"season change" เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
   เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกบ่อย อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้ปลาป่วยได้ วันนี้เลยมานำเสนอเรื่อง การสังเกตอาการป่วยของปลา และการเลือกซื้อปลาตามร้าน
โดย: TM69 [29 ก.ค. 53 9:28] ( IP A:183.89.131.23 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   รอบที่แล้วตั้งใจว่าจะทำให้เสร็จ ผลปรากฏว่าไม่เสร็จเลยรู้สึกค้างคา วันนี้เลยตั้งใจมาทำกระทู้แก้ตัวใหม่ครับ ช่วงนี้มีน้องหลายๆท่านได้ พูดคุยสอบถามกันมาเกี่ยวกับเรื่องอากาศที่เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิที่ไม่แน่นอนในตู้ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ในกระทู้นี้เลยจะมาลงเรื่องราวเหล่านี้กันครับ มาเริ่มกันด้วย อุณหภูมิกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำครับ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝนตกติดๆกัน ทำให้อากาศเย็นตัวลงมา หลายๆท่านอาจจะประสบปัญหาเรื่องอุณหภูมิที่ไม่คงที่ภายในตู้ปลา หรือบ่อ ซึ่งถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆนั้น จะไม่เกิดผลเสียใดๆกับปลาอันเป็นรัก แต่ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ผลเสียจะเกิดกับปลาของท่านอย่างแน่นอนครับ โดยเฉพาะปลาที่กำลังอ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในที่นี้ไม่ได้ หมายถึงน้ำที่เย็นตัวลงเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นอีกด้วยครับ กล่าวกันโดยรวม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำนั้นมีอยู่ 2 ปัจจัยหลักๆ คือ
1. อากาศที่เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวเย็น เดี๋ยวร้อน ซึ่งโดยปกตินั้นน้ำมีความสามารถในการกระจายและรักษาอุณหภูมิ ให้คงที่ได้ในระดับนึง แต่ยิ่งมีน้ำน้อยเท่าไหร่ การเปลี่ยนแปลงของอากาศก็ส่งผลต่อน้ำมากขึ้นเท่านั้นครับ เช่นตู้ปลา,บ่อปลาขนาดเล็ก ยังไม่รวมถึงตำแหน่งการวางของตู้ปลาที่อาจจะโดนแดดจัดๆ ในช่วงบ่ายที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แล้วเปลี่ยนเป็นเย็นลงอย่างรวดเร็วในตอนเย็น สิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้ปลาเริ่มอ่อนแอลง และป่วยในที่สุดครับ
2. การเปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณที่มาก โดยที่น้ำที่นำมาเปลี่ยนมีอุณหภูมิที่แตกต่างกับน้ำในตู้มากๆ ก็มีผลทำให้ปลาป่วยไำด้เช่นกันครับ ซึ่งในที่นี้ผมคิดว่าการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 30% ในอุณหภูมิน้ำที่ต่างกัน ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในตู้เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วครับ ทางแก้ คือการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างช้าๆ ค่อยเปลี่ยนๆเพื่อให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ปลาก็สามารถปรับตัวได้ทันครับ
โดย: TM69 [29 ก.ค. 53 9:59] ( IP A:183.89.131.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   แล้วที่นี้ถ้าปลาคุณเริ่มป่วยละ จะสังเกตกันยังไง ถึงรู้ว่าป่วย เพื่อรักษาดูแลก่อนที่จะเป็นมาก จนในบางเคสสายเกินไป ไม่ว่าจะเป็นซึม ไม่กินอาหาร เกล็ดพอง เหงือกอ้าบาน จุดขาว และโรคต่่างๆนอกเหนือจากนี้ วิธีสังเกตทั่วไป มีดังนี้ครับ

1. เมื่อปลามีอาการซึม ไม่กินอาหาร จอดนิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะป่วยหรือเบื่ออาหารก็ได้ จึงต้องเฝ้าดูอาการไปก่อน ถ้าไม่มีอาการอ่อนแรง ว่ายน้ำได้ปกติก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ
2. มีอาการก้าวร้าวกว่าปกติ ไล่ฟัดเมท ไม่ค่อยกินอาหาร ทำปากพองๆ จากที่อยู่ด้วยกันอย่างสงบกลายเป็นนักเลงคุมตู้ ในกรณีพวกนี้อาจจะเกิดจากปลาเริ่มมีอาการ "ฮีท" ซึ่งจะเกิดในปลาตัวผู้ี่ที่พร้อมเริ่มโตพร้อมที่จะผสมพันธุ์
โดย: TM69 [29 ก.ค. 53 10:14] ( IP A:183.89.131.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   3. ปลามีอาการว่ายน้ำกระตุก สะบัดตัวไปมา เอาตัวถูตู้ ว่ายพุ่งไปมาอย่างรวดเร็ว อาการแบบนี้อาจจะเกิดจากสิ่งปนเปื้อนภายในน้ำ ปรสิตที่อาจจะมาเกาะ และ จุดขาว

4. ปลามีอาการขับเมือกมากผิดปกติ มีเมือกติดตามตัว น้ำขุ่นขาว อาการแบบนี้มักเกิดจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ,ผิดน้ำ แพ้น้ำอย่างรุนแรง ในกรณีที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมากๆ


5. ปลามีอาการทรงตัวไำม่ได้ ว่ายหมุนวนไปมา ควงสว่าน ซึ่งอาการนี้มักเกิดจากการติดเชื้อในช่องท้อง ถุงลมมีปัญหา ถ้าถึงขั้นหงายท้อง ว่ายควงสว่านก็ถือว่าอาการหนักมากครับ ควรนำส่งแพทย์เพื่อรักษา ในกรณีที่ปลาเพิ่งเป็นสามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าเป็นมากแล้ว ต้องบอกตรงๆ ว่ามีโอกาสหายน้อยมาก
โดย: TM69 [29 ก.ค. 53 10:26] ( IP A:183.89.131.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   6. ปลามีอาการเกล็ดตั้งชัน ซึม ไม่กินอาหาร หรือกินแต่น้อย ว่ายนิ่งๆหรือจอด เมื่ออาการหนักขึ้นมีการขับเมือกออกมาเยอะผิดปกติิ และเมื่อรุนแรง มีอาการขับเมือกสีคล้ำออกมา สังเกตได้จากขอบเกล็ดที่จะมีสีคล้ำขึ้น


7. ปลามีอาการว่ายที่ผิวน้ำตลอดเวลา หลังลอยพ้นน้ำ ว่ายลงพื้นตู้ไม่ได้ ในอาการแบบนี้มักเกิดจากถุงลมมีปัญหา มีลมในช่องท้อง บางตัวหายเองได้ เพียงแค่อัดอ๊อกให้แรงขึ้น ใส่เกลือ 0.1%


8. เหงือกมีอาการอ้ากว่าออกมา ปลามีอาการหอบ พอนานไปเหงือกจะยิ่งอ้าออกมามากขึ้น เกิดจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือ น้ำเสีย ไม่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นเวลานาน กรองหมักหมม
โดย: TM69 [29 ก.ค. 53 10:37] ( IP A:183.89.131.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   9. มีอาการตกเลือดเป็นจ้ำตามตัวปลา เป็นสิว ผด เป็นขุยตามตัว


10. ตามตัวมีสิ่งแปลกปลอมเกาะติด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะคล้ายเส้นด้าย วุ้นใส หรือจุดขาวเล็กๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้


11. ตาปลามีฝ้าขาวขุ่น หรือ โปนผิดปกติ

ที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ คืออาการเบื้องต้นของโรคและปรสิตที่มารบกวนปลาของท่าน สำหรับวิธีการรักษา ก็สามารถหาข้อมูลต่างๆได้ภายในเว็บ และเว็บปลาทั่วไป หรือตั้งกระทู้สอบถามผู้รู้ท่านต่างๆก็ได้ครับ เพื่อรักษาให้ทันท่วงที สุดท้ายเรามาพูดกันเรื่อง การเลือกซื้อปลากันบ้าง โดยสามารถสังเกตอาการทั่วไปได้คล่าวๆดังนี้ครับ


1. ปลาต้องไม่มีอาการบาดเจ็บ มีบาดแผล เกล็ดหลุด

2. ปลาต้องไม่มีอาการซึม ว่ายอ่อนแรง หรือว่ายที่ผิวน้ำ หลังลอยๆ หัวทิ่ม


3. ปลาต้องไม่มีมีอาการหอบ ลอยตัวนิ่งๆที่ผิวน้ำ

4. สังเกตว่าไม่มีปรสิตเกาะอยู่ตามตัว


5. ตาไม่เป็นฝ้าขาว โปนโตผิดปกติ


6. ศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์ปลาที่เลือกซื้อว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง ปลาที่ซื้อนั้นตรงตามสายพันธุ์หรือไม่ มีตำหนิหลักอะไรหรือเปล่า


7. เลือกซื้อกับร้านที่ไว้ใจได้ หรือ ถ้าเป็นปลาถุง เลือกร้านที่เราสามารถยืนเลือกดูปลาได้นานๆ


8. เนื่องจากช่วงนี้มีคนสนใจเสือตอกันเป็นจำนวนมาก เลยขออนุญาติคุณโม่ เอาข้อมูลการสังเกตก่อนซื้อ ปลาเสือตอมาลงให้เพื่อนๆสมาชิกได้อ่านกันนะครับ
ตาดำไม่มีอาการขุ่นเป็นฝ้า ตาไม่โปน ไม่มีอาการปากหุบไม่สนิท ไม่หอบหายใจถี่ๆ ไม่ผอมบางเกินไป ครีบเบ่งบางไม่ว่ายลู่ ครีบว่ายปลายหางไม่มีอาการเปื่อย โคนครีบอกไม่มีสีแดงช้ำ ไม่มีฝีผิวหนังปูดบวม หรือผิวหนังถลอกจนเกินไป ไม่มีลักษณะของโรครูที่หัว


สรุปสุดท้าย การเลือกซื้อปลาชนิดต่างๆนั้น เราต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของปลานั้นๆก่อน เพื่อช่วยให้เราสามารถเลือกปลาได้ถูกต้อง ไม่โดนหลอก ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ค่อยๆเลือกและตัดสินใจ ดูเป็นตัวๆ ชอบตัวไหนเอาตัวนั้น อย่าไปฟังคนเชียร์มาก เพราะเราเป็นเจ้าของ ปลาต้องอยู่กับเราไปอีกนาน ถ้าเราเลือกที่เราชอบ เราก็จะมีความสุขกับการเลี้ยงปลา เงินอยู่ในมือเรา เราเป็นคนตัดสินใจครับ

โดย: TM69 [29 ก.ค. 53 11:05] ( IP A:183.89.131.23 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วจากสภาพอากาศโดย+ -ครั้งละไม่เกิน 1 องศาปรกติอยู่ที่ 30 องศา ผลเสียจะเกิดกับปลามากไม่ครับ โดยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในที่นี้ไม่ได้ หมายถึงน้ำที่เย็นตัวลงเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นอีกด้วยครับ ควรที่จะใช้ตัวควบคุมอุณหภูมิน้ำหรือเปล่าครับ
โดย: กังหันลม [30 ก.ค. 53 15:19] ( IP A:180.180.231.94 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง +-1องศา แต่ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงยาว เช่น กลางวัน 30 กลางคืน 29 อะไรแบบนี้นะครับ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงในลักษณะ กลางวัน 31-32 กลางคืนเหลือ 28-29 แบบนี้ถ้าว่าแกว่งครับ ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่้นในกรณีที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมากๆ นั้น มีผลเสียเหมือนกันครับ ถ้าในปลาที่อ่อนแออาจจะป่วยหรือน็อคได้ แต่ถ้าปลาที่แข็งแรง อึดอาจจะไม่แสดงอาการครับ เวลาเปลี่ยนน้ำมากๆจึงควรวัดอุณหภูมิน้ำสักนิด ค่อยๆเปลี่ยนครับ เช่น จากเดิมที่เปลี่ยนน้ำ 30% ใช้เวลา 15-20 นาที อาจจะเปลี่ยนเป็นค่อยๆเปิดน้ำเข้าตู้ ใช้เวลา 50-60 นาที ก็ช่วยทำให้ปลาปรับตัวได้ครับ

ปล.พูดง่ายๆว่า ถ้าเกิด +- 1 องศาถือว่ามากครับ
โดย: TM69 [30 ก.ค. 53 15:55] ( IP A:183.89.198.97 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   แก้คำผิด ถ้าเกิน +- 1 องศาถือว่ามากครับ
โดย: TM69 [30 ก.ค. 53 15:56] ( IP A:183.89.198.97 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน