กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับอโรวาน่า เสือตอ และขั้นตอนการทำใบครองครอบ การจัดจำหน่าย
   ประกาศกรมประมง
เรื่อง ห้ามซื้อ-ขาย สัตว์น้ำ ซากของสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์น้ำ ที่เป็น
สัตว์ป่าคุ้มครอง

…………………………………
ด้วยปรากฎว่ามีการลักลอบจำหน่ายสัตว์น้ำ ซากของสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์น้ำ ที่ได้ประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อยู่เนืองๆ และมีการร้องเรียนไปยังกรมประมงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบค้าสัตว์น้ำ เช่น ปะการัง กัลปังหา เต่าทะเล ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ หอยสังข์แตร จระเข้ ปลาตะพัดหรืออะโรวาน่า ปลาเสือตอ ปลาหมูอารีย์ เครื่องประดับทำจากเต่ากระ ผลิตภัณฑ์จากหนังจระเข้ ในร้านค้าสัตว์น้ำ
สวยงาม ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ตามสถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด และโรงแรมบางแห่ง

การครอบครอง ซื้อขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่ายแจก โอนกรรมสิทธิ์ มีหรือแสดงไว้
เพื่อขาย และการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน ซ่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือ
รับไว้โดยประการอื่นใดซึ่งสัตว์น้ำ ซากของสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์น้ำ ที่ได้ประกาศ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ดังนี้

1. มาตรา 19 : การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยไม่ได้
รับอนุญาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. มาตรา 20 : การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่ายแจก หรือโอนกรรมสิทธิ์รวมถึง
มีหรือแสดงไว้เพื่อขายสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ
3. มาตรา 23 : การนำเข้า ส่งออก นำผ่าน สัตว์ป่คุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง
โดยไม่ได้รับอนุญาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. มาตรา 55 : การช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับ
ไว้โดยประการอื่นใด ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง อันได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


สำหรับสัตว์น้ำ ซากของสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์น้ำ ที่ประกาศเป็น
สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ ซึ่งได้แก่ จระเข้ ปลาตะพัดหรืออะโรวาน่า ปลาเสือตอ ที่ได้จาก
การเพาะพันธุ์ สามารถครอบครองหรือค้าได้ โดยต้องรับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง ซึ่งสัตว์ป่า
คุ้มครองที่ ได้มาจากการเพาะพันธุ์(สป.15) หรือใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11) โดยผู้ที่มีสิทธิ์ขอรับใบอนุญาตดังกล่าวจะต้องแสดงหลักฐานการได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย


กรมประมงจึงประกาศเตือนมาเพื่อขอให้งดการซื้อขาย นำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือ
ดำเนินกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
และขอความร่วมมือประชาชนโปรดช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริมเฉพาะการค้าที่ถูกต้องเท่านั้น หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อฝ่ายตรวจสัตว์น้ำ กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง กรมประมง ภายใน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2558-0194-5
โทรสาร 0-2558-0212 สำหรับต่างจังหวัด โปรดติดต่อได้ที่สำนักงานประมงจังหวัด หรือสำนักงาน
ประมงอำเภอทุกแห่ง
จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2544

(นานธำมรงค์ ประกอบบุญ)
อธิบดีกรมประมง
โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [22 มิ.ย. 53 10:12] ( IP A:58.8.75.106 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   ขั้นตอนการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ มีดังนี้
- ปลาตะพัด หรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
- ปลาเสือตอ (Coius microlepis)
- จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis)
- จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)
- เขียดแลว (Rana blythii)
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตครอบครองสัตว์ป่า 5 ชนิดดังกล่าว หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15) ได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้

1.1 เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ ส่วนอนุญาตและจัดการประมง
1.2 เขตต่างจังหวัด ติดต่อที่ สำนักงานประมงจังหวัด ณ ท้องที่

2 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายของสัตว์ป่า ซาก หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ดังนี้
2.1 ใบอนุญาตนำเข้า (สป.5) หรือ
2.2 หนังสือกำกับการจำหน่าย ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
2.3 ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13)

3 ใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15) มีอายุ 3 ปี และต้องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุ

4 ใบอนุญาต สป.15 อนุญาตให้ครอบครองได้เฉพาะสัตว์ป่า ซาก ตามชนิดและรายการที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายเท่านั้นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนอกเหนือจากบัญชีแนบท้าย หรือนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5 ผู้ได้รับใบอนุญาต สป.15 ต้องครอบครองสัตว์ป่า ซาก ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น

6 กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนของสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าที่อยู่ในความครอบครอง ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง เพื่อจดแจ้งไว้ในใบอนุญาต
โดย: ออก้า [22 มิ.ย. 53 10:17] ( IP A:58.8.75.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ขั้นตอนการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
1.สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้(สัตว์น้ำ) มีดังนี้
- ปลาตะพัด หรือปลาอโรวาน่า (Scleropages formosus)
- ปลาเสือตอ (Coius microlepis)
- จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis)
- จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)
- เขียดแลว (Rana blythii)
สัตว์ป่าคุ้มครอง 5 ชนิดดังกล่าวที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ สามารถขออนุญาต ครอบครอง และค้าได้ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด

2.”ค้า” หมายความว่า “ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์ทางการค้า รวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย

3.ผู้ประสงค์จะขออนุญาตค้าสัตว์ป่า 5 ชนิดดังกล่าว ซาก หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า 5 ชนิด ดังกล่าว ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11) ได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
3.1 เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ ส่วนอนุญาตและจัดการประมง กรมประมง
3.2 เขตต่างจังหวัด ติดต่อที่ สำนักงานประมงจังหวัด ณ ท้องที่

4.ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายของสัตว์ป่า ซาก หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ดังนี้
4.1 ใบอนุญาตนำเข้า (สป.5) หรือ
4.2 หนังสือกำกับการจำหน่าย ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
4.3 ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13)

5.ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.11) มีอายุ 1 ปี และต้องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุ

6.ใบอนุญาต สป.11 อนุญาตให้ค้าได้เฉพาะสัตว์ป่า ซาก ผลิตภัณฑ์ ตามชนิดและรายการที่ระบุไว้ในบัญชี แนบท้ายเท่านั้น
การค้าหรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนอกเหนือจากบัญชีแนบท้าย หรือนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต
มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

7.ผู้ได้รับใบอนุญาต สป.11 ต้องดำเนินการค้าสัตว์ป่า ซาก หรือผลิตภัณฑ์ ณ สถานที่ทำการค้าที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเท่า
โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [22 มิ.ย. 53 10:20] ( IP A:58.8.75.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   การจำหน่าย
1.เมื่อจำหน่ายสัตว์ป่า ซาก หรือผลิตภัณฑ์ ให้แก่บุคคลใด ให้ผู้ขายออกหนังสือกำกับการจำหน่ายให้กับบุคคลนั้น ทุกครั้งที่มีการจำหน่าย

2.การกรอกข้อความในหนังสือกำกับการจำหน่ายฯ ให้เขียนครั้งเดียวและให้ตรงกันทั้งต้นฉบับและสำเนา

3.หนังสือกำกับการจำหน่ายตามข้อ 1 กรมประมงจัดพิมพ์เป็นเล่ม จำนวนเล่มละ 50 ฉบับ โดยมีหมายเลขกำกับเล่มและหมายเลขกำกับหนังสือ เรียงกันไปตามลำดับ มีสำเนา 2 ฉบับ
ต้นฉบับ มอบให้แก่ผู้ซื้อ
สำเนา ฉบับที่ 2 รวบรวมส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออกอนุญาตให้ค้า ภายในวันที่
15 ของเดือนถัดไป ทุกเดือน
สำเนา ฉบับที่ 3 ติดต้นขั้วไว้ และให้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ในสถานที่ทำการค้า

4.กรณีผู้ค้านำสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่เพื่อการค้า ต้องขอรับใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13) ด้วย


ผู้ขาย
1.กรณีนำไปเลี้ยงดู (ครอบครอง) ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย ไปขอรับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15) ณ กรมประมง หรือ สำนักงานประมงจังหวัดท้องที่ปลายทาง

2 กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้า หรือ สป.11 (ซื้อเพื่อนำไปจำหน่าย) ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย ไปขออนุญาตค้า (สป.11) หรือ เพิ่มเติมรายการในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาตให้ค้าเดิม ณ หน่วยงานท้องที่ปลายทาง

3 การนำหลักฐานไปแจ้งขอครอบครอง หรือขอค้า นั้น ให้ดำเนินการโดยเร่งด่วนทันที กรณีหากเป็นการดำเนินการในวันหยุดราชการ ให้นำหลักฐานดังกล่าวแจ้งท้องที่ปลายทางในวันเปิดทำการวันแรก
โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [22 มิ.ย. 53 10:23] ( IP A:58.8.75.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ผู้ซื้อ
1.กรณีนำไปเลี้ยงดู (ครอบครอง) ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย ไปขอรับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ (สป.15) ณ กรมประมง หรือ
สำนักงานประมงจังหวัดท้องที่ปลายทาง

2.กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้า หรือ สป.11 (ซื้อเพื่อนำไปจำหน่าย) ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย ไปขออนุญาตค้า (สป.11) หรือ เพิ่มเติมรายการในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาตให้ค้าเดิม ณ หน่วยงานท้องที่ปลายทาง

3. ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขรายการในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาตให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง
โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [14 มี.ค. 54 6:06] ( IP A:58.11.100.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   แบบฟอร์ม

โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [14 มี.ค. 54 6:06] ( IP A:58.11.100.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   แบบฟอร์ม

โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [14 มี.ค. 54 6:07] ( IP A:58.11.100.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ที่มาของบทความ https://www.fisheries.go.th/management/care.htm
จาก https://www.fisheries.go.th/dof/

ขออนุญาตและขอบคุณกรมประมงด้วยครับ
โดย: รอยยิ้ม (เจ้าบ้าน ) [14 มี.ค. 54 6:07] ( IP A:58.11.100.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   บทความเพิ่มเติม "ใบครอบครองปลาอโรวาน่าอย่างถูกกฎหมาย"

ที่มาของบทความ https://www.arowanamania.com/index.php?option=com_content&view=article&id=140:
จาก https://www.arowanamania.com

ขออนุญาตและขอบคุณคุณแชมป์อโรมาเนียด้วยครับ

โดย: [28 เม.ย. 54 3:12] ( IP A:58.8.80.124 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน