mdhouse.pantown.com
ห้องสมุด <<
กลับไปหน้าแรก
การปรับ EQ เสียงร้องง่าย ๆ ให้ชัดเจน
การอีคิวเสียงร้องคร่าว ๆ
EQ-ใส่ Highpass filter(Low cut) 75-100Hz
250 Hz สำหรับเสียงผู้หญิงให้แน่นขึ้น เสียงผู้ชายจะทุ้ม ลึก(ระวังอย่ามากเกินไปล่ะ มันจะอู้),
400 Hz เสียงจะอิ่ม นุ่มทุ้ม มีน้ำหนัก ได้อารมณ์โดนเฉพาะเพลงลูกกรุง
500 Hz เสียงกลางชัดเจน หนา
3 kHz ช่วยให้ฟังคำชัดขึ้น,
5 kHz เพื่อให้ฟังชัดตอนช่วงเขาเสียงเบาหรือถูกเสียงอื่นทับ,
8 kHz สำหรับแยกเสียงหน้าหลัง (ตัดออกที่เสียงร้อง back up),
10 kHz หากต้องการให้เสียงใสขึ้น เป็นช่วงของ รีเวิร์บ
ขอขอบคุณ
AZUSA
สำหรับข้อมูล
โดย: BaCkSTaGe...หล่อ ๆ
[15 ก.ค. 52 13:11] ( IP A:202.142.204.1 X: )
Counter : 13622 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
..ผูกพันกันจังนะ 555
โดย: จำปาตีนโต
[15 ก.ค. 52 13:13] ( IP A:125.27.128.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ฅนบ้านเด๊ยวกันซันดอกหวา
โดย: พยัคฆ์
[24 ก.ค. 52 11:49] ( IP A:125.26.241.155 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
เทคนิคการร้องเพลง
การร้องเพลงมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากมาย ซึ่งถ้าเราเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆแล้ว ก็สามารถที่จะนำมาใช้ในบทเพลงได้ การที่จะร้องเพลงสักเพลงหนึ่ง การควรที่จะศึกษาบทเพลงนั้นๆ ด้วยความละเอียดอ่อน อาจจะร้องทีละวรรค พิจารณา ความหมาย, ทำนอง, จังหวะ รวมไปถึงอารมณ์ของบทเพลง การฝึกซ้อมกัยบทเพลงจริงๆนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการนำสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ จากทฤษฎี มาฝึกปฏิบัตให้เกิดความเคยชิน สามารถนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึง ความถูกต้องในการใช้สระและพยัญชนะในภาษา การควบคุมลมหายใจ การสร้างพลังในการขับร้อง การควบคุมระดับความสูงต่ำของเสียงไม่ให้เพี้ยน คุณภาพของเนื้อเสียง ความหนัก-เบา ในการใช้น้ำเสียง
ขั้นตอนในการต่อเพลง
1. อ่านเนื้อเพลงทั้งหมดก่อน และทำความเข้าใจกับความหมาย ของเนื้อร้องโดยละเอียด ว่ามีอารมณ์อย่างไร เศร้า สุข สนุกสนาน ซึ่งการอ่านเนื้อเพลง จะทำให้เราสามารถเลือกใช้น้ำเสียง Tone เสียงให้เหมาะกับบทเพลงได้
2. ฟังทำนองของบทเพลง เพื่อให้เกิดความเคยชิน และสามารถรับรู้ได้ถึงความหนักเบาของบทเพลง ในแต่ละท่อนได้ เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ และกำหนดความหนัก-เบา (Dynamic) ของน้ำเสียงได้
3. หา Form ของเพลงในแต่ละเพลงว่ามีลักษณะอย่างไร มี Intro,Solo,Ending กี่ห้อง มีการจัดวางท่อนของบทเพลงอย่างไร เพลงที่จะร้องเป็นคีย์ใด มีระดับเสียงสูงหรือต่ำ เหมาะสมกับเสียงของเราหรือไม่
4. ซ้อม-เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในการร้องเพลง อาทิ การหายใจ น้ำเสียง เพื่อที่จะนำมาใช้จริงในบทเพลง เพื่อให้ได้การฝึกซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
การขับร้องเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ
การขับร้องให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ นั้น หมายถึง การขับร้องให้ได้เสียงที่ชัดเจน ทั้งระดับเสียงที่คงที่ไม่แกว่ง ระดับความสูงต่ำของโน้ตที่ถูกต้องตามเมโลดี้ การควบคุมจังหวะในการร้องเพลง ความหมายที่ถ่ายทอดออกมา ฯลฯ
การสร้างเสียงให้ได้คุณภาพนั้นเราสามารถทำได้โดย เน้นให้เสียงแต่ละเสียงที่ถูกเปล่งออกมา เป็นไปตามขั้นตอนดังนี้
1.ขณะที่เราร้องเพลง ควรรู้สึกว่าเสียงที่เปล่งออกมานั้น ให้ความรู้สึกที่พุ่งออกไปข้างหน้า (Projection) และมีจุดรวมกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนบริเวณใบหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (Registration) แล้วแต่ Tone ของเสียงที่เราจะเปล่งออกมา Registration ของเสียงจะเปลี่ยนไปตาม Tone ของเสียงนั้นๆ แต่ควรระวังไม่ให้ Registration ของเสียงไปตกอยู่ที่ลำคอหรือจมูก เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็งไปโดยอัตโนมัติ ทำให้เสียงที่ได้เกิดความกระด้าง ไม่น่าฟัง
2.ควรยืนให้ลำตัวตรง (Hold body) หลังตรง ยืดอก ไหล่ผาย หน้าตรง ไม่เกร็งส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้ปอด กระบังลม ลำคอ ปาก ลิ้น ขากรรไกร ทำงานได้อย่างสะดวก ปกติ และเต็มประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมให้เรา เป็นนักร้องที่มีบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย
3.คิดถึงบรรยากาศ สร้างจินตนาการ (Imagination) ตามความหมายของเนื้อเพลงเพื่อให้เสียงที่เปล่งออกมา สามารถสื่ออารมณ์ได้อย่างมีชีวิตชีวา
4.ถ่ายทอดอารมณ์ตามบทเพลง เพลงแต่ละเพลง จะแสดงออกถึงความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงต่างกัน ผู้ขับร้องจึงควรถ่ายทอดอารมณ์จากบทเพลงให้ถูกต้อง ตามความหมายของบทเพลงแต่ละเพลง เพลงรักก็ต้องร้องให้อยู่ในอารมณ์รัก สามารถใช้น้ำเสียงสื่อถึงความหมาย และอารมณ์ของบทเพลง ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ ดังนั้นก่อนที่นักร้องจะเริ่มทำการขับร้อง จึงควรศึกษาความหมายของบทเพลง ให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะสามารถขับร้องออกมา ได้ตามความหมายของบทเพลง
โดย: เจ้าบ้าน
[4 ส.ค. 52 14:47] ( IP A:202.142.204.1 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
การใช้ลีลา
หลายคนอาจจะมองว่าร้องเพลงให้ได้ดีนั้น เป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะเมื่อเราเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน ที่เกี่ยวกับการร้องเพลงแล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญกับการใช้ลีลา ประกอบการร้องเพลงอีกด้วย
ลีลา ในที่นี้หมายถึง การแสดงออกทางอารมณ์ เพื่อให้ผู้อื่นทราบถึงความหมายของบทเพลงนั้นๆได้ การใช้ลีลาในการสื่อความหมายสามารถแสดงออกได้ 4 วิธี
1. การใช้ลีลาผ่านทางแววตา นับเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อถึงความหมาย ของบทเพลงแต่ละเพลง ได้เป็นอย่างดี การแสดงอารมณ์เศร้า, รัก, สนุกสนาน, ร่าเริง ฯลฯ สามารถสื่อได้ด้วยสายตา การมองและสื่อสารกับผู้ชมและผู้ฟัง ด้วยสายตา (Eyes contact) นั้น จะทำให้ผู้ชมและผู้ฟัง เกิดความรู้สึกคล้อยตามความหมายของบทเพลงได้ง่ายขึ้น
2. การใช้ลีลาผ่านทางสีหน้า นอกจากการใช้แววตาในการสื่ออารมณ์แล้วนั้น สีหน้าก็นับเป็นสิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้เราสามารถสื่อความหมายของบทเพลง ไปยังผู้ชมและผู้ฟังได้ เพราะโดยปกติแล้วเมื่อเกิดการสื่อสารในลักษณะ "พบหน้ากัน" สิ่งที่สำคัญและถูกมองเป็นอันดับแรกคือ "ใบหน้า" เพราะฉะนั้นการแสดงออกทางสีหน้า จึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ผู้ชมและผู้ฟัง เกิดความรู้สึกคล้อยตามบทเพลงได้ง่าย
3.การใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย ท่าทางถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่จำเป็น ในการสื่อสารให้เกิดอรรถรส เพราะหากนักร้อง ขึ้นไปร้องบนเวที ถึงแม้จะเสียงดีขนาดไหน หากไม่รู้จักการแสดงออกด้วยท่าทางแล้วนั้น ก็คงไม่มีใครสนใจกับ การร้องเพลงที่จืดชืดไร้ซึ่งอรรถรส ทำให้เราพลาดโอกาส ที่จะสื่อสารความหมายของบทเพลงอันไพเราะ ให้กับผู้ชมและผู้ฟังได้
4.การใช้ลีลาในน้ำเสียง นับเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เพราะการใช้ลีลาในน้ำเสียงหมายถึง การที่เรารู้จักใช้น้ำเสียง ให้เป็นประโยชน์ในการสื่ออารมณ์ โดยการรู้จักการใช้จังหวะจะโคนที่เหมาะสม การใช้ความดังเบาของน้ำเสียง และการใช้เสียงในลักษณะต่างๆ เช่นดุดัน แข็งกร้าว อ่อนนุ่ม ทุ้มลึก ฯลฯ เป็นการทำให้บทเพลงมีสีสันมากขึ้น ทั้งยังทำให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการ ตามอารมณ์ของบทเพลงได้เป็นอย่างดี
โดย: เจ้าบ้าน
[4 ส.ค. 52 14:48] ( IP A:202.142.204.1 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
เทคนิคในการใช้ไมโครโฟน
คุณเคยสังเกตไหมครับว่าคุณถือไมโครโฟนอย่างไร ทดสอบไมโครโฟนว่าเปิดหรือยัง ใช้ได้รึเปล่าด้วยวิธีไหน หลายคนอาจเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ผมบอกได้เลยว่าไม่เล็กอย่างที่คิดหรอกนะครับ
มี 4 เรื่องที่คุณควรเลิกทำระหว่างการใช้ไมโครโฟน
1. หากคุณทดสอบไมโครโฟนด้วยการบรรจงเคาะลงที่หัวไมค์สัก 2-3 ทีเพื่อความมั่นใจว่ามันใช้งานได้ จงเลิกซะ เพราะการกระทำเช่นนั้นถือเป็นการผิดมารยาทมากสำหรับการเป็นนักร้อง เพราะมันอาจจะทำให้ตัวรับสัญญานเสียงของไมโครโฟนเสียได้ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดเสียงดัง "ปุ๊กๆๆๆ" เป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนที่อยู่ใกล้ๆเครื่องขยายเสียง
2. หากคุณถือไมโครโฟนอยู่ใกล้หรือไกลปากจนเกินไป จงเปลี่ยนซะ คุณควรถือไมค์โครโฟนโดยให้ระยะห่างจากปากประมาณ 2-3 นิ้วมือ เพราะนั่นคือระยะที่ไมโครโฟนที่มีคุณภาพปานกลางขึ้นไป จะสามารถรับเสียงได้ดีที่สุด ให้เสียงที่ดังพอประมาณ ได้เนื้อเสียงที่ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด หากถือไมค์ใกล้ปากจนเกินไป อาจทำให้เสียงที่ได้ออกมามีลักษณะทุ้มและดังจนเกินไป อีกทั้งน้ำลายของคุณที่กระเด็นออกไปแปะที่ไมโครโฟน อาจทำให้เกิดความชื้นและเกิดเชื้อราที่ฟองน้ำที่ถูกบุอยู่ภายในหัวไมโครโฟน ทำให้ไมโครโฟนเสียได้ง่าย หรือถ้าไม่เสียคนที่ร้องต่อจากคุณคงเหม็นน่าดู หากถือไมค์ไกลปากจนเกินไปอาจทำให้เสียงที่ได้เบาและบางจนเกิดเหตุ
3. หากคุณถือไมโครโฟนแล้วยกท่อนล่างของมันขึ้นมาสูงๆ จงลดมันลงมาให้อยู่ในระดับเฉียงลงประมาณ 45 องศา เพราะคุณรู้มั๊ยว่าการยกท่องล่างของไมโครโฟนขึ้นมาสูงๆ นอกจากมันจะไม่เท่ห์แล้ว มันยังบังหน้าตาอันสวยงาม หรือหล่อเหลาของคุณอีกด้วย คงไม่มีใครอยากฟังเสียงอันไพเราะของคุณไป มองไมโครโฟนไปเป็นแน่
4. หากคุณเป็นคนที่ชอบดึงสายไมโครโฟนมาพันๆๆๆๆๆ แล้วก็พันไว้ที่มือของคุณเมื่อยามคุณเขินล่ะก็ จงปล่อยสายซะ เพราะเมื่อเวลาที่คุณยืนอยู่บนเวทีนั้น สายตาทุกคู่กำลังจ้องมองคุณอย่างสนใจ หูของเค้ากำลังรอฟังเสียงอันไพเราะจากคุณ แต่ถ้าเผอิญเค้าเหลือบไปเห็นมือของคุณอีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ถือไมค์ กำลังหยิบสายไมโครโฟนมาพันเล่นอย่างสนุกสนาน ขยำๆๆๆ แล้วก็พันๆๆๆ คุณลองคิดดูสิว่า หลังจากนั้นสายตาทุกคู่จะมองไปที่ไหน..... หากคุณรู้ตัวว่าสาเหตุที่คุณทำเช่นนั้น เป็นเพราะคุณเขินจนไม่รู้จะทำอะไรกับมือข้างที่เหลือนั้น จงปล่อยมันไว้นิ่งๆ รอจังหวะคำร้องที่สามารถสื่อความหมายด้วยภาษาร่างกายได้ แล้วจงทำซะ เช่น ยื่นมือ-ผายมือออกไป เมื่อร้องคำว่า "เธอ" ดึงมือกลับมาทำท่ากำไว้ที่หน้าอกเมื่อร้องคำว่า "หัวใจ" ฯลฯ สารพัดวิธีที่คุณจะใช้มัน หลังจากที่คุณทำท่าทางตามนั้นแล้ว มันยังมีประโยชน์ตามมาอีกมากมาย เช่น คุณสามารถสื่อความหมายของบทเพลงได้เพิ่มอีก 1 ทาง ด้วยภาษาร่างกาย, ลดความประหม่า ฯลฯ จากนั้นเมื่อคุณจะเดินไปยังจุดต่างๆบนเวที คุณสามารถใช้มือจับที่สายไมค์แล้วรูดมันไปอย่างช้าๆ นิ่มนวลที่สุด แล้วจับมันหลบไปให้พ้นทางเดินของคุณ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถที่จะเดินได้อย่างสง่าผ่าเผย มือของคุณจะไม่ว่างพอที่จะพันสายไมโครโฟนเล่นอีกต่อไป
โดย: เจ้าบ้าน
[4 ส.ค. 52 14:50] ( IP A:202.142.204.1 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน