DIY กรองคลอรีนกับระบบโอเวอร์โฟร์
   หลังเจอปัญหาเรื่องอุณหภูมิแกว่งขณะถ่ายน้ำ เพราะเวลาน้อยจะถ่ายแบบค่อยๆหยอดก็ไม่ทันการ ครั้นทำ over flow ก็กลัวปัญหาเรื่องคลอรีน และสารแขวงลอยที่จะปะปนมา สุดท้ายได้ไอเดียจากคุณ butas aro house ( ขออนุญาติแล้ว ) แชร์ให้เพื่อนๆดูเป็นแนวทางนะครับเผื่อยากจะลองดูบ้าง หรือจะมาดูของจริงที่บ้านก็ยินดีนะครับ ( ถ้าผมว่่าง )

อุปกรณ์
1.ชุดกระบอกกรองน้ำ เลือกแบบโอริง2 เส้นเพื่อกระชับวงล้อม (จะเกี่ยวกันมั้ย) 1 ชุด มีขาเหล็ก พร้อมตัวหมุนกระบอก 400 บาท
2.ไส้กรองPP โพลีอัดแท่ง 50 บาท
3.คาร์บอนอักแท่ง 90 บาท
4.วาวล์คุมน้ำเข้า-ออก จากระบบกรอง
5.วาวล์หางปลาคุมปริมาณ over flow ของน้ำ
6.ท่อ 4 หุน และข้อต่อต่างๆ ตามลักษณะการใช้งาน
7.สายโอเวอร์โฟล
กรองที่ทำเพื่อกรองสาร 2 ประเภท
1.สารแขวงลอย เศษตะกอนดินต่างๆ ใช้ใส้กรองPP เป็นใยโพลี เปลี่ยนเมื่อคราบสกปรกลามจนเกือบถึงวงในของไส้กรองประมาณ 1 ซม.
2.สารคลอรีน ใช้คาร์บอนอัดแท่ง อายุการใช้งานสามารถกรองน้ำประปาได้ประมาณ 30,000ลิตร ถึง 90,000ลิตร ( น้ำใน กทม.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดรับน้ำจากการประปา ต้นน้ำคลอรีนจะเข้มกว่า
มาดูของจริงกันของผมต่อกรอง 4 ท่อ >> 2 ท่อกรองสารแขวงลอย แล้วแยกสามทางเข้าแทงค์น้ำใช้ในบ้าน อีกทางต่อเข้ากรองคาร์บอน 2 ท่อ over flow น้ำประมาณเกือบ 300 ลิตร ต่อวัน ก็จะเปลี่ยนคาร์บอนทุกๆ 10 เดือน

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 10:56] ( IP A:58.8.82.91 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   2 กระบอกแรกด้านขวา กรองสารแขวงลอย เศษตะกอนต่างๆ
ท่อน้ำประปาก่อนเข้ากรอง( สีดำ )

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 10:57] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   วาวล์คุมน้ำก่อนเข้ากรอง ปิดตอนเปลี่ยนล้างไส้กรอง
ปรับลดลงหน่อยไม่ให้น้ำผ่านกรองเร็วเกินไป

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 10:57] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ผ่านกรอง 2 ท่อแรก ต่อเข้าแทงค์น้ำใช้ในบ้าน
อีกท่อแยกเข้ากรองคาร์บอนต่อเพื่อกรองคลอรีนก่อนผ่านระบบ over flow

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 10:58] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   2 กระบอกด้านซ้ายกรองคาร์บอน เพื่อออกไปเข้าตู้ปลา ( ข้องอที่มีสติกเกอร์) ส่วนท่อขาวด้านบนต่อเข้าแทงค์น้ำใช้ในบ้านไม่ต้องผ่านคาร์บอน

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 10:59] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ออกจากกระบอกคาร์บอนก่อนเข้าตู้ปลาติดวาวล์คุมแรงน้ำไว้

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 10:59] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   คุมด้วยวาวล์เล็กอีกครั้ง ( กรณีกระจายหลายจุด ของผม 3 ตู้ )
ตรงนี้แล้วแต่สะดวก ถ้าคุมแรงน้ำได้ไม่ยากก็ไม่ต้องเพิ่มวาวล์

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:00] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   อีกจุด

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:00] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   แยกไปแต่ละตู้ ใช้สายอ้อกได้เลย

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:01] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ไส้กรอง
คาร์บอนอัดแท่ง 90 บาท
ไส้กรอง PP 50 บาท

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:02] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ไส้กรอง อีกภาพ

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:02] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   น้ำเข้าตู้ เลือกปรับได้เลยจะให้เข้าเท่าไหร่
จับเวลา 1 ลิตรได้กี่นาที แล้วคำนวนเปรียบเทียบทั้งวันจะเป็นกี่ลิตร
เทียบกับปริมาณน้ำในตู้เป็นกี่ %

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:03] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   น้ำล้น ออกทางตู้กรองล่าง

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:04] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบกรอง ไส้กรอง ผมสั่งซื้อจากคุณ เอก 083-0249399 หรือลองเช็คราคาจากร้านอื่นๆเปรียบเทียบดูครับ
กระบอกกรองเป็นแบบโอริง 2 ตัว , มีปุ่มไล่อากาศ , พร้อมขาเหล็ก ,พร้อมที่ขันท่อ

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:05] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ส่วนข้อต่อ วาลว์หางปลา ข้อลดต่างๆ หาซื้อตามร้าน ฮาร์ดแวร์
หรือใครอยู่ใกล้มีนบุรี แนะนำให้ไปซื้อที่ ซ.เสรีไทย 68 เข้าซอยลงสะพานอยู่ขวามือ มีข้อลดต่างๆให้เลือกมากมาย

สายยางใช้เป็นสายอ้อก ก็ได้ แต่อาจจะเจอปัญหาเรื่องตะไคร่ขึ้นในท่อ ก็คอยเปิดวาวล์ล้างทุกเดือนครับ

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:06] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   แถมอีกหน่อย
บ่อผ้าใบอิฐประสานทำให้เต่าญี่ปุ่นอยู่ 1 คู่
ทำง่ายครับไม่ยาก

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:09] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ลาด้วยภาพปลาแดง ปัจจุบันหายเป็นปกติแล้วครับ

โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:10] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ถังสีชมพู 6 ใบ เอาไว้ทำอะไรครับ

ใช่ถังกรองหรือว่าถังพักน้ำหรือเปล่าครับ
โดย: เอก/ลาดกระบัง [ [4 ก.ค. 53 11:11] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ถังพักน้ำครับคุณเอกแต่ละถังน้ำ flow กันหมด
แต่ก่อนผมถ่ายน้ำเข้าตู้โดยใช้ปั้มจุ่มดูดน้ำจากน้ำในถังพวกนี้
โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:11] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   แจ่มครับ แต่ผมสงสัยอยู่อย่าง คือกรองครอรีนตัวนี้จะทำงานตลอดเวลาใช่มั้ยครับ เพราะต่อเข้าระบบ over flow แบบนี้จะทำให้ใส้คาร์บอนมันหมดอายุเร็วขึ้นรึเปล่าครับ เพราะรันน้ำผ่านตลอด เมื่อถึงจุดนึงมันจะคลายของเสียกลับออกมานะครับ ใครพอรู้เรื่องบ้างครับ
โดย: TM69 [4 ก.ค. 53 11:12] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ตามที่ผู้ติดตั้งเครื่องกรองทั่วไปแนะนำ
คาร์บอนอัดแท่งควรเปลี่ยนทุก 30,000 ลิตร ถึง 90,000 แล้วแต่สภาพน้ำ
แต่ก็จริงอย่างที่คุณ TM69 ตั้งข้อสังเกตุ over flow จะรันตลอดโดยน้ำจะค่อยๆไหลผ่านกระบอกกรองคาร์บอน ซึ่งถึงจุดอิ่มตัวจะคลายของเสียออกมา แนะนำว่าให้สุ่มวัดคลอรีนหลังผ่านท่อคาร์บอนครับ ส่วนตัวผมคิดว่าจะทดลองวัดทุกอาทิตย์หลังจากใช้งานไปแล้ว 3 เดือน ท่านใดมีข้อมูลจะเสนอแนะเชิญได้เลย ขอบคุณมากครับ
โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:12] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   งั้นคงต้องจดบันทึกให้ดีครับ เพราะเมื่อคาร์บอนหมดอายุ คายของเสียออกมา มีผลกับปลาโดยตรงครับ เท่าที่อ่านๆมา นักเลี้ยงปลาส่วนใหญ่จะบอกว่า อะโรวาน่าแพ้ของเสียที่คายจากคาร์บอนครับ แต่ถ้าเราหมั่นตรวจเช็คก็ไม่่น่าจะมีปัญหาครับ

ปล. ส่วนตัวผมคิดว่าระบบ over flow ไม่จำเป็นต้องต่อระบบกรองครอรีนเข้าไป เพราะปริมาณน้ำที่ flow มันมีครอรีนเข้าไปไม่มากครับ ไม่เป็นอันตรายกับปลา
โดย: TM69 [4 ก.ค. 53 11:13] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   คุณ TM69 ครับ
ของเสียที่ว่าจะคายออกมาเมื่อคาร์บอนอิ่มตัวคือสารประเภทไหนครับ??
ถ้าเป็นสารแขวงลอยต่างๆ ก็มีการใช้กรองโพลีดักไว้แล้ว ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ
ขอบคุณครับ
โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:14] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   ของเสียที่ว่าก็คือสารแขวนลอย,โลหะหนัก และแร่ธาตุต่างๆที่คาร์บอนดูดซับไว้ตอนยังไม่อิ่้มตัวครับ พูดง่ายๆก็คือ เมื่อถึงจุดที่หมดอายุการใช้งาน สิ่งที่เคยกรองไปก็จะคายออกมาครับ มีผลทำให้ปลาป่วย มีผลกับเหงือก ครีบเปื่อย มีรอยบวมน้ำ ประมาณนี้อ่ะครับ แต่กลับคนน่าจะมีผลน้อยกว่าครับ

ปล.เนื่องจากข้อมูลเรื่องนี้ผมก็ไม่มีในมือเหมือนกัน ที่พูดมาทั้งหมดมาจากการอ่านและจำไว้นะครับ แต่เป็นพิษอย่างไร มีสารอะไรบ้างผมจำไม่ได้จริงๆครับ.

เท่าที่รู้มากรองโพลีช่วยในการดักเศษตะกอนและสารแขวนลอยขนาดเล็ก แต่ไม่แน่ใจว่าสามารถดูซับสารอะไรได้บ้างนะครับ เพราะคุณสมบัติทั่วไป เป็นเพียงเ้ส้นใยความละเอียดสูงที่ใช้หลักให้น้ำไหลผ่านเพื่อดักตะกอนต่างๆมากกว่าดูดซับสารต่างๆนะครับ อีกทั้งคาร์บอนที่นำมาใช้กรองน้ำนั้น ส่วนใหญ่สามารถดักจับสารต่างๆได้เป็น100ชนิดครับ คุณสมบัติจึงต่างกัน เครื่องกรองน้ำจึงต้องมีหลายชั้นตามลักษณะการใช้งานครับ

ในส่วนของการใช้งานจริงๆ เครื่องกรองน้ำที่มีระบบกรองหลายชั้นผมว่าเหมาะกับคนมากกว่าครับ (สารกรองต่างๆปรับให้เหมาะกับร่างกายคน ทั้งเรื่องของความกระด้าง ตะกอน สารแขวนลอย) ส่วนเครื่องกรองที่ใช้สำหรับเลี้ยงปลาจริงๆ ใช้เพียงคาร์บอนเป็นวัสดุกรองครับ เพื่อขจัดสารที่เป็นพิษออกเพียงอย่างเดียวครับ

เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารกรองในเครื่องกรองน้ำดื่มอีกนิดนะครับเนื่องจากสารกรองบางชนิดช่วยในเรื่องการปรับความกระด้างของน้ำ จึงเหมาะที่จะใช้สำหรับคนที่ใช้น้ำบาดาลครับ เพราะช่วยให้ค่าpHคงที แต่ถ้าเราน้ำประปาเปลี่ยนแล้วถ่ายน้ำมากกว่าปกติ หรือ ระบบกรองเราไม่ดี จะทำให้น้ำในตู้มีค่าพีเอชที่ขึ้นและลงอย่างรวดเร็วได้เมื่อเปลี่ยนน้ำที่ผ่านกรองนี้ลงไปครับ โดยน้ำที่ผ่านระบบกรองเต็มขั้นตอน แทบจะไม่มีสารอะไรเหลือเลยนอกจากน้ำ ที่มีค่าpH 7 และความกระด้างที่ต่ำมาก ส่วนตัวจึงเห็นว่าเพียงแค่ผ่านระบบกรองคาร์บอนอย่างเดียวก็พอครับ

ถ้าใครมีข้อมูลด้านนี้นำมาลงก็ดีนะครับ จะได้ช่วยกันศึกษาครับ
โดย: TM69 [4 ก.ค. 53 11:16] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   การคายของที่ดูดซับไป เรียกเป็นการ Regenerate สารกรอง Activated Cabon เองก็ไม่สามารถ Regenerate ได้ครับ แต่ถ้าเราเอามาใส่ในระบบกรองตู้ปลา หลังจากที่ดูดซับจนอิ่มตัวแล้ว ด้วยโครงสร้างที่เป็นโพรงเล็กลึกมาก มีโอกาสที่เกิดแบคทีเรียกลุ่มที่ไม่ใช้ ออกซิเจน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาด้วย แต่ในระบบกรองน้ำดื่มที่กรองน้ำที่มีคลอรีนโอกาสที่จะมีแบคทีเรียสะสมยากครับ ถ้าใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอนะครับ

ปัจจุบันมีงานวิจัย สร้างเครื่อง Reganerate สำหรับ Activated Cabon สำหรับโรงงานเพื่อช่วยลดต้นทุน แต่สำหรับเราทำคงไม่คุ้มครับ
โดย: BuTas [4 ก.ค. 53 11:17] ( IP A:58.8.82.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   ขอขอบคุณ ...
คุณ TM69 และ คุณไพบูลย์ ( Butas )มากครับ ที่ให้ข้อมูลและความรู้เพิ่มเติมตาม link ที่แนบ
ส่วนตัวผมระบบกรองนี้เป็น "ทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้ หรือป้องกันปัญหา"
- การถ่ายน้ำในเวลาที่จำกัด ทำให้อุณหภูมิน้ำแกว่งในบางฤดูกาล
-ไม่มั่นใจปริมาณคลอรีนและสารแขวงลอยในน้ำประปา สังเกตุเมื่อ over flow ประมาณ 10 % ต่อวันด้วยน้ำประปาธรรมดา ปลาบางตัวของผมมีอาการไม่ปกติเหมือนน้ำที่ขังไว้ล่วงหน้า
- จากการพูดคุยกับเพื่อนท่านหนึ่ง เรื่องถ่ายน้ำแล้วลืมปิดก๊อก ซึ่งผมก็รับปากว่าจะโพส กระทู้ข้างต้นให้ดู
- จากการได้ฟัง,อ่านปัญหาจากเพื่อนๆในกระทู้เรื่องปัญหาของน้ำ เช่น
ใช้น้ำประปาจากแทงค์ของส่วนรวม น้ำสกปรกหมักหมม
การติดตั้งซ่อมท่อของการประปา ซึ่งมีผลทำให้น้ำที่ใช้อยู่ปกติมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตามระบบนี้เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น หากผู้เลี้ยงมีระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่ดีอยู่แล้ว ไม่เคยเกิดปัญหาใดๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปปรับเปลี่ยนใดๆ หรือหากท่านใดมีทางเลือกแบบอื่นๆก็ขอให้ช่วยนำเสนอให้เพื่อนๆนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปครับ

มีความสุขกับการเลี้ยงปลานะครับ
โดย: ร่มเกล้า [4 ก.ค. 53 11:17] ( IP A:58.8.82.91 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน