อ่านเล่นๆๆ ไม่เห็นเป็นไร...ใช่ใส่บ่าแบกหาม อิอิอิ
   
โดย: [0 3] ( IP )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 3315 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
   อิอิอิ อีกฉึกๆๆ หนึ่ง.. อิอิอิ https://headphone-kiddo.blogspot.com/2010/11/8.html

โดย: อ้วน-ผอม live & sound (aodder ) [7 มี.ค. 54 13:22] ( IP A:58.8.251.77 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ขอบคุณ ครับน้า อ๊อด
โดย: Boyz APH Sound (Aphichat ) [7 มี.ค. 54 20:19] ( IP A:125.25.185.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   สเป็คของหูฟัง ดูไปทำไมน้าาา??? (อ่าน 455/ตอบ 1)

สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้ผมว่างๆยังไงไม่รู้ ได้หยุดยาว แถมไม่ต้องไปดูแลใครแล้ว วันๆเลยนั่งเอาหูฟังตัวโปรดฟังเพลงไปเรื่อยเปื่อย แต่ฟังได้เฉพาะเพลงหนักๆนะครับ ช่วงนี้ รักๆ เศร้าๆ หวานๆ ซึ้งๆนี่ไปไกลๆเลย ไม่อินๆ บ่นไปเรื่อย…..วันนี้ก็วันศุกร์แล้ว วันหยุดสุดสัปดาห์ วางแผยทำอะไรกันบ้างละครับ ยังไงถ้าว่างๆ ไม่ได้ทำอะไรก็แวะมาอ่านบทความของผม คนบ้าหูฟัง กันดีกว่าครับ



วันนี้มีสาระเล็กๆน้อยๆมาฝากคนรักหูฟังรุ่นใหม่อีกแล้วครับ จะว่ากันด้วยเรื่อง สเป็คที่แปะไว้ หรือพิมพ์ไว้ข้างกล่องหูฟัง เป็นประเด็นที่ผมเคยสงสัยเมื่อ 4-5 ปีที่แล้วว่า มันมีความสำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง ที่มีผลต่อการเลือกซื้อหูฟังของเรา

ที่ข้างกล่องหูฟังจะมีข้อมูลสำคัญๆดังนี้

Hz (ค่าความถี่)

โดยปกติหูของคนเราจะได้ยินความถี่เสียงเฉลี่ยที่ 20-20,000Hz นั่นแปลว่า ค่าที่ต่ำ หรือสูงกว่าเกณฑ์นี้ เราจะไม่สามารถได้ยินได้ครับ ดังนั้น ค่าความถี่ที่ระบุไว้ข้างกล่องหูฟังส่วนใหญ่จะอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับหูฟังไฮเอนด์ระดับนี้ ค่านี้เราแทบจะไม่จำเป็นต้องดูเลยครับ ไม่ค่อยมีประโยชน์เลยจริงๆ (แล้วใส่มาทำไมวะ???)



Sensitivity (ค่าความไว)

มีผลโดยตรงต่อเครื่องเล่นเพลงของเราเลยครับ ยิ่งค่าสูงมาก จะกินไฟน้อย ทำให้เราสามารถเปิดระดับโวลุ่มที่น้อยลง แต่เสียงจะดังกว่า เมื่อเทียบกับหูฟังตัวอื่นที่มีค่าความไวต่ำ ซึ่งช่วยให้ประหยัดพลังงานของเครื่องเล่นMp3 เล่นได้นานขึ้น นั่นเองครับ



Impedance (ความต้านทาน มีค่าเป็นโอมห์……ชาตรี คงสุวรรณ…ตลกและ!? )

เป็นค่ากลางที่วัดได้ ณ คลื่นความถี่ 100 Hz ครับ ส่วนใหญ่ที่หูฟังตามท้องตลาดจะมีทั้ง 8, 16, 32, 64, 128, 300 และ 600 โอมห์ เป็นต้น( ซึ่ง Grado เกือบทุกรุ่นจะมีค่าอยู่ที่ 32 โอมห์ ) ส่วนหนึ่งมีผลต่อการขับของเครื่องเล่นเพลงของคุณครับ ซึ่งจะคล้ายๆกับค่าความไว คือโอมห์สูง ก็ต้องการกำลังขับสูงขึ้น เพื่อให้ได้เสียงที่ดังขึ้น แต่ไม่ใช่แค่นั้นครับ เสียง บรรยากาศและรายละเอียดที่ครบถ้วน คือประเด็นสำคัญ นั่นแปลว่า คุณจำเป็นที่จะต้องศึกษา และหาแอมป์ที่มีกำลังขับที่เหมาะสมกับค่าความต้านทาน เพื่อมาขับหูฟังตัวเก่งของคุณ เพราะถ้าคุณไม่ได้ใช้แอมป์ หรือเลือกแอมป์ที่ไม่เข้ากับหูฟังของคุณ เสียงอาจจะดังตามความต้องการของคุณครับ แต่รายละเอียด บรรยากาศ และประสิทธิภาพ คุณอาจจะไม่ได้รับสิ่งเหล่านั้นเลยก็ได้ครับ การฟังเพลง มีรายละเอียดมากกว่าแค่ “เสียงดัง” นะครับ



ได้เวลาทานข้าวผมแล้ว ขอติดไว้ก่อน มาต่อกันวันหลัง ผมจะมาสาธยายชนิด และลักษณะของออพชัั่น เอ้ย ลำโพงของหูฟังให้ฟังกัน เอาเท่าที่จะรวบรวมมาได้เลยนะครับ ยังไงคอยติดตามกันด้วย ขอให้ฟังเพลงอย่างมีความสุขและสนุกกับ weekend ของคุณนะครับ


ความคิดเห็นที่ 0
ขอเสริมอีกอย่างครับ การจะฟังเพลงให้ได้เสียงที่ดีนั่นจะต้องมาจากองค์ประกอบทุกส่วนครับ ไม่ได้ชึ้นอยู่กับหูฟังเพียงอย่างเดียว มีอะไรบ้างเหรอครับ มาดูกัน 1. ไฟล์เพลงที่ดี ซึ่งอัลบั้มระดับออดิโอไฟล์เนี่ย ไม่ได้ใช้ซีดีนะครับ เค้าใช้แผ่นดีวีดีกันเลยทีเดียวเชียว 2. เครื่องเล่นคุณภาพดี สังเกตได้ว่าเครื่องเล่นมีระดับราคาต่างกันไป ทำไมนะเหรอ เทคโนโลยี และวงจรภายในนั่นเองครับ ที่ทำให้สามารถถ่ายทอดเสียงได้ดี และเครื่องเล่นก็จะมีราคาที่สูงตาม 3.กระแสไฟที่ใช้ โดยเฉพาะกรณีเครื่องเสียงบ้าน กระแสไฟที่สะอาด ความถี่สม่ำเสมอ จะช่วยให้เสียงสะอาด รายละเอียดดีขึ้นเยอะเลยครับ (ใช้ซื้อปลั๊กกรองสัญญาณไฟมาใช้ได้จะดีมาก โดยเฉพาะบ้านเรา กระแสไฟแย่เอามากๆเลยครับ) 4. แน่นอนละครับ หูฟัง......หูฟังที่ดีและแมชกับแนวเพลง รวมถึงเครื่องเล่น จะช่วยให้การฟังเพลงของเราได้อรรถรสเต็มที่ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป รวมถึงเวลาที่มานั่งศึกษาข้อมูลกันด้วยนะครับ 5. หูของเราครับ หูของเรามีการรับรู้ไม่เหมือนกันครับ ดังนั้นองค์ประกอบทุกประการที่ผมกล่าวข้างต้นทั้งหมด ต่อให้เหมือนกัน แต่อาจจะส่งผลไม่เหมือนกันกับทุกคน ดังนั้นสรุปได้ว่ามันเป็นเรื่องของเทสต์ สไตล์และความชอบ ผมถึงได้พูดเสมอว่า ไม่มีคำว่า ผิด หรือ ถูก ในวงการนี้หรอกครับ มีแต่เรื่อง ชอบ กับไม่ชอบ ซะมากกว่า......

aodder

โดย: ลูกกบตัวเล็กๆๆ (aodder ) [8 มี.ค. 54 12:06] ( IP A:115.87.195.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   อิอิอิ Studio Monitor~

มักจะเป็นหูฟังที่ให้เสียง Balance ที่ดี ไม่ค่อย Color มาก และชัดทุกย่าน ส่วนมากจะไม่เน้นเบสเป็นพิเศษ บางตัวเรียกว่าเบสหายไปเลยด้วยซ้ำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหูฟังที่ออกแบบมาให้ใช้งานในส่วนไหน เพราะการใช้งานใน Studio มีตั้งแต่ การ Mix เสียง , งาน Stage หรือ PA ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปเลยนะครับว่า หูฟังตัวนั้นตัวนี้ ใช้ได้เฉพาะงานนั้นงานนี้เท่านั้น บางทีก็ขึ้นอยู่กับคนใช้ด้วยครับ บางคนก็ชอบเสียงแนวนี้ บางคนชินกับสไตล์นี้ ตรงนี้ก็แล้วแต่ความชอบของคนใช้ครับ โดยมากแล้วหูฟังแบบ Monitor มักจะเป็นลักษณะแบบ Close Type มีบ้างบางตัวที่เป็นแบบ Semi-Open แต่ก็ส่วนใหญ่แบบ Close จะถูกหยิบนำมาใช้มากกว่า เพราะบางทีก็จำเป็นต้องให้มันเก็บเสียงจากภายนอกในระดับนึงครับ หูฟังเด่นๆในตระกูลนี้ก็ได้แก่


Sony MDR-V6
Sony MDR-7509
AKG K240
Sennheiser HD-25
Sennheiser HD280pro
Beyerdynamic DT770 , DT880 และ DT990
Audio-Technica A900 , A950Ltd
โดย: ลูกกบตัวเล็กๆๆ (aodder ) [10 มี.ค. 54 13:38] ( IP A:58.8.252.198 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ฮิฮิ โฆษณาแฝง สะหน่อย
ผมมีเด้อ Beyerdynamic DT-770PRO
ราคาม่ายแพง

โดย: นาย P.SOUND 081-8479281 (นาย P-SOUND ) [31 ส.ค. 54 13:31] ( IP A:61.90.91.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ใช้DT-880 350ohm อยู่ครับ ชอบครับ เพราะทำงานได้ดีขึ้น
โดย: ธฤตผาณิตพิเชฐวงศ์ [18 ก.ย. 54 22:23] ( IP A:110.168.117.147 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน