หัวรู
   

โดย: [16 ก.พ. 54 3:01] ( IP A:58.8.135.110 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    หัวรู

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ชื่อ Hexamita และ Spilonucleus เข้าไปกัดกินเนื้อเหยือตามบริเวณหัวและหน้าของปลา แต่โรคนี้มักมีอาการร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียด้วย เนื่องจากบริเวณรูที่เกิดขึ้น เป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายและโรคหัวรูที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการขาดอาหารต่างๆ เช่นวิตามินซีด้วยก็ได้
โดย: [16 ก.พ. 54 3:01] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    อาการของโรค

อาการเริ่มแรก จะเกิดรูขนาดเล็กที่บริเวณหน้า จนเรามองเห็นเป็นจุดๆ ถ้าไม่ได้สังเกตุเราก็จะมองไม่เห็น แต่หากไม่รีบรักษาจะพบการกระจายของรูมากขึ้นตามบริเวณหัวและใบหน้า ขนาดของรูก็จะใหญ่ขึ้นและความลึกของรูจะลึกมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดโรค รวมถึงบางตัวอาจพบรูข้างลำตัวของปลา มีขนาดใหญ่ขึ้น
โดย: [16 ก.พ. 54 3:02] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    สาเหตุ

เกิดจากการหมักหมมของของเสียในตู้ที่เลี้ยงและระบบกรอง หรือมีค่าของเสียในน้ำมากเกินไป รวมถึงบางเคสเกิดจากการขาดสารอาหารต่างๆเช่นวิตามินซีเป็นเวลานานๆ
โดย: [16 ก.พ. 54 3:02] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    วิธีป้องกัน

รักษาคุณภาพน้ำให้ดีอยู่เสมอ ทำความสะอาดกรอง รวมถึงเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอ ไม่ให้ค่าของเสียในน้ำสูงเกินไปจนทำให้เชื่อโรคแพร่ระบาดในน้ำ รวมถึงมีการเพิ่มสารอาหารต่างๆวิตามินให้ปลากินเป็นประจำ
โดย: [16 ก.พ. 54 3:02] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    วิธีการรักษา

1.ทำความสะอาดล้างกรอง รวมถึงเปลี่ยนน้ำในตู้ประมาณ 15%ของปริมาณน้ำทั้งหมด หากหัวรูเป็นแค่อาการเริ่มแรก เราแค่เปลี่ยนน้ำถี่ๆสม่ำเสมอ โรคหัวรูนี้ก็หายได้ แต่ถ้าเป็นเยอะก็ต้องใส่ยา
2.ยาหรือสารเคมีที่ใช้รักษามีอยู่หลายชนิด เช่นฟอร์มาลีน เมโทรนิดาโซล แต่ในนี้ขอใช้เมโทรนิดาโซล การรักษามี 2 วิธี 1.ผสมยากับอาหารให้ปลากิน(เฉพาะเมโทรนิดาโซลนะครับ ฟอร์มาลีนไม่เกี่ยว)หากปลายังกินอยู่ วิธีนี้จะหายไว ส่วนวิธีที่ 2.แช่ยา วิธีนี้เราจะใช้อัตราของยาเมโทรนิดาโซล 20 มิลลิกรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร ทำซ้ำๆแบบนี้ ทุกครั้งก่อนใส่ยาให้เปลี่ยนน้ำทุกครั้งประมาณ 15%ของปริมาณน้ำทั้งหมด(หากมีอาการโรคอื่นร่วมด้วยให้ใช้อะม็อกซี่ 500 มิลลิกรัมต่อน้ำ50ลิตร )
3.ในระหว่างที่รักษาปลาอยู่ ให้ใช้วิตามินรวบคู่ไปกับการรักษา ปลา โดยผสมกับอาหารแต่ให้อาหารในปริมาณไม่มากนัก เบามือเรื่องอาหารหรือจะใช้ผสมน้ำก็ได้

หมายเหตุ เมื่ออาการหัวรูหยุดลง หมายถึงรูหยุดขยายวงกว้างขึ้น และไม่เป็นเพิ่ม ในช่วงนี้แม้อาการจะหายแล้ว แต่ไม่ได้หมายถึงรูที่เป็นจะฟื้นฟูเนื้อเหยื่อขึ้นมาเต็มจนปิดรูได้ บางจุดของบริเวณที่เสียหายก็ยังเป็นรู ไม่สามารถฟื้นฟูได้ บางครั้งจำเป็นต้องทำการขูดบริเวณที่เป็นรูเพื่อให้สร้างเนื้อเหยื่อขึ้นมากใหม่
โดย: [16 ก.พ. 54 3:03] ( IP A:58.8.135.110 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
    เคสตัวอย่าง หัวรู

ที่มา https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=496&action=view
จาก https://www.arowana.pantown.com/

ขออนุญาตและขอบคุณคุณJDและคุณปิติด้วยครับ

โดย: [17 ก.พ. 54 21:23] ( IP A:58.8.190.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
    เคสตัวอย่าง หัวรู

ที่มา https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=61&action=vie
จาก https://www.arowana.pantown.com/

ขออนุญาตและขอบคุณคุณซีเรียสแบล็กและคุณปิติด้วยครับ

โดย: (เจ้าบ้าน ) [15 มี.ค. 54] ( IP A:58.11.75.109 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน