ความคิดเห็นที่ 1 BA,6-Benzylaminopurine, benzyl adenine,ฺBAP สูตรเคมี C12H11N5 mw. 225.25 g/mol
IBA ,indolebutyric acid สูตรเคมี C12H13NO2 mw. 203.24 g/mol
จาก วิกิพิเดีย ครับ ง่ายๆ ว่าคนละัตัว ส่วนที่ถามว่าต่างกันตรงไหนเนี่ย.... ตอบแบบโอ๊ยๆ หน่อยก็......... "สารคนละตัว น้ำหนักคนละน้ำหนัก" ....
แต่ถ้าให้ตอบแบบมีสาระนิดๆ ก็ ...... "น่าจะจากที่ต้นไม้บางชนิด ACTIVE กับ IBAมากกว่า บางชนิด ACTIVE กับ BA มากกว่าครับ" (เหมือนคนเราบางคนชอบกินข้าวเหนียว กับบางคนกินข้าวเจ้า แหละครับ) ........แน่ๆ ราคาต่างกันด้วยครับ
โชคดีครับ | โดย: dUKe [27 ก.ค. 55 9:52] ( IP A:202.44.4.252 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 IBA เป็นสารออกซินสังเคราะห์ที่เหมาะสมในการเร่งรากพืช IBA มีฤทธิ์ของออกซินค่อนข้างต่ำ เคลื่อนย้ายได้ช้าสลายได้เร็วกว่า NAA เหมาะสมต่อการเร่งราก ดังนั้นจึงมีการนำ IBA ไปใช้เร่งรากกิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนและชักนำให้เกิดรากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ IBA มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับNAA ถ้าเป็น IBA ในรูปสารบริสุทธิ์เป็นผลึกสีขาวละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ IBA ในรูปสารละลายจะสลายตัวได้เร็วมาก ดังนั้น สารที่ผลิตขึ้นเป็นการค้าจึงมักผสมในรูปผง ซึ่งจะสลายตัวได้ช้าลง เช่น เซราดิกซ์ (Seradix) ซึ่งมีความเข้มข้นแตกต่างกัน 3 ระดับ (เบอร์ 1,2 และ 3) และรูท-โกร(Root-Gro) ฯลฯ การใช้สารเหล่านี้เพื่อเร่งรากกิ่งปักชำโดยจุ่มปลายกิ่งที่เปียกชื้นลงในผงของสารให้ลึกประมาณ 1 นิ้ว แล้วจึงนำกิ่งนั้นไปปักชำ สาร IBA มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์อยู่ในระดับมีพิษปานกลางเช่นเดียวกับ NAA ดังนั้น จึงต้องใช้ความระมัดระวังเช่นกัน (คัดลอกจาก https://203.158.253.5/wbi/Science/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/unit403.html) | โดย: ตั้ม [30 ก.ค. 55 9:53] ( IP A:49.49.30.74 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ส่วน BA เป็นกลุ่มไซโทไคนินครับ (IBAใช้เพื่อกระตุ้นราก แต่BAใช้กระตุ้นการแตกหน่อ,กอ)
เพราะฉะนั้น IBA กับ BA เป็นคนละตัวคนละเรื่องเดียวกันเลยนะครับ อย่าใช้สลับกันนะครับผลที่ได้จะออกมาคนละเรื่องเดียวกันครับ
นอกจาก BA (BAP) แล้วเค้ายังนิยม Kinetin กับTDZ (ทั้งKinetinและTDZก็เป็นกลุ่มไซโทไคนินเหมือนBAครับ) แต่TDZมีราคาสูงมากๆ ส่วนKinetinก็มีราคากลางๆ BA(BAP)จะมีราคาย่อมเยาว์ที่สุดครับ หลายๆคนจะนิยมใช้แต่BA แต่ถ้าลองไปอ่านบทความงานวิจัยของสถาบันการศึกษาต่างๆนะครับมักจะพบว่า เค้าใช้BAร่วมกันKinetinครับ ถ้ายังไงก็ คุณคิดเล็กไม่คิดไม่หญ่ครับ ลองไปค้นๆดูเอาแล้วกันนะครับ (พวกงานวิจัยเด็กป.โทนะครับ มีเยอะแยะ เข้าไปค้นในเวปหอสมุดของแต่ละมหาวิทยาลัยดูก็ได้ครับ) | โดย: ตั้ม [30 ก.ค. 55 10:03] ( IP A:49.49.30.74 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ขออภัยเจ้าของกระทู้ ผมสับสนเอง และหวังว่าคงได้รับการให้อภัย
ขอบคุณคุณตั้ม ที่เข้ามาช่วยแก้ไขด้วยครับ | โดย: dUKe [31 ก.ค. 55 12:44] ( IP A:202.44.4.252 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 แล้วถ้าจะนำฺBAใปใช้กับแก้วมังกรให้มันออกดอกใช้กี่ppmครับ แบบที่สะกิตหนามออกแล้วนำฺBaไปป้ายให้ออกดอกนะครับ เห็นใช้์Naa100-150ppm ไปฉีดเพื่อแปลงเพศเงาะแล้วได้ผลดี แล้วปลูกแก้วมังกรอยู่ด้วยครับก็เลยอยากลองดูครับ | โดย: คิดเล็กไม่คิดไม่หญ่ครับ [7 ส.ค. 55 8:37] ( IP A:58.9.201.188 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 แล้วที่เค้าบอกว่าNaa เร่งแต่รากแตกให้แตกจากรากเดิม ส่วนibaเร่งเฉพาะรากเดิมให้ใหญโตขึ้นจริงรืเปล่าครับ และba เร่งยอดที่ให้ออกปลายกิ่งแต่ตรงโคนกิ่งไม่ได้เร่งถูกหรือเปล่าครับ ขอขอบตุณทุกคนมากๆครับจริง ๆแล้ว Ba นั้นแพงมากใช่ไหมครับ | โดย: คิดเล็กไม่คิดไม่ใหญ่ [16 ส.ค. 55 8:09] ( IP A:171.97.0.154 X: ) |  |
|