arowana-club.pantown.com
สาระน่ารู้ <<
กลับไปหน้าแรก
มาทำความเข้าใจกันเรื่องของ "เกลือ" กันดีกว่าครับ
หลายคนยังสับสนและไม่เข้าใจเรืองการใช้เกลือ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนถ่ายน้ำควรใส่เกลือทุกรอบมั้ย ปลาป่วยใส่เกลือเท่าไหร่ ทั้งนี้ทั้งนั้น เกลือนอกจากมีคุณแล้วยังมีโทษด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าจะดีไปเสียทั้งหมด การใส่เกลือลงไปทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำ ความเค็มก็จะค่อยๆสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลเสียต่อปลาอันเป็นที่รักของเราๆท่านๆนี้ละครับ ก่อนที่จะเข้าเรื่อง เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปลากันก่อนดีกว่าครับ โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนั้นจะพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด แต่ถ้าสภาวะที่ว่าเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปก็เป็นอันต้องไปเฝ้าท่านยมแน่นอน เราจึงมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของปลาที่เราจะเลี้ยงกันก่อนดีกว่า คือ ปลาน้ำเค็มและน้ำจืดครับ
ขอยืมรูปมาประกอบนะครับคุณหมอเอ็ด
โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:46] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ปลาน้ำเค็มนั้น คือปลาที่อาศัยอยู่ในสภาวะที่เกลือภายนอกร่างกายสูงกว่าภายในร่างกาย ในขณะที่ปลาน้ำจืดนั้นอาศัยอยู่ในสภาวะที่เกลือน้อยกว่าภายในร่างกาย ที่นี้มาทำความเข้าใจเรื่องการแพร่ของน้ำ และความเข้มข้นของเกลือ... น้ำจะไหลจากส่วนที่มีความเข้มข้นของเกลือน้อย ไปหาความเข้มข้นของเกลือมาก ก็คือการแลกเปลี่ยนอิออนระหว่างโซเดียมกับไฮโดรเจน และคลอไรด์กับไบคาร์บอเนต หากเป็นเช่นนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ปลาทะเลที่มีเกลือในร่างกายน้อยกว่าน้ำเค็ม จะต้องสูญเสียน้ำจำนวนมากแพร่ผ่านออกไปสู่น้ำทะเลอย่างแน่นอน จะเกิดสภาวะสูญเสียน้ำ แห้งน้ำ แล้วปลาน้ำจืดล่ะ พวกเขามีความเข้มข้นของเกลือในเลือดสูงกว่าน้ำ ก็จะมีน้ำจำนวนมากไหลผ่านเข้าไปสะสมในร่างกาย เกิดการบวมน้ำในร่างกาย ดังนั้นร่างกายจึงต้องมีกลไกหลายๆ อย่างเพื่อป้องกันเรื่องพวกนี้นั้นก็คือ
โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:47] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
1. ป้องกันการไหลผ่านของน้ำเข้า-ออกจากร่างกายโดยผ่านผิวหนัง ไม่ให้ไหลผ่าน แต่เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นล่ะ จะทำยังไงดี. ....ปลาถึงต้องขับเมือกไงครับ เพื่อป้องกันบาดแผล แล้วการใส่เกลือลงไปก็เพื่อกระตุ้นให้ปลาขับเมือกออกมามากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันแผลครับ
2. เหงือกและไตของปลาทำหน้าที่ได้ดี น้ำจะไหลผ่านเหงือกตลอดเวลา เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจน ระหว่างเลือดและน้ำภายนอก เป็นที่ที่ยอมให้น้ำไหลผ่านได้ดี ในปลาน้ำจืดจะรับน้ำ และเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) เข้า และเกลือปริมาณน้อยๆ ในน้ำจะถูกเก็บรักษาโดยการดูดซึมรับที่ไต และกรองเอาน้ำปริมาณมากออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ส่วนปลาทะเล จะพยายามเก็บน้ำที่เข้าสู่ร่างกาย ส่วนในการดูดรับโซเดียมคลอไรด์ในไตก็จะไม่ทำหน้าที่และเสื่อมไป แต่มีส่วนดูดกลับน้ำทำหน้าที่ได้ดีแทน ขับเกลือออกมาแทน หากเหงือกและไตไม่ดี ปลาจะเริ่มป่วย และตายในที่สุด
3. ในปลาน้ำเค็มบางชนิดยังมีอวัยวะที่เรียกว่า Rectal Gland เป็นส่วนที่ต่อกับทวารรวม เพื่อทำหน้าที่กำจัดเกลือที่มากเกินไปออกจากร่างกายโดยเฉพาะ
โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:47] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของปลาแล้ว เราก็มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกลือกันดีกว่าครับ โดยจะขอกล่าวเฉพาะประโยชน์แล้วกัน ข้อมูลทางวิชาการหาได้ตามเว็บทั่วไป เพราะยาวมาก ผมขี้เกียจพิมพ์ครับ พิมพ์ไม่เก่งอ่ะ
ประโยชน์ของเกลือ
เกลือนั้นช่วยในเรื่องช่วยให้ปลารู้สึกสบายตัว คลายเครียดได้ ไม่ว่าความเครียดนั้นจะเกิดมาจากการขนส่ง ย้ายตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือว่าป่วยครับ นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดและยับยั้งโปรโตซัว เชื้อรา ปาราสิต ต่างๆ แต่ทั้งนี้นั้นก็ไม่ใช่ว่าจะใส่กันพร่ำเพือ เพราะในระยะยาว มันจะส่งโดยตรงกับไตของปลาได้ ซึ่งถ้าใส่กันบ่อยๆ ไตปลาก็จะทำงานหนัก สุดท้ายปลาก็จะเริ่มป่วย และอาจจะนำไปสู่โรคอื่นๆได้ จึงเห็นว่าควรใส่เมื่อยามปลาป่วยเท่านั้นครับ
โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:47] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
การเปลี่ยนถ่ายน้ำปกติ เราไม่จำเป็นต้องใส่เกลือแต่อย่างใด ทำความเข้าใจกันไว้ด้วยนะครับจะได้ไม่เข้าใจผิดครับ ที่นี้ปริมาณเกลือที่ใส่ละ จะคำนวณกันยังไง
โดยปกติทั่วไป การใส่เกลือเพื่อรักษาปลาป่วยนั้น ใส่กันที่ 0.1% หรือเกลือ 100 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร แต่ถ้าใส่เพื่อกำจัดปรสิต ควรแยกปลามาใส่ในตู้พยาบาล โดยใส่เกลือเข้มข้น 1-2% นำปลาลงไปแช่ 10-20 นาที ทั้งนี้ควรสังเกตอาการปลาเป็นหลัก ถ้าเริ่มมีอาการทรงตัวไม่อยู่ให้ช้อนออก วิธีช่วยในเรื่องของปรสิตต่างๆ และเนื่องจากเกลือเป็นสารเคมีที่ค่อนข้างเสถียร ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแดด หรือสารอินทรีย์ในน้ำ จึงคงมีประสิทธิภาพอยู่นาน มีราคาถูก หาซื้อง่าย แต่ทั้งนี้การใส่เกลือควบคู่กับการใส่ยานั้น ควรศึกษาให้ดีก่อน เพราะยาบางประเภทเมื่อใส่เกลือลงไปด้วย จะไม่ออกฤทธิ์ครับ
โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:47] ( IP A:61.90.30.169 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน