ความคิดเห็นที่ 1 เกร็ดกร่อน
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Aeromonas , Pseudomonus)ในน้ำ แทรกซึมเข้าไปบริเวณเกล็ดปลาและค่อยๆเริ่มกัดกินบริเวณขอบเกล็ดรวมถึงส่วนต่างๆ การกร่อนนั้นสามารถเกิดได้ทั้งครีบเครื่องหางปลาได้ แต่จะสังเกตุเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณเกล็ดปลามากที่สุด ดังนั้นอาการที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ความไวในการกัดกินเกล็ดของเจ้าเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตนี้จะช้าหรือไว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันของปลามีมากน้อยเพียงใด ความแข็งแรงของตัวปลาเองในขณะนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในน้ำรอบๆตัวปลา มีปริมาณเท่าใด | โดย: [16 ก.พ. 54 3:27] ( IP A:58.8.135.110 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 อาการของโรค
หลังจากเชื้อนั้นเข้ากัดกินตามส่วนต่างๆโดยเฉพาะเกล็ด เราจะเห็นได้ว่า เกล็ดจะมีรอยแหว่ง บิ่น ขรุขระ ผิดแปลกไปจากที่เราเคยเห็น หากเป็นในระยะแรกการเสียรูปของเกล็ดจะยังไม่มาก มีเพียงรอยแหว่งเล็กน้อย และจะเป็นเพียงบางเกล็ดเท่านั้น หลังจากนั้นหากเราไม่รีบทำการรักษา อาการของโรคก็จะทวีคูณมากขึ้น จากรอยแหว่งเล็กน้อย หรือบิ่น ตอนนี้ขอบเกล็ดถูกกัดกินเข้าไปลึกจนเสียรูปเกล็ด รอยโค้งมนเสียไป กลายเป็นแหว่งตามแนวเกล็ดทั้งหมด และจะทะยอยเป็นเกือบทุกเกล็ด สังเกตุจากรูปด้านบน | โดย: [16 ก.พ. 54 3:27] ( IP A:58.8.135.110 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 สาเหตุ
เกิดจากสภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีค่าของเสียมากเกินไป คุณภาพน้ำไม่ดี กรองหมักหมม ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตมากเกินไป รวมถึงค่า ph ในน้ำสูงเกิน 8 เป็นเวลานานๆ รวมทั้งปลาที่ขาดสารอาหาร วิตามิน และแคลเซี่ยมเป็นเวลานาน | โดย: [16 ก.พ. 54 3:27] ( IP A:58.8.135.110 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 วิธีป้องกัน
รักษาคุณภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอด้วยการถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ทำความสะอาดหรือล้างระบบกรองเมื่อเกิดการหมักหมมขึ้น ช่วงระยะเวลาการทำความสะอาดระบบกรอง การเปลี่ยนน้ำของแต่ละตู้ไม่เท่ากัน ดังนั้นปัจจัยขึ้นอยู่กับการเลี้ยงของแต่ละท่าน เช่นปริมาณหรือจำนวนปลาในตู้นั้น ขนาดของระบบกรอง ปริมาณน้ำในตู้ ขนาดตู้ที่ใช้เลี้ยง อัตราหรือค่าของเสียจึงแปรผันตามที่กล่าวมา ผู้เลี้ยงเองควรพิจารณา เอาใจใส่และคอยสังเกตุ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมจนเป็นสาเหตุให้ค่าของเสียในน้ำสูงขึ้นจนเกิดแบคทีเรียฝ่ายไม่ดีมากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดโรคขึ้นได้ รวมถึงการให้ปลาได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ | โดย: [16 ก.พ. 54 3:28] ( IP A:58.8.135.110 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 วิธีการรักษา
1.ทำความสะอาด ล้างระบบกรองทั้งหมด 2.ทำการเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอ ถี่ๆหน่อยในช่วงที่ปลามีอาการเกล็ดกร่อน ทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนน้ำให้ใส่เกลือลงไปด้วยเพื่อเพิ่มแร่ธาตุ 3.ติด UV เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ส่วนนี้หากใครสะดวกจะติด UV ก็ได้ไม่ติดก็ได้ หลักๆขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำ ต้องสะอาด แต่ ติด UV จะช่วยทำให้อาการที่ติดเชื้อหายไวขึ้นหรือหยุดกร่อนนั่นเอง ในที่นี้หายไวขึ้นหรือหยุดกร่อน หมายถึง การกัดกินของเชื้อหยุดลง แต่ไม่เกี่ยวกับการฟื้นฟูของเกล็ดที่ถูกกัดกินเข้าไป ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูของเกล็ดที่ถูกกัดกิน รอยแหว่ง นานพอดูเลยกว่าเกล็ดจะกลับมาโค้งมนเหมือนเดิม 4.หากเกล็ดหยุดกร่อนแล้ว(หยุดกร่อนจริงๆนะ) เราสามารถใส่วิตามินแร่ธาตุเพื่อบำรุงปลาให้แข็งแรงขึ้นโดยไว เมื่อปลากลับมาแข็งแรง ภูมิต้านทานดีขึ้น การซ่อมแซมหรือฟื้นฟูของเกล็ดก็จะไวตามไปด้วย(เกล็ดที่ถูกกัดกินมากๆ การซ่อมแซมของเกล็ดนั้นอาจทำได้ไม่ 100 % หรือหยุดการซ่อมแซมก็มี ดังนั้นวิธีการเดียวสำหรับเกล็ดที่เกิดการเสียหายมากๆหรือหยุดฟื้นฟู คือการถอนหรือถอดเกล็ดนั่นเอง) ปลาไม่ทุกตัวนะครับที่จะสามารถกลับมามีรูปเกล็ดสวยดังเดิมได้ เป็นเฉพาะบางตัวเท่านั้น
หมายเหตุ หากอาการเกล็ดกร่อนหนักและรุนแรง จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือยา เช่น ฟอร์มาลิน,ฟอร์มัลดีไฮด์หรือเอนโลฟ็อกซาซิน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือสัตวแพทย์จะดีกว่า การใช้ยาหรือสารเคมี รวมถึงปริมาณขนาดของยา หากใช้ผิดวิธีหรือโดสอาจทำให้เกิดสูญเสียมากกว่าที่เป็นอยู่ | โดย: [16 ก.พ. 54 3:28] ( IP A:58.8.135.110 X: ) |  |
|