ความคิดเห็นที่ 1 หญ้าฝรั่น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา Saffron crocus ?'Crocus sativus' L.
ดอกหญ้าฝรั่นเกสรแดง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[ซ่อน>
อาณาจักร Plantae ส่วน Magnoliophyta ชั้น Liliopsida
อันดับ Asparagales วงศ์ Iridaceae
สกุล Crocus สปีชีส์ C. sativus ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน> ชื่อวิทยาศาสตร์ 'Crocus sativus' L. หญ้าฝรั่น (ออกเสียง ฝะ-หรั่น) จัดเป็นเครื่องเทศและเครื่องยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีการนำเข้าในประเทศไทยจากประเทศแถบอาหรับ (เช่น เปอร์เซีย) หรือชาวตะวันตก มาช้านาน หญ้าฝรั่น ในภาษาอาหรับเรียก ซะฟะรัน เป็นไม้ดอกสีม่วง เพาะพันธุ์ด้วยหัว อยู่ในตระกูลเดียวกับไอริส จึงมีเกสรข้างในสีเหลืองทอง เมื่อแห้ง ใช้เติมรสและกลิ่นในอาหาร และใช้เป็นสีย้อมได้ด้วย หญ้าฝรั่นมีกลิ่นฉุน เฉพาะตัวและมีรสค่อนข้างขม ชาวตะวันออกและผู้คนแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนนิยมใช้ในการปรุงรสและแต่งสีแต่งกลิ่นอาหารมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยเฉพาะ ในข้าวและอาหารจำพวกปลา ส่วนชาว อังกฤษ สแกนดิเนเวียน และผู้คนแถบทะเลบอลข่านใช้ผสมกับขนมปัง นับว่าเป็นส่วนผสมที่สำคัญในตำรับอาหาร ฝรั่งเศส ด้วย
สีเหลืองทองสำหรับย้อมผ้า ละลายน้ำได้นั้น กลั่นมาจากเกสรหญ้าฝรั่นในอินเดียสมัยโบราณ หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไม่นานนัก เหล่าสงฆ์ทั้งหลายก็ใช้หญ้าฝรั่นเป็นสีย้อมจีวรอย่างกว้างขวาง สีย้อมดังกล่าวยังใช้สำหรับภูษาอาภรณ์ของกษัตริย์ ในหลายวัฒนธรรม
มีการหว่านเครื่องเทศหญ้าฝรั่นนี้ภายในอาคารต่างๆ เช่น ภายในราชสำนัก หอประชุม โรงละคร และโรงอาบน้ำของกรีกและโรมัน เพื่อเป็นเครื่องหอม ภายหลังมีความผูกพันเป็นพิเศษกับเฮไตไร หรือนางคณิกาของกรีก บรรดาถนนสายต่างๆ ของโรมก็ล้วนโปรยปรายไปด้วยหญ้าฝรั่น เมื่อจักรพรรดิเนโรเสด็จเข้ามายังพระนคร
หญ้าฝรั่นนี้เชื่อกันว่าเป็นพืชพื้นเมืองแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน เอเชียไมเนอร์ และอิหร่าน โดยมีการปลูกมาช้านานแล้วในอิหร่าน และแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย และเข้าใจว่ามีการนำเข้าไปยังแผ่นดินจีนเมื่อครั้งพวกมองโกลบุกรุก
ในตำราแพทย์แผนโบราณของจีน สมัยยุคศตวรรษที่ 16 นั้นก็ยังมีกล่าวถึงหญ้าฝรั่นโดยแพทย์จีนเรียกหญ้าฝรั่นนี้ว่า ซีหงฮวา ซึ่งแปลว่า ดอกไม้สีแดงจากตะวันตก ส่วนชาวอาหรับและพวกแขกมัวร์ในประเทศสเปนก็รู้จักการปลูกหญ้าฝรั่นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1504 และยังมีการกล่าวไว้ในตำราทางการแพทย์ของอังกฤษ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ. 1444- 1543) แต่อาจสูญหายไปจากยุโรป กระทั่งพวกครูเสดนำเข้าไปอีกครั้ง ในช่วงสมัยต่างๆ หญ้าฝรั่นมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน และยังคงเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลก[ต้องการแหล่งอ้างอิง>จนปัจจุบัน
ส่วนตำราการแพทย์แผนโบราณของไทยนั้น หญ้าฝรั่นถือได้ว่าเป็นของที่สูงค่ามีราคาแพงมาก จัดเป็น ตัวยาที่ช่วยในการแก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ เป็นตัวยาหลักที่ใช้ในตำรับยาหอมต่างๆ และยังใช้บดเป็นผงให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกินเป็นน้ำกระสายยาคู่กับการกินยาตำรับต่างๆอีกด้วย
หญ้าฝรั่นจากประเทศอิหร่าน ความยาวก้านเกษรประมาณ 20 มิลลิเมตรปัจจุบันนี้มีการ ปลูกหญ้าฝรั่นกันมากในสเปน ฝรั่งเศส ซิซิลี อิตาลี อิหร่าน และแคชเมียร์ จะมีการเก็บเกสรตัวเมียดอกละสามอัน นำไปวางแผ่ไว้ในถาด ย่างไฟที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง นำมาแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หญ้าฝรั่นแห้งที่ได้ 1 กิโลกรัม เท่ากับผลผลิต 120,000 - 160,000ดอก ดังนั้นจึงต้องเก็บเกสรตัวเมียจากดอกของหญ้าฝรั่นด้วยมือจำนวนมากถึงจะได้ปริมาณตามที่ต้องการ ทำให้หญ้าฝรั่นจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนักในบรรดาเครื่องเทศทั้งหลาย ซึ่งโดยเฉลี่ยขายปลีกกันประมาณ กิโลกรัมละ 77,700 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีการเอาดอกคำฝอย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากกับหญ้าฝรั่นแต่มีราคาที่ถูกกว่ามากมาผสมปนอยู่ด้วยในเวลาที่ขายในร้านขายเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ
ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99". | โดย: ชมพู่ [16 ธ.ค. 51 3:52] ( IP A:213.114.231.194 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หญ้าฝรั่นเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นหัวคล้ายหัวเผือก (Corm) ใบยาวแคบ ออกดอกในฤดูใบไม้ร่วง โดยก้านดอกจะแทงออกมาจากหัวใต้ดิน ลักษณะดอกมีรูปร่างคล้ายดอกบัว กลีบดอกเรียวยาวคล้ายรูปไข่ มีเกษรขนาดยาวโผล่พ้นเหนือดอก เกษรตัวเมียมีสีแดงเข้ม ดอกอยู่ได้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์ การเก็บดอกหญ้าฝรั่นนั้น ควรเก็บเมื่อดอกเริ่มบาน ส่วนที่นำมาใช้คือเกษรตัวเมีย โดยเด็ดออกจากดอกแล้วเอามาทำให้แห้งโดยการย่างบนเตาถ่านเพื่อให้เสียน้ำ ซึ่งดอกหญ้าฝรั่น 100,000 ดอก จะให้เกษรตัวเมียที่แห้งหรือหญ้าฝรั่นประมาณ 1 กิโลกรัม หญ้าฝรั่นจึงมีราคาแพงมาก เท่าราคาทองคำเลยทีเดียว
เห็นเค้าเขียนว่า ประเทศที่ปลูกหญ้าฝรั่นเพื่อส่งออกคือ สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศล อิหร่าน อินเดีย
อันนี้ลิงค์จ้า https://www.praphansarn.com/herb/herb34.php
ปล. หญ้าฝรั่นมีหลายเกรดคะ | โดย: ชมพู่ [16 ธ.ค. 51 3:55] ( IP A:213.114.231.194 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 หญ้าฝรั่น หรือ ผงSaffrans ที่เมืองไทยอาจจะหาซ์้อยาก และราคาคงจะแพง แต่ก็สามารถใช้ ดอกคำฝอย แทนก็ได้นะค่ะ
เห็นว่าคุณเจนนี่ถามเรื่องSaffrans เลย มาตั้งกระทู้ให้ใหม่ หวังว่ากระทู้นี้ คงจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะค่ะ และขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่าน สวัสดีค่ะ | โดย: ชมพู่ [16 ธ.ค. 51 4:09] ( IP A:213.114.231.194 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ...สวัสดีครับคุณ ชมพู่ เข้ามาทักทายครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ | โดย: จินจง [16 ธ.ค. 51 14:10] ( IP A:125.24.136.238 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 กลิ่นเหมือนอะไรคะ เหมือนดอกอะไร นึกไม่ออกอ่ะค่ะ..แต่ดูท่าทางแล้วจะหายากเน๊อะถ้าไม่ใช่แหล่ง... | โดย: โจ [16 ธ.ค. 51 21:18] ( IP A:61.91.163.157 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 สวัสดีค่ะคุณจินจง คุณโจ
คุณโจ วันนี้ ว่าจะส่งไปให้แล้ว แต่ไปค้นดู เกลี้ยงตู้กับข้าวเลย อิอิ คอยหน่อย ให้หาเจอคงจะจัดส่งไปให้ ลองทำกินดู เอามาใส่ ข้าวก็หอมอร่อยดีนะ พอดีช่วงนี้หาซื้อยากเหมือนกัน บางที่ขาดตลาดเลย เพราะ เงินที่นี่ตก และ ช่วงนี้คนใช้กันเยอะ ด้วยอะจ๊ะ | โดย: ชมพู่ [17 ธ.ค. 51 2:24] ( IP A:213.114.231.180 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ขอบคุณมากค่ะ ความรู้ทั้งนั้นเลย อิ๊ อิ๊ | โดย: แก้ว [20 ธ.ค. 51 4:41] ( IP A:213.100.199.113 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ | โดย: ตูน [27 พ.ค. 52 22:07] ( IP A:203.144.180.65 X: ) |  |
|