บทบาทของนำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ และความงาม
|
ความคิดเห็นที่ 1 ภาพที่ 1 แสดงความแตกต่างของโมเลกุลไขมันในการเปลี่ยนเป็นพลังงาน 2.2 เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม : นอกจากจะเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็วดังได้กล่าวมาแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังไปเร่งอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรือเมตาบอลิซึม (metabolism) เพราะมันมีผลทำให้เกิดความร้อนสูง (thermogenesis) โดยไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานเร็วขึ้น คล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroid) ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดา บุคคลพวกนี้จึงใช้พลังงานมาก ทำให้เป็นคนกระฉับกระเฉง (active) และไม่อ้วน เพราะน้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไปถูกเผาผลาญเป็นพลังงานหมดไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกาย ดังภาพที่ 2
| โดย: โจ [12 มิ.ย. 51 18:58] ( IP A:58.10.6.165 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ภาพที่ 2 แสดงการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน 2.3 ช่วยลดน้ำหนัก : การบริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากจะไม่ทำให้อ้วนแล้ว ยังสามารถลดความอ้วนจากผลของการเกิดความร้อนสูงในร่างกาย โดยการไปนำไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ออกมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความอ้วนได้ จนมีคำที่ว่า “Eat Fat – Look Thin” 3. กรดลอริกและโมโนลอริก น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (lauric acid) อยู่ประมาณ 50 % กรดนี้ มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสามารถพิเศษ คือ 3.1 สร้างภูมิคุ้มกัน : เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ (monoglyceride) ที่มีชื่อว่า โมโนลอริน (monolaurin) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรก ที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค 3.2 ฆ่าเชื้อโรค : โมโนลอรินเป็นสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัว และไวรัส ไวรัสบางชนิด ที่ยาปฏิชีวนะทั่วไป ทำลายไม่ได้เนื่องจากมีเกราะที่เป็นไขมันห่อหุ้ม (lipid-coated membrane) แต่เกราะนี้ก็จะถูกละลายโดยน้ำมันมะพร้าวเพื่อเปิดโอกาสให้โมโนลอรินเข้าไปฆ่าเชื้อโรค สารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าวไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ และจะถูกสร้างขึ้นในร่างกายของมนุษย์เมื่อบริโภคอาหารที่มีกรดลอริก อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ 4. กรดคาปริกและโมโนคาปริน แม้ว่าจะมีอยู่เพียง 6-7 % แต่กรดคาปริก (capric acid) ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของโมโนลอริน โดยการเปลี่ยนเป็นสารโมโนคาปริน (monocaprin) เมื่อน้ำมันมะพร้าวถูกบริโภคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์เช่นเดียวกันกับโมโนลอริน ทั้งนี้ก็เพราะประสิทธิภาพของการทำงานของโมโนลอริน และโมโนคาปรินขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่ 5. วิตามิน น้ำมันมะพร้าว ที่ผลิตจากมะพร้าวแห้งที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ตลอดจนถูกแสงแดดและความร้อน เมื่อนำไปสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยวิธี *** บหรือ การใช้ตัวทำละลาย จึงสูญเสียคุณสมบัติที่ดี โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้มันไม่หืน และเมื่อถูกนำไปผ่านขบวนการทางเคมี RBD ก่อนที่จะนำไปบริโภคจะสูญเสียวิตามินอีไป แต่ก็ยังเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ ตราบใดที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยขบวนการเติมไฮโดรเจนหรือเติมสารกันเสีย (preservatives) เพื่อรักษาสภาพให้คงทนและไม่หืน แต่น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ ซึ่งสกัดได้โดยวิธีหมัก หรือวิธีบีบเย็นไม่ใช้อุณหภูมิสูง และไม่ผ่านขบวนการทางเคมี จะยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 5.1 ต่อต้านอนุมูลอิสระ : วิตามินอี ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยการป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกเติมออกซิเจน และเป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม อาหารและเครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ รังสี ความเครียด ฯลฯ โดยปกติร่างกายของมนุษย์มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระคอยทำลายอนุมูลอิสระอยู่แล้ว แต่เมื่อบริโภคน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัวซึ่งถูกเติมออกซิเจน (oxidized) ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างการขนส่ง การวางจำหน่าย และการเก็บรักษาก่อนบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นน่าจะไปลบล้างประสิทธิภาพ (neutralize) ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ เนื่องจากอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพโดยสูญเสียอีเล็กตรอน (electron) จึงไปจับกับโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงต่อไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นผลทำให้เซลล์ผิดปกติไป เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด เปลี่ยนสารพันธุกรรมใน นิวเครียส เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม (degenerative diseases) เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน โรคภูมิแพ้ ชราภาพก่อนวัย เป็นต้น 5.2 สารโทโคไทรอีนอล (tocotrienol) วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีสารโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีอานุภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอล (tocopherol) ซึ่งอยู่ในวิตามินอีทั่วไป โดยเฉพาะที่มีอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวถึง 40-60 เท่า ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าวจึงต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ สุขภาพที่ดีของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับสถานภาพ 4 ประการ คือ 1. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง จากบทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าวที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีคุณทางอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน และเกลือแร่ ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าของอาหารโดยการเพิ่มการดูดวิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก จึงถูกย่อยง่าย และเคลื่อนที่เร็วไปตามของเหลวในร่างกาย จึงเป็นที่นิยมใช้หุงต้มอาหารสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาการย่อยไขมัน และยังใช้ในสูตรน้ำนม เพื่อให้ไขมันที่จำเป็นแก่เด็กทารก และช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูก 2. ช่วยให้ปลอดจากโรคไม่ติดเชื้อ โรคไม่ติดเชื้อที่ น้ำมันมะพร้าวมีส่วนในการลดอัตราการเกิด ได้แก่ 2.1 โรคหัวใจ : จากผลการวิเคราะห์พบว่า น้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลน้อยมาก เพราะมีเพียง 14 ส่วนในล้านซึ่งน้อยกว่าน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมี 28 ส่วน และที่สำคัญคือ เมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไป ในร่างกาย ก็ไม่ได้เปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลในกระแสโลหิต อีกทั้งยังไม่ได้ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวเหมือนกับน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกเติมไฮโดรเจน (hydrogenate) ในขบวนการผลิต และถูกเติมออกซิเจน (oxidize) ระหว่างเดินทางก่อนถูกบริโภค จนเกิดเป็นtrans fatty acids ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลิ่มเลือด และไปอุดตันหลอดเลือด นอกจากนั้นน้ำมันมะพร้าวยังมีวิตามินอีที่ช่วยขยายหลอดเลือดและป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ นักโภชนาการสมัยใหม่จึงสรุปว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้หัวใจมีสุขภาพดี เพราะเป็นหนึ่งในสองชนิดของน้ำมันบริโภค ซึ่งช่วยลดความหนืด (stickiness) ของเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยโคเลสเตอรอลจริงหรือ? ชนิดของน้ำมัน ปริมาณคอเรสเตอรอล (ส่วนต่อล้าน) น้ำมันมะพร้าว 14 น้ำมันปาล์ม 18 น้ำมันถั่วเหลือง 28 น้ำมันข้าวโพด 50 เนยเหลว 3,150 น้ำมันหมู 3,500 2.2 โรคมะเร็ง : น้ำมันมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง ด้วยกลไก 2 วิธี คือ (1) เนื่องจากเป็นน้ำมันประเภทอิ่มตัวจึงไม่ถูกเติมไฮโดรเจน (hydrogenate) และแตกตัวเมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง (2) มีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของยีน เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง และการทำร้ายเซลล์ การใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมตัว ก็ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ดีกว่ายาทากันแดดราคาแพง 2.3 โรคอ้วน : โรคอ้วนนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาพต่าง ๆ เช่น การมีไขมันในเลือดสูงเป็นโรคเบาหวานมีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนโรคข้ออักเสบ ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับ ฯลฯ การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง (ในขบวนการ thermogenesis) ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญอาหาร หรือเมตาบอลิซึม (metabolism) สูงเกิดเป็นพลังงานสำหรับใช้ในการดำรงชีวิต อีกทั้งยังช่วยทำลายไขมันที่ร่างกายสะสมอยู่ นำไปใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน 2.4 โรคเบาหวาน : ผลพลอยได้ของการเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานจากการบริโภคน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายไม่สะสมน้ำตาล เพราะถูกใช้ไปเป็นพลังงานหมด อีกทั้งยังไม่ทำให้ผู้ป่วยอยากรับประทานอาหารที่เป็นแป้งหรือน้ำตาล จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานไปได้โดยปริยาย 2.5 โรคปวดเมื่อย โรคชราภาพก่อนวัย โรคมะเร็งผิวหนัง และโรคกระดูก : น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้ดี เพราะมีขนาดของโมเลกุลเล็กจึงนิยมใช้นวดตัวให้หายปวดเมื่อย และผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังปกป้องการทำลายของแสงอัลตราไวโอเลตที่ทำให้ผิวหนังเ *** ่ยวย่นแก่ก่อนวัย และเป็นมะเร็งผิวหนัง ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของกระดูกให้แข็งแรง แพทย์แผนไทยจึงนิยมนำน้ำมันมะพร้าว มาประกอบเป็นสูตรยาแผนโบราณในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูก อันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุ 3. ช่วยให้ร่างกายปลอดจากโรคติดเชื้อ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคเป็นสาเหตุของโรคของมนุษย์มากมายเหลือคณานับ แต่ก็แปลกที่เด็กทารกแรกคลอดที่ดูดน้ำนมมารดาเป็นประจำมักไม่ค่อยเป็นโรคเหล่านี้ ทั้งนี้ก็เพราะมีภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากน้ำนมมารดา ได้มีการค้นพบว่าสารสำคัญในนมน้ำเหลือง (cholostum) ของมารดานี้ คือ กรดลอริก ซึ่งเมื่อเข้าไป ในร่างกายก็เปลี่ยนไปเป็นสารโมโนลอริน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะนั่นเอง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวพบว่ามีกรดลอริกสูงมากถึง 48-53% ซึ่งมากกว่าในน้ำนมมารดามาก ในปัจจุบันวงการแพทย์สมัยใหม่ได้แนะนำให้ประชาชนกินยาเม็ดที่มีโมโนลอรินเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค 4. การรักษาโรค จากการที่น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อ และสามารถถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้ดี และรวดเร็ว ตำราอายุรเวทของอินเดียจึงได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคมาไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี แพทย์แผนไทยก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคทั้งภายในและภายนอกมาเป็นเวลาช้านาน เช่น ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย ยารักษาโรคกระดูก ยารักษาแผลเน่าเปื่อย ส่วนตำราแพทย์แผนไทยในปัจจุบันก็แนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคกระดูกที่เกิดจากอุบัติเหตุ รักษา เม็ดผดผื่นคัน ลบริ้วรอย แผลฟกช้ำ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และป้องกันแสงแดด และความร้อน แม้กระทั่งแพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตก ก็ให้คนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารหรือการดูดซึมอาหาร เด็กทารกรวมทั้งเด็กเล็กที่ไม่สามารถย่อยไขมัน กินน้ำมันมะพร้าวเป็นยารักษาโรค ศักยภาพของน้ำมันมะพร้าวในการรักษาโรคมีดังนี้ 4.1 โรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เชื้อโรคที่กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวสามารถทำลายได้ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ เชื้อโปรโตซัว และเชื้อไวรัส โมโนลอรินหรือสารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าว มีจุดเด่นสองประการ คือ ไม่ทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค และสามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มเซลล์ ที่ยาปฏิชีวนะธรรมดา ไม่สามารถฆ่าได้ แต่น้ำมันมะพร้าว สามารถละลายเกราะไขมันนี้ได้ แล้วจึงเข้าไปฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ เท่าที่ได้มีการวิจัยพบว่า เชื้อโรคที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มนี้เป็นโรคร้ายในปัจจุบันที่รักษายากมาก เพราะทำลายมันไม่ได้ อย่างดีก็หยุดไม่ให้มันขยายพันธุ์โรคเหล่านี้ เช่น ไวรัสโรคเอดส์ โรค SARS ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกำลังมีการทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล 4.2 โรคผิวหนัง ผิวหนังที่ถูกอนุมูลอิสระเข้าทำลาย หรือจากการถูกทำร้าย จนเกิดเป็นแผลที่เชื้อโรคจะเข้าทำลายต่อโมโนลอรินในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นสารปฏิชีวนะจะช่วยกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ 4.3 รังแคหนังศีรษะ น้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแค หากชโลมผมด้วยน้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษารังแคหนังศีรษะได้ บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อความงาม น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใด ๆ เจือปน โดยเฉพาะยากำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีอยู่ในน้ำมันพืชอื่น ๆ เนื่องจากกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวมีขนาดโมเลกุลที่เล็ก ทำให้ถูกดูดซึมเข้าไปได้ง่าย เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่น ๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายจากสารเคมี น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทต่อความงาม ในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. รูปร่างได้สัดส่วน ไม่อ้วน แต่แข็งแรง เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวที่เราบริโภคเข้าไปสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ทันที จึงไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย อีกทั้งยังกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานดีขึ้น จึงนำเอาไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ก่อนหน้า ไปใช้เผาผลาญให้เกิดพลังงาน จึงช่วยลดความอ้วนได้ ดังนั้นผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน (เพราะไม่มีไขมันสะสม) แต่ร่างกายก็สันทัดสมส่วน และแข็งแรง 2. ผิวสวย การนวดหรือชโลมตัวด้วยน้ำมันมะพร้าว ช่วยให้ผิวสวย เพราะ : 2.1 ผิวดูอ่อนวัย : น้ำมันมะพร้าวที่ใช้ชโลมตัว ทั้งในรูปน้ำมันมะพร้าวสด ๆ หรือในรูปของผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว เช่น ครีม และโลชั่นจะทำให้ผิวพรรณนุ่มไม่แตกแห้งเป็นกระ หรือฝ้า แต่ชุ่มชื้นและผิวเนียน ปราศจากริ้วรอยเ *** ่ยวย่น ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีที่มีอานุภาพมากกว่าวิตามินอีในเครื่องสำอางช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์จากขบวนการเติมออกซิเจน (Oxidation) ช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและทับถมกันจนทำให้ผิวแห้ง ขณะเดียวกันก็ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่จึงทำให้ผิวพรรณดูอ่อนกว่าวัย 2.2 ผิวนุ่มและเนียน : ตามปกติผิวหนังจะสูญเสียความชื้นเพราะถูกแดดและลม น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นสารรักษาความชุ่มชื้น (Moisturizer) จึงช่วยให้ผิวหนังนุ่มและเนียน 2.3 ช่วยป้องกันและรักษาฝ้า และกระ : อนุมูลอิสระเป็นตัวการอันหนึ่งของการเกิดฝ้า และกระ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ทำลายอนุมูลอิสระเหล่านี้ เราสามารถใช้นำมันมะพร้าวเป็นยากันแดดได้ดีอีกทั้งยังไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนยากันแดดบางชนิด และราคาก็ถูกกว่า 3. ผมงาม เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) อีกทั้งยังมีสารปฏิชีวนะ (จากโมโนลอริน) และสาร antioxidant (จากสารโทโคทรินอลในวิตามินอี) จึงมีส่วนทำให้ผมงาม จากคุณสมบัติดังต่อไปนี้ : 3.1 ช่วยปรับสภาพของผม : น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมัน hair conditioner ที่ช่วยทำให้ผมนุ่มดำเป็นเงางาม เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมการเจริญของเส้นผม 3.2 ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ : น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะทั้งนี้ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่คอยทำลายเชื้อโรค หนังศีรษะจึงไม่มีรังแค และมีวิตามินอีที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ หนังศีรษะจึงไม่เ *** ่ยวย่นแต่มีสุขภาพดี 3.3 ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี : เส้นผมประกอบด้วยส่วนนอก (culticle) ที่ทำหน้าที่ หุ้มส่วนใน (cortex) หากส่วนนอกอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด เส้นผมก็จะปกติ มีความยืดหยุ่น (elasticity) ทนทานต่อการบิดงอและมีความเหนียว ส่วนในซึ่งประกอบด้วยโปรตีนที่เรียกว่า เคอราทิน (keratin) ที่มีประกอบด้วยเส้นเล็ก ๆ มัดรวมกัน โปรตีนของเส้นผมจะสูญเสียหรือสลายตัวไปตามอายุขัย แต่อาจเร็วขึ้นจากการไม่รักษาผมให้ดี และการทำร้ายเส้นผม เช่น จากการดัดผม การย้อมผมด้วยน้ำยาเคมี แม้กระทั่งการหวีผมที่ใช้หวีที่คม น้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดปริมาณการสูญเสียของเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติยึดเกาะ (affinity) กับโปรตีนของเส้นผมได้ดี อีกทั้งยังมีขนาดเล็กจึงแทรกซึมเข้าไปในเส้นผมได้สะดวก ในขณะที่น้ำมันทานตะวันและน้ำมันแร่ (mineral oil) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมน้ำมันใส่ผม ไม่ได้มีส่วนช่วยแต่อย่างใด เพราะไม่สามารถซึมเข้าไปในเส้นผมได้เหมือนน้ำมะพร้าว จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทอย่างมากต่อสุขภาพ และความงามของมนุษย์ไม่ว่าจะใช้ในการบริโภคเป็นอาหาร หรืออาหารที่เป็นยาด้วย (nutraceutical หรือ functional food) และการใช้ภายนอกโดยการใช้ถูนวดตัว หรือชโลมผม เป็นต้น จากข้อมูลทั้งหมดหวังว่าจะจุดประกายกระตุ้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันกลับมาทบทวนข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา น้ำมันมะพร้าวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากสภาพประเทศไทยมีแหล่งมะพร้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในประเทศและต่างประเทศได้ จึงควรช่วยกันสนับสนุน ให้น้ำมันมะพร้าวกลับมาเป็นที่นิยมใช้และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายในอนาคตต่อไป เรียบเรียงโดย กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย สร้างเมื่อ 08 - ก.พ.- 49 เอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปประชุมวิชาการ เรื่อง "บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม"
| โดย: โจ [12 มิ.ย. 51 19:01] ( IP A:58.10.6.165 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ตั้งแต่หัวจรด....ทีน เค้าน่ะจ๋วยด้วนน้ำมันมะพร้าวทั้งนั้เลย แต่ไม่กินเนื้อม่ะพร้าวถ้าไมอ่อนจริงๆๆ เพราะเนื้อมะพร้าวมันไม่ย่อยจ้าเลยเกิดอาการเวียนหัวอยากเอาของเก่าออกน่ะเลยชอบกินแต่น้ำจ้าๆๆๆๆๆๆๆ แทงค์กิ้วจ้า สำหรับข้อมูลเก่าที่เอามาขัดเกาให้ได้ความรู้ใหม่อีกครั้งเพราะบางที่เราก็ลืมบางส่วนไปว่ามันทำอะไรๆ ได้อีกตั้งเยอะเน้อๆๆๆๆๆ | โดย: ฟร้อน [12 มิ.ย. 51 19:33] ( IP A:124.82.90.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 จ้า แม่คุณ ...เราเองก็เริ่มกลับมาใช้ได้ไม่นานเพราะว่าเครื่องสำอางค์มันล้างไม่ออก พอเอาสำลีชุบน้ำมันมะพร้าวเช็ดงี้ โห รู้งี้ใช้ตั้งแต่สาวๆแระ ไม่รอมาใช้ตอนอายุ 28 หรอก5555 | โดย: โจ [12 มิ.ย. 51 20:44] ( IP A:203.209.96.99 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 I read about how good the coconut milk & oil many years ago and I agree with the researcher without doubt.
Eggs also are no harm. Can you tell everybody too. Thank you. | โดย: Subu [12 มิ.ย. 51 20:44] ( IP A:125.25.146.206 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 สวัสดีค่ะคุณโจ คุณSubu หนูฟร้อน พี่บุหลันแรม
น่าสนใจจังเลย ขอก๊อปไปอ่านก่อนนอนนะจ๊ะ และขอบคุณมากๆจ๊ะ
พี่บุหลันแรม.. ที่บ้านสา มีกาใส่น้ำ แบบน้ำที่เราต้มไว้กิน สาจะเทใส่ในกาน้ำนี้ค่ะ จริงๆไม่เรียกว่ากา น่าจะเรียกว่า เหยือกน้ำพลาสติก ตามจริงแล้ว เค้าเอาไว้ใส่น้ำซุป เพราะ น้ำซุปที่เทลงไปในเหยือกใบนี้ จะไปโผล่ที่ช่องเล็ก ตรง ช่องนั้น จะไม่มีไขมันเลยค่ะ มันจะเอาน้ำส่วนล่างขึ้นมา น้ำส่วนบน จะมีไขมัน มันจะไม่ใหลลงไป พอเราเทเหลือน้ำใกล้ๆก้นเหยือก เราก็ไม่เอา ก็จะได้น้ำซุปที่ใสมากินได้เลยค่ะ สาก็เลยคิดว่า พี่น่าจะลองเอาเหยือกแบบนี้ไปใช้ดู เชื่อว่าเหมาะมากๆ เหยือกใบนี้ สาซื้อที่ฮ่องกง คิดว่าที่เมืองไทย อาจจะมีขายนะค่ะ ตามห้างใหญ่ๆนะค่ะ ถ้าพี่อยากเห็นรูป สาจะไปถ่ายรูปเหยือกแยกไขมันมาให้ดูนะค่ะ | โดย: ชมพู่ [13 มิ.ย. 51 2:13] ( IP A:213.114.231.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ขอบคุณค่ะคุณโจสำหรับข้อมูลดี ๆ
แล้วก็ขอบคุณ ๅ บุหลันแนมด้วยค่ะ เพราะยังงงว่าใช้ส่วนไหนของกะทิ เคยเห็นแต่เขาเอาไปเคี่ยวแล้วได้น้ำมันใส ๆ ลอยมา แต่แบบ Cold Press หรือเรียกว่าอะไรแบบเย็น ๆ นั่นเพิ่งทราบค่ะ
หนูฟร้อนแฝดเนื้องอก เหมีอนกันอีกแล้ว อิอิ แต่มาอยุ่ตรงนี้เลยขาดแคลนไปหน่อย ได้แค่กินน้ำมะพร้าวกระป๋องอย่างเดียว มะพร้าวอ่อนที่กินได้เป็นทลาย ๆ เลยค่ะ ชอบมาก ๆ ชอบมะพร้าวทุกส่วนของมันเลยค่ะ | โดย: ต้นโอ๊ค [13 มิ.ย. 51 2:40] ( IP A:71.252.223.48 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ขออภัยค่ะ...จะเอาคุณบุหลันแรมไปแนมแล้วไหมล่ะ อิอิ ตัวอักษรบนแป้นมันเลือนแล้วขี้เกียจซ่อมน่ะค่ะ | โดย: ต้นโอ๊ค [13 มิ.ย. 51 2:41] ( IP A:71.252.223.48 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 คุณบุหลันแรม โจตามลิงค์เข้าไปดูมาแย๊ว น่ารักจังเลย ทำเองด้วยโจก็ว่าจะลองทำด้วยเหมือนกัน อยู่ที่นี่หาซื้อง่ายแต่แพง อยากทำเองเป็นเผื่อกลับไปอยู่บ้านหาซื้อยากจะได้ไม่ต้องลำบาก การทำน้ำมันมะพร้าว เอามาจาก รักบ้านเกิด วัสดุอุปกรณ์ 1. ตู้เย็นธรรมดาที่ใช้ตามบ้าน 2. เนื้อมะพร้าวขูด5กก. สดใหม่เพิ่งผ่าออกมาจากลูกไม่แช่น้ำ 3. ถ้วยกรองกาแฟ ซูซูกิ มีขายตามห้างทั่วไป กระดาษกรองวิทยาศาสตร์ก็ได้ 4. ขวดแก้วสีชา
วิธีทำ เอามะพร้าวไปคั้นเอาแต่หัวกระทิคั้นแบบไม่ต้องเติมน้ำ เอาแบบที่เขาใช้เครื่องไฮโดรลิคคั้นก็จะสะอาดกว่าใช้มือ มะพร้าวขูด 5กก.จะได้หัวกระทิ3กกใส่ในถุงพลาสติกใสมัดปากถุงให้แน่น เอาหัวกระทิมาตั้งทิ้งไว้24-36ชั่วโมงกะทิจะแยกออกเป็นสองชั้นชั้นบนเป็นครีมขาวชั้นล่างเป็นน้ำเปรี้ยว เจาะรูถุงด้านล่างเอาน้ำออกให้หมดแล้วมัดถุงส่วนที่เจาะรูด้วยยางมัดของ นำเข้าตู้เย็นเกิน24ชั่วโมงแต่ไม่ควรเกิน7วันครีมกะทิจะจับตัวแข็ง เอาถุงกะทิออกจากตู้เย็นมาเก็บในที่ร่ม(ทุกขั้นตอนห้ามไม่ให้กะทิโดนแสงแดด)ทิ้งไว้ราว36ชั่วโมงกะทิในถุงจะแยกออกเป็น3ชั้น ชั้นบนสุด คือ น้ำมันใส ชั้นกลาง คือ ครีม ชั้นล่าง คือ น้ำ รินเอาน้ำมันออกจากถุงไปกรองด้วยกระดาษกรองกาแฟ น้ำกรองแรกต้องเอามากรองซ้ำแล้วเก็บในขวดสีชาจะได้น้ำมันมะพร้าวราว1กก. น้ำมันมะพร้าวจะเข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า25องศา ซี ส่วนครีมที่เหลือจะทยอยมีน้ำมันออกมาแต่ถ้าน้ำมันแยกออกจากครีมเกินกว่า4วันเอาไปกรองแล้วเติมใส่ถังน้ำมันรถดีกว่าเอามากินหรือใช้ น้ำมันมะพร้าวที่ได้แบบนี้ยังมีน้ำปนอยู่อีกเล็กน้อยหากเก็บไว้เกิน3เดือนจะมีกลิ่นหืน
ประโยชน์และวิธีใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 1. ถนอมรักษาให้เส้นผมดกดำ เป็นเงางาม ช่วยขจัดรังแคและเชื้อรา รักษาอาการผมร่วง วิธีการใช้ ชโลมผมด้วยน้ำมัน นวดคลึงศีรษะ แล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นโพกศีรษะไว้ 30 นาที ก่อนสระผม
2. ปกป้องผิวจากแสงแดดให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดริ้วรอยฝ้า กระ จุดด่างดำบนใบหน้า วิธีการใช้ ทาน้ำมันและนวดก่อนออกไปกลางแจ้ง หรือก่อนลงว่ายน้ำ หรืออาบแดด
3. บำรุงผิวหน้า ปรับสภาพผิวให้นุ่มนวล เต่งตึง มีสุขภาพดี ลดการเกิดสิว และการสะสมของสารเคมีบนใบหน้า วิธีการใช้ ใช้สำลีชุบน้ำมันแล้วเช็ดทำความสะอาด และใช้ทา นวดผิวหน้าหลังอาบน้ำเช้าและก่อนนอน
4. ลดอาการผื่นแพ้ แสบคันตามผิวหนังและรักษาเท้าเปื่อยเนื่องจากเชื้อราและแบคทีเรีย
วิธีการใช้ ทาบริเวณผิวหนังที่บาดเจ็บ อักเสบและแสบคันจากการติดเชื้อ
5. ปรับสภาพผิวหนังด้าน และส้นเท้าแตก วิธีการใช้ ทาน้ำมันมะพร้าวและนวดคลึงบริเวณส้นเท้า ก่อนนอน จะทำให้ฝ่าเท้านุ่มนวล
6. กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท รักษากระดูกกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ วิธีการใช้ ใช้นวดตัว เพื่อผ่อนคลาย และบำรุงผิวพรรณ
แต่อีกวิธีหนึ่งคือการนำไปเข้าตำรับยา เช่น 1.เอาเหล้าโรง 1 ส่วน น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน น้ำปูนใส 1 ส่วน อย่างละเท่ากัน นำไปกวนให้เข้ากันดีจนมีลักษณะคล้ายน้ำมันข้น ใช้สำลีจุ่มยาทาบริเวณที่ถูกไฟลวก ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน และเป็นยารักษาแผลเป็นได้อีกด้วย
2.เอายางตะเคียนกับน้ำมันมะพร้าวอย่างละเท่ากัน ใส่กระทะตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย ใช้สำลีชุบทาบริเวณแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก จะช่วยให้แผลหายและไม่เป็นแผลเป็น
คุณปิยะนุช นาคะ นักวิชาการเกษตร สังกัด สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับมะพร้าวมานานได้รับเชิญให้มาบรรยายในงานสัมมนานี้ด้วยกล่าวว่า มนุษย์ใช้น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นยา เป็นอาหาร เป็นเครื่องสำอางมานานนับพันปี โดยเฉพาะในหมู่บ้านชาวเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งใช้น้ำมันมะพร้าวและกะทิประกอบอาหารบริโภคเป็นประจำต่างมีสุขภาพดี ไม่มีโรคหัวใจ มะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถนำน้ำมันมะพร้าวมาถูทาตัวให้หายปวดเมื่อยหรือใช้ทาผิวเพื่อชะลอความแก่
กะทิเป็นของเหลวที่ได้จากการบีบคั้นเนื้อมะพร้าวสดที่นำมาขูดเป็นฝอย อาจเติมน้ำหรือไม่ก็ได้น้ำมันที่ได้จากการบีบคั้นเนื้อมะพร้าวสดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ลอยอยู่ข้างบนเรียกว่าหัวกะทิส่วนที่อยู่ข้างล้างเรียกว่าหางกะทิ
ตามข้อมูลปรากฏว่าคนไทยกับคนอินโดนีเซียบริโภคกะทิเฉลี่ยคนละ 6.5-8.2 ก.ก.ต่อปี มากว่าคนฟิลิปปินส์ ซึ่งบริโภคคนละ 0.3-0.6 ก.ก.ต่อปี ส่วนศรีลังกาและชามัวตะวันตกบริโภคกะทิมากที่สุดในโลกคนละ 30-36 ก.ก.ต่อปี การบริโภคส่วนใหญ่จะใช้การปรุงอาหารคาวหวาน โดยเฉพาะอาหารไทยต้องถือได้ว่ามีกะทิเป็นสัญลักษณ์
ในปัจจุบันมีการผลิตกะทิสำเร็จรูปออกมาจำหน่ายและมีการพัฒนาคุณภาพกะทิให้ใกล้เคียงกับกะทิสด เพื่อเวลานำไปปรุงอาหาร รสชาติจะได้ไม่แตกต่างจากกะทิสดมากนัก ซึ่งกะทิที่เป็นอุตสาหกรรมจะต้องมาจากมะพร้าวแก่จัดอายุ 12 เดือน เนื้อมะพร้าวจะต้องแข็งและหนา มีองคืประกอบคือ ความชื้น 50% น้ำมัน 34% โปรตีน 3.5% เส้นใย 3% เถ้า 2.2% คาร์โบไฮเดรต 7.3%
ส่วนองค์ประกอบของกะทิขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในการสกัด โดยปกติจะมีองค์ประกอบดังนี้ ความชื้น 47-56% ไขมัน 27-40% โปรตีน 2.8-4.4% เถ้า 0.9-1.2% คาร์โบไฮเดรต 5.0-16%สำหรับหางกะทิ ซึ่งเป็นส่วนชั้นน้ำที่แยกจากกะทิ ปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งสามารถนำมาบริโภคได้ เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งน้ำมันมะพร้าวทั้งกะทิมได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ
หากจะสรุปตรงนี้ว่าเพราะน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำธรรมชาติที่มีคอเลสเตอรอลน้อยที่สุด สามารถกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญและป้องกันการสะสมไขมันในร่างกาย มีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเมื่อถูกความร้อนจะไม่เปลี่ยนเป็นกรดไขมันชนิดที่เป็นสาเหตุของสารก่อมะเร็ง สรรพคุณที่มีอยู่มากมายนี้คงทำให้หลายท่านที่หน้าเบ้เมื่อเห็นกะทิมันย่องลอยอยู่ในแกงเขียวหวานหรือแกงมัสมั่นคงเปลี่ยนใจ.
น้ำมันมะพร้าว น้ำมันที่มีประโชย์มาก
น้ำมันมะพร้าว : น้ำมันที่มีประโยชน์มาก
โดย : Bruce Fife,N.D.
คุณเคยทานอาหารลดน้ำหนักแต่ก็ไม่สามารถลดน้ำหนักตัวลงมาได้ไหม ? ถ้าเป็นอย่างนั้น การเพิ่มไขมัน –แต่ต้องเป็นชนิดที่ถูกต้อง – เข้าไปในอาหาร ก็จะช่วยหาคำตอบให้กับคุณได้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องแปลกแต่นักวิจัยก็แนะนำ ว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยการเผาผลาญไขมันในร่างกาย เดิมนั้นเป็นที่เชื่อกันอย่าง ผิดๆ ว่าในร่างกายเดิมนั้นเป็นที่เชื่อกันอย่างผิดๆ ว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นอันตราย ต่อหัวใจเพราะมีไขมันชนิดอิ่มตัวอยู่ในนั้น มาตอนนี้เราทราบกันว่า น้ำมัน มะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวชนิดที่ไม่เหมือนใครที่อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ,อัมพฤกษ์ และการแข็งตัวของเส้นเลือดแดงได้
การเพิ่มน้ำมันที่หาได้ง่าย ๆ คือ น้ำมันมะพร้าวนี้ลงไปในอาหารประจำวันจะช่วยเผาผลาญไขมัน ป้องกันความหิวและช่วยให้ผิวและเส้นผมมีสุขภาพดี ไขมันและน้ำมันส่วนมากในอาหารของเราประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ชนิดโมเลกุลสายยาว(long-chain triglyeerides หรือ LCTs) อย่างไรก็ตาม น้ำมันมะพร้าวนั้นแตกต่างออกไป คือมันประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ชนิด โมเลกุลสายปานกลาง (medium-chain triglyeerides หรือ MCTs) ซึ่ง MCTs เหล่านี้นี่เองที่ทำให้ น้ำมัน มะพร้าว มีคุณสมบัติพิเศษออกไปไขมันธรรมชาติที่มีแคลอรีต่ำ น้ำมันมะพร้าวในปริมาณกรัมต่อกรัมกับไขมันอื่นจะให้แคลอรีน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้มันจึงโดดเด่นในแง่ที่เป็นน้ำมันจากธรรมชาติที่ให้แคลอรีต่ำ เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวในการเตรียมอาหาร คุณยังรับประทานอาหารได้อย่างเดิม ได้แคลอรีน้อยลง
เรื่องที่ประสบความสำเร็จ “เป็นเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้นตั้งแต่ที่ดิฉันเริ่มใช้น้ำมันมะพร้าวผิวก็เหมือน เด็กแรกเกิดใบหน้าก็งดงามและแดงเรื่อ ฝ่าเท้าเหมือนกับของวัยรุ่น(ดิฉันไม่ได้เอา มาถูกับเท้า แค่ทานมันเท่านั้น) เป็นครั้งแรกในวันเกิน 5 ปีของ ดิฉันที่มีความ อบอุ่นตราบใดที่ ยังใช้น้ำมันมะพร้าวน้ำหนักตัวก็ลดลง 11 ปอนด์ ผมสวยมาก! เท่าที่เห็นนั้น น้ำมันมะพร้าวชนิดที่คั้นน้ำแรก (virgin coconut oil) เป็นอาหาร มหัศจรรย์ของดิฉัน“ ลินดา พี
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแคลอรีต่ำกว่าไขมันอื่น แต่ก็ยังไม่ใช่เหตุผลหลักที่ ทำให้น้ำมันมะพร้าวได้รับการยอมรับในการลดน้ำหนักตัว น้ำมันมะพร้าวดู เหมือนจะช่วยเพิ่มอัตราเมตาโบลิซึ่มร่างกายให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราการ เผาผลาญไขมัน การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า MCTs เพิ่มอัตราของ ปฏิกิริยา thermogenesis(ปฎิกิริยาการสร้างความร้อน) ในร่างกายให้มากขึ้น ทำให้สมดุลระหว่างไขมันกล้ามเนื้อดีขึ้น มีการค้นพบว่า MCTs ทำให้อัตราส่วนระหว่างกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายดีขึ้นในการศึกษาครั้งหนึ่งได้มี การประเมินผลของอาหารที่แตกต่างกันสามอย่างกับหนูทดลอง ได้แก่ อาหารที่มีไขมันต่ำ , อาหารที่มีไขมันสูงที่มี ไขมันชนิดโมเลกุลยาว(LCTs), และอาหารไขมันสูงที่มีไขมันชนิดโมเลกุลปานกลาง(MCTs)ใช้เวลาทดลอง 44 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าหนูที่ได้รับอาหารไขมันต่ำมีการสะสมไขมันโดยเฉลี่ยวันละ 0.47 กรัม กลุ่มที่ได้รับอาหาร LCT เพิ่มขึ้นวันละ 0.48กรัม, ในขณะที่ กลุ่มที่ได้ MCT มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นเพียงวันละ 0.19 กรัม และกลุ่มนี้ก็มี ไขมันสะสมในร่างกายลดลง 60% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้สารอาหรประเภทอื่น
ความลับในการรับประทานให้น้อยลงได้ตลอดวัน ในการศึกษาครั้งหนึ่ง ได้นำผู้ชายที่มีน้ำหนักตัวปกติกลุ่มหนึ่งมารับประทาน อาหารเช้า ที่มีไขมันชนิดที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นก็ได้ทำการวัดปริมาณอาหาร กลางวันและเย็นที่รับประทานเข้าไป พบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเช้าที่มีไขมัน MCTs (เช่น ไขมันที่พบในน้ำมันมะพร้าว) จะรับประทานอาหารกลางวันน้อยลง ส่วนอาหาร เย็นนั้นไม่พบความแตกต่าง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อรับประทานอาหาร MCTs ในอาหารมื้อหนึ่งแล้ว ก็จะทำให้ความหิวในอาหารมื้อต่อไปลดลงและรับประทานน้อย ลงนอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ผู้ที่รับประทานอาหารกลางวันน้อยกว่าก็ไม่ได มารับประทานอาหารเย็นมากขึ้นเพื่อชดเชยด้วย ปริมาณอาหารที่รับประทานทั้งวันจึง ลดลง เพิ่มเมตาโบลิซึ่มและควบคุมความอยากอาหาร ผลในการเพิ่มเมตาโบลิซึ่มของ MCTs จะไม่มีผลยาวเพียงแค่หลังรับประทานอาหารไป 1 หรือ 2 ชั่วโมงเท่านั้น การศึกษาหลายครั้งแสดงให้เห็นว่า MCTs ทำให้ระดับเมตาโบลิซึ่มเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ระหว่างนี้คุณก็จะชื่นชมไปกับการมีพลังที่สูงขึ้น และการเผาผลาญไขมันในอัตราที่เพิ่มขึ้น อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว คือ ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้ดีกว่าไขมันชนิดอื่น เมื่อน้ำไปประกอบกับอาหาร และเมื่อเรารับประทานอาหารนั้น จะทำให้รับประทานได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มได้นานกว่าอาหารที่ปรุงด้วยไขมันชนิดอื่น ในกรณีศึกษาครั้งหนึ่ง ได้แบ่งสตรีออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้เครื่องดื่มที่มี MCT (จากน้ำมันมะพร้าว) อีกกลุ่มได้เครื่องดื่มที่มี LCT หลังจากนั้น 30 นาที ก็ให้พวกเธอทานอาหารกลางวันและให้ทานมากเท่าที่ต้องการ พบว่าผู้ที่ได้ รับ MCT ก่อนอาหารจะรับประทานอาหารน้อยกว่า และผู้บันทึกการศึกษาครั้งนี้ระบบว่า “แคลอรีที่รับประทานเข้าไปในอาหารกลางวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ” เมื่อน้ำมันมะพร้าวมารวมกับอาหารดี ๆ ที่เหมาะสมแล้วน้ำมันมะพร้าวจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สมดุลระหว่างกล้ามเนื้อ และขมันในร่างกายดีขึ้น แล้วยังเป็นน้ำมันสำหรับทำอาหารที่ดีที่สุด เพิ่มน้ำมันมะพร้าวเพียงเล็กน้อยในอาหารจะช่วยกระตุ้นเมตาโบลิซึ่มและทำให้หายหิวได้ แม้ว่าไขมันที่อยู่ในน้ำมันมะพร้าวจะมีแคลอรีมากกว่าโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตก็ตาม แต่ผลจากเมตาโบลิซึ่มของไขมันและการป้องกันความอยากอาหารจะช่วยชดเชยแคลอรีที่มีมากนี้ลงได้
แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง : Coconut Oil ; Nature's Fat-Burning Miracle โดย : Bruce Fife, N.D. วารสาร : Let's Live เดือน มกราคม 2005 ผู้แปล : ฉัตรตระกูล เจียจันทร์พงษ์ , M.P.H.
ข้อมูลจาก : นิตยสาร อาหาร&สุขภาพ ปีที่ 18 ฉบับที่ 116 พ.ศ. 2548 | โดย: โจ [13 มิ.ย. 51 12:43] ( IP A:58.10.6.163 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 อันนี้หน้าสนจัยยยยยมากเลย ลดน้ำหนักได้ด้วยงี้ต้องลองเสียแล้วๆๆๆๆๆๆๆๆ | โดย: ฟร้อน [13 มิ.ย. 51 14:08] ( IP A:124.82.92.205 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ...สวัสดีทุกท่านครับ แวะเข้ามาทักทายครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ | โดย: จินจง [13 มิ.ย. 51 14:25] ( IP A:125.24.161.33 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ | โดย: จิง....จัง [13 มิ.ย. 51 21:53] ( IP A:118.174.201.134 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 คุณโจจ๋าขอบพระคุณขนาดเลยเจ๊า เป็นความรู้เเต้ๆเลย ว่าเเต่เราจะหาซึ้อได้ที่ไหนละเจ๊า | โดย: เจ้าตุ้ย [14 มิ.ย. 51 1:34] ( IP A:68.201.41.93 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 เป็นความรู้ที่ดีมากคะ สามารถนำมาทำใช้เองได้ด้วย แล้วน้ำมันมะพร้าวที่ทำเอง จะหมดอายุเมื่อไร จะทราบได้อย่างไร แฟนเคยซื้อมาจากเมืองไทย ไม่กล้าใช้กลัวใส่สารกันบูดนะคะ อยู่ต่างประเทศเขาใช้อะไรขูดมะพร้าวกันคะ ถ้าไม่มีกระต่ายขูดมะพร้าวนะคะ | โดย: muay [14 มิ.ย. 51 17:25] ( IP A:81.246.148.193 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ขอบคุณคุณชมพู่มากคะ ภาพบนเคยเห็น แต่ภาพล่างเพิ่งจะเคยเห็น คงหาซื้อได้ไม่ยากใช่ไหมคะ | โดย: muay [15 มิ.ย. 51 23:07] ( IP A:81.246.186.185 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 ขอบคุณมากนะคะที่เอากามาให้ดูในเมืองไยไม่รู้มรไหมเมื่อวานแวะโลตัสไม่เห็นมีเลยค่ะ ตอนนี้ไม่ค่อยมีปัญญาทำไรมากค่ะ เหนื่อยสุดๆ | โดย: โจ [17 มิ.ย. 51 19:52] ( IP A:203.209.97.146 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 ขอบคุณคุณโจมากค่ะ ทีให้ข้อมูลดีๆ อย่างนี้ | โดย: เก๋ [27 มิ.ย. 51 16:48] ( IP A:61.19.236.76 X: ) |  |
|