ปลาแม่น้ำชนิดต่างๆ
   ปลายี่สก Platinum

โดย: JOE [17 ก.ค. 53 18:34] ( IP A:58.8.70.46 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   สวายเผือกไม่มีตาครับ

โดย: JOE [18 ก.ค. 53] ( IP A:183.89.79.251 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ปลากรายดำสั้น

โดย: JOE [18 ก.ค. 53] ( IP A:183.89.79.251 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ปลาตองลาย

โดย: naumck [23 ก.ค. 53 21:41] ( IP A:125.26.211.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   หมูหางfvdแม่น้ำโขง

โดย: naumck [23 ก.ค. 53 21:42] ( IP A:125.26.211.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   สะนากแม่น้ำโขง

โดย: naumck [23 ก.ค. 53 21:43] ( IP A:125.26.211.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ปักเป้าควายแม่น้ำโขง

โดย: naumck [23 ก.ค. 53 21:45] ( IP A:125.26.211.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ปลากดหิน

โดย: naumck [23 ก.ค. 53 21:46] ( IP A:125.26.211.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   น้ำผึ้งแม่น้ำโขง

โดย: naumck [23 ก.ค. 53 21:48] ( IP A:125.26.211.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
    ปลาไข่ออง เป็นชื่อเรียกปลาน้ำจืดสองชนิด คือ ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteobrama alfredianus และ O. feae จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยทั้ง 2 ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก มีลำตัวลึกแบนข้างมาก ด้านข้างคอด หางเรียว หัวค่อนข้างเล็กกลม ปากอยู่ปลายสุด เกล็ดมีขนาดเล็ก หลุดง่าย ครีบหลังยกสูง ฐานครีบสั้น และอยู่เหนือฐานครีบท้อง ฐานครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีเงินหรืออาจมีสีเหลืองอ่อน ครีบใส ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงในน้ำขุ่น พบเฉพาะในแถบลุ่มน้ำสาละวิน บริเวณชายแดนไทย-พม่าเท่านั้น
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยชื่อในวงการบางครั้งจะเรียกว่า "ปลาโรตี"

โดย: worm [27 ก.ค. 53 8:59] ( IP A:125.27.54.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
    ปลาตะโกก(สั้น) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomini มีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด มีหนวด 2 คู่อยู่ริมฝีปาก เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารไก้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น หอย ปู มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม. พบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น ต้มยำ เป็นต้น ตะโกก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " โจก "

โดย: worm [29 ก.ค. 53 22:28] ( IP A:125.25.82.148 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   เทพา Platinum

โดย: JOE [7 ส.ค. 53] ( IP A:180.183.251.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   กรายสั้น

โดย: accout [18 ส.ค. 53 16:25] ( IP A:124.121.46.57 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   ขอแจม...

กดคัง ขาวตาดำ

โดย: นัท 111 [6 ก.ย. 53 23:40] ( IP A:119.31.1.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   กรายทองไม่มีจุด

โดย: นัท 111 [6 ก.ย. 53 23:44] ( IP A:119.31.1.190 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   แปปสาละวิน

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:36] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   กรายไม่มีจุด

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:37] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   สะตือตัวใหญ่ 30 กว่านิ้ว

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:37] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   เค้าขาว

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:38] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   กระพงขาว

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:41] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   ตาเหลือก

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:41] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   ช่อนงูเห่า

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:42] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   บ้า,แซมบ้า (ไม่ใช่บราซิล)

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 5:43] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   ฉลามหางไหม้ (ปัจจุบันสูญพันธ์จากแหล่งน้ำในประเทศไทย)

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 6:00] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   กระสง

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 6:01] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   กระสูบขีด

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 6:02] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
   กระเบนขาว

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 6:03] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
   กดหัวเสียม

โดย: ศิลา [11 ก.ย. 53 6:04] ( IP A:110.164.173.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 49
   ตะพาก เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibabus wetmorei มีลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลือง ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดยาว 66 ซ.ม. หนัก 8 ก.ก. อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย

อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่

อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 13:41] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 50
   กระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) แต่รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ตะเพียนทอง, แก้มช้ำ (Systomus orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ

นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 13:45] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 51
   ปลาแรด ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1 สกุล (Genus) 4 ชนิด (Species) มีลักษณะร่วมกันคือ ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อ โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป

เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลัก นิสัยก้าวร้าวพอสมควร และเป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่อยู่ในช่องเหงือกช่วยในการหายใจ อีกทั้งยังสามารถเก็บความชื้นไว้ได้เมื่อถูกจับพ้นน้ำ มีขนาดโตเต็มที่ราว 90 เซนติเมตร นับว่าเป็นปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นรก มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ
ปลาแรด (Osphronemus goramy) มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เม่น" และภาษาใต้ว่า "มิน" เป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดและพบแพร่กระจายอย่างกว้างขวางที่สุด นิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงาม โดยเฉพาะในประเทศไทย เช่นที่ แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี นิยมเพาะเลี้ยงในกระชังในแม่น้ำ ปลาที่กลายเป็นสีเผือก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลาแรดแม่น้ำโขง หรือ ปลาแรดเขี้ยว (Osphronemus exodon) มีรูปร่างคล้ายปลาแรดชนิดแรก แต่พบเฉพาะในแม่น้ำโขงที่เดียวเท่านั้น มีความแตกต่างคือ มีลำตัวสีน้ำตาลแดงคล้ำ ครีบก้นแคบและเล็กกว่า และริมผีปากจะไม่สามารถสบกันจนสนิท จนเผยอให้เห็นซี่ฟันในปาก อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นปลาที่หาได้ยาก
ปลาแรดแดง (Osphronemus laticlavius) พบในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีรูปร่างคล้ายปลาแรดสองชนิดข้างต้น แต่มีลำตัวสีแดงสด ยิ่งเมื่อปลาโตขึ้นเท่าไหร่ สีดังกล่าวจะยิ่งเข้มตามด้วย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาแรดแดงจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า และขนาดเมื่อโตเต็มที่จัดว่าเป็นปลาแรดชนิดที่เล็กที่สุดด้วย กล่าวคือมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร
ปลาแรดสามขีด (Osphronemus septemfasciatus) พบในประเทศมาเลเซีย มีลักษณะเด่นคือ มีขีดกลางลำตัว 3 ขีด เป็นปลาแรดชนิดที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่เท่ากับปลาแรดแดง

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 13:48] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 52
   ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา และแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 13:51] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 54
   ปลาหนวดพราหมณ์ ปลาน้ำกร่อยที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemus paradiseus อยู่ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) มีส่วนหัวขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุม ปากกว้างมีฟันซี่เล็กละเอียดบนขากรรไกร ลำตัวแบนข้าง ครีบอกยาว ส่วนที่เป็นเส้นยาวมีความยาวมากกว่าลำตัวถึง 2 เท่า โดยเฉพาะเส้นบนมีทั้งหมดข้างละ 10 เส้น ครีบหางเว้าลึกปลายแหลม เกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลาม ตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อ หัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อ ครีบสีจาง ด้านท้องสีจาง และยังมีปลาหนวพราหมณ์อีกขนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า คือ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง บางครั้งหากินด้วยการหงายท้องล่าเหยื่อ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 13:56] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 55
   ปลากระทิงไฟ
ชื่อสามัญ : Fire Spiny Eel
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mastacembelus erythrotaenia
ลักษณะทั่วไป
เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่สกุลเดียวกับปลากระทิงดำ รูปร่างคล้ายปลาไหล มีขนาดความยาวประมาณ 20 - 70 เซนติเมตร ลำตัวเรียวยาว และแบนข้าง มีจะงอยปากเป็นติ่งเล็กยื่นออกมาทำหน้าที่รับความรู้สึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ข้างลำตัวมีเส้นหรือจุดสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงตามความยาวลำตัวบริเวณนัยน์ตาจนถึงโคนครีบหาง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกันถึงครีบหลังตอนท้าย ครีบทั้งหมดมีสีแดงสด บริเวณขอบครีบหนังเป็นกระดูกแหลมแข็งสำหรับป้องกันตัวจากศัตรู ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากปลากระทิงชนิดอื่นคือ ปลากระทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้า นัยน์ตา ปลากระทิงไฟที่พบในภาคกลาง จะมีสีแดงสดใสกว่าแหล่งน้ำอื่น
ถิ่นอาศัย
ประเทศไทย มีอยู่ในบริเวณน้ำจึดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากระทิงลายดอกไม้
อาหาร
แมลง ลูกกุ้ง ลูกกบ และปลาขนาดเล็ก

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 14:04] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 56
   เสือพ่นน้ำ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ปากกว้างมีขนาดใหญ่เฉียงลงด้านล่างและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต เกล็ดสาก ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสง พื้นลำตัวสีขาวอมเหลือง มีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 จุด ซึ่งนับว่าปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์นี้เป็นปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์ที่มีจุดวงกลมนี้มากที่สุด และเป็นปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์ที่พบได้มากและแพร่หลายที่สุด

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร นิยมว่ายหากินอยู่ตามผิวน้ำเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พบได้ตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปจนถึงเขตน้ำกร่อยเช่น ป่าชายเลน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถฉีดพ่นน้ำจากปากใส่แมลงที่อยู่เหนือน้ำได้เหมือนปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้แล้วยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาขนาดเล็ก กุ้งฝอย เป็นต้น

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 14:10] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 59
   เทโพ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius larnaudii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร

ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้ เมล็ดพืช ปลา หอย แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวาย (Pangasianodon hypophthalmus) ด้วย

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 14:18] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 60
   เทพา ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและปากกว้างกว่าปลาในสกุลเดียวกัน (Genus) ชนิดอื่น ๆ (Species) มีฟันแหลมคม รูปร่างป้อม ลำตัวลึก ส่วนหลังยกสูงปลายครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องยื่นเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าลึก เมื่อว่ายน้ำจะตั้งชั้นเหมือนปลาฉลาม ปลาวัยอ่อนมีสีเทาคล้ำ ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำแนวเฉียง ท้องสีจาง ครีบมีแต้มสีดำ ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นตอนหน้ามีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ครีบหางมีแถบสีจางตามแนวยาวทั้ง 2 แฉก มีขนาดประมาณ 1 - 1.25 เมตร ใหญ่สุดพบยาวได้ถึง 3 เมตร

พบเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงเท่านั้น ปัจจุบัน ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา (Extinct) และหายากในแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยวิธีการผสมเทียม ปลาวัยอ่อนกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาวัยโตกินซากสัตว์อื่น และปลาเล็ก เนื้อมักถูกนำมาขายแทนเนื้อปลาบึก (Pangasinodon gigas) ซึ่งหายาก และมีราคาแพงกว่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาพิการ ที่ลำตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body) มีราคาสูงมาก

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 14:19] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 62
   ปลายี่สกไทย (Probarbus jullieni)

• พฤติกรรม : ปลายี่สกไทย จะหากินอยู่ระดับกลางน้ำและพื้นท้องน้ำ
• ขนาด : 80-100 เซนติเมตร
• อาหาร :ตะไคร่น้ำ หอย ปู และพืชน้ำ
• แหล่งอาศัย : แม่น้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำโขง

โดย: ตากสิน [27 ก.ย. 53 14:30] ( IP A:124.121.228.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 63
   ปลาช่อน

โดย: หวงเต้ากาน [27 ก.ย. 53 23:46] ( IP A:183.89.172.148 X: )
ความคิดเห็นที่ 64
   ชอนข้าหลวง

โดย: กบ [1 ต.ค. 53 5:58] ( IP A:125.24.3.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 66
   ตูหนา

โดย: กบ [1 ต.ค. 53 6:03] ( IP A:125.24.3.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 70
   

โดย: sakda_pae@hotmail.co.th [16 ก.ค. 54 21:48] ( IP A:115.87.27.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 72
   เค้าดำ

โดย: กบ [15 ส.ค. 54 11:21] ( IP A:125.24.40.157 X: )
ความคิดเห็นที่ 73
   

โดย: pink [27 ต.ค. 54 2:09] ( IP A:113.53.6.104 X: )
ความคิดเห็นที่ 74
   ้้เเรดๆ

โดย: ปอ [2 พ.ย. 54 1:09] ( IP A:110.168.185.176 X: )
ความคิดเห็นที่ 78
   ช่อนงูเห่าสาระวิน 25 ''

โดย: THAISQUID (THAISQUID ) [12 ก.พ. 56 21:14] ( IP A:110.49.28.131 X: )
ความคิดเห็นที่ 79
   

ช่อนงูเห่าอินเดีย กับช่อนงูเห่าสารวิน แตกต่างจากลายตรงลําตัวยังไงครับ

 

โดย: พนากร [15 ธ.ค. 57 11:30] ( IP A:27.145.150.36 X: )
ความคิดเห็นที่ 80
   
โดย: [6 ส.ค. 58 11:04] ( IP A:171.96.171.11 X: )
ความคิดเห็นที่ 81
   

งานท่องเที่ยวออนไลน์

โดย: งานท่องเที่ยวออนไลน์ [16 มิ.ย. 59 10:38] ( IP A:171.99.139.178 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน