ความคิดเห็นที่ 1 คงต้องกรองกำจัดเชื้อในสารละลายก่อนนำไปผสมอาหารที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว เพราะการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความร้อนจะทำลายสารปฎิชีวนะครับ สารปฎิชีวนะนั้นจะยับยั้งการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต จึงจะมีผลต่อกล้วยไม้ครับ ตอบมาเยอะแล้ว ขอถามนิดนึงว่าจะใส่ไปทำไมครับ | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [26 มิ.ย. 52 19:35] ( IP A:158.108.52.152 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ความคิดเห็นที่1 คงเป็นอาจารย์สุรวิชใช่มั๊ยครับ ถ้างั้นรบกวนถามอาจารย์หน่อยนะครับยาปฏิชีวะนะใส่ในอาหารเพาะเลี้ยงเพื่อจัดการกับแบค ส่วนมากใช้อะไรแล้วอัตราเท่าไหร่ พอดีไปซื้อจากร้านขายยาเขาจัดให้เป็นแบบฆ่าได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบแต่ไม่รู้จะใส่เท่าไหร่รบกวนด้วยนะครับ | โดย: กร [26 มิ.ย. 52 23:32] ( IP A:114.128.7.109 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ปกติจะไม่ใส่สารปฎิชีวนะในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อครับ นิยมใช้สารปฎิชีวนะ จำพวก กานามัยซิน เจนตามัยซิน หรือออกแมนติน ฟอกที่อัตรา *** -1 *** มล/100 มล. นาน 15-25 นาที ก่อนใช้นำยาซักผ้าขาวครับ ทั้งนี้ต้องระวังว่าชิ้นพืชอาจถูกทำลาย (ลักษณะคล้ายถูกลวก)ด้วยครับ เพราะพืชแต่ละชนิดไวต่อสารปฎิชีวนะแต่ละชนิดต่างกันครับ
ถ้ามีเชื้อปนเปื้อนในขวดแล้ว ฆ่าแบคทีเรียได้ยากมากๆ ครับ (ระดับที่เรียกได้ว่าไม่ได้)
หากจะลองเพราะไม่มีอะไรจะเสีย ควรเอาออกมาฟอกใหม่จะดีกว่า เพราะไม่เสี่ยงที่เชื้อจะออกมาปนเปื้อนในตู้ครับ กรณีนี้จะทำได้เฉพาะกับชิ้นพืชที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ เพราะนำยาซักผ้าขาวจะกัดทำลายเนื้อเยื่อซึ่งบอบบางครับ ทั้งนี้ผมขอแนะว่าควรล้างชิ้นพืชที่ใช้ปากคีบหยิบออกจากขวดนอกตู้ ด้วยสารลดแรงตึงผิว จากนั้นนำไปล้างในนำหยด-ไหลสัก 1 คืน ก็จะได้ผลดีขึ้นครับ
ความสำเร็จจะขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อและความบอบบางของชิ้นพืชครับ
ขอให้โชคดีครับ | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [27 มิ.ย. 52 14:30] ( IP A:158.108.52.152 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 อัตรา *** -1 *** มล/100 มล. นะครับ
อ้อ! ลืมเตือนไปว่า ต้องตรวจการปลอดเชื้อให้ดีๆนะครับ เพราะเชื้อแบคทีเรียนั้น เลือกอาหารที่จะเจริญเติบโตมากครับ บางครั้ง ซ่อนอยู่ในชิ้นพืชจนมาเจออาหารที่ถูกใจจึงเติบโตออกมาให้เห็นครับ | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [27 มิ.ย. 52 14:34] ( IP A:158.108.52.152 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 อัตรา ห้าสิบ ถึง ร้อยห้าสิบ มก/100 มล.ครับ ไม่ทราบว่าทำไมแสดงค่าที่ผิดถึงสองครั้ง ขอโทษครับ | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [27 มิ.ย. 52 14:36] ( IP A:158.108.52.152 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 การใช้ยาปฎิชีวนะยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน (Penicillin)ในอาหาร....เป็นเทคนิคในการทำไม้ด่างหรือเปล่าครับ?? | โดย: บรรเจิด [27 มิ.ย. 52 20:06] ( IP A:58.9.183.114 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ถ้าชีวิตนั้น ง่ายอย่างนั้น ไม้ด่างคงไม่เป็นของสะสมราคาแพงอย่างที่เป็นอยู่หรอกครับ ญี่ปุ่นคงทำกันตรึมมานานแล้วละครับ
จริงอยู่ ที่คลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นเม็ดสีเขียวในพืชนั้นมีวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในทางทฤษฎีแล้ว คลอโรพลาสต์จึงจะถูกยับยั้งการเจริญเติบโตหรืออาจถูกชักนำให้กลายพันธุ์โดยสารปฏิชีวนะ แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่เคยมีผู้ใดประสบความสำเร็จในการชักนำให้เกิดไม้ด่างในสภาพปลอดเชื้อโดยใช้สารปฏิชีวนะเลยครับ
หากท่านคิดว่าเป็นคนที่มีโชค แล้วอยากชักนำให้เกิดไม้ด่างในสภาพปลอดเชื้อโดยใช้สารปฏิชีวนะ ผมเสนอให้ลองใสรหลายๆชนิด หลายๆความเข้มข้นและระยะเวลาครับ อย่าลืมกรองขจัดจุลินทรีย์จากสารละลายด้วยนะครับ เดี๋ยวจะปนเปื้อนเชื้อ เสียของเปล่าๆครับ | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [27 มิ.ย. 52 21:38] ( IP A:158.108.52.152 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ขอบคุณอาจารย์มากนะครับจะลองนำไปใช้ครับ | โดย: กร [27 มิ.ย. 52 23:01] ( IP A:114.128.84.196 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ผมเห็นข้อความนี้นานมากแล้ว แต่ก็ไม่เห็นคนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของlabนี้ พูดถึงเรื่องนี้เลยครับ
ขนาดlabการค้าขนาดใหญ่ของอเมริกา ยังต้องหาไม้ด่างจาก Somaclonal variation เลยครับ
ถ้าSTC ทำได้จริง labอเมริกาคงไปจ้างให้ชักนำไม้ด่างให้นานแล้วละครับ เพราะเจ้าของเดินทางไปยุโรปบ่อยมาก (เกษตรกรยุโรป ไม่ชอบไม้ด่างเพราะโตช้า แต่เกษตรกรอเมริกา ชอบเพราะความสวยงามครับ) | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [29 มิ.ย. 52 11:15] ( IP A:158.108.52.152 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 อาจารย์ครับผมลองเอาสับปะรดสีตัวที่เป็นหนามไม่ได้ด่าง มาลองชักนำให้เป็นแคลลัส แล้วชักนำขึ้นเป็นต้นพบต้นที่มีลักษณะด่างประมาณ 20 - 30 เปอร์เซ็นต์ครับ | โดย: กร [30 มิ.ย. 52 21:53] ( IP A:119.31.37.107 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 สวัสดีครับ ผมไม่ทราบครับ ผมเห็นข้อความในตำราครับ ขอบคุณครับ | โดย: seaorchid@sanook.com [30 มิ.ย. 52 22:14] ( IP A:210.86.208.175 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 พืชแต่ละพันธุ์มีความยากง่ายในการเกิดลักษณะด่างต่างกันไปครับ ในสิ่งมีชีวิตนั้นมียีนกระโดด (Jumping gene) ซึ่งมีส่วนสำคัญในกระบวนการวิวัฒนาการ โดยทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสภาวะวิกฤติ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็เป็นสภาวะวิกฤติอย่างหนึ่งที่ทำให้ยีนนี้ทำงานได้ครับ ดังนั้นเราจึงพบพันธุ์กลายจาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออยู่เนืองๆ ครับ การชักนำให้เกิดตาพิเศษเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสเกิดไม้ด่างสูงขึ้นครับ การเพาะเลี้ยงแคลลัสจึงทำให้มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์และไม้ด่าง เพราะยอดที่ได้มาจากตาพิเศษ (ในพืชส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ค่อยเกิด embryogenesis) ครับ ข้อมูลจาก STC ทำให้ผมไม่ค่อยเชื่อว่าเขามีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการสร้างไม้ด่าง เพราะหากทำได้จริง คงไม่ต้องประมูลขาย (การประมูล แสดงว่ามีของจำนวนน้อยมาก) การอ้างว่ามีวิธีมาตรฐานในการชักนำนั้น จะต้องทำได้ทุกครั้งในอัตราสูงครับ อย่างไรก็ตาม ผมอยากศึกษาข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มจากตำราที่ท่านเจ้าของกระทู้พบเห็นครับ เพราะผมคงไม่ทราบข้อมูลในทุกๆเรื่องครับ รบกวนระบุชื่อหนังสือและผู้แต่งให้ผมทราบจะได้ไหมครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ | โดย: สุรวิช/surawit.w@ku.ac.th [1 ก.ค. 52 15:40] ( IP A:158.108.52.195 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 Modulation of Chlorophyll, Carotene and Xanthophyll Formation by Penicillin, Benzyladenine and Embryonic Axis in Mung Bean (Phaseolus aureus L.) Cotyledons S. MUKHERJI and A. K. BISWAS Plant Physiology Laboratory, Department of Botany, University of Calcutta Calcutta 700019, India
Accepted: 22 March 1978
Penicillin stimulated the synthesis of pigments in the cotyledons of intact embryos and excised cotyledons of mung bean (Phaseolus aureus L.) and enhanced benzyladenine-induced accumulation of chloroplast pigments. The presence of the embryonic axis during light exposure proved to be beneficial for chlorophyll synthesis by the cotyledons whereas its presence in dark germination produced an adverse effect. The possible involvement of nucleic acid and protein synthesis in light-regulated chlorophyll formation is suggested. The stimulating effect on pigment synthesis provided by penicillin in this system seems to involve a maintenance of nucleic acid and protein synthesis | โดย: สุรวิช/agrsuw@ku.ac.th [13 ส.ค. 52 9:31] ( IP A:158.108.52.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 TosA0J https://www.FyLitCl7Pf7kjQdDUOLQOuaxTXbj5iNG.com
| โดย: marcus [7 ม.ค. 58 15:15] ( IP 62.210.88.195 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 WOW. I could just sit and read your posts for hours.
cartier love bracelet gold replica https://www.luxurylovejewelry.com/cartier-love-bracelet/
| โดย: cartier love bracelet gold replica [12 ก.ค. 58 22:00] ( IP 107.149.67.60 X: ) |  |
|