebook.com/pages/Te-genx-Corner/140166359335932
โดย: te_sound@hotmail.com (te_sound ) [7 ส.ค. 54 22:34] ( IP A:101.108.11.91 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 1633 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
   รอติดตามผลงานครับ 'จารย์เต้
โดย: NakarinTeam [9 ส.ค. 54 14:19] ( IP A:180.183.96.221 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ตัวอย่างเนื้อหาใน page นะครับ... ขออนุญาติ อ.เต้

Live sound mixing การทำงานกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงสด
โดย Te genx Corner เมื่อ 31 มีนาคม 2011 เวลา 11:05 น..

บทนำ Introduction

ถ้าคุณเคยไปดูคอนเสิร์ท ไม่ว่าจะเป็นศิลปินไทยหรือศิลปินจากต่างประเทศ คุณคงเคยคิดถึงเรื่องนี้

1.คุณไปดูการแสดงของศิลปินที่คุณชื่นชอบแล้วได้ยินเสียงดีๆสุดมันส์ ที่ทำให้ให้คุณสนุก จนทำให้คุณเกิดความสนใจ หันไปหาคนที่ควบคุม ดูแลระบบเสียง แล้วเกิดความประทับใจ จนมีความรู้สึกว่า"อยากทำงานแบบนั้นจัง"

2.คุณมีโอกาสไปเที่ยวหรือไปดูเพื่อนเล่นดนตรีตามสถานบันเทิง แล้วได้ยินเสีบงแย่ๆจากลำโพง เช่น มีเสียงจี่.ฮัมหรือแตกพล่า เสียงร้องไม่ชัดเจน เสียงเครื่องดนตรีบางชิ้นดังมากเกินไป คนที่ควบคุมสนใจกับแอลกอฮอลล์มากกว่าปัญหาที่เราได้ยิน จนคุณคิดว่า ถ้าเป็นคุณ "คุณจะทำให้ดีกว่านี้"

3.คุณมีโอกาสได้เจอเพื่อนที่กำลังรวมตัวกันเพื่อสร้างวงดนตรีและกำลังจะมีผลงาน แล้วได้รับโอกาสจากเพื่อนให้เข้ามาร่วมงานโดยมอบหน้าที่ให้ดูแลเรื่องระบบเสียงสำหรับการแสดง หรือคุณอาจได้รับโอกาสจากศถานศึกษาให้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องระบบเสียง เพราะเห็นว่าคุณสนใจในเรื่องนี้ แล้วคุณคิดว่า"คุณจะทำได้มั้ย?".จะไปศึกษาเรื่องนี้จากที่ไหน?.จะต้องไปถามหรือปรึกษาใคร?.และ "คุณต้องทำอะไรบ้าง?"

ถ้าคุณเคยคิดถึงเรื่องข้างต้น แล้วคุณมีความคุ้นเคยกับเรื่องเสียงหรือระบบเสียงสำหรับงานแสดงหรือเปล่า? ซึ่งบทความต่อจากนี้ไป คงจะมีประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อย แต่คงไม่สามารถรับประกันว่าคุณจะทำงานได้ดีกับงานหริอสองงานแรกๆ (หรืออาจมากกว่านั้น) แต่อาจจะทำให้คุณพัฒนาขึ้นในงานต่อไป ทำให้รู้ว่าพวก "มืออาชีพเค้าให้ความใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง? กับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น พวกเค้าใช้วิธีในการแก้ป้ญหากันอย่างไรจึงทำให้เสียงออกมาดี และอุปกุรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร..

บทความและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในที่นี้ ไม่ใช่บทความเกี่ยวกับด้านเทคนิคระดับสูงที่เข้าใจยาก แต่จะเป็นบทความที่จะทำให้รู้จักและใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง.ถูกที่,ถูกเวลา ไม่บิดมั่วจนเกิดปัญหา "หมดเวลาสำหรับการงมไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็เป็น หรือครูพักลักหลับ เอ้ย ลักจำแล้วนะครับ" จากหู สู่หัวใจ ส่งไปที่มือ เดินไปบนเส้นทางที่ถูกดต้อง แล้วคุณจะปลอดภัย สวัสดีครับ



ณ้ฐพงษ์ สุขะตุงคะ (เต้)
tegenx@gmail.com

โดย: เจ้าบ้าน [10 ส.ค. 54 13:59] ( IP A:203.158.4.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    A Typical Touring Systems ระบบสนับสนุนสำหรับงานแสดงสดขนาดใหญ่
โดย Te genx Corner เมื่อ 11 เมษายน 2011 เวลา 2:06 น..

ระบบเสียงสำหรับการแสดงดนตรีขนาดใหญ่ (Concert) โดยทั่วไปเราจะเรียกระบบนี้ว่า Touring systerm ซึ่งจะมีการวางแผนงาน และวางระบบการทำงานไว้เป็นขั้นตอน ซึ่งระบบนี้ถือว่าเป็นระบบใหญ่ที่สุดสำหรับสนับสนุนการแสดงสดทุกรูปแบบ จึงมีขั้นตอนที่ค่อนข้างจะซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ตั้งแต่การออกแบบระบบให้เหมาะสมกับการแสดง ทั้งระบบเสียงของนักแสดง(Monitor system) และระบบเสียงสำหรับผู้ชม (Front of House system) การจัดการระบบสำหรับเครื่องดนตรี (Backline) การวางแผนผังของเวที (Stage plot layout) เพื่อกำหนดจุดจ่ายไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในกานแสดงของนักแสดงและนักดนตรี (AC distributor) แผนผังที่จะแสดงจุดติดตั้งระบบเสียงสำหรับนักดนตรี (Monitor) ระบบสายสัญญาณไมโครโฟน (Microphone cable) หรือระบบสายสัญญาณเสียง (Audio cable) ที่มีจำนวนมากแบบ Snake multicore Stage box หรือ Spliter box ที่ใช้แยกสัญญาณต่างๆจากบนเวทีเพื่อให้ในแต่ละส่วนทำงานได้อย่างอิสสระ แต่ต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นกำเนิด (Source) เนื่องจากเราใช้ขนาดของงานเป็นตัวกำหนด จึงทำให้ระบบมีความจำเป็นที่ต้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ระบบสนับสนุนที่จะมาช่วยในการทำงานจึงต้องมีจำนวนหรือขนาดที่มากขึ้นตามไปด้วย และขั้นตอนในการทำงานก็จะต้องมีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย

โดย: เจ้าบ้าน [10 ส.ค. 54 14:05] ( IP A:203.158.4.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ระบบเสียงสำหรับผู้ชมหรือ Front of House systems ในปัจจุบันจะใช้อยู่สองระบบคือระบบ Line source array system(A) และระบบ Point source array sysem (B) ชึ่งจะมีการติดตั้งระบบอยู่สองแบบเหมือนกันคือแบบแขวน (Flying) และแบบวางซ้อนกันขึ้นไป (Ground stack) ซึ่งทั้งสองแบบจะต้องทำตามหลักที่ถูกต้องของแต่ละชนิดของลำโพงแบบนั้นๆ

โดย: เจ้าบ้าน [10 ส.ค. 54 14:06] ( IP A:203.158.4.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ระบบสนับสนุนการแสดงสดจะมีขั้นตอนการติดตั้งไม่ต่างจากระบบพื้นฐาน แต่จะมีขั้นตอนการติดตั้ง ระบบเสียงสำหรับนักแสดงหรือนักดนตรี (Monitor System) เพิ่มเติมขึ้นมา จากตัวอย่างในภาพที่แ สดง ซึ่งจะเป็นระบบสำหรับการแสดงดนตรีสด ซึ่งจะมีจำนวนนักดนตรีหลายคน และแต่ละคนต้องมีระบบเสียงไว้ฟังเสียงร้องของนักร้องนำหรือฟังเสียงร้องของต้วเองในกรณีที่ต้องร้องประสานเสียง (Backing Vocal) ฟังจังหวะและฟังการเล่นของสมาชิกในวง มิใช่เอาลำโพงมาฟังแต่เสียงเครื่องดนตรีของตัวเอง การติดตั้งระบบเสียงสำหรับนักดนตรี ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ช่องสัญญาณจากช่อง Auxiliary output เพราะจะมีหลายช่องสัญญาณ (โดยปกติ Monitor Mixer ที่ใช้ในงาน Touring จะมีตั้งแต่ 12 Outputขึ้นไปจนถึง 32 Output หรือมากกว่า) แต่ถ้าจะฟังรวมๆ เราสามารถใช้ช่องสัญญาณ Group output หรือ ช่อง Matrix out ได้ สำหรับการติดตั้งระบบ ก็จะเหมือนกับระบบพื้นฐานแต่จะมีระบบแยกสัญญาณมาใช้คือ Spliter box และต้องมี Matching Transformer มาช่วยปรับระดับสัญญาณไม่ให้ลดลง เนื่องจากเรานำสัญญาณไปใช้หลายจุด ซึ่งอาจจะมีระบบบันทึกเสียงการแสดงสด (Live Recording system) เข้ามาเพิ่ม หรืออาจจะมีระบบสำหรับสถานีวิทยุ,โทรทัศน์ (Live boardcast ) เพิ่มขึ้นมาอีก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงานและการแสดงนั้นๆ การนำสัญญาณเพื่อไปใช้สำหรับระบบเสียงของนักดนตรีคือนำสัญญาณออกทางช่องสัญญาณ Aux send (Output) หรือในMixer บางรุ่นอาจเรียก Mix outputซึ่งจะมีทั้งระบบ Pre-fader และระบบ Post-faderจะเลือกใช้แบบไหนก็แล้วแต่ช่างเทคนิค (Monitor tech.) และผู้ควบคุมระบบ(Monitor engineer) จะถนัด แต่ควรใช้ระบบนำสัญญาณเป็นระบบ Balanced (XLR 1GRD,2+,3-) เพราะสามารถใช้สายสัญญาณในระยะไกลได้ดีกว่าระบบ Unbalanced และจะต่อเข้าที่ช่องสัญญาณขาเข้า(XLR Input) ที่ตัวเครื่องปรับแต่งความถี่ หรือGraphic Equalizer (GEQ) ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้แบบ 1/3 (One Third) octave 27 band,30 band และ 31 band ส่วนจะมีความลาดชันของช่วงความถี่ (Slope)มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต การต่อสายสัญญาณ เราสามารถทำได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่งต่อเข้าที่ช่องสัญญาณขาเข้าที่ GEQ และออกจาก GEQ ไปเครื่องขยายสัญญาณ(Power Amplfier) แล้วส่งไปขับลำโพงสำหรับนักดนตรี (Wedge,Floor speakers) ถ้าเป็นลำโพงแบบ Bi-amp ก็ต้องเพิ่ม 2 way Crossover เข้าไปอีก และแบบที่สองคือใช้การนำสัญญาณเข้าและออก (In-Out) จากตัวเครื่อง GEQ ไปเข้าที่ช่อง Insert ตรงช่อง Aux master หรือ Mix master output ของ Monitor mixer ในระบบนี้เราสามารถใช้ตรวจสอบสัญญาณ (Solo,Cue,PFL) ต่างๆโดยสัญญาณจะผ่านตัวเครื่องปรับแต่งความถี่ หรือ GEQ มาด้วย แต่คุณก็ต้องมีลำโพงและเครื่องขยายสัญญาณที่เป็นรุ่นเดียวกับของนักดนตรีมาใช้ทำเป็น Wedge solo ฟัง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ควบคุม จะเห็นได้ว่าในการติดตั้งของทุกระบบเสียง เราจะใช้วิธีเดียวกันทุกระบบ

โดย: เจ้าบ้าน [10 ส.ค. 54 14:06] ( IP A:203.158.4.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
    ติดตามข่าวสาร และ ความรู้ มากมายได้ที่ Link ของ อ.เต้ ครับ

https://www.facebook.com/pages/Te-genx-Corner/140166359335932





ขอแสดงความนับถือ

โดย: เจ้าบ้าน [10 ส.ค. 54 14:08] ( IP A:203.158.4.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ได้ยินชื่อเสียงมาจากพี่ ทิศ ซาวส์ รร.นารายณ์ แก่บอกว่าแกนับถือพี่เต้ เป็นอาจารย์คนหนึ่งเลย ผมก็นับถือพี่ทิศเป็นอาจารย์อีกต่อนึงครับ วันนี้ได้อ่านบทความแล้วรู้สึกได้อะไรเพิ่มอีกมากมาย ข้าน้อยขอคาราวะขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคนนะครับ นับถือจริงๆ
โดย: v.seasons sound [23 ก.พ. 55 23:36] ( IP A:182.53.4.167 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน