ช่วยแปลเป็นภาษที่เข้าใจงายให้หน่อยค่ะ อ่านแล้วงง
   ก51. ในบางกรณี ผู้สอบบัญชีอาจตั้งใจที่จะใช้ข้อมูลที่จัดทำโดยกิจการสำหรับการตรวจสอบตาม
วัตถุประสงค์อื่น ตัวอย่างเช่น ผู้สอบบัญชีอาจตั้งใจที่จะใช้การวัดผลประกอบการของกิจการ
เพื่อวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือใช้ข้อมูลที่กิจการจัดทำเพื่อใช้ในการติดตาม
การปฏิบัติงาน เช่น รายงานของผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งในกรณีดังกล่าว ความเหมาะสมของ
หลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับ จะได้รับผลกระทบจากข้อมูลที่อาจไม่ถูกต้องแม่นยำหรือมี
ความละเอียดไม่เพียงพอตามวัตถุประสงค์ของผู้สอบบัญชี ตัวอย่างเช่น วิธีวัดผลประกอบการ
ของกิจการที่ผู้บริหารใช้นั้น อาจไม่แม่นยำเพียงพอที่จะใช้ในการตรวจพบการแสดงข้อมูลที่
ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
การเลือกรายการทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี (อ้างถึงย่อหน้าที่ 10)
ก52. วิธีการตรวจสอบที่มีประสิทธิผลจะให้หลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อรวมกับหลักฐาน
การสอบบัญชีอื่นที่ผู้สอบบัญชีได้รับหรือจะได้รับ จะเพียงพอตามวัตถุประสงค์ของผู้สอบบัญชี
ในการเลือกรายการที่จะทดสอบ ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 7 ในการตัดสินใจเกี่ยวกับ
ความเกี่ยวข้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่จะใช้เป็นหลักฐานการสอบบัญชี อีกลักษณะหนึ่ง
ของความมีประสิทธิผล (ความเพียงพอ) คือความสำคัญของการพิจารณาเลือกรายการที่จะ
ทดสอบ ซึ่งวิธีการที่ผู้สอบบัญชีอาจใช้ในการเลือกรายการทดสอบ ได้แก่
ก. การเลือกทุกรายการ (การตรวจสอบร้อยละร้อย)
ข. การเลือกรายการแบบเจาะจง และ
ค. การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี
ความเหมาะสมของการเลือกใช้วิธีในการเลือกรายการไม่ว่าวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ เช่น ความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น
สาระสำคัญเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองที่กำลังตรวจสอบอยู่ และความเป็นไปได้ของ
การนำวิธีการเลือกรายการต่างๆมาใช้ปฏิบัติและความมีประสิทธิภาพของวิธีต่าง ๆ เหล่านั้น
การเลือกทุกรายการ
ก53. ผู้สอบบัญชีอาจตัดสินใจว่าการตรวจสอบรายการทุกรายการของประชากรที่ประกอบเป็นกลุ่ม
ของรายการบัญชีหนึ่ง หรือยอดคงเหลือตามบัญชี (หรือกลุ่มย่อยของประชากร) เป็นสิ่งที่
เหมาะสมที่สุด แต่โดยปกติผู้สอบบัญชีจะไม่ตรวจสอบร้อยละร้อยในกรณีที่ทำการทดสอบ
การควบคุม อย่างไรก็ตาม ผู้สอบบัญชีอาจตรวจสอบร้อยละร้อยในกรณีที่เป็นการทดสอบ
รายละเอียดของรายการและยอดคงเหลือ ตัวอย่างที่การตรวจสอบร้อยละร้อยอาจเหมาะสมคือ
• ประชากรประกอบด้วยรายการที่มีจำนวนเงินสูงเพียงไม่กี่รายการ
• มีความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญและการเลือกรายการด้วยวิธีอื่นไม่ให้หลักฐานการสอบบัญชีที่
เหมาะสมอย่างเพียงพอ หรือ
• ระบบการประมวลผลข้อมูลมีลักษณะเป็นการคำนวณหรือทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ทำให้
การตรวจสอบร้อยละร้อยมีต้นทุนในการตรวจสอบต่ำ
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
21 TSA 500
การเลือกรายการแบบเจาะจง
ก54. ผู้สอบบัญชีอาจตัดสินใจเลือกรายการแบบเจาะจงจากประชากร โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเข้าใจของผู้สอบบัญชีในกิจการ การประเมินความเสี่ยงจากการแสดง
ข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และลักษณะเฉพาะของประชากรที่ทดสอบ การใช้
ดุลยพินิจในการเลือกรายการแบบเจาะจงจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของตัวอย่างที่ไม่ถูกเลือก
รายการที่เลือกแบบเจาะจงอาจรวมถึง
• รายการที่มีมูลค่าสูงหรือรายการสำคัญ ผู้สอบบัญชีอาจตัดสินใจเลือกรายการแบบเจาะจง
จากประชากรเนื่องจากรายการดังกล่าวมีมูลค่าสูงหรือมีลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น
รายการที่น่าสงสัย รายการผิดปกติ รายการที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดความเสี่ยง หรือรายการ
ที่เคยเกิดข้อผิดพลาด
• ทุกรายการที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง ผู้สอบบัญชีอาจตัดสินใจ
เลือกตรวจสอบรายการที่มีมูลค่าเกินจำนวนที่กำหนดไว้ เพื่อตรวจสอบรายการที่
เป็นสัดส่วนใหญ่ของยอดรวมทั้งหมดในกลุ่มของรายการบัญชีหรือยอดคงเหลือตาม
บัญชี
• รายการที่ให้ข้อมูล ผู้สอบบัญชีอาจตรวจสอบรายการที่ให้ข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ เช่น ลักษณะ
ธุรกิจของกิจการ หรือลักษณะของรายการ
ก55. การเลือกตรวจสอบรายการแบบเจาะจงจากรายการในกลุ่มของรายการบัญชีหรือยอดคงเหลือ
ตามบัญชี มักเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชี แต่วิธีการนี้
ไม่ใช่การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี ผลที่ได้จากการตรวจสอบรายการที่เลือกโดยวิธีนี้
ไม่สามารถนำไปใช้สรุปผลเกี่ยวกับประชากรทั้งหมดได้ ดังนั้น การเลือกตรวจสอบรายการ
แบบเจาะจงจึงไม่ได้ให้หลักฐานการสอบบัญชีสำหรับประชากรส่วนที่เหลือ
การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี
ก56. การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี เป็นการออกแบบให้สามารถให้ข้อสรุปต่อประชากรทั้งหมด
จากการทดสอบตัวอย่างที่เลือกจากประชากรนั้น การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชีอธิบายอยู่
ในมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 53016
16 มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 530 “การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี”
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
22 TSA 500
ความขัดแย้งกัน หรือข้อสงสัยในความน่าเชื่อถือของหลักฐานการสอบบัญชี (อ้างถึงย่อหน้าที่
11)
ก57. การได้รับหลักฐานการสอบบัญชีจากแหล่งที่มาต่าง ๆ กันหรือในรูปแบบต่าง ๆ กัน อาจแสดง
ให้เห็นว่าหลักฐานที่ได้รับมาแต่ละชิ้นไม่น่าเชื่อถือ เช่น เมื่อหลักฐานการสอบบัญชีที่ได้รับจาก
แหล่งที่มาแหล่งหนึ่งขัดแย้งกันกับที่ได้รับมาจากอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้อาจเป็นคำตอบที่
ได้รับจากการสอบถามผู้บริหาร ผู้ตรวจสอบภายใน หรือบุคคลอื่น ที่ขัดแย้งกัน หรือคำตอบที่
ได้รับจากการสอบถามผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลขัดแย้งกันกับคำตอบที่ได้รับจากผู้บริหาร
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 230 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารหลักฐาน ในกรณีที่
ผู้สอบบัญชีพบข้อมูลของเรื่องที่สำคัญ แต่ขัดแย้งกันกับผลสรุปสุดท้ายของการตรวจสอบ17
โดย: boss-begin@hotmail.com [29 พ.ย. 56 23:11] ( IP A:125.25.200.181 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   เวลาลอกหรือพูดให้ไพเราะคือนำของเขามาใช้จะให้เกียรติกันคือแปลคำต่อคำทำให้ภาษา ไม่เป็นภาษารู้กันเฉพาะในหมู่คนแปลเพราะจะเก่งกันอยู่แค่นั้น ถามจริงๆสมาชิกสภามีกี่คนแล้วที่สมาขิกเข้าใจในมาตรฐานจริงๆมีกี่คนถึง 10%ไม อยากให้เอาอาจารย์ที่สอนปริญญาตรีบัญชีตามมหาวิทยาลัยมาทดสอบกันใหม่หน่อยซิว่าจะเข้าใจมาตรฐานใหม่กี่คนเพราะต้องนำมาสอนเด็กแต่กลับไม่รู้เรื่องเลยหลีกเลี่ยงการสอน เรียงตามคะแนนเลยว่าที่ไหนได้คะแนนเท่าไรผ่าน 60%กี่ท่านจะได้วัดมาตรฐานในการสอนเด็กได้เลย
โดย: เซ็งเป็ด [30 พ.ย. 56 12:11] ( IP A:223.206.42.85 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน