ความรู้เบื้องต้นระบบแสง
    ระบบแสง สี และการมองเห็น

นิยาม
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ของพลังงานแสงจะอยู่ในรูปของคลื่น ซึ่งมีช่วงความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 380-760 นาโนเมตร (nanometres) ช่วงความยาวคลื่นของพลังงานแสงดังกล่าวช่วยทำให้เกิดการเห็น ส่วนพลังงานรูปอื่นเช่นรังสีอัลตร้าไวโอเลต, รังสีเอ๊กซ์ ที่มีความยาวคลื่นสั้นกวา 380 นาโนเมตร หรือคลื่นวิทยุ,คลื่นโทรทัศน์และพลังงานไฟฟ้า ที่มีช่วงความยาวคลื่นยาวกว่า 760 นาโนเมตร พลังงานเหล่านี้มิได้ช่วยให้เกิดการเห็น

การกำเนิดแสง
การกำเนิดแสงสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. แบบอินแคนเดสเซนต์ ( INCANDESCENCE) การกำเนิดแสงที่เกิดจากการเผาหรือการให้พลังงานความร้อน เช่นการเผาแท่งเหล็กที่ความร้อนสูงมากๆโดยการเพิ่มอุณหภูมิไปเรื่อยๆ แท่งเหล็กจะเปลี่ยนสีออกทางส้มและเหลืองจ้าสว่างในที่สุด
2. แบบลูมิเนสเซนต์ ( LUMINESCENCE ) การกำเนิดแสงที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานแสง เช่น แสงจากตัวแมลง,แสงที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี,แสงที่เกิดจากการเปลี่ยนวงโคจรของอิเลคตรอน รวมไปถึงแสงที่เกิดจากการปล่อยประจุของก๊าซ เช่นแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์

พฤติกรรมต่าง ๆ ของแสง
1. การสะท้อน (Reflection) เป็นพฤติกรรมที่แสงตกกระทบบนตัวกลางและสะท้อนตัวออก ถ้าตัวกลางเป็นวัตถุผิวเรียบขัดมัน จะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน
2. การหักเห (Refraction) เป็นพฤติกรรมที่ลำแสงหักเหออกจากแนวทางเดินของมัน เมื่อพุ่งผ่านวัตถุโปร่งแสง
3. การกระจาย (Diffusion) เป็นพฤติกรรมที่แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคม เพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ
4. การดูดกลืน (Absorbtion) เป็นพฤติกรรมที่แสงถูกดูดกลืนหลายเข้าไปในตัวกลาง โดยทั่วไปเมื่อพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆ มันจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
5. การทะลุผ่าน (Transmission) เป็นพฤติกรรมที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง
6. การส่องสว่าง (Illumination) ปริมาณแห่งการส่องสว่างบนพื้นผิวใด ๆ จะแปรตามโดยตรงกับความเข้มแห่งการส่องสว่าง (Illumination Intensity) ของแหล่งกำเนิดแสงและแปรตามอย่างผกผันกับค่าระยะทางยกกำลังส่องระหว่างพื้นผิวนั้นกับแหล่งกำเนิดแสง
7. ความจ้า (Brighten) ความจ้าเป็นผลซึ่งเกิดจากการที่แสงถูกสะท้อนออกจากผิววัตถุ หรือพุ่งออกจากแหล่งกำเนิดแสงเข้าสู่ตา

.

โดย: BaCkSTaGe...หล่อ ๆ [15 ก.ค. 52 14:29] ( IP A:202.142.204.1 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 2546 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
    การวัดความสว่างของแสง
การวัดค่าความสว่างของแสงสามารถทำการวัดค่าได้ใน 3 รูปแบบดังนี้

1) รูปของความเข้มแห่งการส่องสว่าง (Luminous Intensity) หรือบางทีเรียกว่า กำลังส่องสว่าง (Candle Power) ซึ่งมีหน่วยเป็น แคนเดลา (Candela) ความเข้มแห่งการส่องสว่างหรือกำลังส่องสว่าง 1 แคนเดลามีค่าเท่ากับความเข้มแห่งการส่องสว่าง ของวัตถุดำ (Black body) ที่อุณหภูมิเยือกแข็งของพลาตินัม (Platinum) โดยทั่วไป ความเข้มแห่งการส่องสว่างของแหล่งกำเนิดแสงมักจะมีค่าเท่ากัน และสมมาตรกันระหว่างแนวแกนของแหล่งกำเนิดแสงด้วย


2) รูปของจำนวนเส้นแรงของปริมาณแสง (Luminous Flux) ที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง มี หน่วยเป็น ลูเมน (Lumen)

จากรูปเรานำแหล่งกำเนิดแสง ที่มีค่าความเข้มแห่งการส่องสว่างสม่ำเสมอรอบทุกทิศทุกทาง เท่ากัน 1 แคนเดลามาวางไว้ ที่จุดศูนย์กลางของทรงกลมที่มีรัศมี 1 หน่วย ปริมาณแสงที่พุ่งไปตกลงบนทุก ๆ หนึ่งตารางหน่วยพื้นที่บนพื้นผิวของทรงกลมนี้มีค่าเท่ากับ 12.57 ตารางหน่วยพื้นที่
ดังนั้นความเข้มแห่งการส่องสว่าง 1 แคนเดลา จะมีปริมาณเส้นแรงของแสง = 12.57 ลูเมน

3) รูปของปริมาณลูเมนต่อตารางหน่วยพื้นที่ เมื่อเรานำแหล่งกำเนิดแสงที่มีค่าความเข้มการส่องสว่างเท่ากับ 1 แคนเดลา ไปวางไว้ที่จุดศูนย์กลางของทรงกลมที่มีรัศมี 1 ฟุต ปริมาณแสง 1 ลูเมนจะไปตกลงบนทุกๆหนึ่งตารางฟุตบนพื้นผิวของทรงกลม ปริมาณแห่งการส่องสว่างที่เกิดขึ้น = 1 ฟุตแคนเดิลหรือ 1 ลูเมนต่อตารางฟุต หรือ 1 ลูเมนต่อตารางฟุต ในทำนองเดียวกันถ้ารัศมีของทรงกลมดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 1 เมตร ปริมาณแห่งการส่องสว่างที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ตารางเมตรบนพื้นผิวของทรงกลมจะมีค่าเท่ากับ 1 ลักซ์ (Lux) หรือ 1 ลูเมนต่อตารางเมตร
1 ฟุตแคนเดิล (ft-cd) = 1 ลูเมน / ตารางฟุต = 10.76 lux
1 ลักซ์ (lux) = 1 ลูเมน / ตารางเมตร = 0.0929 ft-cd

.

โดย: BaCkSTaGe...หล่อ ๆ [15 ก.ค. 52 14:30] ( IP A:202.142.204.1 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    การจัดแสงเบื้องต้น

การจัดแสงเพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์หรือการถ่ายภาพ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดจะขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกภาพโดยอาศัยแสงธรรมชาติ (DAY LIGHT) เป็นหลักในการถ่ายภาพก็ตาม ทั้งนี้เพราการจัดแสงเพื่อใช้ในการถ่ายภาพ ได้กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดแสง หลายประการ คือ

1. การจัดแสงในหลักการขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยในการบันทึกภาพ
2. การจัดแสงเพื่อส่งเสริมให้สิ่งที่ต้องการบันทึกภาพ (สิ่งที่ถ่าย) มีมิติที่สามเกิดขึ้น ซึ่งสามารถมองเห็นส่วนลึกของวัตถุ
3. การจัดแสงสามารถที่จะสร้างให้ภาพสามารถถ่ายทอดอารมณ์ (MOOD) ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในเนื้อหาที่ต้องการ นำเสนอเป็นภาพได้ดียิ่งขึ้น
4. การจัดแสง สามารถที่จะนำมาใช้กำหนดบรรยากาศของภาพ (ATMOSPHERE)
5. การจัดแสง สามารถเสริมสร้างความงามให้เกิดขึ้น ในการประกอบภาพ (COMPOSITION) เช่น ช่วยแก้ปัญหาในการขาดสมดุลย์ (BALANCE) ช่วยเน้นจุดสนใจของภาพ (CENTER OF INTEREST) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


จากจุดมุ่งหมายทั้งห้าประการจะเห็นได้ว่า การจัดแสงเป็นองค์ประกอบหลักในการบันทึกภาพ จึงเป็นส่วนที่สำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อที่จะช่วยเหลือให้การถ่ายทอดแนวความคิดต่าง ๆ ออกไปเป็นสื่อความหมายทางด้านภาพ ให้ผู้ชมได้เข้าใจตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วยเหตุนี้เองการกำหนดรูปแบบของการจัดแสงที่ถูกต้อง และเหมาะสมในการถ่ายภาพแต่ละฉาก จะเป็นหนทางในการสร้างภาษาของภาพให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

รูปแบบและวิธีการจัดแสงของตากล้องแต่ละคน จะมีลักษณะและวิธีการแตกต่างออกไปเฉพาะ บุคคล ทั้งนี้เพราะการจัดแสงเป็นศิลปไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัว จึงขึ้นอยู่กับผู้จัดแสงเป็นสำคัญและแน่นอนที่สุดตากล้องทุกคนย่อมจะต้องผ่านการเรียนรู้ถึงกฏเกณฑ์ และหลักการเบื้องต้นของการจัดแสงมาก่อนแล้วทั้งสิ้น


ในการจัดแสงเพื่อการบันทึกภาพจะมีแสงที่เป็นหลักอยู่ 4 อย่างคือ
1. ไฟหลัก (KEY LIGHT OR MAIN LIGHT)
2. ไฟลบเงา (FILL LIGHT)
3. ไฟแยก (SEPARATION LIGHT OR BACK LIGHT)
4. ไฟฉาก (BACKGROUND LIGHT)

ไฟทั้งสี่อย่างนี้มีรูปแบบลักษณะในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. ไฟหลัก (KEY LIGHT OR MAIN LIGHT)
เป็นไฟทำหน้าที่ให้แสงสว่างกับสิ่งที่ถ่าย ตำแหน่งของไฟโดยทั่ว ๆ ไป จะอยู่ใกล้กับกล้องถ่ายภาพยนตร์ ในทิศทางเดียวกัน จะห่างจากเส้นแกนของเลนส์ไม่เกิน 90 องศา ไฟหลักจะใช้สปอร์ตไลท์เป็นตัวให้แสงสว่าง ดังนั้นไฟที่เกิดจากไปดวงนี้จึงเป็นเงาที่ดำเข้ม


2. ไฟเสริม (FILL LIGHT)
เนื่องจากแสงที่เกิดจากไฟหลัก เป็นแสงที่เข้มจึงทำให้ด้านที่โดนกับแสงจะสว่าง และด้านที่ไม่โดนแสงจะมืด นอกจากนั้นแล้ว จะทำให้เกิดเงาที่น่าเกลียดบนวัตถุที่ถ่าย จึงจำเป็นต้องใช้ไฟหลบเงาเข้าช่วย เพื่อทำให้เงาอันเกิดจากไฟหลักจางลบไป อีกทั้งยังช่วยเพิ่มแสงในด้านมืดให้มีอัตราส่วนที่พอเหมาะกับด้านสว่างด้วย เพื่อช่วยให้บันทึกภาพในส่วนที่มืด (ไฟหลักส่องไม่ถึง) มีรายละเอียดของภาพเพิ่มขึ้น ชนิดของไฟที่นำมาใช้กับไฟส่วนนี้ จะเป็นไฟที่ให้แสงนุ่มนวล เป็นจำพวก OPEN LIGHT FLOOD)


3. ไฟแยก (SEPARATION LOGHT OR BACK LIGHT)
ไฟจากสองข้อแรกสามารถที่จะถ่ายภาพออกมาได้โดยมีรายละเอียดดีพอควร แต่เพื่อเป็นการเน้นให้สิ่งที่ถ่ายเด่นขึ้นแยกตัวออกมาจากฉาก จึงใช้ไฟดวงนี้ส่องไปยังสิ่งที่ถ่ายอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้มิติที่สามของสิ่งที่ถ่ายมีมากขึ้นไฟดวงนี้จะใช้สปอร์ตไลท์ที่มีกำลังไฟสูง โดยปกติจะสูงกว่าไฟหลัก (KEY LIGHT) อัตราส่วนระหว่าง 1/2 -1/6 ซึ่งแล้วแต่ความต้องการของผู้ถ่ายตำแหน่งของไฟก็จะอยู่ตรงข้ามกับไฟหลัก (KEY LIGHT) คือส่องมาจากที่สูงด้านหลังของสิ่งที่ถ่าย


4. ไฟฉาก (BACKGROUND LIGHT)
คือ ไฟที่ส่องไปยังฉาก เพื่อให้ฉากมีความสว่าง โดยปกติจะใช้ไฟ ประเภท FLOOD LIGHT ซึ่งจะให้แสงที่นิ่มนวลไฟชนิดนี้ จะเป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศของฉาก ให้มีมากยิ่งขึ้นตามความประสงค์



ขอขอบคุณ https://www.thaipresentation.com/ สำหรับข้อมูล



.....

โดย: BaCkSTaGe...หล่อ ๆ [15 ก.ค. 52 14:32] ( IP A:202.142.204.1 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน