วุ่นๆมาหลายวัน วันนี้มาตั้งสักกระทู้ ว่าด้วยเรื่องกรองล่างแบบไม่เจาะตู้ครับ
   เนื่องจากช่วงนี้รับเสือตาบอดเข้ามาอุปการะอยู่หลายตัว + กับเสือทั้งลายคู่ ลายใหญ่ ลายแซม ที่มีอยู่เดิมก็มากโขเอาการ จึงจำเป็นที่จะต้องปล่อยลงในตู้หลายๆใบ เพราะตู้มีจำกัด เนื่องจากก่อนหน้าได้โล๊ะตู้ออกไปเกือบหมด
และนับวันปลาก็โตขึ้น ตู้ที่ระบบกรองเล็กเริ่มเอาไม่อยู่ กรองล่มเป็นประจำ เพราะให้อาหารเยอะ ของเสียก็เยอะ ตู้ที่ว่านี้มีขนาด 48-20-20 กรองมุมเล็กๆ มีผู้อาศัยเป็นฉลามหางไหม้ตัวนิด 2 ตัว ตะเพียน 1 ตัว เทวดา 1ตัว เสืออีก 20 ชีวิต ไซร์ 3-4 นิ้ว เมื่อผ่านไปนานวันระบบกรองที่ทำงานดีมาตลอดก็เป็นอันต้องล่มลง เพราะปริมาณของเสียที่มากมาย ถึงแม้จะเปลี่ยนน้ำวันละ 15-20% ก็เถอะ สภาพน้ำจึงเป็นอย่างในรูปครับ

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 7:19] ( IP A:27.130.65.68 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   เปลี่ยนน้ำวันละ 15-20% มันก็พอทำให้น้ำใสขึ้นมาบ้าง แต่มันก็ใสแค่ช่วงแว๊บ ผ่านไปครึ่งวันมาก็กลับมาสภาพเดิม
ด้วยความที่ว่าเป็นตู้กรองมุมเล็กๆ ไม่สามารถเพิ่มปริมาณวัสดุกรองลงไปได้ แล้วจะทำไงดีี นั่งคิด นอนคิด อยู่นานว่าคงต้องเพิ่มกรองดีกว่า ตัดสินใจว่าเป็นกรองนอกสักตัว
แต่สุดท้ายก็เสียดายตังค์ อิ อิ เพราะค่าขนมมีน้อย จะตั้งงบเบิกใหม่ก็คงจะโดนบ่นกันไปหลายวัน จึงตัดสินใจหาของใช้ในบ้านมาใช้ละกัน ว่าแล้ววิญญาณนักประดิษฐ์ก็เข้าสิง รื้อๆค้นๆ ได้ถังสีเก่ามา 1 ใบ ท่อที่ซื้อสำรองติดบ้านไว้คร่้าวที่ทำกรองล่างยังเหลือเส้นนึง แต่หาปั้มน้ำไม่เจอ เอาไงดีละที่นี้ สุดท้ายตัดสินใจ เอาปั้มจากในกรองมุมนั้นแหละ มาทำ จะได้ใช้ปั้มแค่ตัวเดียว ประหยัดงบ ประหยัดไฟ สมบูรณ์พร้อม อิ อิ ก็เลยรื้อเอาปั้มเอาวัสดุกรองออกมา
ด้วยความที่ว่ามันเป็นกรองมุม ครันจะรื้อออกก็คงไม่สวย เลยวางแผนให้มันอยู่อย่างนั้นแหละไม่ต้องไปรื้อมันให้เสียเวลา โดยจะเอาหลักกรองมุมเนี้ยละมาใช้ให้เป็นประโยชน์
เริ่มวางแบบตัดท่อ ต่อท่อ ออกมาได้แบบในรูป ระบบกาลักน้ำก็สมบูรณ์แบบ พร้อมทำงาน

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 7:30] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   หลักการของกรองข้าง,กรองมุม,กรองสามเหลี่ยม ทั้งหลายก็อยู่ที่ปริมาณน้ำล้น ที่ไหลเข้ากรองจากหวีน้ำล้นนั้นเองครับ เลยถือเอาหลักการเดิมมาใช้ เพราะตั้งใจจะทำเป็นระบบกรองสอง ชั้นมันซะเลย โดยจะใช้เจ้ากรองมุมเนี้ย เพราะกรองหยาบ ไว้ดักจับเศษอาหารและเศษอุนจิของปลา ในขั้นแรกก่อนไปสู่ขั้นตอนกรองชีวภาพ ซึ่งจากการใช้งานก็ให้ผลเป็นที่หน้าพอใจ

สำหรับหลักการทำงานขอระบบกรองไม่เจาะตู้ คือระบบกาลักน้ำที่สมบูรณ์แบบ ไฟดับแล้วน้ำไม่ท่วมบ้าน น้ำไม่ไหลออกจากตู้จนหมด และเมื่อไฟมาปั้มน้ำทำงาน ระบบกาลักน้ำก็กลับมาทำงานได้เองอีกครั้ง ( ขอยกเครดิตทั้งหมดให้ป๋าสามบั้งผู้เป็นแรงบันดาลใจและให้ความรู้ครับ ) ในส่วนของการทำงานนั้น ผมจะอธิบายให้ฟัง เผื่อใครดูภาพแล้วงงหรือจะลองทำใช้ดูแล้วยังไม่เข้าใจหลักการทำงาน

สำหรับหลักการทำงานหลักๆส่วนที่สำคัญคือระบบกาลักน้ำครับ จากในภาพจะเห็นวงกลมที่ 1 และ วงกลมที่ 2 โดยวงกลมที่ 2 นั้น คือกาลักน้ำ ท่อที่แนะนำคือขนาด 1 นิ้วครับ เพราะทำกาลักน้ำได้ง่าย ส่วนหมายเลข 1 นั้นคือท่อที่เป็นตัวกำหนด ระดับผิวน้ำครับ หลักการทำงานคือ เมื่อเดินระบบกาลักน้ำสมบูรณ์แล้ว น้ำจะโดนดูดให้ไหลลงสู้กรองล่าง ด้วยผ่านระบบตรงหมายเลข 2 ซึ่งระดับท่อสามทางที่เห็นนั้นเป็นตัววัดระดับน้ำภายในตู้เลยครับ ว่าเมื่อไฟดับ ระดับน้ำจะลงมาอยู่เสมอกับข้อล่างของท่อสามทางและหยุดการทำงาน ถ้าตู้กรองล่างมีขนาดเล็ก จุน้ำได้ไม่มาก ต้องคำนวณระดับน้ำของท่อสามทางในหมายเลข 2 ให้ดี โดยเืมื่อไฟดับ น้ำไหลลงสู่กรองล่างแล้ว เมื่อถึงระดับข้อต่อช่วงล่างของท่อสามทาง น้ำในตู้กรองล่างจะไม่ล้นออกมาท่วมบ้านครับ

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:14] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   สำหรับหมายเลข 1 นั้น เป็นตัวกำหนดระดับผิวน้ำของตู้ ว่าจะอยู่ระดับไหน ประโยชน์ของเจ้าตัวนี้คือ เมื่อไฟดับ น้ำไหลลงตู้กรองล่าง ท่อนี้จะโผล่พ้นน้ำตามที่เรากำหนด ผลคือทำให้อากาศเข้าไำปแทนที่น้ำ การไหลลงของน้ำจะน้อยลง ช้าลง และหยุดนิ่งอยู่ในระดับ ข้อต่อช่วงล่างของระบบกาลักน้ำหมายเลข 2 ในส่วนนี้ผมได้ดัดแปลงจากป๋าสามบั้ง ที่แต่เดิมใช้เป็นสายอ๊อกซิเจน โดยผมได้เปลี่ยนมาเป็นท่อ 4 หุน เพื่อเอาดูดเมือกผิวน้ำ ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะดูดได้เกลี้ยงมาก และที่สำคัญ ท่อไม่ตันง่ายเหมือนสายอ๊อกซิเจน เพราะตู้นี้โดดแดด ปัญหาืัที่จะตามมาถ้าใช้สายอ๊อกซิเจนคือตะไคร่ขึ้น สายตันครับ

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:24] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เมื่อไฟมา ระบบต่างๆก็กลับมาทำงานได้เองอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปยุ่งวุ่นวายอะไรกับมันครับ สำหรับในส่วนของตู้กรองล่้างนั้น ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผมใช้เป็นถังสีเก่าๆ 1 ใบ แทนที่ตู้กรองเพราะประหยัดเนื้อที่เนื่องจากเป็นตู้ 2 ชั้น จึงจำเป็นที่จำต้องวางกรองล่างอยู่ด้านข้างแทน

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:29] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   วัสดุกรองก็เป็นพวกหินพัมมิสธรรมดาๆ ที่เอาออกมาจากกรองมุม และที่มีเหลืออยู่ ในช่วงแรกนั้น ยังใส่วัสดุกรองไม่มากครับ เนื่องจากของที่บ้านหมดพอดี จึงได้เท่าที่เห็นในรูป

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:30] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   จากในภาพข้างบนจะเห็นว่าวัสดุกรองเรียงอยู่ด้านข้างของปั้ม ดูเหมือนน้อย แต่จริงๆแล้ว เอาวัสดุกรองรองพื้นก่อนวางปั้มลงไปใหม่อีกรอบ
ในภาพนี้จะเป็นท่อดูดน้ำขึ้นจากตู้หลักลงสู่กรองล่าง โดยเ้ิิอาไปเสียบไว้ในกรองมุม ด้านบนหวีน้ำล้น วางใยแก้ว เพื่อกรองเศษอาหารครับ

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:35] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   หลังจากเดินระบบได้ให้อาหารปกติ แต่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่อย่างใด ผ่านไป 3 วัน ระบบกรองต่างๆเริ่มเข้าที่ ผลคือในภาพครับ

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:37] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   น้ำกลับมาใสใหม่โดยไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำ ค่าไนเตรท ไนไตรท์ กับมาน้อยกว่า 0.3 เหมือนเดิม หลังจากขึ้นๆลงๆมาเป็นอาทิตย์ก่อนทำกรอง เมื่อน้ำดี สีก็ดีตามครับ


ปล.. แต่คงต้องเพิ่มวัสดุกรองลงไปอีก เพราะปริมาณยังน้อยไปในความคิดผม แต่เนื่องจากของหมด วันเสาร์น่าจะไปเดินสวนเพื่อหาซื้อมาใส่เพิ่มครับ

ปล..2 งบในครั้งนี้ใช้เงินไปทั้งสิ้น 75 บาท ค่าข้อต่อต่างๆ +กาว 1 กระปุก


เลี้ยงปลากันให้สนุก มีความสุขถ้วนหน้าครับ

โดย: TM69 [2 ก.ย. 53 8:42] ( IP A:27.130.65.68 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
    DIY กรองล่างไม่เจาะตู้ และกรองรวม 4 ตู้ แบบประหยัด(เงิน+ไฟ)

ที่มา https://www.pantown.com/board.php?id=56629&area=4&name=board48&topic=11&action=view
จาก https://www.arowana-club.pantown.com/

ขออนุญาตและขอบคุณคุณเอกลาดกระบังด้วยครับ

โดย: [11 มี.ค. 54 1:05] ( IP A:58.8.203.224 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน