จักจั่น หรีดหริ่ง เรไร ร้องระงม เสียงขรมดังเซ็งแซ่
|
ความคิดเห็นที่ 1 but.. เจอแต่ร่างไร้วิญญาณนะครับ แหะๆ
| โดย: เม้ง [17 มี.ค. 49 13:30] ( IP A:202.29.76.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ดูใบอ่อนสีสวยสะดุดตาบ้างครับ
| โดย: เม้ง [17 มี.ค. 49 13:31] ( IP A:202.29.76.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 เคยมีคนบอกว่า จักจั่นเป็นสัตว์ที่ใช้ชีวิตในช่วงดักแด้ยาวเป็นอันดับสองของโลกไม่รู้จริงเท็จประการใด
ปิดท้ายด้วยดอกหญ้าครับ
| โดย: เม้ง [17 มี.ค. 49 13:36] ( IP A:202.29.76.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 สองวันก่อนได้ยินพี่แป้น กับคุณกล้วยไม้มาบ่นๆเรื่องจักจั่นเหมือนกับคุณเม้งเลยค่ะ | โดย: ดอกปีป [17 มี.ค. 49 15:11] ( IP A:58.147.53.21 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ผมไม่ได้บ่น ชมว่าเสียงจั๊กจั่นเพราะดี แต่คุณแป้นบ่นอุบอิบว่าเสียงดังครับ อิอิ เขาบอกเอามาทอดกินอร่อยนะครับคุณเม้ง | โดย: กล้วยไม้ [17 มี.ค. 49 15:51] ( IP A:203.170.255.180 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 รูปที่5สวยมากๆเจ๊ารูปชัดดีจัง จานเม้งจ๋ากลางคืนจั๊กจั่นร้องเสียงดังไหมเจ๊า | โดย: เจ้าตุ้ย [17 มี.ค. 49 18:00] ( IP A:24.162.98.205 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ดังกว่า 100 เดซิเบลครับ | โดย: เม้ง [17 มี.ค. 49 18:08] ( IP A:202.29.76.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 บริเวณที่ทำงานเป็นอย่างนี้... เพราะฉะนั้นบางวัน... ระงม..เสียงขรม...ดังเซ็งแซ่ จริงๆ จนเวลาโทรศัพท์...ทุกคนก็จะถามว่า..เสียงอะไร หนวกหูจัง 
| โดย: ชาวเหนือ [17 มี.ค. 49 20:25] ( IP A:203.188.47.219 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 เดินเข้าป่า ตอนนี้เสียงของจั๊กจั่น ดังชนิด แก้วหูลั่นคะ เค้าว่าเสียงดังนั้น เพราะเค้าขยับปีกใช่ไหมคะ อาจารย์ เม้ง หรือเป็นเสียงร้อง | โดย: หนูเล็ก [17 มี.ค. 49 20:27] ( IP A:58.147.35.33 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 อ่านผ่านๆเค้าว่า เสียงเปล่งออกมาจากท้องน้อยครับ เดวไปเชคข้อมูลอีกที | โดย: เม้ง [17 มี.ค. 49 22:15] ( IP A:202.29.76.3 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 สรุปว่าไม่ได้ใช้ปีก เหมือนจิ้งหรีดครับ
เสียงที่ดังมากกว่า 100 เดซิเบล ของจักจั่นตัวผู้ ไม่ได้เกิดจากหลอดเสียงในลำคอเช่นสัตว์ทั่วๆ ไป
เสียงของจักจั่นดังมาจากส่วนท้องแหล่งที่มาของเสียงเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อ (tymbal) ที่อยู่ภายในร่างกายตรงช่องท้อง และมีซี่โครง (Folded membrane) สี่อันเรียงเป็นแนวขวางกับลำตัว ปลายซี่เชื่อมต่อกันกับแผ่นรูปไข่และเชื่อมติดกับกล้ามเนื้ออีกที เมื่อกล้ามเนื้อส่วนนี้หดตัว - คลายตัว ซึ่โครงสี่อันนี้ก็จะขยับตาม ส่งผลให้แผ่นรูปไข่ขยับตามไปด้วย และเกิดเสียงขึ้นมา เสียงจะถูกส่ง ผ่านไปยัง tymbal โดย tymbal แต่ละข้างของช่องท้องสามารถผลิตเสียงได้ในความถี่ข้างละ 120 เฮิรตซ์ จากนั้นเสียงจะผ่านไปยังถุงลม (air sac - ถุงลมนี้จะมีขนาดใหญ่มาก มีความจุราว 1.8 มิลลิลิตร ประมาณร้อยละ 70 ของส่วนท้อง) อีกทีก่อนที่จะส่งผ่านไปยังเยื่อแก้วหู (eardrum) eardrum จะทำหน้าที่ในการควบคุมและขยายเสียง ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่ภายนอก ซึ่งจะผ่านการปิด-เปิดของแผ่น opercula ที่จะปรับแต่งเสียงเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อให้ได้เสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่มันจะพึงทำได้
แค่ลำพังท้องเล็กๆ ที่มีขนาดความจุไม่กี่มิลลิลิตรของจักจั่นก็สามารถผลิตเสียงที่ดังมหาศาลเกินกว่าที่เราจะคาดคิด แต่ไม่ว่าอย่างไร เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ของจักจั่นก็ใช่จะสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงทุกสำเนียงย่อมหมายถึงชีวิตและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์อันเป็นเป้าหมายสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกนี้
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/may11/insect_liv.htm | โดย: เม้ง [17 มี.ค. 49 22:26] ( IP A:202.29.76.3 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 อยากไปนั่งทำงานที่ทำงานเจาปาจังครับ รมรื่นมากๆ
| โดย: เห็ด [18 มี.ค. 49 12:16] ( IP A:219.77.80.103 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ปีนี้ยังไม่ได้ยินเสียงจั๊กจั่นเลยครับ | โดย: rsampling [20 มี.ค. 49 18:54] ( IP A:161.246.1.35 X: ) |  |
|