ตาตก
   

โดย: [16 ก.พ. 54 1:16] ( IP A:58.8.135.110 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    ตาตก

ลักษณะของอาการตาตกที่เกิดขึ้น มิได้เกิดจากโรคแต่ประการใด แต่เป็นเพียงอาการผิดปกติของตาในลักษณะการวางตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากแนวเดิมที่ตั้งตรงของตา ซึ่งตาปลาบางตัวอาจจะเอียงหรือคว่ำลงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับตัวปลาเองและปัจจัยรอบข้าง อาการที่เกิดมิไม่ได้ร้ายแรงอะไรกับปลา จนทำให้ตาบอดหรือมองไม่เห็น ปลายังดำรงวิถีชีวิตได้เหมือนเดิม คือสามารถล่าเหยื่อ หรือแม้แต่การกะระยะด้วยสายตา ยังคงทำได้เช่นเดิม
โดย: [16 ก.พ. 54 1:17] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    ลักษณะของอาการ

อาการตาตกเกิดได้หลายลักษณะ เช่น บางตัวตาคว่ำเอียงข้างเดียว บางตัวตาตกสองข้าง บ้างก็คว่ำหรือเอนเอียงเท่ากันสองข้าง บ้างก็ไม่เท่ากันสองข้าง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งตัวปลาเองหรือวิธีการเลี้ยง ตาตกสามารถเกิดขึ้นได้กับปลาทุกช่วงของอายุ แต่จะพบในปลาเล็กบ่อยกว่าช่วงอื่น เนื่องจากตายังไม่แข็งพอ อาจคว่ำหรือเอียงได้ ถ้ามีปัจจัยมาทำให้เกิดตาตก อาการตาตกมักจะไม่ค่อยพบในปลาที่ถูกเลี้ยงในบ่อ แต่จะพบมากในตู้กระจกซะส่วนใหญ่
โดย: [16 ก.พ. 54 1:19] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    ปัจจัยที่มีผลหรืออาจทำให้เกิดอาการตาตกได้

- เป็นที่ตัวปลานั่นเอง เกิดจากกรรมพันธุ์ของปลาเอง ยีนส์ด้อยของพ่อแม่ปลา ส่วนตรงนี้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ นอกจากทำใจ
- อาจเกิดจากการให้อาหารประเภทไขมันสูงเป็นเวลานาน เช่น หนอนชนิดต่างๆ ไขมันที่ถูกสะสมจากการกินอาหารไขมันสูงเป็นเวลานานๆจะเข้าไปสะสมที่เบ้าตา ทำให้เกิดการโปนของตาออกมา
- การตั้งวางของตู้ปลาไม่เหมาะสม เช่น แสงสะท้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์มากเกินไปหรือพื้นตู้ที่ไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์ที่พื้นตู้ ,ตำแหน่งตู้ต่ำไปหรือสูงไปกับระยะมองเห็นของปลา
- การให้อาหารแบบโปรยเป็นประจำ หมายถึง ให้ทีเยอะๆ ให้ปลาเก็บกินอาหารเองตามพื้นตู้ ปลาจะติดนิสัยมองลงล่างเสมอเพื่อหาอาหาร
- แสงสว่างในตู้มากเกินไปหรือนานเกินไป คือค่าความเข้มของแสงสูงเกินไป (ค่า K) เกิดจากเปิดหลอดไฟหลายหลอด รวมถึงเป็นระยะเวลานานๆ
- เกิดจากนิสัยปลาที่ชอบว่ายเอียง อันเนื่องจากแสงสะท้อนภายนอก
- ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวมา

ปัจจัยที่กล่าวมาเบื้องต้น ไม่ได้หมายความว่าปลาทุกตัวจะต้องตาตก หากเกิดปัจจัยที่พูดขึ้น จากที่สังเกตุปลาที่อยู่ในตู้ขนาดใหญ่ตั้งแต่เล็ก มักจะไม่ค่อยพบอาการตาตกซะส่วนใหญ่
โดย: [16 ก.พ. 54 1:21] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
    วิธีรักษา บรรเทาอาการ และป้องกัน

1.วิธีที่เห็นผลที่สุด คือจับลงบ่อ ส่วนใหญ่อาการตาตกจะหายเมื่อเลี้ยงอยู่ในบ่อ แต่พอนำปลาขึ้นตู้เหมือนเดิม อาการตาตกก็จะกลับมาใหม่ น้อยตัวที่จะหายขาด
2.ลดแสงในตู้ลงให้น้อยที่สุด เมื่อชมปลาค่อยเปิดไฟทุกดวง หรือลดแสงสะท้อนจากภายนอกที่สว่างจ้ามากเกินไป รวมถึงตู้บางตู้ที่เกิดแสงสะท้อนจากพื้นตู้ที่ไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์
3.งดให้อาหารประเภทไขมันสูงเป็นเวลานานๆ
4.พยายามให้อาหารทีละชิ้น ไม่โปรยอาหารทีละเยอะๆ ลงในตู้ หรืองดใส่เหยื่อทิ้งไว้ทีละเยอะๆ
5.ใส่ลูกปิงปองในตู้ ทำให้ปลาโฟกัสสายตาไปที่ลูกปอง แต่สักพักปลาก็หมดความสนใจ
6.หาสาเหตุที่คิดว่าทำให้เกิดอาการตาตกและทำการแก้ไข
7.วิธีศัลยกรรมตา

หมายเหตุ ส่วนการศัลยกรรมตาที่เราเคยเห็นในคลิปวีดีโอของต่างประเทศ คือจะตัดหรือรูดชั้นไขมันหรือเนื้อเยื่อบางส่วนในเบ้าตาออก ดูน่ากลัวและมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ปลาตาบอดได้หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนวิธีศัลยกรรมตานั้นยังไม่พบรายงานข่าวว่าในประเทศไทยมีคนใช้วิธีนี้ในการรักษาอาการตาตก
โดย: [16 ก.พ. 54 1:24] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ขออนุญาตนำบทความดีๆและรูปที่ใช้ประกอบที่มีประโยชน์นำเสนอให้กับเพื่อนสมาชิกในที่นี้และเวปอื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เลี้ยงปลาและเป็นแนวทางในการรักษาโรคอย่างถูกต้อง

ขอบคุณคุณแบงค์เขาใหญ่และ https://www.klongdigital.com
ที่มาของรูป https://www.klongdigital.com/webboard3/40655.html

ขอบคุณคุณเติ้ง(showa) https://www.showaarowana.com
ที่มาของรูป https://www.showaarowana.com/forum.html?func=view&catid=4&id=2276
โดย: [16 ก.พ. 54 1:28] ( IP A:58.8.135.110 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน